หนทางในการแชร์เรื่องหรือไอเดียของคุณ (How to Share Idea)

?ถ้าเราเขียนเรื่องสักเรื่องนึงบนเว็บ แล้วอยากให้คนอื่นเข้ามาอ่าน เราจะทำอย่างไร?
?นักวิชาการเขียนเรื่องๆ นึงดีมาก แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ แล้วงี้คนจะอ่านจากไหน?
?อยากกระจายเรื่องที่เราเขียนให้คนอื่นๆ อ่านทำไงดี?

และอีกหลายๆ คำถามประมาณนี้ วันนี้ผมเลยขอสรุปเป็นประเด็นต่างๆ แล้วกัน
(ผมอาจจะไม่ใช่ผู้ชำนาญนะครับ แต่จะถ่ายทอดตามความคิดให้อ่านแล้วกัน)

ทางเลือกในการแชร์เรื่องที่คุณเขียนไปให้คนอื่นอ่าน มีดังนี้

– Blog / Website


วิธีนี้ คือ เมื่อคุณมีไอเดีย หรือเรื่องที่อยากเขียน คุณก็เขียนลงในบล็อกหรือเว็บไซต์ของคุณก่อน
การสมัครบล็อกเดี๋ยวนี้มีบล็อกฟรีมากมาย ก็เลือกสักบล็อกแล้วกัน

????????????????????????

– E-mail

วิธีนี้ คือ พอเขียนเสร็จก็ส่งเมล์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านก่อน พอเพื่อนๆ อ่านแล้วชอบก็จะเริ่มกระบวนการส่งต่อเอง
อิอิ วิธีนี้ขอบอกก่อนว่าต้องเป็น Content ที่ดีนะครับ ไม่ใช่โฆษณาขายตรง หรือขายประกัน
เพราะไม่งั้นเพื่อนคุณเลิกคบแน่ๆ อิอิ

????????????????????????

– Forum / Comment Blog

วิธีนี้ คือ พอเราไปอ่านเว็บบอร์ด หรือบล็อกที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของเรา
บางครั้งเราก็ฝากเรื่องเพิ่มเติมของเราให้กับ Forum หรือ Comment บล็อกของเขาด้วย
แต่ต้องเกี่ยวจริงๆ นะครับ ไม่งั้นก็คงโดนลบออกไปจาก forum หรือ โดนตั้งเป็น Spam บล็อก

????????????????????????

– IM(Instant Messenger)

วิธีนี้ จะคล้ายๆ กับการส่งเมล์ แต่จะส่งได้ข้อความสั้นๆ หน่อย เพราะอ่านยาวค่อนข้างลำบาก
ดังนั้นอาจจะส่ง link ของบล็อก หรือเว็บที่น่าสนใจให้เพื่อนๆ ของเราได้

????????????????????????

– Twitter

วิธีนี้มักจะใช้ในกลุ่มไอที เพราะว่าคนไอทีเล่นเยอะๆ แนววามคิดก็คล้ายๆ กับ IM
เพียงแต่ การใช้ Twitter ถือเป็นการ broadcast text ให้เพื่อนๆ ในกลุ่มของเราได้ง่ายกว่า IM
อ๋อ แต่ขอจำกัดของ Twitter คือส่งได้ครั้งละ 140 ตัวอักษร ดังนั้นคงต้องส่งแค่ link เหมือน IM

????????????????????????

– Social Network(hi5, Facebook)

วิธีนี้ ก็ดีเหมือนกันเพราะคนที่เล่นใน Social Network เดียวกันคือ คนที่ชอบในเรื่องๆ เดียวกัน
ดังนั้นเป็นการง่ายที่เราจะแชร์เรื่องที่เราสนใจให้คนที่สนใจเหมือนกันอ่าน
(แต่ในเมืองไทย ผมไม่แน่ใจจุดประสงค์การใช้งาน เพราะส่วนใหญ่เห็นว่าหาคนสวยๆ หล่อๆ กัน)

????????????????????????

– Social News (Social bookmark)

วิธีนี้ คือการส่งเรื่องไปให้เว็บที่รวมข่าวสารต่างๆ โดยวิธีนี้ผมก็ใช้อยู่และถือว่าค่อนข้างเยี่ยม
เพราะว่าเป็นการแชร์เรื่องของเราสู่สาธารณะชน ทำให้คนอื่นๆ ได้รู้จักเว็บหรือบล็อกของเรา
โดยที่เราอาจจะไม่รู้จักเขาเลยก็ได้ เว็บพวกนี้ เช่น Digg, Zickr, Duocore?.

????????????????????????

เป็นไงบ้างครับ การแชร์เรื่องของตัวเองให้คนอื่นได้รู้ มีวิธีมากมายเลย
ยากไปหรือปล่าว เรื่องพวกนี้ไม่ยากเกินไปใช่มั้ยครับ
แต่ที่สำคัญเราต้องเขียนเรื่องหรือ แนะนำเรื่องที่ดีนะครับ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

ทำไมผมถึงเขียนบล็อกเกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

เรื่องเก่าเล่าใหม่วันนี้เป็นเรื่องที่มาและที่ไปของการกำเนิดบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์แห่งนี้
ผมเขียนบล็อกเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนอยู่ที่ projectlib.wordpress.com เรื่อยมาจนถึง projectlib.in.th และ libraryhub.in.th

10-reason-i-write-blog-library

เหตุผลที่ผมเขียนไม่ได้มาจากการที่ถูกองค์กรบังคับแต่อย่างใด
เพราะจริงๆ แล้ว Projectlib และ Libraryhub ก็ไม่ได้มีสังกัดเหมือนกับบล็อกห้องสมุดที่อื่นๆ

คำถามที่ผมเจอมาบ่อย คือ ?ทำไมถึงเขียนบล็อกห้องสมุด ในเมื่อมีเรื่องที่น่าเขียนอย่างอื่นเยอะกว่า?

นั่นสิเนอะ “ทำไม” เอาเป็นว่าไปดูเหตุผลของผมเลยดีกว่า

1. อยากเห็นวงการบรรณารักษ์ และห้องสมุดในประเทศไทยพัฒนาและปรับปรุงตนเองมากกว่านี้

2. ห้องสมุดถือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของคนในสังคม ไม่ว่าจะยากดีมีจน ห้องสมุดในชุมชนก็บริการฟรีนะครับ

3. อยากให้เพื่อนๆ รู้จักการนำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพของตัวเอง ซึ่งในบางครั้งเราอาจจะคาดไม่ถึงกับเรื่องบางเรื่อง เช่น การนำ MSN มาใช้ในงานตอบคำถามออนไลน์ ฯลฯ

4. การอ่านมากๆ ทำให้สมองของเราแข็งแรง พัฒนาความรู้ และต่อยอดได้เยอะขึ้น

5. ลบภาพบรรณารักษ์ยุคเก่า และสร้างภาพบรรณารักษ์ยุคใหม่ (จำไว้นะครับบรรณารักษ์ไม่ได้มีแต่ผู้หญิง อิอิ)

6. งานด้านบรรณารักษ์ และห้องสมุดสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ด้วย

7. อยากบอกว่าข่าววงการบรรณารักษ์ทั่วโลกมีมากมาย แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครนำเสนอเลย

8. งานห้องสมุดมีมากกว่าแค่นั่งเฝ้าหนังสือก็แล้วกัน

9. ห้องสมุดก็มีเรื่องสนุกๆ มากมาย ไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายๆ คนคิดนะครับ

10. สำคัญที่สุดแล้วคือ ผมรักวิชาชีพนี้มาก และเป็นความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก(ขอบอกว่าเกิดมาเพื่อบรรณารักษ์จะมีใครว่าหรือปล่าว)

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเหตุผลดังกล่าว ชัดเจนกันมากขึ้นมั้ยครับ
คำตำหนิ หรือฉายาที่ตั้งให้ผมเรื่อง ?บรรณารักษ์แหกคอก? ผมก็ขอรับไว้ด้วยใจครับ
ไม่ว่าจะถูกด่าว่า ?โง่หรือปล่าวที่เขียนบล็อกแล้วไม่ได้อะไรตอบแทน? หรือ ?เขียนไปแล้วจะมีใครมาอ่านกัน?

เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ยังคงอยู่กับเพื่อนๆ ร่วมวงการไปแบบนี้แหละครับ
ยังไงก็ขอให้ช่วยกันติดตามบล็อกนี้กันต่อไปด้วยนะครับ

ปล. ช่วงนี้อัพเดทบล็อกไม่บ่อยต้องขออภัยด้วยนะครับ เนื่องจากภาระงานประจำเยอะไปหน่อย

Top 25 บล็อกบรรณารักษ์จาก onlinedegrees.org

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาวบรรณารักษ์และห้องสมุดทุกท่าน
ผมขอแนะนำสุดยอดบล็อกบรรณารักษ์ 25 แห่งที่ได้รับความนิยมโดยการรายงานของ onlinedegrees.org

top-librarian-blog

onlinedegrees.org เป็นเว็บไซต์ทางการศึกษาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่ง
ซึ่งเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์ได้ประกาศ Top 25 Librarian Blogs
ซึ่งแต่ละบล็อกนี่มีรางวัลการันตีพอสมควร และที่สำคัญเป็นบล็อกในวงการบรรณารักษ์ด้วย

จากการสแกนดูคร่าวๆ ก็มีหลายเว็บที่ผมอ่านประจำด้วยหล่ะครับ
เอาเป็นว่า 25 บล็อกที่สุดยอดในวงการบรรณารักษ์มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

1. Never Ending Search – http://www.schoollibraryjournal.com/
2. Bright Ideas – http://slav.globalteacher.org.au/
3. Connie Crosby – http://conniecrosby.blogspot.com/
4. The Daring Librarian – http://www.thedaringlibrarian.com/
5. The Dewey Blog – http://ddc.typepad.com/
6. Annoyed Librarian – http://annoyedlibrarian.blogspot.com/
7. No Shelf Required – http://www.libraries.wright.edu/noshelfrequired/
8. Social Networking in Libraries – http://socialnetworkinglibrarian.com/
9. Peter Scott?s Library Blog – http://xrefer.blogspot.com/
10. Resource Shelf – http://www.resourceshelf.com/
11. What I Learned Today – http://www.web2learning.net/
12. The Travelin? Librarian – http://travelinlibrarian.info/
13. The Law Librarian Blog – http://lawprofessors.typepad.com/law_librarian_blog/
14. The Association for Library Service to Children Blog – http://www.alsc.ala.org/blog/
15. Library Link of the Day – http://www.tk421.net/librarylink/
16. Library Garden – http://librarygarden.net/
17. In the Library with the Leadpipe – http://www.inthelibrarywiththeleadpipe.org/
18. A Librarian?s Guide to Etiquette – http://libetiquette.blogspot.com/
19. Tame the Web – http://tametheweb.com/
20. Librarian By Day – http://librarianbyday.net/
21. TeleRead: Bring the E-Books Home – http://www.teleread.com/
22. The Blah, Blah, Blah Blog – http://neflin.blogspot.com/
23. Closed Stacks – http://closedstacks.wordpress.com/
24. Handheld Librarian – http://handheldlib.blogspot.com/
25. David Lee King – http://www.davidleeking.com/

สำหรับบล็อกบรรณารักษ์ที่ผมเข้าประจำเลยก็มี หมายเลขที่ 5, 6, 9 ,10, 12, 19 ,20, 24, 25 ครับ
เอาเป็นว่าพอเห็นแบบนี้แล้ว ผมคงต้องเข้าไปเยี่ยมชมทุกบล็อกแล้วหล่ะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็อย่าลืมแวะเข้าไปดูกันบ้างนะครับ
และที่สำคัญห้ามลืมเข้า Libraryhub เด็ดขาด (โปรโมทตัวเองบ้าง)

Test up blog by iPhone

วันนี้ขอทดสอบการเขียนบล็อกด้วยไอโฟนหน่อยดีกว่า
อยากรู้ว่ามันจะโอเคมั้ย และมันจะขึ้นเว็บได้มั้ย

iphone

จากการลองเขียนไปสองบรรทัด
ผมว่าค่อนข้างโอเคเลยนะครับ
(ขณะนี้ผมอยู่บนรถเมล์นะครับ)

พรุ่งนี้มีงาน thinkcamp#2 และมะรืนนี้ก็มีงาน wordcampbkk#2
ใครว่างก็มาเจอกกันได้นะครับ สำหรับรายละเอียดของงานทั้งสองก็อ่านได้ที่

thinkcamp – http://www.thinkcamp.in.th
wordcamp – http://wordcamp.kapook.com

ขอทดสอบเพียงเท่านี้แล้วกันครับ

1 เดือนกับ 50 เรื่องใน Libraryhub

ผ่านไปหนึ่งเดือนแล้วนะครับสำหรับบล็อกใหม่ของผม Libraryhub
(บล็อกนี้เปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม 2552)

1month

ตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ผมเขียนบล็อกแบบไม่มีวันหยุดอีกแล้วครับท่าน
อุดมการณ์เดิมเริ่มดำเนินการต่อ นั่นคือ My Library in 365 days…

บทสรุปของเดือนที่แล้ว (เดือนพฤษภาคม 2552)
มเขียนบล็อกได้ครบ 31 วัน และจำนวนเรื่องที่เขียน 50 เรื่อง

เรื่องที่นำมาเขียนบางเรื่องเพื่อนๆ อาจจะคุ้นๆ
สาเหตุมาจากผมได้นำเอาเรื่องบางส่วนของ projectlib มา rewrite ใหม่นั่นเอง
เพื่อให้ภาษาน่าอ่านมากขึ้น รวมถึงอัพเดทข้อมูลของเรื่องมากขึ้นด้วย
เอาเป็นว่ารับรองว่าไม่ได้ copy ของเก่ามาแบบเต็มๆ ก็แล้วกัน

การเขียนบล็อกในเดือนที่ผ่านมาทำให้ผมว่าเป้าหมายของการเขียนบล็อกว่า
ถ้า 1 เดือน ผมสามารถเขียนได้ 50 เรื่องแบบนี้
แสดงว่า 1 ปี ผมจะมีเรื่องในบล็อกนี้ 600 เรื่องเลยก็ว่าได้

แค่คิดนี้ก็แบบว่าน่าตื่นเต้นมากๆ ที่จะรอดูในวันครบรอบหนึ่งปีแล้ว
อุดมการณ์นี้จะน่าท้าทายมากๆ เลยเพื่อนๆ ว่ามั้ย???
เอาเป็นว่าทำได้หรือไม่ได้ ก็คงต้องรอดูกันไปนะครับ

สำหรับเดือนนี้ผมก็ดีใจมาก ที่ได้กลับมาทักทายและเขียนบล็อกให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันอีก
หวังว่าเพื่อนๆ จะตามอ่านเรื่องของผมต่อไปนะครับ

โครงการหนึ่งห้องสมุดหนึ่งบล็อก

วันนี้ขอนำเสนอข้อมูลจากการทำแบบสอบถาม เรื่อง “โครงการหนึ่งห้องสมุดหนึ่งบล็อก”
โครงการนี้เดิมทีผมได้วางแผนตอนทำ Projectlib.wordpress.com

olop-project

ข้อมูลที่จะนำเสนอวันนี้ หากเพื่อนๆ ยังเห็นว่าไม่เหมาะสมในส่วนใด
สามารถแสดงความคิดเห็นได้ต่อนะครับ
เพราะว่าผมอยากให้เพื่อนๆ ทุกคนมีส่วนร่วมในโครงการครั้งนี้ด้วย

ข้อมูลเดิมจากบล็อก Projectlib

โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก คือ ?
การผลักดันให้ห้องสมุดทุกแห่งในประเทศไทยมีบล็อก (Blog) เป็นของตัวเอง
รู้จักการใช้บล็อกในการประชาสัมพันธ์งานต่างๆ รวมถึงเรื่องราวต่างๆ ในห้องสมุด
และเป็นการสร้างเครือข่ายชมรมบล็อกเกอร์ห้องสมุดในประเทศไทย (Blogger Library Network)

โดยภายใต้โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก จะมีแผนงาน คือ
1. จัดอบรมการสร้างบล็อก การเขียนเรื่องในบล็อก และการโปรโมทเรื่องในบล็อก
2. จัดตั้งกลุ่ม และเครือข่ายผู้เขียนบล็อกห้องสมุดในประเทศไทย
3. ?(เสนอมาได้คร้าบ)

งบประมาณฟรี มีดังนี้
– วิทยากร คือ ผมเอง (ไม่รับค่าตอบแทนใดๆ)
– สถานที่ จะขอเป็นความร่วมมือกับห้องสมุดที่ใจดีต่างๆ
– บล็อกฟรี (มีให้เลือกเยอะแยะเลยครับ)

วันเวลา และสถานที่ในการจัดการอบรม
– ในช่วงวันเสาร์ หรือ อาทิตย์ 1 วันเต็มๆ
– จัดครั้งแรกในช่วงเดือนพฤศจิกายน

จำนวนการรับสมัครครั้งแรก 20 ? 30 คน
(ไม่คาดหวังมากครับ เพราะว่าหลายคนคงไม่สนใจ อิอิ)

เนื้อหาในการอบรม
– การสมัครบล็อกเพื่อใช้งานฟรี
– การเขียนบล็อกไม่ให้น่าเบื่อ
– การโปรโมทห้องสมุด และบล็อกสู่สาธารณชน
– การสร้างเครือข่ายผู้ใช้งาน และผู้เขียนบล็อกห้องสมุด

(นอกนั้นช่วยคิดกันหน่อยนะ ว่าอยากฟังเรื่องไรอีก จาได้ทำการบ้านถูก)

เอาเป็นว่าเกริ่นแค่นี้ก่อนดีกว่า

ดังนั้นจากข้อมูลที่ได้กล่าวมาผมอยากทราบความคิดเห็นดังนี้
1. โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก ควรมีอะไรเพิ่มอีก?
2. เรื่องวันควรจะเป็นวันธรรมดา เสาร์ หรือ อาทิตย์ดี
3. จำนวนที่รับสมัครน้อยไป หรือมากไป ช่วยกะให้หน่อย
4. เนื้อหาในการอบรมอยากรู้อะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับบล็อก

คำถามทั้ง 4 ข้อ เพื่อนๆ จะตอบให้ครบ 4 ข้อก็ได้
หรือเลือกตอบในประเด็นที่อยากเสนอก็ได้ รับฟังหมดครับ

ปล. ใครจะใจดีเรื่องสถานที่ หรือ ต้องการสนับสนุนงานในส่วนอื่นๆ บอกได้นะครับ อิอิ

ข้อเสนอจากเพื่อนๆ

คุณปุ๊ เสนอว่า
“ควรจัดงานในวันธรรมดา และมีการทำหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการ เพื่อให้หัวหน้าอนุมัติในการเข้าร่วมโครงการ”

คุณจันทรา เสนอว่า
“ควรจัดในวันหยุดเพื่อไม่ให้รบกวนเวลางาน และเสนอเนื้อหาในการอบรมว่าอยากเพิ่มเรื่อง user Interface ด้วย”

คุณสุวรรณ เสนอว่า
“ควรจัดเป็นรุ่นๆ โดยจำนวนคนควรจะได้สัก 20 คนต่อรุ่น เนื่องจากเป็นการอบรมที่ต้องใช้เครื่องมือเพื่อการอบรม”

คุณจิมมี่ เสนอว่า
“ควรจัดในส่วนภูมิภาคด้วยเนื่องจากมีโอกาสที่เรียนรู้เรื่องนี้น้อยกว่าคนในเมือง”

คุณอ่านบล็อกผมกันบ้างหรือปล่าว

หลังจากเปิดบล็อกใหม่ (Libraryhub.in.th) มาเกือบ 15 วันแล้ว
วันนี้ผมมีเรื่องจะมาถามเพื่อนๆ อีกแล้วหล่ะครับ

read-projectlib

เพราะว่าผมไม่แน่ใจว่าเพื่อนๆ ได้อ่านเรื่องในบล็อกใหม่ผมบ้างหรือปล่าว
(แต่ละเรื่องไม่ค่อยมีคอมเม้นต์เลย จึงทำให้ไม่แน่ใจว่าอ่านกันบ้างหรือปล่าว)

วันนี้ผมเลยขอตั้งแบบสำรวจอย่างง่ายๆ ว่า
“คุณอ่านเรื่องใน Libraryhub กันหรือปล่าว”

[poll id=”4″]

ถึงแม้ว่าเพื่อนๆ จะไม่คอมเม้นต์ให้ แต่ขอให้เลือกคำตอบแบบสอบถามกันบ้างนะครับ
อย่างน้อยผมจะได้รู้ว่าเพื่อนๆ ยังอ่านบล็อกผมกันอยู่
อิอิ

ผมเริ่มเขียนบล็อกห้องสมุดตั้งแต่เมื่อไหร่

จำกันได้มั้ย…
KM_library (Gotoknow) – 2549
Thailibnetwork (Blogspot) – 2550
Projectlib (wordpress.com) – 2550
Projectlib.in.th – 2551
และบัดนี้ LibraryHub.in.th – 2552

my-first-blog

เรื่องที่ผมเขียนผ่านมา หากนำบทความต่างๆ มารวมกัน
ตอนนี้ผมคงเขียนเรื่องได้สัก 700 กว่าเรื่องแล้วมั้ง
ผมว่าเรื่องที่ผมเขียน มันยังคงน้อยกว่าเรื่องห้องสมุดที่เกิดขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาหล่ะมั้ง

เท่าที่ได้อ่านข่าวบรรณารักษ์ และห้องสมุด
ทุกวันผมได้อ่านประมาณอย่างน้อย 10 กว่าเรื่อง
หากคำนวณเป็นรายปี คงจะได้ปีละ 3650 เรื่องละมั้ง

เรื่องห้องสมุดทั่วโลก 1 ปี / เรื่องที่ผมเขียน 3 ปี
3650 / 700

เรื่องจำนวนของการเขียนอย่าไปใส่ใจเลยดีกว่าครับ
ตอนนี้ผมจะเล่าให้ฟังว่า บล็อกห้องสมุดที่ผมได้เขียนในแต่ละที่มีที่มาอย่างไร

เริ่มจากในปี 2549 หลังจากผมทำงานได้สักระยะนึง
ช่วงนั้น การจัดการองค์ความรู้กำลังเป็นที่นิยม และหนึ่งในนั้นคือ Gotoknow
หลังจากที่ได้เข้าไปอ่านความรู้ใน?Gotoknow บ่อยๆ ผมก็เริ่มอยากเขียนบ้าง

gotoknow

จึงลองสมัครดู โดยตอนนั้นผมได้ใช้ user = Km_library
เพราะต้องการให้อ่านแล้วสื่อถึงการจัดการความรู้ในห้องสมุด

แต่พอเขียนไปสักระยะอาการเขียนไม่ออกก็เริ่มเกิดขึ้น
“เรื่องห้องสมุดจะให้เขียนทุกวันได้ยังไง ไม่เห็นมีอะไรให้เขียนเลย” ผมคิด
ดังนั้นอาการดองบล็อกก็เกิดขึ้น จนหยุดเขียนในที่สุด

ต่อมาในช่วงปิดเทอมใหญ่ของนักศึกษาปี 2550
ช่วงที่ได้พักอยู่บ้านทำให้ผมเริ่มเกิดอาการเบื่อหน่าย วันๆ ไม่มีอะไรจะทำ
ก็เลยหาของเล่นจากอินเทอร์เน็ตแก้เซ็ง จนไปเจอ Blogspot

blogger

ทำให้ความรู้สึกว่าอยากเขียนบล็อกเริ่มกลับมาอีกครั้ง
โดยในช่วงแรกที่เขียน Blogspot ก็อาศัยบทความจากเพื่อนๆ ใน Gotoknow
นำมาวิเคราะห์ในภาษาของเราเอง แล้วจึงนำมาเขียนนั่นเอง

ใน?Blogspot ความคาดหวังของผมคือ
การตั้งกลุ่มชมรมบรรณารักษ์เขียนบล็อกในประเทศไทย
จากการสืบค้นทำให้รู้จักรุ่นพี่คนนึง นั่นก็คือ พี่โต (iteau)
ซึ่งเป็นคนที่เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับเรื่องห้องสมุดได้เก่งมาก
จึงเริ่มขอคำปรึกษา และได้พูดคุยกันจนทำให้ผมอยากเขียนบล็อกห้องสมุด

ต่อมาจากข้อจำกัดของ?Blogspot ที่มีลูกเล่นที่ค่อนข้างใช้ยาก
ทำให้ผมต้องหาทางออกด้วยการเปลี่ยนเครื่องมือในการเขียน
และตอนนั้นที่เห็นบล็อกของพี่โต (iteau)
ทำให้สงสัยว่า wordpress คืออะไร และได้คำแนะนำจากพี่โต จนผมเรื่องสมัคร wordpress

wordpress

ณ ตอนนั้นที่ทำงานของผมมอบหมายให้ผมเขียนโครงงานห้องสมุดมากมายๆ
ผมจึงตั้งใจว่าจะนำโครงการเหล่านี้มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่าน โดยใช้ชื่อว่า projectlib
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมกันแก้ปัญหากัน

และเพื่อให้มีแรงกระตุ้นในการเขียน
ผมจึงให้สัญญากับทุกคนว่า จะเขียนเรื่องให้ได้วันละ 1 เรื่อง
(My Library in 365 days)

projectlibwordpress

ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ได้เขียนทุกวันหรอกครับ
บางวันเก็หยุดเขียน บางวันก็เขียนเกิน

ผลสรุป 1 ปี บทความ 400 กว่าเรื่อง
ก็เป็นคำตอบว่าผมสามารถทำได้เกินเป้าหมายอีก

ในขณะนั้นเองความต้องการขยาย projectlib ก็เกิดขึ้น
จึงสมัคร Domain และ Host ของตัวเอง
ซึ่งต่อมาก็ได้โดเมนว่า http://www.projectlib.in.th นั่นเอง

projectlibinthai

การเขียนบล็อกก็ยังคงราบรื่นไป จนกระทั่ง มีนาคม 2552
การทำ Index ของ Google มีลักษณะที่แปลกๆ
ทำให้ผมเจอปัญหาคือ google ไม่อัพเดทบล็อกให้ projectlib
นอกจากนั้นยังลดค่า Pagerank จนเหลือ 0 อีก

อัตราการเข้าชมจากเดือนปกติ 19,000 คน
อัตราการเข้าชมของเดือนเมษายนที่ผ่านมา 1,900 คน
จำนวนลดลงจนน่าใจหายอย่างมาก

การตัดสินใจเปลี่ยนชื่อ Projectlib เข้ามาอยู่ในสมองของผม
เพื่อให้ชื่อของบล็อกมีแนวทางที่กว้างกว่า Projectlib

ผมจึงตัดสินใจใช้ชื่อ LibraryHub โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
– จัดเก็บเรื่องราวที่ผมเคยเขียนมาให้เป็นสัดส่วนมากกว่านี้
– หลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดในลักษณะเดียวกับ Projectlib
– เป็นพื้นที่สำหรับห้องสมุด และบรรณารักษ์อย่างแท้จริง

ซึ่ง?LibraryHub จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2552 (งาน Barcampbangkok3)
โดยในระหว่างนี้ผมก็ได้ย้ายมาอยู่ที่นี่ได้สักระยะแล้วครับ
เพียงแต่ก็จะเขียนเรื่องสะสมไปเรื่อยๆ เหมือนเดิมครับ

นี่ก็เป็นเพียงที่มาของ LibraryHub ที่ผมเขียนอยู่ในตอนนี้