รีวิวหนังสือ “แนวโน้มในการจัดหมวดหมู่สำหรับห้องสมุดในศตวรรษที่ 21”

รีวิวหนังสือ “แนวโน้มในการจัดหมวดหมู่สำหรับห้องสมุดในศตวรรษที่ 21”

หากคิดว่าหนังสือเล่มนี้น่าเบื่อกรุณาออกจากหน้านี้ไปได้เลยครับ เพราะสิ่งที่ผมกำลังจะเล่าต่อจากนี้ มันคือความตื่นเต้นที่ผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้ตลอดสองวันที่ผ่านมา….

โลกของการจัดหมวดหมู่หนังสือในวงการบรรณารักษ์ไม่ว่าจะเป็น “การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบดิวอี้” “การจัดหมู่หนังสือแบบหอสมุดรัฐสภา” “การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์” ล้วนแล้วแต่มีจุดกำเนิดมาอย่างยาวนาน ซึ่งนั่นอาจเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในยุคนั้น และเราก็ใช้ระบบเหล่านั้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนั่นอาจเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในยุคนั้น และเราก็ใช้ระบบเหล่านั้นมาจนถึงปัจจุบัน

การจัดหมวดหมู่หนังสือที่กล่าวมาเริ่มถูกผู้ใช้บริการถามถึงบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ว่า “มันยังเป็นการจัดหนังสือที่ยังเหมาะสมกับบริบทในปัจจุบันหรือไม่” และ “บางห้องสมุดใช้ดิวอี้ แบบห้องสมุดใช้แอลซี จริงๆ แล้วมีเงื่อนไขใดในการนำระบบดังกล่าวมาใช้”

Read more

มาเรียนเรื่องการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบดิวอี้ออนไลน์กันดีกว่า

การจัดหมวดหมู่และการจัดเรียงหนังสือในห้องสมุดหลายๆ แห่ง (โดยเฉพาะห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน….) มักจะใช้หลักการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้กัน วันนี้ผมจึงอยากแนะนำข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่ใช้เพื่อการเรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่นี้

ปีที่แล้วผมได้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง “DDC23 กำลังจะมา ห้องสมุดของคุณเตรียมพร้อมแล้วหรือยัง

ในครั้งนั้นผมให้ข้อมูลว่า OCLC ไปพัฒนาระบบ WebDewey 2.0 เพื่อช่วยให้บรรณารักษ์ทำงานง่ายขึ้น ซึ่งการใช้งาน WebDewey 2.0 ห้องสมุดและบรรณารักษ์จะต้องเป็นสมาชิกและเสียค่าใช้จ่ายให้กับ OCLC

ซึ่งหากห้องสมุดของท่านไม่ได้เป็นสมาชิกกับ OCLC แล้วท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า DDC23 มีการเปลี่ยนแปลงในหัวข้อไหนบ้าง และการจัดหมวดหมู่ยังคงรูปแบบเหมือนที่เราเรียนมาเมื่อ 10 – 20 ปีก่อนหรือไม่

ซึ่งทำให้ OCLC ไปเปิดบริการ Dewey Teaching Site ขึ้น และจัดทำเอกสารเพื่อให้ผู้ที่สนใจ คนทำงาน นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ได้นำไปใช้เพื่อให้เข้าใจที่มาของการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้


เว็บไซต์ที่เก็บเอกสารที่ใช้สำหรับการเรียนรู้การจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

(http://www.oclc.org/dewey/resources/teachingsite/courses/default.htm)

เอกสารประกอบด้วย
– Technical Introduction to the DDC
– Choice of Number Review
– Number Building: Add Tables
– Introduction to WebDewey 2.0
– Introduction to Table 1
– Introduction to 000, 100, 200
– Introduction to 300 and Table 5
– Introduction to 400 and Tables 4 and 6
– Introduction to 500
– Introduction to 600
– Introduction to 700
– Introduction to 800 and Table 3
– Introduction to 900 and Table 2

เอกสารทั้งหมดอยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF
นอกจากเนื้อหาที่ใช้สำหรับอ่าน หรือ สอนแล้ว ยังมีในส่วนที่เป็นแบบฝึกหัดให้ทำด้วย เพื่อทบทวนการเรียนรู้ของเรา

เอาเป็นว่าใครที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เข้าไปชมกันได้ครับ

DDC23 กำลังจะมา ห้องสมุดของคุณเตรียมพร้อมแล้วหรือยัง

จั่วหัวว่า DDC23 แบบนี้กลัวเพื่อนๆ บางส่วนจะไม่เข้าใจ เอาเป็นว่าขออธิบายสักนิดแล้วกัน
DDC = Dewey Decimal Classification คือ การจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้
ส่วนตัวเลข 23 หมายถึงครั้งที่ปรับปรุง (เรียกง่ายๆ ว่าการอัพเดทข้อมูลต่างๆ ในระบบทศนิยมดิวอี้)

ช่วงนี้ในวงการบรรณารักษ์ต่างประเทศมีการพูดถึงเรื่อง DDC23 มากขึ้น
สังเกตได้จาก WebDewey 2.0 ที่ OCLC ให้บริการอยู่มีการเพิ่มเมนูใหม่ DDC23!

หน้าจอของ WebDewey

คงอีกไม่นานแล้วสินะที่เราจะได้ใช้หนังสือคู่มือการให้เลขหมู่ฉบับใหม่กันสักที

มีอะไรใหม่ใน DDC23 บ้าง
– มีการปรับปรุงข้อมูลในหมวด 004-006 หมวดคอมพิวเตอร์ซึ่งหมวดหมู่ในกลุ่มนี้จำเป็นต้องปรับบ่อยมากเนื่องจากเทคโนโลยีไปค่อนข้างเร็ว
– อัพเดทข้อมูลหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับนิกายออร์ธอด็อกซ์ และศาสนาอิสลาม
– ปรับปรุงข้อมูลในหมวด 340 ให้เข้ากับการดำเนินชีวิตของพลเมืองมากขึ้น
– ปรับปรุงข้อมูลในหมวด 370 และลงรายละเอียดเกี่ยวกับระดับการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
– อัพเดทข้อมูลหมวดหมู่อาหารและเครื่องแต่งกาย
– อัพเดทข้อมูลในหมวด 740 เรื่องของงานกราฟฟิคและงานประดิษฐ์
– เพิ่มและขยายเลขหมู่ในกลุ่มภาพยนตร์และวีดีโอที่หมวด 777
– ขยายเลขหมู่ที่เกี่ยวกับกีฬา outdoor
– เพิ่มและขยายเลขในตาราง 2 เพื่อให้รองรับกับเลขหมู่ทางประวัติศาสตร์ได้ (930-990)
– ปรับปรุงช่วงเวลาในหมวดหมู่ประวัติศาสตร์ (930-990)


เป็นยังไงกันบ้างครับ กับสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ผลที่จะต้องตามมาแน่นอนคือ

1. สายการศึกษา ต้องเปลี่ยนตำราเรียนกันใหม่หรือปล่าว หรือถ้าไม่เปลี่ยนมีวิธีการอธิบายและสอนนิสิตในเรื่องนี้อย่างไร
2. สายการปฏิบัติ ต้องโละคู่มือเล่มเก่าทิ้งหรือปล่าว หรือว่าจะคงใช้ DDC22 ตลอดไป แล้วถ้าเปลี่ยนมาใช้ DDC23 หนังสือเดิมที่ Catalog บางกลุ่มจะต้องเปลี่ยนด้วยหรือไม่

ห้องสมุดหลายๆ แห่งเริ่มจะโล๊ะกันแล้ว DDC22

ในเมืองไทยเอง ผมว่าถ้าให้ห้องสมุดตอบแบบตรงๆ ผมคงต้องช็อคกับคำตอบแบบนี้แน่ๆ “ไม่เห็นจะเดือดร้อนเลย เรายังมี หนังสือดีดีซี22 ที่อาจารย์พวาแปลอยู่ เอาไว้ถ้าอาจารย์แบบเป็น ดีดีซี23 เราก็ค่อยเปลี่ยนแล้วกันเนอะ”

เอาเป็นว่าก็ฝากคำถามและแง่คิดนี้เอาไว้แล้วกันครับ เหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่ว่าเพิ่งเกิดเป็นครั้งแรกสักหน่อย สมัยที่ DDC21 ไป DDC22 ทำอย่างไรกันไว้ ก็ลองเอามาปรับตัวกันในสถานการณ์แบบนี้ดูแล้วกันนะครับ

รายละเอียดจริงๆ แล้ว DDC23 ยังมีการเปลี่ยนอะไรอีกเยอะมากเลย ซึ่งเพื่อนๆ สามารถติดตมได้จาก http://ddc.typepad.com นะครับ

Protected: ตารางเลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยออนไลน์สำหรับบรรณารักษ์

This content is password protected. To view it please enter your password below:

บรรณารักษ์สามารถ copy catalog หนังสือจาก Amazon ได้แล้วนะ

“Amazon เป็นเว็บไซต์ขายหนังสือ แล้วเราในฐานะห้องสมุดจะสามารถใช้ข้อมูลได้หรือ”
คำถามนี้อาจจะปรากฎขึ้นเมื่อเพื่อนๆ ได้อ่านชื่อเรื่องของบล็อกผมในวันนี้

เอาเป็นว่าก็ยอมรับครับว่า “Amazon เป็นเว็บไซต์ขายหนังสือที่ใหญ่แห่งหนึ่ง”
แล้วถ้าเพื่อนเข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์ Amazon ก็จะเจอแต่ข้อมูลที่เกี่ยวกับหนังสือมากมาย เช่น
– บทวิจารณ์หนังสือ
– เนื้อเรื่องย่อของหนังสือ
– ภาพปกหนังสือ
– ราคาหนังสือ
– รายการบรรณานุกรมของหนังสือ

ฯลฯ จริงๆ เราได้ข้อมูลมากกว่านี้

เอาหล่ะครับ แล้วข้อมูลไหนที่พอจะดึงเข้ามาสู่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของเราได้บ้างหล่ะ
หลายๆ คนคงมองภาพไม่ออก ถ้าจะเอารายการบรรณานุกรมไปใส่ในระบบห้องสมุด
เราก็ต้อง copy ทีละส่วนอย่างนั้นหรือ (ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สำนักพิมพ์ ปีพิมพ์ หัวเรื่อง)

อย่างที่รู้ๆ กันว่า ระบบห้องสมุดของเรามีมาตรฐานกำกับอยู่ นั่นคือ “MARC Format”
ทีนี้ถ้าข้อมูลหนังสือใน Amazon เป็น MARC เราก็คงไม่มีปัญหาแน่ๆ
แต่เปิดจากหน้าหนังสือใน Amazon แล้วทำไมหาไม่เจอหล่ะ “มันอยู่ที่ไหน”
แน่นอนครับว่าในหน้า Amazon เพื่อนๆ คงหาไม่เจอหรอก เพราะผู้ใช้บริการในเว็บคงไม่รู้จัก MARC แน่ๆ

ดังนั้นผมจึงขอเสนอให้เพื่อนๆ เปิดเข้าไปที่เว็บไซต์
http://chopac.org/cgi-bin/tools/azorder.pl
เว็บนี้เป็นเว็บที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลจาก Amazon ไปเป็น MARC
หน้าตาของเว็บไซต์นี้ก็เรียบง่ายครับ มีแค่ช่องค้นหา

ขั้นตอนง่ายๆ ในการนำข้อมูลจาก amazon มาเปลี่ยนเป็น MARC

1. เปิดเว็บไซต์ http://chopac.org/cgi-bin/tools/azorder.pl

2. พิมพ์ชื่อหนังสือที่เราต้องการสืบค้น หรือ ISBN ลงในช่องว่าง จากนั้นกด Enter ดังรูป

3. เมื่อพบหนังสือที่มีหน้าปกตรงกับหนังสือที่ catalog ให้เราเลื่อนสายตามามางขวาจะเห็นกล่อง Marc Functions ดังรูป

4. กดปุ่ม View เพื่อแสดง MARC ดังรูป

เอาเป็นว่าเพียงเท่านี้ เพื่อนๆ ก็จะได้ MARC นำมาเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติของเพื่อนๆ แล้ว

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในวันนี้ หวังว่าเพื่อนๆ จะลองนำไปใช้ปฏิบัติงาน catalog กันในอนาคตนะ
และขอฝากไว้ว่า “โลกของเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว ในวงการห้องสมุดของเราก็ต้องปรับตัวให้ทันด้วย อย่าใช้ชีวิตอย่างประมาท”
สำหรับวันนี้ผมก็ขอฝากไว้เท่านี้ครับ แล้วคราวหน้าเจอเรื่องเด็ดๆ แบบนี้จะนำมาฝากอีก

อักษรที่หายไป กับ การจัดหมวดหมู่หนังสือแบบแอลซี (LC)

ข้อสังเกตเกี่ยวกับตัวอักษรที่ไม่ได้ใช้ในการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบแอลซี
ยังมีคนเข้ามาถามผมอยู่เรื่อยๆ ซึ่งตัวอักษรดังกล่าวได้แก่ I O W X Y ซึ่งไม่ได้ใช้เป็นหมวดหลัก
คำถามนี้ ผมเองก็ตอบยากนะเพราะไม่ได้เป็นคนคิดการจัดหมวดหมู่ แต่เอาเป็นว่าผมขอเสนอความคิดเห็นส่วนตัวแล้วกันนะครับ

lc-call

ในระบบการจัดหมวดหมู่แบบ LC ? Library of Congress Classification
คือ จัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา มีการจัดหมวดหมู่โดยใช้ตัวอักษรในภาษาอังกฤษในการกำหนด
แต่มีอักษรอยู่เพียง 5 ตัวที่ไม่มีการใช้ในการจัดระบบหมวดหมู่หนังสือ นั่นคือ
ตัวอักษร I, O, W, X, Y

ตัวอักษร W ตัวนี้มีการใช้ในการจัดหมวดหมู่ แบบ NLM (National Library of Medicine classification)
หรือการจัดหมวดหมู่ของห้องสมุดด้านการแพทย์ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนในการใช้ตัวอักษรนี้
ใน LC จึงย้ายหมวด W ไปอยู่ในหมวด R (Medicine)แทน

– ส่วนตัวอื่น I, O, X, Y เป็นตัวอักษรที่เก็บไว้เพื่อการเพิ่มหมวดหมู่ในอนาคต (อันนี้เรียนมาอาจารย์บอกอย่างนั้นนะ)
เอาเป็นว่าอีก 4 ตัวนี้ เอาไว้รองรับในอาคตแล้วกันนะ

เอาเป็นว่าผมคงตอบคำถามได้แค่นี้นะครับ ไม่รู้ว่าจะชัดเจนแค่ไหน
ซึ่งหากเพื่อนๆ คิดว่ามีคำตอบอื่นๆ ก็สามารถนำมาเล่าสู่กันฟังได้นะครับ

เทคนิคการ catalog หนังสือด้วยวิธีง่ายๆ

งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ หรืองาน catalog เป็นงานที่สำคัญอีกงานหนึ่งในห้องสมุด
เนื่องจากเป็นงานที่เกี่ยวกับการให้เลขหมู่และหัวเรื่องของหนังสือหรือสื่อสารสนเทศในห้องสมุด

cataloging

หนังสือหรือสื่อสารสนเทศในห้องสมุดจะถูกค้นหาได้ง่ายหรือยากก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการในส่วนนี้
ดังนั้นผมจึงให้ความสำคัญกับงาน catalog เช่นเดียวกับการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด

เอาเป็นว่าผมขอพูดถึงปัญหาที่พบของงาน catalog ให้เพื่อนๆ ฟังก่อนนะครับ

หลักๆ ก็ไม่มีอะไรมากหรอก แค่เพื่อนๆ เคยสังเกตมั้ยครับว่า
“หนังสือเล่มนึงอาจจะมีการถูก catalog ไม่เหมือนกัน”
เช่น หอสมุดแห่งชาติให้เลขหมู่อย่างหนึ่ง ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาให้อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ

ดังนั้นหนังสือ ก. จึงมีข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไม่เหมือนกัน

เอางี้ เวลาเพื่อนๆ ไปห้องสมุด ก แล้วพาหนังสือ และเจอหนังสือที่ต้องการในชั้นหนังสือทั่วไป
แต่เวลาไปห้องสมุด ข เดินไปที่ชั้นหนังสือเดียวกันกลับไม่เจอ ทำให้ต้องเสียเวลาค้นหาใหม่
และพบว่าหนังสือเล่มนั้นไปอยู่อีกชั้นหนึ่งทั้งๆ ที่รู้สึกว่ามันไม่ถูกต้อง

ดังนั้นหลายๆ ครั้งที่ไปพบกับเพื่อนๆ ในห้องสมุดที่ต่างๆ ผมจึงแนะนำให้เพื่อนๆ ใช้งาน copy catalog
เพื่อที่จะช่วยลดเวลาในการทำงานให้เพื่อนๆ และที่สำคัญคือ เพื่อปรับข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือเล่มใหม่ๆ
ให้มีข้อมูลบรรณานุกรมที่เหมือนกัน หรือคล้ายกันมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการให้เลขหมู่และหัวเรื่อง

หลักการง่ายๆ คือ เข้าไปที่เว็บไซต์สหบรรณานุกรม แล้วค้นหาหนังสือดังกล่าว แล้วก็ copy
ง่ายไปหรือปล่าวครับ —> ไม่ง่ายหรอกครับ เพราะเมื่อ copy มาแล้วเพื่อนๆ จะใช้ตามนั้นเลยคงไม่ได้

เพื่อนๆ จะต้องมาพิจารณาข้อมูลรายการบรรณานุกรมเล่มนั้นจริงๆ จังๆ สักหน่อย
เพราะบางแห่งก็ใช้การจัดหมวดหมู่ที่ไม่เหมือนกัน เช่น บางที่ใช้แอลซี บางที่ใช้ดิวอี้
ดังนั้นเพื่อนๆ ต้องดูรายละเอียดเหล่านี้ให้ดีๆ ด้วยนะครับ

สำหรับเว็บไซต์ที่ผมจะแนะนำเพื่อการ Copy Catalog มีดังนี้
– สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ –> http://catalog.loc.gov

lc

– สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ –> http://www.oclc.org/worldcat/

oclc

– สำหรับหนังสือภาษาไทย –> http://uc.thailis.or.th/

thailis

นอกจากนี้ก็ยังมีเว็บไซต์ของห้องสมุดต่างๆ โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของไทย

เอาเป็นว่าก็ลองเข้าไปใช้กันดูนะครับ แต่ผมก็ขอบอกไว้ก่อนว่า
ในเว็บไซต์เหล่านี้ก็ใช่ว่าจะมีหนังสือครบทุกเล่ม ดังนั้นเล่มไหนที่ไม่มีเพื่อนๆ ก็ต้องลองประยุกต์กันเองนะครับ

เมื่อดิวอี้ปะทะแอลซี (DDC VS LC)

วันนี้ผมขอยกเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักรอบนะครับ
วันนี้ขอนำเสนอเรื่องที่เกี่ยวกับงานเทคนิคของบรรณารักษ์บ้าง
นั่นก็คือ งานวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ นั่นเอง

catalog

การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ (DDC – Dewey Decimal Classification)
ก็คือการจัดหมวดหมู่ด้วยตัวเลข 000-900 ครับ ช่น 000 – หมวดทั่วไป , 100 – หมวดปรัชญาและจิตวิทยา ?

การจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา (LC – Library of Congress Classification)
ก็คือ การจัดหมวดหมู่ด้วยตัวอักษร A-Z เช่น A – หมวดทั่วไป, B – ปรัชญาและศาสนา

การจัดหมวดหมู่ทั้งสองแบบนี้เป็นที่นิยมในหมู่ห้องสมุดทั่วไปครับ
แต่ในวงการของห้องสมุดเฉพาะก็อาจจะมีการจัดหมวดหมู่แบบอื่นๆ อีก
เช่น การจัดหมู่แบบ NLM – การจัดหมวดหมู่หนังสือด้านการแพทย์
การจัดหมวดหมู่แบบ NDC – การจัดหมวดหมู่แบบเลขทศนิยมญี่ปุ่น

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอเขียนถึงการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้กับการจัดหมวดหมู่แบบแอลซีก่อนนะครับ

ห้องสมุดที่เปิดใหม่หลายๆ ที่คงอยากรู้ว่าจะนำการจัดหมวดหมู่แบบไหนมาใช้
วันนี้ผมจะเอาแง่คิดที่ได้จากที่ทำงานเก่ามาเล่าให้ฟังนะครับ

จากประสบการณ์จริงที่ประสบก็คือ ห้องสมุดที่ผมเคยทำงานอยู่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ก็คือ
– หนังสือของเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้
– หนังสือใหม่ที่ซื้อมาตอนที่กำลังจะเปลี่ยนระบบ ซึ่งใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา

สำหรับผมเองจริงๆ ก็อยากจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้มากกว่าเพราะว่าง่ายกว่า
และที่สำคัญผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคุ้นกับการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้อยู่แล้ว (เนื่องจากของเก่าใช้ดิวอี้)
และด้วยเหตุที่ห้องสมุดมีหนังสือจำนวนที่น้อยอยู่ ผมจึงคิดว่าใช้แบบดิวอี้ย่อมน่าจะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใช้ได้ดีกว่า

ซึ่งจากการสังเกตผู้ใช้หนังสือในมุมที่เป็นหนังสือใหม่ซึ่งใช้การจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา
ผู้ใช้ได้เดินมาบ่นให้ฟังว่าค้นหาหนังสือยากจัง แล้วทำไมหนังสือบางหมวดถึงต้องแยกออกจากกันด้วย

ตัวอย่างเช่น หนังสือที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ถ้าเป็นแบบดิวอี้เพื่อนๆ คงคิดเลยว่าอยู่ในกลุ่ม 000 แน่ๆ เวลาหาก็มุ่งไปส่วนนั้นได้เลย
แต่สำหรับแอลซีไม่ใช่อ่ะครับ เพราะว่าเพื่อนๆ ต้องดูอีกว่า คอมพิวเตอร์ทางด้านไหนอีก
เพราะในแอลซีส่วนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีหลายส่วนด้วยกัน
เช่น คอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ก็จะอยู่ QA
คอมพิวเตอร์ด้านเครือข่ายจะอยู่ TK
คอมพิวเตอร์กราฟฟิคจะอยู่ TR
รวมถึงโปรแกรมพวกออฟฟิตก็จะอยู่ใน HF

แค่นี้ผู้ใช้ก็ตาลายแล้วครับ

แต่ผมก็ไม่ได้บอกนะครับว่า LC ไม่มีข้อดี เพราะจริงๆ แล้ว การให้หมวดหมู่แบบ LC มันก็ละเอียดไปอีกแบบนึง เหมือนกัน
แต่น่าจะเหมาะกับห้องสมุดที่มีหนังสือจำนวนมากจริงๆ และห้องสมุดนั้นควรมีจุดสืบค้นให้กับผู้ใช้อย่างเพียงพอด้วย
เพื่อผู้ใช้จะได้หาหนังสือได้อย่างรวดเร็ว

เอาเป็นว่ารายละเอียดว่าแต่ละหมวดหมู่มีเนื้อหาอะไร ผมคงไม่อธิบายหรอกนะครับ
หวังว่าเพื่อนๆ คงจะรู้กันหมดแล้ว หรือถ้าอยากรู้แบบละเอียดๆ ก็ลองดูลิ้งก์ด้านล่างแล้วกันนะครับ

สำหรับการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้
http://www.tnrdlib.bc.ca/dewey.html

สำหรับการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา

http://people.wcsu.edu/reitzj/res/lcclass.html