6 วิธีที่ช่วยเพิ่มยอดการยืมคืนทรัพยากรออนไลน์ (ห้องสมุดดิจิทัล)

6 วิธีที่ช่วยเพิ่มยอดการยืมคืนทรัพยากรออนไลน์ (ห้องสมุดดิจิทัล)

ช่วงนี้หลายๆ ห้องสมุดคงกำลังพิจารณาที่จะบอกรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (eResources) เพื่อให้บริการห้องสมุดดิจิทัล หรือ ห้องสมุดออนไลน์ ซึ่งก็มีทั้งที่บอกรับแบบเป็นฐานข้อมูลหรือเป็นการบอกรับรายเล่ม…. (ราคาก็มีทั้งแพงลงมาจนถึงแบบฟรี)

วิธีการบอกรับ ผมคงไม่ลงรายละเอียดแล้วกันครับ เพราะอย่างที่บอกไปว่ามีหลากหลายแบบ
แต่สิ่งที่ผมสนใจ คือ เมื่อมีแล้วเราก็อยากให้มันถูกใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด (ถูกต้องมั้ยครับ) Read more

กรณีศึกษา : การพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติจีน

จากวันก่อนที่ผมพูดถึงหนังสือเรื่อง “Digital Library Futures” ผมรู้สึกสนใจเกี่ยวกับบทความที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้มากมาย วันนี้ผมขอยกตัวอย่างมาสักบทหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องกรณีศึกษาความสำเร็จของการดำเนินการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลของประเทศจีน

ชื่อบทความต้นฉบับ : To make a better digital library – some collaborative efforts in China
แปลเป็นภาษาไทย : การทำให้ห้องสมุดดิจิทัลดีขึ้น : ความพยายามในการสร้างความร่วมมือในประเทศจีน

ผมขอเก็บประเด็นต่างๆ จากบทความนี้มาเล่าให้ฟังนิดหน่อยแล้วกันครับ

เริ่มจากเรื่องของการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลระดับประเทศของจีน ซึ่งจริงๆ แล้วหน่วยงานระดับสูงของจีนก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญมานานพอสมควรแล้วโดยจัดตั้งหน่วยงานต้นแบบและพัฒนามาจนถึงห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติจีนเลยทีเดียว

ประวัติความเป็นมาแบบย่อๆ มีดังนี้
– 1997 เริ่มจัดตั้งโครงการห้องสมุดดิจิทัลจีนต้นแบบขึ้น
– 1998 มีการจัดตั้ง CALIS (China Academic Library & Information System)
– 1999 มีการจัดตั้ง NSDL (National Science Digital Library)
– 2000 มีการจัดตั้ง NSTL (National Science and Technology Library)
– 2001 มีการจัดตั้งห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติจีน (National Digital Library of China)

หลังจากที่มีการจัดตั้งห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติจีนขึ้นมาแล้ว ทางการจีนก็ได้ทำความร่วมมือกับประเทศสหรัฐอเมริการในการจัดทำโครงการห้องสมุดดิจิทัลร่วมกันด้วย หรือที่เรียกว่า โครงการ CADAL (China-US Million Book Digital Library project)

ในช่วงเริ่มต้นของโครงการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล ก็ย่อมมีอุปสรรคและปัญหาเช่นกัน โดยหลักๆ แล้ว จะเป็นเรื่องของการทำ Digitisation ซึ่งข้อมูลบางอย่างมีความซ้ำซ้อนกันจนทำให้เกิดปัญหา นอกจากนี้ยังมีเรื่องของลิขสิทธิ์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องอีก

สิ่งที่ต้องคิดเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลในคลังข้อมูลของห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติ นั่นคือ “มาตรฐานข้อมูล” ทางการจีนจึงได้รวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเพื่อการพัฒนาโครงสร้างข้อมูลและชุดข้อมูลกลางขึ้น แล้วจัดตั้งเป็นคณะกรรมการกลางซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานดังนี้
– NLC (National Library of China)
– NCIRSP (National Cutural Information Resources Sharing Project)
– CALIS (China Academic Library & Information System)
– Shanghai Library
– NSL (National Science Library)
– Library of Party School of the Central Committee of C.P.C
– Library of National Defense University
– Zhejiang University Library

การประชุมเพื่อการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลและการให้บริการในจีน ดำเนินการมาแล้ว 7 ครั้ง

บทสรุปของการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติในจีน
– ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติในจีนต้องดำเนินการอย่างจริงจัง
– ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติในจีนควรมีการกำกับจากหน่วยงานระดับสูงในจีน
– โครงการห้องสมุดดิจิทัลเน้นการแบ่งปันความรู้และความร่วมมือกันสร้างความรู้
– โครงการห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติควรเปิดกว้าง (ไม่ใช่แค่สร้างโปรแกรม แต่ต้องพัฒนาโปรแกรมอื่นๆ ให้รองรับด้วย)
– ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติในจีนเน้นการสร้างชุมชนและความร่วมมือ

เอาเป็นว่าบทความนี้ก็น่าสนใจไม่น้อยเช่นกันครับ
บทความอื่นๆ จะเป็นอย่างไรไว้ผมจะสรุปมาให้อ่านอีกนะครับ

อ่านอะไรดี : “Digital Library Futures” อนาคตห้องสมุดดิจิทัล

สวัสดีเรื่องแรกของบล็อก Libraryhub ปี 2555 ก่อนอื่นคงต้องสวัสดีปีใหม่เพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์สักหน่อย และขออวยพรให้ทุกๆ ท่านพบแต่ความสุขและความก้าวหน้าในหน้าที่การงานทุกคน

เอาหล่ะมาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า วันนี้ผมจะมาแนะนำหนังสือเล่มหนึ่งที่อ่านแล้วรู้สึกว่าได้สาระค่อนข้างดีเล่มหนึ่ง เป็เรื่องที่เกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัล หรือทิศทางของห้องสมุดในยุคไซเบอร์เลยก็ว่าได้ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความวิจัยเกี่ยวกับ “อนาคตของห้องสมุดดิจิทัล” ซึ่งเน้นในเรื่องของสิ่งที่ผู้ใช้คาดหวังและการปรับกลยุทธ์ของห้องสมุดดิจิทัล

ปล. หนังสือเล่มนี้เป็นภาษาอังกฤษทั้งเล่มนะครับ

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Digital Library Futures : User perspectives and Institutional strategies
บรรณาธิการโดย : Ingeborg Verheul, Anna Maria Tammaro and Steve Witt
สำนักพิมพ์ : IFLA Publication
ISBN : 9783110232189
จำนวนหน้า : 150 หน้า


ข้อมูลทั่วไปจากเว็บไซต์ของ IFLA

http://www.ifla.org/publications/ifla-publications-series-146

เอาหล่ะครับ อย่างที่เกริ่นไว้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมงานวิจัยและงานวิชาการที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัล
ดังนั้นเนื้อหาที่อยู่ในแต่ละเรื่องของหนังสือเล่มนี้จึงไม่ใช่เนื้อหาที่เรียงร้อยกัน (เลือกอ่านแต่เรื่องที่สนใจได้ ไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม)

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
1. ส่วนที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ (User Experience)
2. ส่วนที่เกี่ยวกับตัวเนื้อหาที่อยู่ในห้องสมุดดิจิทัล (Content)
3. ส่วนที่เกี่ยวกับองค์กรและกลยุทธ์ (Strategies for Institutions)

ในแต่ละส่วนก็จะประกอบไปด้วยบทความต่างๆ ดังนี้
1. ส่วนที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ (User Experience)
– The Virtual Scholar : the Hard and Evidential Truth
– Who are the Users of Digital Libraries, What do they Expect and want?
– A Content Analysis on the Use of Methods in Online User Research


2. ส่วนที่เกี่ยวกับตัวเนื้อหาที่อยู่ในห้องสมุดดิจิทัล (Content)

– A Pianist’s Use of the Digitised Version of the Edvard Grieg Collection
– When is a Library NOT a Library?

3. ส่วนที่เกี่ยวกับองค์กรและกลยุทธ์ (Strategies for Institutions)
– To Make a Better Digital Library – Some Collaborative Efforts in China
– Strategies for Institutions : Responding to the Digital Challenge
– Strategies for Institutions : Responding to the Digital Challenge : the World Digital Library Perspective
– Digital Library Futures : Pressures on the Publisher-Librarian Relation in the Era of Digital Change

นอกจากส่วนเนื้อหาแล้วยังมีส่วนที่สรุปข้อมูลทั้งหมดและประวัติของผู้เขียน (วิทยากร) ด้วย
ซึ่งทำให้เราได้เห็น background ของผู้เขียน (วิทยากร) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการห้องสมุดดิจิทัลมาก่อน

เอาเป็นว่าผมเองก็อ่านไปได้บางส่วน (คงไม่ได้อ่านทั้งเล่มแหละ) แต่เลือกเรื่องที่อยากจะอ่านไว้แล้ว
ไว้ถ้ามีเวลาว่างจะเอาบางเรื่องมาเขียนเป็นบล็อกเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านอีกทีแล้วกันครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอลาไปก่อน เดี๋ยวจะเอาหนังสือในกลุ่ม “ห้องสมุดดิจิทัล” ที่ผมอ่านมาแนะนำอีก ไว้เจอกันคราวหน้าครับ…

ปล. หนังสือเล่มนี้ผมไม่ได้ซื้อมานะครับ แต่ยืมมาจาก TKpark ใครสนใจก็ลองมาหยิบยืมจากที่นี่แล้วกัน

ห้องสมุดดิจิทัล คือ 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ

วันนี้เจอบทความดีๆ ที่มีเรื่องห้องสมุดอยู่ในนั้น ผมก็เลยขอเอามาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังต่อนะครับ
บทความนี้มาจาก “10 Technologies That Will Transform Your Life” จากเว็บไซต์ http://www.livescience.com

10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ มีดังนี้
อันดับที่ 10 Digital Libraries (ห้องสมุดดิจิทัล)
อันดับที่ 9 Gene Therapy and/or Stem Cells (เซลล์ต้นกำเนิด)
อันดับที่ 8 Pervasive Wireless Internet (อินเทอร์ไร้สาย)
อันดับที่ 7 Mobile Robots (หุ่นยนต์ที่สามารถควบคุมได้)
อันดับที่ 6 Cheaper Solar Cells (เครื่องเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า)
อันดับที่ 5 Location-Based Computing (เทคโนโลยีการระบุพื้นที่)
อันดับที่ 4 Desktop 3-D Printing (การพิมพ์ภาพแบบสามมิติ)
อันดับที่ 3 Moore’s Law Upheld (กฎของมัวร์ในเรื่องประสิทธิภาพและขนาดของชิป)
อันดับที่ 2 Therapeutic Cloning (การโคลนนิ่ง)
อันดับที่ 1 The Hydrogen Economy (พลังงานน้ำ, พลังงานทดแทน)


เป็นยังไงกันบ้างครับ 1 ใน 10 ของเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ คือห้องสมุดดิจิทัล (อันดับที่ 10)
นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของเราชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์เลยก็ว่าได้นะครับ

เมื่อเรารู้ว่าห้องสมุดดิจิทัลสำคัญต่อการใช้ชีวิตของคนแล้ว
พวกเราในฐานะคนทำงานห้องสมุดและบรรณารักษ์ขอสัญญาว่าจะพัฒนาวิชาชีพนี้ต่อไป
เพื่อให้ห้องสมุดตอบสนองการใช้ชีวิตของคนในสังคมต่อไป

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วว่าด้วยเรื่องห้องสมุดดิจิทัล

หลายคำถามที่เกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัลที่หลายๆ คนอยากรู้
วันนี้ผมจึงถึงโอกาสนำประวัติศาสตร์ของห้องสมุดดิจิทัลมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังสักหน่อยดีกว่า

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล เกิดในสมัยไหน
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีที่มาอย่างไร
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล ใครเป็นคนคิดค้น
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีแนวคิดอย่างไร

ย้อนเวลากลับไปในปี พ.ศ. 2448 แวนเนวอร์ บุช (Vannevar Bush) ริเริ่มแนวความคิดในการสืบค้นสารสนเทศจากไมโครฟิลม์ โดยเรียกว่า ?เมมเมคซ์ (Memex)? ที่ช่วยดูข้อมูลได้จากศูนย์รวมข้อมูล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 เจซีอาร์ ลิคไลเดอร์ (JCR Licklider) อดีตผู้อำนวยการอาร์ปา (พ.ศ. 2505-2506) ได้เขียนแนวความคิดเรื่อง ?ห้องสมุดแห่งอนาคต? ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่เกิดแนวความคิดที่เป็นพื้นฐานสำหรับ ?ห้องสมุดดิจิทัล?

และหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2513 เทด เนลสัน (Ted Nelson) ได้พัฒนาเมมเมคซ์เป็น ?ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)? ซึ่งหมายถึง เครือข่ายข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ รูปภาพและเสียง ที่สามารถเรียกดูได้จากคอมพิวเตอร์

แล้วปี พ.ศ. 2537 คาเรน ดราเบนสทูตท์ (Karen Drabenstoott) ให้คำจำกัดความว่า? ต้องใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลห้องสมุดดิจิทัลหลายห้องสมุดเชื่อมต่อกันได้ ผู้ใช้เข้าใช้จากจุดใดก็ได้ สารสนเทศอยู่ในรูปแบบดิจิทัล

ในปี พ.ศ. 2538 ดับบริว ซาฟฟาดี (W. Saffady) ระบุในบทความชื่อ ?หลักการห้องสมุดดิจิทัล? ว่าเป็นห้องสมุดที่จัดเก็บสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัลให้สามารถดูได้โดยใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ

หลังจากนั้น 1 ปี พ.ศ. 2539 ซี แอล บอร์กแมน (C L Borgman) ให้คำจำกัดความในหนังสือชื่อ ?การเข้าถึงสารสนเทศ ห้องสมุดดิจิทัล? ว่าคือแหล่งสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ค้นหา และใช้สารสนเทศ เป็นแหล่งเก็บและค้นคว้าข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว

1 ปีให้หลัง พ.ศ. 2540 ริชาร์ด แอทคินสัน (Richard Atkinson) อธิการบดีมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ตั้งห้องสมุดดิจิทัลเป็น ?ห้องสมุดไร้กำแพง (Library Without Walls)? เชื่อมโยงห้องสมุด 10 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย มีบริการห้องสมุดครบถ้วนทุกประการ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ นับตั้งแต่มีแนวคิดในการสืบค้นสารสนเทศจากไมโครฟิล์ม จนถึงวันนี้ 105 ปี แล้วนะครับ
ผมเองตกใจมาก และไม่คิดว่าห้องสมุดดิจิทัลจะเกิดมานานขนาดนี้
และผมเชื่อว่าวงการห้องสมุดของเรายังต้องพัฒนาต่อไปอีก ในอนาคตเป็นแน่

ที่มาของข้อมูล เอกสารประกอบการอภิปรายเรื่อง ?บริการห้องสมุดสุดขอบฟ้า? จัดโดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย? ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี? ณ ห้องประชุม โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร วันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 เวลา 8.30-10.45 น.

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล เกิดในสมัยไหน
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีที่มาอย่างไร
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล ใครเป็นคนคิดค้น
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีแนวคิดอย่างไร

LibCamp#1 : Digital Library for Thailand

ผู้ที่ออกมาพูดคนสุดท้ายของงาน LibCamp#1
คือ คุณไกลก้อง ไวทยการ ตัวแทนจาก Change Fusion
ซึ่งมาพูดเกี่ยวกับโครงการ Digital Library for Thailand

Presentation เรื่อง Digital Library for Thailand

Read more