6 วิธีที่ช่วยเพิ่มยอดการยืมคืนทรัพยากรออนไลน์ (ห้องสมุดดิจิทัล)

6 วิธีที่ช่วยเพิ่มยอดการยืมคืนทรัพยากรออนไลน์ (ห้องสมุดดิจิทัล)

ช่วงนี้หลายๆ ห้องสมุดคงกำลังพิจารณาที่จะบอกรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (eResources) เพื่อให้บริการห้องสมุดดิจิทัล หรือ ห้องสมุดออนไลน์ ซึ่งก็มีทั้งที่บอกรับแบบเป็นฐานข้อมูลหรือเป็นการบอกรับรายเล่ม…. (ราคาก็มีทั้งแพงลงมาจนถึงแบบฟรี)

วิธีการบอกรับ ผมคงไม่ลงรายละเอียดแล้วกันครับ เพราะอย่างที่บอกไปว่ามีหลากหลายแบบ
แต่สิ่งที่ผมสนใจ คือ เมื่อมีแล้วเราก็อยากให้มันถูกใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด (ถูกต้องมั้ยครับ) Read more

Infographic เทรนด์ในการอ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Reading)

วันนี้เจอภาพ Infographic นึงรู้สึกว่ามันน่าสนใจเลยเอามาฝากเพื่อนๆ กัน Infographic นี้ได้พูดถึงแนวโน้มและพฤติกรรมของการอ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบภาพรวม เช่น ทำไมถึงอ่าน อุปกรณ์อ่านที่เป็นที่นิยม ฯลฯ

เอาเป็นว่าไปชมภาพ Infographic กันก่อนเลยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ น่าสนใจใช่มั้ยหล่ะ

สรุปข้อคิดและเนื้อเรื่องจาก Infographic นี้
การสำรวจข้อมูลครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างคือชาวอเมริกันที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป
– เพศชายกับเพศหญิงมีสัดส่วนในการอ่าน E-book ใกล้เคียงกัน ช่วงอายุที่อ่านมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 18-49 ปี และมีรายได้มากกว่า 50,000 เหรียญต่อปี
– เหตุผลในการอ่านหลักๆ คือ เพื่อการเรียนรู้, เพื่อหลบหนีความเป็นจริง และเพื่อความเป็นเทิง
– ในช่วงเวลาหนึ่งปี อัตราในการอ่านหนังสือโดยเฉลี่ย หนังสือประเภทสิ่งพิมพ์จำนวน  15 เล่ม และ E-book จำนวน 24 เล่ม
– อัตราของการซื้อหนังสือคนที่อ่าน E-book จะซื้อหนังสือมากกว่านักอ่านปกติ
– E-Reader ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ Kindle Fire
– แต่เมื่อเทียบ Kindle Fire กับ iPad คนใช้ iPad มากว่าหลายเท่า

ประเด็นสุดท้ายน่าสนใจมากๆ ครับ คือ “เหตุผล 4 ประการที่ไม่ซื้อ E-Reader”
1. ไม่จำเป็นหรือต้องการแค่ 1 (บางคนใช้ tablet ซึ่งแทนกันได้)
2. ไม่สามารถใช้ได้แค่คนๆ หนึ่ง (ไม่อยากใช้งานร่วมกับคนอื่น)
3. มีอุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น Tablet Notebook PC
4. ชอบหนังสือประเภทสิ่งพิมพ์มากกว่า

เอาหล่ะครับก็ขอฝากเรื่องราวดีๆ ไว้เพียงเท่านี้ก่อนแล้วกัน

“ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเพียงใด คนก็ยังคงต้องการแสวงหาความรู้มากขึ้นไปด้วย และการอ่านก็ช่วยให้เราได้เรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ได้เช่นกัน รูปแบบของหนังสือจะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่คนเราก็ยังไม่ทิ้งหนังสือที่เป็นเล่มอยู่ดี”

ที่มา http://infographiclabs.com/news/e-reading-trends/

Workshop : การผลิตสื่อวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

วันนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกกิจกรรมมาฝาก นั่นคือ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง  “การผลิตสื่อทางวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)” ที่จัดโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รายละเอียดการอบรมเชิงปฏิบัติการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : การผลิตสื่อวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
สถานที่จัดงาน : ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 อาคาร 2 สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 30 – 31 กรกฎาคม 2555
จัดโดย : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กิจกรรมนี้น่าสนใจมากๆ โดยฌแพาะห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา หรือแม้แต่ห้องสมุดในโรงเรียนเองก็น่าสนใจนะครับ เพราะการอบรมครั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ เราสามารถนำมาสอนอาจารย์หรือครูที่สนใจอยากผลิต E-book ที่ห้องสมุดของเราได้อีก

หัวข้อที่น่าสนใจ
– มาตรฐานสื่อดิจิทัล
– การใช้งาน e-Book
– แนะนำการสร้าง e-Book ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปแบบ Open source
– การติดตั้งโปรแกรมในการสร้าง e-Book
– การใช้งานโปรแกรมสําหรับสร้าง e-Book


เมื่อจบจากการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้แล้ว ทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตร ซึ่งเพื่อนๆ สามารถนำไปใช้เป็นใบเบิกทาง และแสดงถึงความสามารถในการใช้งานโปรแกรมการสร้าง E-book ได้


ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการอบรมครั้งนี้

สมัครภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 คนละ 1,600 บาท
หลังจาก วันที่ 20 กรกฎาคม 2555 คนละ 1,800 บาท

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูและสมัครที่ http://www.library.kku.ac.th/conference2012/

ขอฝากประโยคนี้ไว้ทิ้งท้ายข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมนี้แล้วกัน
หากย้อนเวลากลับไปเมื่อสองถึงสามปีที่แล้วสิ่งที่ทำให้บรรณารักษ์หวั่นๆ คงหนีไม่พ้น “Google” บัดนี้ความหวั่นๆ ของบรรณารักษ์เปลี่ยนไปเมื่อโลกกำลังพูดถึง E-book การจะขจัดความหวาดหวั่นนี้ได้คงต้องเริ่มจากการที่ห้องสมุดสร้าง Content และสร้าง E-Book ขึ้นมาเองให้ได้ และลองนำมาประยุกต์กับงานให้บริการดู สิ่งที่คงจะเป็นเพียงการจุดประกายเรื่องทิศทางของห้องสมุดในอนาคต

Infographic พฤติกรรมที่น่าสนใจของกลุ่มนักอ่าน Ebook

วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูล Infographic ที่น่าสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับ Ebook นะครับ Infographic นี้นำเสนอเรื่องพฤติกรรมที่น่าสนใจของบรรดาผู้ที่ใช้ Ebook และ Ereader ซึ่งสำรวจข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกา

เราไปชม Infographic นี้กันนี้

สรุปข้อมูลจาก Infographic ตัวนี้แบบคร่าวๆ นะครับ

– จำนวนคนที่อ่าน E-book มีมากขึ้น
– คนที่อ่าน E-books ส่วนหนึ่งก็ยังคงอ่านหนังสือที่เป็นฉบับพิมพ์ด้วย
– การเป็นเจ้าของ E-reader ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น
– คนอ่าน E-book ส่วนใหญ่ใช้ Ipad ในการอ่าน
– เหตุผลหลักของการอ่าน E-book คือ ความพอใจในอุปกรณ์การอ่าน
– นักอ่าน E-book นิยมการซื้อหนังสือ E-book มาอ่านมากกว่าการยืม E-book จากห้องสมุด


ประเด็นของ Infographic ชิ้นนี้ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การเปรียบเทียบการใช้งานตามวัตถุประสงค์ด้วย (ระหว่างหนังสือตัวเล่มกับ E-Book)

1. อ่านหนังสือในระหว่างการเดินทาง นิยม E-Book
2. อ่านหนังสือที่มีตัวเลือกเยอะๆ นิยม E-Book
3. การอ่านหนังสือกับเด็ก นิยม หนังสือที่เป็นตัวเล่ม
4. หนังสือที่อยากจะแชร์ให้คนอื่นได้อ่าน นิยม หนังสือที่เป็นตัวเล่ม
5. อ่านหนังสือก่อนนอน นิยม E-Book (คะแนนออกมาสู้สีมาก)
6. หนังสือที่ต้องการอ่านแบบเร็วๆ นิยม E-Book

เอาเป็นว่าที่สุดแล้ว Ebook และ หนังสือแบบตัวเล่มก็ยังคงต่างมีจุดดีและจุดด้อยต่างกัน ที่สำคัญเลือกให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของเราน่าจะดีกว่านะครับ

กระแสของ Ebook และ Ereader เริ่มมีบทบาทที่ชัดเจนมากขึ้น จนผมเองยังต้องย้ำและนำเสนอข้อมูลเรื่องนี้มากขึ้นไปด้วย เพื่อให้วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์รวมไปถึงวงการศึกษาในเมืองไทยเตรียมรับมือและเตรียมพร้อมเพื่อการพัฒนางานบริการต่างๆ ของเรา

พวกเราพร้อมหรือยังที่จะเตรียมให้บริการและพัฒนางานบริการของเรา

credit : http://www.onlineuniversities.com/e-book-nation

Infographic พฤติกรรมการอ่านของคนอเมริกาเปลี่ยนไปแค่ไหน

วันนี้เจอภาพ Infographic ที่น่าสนใจภาพนึง เกี่ยวกับวงการหนังสือด้วย ผมเลยขอนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ ดูสักนิดนึง ภาพๆ นี้ คือ “ภาพที่แสดงให้เห็นถึงความนิยมและจำนวนที่เพิ่มขึ้นของคนอเมริกันที่อ่านหนังสือด้วย E-Reader”

เราไปดูภาพนี้พร้อมๆ กันเลยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับภาพนี้

คำอธิบายเพิ่มเติมในภาพนี้
– E-Reader = อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Kindle, Ipad, Nook
– ชาวอเมริกา 1 ใน 6 คนใช้ E-Reader และมีแผนจะซื้อในอีก 6 เดือนข้างหน้า (ปัจจุบันใช้แต่ยังไม่ได้ซื้อ)
– อัตราการใช้ E-Reader ในปี 2011 มีจำนวน 15% ซึ่งมากกว่าปี 2010  ในปี 2010 มีจำนวน 8%
– จำนวนการซื้อในปี 2011 มีจำนวน 15% ซึ่งมากกว่าปี 2010  ในปี 2010 มีจำนวน 12%
– จำนวนการอ่านหนังสือจาก E-Reader มีมากกว่าการอ่านหนังสือที่เป็นตัวเล่ม
– จำนวนการซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) มีมากกว่าการซื้อหนังสือที่เป็นตัวเล่ม
– หนังสือนวนิยายเป็นหนังสือที่คนอ่านเยอะมาก ซึ่งหนังสือในกลุ่มนิยายลึกลับ สอบสวน ปริศนา เป็นหนังสือที่มีคนให้ความสนใจเยอะที่สุด
– หนังสือในกลุ่มสารคดี ผู้อ่านนิยมเรื่องชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ ศาสนา มากทื่สุด

ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นของอเมริกานะครับ ไม่ใช่ประเทศไทย
จริงๆ ผมก็อยากรู้เหมือนกันนะครับว่า ในเมืองไทยจะมีอัตราการอ่านเป็นอย่างไร
จะให้ดีถ้ามีคนนำภาพการอ่านของไทยมาเปลี่ยนเป็น Infographic ก็คงดีไม่น้อย

ที่มาของภาพนี้ http://www.livescience.com/16535-readers-kindle-popularity-infographic.html

100 Kindle book ที่น่าสนใจและราคาต่ำกว่า 4 เหรียญ

วันนี้ขอแนะนำ Ebook สำหรับ Kindle บ้างดีกว่า แต่ถ้าแนะนำ ebook แบบปกติก็คงธรรมดาไป
ขอนำเสนอ ebook ที่ราคาต่ำกว่า 4 เหรียญมาให้ดูดีกว่า (100 Kindle Books for $3.99 or less)

ลองเข้าไปดูกันก่อนนะครับ ที่ http://www.amazon.com/gp/feature.html?ie=UTF8&plgroup=1&ref_=br_lf_m_1000706171_pglink_1&docId=1000706171&plpage=1&ie=UTF8&tag=j9bvx4-20&linkCode=ur2&camp=1789&creative=390957

เป็นไงบ้างครับแต่ละเล่มถูกๆ ทั้งนั้นเลยใช่มั้ยครับ
ราคา 4 เหรียญ ตกเป็นเงินไทยราคาประมาณ 120 บาท

Ebook ราคาไม่แพงอย่างที่คิดใช่มั้ยครับ สำหรับคนที่ใช้ Kindle ผมขอแนะนำครับ
ลองเข้าไป Shopping Ebook กันได้เลย เลือกเล่มที่ชอบและซื้อไปได้เลยครับ

ที่สำคัญ คือ อ่านได้ทั้งบนเครื่อง Kindle, PC, Iphone, Ipad, Android…… อ่านได้หลากหลายเครื่องเลย นี่แหละความเป็น Amazon

ลองดูได้นะครับ สำหรับวันนี้ก็ขอลาไปก่อนแล้วกัน

ที่มา http://www.amazon.com/gp/feature.html?ie=UTF8&plgroup=1&ref_=br_lf_m_1000706171_pglink_1&docId=1000706171&plpage=1&ie=UTF8&tag=j9bvx4-20&linkCode=ur2&camp=1789&creative=390957

Flowchart คำแนะนำเบื้องต้นในการเริ่มใช้ Ebooks

วันนี้เจอ Flowchart นึงน่าสนใจมาก เป็น Flowchart ที่แนะนำเบื้องต้นสำหรับคนอยากใช้ Ebooks
เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ Ebooks มีอะไรบ้างและต้องคิดในเรื่องใดบ้าง ลองดูได้จาก Flowchart นี้

จากรูป Flowchart ผมขอสรุปคำแนะนำในการเริ่มต้นกับ Ebooks ดังนี้

1. เลือกอุปกรณ์ที่คุณจะใช้สำหรับอ่าน Ebooks ซึ่งมีให้เลือก ดังนี้
– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX
– เครื่อง? Ipad
– เครื่อง? Nook
– โทรศัพท์ Iphone
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC
– เครื่องอ่านยี่ห้ออื่นๆ หรือ โทรศัพท์แบบอื่นๆ (เช่น Android phone)


2. เลือกโปรแกรมที่ใช้สำหรับการอ่าน Ebooks (ต้องเลือกตามอุปกรณ์ที่คุณจะใช้ในข้อที่ 1) เช่น

-? เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX ต้องใช้โปรแกรม Kindle เท่านั้น
– เครื่อง Ipad สามารถใช้โปรแกรมหลายตัวได้ เช่น iBooks, Calibre, Kindle app, Kobo app, B&N ereader, Goodreader ฯลฯ
– เครื่อง Nook ต้องใช้โปรแกรม B&N eReader เท่านั้น
– โทรศัพท์ Iphone สามารถใช้โปรแกรมได้หลายตัวเช่นเดียวกับ Ipad บางโปรแกรมใช้ตัวเดียวกันได้ บางโปรแกรมก็ใช้ได้แค่บน Iphone เช่น BookShelf, Stanza, Borders, Libris
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป มีให้เลือกใช้มากมาย เช่น Adobe Digital Editions, Kobobooks, Mobipocket Reader, Stanza, Kindle for PC, Borders
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC ก็เช่นเดียวกัน มีโปรแกรมให้เลือกใช้เพียบ เช่น eReader, Calibre, Stanza Desktop, Adobe Digital Editions
– ส่วนเครื่องอ่านยี่ห้ออื่นๆ หรือโทรศัพท์อื่นๆ สามารถหาโปรแกรมดูได้ตามรุ่น


3. ไฟล์ของ Ebooks ที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ (อันนี้ก็ต้องเลือกตามอุปกรณ์และโปรแกรมด้วย) เช่น

-? ไฟล์ที่ใช้กับ Kindle และ Kindle App คือ AZW
– ไฟล์ที่ใช้กับเครื่องอ่าน Ebook reader ต่างๆ คือ ePub หรือ ePub+DRM(มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้)
– ไฟล์ที่เป็นสากลของโปรแกรม Ebooks คือ PDF
– นอกนั้นจะเป็นไฟล์ที่อุปกรณ์จะเป็นตัวกำหนด เช่น PalmDOC, Mobipocket ฯลฯ ต้องเลือกให้ถูกตามเครื่องและโปรแกรมเอง


4. หาซื้อ Ebooks ได้ที่ไหน ไปดูตามอุปกรณ์กันเลยนะครับ เช่น

– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX –> Amazon.com
– เครื่อง? Ipad –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่อง? Nook –> http://www.barnesandnoble.com/ebooks/index.asp
– โทรศัพท์ Iphone –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย

5. หากต้องการความช่วยเหลือในการใช้ Ebooks จะหาคำตอบได้จากไหน
– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX –> http://www.amazon.com/gp/help/customer/display.html?nodeId=200127470
– เครื่อง? Ipad –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่อง? Nook –> http://www.barnesandnoble.com/nook/support/?cds2Pid=30195
– โทรศัพท์ Iphone –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นบทสรุปของ Flowchart ที่ผมนำมาลงให้เพื่อนๆ ดู
โลกของ Ebooks ยังไม่สิ้นสุดแค่ใน Flowchart ที่นำมาลงนะครับ
ความเป็นจริงแล้วยังมีอีกมากมาย ซึ่งต้องศึกษาและหาความรู้เพิ่มเติมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

เอาเป็นว่าสำหรับการเริ่มต้นเรื่อง Ebooks ผมว่า Flowchart นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเหมือนกัน
เพื่อนๆ หล่ะครับคิดยังไงกับการใช้ Ebooks และพร้อมที่จะเริ่มต้นการเรียนรู้เรื่อง Ebooks กันหรือยัง

ที่มาของภาพนี้มาจาก http://bookbee.net/bee-ginners-guide-2/

(ผมเข้ามาอัพเดทข้อมูลเพิ่มเติมแล้วนะครับ)

Library Trend 2011 ตอน ทำความรู้จักกับ Google eBooks

วันนี้เพิ่งเดินทางกลับมาถึงกรุงเทพฯ เลยขอเขียนบล็อกสั้นหน่อยแล้วกัน
ด้วยความบังเอิญเจอวีดีโอตัวนึงน่าสนใจมาก และกำลังเป็นกระแสที่น่าติดตามเหมือนกัน นั่นคือ “Google eBooks
จึงขอนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ ห้องสมุดและบรรณารักษ์ดูและศึกษากันหน่อย

Google eBooks เปิดตัวไม่นานมานี้และถูกคาดหวังว่าจะเป็น trend ที่น่าสนใจในวงการห้องสมุดปีหน้าด้วย

เอาเป็นว่าไปลองดูวีดีโอตัวนี้กันก่อนแล้วกันครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=ZKEaypYJbb4[/youtube]

เป็นยังไงบ้างครับ

เนื้อหาที่กล่าวไว้ในวีดีโอนี้ได้แก่
– โลกของหนังสือที่เปลี่ยนจากการเป็นหนังสือเป็น eBooks
– แนวความคิดของการทำงาน Google eBooks
– อุปกรณ์ที่สนับสนุนการทำงานของ Google eBooks

เอาเป็นว่าวีดีโอตัวนี้ทำให้เข้าใจถึงเรื่องราวต่างๆ โดยภาพรวมของ Google eBooks
ยังไงซะก็ฝากดูและศึกษากันด้วยนะครับ และที่สำคัญลองคิดดูว่าจะนำมาประยุกต์กับห้องสมุดได้อย่างไร
แล้ววันหลังผมจะนำมาเล่าให้ฟังต่อก็แล้วกันครับ

เว็บไซต์ทางการ Google eBookstore : http://books.google.com/ebooks

แนะนำโปรแกรม GooReader ไปใช้ในห้องสมุดเพื่อการค้นหา E-Book

วันนี้ผมขอแนะนำโปรแกรมสำหรับอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบฟรีๆ ให้เพื่อนๆ รู้จักนะครับ
โปรแกรมนี้จะช่วยให้คุณหาหนังสือ E-book และสามารถอ่าน E-book ได้ดีทีเดียว

GooReader มาจาก Google + Reader แน่นอนครับ Google มี Google Book Search
ดังนั้น App นี้ก็เสมือน Client ที่เรียกข้อมูลผ่านทาง Google Book Search นั่นเอง

จุดเด่นของโปรแกรม GooReader
1. ค้นหาหนังสือจาก Google Book Search โดยไม่ต้องเข้า Web Browers
2. Interface ในการนำเสนอค่อนข้างดี เป็นรูปชั้นหนังสือสวยดี
3. สามารถอ่านหนังสือได้สมจริงกว่าอ่านบนเว็บ
4. สามารถดาวน์โหลดไฟล์ออกมาเป็น pdf
5. จำกัดการสืบค้นได้ง่าย
6. โปรแกรมมีขนาดเล็กไม่หนักเครื่อง
7. สำคัญสุดๆ โปรแกรมฟรี

โปรแกรมนี้ผมแนะนำว่าบรรณารักษ์ควรนำไปลงในเครื่องคอมในห้องสมุดนะครับ
เพราะถือเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้เข้าถึงแหล่ง E-book
แถมยังช่วยให้ห้องสมุดลดภาระในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ E-book อีกด้วย

วีดีโอแนะนำโปรแกรม GooReader

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=IlH-NH_yBOI[/youtube]

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองเข้าไปโหลดมาเล่นกันดูนะครับ ที่ http://gooreader.com/

บางสิ่งบางอย่างที่สวยกว่าบรรณารักษ์…จริงหรือ!!??

เพื่อนๆ จำประโยคนี้กันได้มั้ยครับ “sexier than a librarian” หรือที่แปลว่า “สวยกว่าบรรณารักษ์”
ประโยคนี้เป็นสโลแกนของสินค้าอย่างนึง…นั่นก็คือ…. Sony e-Book Reader นั่นเอง

บล็อกของบริษัท sony – Sony’s Reader: Sexier than a Librarian?

sexierthanlibrarian

แว้บแรกที่ผมเจอข้อความนี้ ผมเองก็บอกตามตรงเลยว่าก็สงสัยตั้งนานว่าอะไร
แต่พอเห็นสินค้าว่านั่นคือ Ebook Reader ก็ยิ่งทำให้ผมตกใจมากมาย
ไม่นึกว่า Sony จะเอาสินค้ามาเล่นกับวิชาชีพบรรณารักษ์ได้ขนาดนี้

แต่เพียงแค่ประโยคแค่นี้แหละครับ “sexier than a librarian
ก็ทำเอาเพื่อนๆ บล็อกเกอร์ชาวบรรณารักษ์ทั่วโลกไม่พอใจ
จนทำให้มีกระทู้ หรือบล็อกมากมายที่เขียนมาแก้กับเรื่องนี้ เช่น
Sony e-Book Reader Not Sexier Than a Librarian

ผมขอยกตัวอย่างคำพูดของบล็อกเกอร์บางคนนะครับ
บล็อกเกอร์อย่าง Thomas Hawk เจ้าของบล็อก Thomas Hawk?s digital connection
ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า
?There is just no way I?m buying that one. Nice try though Sony. I?m sure the reader?s probably just fine ?but? no way is it sexier than a librarian.?

หากถามผมว่า Sony e-Book Reader สวยมั้ย ผมคงตอบว่า “งั้นๆ แหละครับ
แต่ถ้ามองในเรื่องของคุณสมบัติและความสามารถผมว่าโอเคในระดับนึงเลยนะครับ

ความสามารถของ Sony e-Book Reader เช่น
– รองรับไฟล์ e-book / ภาพ / เสียง
– สามารถอ่านได้ 7500 หน้าต่อการชาร์ทไฟหนึ่งครั้ง
– สามารถโหลดหนังสือได้ผ่านทาง เว็บ connection

เอาเป็นว่าเรื่องนี้ผมขอจบตรงที่เรื่องบางเรื่องเราคงวัดกันที่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ได้
เช่น กรณีดังกล่าวที่เอาสิ่งของมาวัดกับคน โอเครูปลักษณ์บางทีมันก็ดูดีนะครับ
แต่ผมให้แง่คิดนิดนึงว่า สิ่งของอาจจะสวยงามแต่มันก็ไม่มีหัวใจที่รับรู้ความรู้สึกหรอกนะครับ

Sony e-Book Reader สวยก็จริงแต่ในแง่ของการบริการมันไม่สามารถบริการด้วยใจเหมือนบรรณารักษ์ได้นะครับ
ดังนั้นผมก็ขอสรุปว่ายังไงบรรณารักษ์ก็บริการได้ดีกว่าสิ่งของนะครับ

ภาพประกอบจาก http://www.sonyelectronicscommunity.com/sony/blog_post/?contentid=9223157316544538769