บรรณารักษ์แนะนำ app : หนอนหนังสือไม่ควรพลาด Goodreads

นานๆ ทีจะมาเขียนบล็อกให้เพื่อนๆ อ่าน วันนี้ผมเลยขอเปิดประเด็นใหม่ซึ่งอยากให้เพื่อนๆ ลองอ่าน
นั่นคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับการแนะนำ App ในโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ที่น่าสนใจ
ซึ่ง app ที่แนะนำในบล็อกนี้จะเกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์ รวมไปถึงคนที่ชอบอ่านหนังสือด้วย

วันนี้ผมขอแนะนำ App ที่เกี่ยวข้องกับคนชอบอ่านหนังสือแล้วกัน
และที่สำคัญ App นี้มาจากเว็บไซต์แห่งหนึ่งที่ผมชอบใช้ในการบรรยายของผมมากๆ
เว็บไซต์ที่ว่านี้ คือ www.goodreads.com นั่นเอง

เว็บไซต์ goodreads มีความน่าสนใจตรงที่ว่า มันเป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์หนึ่งที่รวบรวมคนที่รักการอ่านจากทั่วโลก มีการแนะนำหนังสือต่างๆ มากมายหลายภาษา มีการพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือต่างๆ การวิจารณ์หนังสือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับหนังสือมากมาย เอาเป็นว่าคอหนังสือหรือเหล่าหนอนหนังสือไม่ควรพลาด ที่สำคัญเว็บไซต์นี้ไม่ได้มีแต่หนังสือภาษาอังกฤษเท่านั้นแต่ยังมีหนังสือ วรรณกรรม เรื่องสั้น ของไทยอยู่เยอะพอสมควรเลย

“เพื่อนๆ อยากรู้มั้ยครับว่ามีคนที่อ่านหนังสือเล่มเดียวกับเพื่อนๆ กี่คน และเข้ารู้สึกยังไงกับหนังสือเล่มนั้น”

“คนที่วางแผนจะซื้อหนังสืออ่สนสักเล่มอยากรู้มั้ยครับว่าหนังสือเล่มที่เรากำลังจะซื้อมีคนพูดถึงอย่างไร”

“คนที่อ่านหนังสือไปแล้วสามารถแชร์ความประทับใจหรือพูดคุยกับคนที่อ่านเล่มเดียวกันได้”

เมื่อรู้แล้วว่าเว็บไซต์นี้ดีขนาดไหน ผมเชื่อว่าถ้าเพื่อนๆ มีโทรศัพท์ smartphone หรือ tablet คงจะต้องไม่พลาดกับ app ของเว็บไซต์นี้ “Goodreads”


ใน app “goodreads” มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง
– ค้นหาหนังสือ
– หนังสือของเรา (My book)
– ประวัติส่วนตัว (My profile)
– กลุ่มของฉัน (My group)
– อัพเดท หรือ หนังสือมาใหม่ หรือ วิจารณ์หนังสือล่าสุด (Update)
– เพื่อนของฉัน (My friends)
– สแกนหนังสือ หรือ เพิ่มหนังสือเข้าระบบ (Barcode scan)


กรณีถ้าเพื่อนๆ ยังไม่ได้เป็นสมาชิกของเว็บไซต์นี้ เพื่อนจะสามารถเข้าได้แค่ ค้นหนังสือ กับ การอ่านวิจารณ์หนังสือล่าสุดเท่านั้น ในเมนูอื่นๆ เพื่อนๆ จะเข้าไม่ได้ แต่เพื่อนๆ ก็สามารถที่จะสมัครสมาชิกใน app นี้ได้เลย เพียงแค่เพื่อนๆ มี facebook app นี้จะเชื่อมต่อกับ facebook ทำให้เพื่อนๆ ไม่ต้องกรอกข้อมูลอะไรมากมาย (สมัครสมาชิกง่ายมากๆ)


สำหรับคนที่ใช้ android สามารถเข้าไป search หา “Goodreads” ใน https://play.google.com/store
สำหรับคนที่ใช้ IOS ก็เข้าไปหาได้ที่ App Store นะครับ

เอาเป็นว่าก็ลองเข้าไปสมัครและเล่นกันดูนะครับ วันนี้ผมก็ขอแนะนำ app นี้ไว้เพียงเท่านี้ก่อน
ชมภาพการใช้งานของผมได้จากด้านล่างเลยครับ หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยประการใดก็สอบถามมาได้นะครับ

ภาพตัวอย่างการใช้งาน app goodreads

 
รายละเอียดของหนังสือ
มีข้อมูลนักเขียนด้วย

วีดีโองานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์

คลิปวีดีโอที่ทางเครือข่ายจิตอาสาได้ถ่ายวันที่อบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ส่งมาถึงมือผมเรียบร้อย
วันนี้ผมจึงขอนำขึ้นมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน สำหรับผู้ที่ไม่ได้มาอบรมคลิปวีดีโอนี้เป็นโอกาสของคุณแล้ว

แอบเสียดายนิดๆ ที่ผมไม่ได้นำกล้องถ่ายรูปไปในวันนั้น
เลยไม่ได้เก็บภาพบรรยากาศในวันนั้นมาให้เพื่อนๆ ดูเลย
มีก็เพียงวีดีโอที่ได้จากเครือข่ายจิตอาสาก็เท่านั้นเอง

virtual-library

การอบรมในวันนั้นใช้เวลาไป 3 ชั่วโมงก่าๆ แต่คลิปนี้มีความยาว 30 นาที
ซึ่งใน 30 นาทีที่ท่านกำลังจะได้ชมนั้น ผมว่ามันอัดข้อมูลในวันนั้นได้ครบถ้วนเลยทีเดียว

ไปชมวีดีโองานวันนั้นเลยครับ (ผมแบ่งเป็น 4 ตอนนะครับ)

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 1

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=5H592XIFeAY[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 2

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=kHFjshCWIRc[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 3

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=r9opbOzw58Q[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 4

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=2O3Qg5tDpLI[/youtube]

เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้รับความรู้มากน้อยเพียงใด ก็อย่าลืมเอามาเล่าให้ฟังกันบ้าง
ใครที่นำไปลองใช้ก็ส่งความคิดเห็นมาด้วยเช่นกันนะครับ

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณช่างกล้อง (ไม่รู้จักชื่ออ่ะ ก็เลยไม่ลงชื่อให้นะ)
และเครือข่ายจิตอาสาที่ได้จัดงานอบรมดีๆ แบบนี้ให้คนไทยได้รู้จักคำว่ารักการอ่านมากขึ้น

ปล. วีดีโอนี้เป็นของเครือข่ายจิตอาสานะครับ

My Library in Google VS Librarything VS Shelfari VS Goodreads

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีงานอบรม “การจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ เพื่อสร้างห้องหนังสือส่วนตัว
ซึ่งผมเองก็อยู่ในฐานะของผู้บรรยายเช่นกัน วันนี้ผมจึงขอสรุปข้อมูลและนำสไลด์มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน
เรื่องที่ผมบรรยาย คือ เรื่อง “ชั้นหนังสือออนไลน์ ที่คุณก็สามารถสร้างได้”

bookshelf

ก่อนที่ผมจะสรุปข้อมูลการบรรยาย ผมอยากให้เพื่อนๆ ได้ชม slide ของผมกันก่อน

แนะนำชั้นหนังสือออนไลน์ต่างๆ ที่คุณสามารถเข้าร่วมได้

สไลด์ของผมดูได้ที่ http://www.slideshare.net/projectlib/ss-2980074

เรื่องที่ผมบรรยายเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้งานชั้นหนังสือออนไลน์ที่อยู่บนเว็บไซต์ต่างๆ
ซึ่งผมได้นำเว็บไซต์ชั้นหนังสือออนไลน์มา demo การใช้งานและเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย

เว็บไซต์ชั้นหนังสือทั้ง 4 ที่ผมนำมาบรรยาย ประกอบด้วย
1. ห้องสมุดของฉัน @ Google book search – http://books.google.co.th
2. Librarything – http://www.librarything.com
3. Shelfari – http://www.shelfari.com
4. Goodreads – http://www.goodreads.com

แต่ละเว็บไซต์ก็มีข้อดีและข้อด้อยของมันเอาเป็นว่าผมขอสรุปให้อ่านคร่าวๆ ดังนี้

—————————————————————————————————

1. ห้องสมุดของฉัน @ Google book search http://books.google.co.th

ข้อดีของห้องสมุดของฉัน @ Google book search
– ค้นหาข้อมูลหนังสือได้ง่ายด้วย ISBN (Search by ISBN, OK)
– สืบค้นได้ค่อนข้างเร็ว (Fast for search)
– แสดงผลได้ทั้งแบบรายละเอียดและภาพปกหนังสือ (Detail List and Cover view)
– สามารถดูตัวอย่างเนื้อหาของหนังสือได้ (Example Chapter)
– เชื่อมโยงกับร้านจำหน่ายหนังสือต่างๆ เช่น ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ร้านซีเอ็ด ร้านนายอินทร์ ฯลฯ (Link to Library and bookstore)
– ส่งออกรายการหนังสือด้วยมาตรฐาน RSS (Export data to RSS)


ข้อด้อยของห้องสมุดของฉัน @ Google book search

– ต้องใช้ Account ของ Google เท่านั้น (Use Google Account)
– ดึงข้อมูลหนังสือได้ด้วย ISBN เพียงอย่างเดียว (Import your book by ISBN only)
– Import ข้อมูลหนังสือส่วนตัวเข้าไปในระบบไม่ได้ (people can’t import book to google)
– ไม่ค่อยมีใคร Review หนังสือ (No user review)

—————————————————————————————————

2. Librarything – http://www.librarything.com

ข้อดีของ Librarything
– สมัครสมาชิกง่ายมาก (Simple join up to member)
– มีระบบการจัดการข้อมูลส่วนตัวที่ดี (Good profile management system)
– ระบบแสดงผลสามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสม เช่น การโชว์ข้อมูล (Customize your page)
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– ข้อมูลถูกดึงมาจากหลายๆ ที่ (Many database sync)
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ Librarything
– ฟรีแค่ 200 เล่ม ถ้าเกินต้องเสียเงิน
– การแสดงผลในหน้าข้อมูลส่วนตัว มีข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นเพียบ (Gen profile system)
– ไม่มีข้อมูลตัวอย่างให้ดู

—————————————————————————————————

3. Shelfari – http://www.shelfari.com

ข้อดีของ Shelfari
– Import หนังสือได้ไม่จำกัดจำนวน
– User Review และ Amazon Review แยกกันอย่างชัดเจน
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ Shelfari
– ต้องใช้โปรแกรม flash เพื่อการแสดงผล
– เชื่อมโยงการซื้อขายกับ Amazon เจ้าเดียว
– Import หนังสือเข้าระบบ ค่อนข้างซับซ้อน เมนูหายาก และต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ดูแลระบบ
– มีโฆษณาแทรกอยู่ด้านล่าง ซึ่งทำให้ดูขวางหูขวางตา

—————————————————————————————————

4. Goodreads – http://www.goodreads.com

ข้อดีของ Goodreads
– Import หนังสือได้ไม่จำกัดจำนวน
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– การแสดงผลสวยงามและดูง่ายต่อการใช้งาน
– สมัครสมาชิกง่ายมากๆ (คล้ายๆ Librarything)
– เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ต่างๆ มากมาย เช่น ห้องสมุด ร้านหนังสือ
– จัดเก็บหนังสือ วีดีโอ รูปภาพ และ ebook ได้
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– คนไทยเล่นค่อนข้างเยอะ ทำให้มีหนังสือภาษาไทยเยอะ
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ
Goodreads
– มีโฆษณาแทรกอยู่ด้านล่าง ซึ่งทำให้ดูขวางหูขวางตา

—————————————————————————————————

เอาเป็นว่าจากการที่ลองเล่นเว็บไซต์ทั้ง 4 แต่ละที่มีข้อดีและข้อด้อย
แต่สำหรับผมค่อนข้างลำเอียงให้คะแนน Goodreads เยอะกว่าที่อื่นๆ
เนื่องจากมีหนังสือภาษาไทยค่อนข้างเยอะ ไม่เชื่อเพื่อนๆ ลองเข้าไปดูที่
http://www.goodreads.com/shelf/show/thai

นอกจากที่ผมจะบรรยายเนื้อหาในสไลด์นี้แล้ว บังเอิญว่ามีเพื่อนๆ เรียกร้องให้ demo อีกเว็บไซต์นึง
นั่นก็คือ เว็บไซต์อ่านอะไร (http://www.arnarai.in.th/) ของ น้อง @thangman22

ซึ่งผมได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดประสงค์ทั่วไปของเว็บไซต์นี้
และลองเล่นเว็บไซต์นี้ให้เพื่อนๆ ที่เข้าร่วมการอบรมได้ดู
ตั้งแต่สมัครสมาชิก เพิ่มรายการหนังสือ ใส่รูป และวิจารณ์หนังสือ

การอบรมในครั้งนี้ทางเครือข่ายจิตอาสาได้ถ่ายวีดีโอไว้ด้วย
เอาเป็นว่าหากวีดีโอตัดเสร็จเมื่อไหร่ผมจะขอนำมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันนะครับ