คลิปวีดีโอ : Google ก็ดีอยู่แล้ว แต่ห้องสมุดดีกว่านะ

วันนี้บังเอิญไปเจอคลิปวีดีโอตัวนึงมา เห็นชื่อเรื่องก็ตกใจเล็กน้อย “Google is good. Libraries are better.” แต่พอดูๆ ไปก็เข้าใจแล้วว่าห้องสมุดดีกว่ากูเกิลยังไง เลยขอแนะนำคลิปวีดีโอนี้ให้เพื่อนๆ ดู

ไปดูวีดีโอกันก่อนเลยดีกว่าครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ พบคำตอบหรือยังว่าห้องสมุดดีกว่ากูเกิลยังไง

อธิบายง่ายๆ คือ กูเกิลเป็นเพียงแค่หุ่นยนต์ (robot) ในการสืบค้น
มันสามารถสืบค้นข้อมูลได้มากมาย แต่มันไม่สามารถตอบคำถามเราได้ชัดเจน
ส่วนใหญ่จะเน้นไปทาง “คำสำคัญ หรือ Keyword” มากกว่า

แต่ถ้าเราตั้งเป็นประโยคคำถามไปตรงๆ กูเกิลก็คงตอบเราไม่ได้เช่นกัน
กูเกิลเป็นเพียงหุ่นยนต์ ไม่ใช่คน ดังนั้นเรื่องของความรู้สึก กูเกิลก็คงตอบเราไม่ได้ด้วยเช่นกัน

ยกตัวอย่างจากในวีดีโอ

“Do you have any books on the moon” คุณมีหนังสือที่เกี่ยวกับดวงจันทร์หรือปล่าว
ถาม google – google แสดงผลการสืบค้นอะไรออกมาก็ไม่รู้เยอะแยะ
ถามห้องสมุด – คุณก็เดินไปที่ชั้นหนังสือในกลุ่มดาราศาสตร์ได้เลย

“Can you help me find out about my grandmother?” คุณช่วยฉันตาหาย่าของฉันได้มั้ย

ถาม google – google แสดงผลการสืบค้นอะไรออกมาก็ไม่รู้เยอะแยะ
ถามห้องสมุด – โอเค งั้นเราไปช่วยกันตามหาท่านกันดีกว่า

เป็นไงบ้างครับ นี่ก็เป็นตัวอย่างเล็ก ที่แสดงให้เห็นแล้วว่า ระหว่าง google กับ ห้องสมุด ใครเหนือกว่ากัน
เอาเป็นว่าวันนี้ก็ฝากเอาไว้ให้คิดเล่นๆ กันเท่านี้ก่อนนะครับ

Library Trend 2011 ตอน ทำความรู้จักกับ Google eBooks

วันนี้เพิ่งเดินทางกลับมาถึงกรุงเทพฯ เลยขอเขียนบล็อกสั้นหน่อยแล้วกัน
ด้วยความบังเอิญเจอวีดีโอตัวนึงน่าสนใจมาก และกำลังเป็นกระแสที่น่าติดตามเหมือนกัน นั่นคือ “Google eBooks
จึงขอนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ ห้องสมุดและบรรณารักษ์ดูและศึกษากันหน่อย

Google eBooks เปิดตัวไม่นานมานี้และถูกคาดหวังว่าจะเป็น trend ที่น่าสนใจในวงการห้องสมุดปีหน้าด้วย

เอาเป็นว่าไปลองดูวีดีโอตัวนี้กันก่อนแล้วกันครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=ZKEaypYJbb4[/youtube]

เป็นยังไงบ้างครับ

เนื้อหาที่กล่าวไว้ในวีดีโอนี้ได้แก่
– โลกของหนังสือที่เปลี่ยนจากการเป็นหนังสือเป็น eBooks
– แนวความคิดของการทำงาน Google eBooks
– อุปกรณ์ที่สนับสนุนการทำงานของ Google eBooks

เอาเป็นว่าวีดีโอตัวนี้ทำให้เข้าใจถึงเรื่องราวต่างๆ โดยภาพรวมของ Google eBooks
ยังไงซะก็ฝากดูและศึกษากันด้วยนะครับ และที่สำคัญลองคิดดูว่าจะนำมาประยุกต์กับห้องสมุดได้อย่างไร
แล้ววันหลังผมจะนำมาเล่าให้ฟังต่อก็แล้วกันครับ

เว็บไซต์ทางการ Google eBookstore : http://books.google.com/ebooks

แนะนำโปรแกรม GooReader ไปใช้ในห้องสมุดเพื่อการค้นหา E-Book

วันนี้ผมขอแนะนำโปรแกรมสำหรับอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบฟรีๆ ให้เพื่อนๆ รู้จักนะครับ
โปรแกรมนี้จะช่วยให้คุณหาหนังสือ E-book และสามารถอ่าน E-book ได้ดีทีเดียว

GooReader มาจาก Google + Reader แน่นอนครับ Google มี Google Book Search
ดังนั้น App นี้ก็เสมือน Client ที่เรียกข้อมูลผ่านทาง Google Book Search นั่นเอง

จุดเด่นของโปรแกรม GooReader
1. ค้นหาหนังสือจาก Google Book Search โดยไม่ต้องเข้า Web Browers
2. Interface ในการนำเสนอค่อนข้างดี เป็นรูปชั้นหนังสือสวยดี
3. สามารถอ่านหนังสือได้สมจริงกว่าอ่านบนเว็บ
4. สามารถดาวน์โหลดไฟล์ออกมาเป็น pdf
5. จำกัดการสืบค้นได้ง่าย
6. โปรแกรมมีขนาดเล็กไม่หนักเครื่อง
7. สำคัญสุดๆ โปรแกรมฟรี

โปรแกรมนี้ผมแนะนำว่าบรรณารักษ์ควรนำไปลงในเครื่องคอมในห้องสมุดนะครับ
เพราะถือเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้เข้าถึงแหล่ง E-book
แถมยังช่วยให้ห้องสมุดลดภาระในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ E-book อีกด้วย

วีดีโอแนะนำโปรแกรม GooReader

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=IlH-NH_yBOI[/youtube]

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองเข้าไปโหลดมาเล่นกันดูนะครับ ที่ http://gooreader.com/

อ่านหนังสือแบบสามมิติได้แล้วใน Google Books

วันนี้ดีเดย์ Google เปิด Service ใหม่ใน Google books
โดย Service ใหม่ที่ว่านี้คือ การเพิ่มฟีเจอร์หนังสือให้ดูแบบสามมิติได้

google-3d-view-in-april-fools-day

วันนี้ผมเลยขอเข้าไปทดสอบแล้วนำมาให้เพื่อนๆ ดูกัน
เริ่มจากการเข้าไปที่หน้า Google bookshttp://books.google.co.th

googlebooks

จากนั้นผมได้ค้นคำว่า “Library” ซึ่งได้ผลการสืบค้นดังภาพ

librarybook-google

จากนั้นลองเข้าไปดูหนังสือสักเล่มนึง เมนูด้านบนเพื่อนๆ จะเห็นคำว่า “ดูในแบบ 3 มิติ

cover-book

เห็นแค่หน้าปกอาจจะดูว่าไม่แตกต่างมาก เอาเป็นว่าให้ดูเนื้อหาบ้างดีกว่า

detail-view

เอาเป็นว่า แนะนำให้ไปหาแว่นสามมิติมาใส่อ่านกันดูนะครับ แล้วจะได้รู้สึกว่าเป็นสามมิติ
นับว่า Google ช่างพัฒนารูปแบบการอ่านหนังสือได้เปลี่ยนไปจากเดิมมากๆ
ก็ขอปรบมือให้กับความตั้งใจในการพัฒนา อนาคตเราคงอาจจะได้เห็นอะไรที่เหนือจินตนาการอีกมากนะครับ

ปล. นี่คือการเล่น April Fool day ของ Google

หาหนังสืออ่านเล่นใน Google books search ดีกว่า

เรื่องนี้เขียนมานานแล้ว แต่อยากให้อ่านกันอีกสักรอบครับ
เกี่ยวกับการสืบค้นหนังสือโดยเฉพาะพวก text book ในเว็บไซต์ Google Books Search

textbook

ทำไมผมต้องแนะนำให้ใช้ Google Books Search หรอ….สาเหตุก็มาจาก :-
ข้อจำกัดของการใช้ Web OPAC ที่สืบค้นได้แต่ให้ข้อมูลเพียงแค่รายการบรรณานุกรมของหนังสือเท่านั้น
แต่ไม่สามารถอ่านเนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนั้นได้ เพราะฉะนั้นผู้ใช้จึงต้องเดินทางมายืมหนังสือที่ห้องสมุด
แต่ลองคิดสิครับว่าถ้าห้องสมุดปิด เพื่อนๆ จะอ่านเนื้อเรืองของหนังสือเล่มนั้นได้ที่ไหน

และนี่คือที่มาของการสืบค้นหนังสือบนโลกออนไลน์

ปัจจุบัน Search Engine ที่มีผู้ใช้งานในลำดับต้นๆ ของโลก ทุกคนคงจะนึกถึง Google
เวลาที่เราต้องการข้อมูลอะไรก็ตามเราก็จะเริ่มที่หน้าของ Google แล้วพิมพ์คำที่เราต้องการค้น เช่น ระบบสารสนเทศ
ผลของการสืบค้นจากการใช้ Search Engine จะมีสารสนเทศจำนวนมากถูกค้นออกมา
เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ ผู้ใช้สามารถได้เนื้อหาและข้อมูลในทันที แต่เราจะเชื่อถือข้อมูลได้มากเพียงไรขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของข้อมูล
รวมถึงเราจะนำข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ตไปอ้างอิงประกอบได้หรือไม่
แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเอกสารที่เราสืบค้นมีใครเป็นผู้แต่งที่แท้จริง

googlebooks

Google Book Search – http://books.google.com/
เป็นบริการใหม่ของ Google ที่ให้บริการในการสืบค้นหนังสืออิเล็ทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ซึ่งผลจาก การสืบค้นปรากฎว่าได้สารสนเทศแบบเต็ม (Full-text Search)
ซึ่งช่วยให้ผู้ที่ทำงานวิจัยอาจารย์ นักศึกษา สามารถค้นหนังสือและอ่านหนังสือได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทางด้านถานที่และเวลา

ยกตัวอย่างจาก นาย ก. เช่นเดิมที่ค้นหนังสือสารสนเทศในตอนเที่ยงคืนของวันอาทิตย์
หากนาย ก. ใช้บริการ Google Books Search ในตอนนั้น นาย ก. ก็จะได้ข้อมูลในทันที ไม่ต้องรอมาที่ห้องสมุด

แต่อย่างไรก็ตาม Google Books Search ยังมีข้อจำกัดหนึ่งสำหรับคนไทยคือ
ยังไม่สามารถสืบค้นหนังสือฉบับภาษาไทยได้ ดังนั้นหนังสือที่ค้นได้จะอยู่ในภาษาอื่นๆ เท่านั้น
คนไทยคงต้องรอกันอีกสักระยะมั้งครับถึงจะใช้ได้อย่างสมบูรณ์

แต่ถ้าอนาคต Google ทำให้สามารถค้นหนังสือภาษาไทยได้ถึงต่อนั้น
Google คงเป็นหนึ่งในคู่แข่งของห้องสมุดแน่ๆ อีกไม่นานต้องรอดูกันไป

ปล. มีบทความนึงที่น่าสนใจ เกี่ยวกับเรื่อง Full-text Searching in Books
เป็นบทความที่พูดถึง Google Books Search และ Live Search Books

วันนี้ผมขอแนะนำเพียงเล็กน้อยไว้วันหลังผมจะมา demo
และสอนเทคนิคการสืบค้นอย่างสมบูรณืแล้วกันนะครับ

ปรัชญา Google สู่การให้บริการในห้องสมุด

วันนี้ผมขอนำเสนอข้อคิดดีๆ ที่ผมได้จากการอ่านหนังสือของ google ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานบริการของห้องสมุด
ตอนแรกผมก็ไม่คิดว่าในหนังสือเล่มนี้จะมีปรัชญาที่ล้ำลึกได้ขนาดนี้ เอาเป็นว่าไปอ่านกันก่อนดีกว่า

book-google

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ
ชื่อหนังสือ : เจาะตำนาน รวยฟ้าผ่า google
ผู้แต่ง : สุขนิตย์ เทพอนันต์, พงษ์ระพี เตชพาพงษ์
ISBN : 978-974-7048-14-8
จำนวน : 164 หน้า
ราคา : 165 บาท
สำนักพิมพ์ : บริษัท มายด์ คอนเน็กชันส์ จำกัด

เนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท มีดังนี้
บทที่ 1 – ฟ้าส่งยาฮูมาเกิดไฉนส่งกูเกิลมาเกิดด้วยเล่า
บทที่ 2 – เล็กพริกขี้หนู
บทที่ 3 – จะหารายได้หรือจะกินแกลบ
บทที่ 4 – ไม่คลิกไม่ต้อจ่าย
บทที่ 5 – เงามืดโตตามตัว
บทที่ 6 – ถึงเวลาเป็นบริษัทมหาชน
บทที่ 7 – บุกตลาดต่างประเทศ
บทที่ 8 – เกมผูกมิตรแข่งศัตรู
บทที่ 9 – ทำนายอนาคตกูเกิล

หนังสือเล่มนี้เมื่อผมอ่านไปครึ่งเล่มก็เจอกับปรัชญาหนึ่งที่น่าสนใจ
ปรัชญานี้ผู้ก่อตั้งกูเกิล (Larry Page และ Surgrey Brin)ใช้สอนและบอกพนักงานอยู่เสมอ
ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีอยู่หลายข้อนะครับ แต่ผมขอยกตัวอย่างสัก 6 ข้อมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วนำไปลองปฏิบัติกันดูนะครับ

ตัวอย่างปรัชญา
1. คิดถึงผู้ใช้บริการก่อนแล้วอย่างอื่นจะตามมาเอง
(Focus on the user and all else will follow)

2. จะทำอะไรก็ทำให้เก่งไปซักเรื่องหนึ่งจะดีกว่า
(It?s best to do one thing really, really well)

3. เร็วดีกว่าช้า
(Fast is better than slow)

4. ประชาธิปไตยต้องดีที่สุด
(Democracy on the web works)

5. จริงจังได้โดยไม่ต้องใส่สูท
(You can be serious without a suit)

6. ยอดเยี่ยมแล้วยังไม่พอ
(Great just isn?t good enough)

ตัวอย่างการนำไปใช้ในห้องสมุด
1. เวลาบรรณารักษ์ให้บริการ เราต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้มากกว่าความต้องการของเรา

2. งานของบรรณารักษ์ที่ผมเน้นจริงๆ แล้ว เราไม่จำเป็นต้องเก่งตามปรัชญาหรอกครับ
ขอแค่รู้จักและทำงานเป็นก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าจะเก่งสักเรื่องผมขอเก่งเรื่องการบริการผู้ใช้แล้วกัน

3. ส่วนการบริการที่รวดเร็วย่อมดีกว่าการบริการที่ช้าเพราะอย่าลืมว่าสังคมปัจจุบันมีการแข่งขันสูง
เราต้องคำนึงถึงผู้ใช้ที่ต้องการความรวดเร็วในการบริการ ไม่ใช่รอแล้วรออีก

4. การเคารพการตัดสินใจของผู้ใช้ในการประเมินห้องสมุดเพื่อปรับปรุงบริการต่างๆ
เราดูเสียงส่วนใหญ่ แต่ก็อย่าลืมพิจารณาเสียงส่วนน้อยด้วย เพราะบางครั้งเสียงส่วนน้อยอาจจะทำให้เราเกิดบริการแบบใหม่ก็ได้

5. การทำงานผมอยากเน้นว่านอกจากการทำงานด้วยความจริงจังกับหน้าที่ของตนแล้ว
สิ่งที่ผมอยากเสริมคือเรื่องของความจริงใจ โดยเริ่มจากเพื่อนร่วมงาน และผู้ใช้บริการ
หากเรามีทั้งความจริงจังและความจริงใจแล้ว เราจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานนั้นๆ

6. การที่เราได้รับคำชมมากๆ ไม่ได้หมายความว่าเราจะบริการเพียงเท่านี้
แต่เราต้องพัฒนาการบริการให้ผู้ใช้ดีขึ้นไป เพราะว่าคำชมจะอยู่ได้ไม่นานถ้าเราไม่พัฒนางานต่อไป
เช่นปีนี้ห้องสมุดทันสมัยขึ้น พอปีหน้าผู้ใช้บริการมากขึ้นก็เริ่มมีเสียงว่าไม่พอใช้
ดังนั้นเราต้องมีการปรับปรุงและพัฒนางานบริการด้านต่างๆ ให้ดีไปเรื่อยๆ ไม่มีคำว่าพอ

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับปรัชญาและข้อคิดดีๆ จาก google
จริงๆ มีอีกหลายข้อนะครับที่น่าสนใจ เอาไว้ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟังใหม่
ยังไงถ้าเพื่อนๆ คิดอะไรได้ดีกว่าแสดงความคิดเห็นด้านล่างได้เลยนะครับ
เราจะได้ร่วมกันพัฒนาวิชาชีพไปด้วย

ปล. จริงๆ แล้วปรัชญาของ google ก็สามารถประยุกต์ได้ทุกสาขาวิชาชีพนะครับ ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน

เมื่อ Libraryhub ได้ Pagerank 4/10

บล็อกหรือเว็บไซต์ของเพื่อนๆ มีค่า pagerank กันเท่าไหร่บ้างครับ
วันนี้ผมขอเล่าเรื่องค่า pagerank ที่ผมได้รับจาก google แล้วกัน

google-page-rank-libraryhub

ความหมายของ pagerank (คัดลอกมาจาก http://www.makemany.com)
ค่า pagerank คือ วิธีการจัดลำดับความสำคัญเว็บเพจทั่วโลก จาก Google โดยให้ชื่อว่า Google Page Rank การวัดค่าการจัดลำดับความสำคัญนี้ Google ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ 0 ถึง 10 ยิ่งตัวเลขสูงเท่าไหร่ ค่า Page Rank หรือ PR จะยิ่งสูงเท่านั้น และเป็นเหตุให้ได้รับการจัดลำดับที่ดีกว่าจาก Google.

สำหรับ Libraryhub เปิดไปได้ยังทันจะสามเดือนแต่ก็ได้ Pagerank มา 4/10

pr

ทำให้ผมมีกำลังใจในการเขียนบล็อกขึ้นอย่างมาก (แต่กำลังใจของเพื่อนๆ มีค่ามากกว่านะ)
ค่า pagerank จะทำให้ Google เข้ามาจัดทำ Index ของบล็อกผมเพิ่มขึ้น
และยังช่วยให้คำสำคัญในบล็อกของผมค้นได้เจอเยอะขึ้น ตำแหน่งก็ดีขึ้น

ที่สำคัญก็คือ “เพื่อนๆ จะเจอผมใน Google มากขึ้นและง่ายขึ้น”
ช่วยให้ผมมีสมาชิกใหม่ๆ และร่วมกันสร้างเครือข่ายมากด้วย

เพื่อนๆ สามารถเช็คค่า pagerank ได้ที่
http://www.prchecker.info/check_page_rank.php

สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่า pagerank คืออะไร ลองอ่านได้จากเว็บไซต์ด้านล่างนี้นะครับ

Pagerank คืออะไร (เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ)
http://en.wikipedia.org/wiki/PageRank
http://www.webworkshop.net/pagerank.html

Pagerank คืออะไร (เวอร์ชั่นภาษาไทย)
http://truehits.net/faq/webmaster/seo/page_rank.php
http://seo.siamsupport.com/blog/pagerank/

ก่อนจากกันวันนี้ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ที่เขียนบล็อกทุกคนนะครับ
ขอให้ได้ pagerank เพิ่มขึ้นกันทั่วหน้าเลยนะครับ