มาลุ้นกันว่า ห้องสมุดประชาชนแห่งปี 2023 (ระดับโลก) จะเป็นที่ใด

มาลุ้นกันว่า ห้องสมุดประชาชนแห่งปี 2023 (ระดับโลก) จะเป็นที่ใด

ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี งานประชุมด้านห้องสมุดและวิชาชีพบรรณารักษ์งานหนึ่งที่ต้องกล่าวถึง คือ “IFLA World Library and Information Congress” หรือ “IFLA WLIC” นั่นเอง และหนึ่งในรางวัลที่จะมีการประกาศในงานนี้ก็คือ “Systematic Public Library of the Year Award” ซึ่งวันนี้ผมจะมากล่าวถึงห้องสมุดที่เข้ามาในรอบสุดท้ายของปีนี้ (2023)

Read more
1001libraries – Blog แนะนำห้องสมุดที่เราควรไปดูให้ได้สักครั้งในชีวิต

1001libraries – Blog แนะนำห้องสมุดที่เราควรไปดูให้ได้สักครั้งในชีวิต

วันนี้บังเอิญไปเจอบล็อก (Blog) “1001 Libraries to see before you die” เมื่อเข้าไปดูแล้วจะพบว่ามีห้องสมุดที่แนะนำมากมาย และบอกเพียงว่า “ในชีวิตนี้เราควรไปสักครั้ง” ทำเอาผมตื่นเต้นมากๆ และต้องรีบเปิดดู ดังนั้นจึงต้องรีบเอามาเล่าให้เพื่อนๆ อ่าน

Read more
ช้อปปิ้งไอเดียการพัฒนาห้องสมุดจากบรรณารักษ์ทั่วทุกมุมโลก

ช้อปปิ้งไอเดียการพัฒนาห้องสมุดจากบรรณารักษ์ทั่วทุกมุมโลก

เมื่อ 2 วันที่แล้ว (27 สิงหาคม 2562) ในงาน World Library and Information Congress (WLIC) หรืองานประชุมสภาวิชาชีพห้องสมุดและสารสนเทศโลก ที่จัดโดย IFLA ได้มี session ที่ทำให้ผมตื่นเต้นมากๆ คือ การเปิดตัว “The Global Vision Ideas Store” ซึ่งวันนี้ผมจะมาขอเล่าให้เพื่อนอ่านว่ามันคืออะไร และทำไมผมถึงตื่นเต้นหนักหนา

Read more

วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนธันวาคม 2010

วารสารห้องสมุด IFLA Journal ประจำเดือนธันวาคม 2010 ออกแล้วครับ
เลยต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านกัน (ดาวน์โหลดได้ฟรีๆ เลยครับ)

อย่างที่เคยลงเอาไว้แหละครับว่า IFLA Journal ออก 3 เดือนครั้ง และออกมาในรูปแบบ PDF ไฟล์
ซึ่งครั้งที่แล้วผมนำฉบับเดือนตุลาคมมาลงซึ่งเพื่อนๆ หลายคนก็เมล์มาบอกผมว่าชอบ
และถ้าฉบับใหม่มาให้นำมาลงให้อ่านบ้าง ผมก็เลยจัดไปอย่าให้เสีย

วารสาร IFLA Journal ฉบับนี้มีเรื่องน่าสนใจอะไรบ้างไปดูกันก่อนเลยครับ

– Diversity in librarianship: The United States perspective
– Preserving traditional knowledge: Initiatives in India
– Assessing information literacy competency of Information Science and Library Management graduate students of Dhaka University
– Research output in the field of natural sciences: A bibliometric case study of Jamia Millia Islamia University, New Delhi
– Non-users? evaluation of digital libraries: A survey at the Universita` degli studi di Milano
– Building capacity through the IFLA Building Strong Library Associations programme

เข้าไปดาวน์โหลดเต็มๆ เล่มได้ที่
http://www.ifla.org/files/hq/publications/ifla-journal/ifla-journal-36-4_2010.pdf

เอาเป็นว่าแต่ละหัวข้อและบทความน่าอ่านมากๆ จริงๆ ครับ
ที่สำคัญของฟรีๆ แบบนี้มีให้อ่านเรื่อยๆ ดังนั้นไม่อยากให้พลาดกัน
โหลดไปอ่านแล้วส่งต่อให้เพื่อนๆ อ่านกันด้วยนะครับ

สำหรับเล่มเก่าๆ ก็ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.ifla.org/en/ifla-publications นะครับ

ปล. IFLA Journal ฉบับเดือนตุลาคม 2010 อ่านได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/2010/10/28/ifla-journal-volume-36-no-3-october-2010/

วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนตุลาคม 2010

วารสาร IFLA Journal ประจำเดือนตุลาคม 2010 ออกแล้วครับ
เลยต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านกัน (ดาวน์โหลดได้ฟรีๆ เลยครับ)

โดยปกติ วารสาร IFLA Journal จะออกทุกๆ 3 เดือนนะครับ
ซึ่งจะออกมาในรูปแบบ pdf ซึ่งเราสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีและสั่งพิมพ์ออกมาอ่านได้ครับ

วารสาร IFLA Journal ฉบับนี้มีเรื่องน่าสนใจอะไรบ้างไปดูกันก่อนเลยครับ
– Bringing the benefits of information technology to underserved populations: An introduction to ICTD for the library community
– Symbiotic partnerships: The global library community and the ICTD stakeholders
– Main factors affecting the preservation of Chinese paper documents: A review and recommendations
– Arab online book clubs: A survey
– System migration from Horizon to Symphony at King Fahd University of Petroleum and Minerals

เป็นไงกันบ้างครับน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
งั้นไปดาวน์โหลดกันเลยครับที่ “IFLA Journal Volume 36 Number 3 October 2010

สำหรับเล่มเก่าๆ ก็ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.ifla.org/en/ifla-publications นะครับ

การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)

วันนี้ผมมานั่งฟังบรรยาย เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)
ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO
ดังนั้นผมคงไม่พลาดที่จะสรุปเนื้อหาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

picture-021

แต่ก่อนจะอ่านเรื่องที่ผมสรุปนั้น ผมขอพูดถึงงานสัมมนาครั้งนี้ให้เพื่อนๆ ฟังก่อน
งานสัมมนาครั้งนี้ จัด 2 วัน คือ วันที่ 18 – 19 กุมภาพันธ์ 2552
ชื่อของการจัดสัมมนา
– การสัมมนานานาชาติ เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom) (18/2/52)
– การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น (19/2/52)

สถานที่ในการจัดงาน
– อาคารสัมมนา 1 ห้อง 5209 (18/2/52)
– อาคารสัมมนา 2 ห้อง 233 (19/2/52)

งานสัมมนาครั้งนี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO

หัวข้องานสัมมนาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 ที่น่าสนใจ

??????????????????-

Preservation of Local Wisdom : Best Practices
โดย Prof. Gary Gorman และ Dr. Dan Dorner

picture-043 picture-0461 picture-024

สถานการณ์ปัจจุบัน
– การเพิ่มจำนวนของการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีมากขึ้น
– ความเร็วในการเชื่อมต่อเครือข่ายมีสูงขึ้น
– การติดต่อสื่อสารข้ามประเทศสะดวกขึ้น
– ข้อมูลออนไลน์มีมากขึ้น
– มีองค์ประกอบภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้เพิ่มมากขึ้น

Digital Preservation คือ กระบวนการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูล และทำให้ข้อมูลเหล่านั้นเข้าถึงได้
Digital Preservation = (manage,collect + care,preserve)

การทำ Digitization คือการทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล (ถือว่าเป็นการจัดเก็บและรวบรวมเท่านั้น)
ดังนั้นไม่ถือว่าเป็นการทำ Digital Preservation ทั้งหมด (เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำ)

การทำ Digital Preservation ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้
– พื้นที่ของการจัดเก็บข้อมูล (Storage medium)
– คนที่จะมาดูแลการทำ (Staff)
– นโยบายขององค์กร (Policies)
– การวางแผนในการทำ (Planning)

หลักสำคัญของการทำ Digital Preservation คือ
– การเข้าถึง และการใช้งาน (Access and Use)
– เนื้อหาที่จะทำ (Content)
– การออกแบบระบบ (System Design)

(Access) สาเหตุที่คนไม่เข้ามาใช้งานระบบ (ประยุกต์เป็นการใช้งานเว็บไซต์ห้องสมุด)
– ไม่มีเครื่องมือที่ใช้ในการใช้งาน เช่น ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีอินเทอร์เน็ต
– สารสนเทศที่มีไม่เป็นที่ต้องการ หรือ ข้อมูลยังไม่ลึกพอ

(Content) วิธีการเลือกเนื้อหาในการจัดทำ
– คุณต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนในเรื่องเนื้อหา เช่น เนื้อหาอะไร และจะทำอย่างไร
– เนื้อหาที่สถาบันมี หรือสังคมมี
– เนื้อหาที่สนับสนุนการทำงานขององค์กร

(System Design) การออกแบบต้องดูทั้งในเรื่อง Software และ hardware
– Software เช่น ระบบการค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval), Metadata
– Hardware ต้องสอดคล้องกับการใช้งาน และต้องมีการปรับปรุงเสมอๆ

กรณีศึกษา National Digital Heritage Archive (NDHA)
ปี 2000 สมาคมห้องสมุดแห่งนิวซีแลนด์ศึกษาและพัฒนากลยุทธ์
ปี 2003 ห้องสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ปฏิบัติตามแผน
ปี 2004 ห้องสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ได้รับเงินมาพัฒนา และเริ่มต้นความร่วมมือกับบริษัท Libris
ปี 2005 ออกกลยุทธ์การทำข้อมูลดิจิตอลของนิวซีแลนด์
ปี 2008 ทดสอบ NDHA

??????????????????-

Using Open Source Systems to Develop Local repositories
โดย Assoc.Prof. Diljit Singh

picture-050 picture-0281

แนะนำข้อมูล Asia-Oceania ว่ามีขนาดใหญ่ และมีความหลากหลายทั้งในแง่ภาษา วัฒนธรรม ฯลฯ ดังนั้นจึงควรมีการรวบรวม และจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ เช่นคำว่า water มีการเรียกที่แต่ต่างกัน ประเทศไทยเรียกว่า น้ำ ประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า มิซุ ฯลฯ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) คือ ความรู้ที่เกิดจากการค้นพบ และสืบทอดกันมาของคนในพื้นที่นั้นๆ อาจจะนำเสนอในรูปแบบ คำพูด บันทึก ประสบการณ์ ฯลฯ

ทำไมภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) จึงสูญหาย
– ไม่มีการทำบันทึกแบบเป็นเรื่องเป็นราว
– เป็นความรู้ที่เกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น พอไม่มีคนสืบทอดความรู้ก็สูญหายไป

ห้องสมุดควรมีบทบาทต่อการ อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom) ด้วย เพราะโดยทั่วไป ห้องสมุดก็มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล และเป็นแหล่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

แนวความคิดในการสร้าง Local repositories
– ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงแหล่งจัดเก็บข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหา การอ่าน หรือการนำไปใช้
– รูปแบบของข้อมูลสามารถเป็นได้ทั้ง รูป เสียง ข้อความ วีดีโอ ที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอล

ทำไมต้องเลือกใช้ Open Source Systems
– ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก และลดต้นทุนการใช้โปรแกรมได้
– การขอใช้งานไม่ต้องผ่านตัวกลาง เราสามารถนำมาใช้ได้ทันที
– มีความยืดหยุ่นสูง เพราะสามารถปรับแต่ง sourcecode ตามที่เราต้องการได้

Open Source software ที่แนะนำในงานนี้ คือ Dspace, Fedora, Greenstone

??????????????????-

From LIS to ICS, a Curriculum Reform
โดย Assoc.Prof. Chihfeng P. Lin

picture-054 picture-029

หลักสูตรด้านบรรณารักษศาสตร์และ สารสนเทศศาสตร์กำลังจะเปลี่ยนรูปแบบของเนื้อหาวิชาใหม่ เพราะว่าการเรียนบรรณารักษ์อย่างเดียวจะทำให้เราตามโลกไม่ทัน

รูปแบบการปรับเปลี่ยนของสาขาวิชา
Library and Information -> Information -> Information Communication

ไอซีทีในด้านห้องสมุด เช่น
– ระบบคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด (Computerizing)
– ระบบอัตโนมัติ (Automation)
– ระบบเครือข่าย (Networking)
– ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet)
– ระบบข้อมูลดิจิตอล (Digitization)

ใน Information Communication Science ควรเรียนอะไรบ้าง
– Planning and practice of digitization
– Digitized information services and marketing
– Knowledge management
– Stores and management of electronic forms
ฯลฯ

??????????????????-

Preservation of Local Wisdoms in Thailand
โดย Ms.Naiyana Yamsaka

picture-056 picture-058

ภูมิปัญญาท้องถิ่น = ภูมิปัญญาของชาติ = มรดกทางปัญญาของชาติ

การเก็บรักษาวัสดุทางภูมิปัญญาของชาติในประเทศไทยมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เช่น
– อากาศร้อนชื้น
– สัตว์รบกวน เช่น มด มอด แมลงสาบ หนู

หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย เช่น
– สำนักโบราณคดี
– พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
– หอสมุดแห่งชาติ
– หอจดหมายเหตุ

การสงวนรักษาหนังสือในหอสมุดแห่งชาติ

การสงวนรักษาเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

แนะนำบริการสืบค้นข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ
– www.net.go.th
– www.narama.go.th

??????????????????-

ทั้งหมดนี้ก็เป็นการสรุปเนื้อหาการบรรยายของวันแรกเท่านั้นนะครับ