วันนี้ขอโพสอะไรสั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องความท้าทายในอาชีพบรรณารักษ์ในเอเชียแปซิฟิกมาให้อ่าน ทั้งนี้ข้อมูลมาจากการสอบถามบรรณารักษ์ในเอเชียแปซิฟิก จำนวน 336 คน
Wiley ได้นำมาจัดทำเป็น Infographic
Read moreห้องสมุดสำหรับคนรักห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือ
วันนี้ขอโพสอะไรสั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องความท้าทายในอาชีพบรรณารักษ์ในเอเชียแปซิฟิกมาให้อ่าน ทั้งนี้ข้อมูลมาจากการสอบถามบรรณารักษ์ในเอเชียแปซิฟิก จำนวน 336 คน
Wiley ได้นำมาจัดทำเป็น Infographic
Read moreมีการจัดอันดับห้องสมุดสุดใหญ่โตและอลังการในประเทศสหรัฐอเมริกา เกณฑ์ในการตัดสินครั้งนี้ คือ วัดจากจำนวนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ใครมีมากกว่าก็จะแปลว่าใหญ่กว่า “ตรงไปตรงมากครับ เพราะถ้ามีพื้นที่ในการเก็บเยอะนั้นก็หมายความว่าต้องมีพื้นที่และขนาดที่เยอะไปด้วย”
สถิติจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ได้มาจากการสำรวจของ สมาคมห้องสมุดสหรัฐอเมริกา (ALA)
ตัวเลขผมเองก็ไม่ค่อยแปลกใจสักเท่าไหร่หรอกครับ
แต่ที่ผมสนใจ คือ การนำข้อมูลนี้มาจัดทำเป็นภาพ infographic ต่างหาก
ไปชมกันได้เลยครับ
วันนี้เจอภาพ Infographic นึงรู้สึกว่ามันน่าสนใจเลยเอามาฝากเพื่อนๆ กัน Infographic นี้ได้พูดถึงแนวโน้มและพฤติกรรมของการอ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบภาพรวม เช่น ทำไมถึงอ่าน อุปกรณ์อ่านที่เป็นที่นิยม ฯลฯ
เอาเป็นว่าไปชมภาพ Infographic กันก่อนเลยครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับ น่าสนใจใช่มั้ยหล่ะ
สรุปข้อคิดและเนื้อเรื่องจาก Infographic นี้
การสำรวจข้อมูลครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างคือชาวอเมริกันที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป
– เพศชายกับเพศหญิงมีสัดส่วนในการอ่าน E-book ใกล้เคียงกัน ช่วงอายุที่อ่านมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 18-49 ปี และมีรายได้มากกว่า 50,000 เหรียญต่อปี
– เหตุผลในการอ่านหลักๆ คือ เพื่อการเรียนรู้, เพื่อหลบหนีความเป็นจริง และเพื่อความเป็นเทิง
– ในช่วงเวลาหนึ่งปี อัตราในการอ่านหนังสือโดยเฉลี่ย หนังสือประเภทสิ่งพิมพ์จำนวน 15 เล่ม และ E-book จำนวน 24 เล่ม
– อัตราของการซื้อหนังสือคนที่อ่าน E-book จะซื้อหนังสือมากกว่านักอ่านปกติ
– E-Reader ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ Kindle Fire
– แต่เมื่อเทียบ Kindle Fire กับ iPad คนใช้ iPad มากว่าหลายเท่า
ประเด็นสุดท้ายน่าสนใจมากๆ ครับ คือ “เหตุผล 4 ประการที่ไม่ซื้อ E-Reader”
1. ไม่จำเป็นหรือต้องการแค่ 1 (บางคนใช้ tablet ซึ่งแทนกันได้)
2. ไม่สามารถใช้ได้แค่คนๆ หนึ่ง (ไม่อยากใช้งานร่วมกับคนอื่น)
3. มีอุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น Tablet Notebook PC
4. ชอบหนังสือประเภทสิ่งพิมพ์มากกว่า
เอาหล่ะครับก็ขอฝากเรื่องราวดีๆ ไว้เพียงเท่านี้ก่อนแล้วกัน
“ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเพียงใด คนก็ยังคงต้องการแสวงหาความรู้มากขึ้นไปด้วย และการอ่านก็ช่วยให้เราได้เรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ได้เช่นกัน รูปแบบของหนังสือจะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่คนเราก็ยังไม่ทิ้งหนังสือที่เป็นเล่มอยู่ดี”
ไม่ได้นำ Infographic ข้อมูลดีๆ มาให้เพื่อนๆ ชมนานแล้ว วันนี้ผมขอแก้ตัวด้วยการนำเสนอ Infographic ข้อมูลของสารานุกรมแห่งหนึ่งที่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังมาก (คนที่เรียนด้านบรรณารักษ์จะต้องรู้จัก) นั่นคือ Britannica
แต่เพื่อนๆ หลายคนคงได้ข่าวเมื่อต้นปี 2012 ที่ สารานุกรมอย่าง Britannica ต้องประกาศยุติการพิมพ์สารานุกรมฉบับสิ่งพิมพ์ แต่สารานุกรมนี้ยังคงให้บริการในรูปแบบออนไลน์อยู่
อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
Encyclopedia Britannica หยุดพิมพ์แล้ว – http://www.blognone.com/node/30677
สารานุกรมบริทานิกาหยุดตีพิมพ์ – http://news.voicetv.co.th/global/33700.html (วีดีโอข่าว)
เอาหล่ะครับ มาเข้าเรื่องกันดีกว่า วันนี้ผมนำ Infographic ที่เกี่ยวกับ Britannica มาให้ดูครับ ชมกันก่อนเลย
เอาหล่ะครับมาดูข้อมูลสรุปจาก Infographic นี้กัน
ข้อมูลประวัติแบบคร่าวๆ ของ Britannica
– ฉบับแรกพิมพ์ในปี 1771 (อายุในปัจจุบัน = 244 ปี)
– ฉบับดิจิทัลถูกจัดทำครั้งแรกในปี 1981 โดย Lexisnexis
– ฉบับออนไลน์ครั้งแรกและฉบับซีดีเวอร์ชั่นสมบูรณ์เกิดขึ้นในปี 1994
– ฉบับมือถือ (รองรับเครื่อง Palm) เกิดในปี 2000
– ฉบับแอพใช้งานกับอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ของบริษัท apple (ipod,ipad,iphone) เกิดในปี 2011
– ปิดฉากสารานุกรม Britannica แบบสิ่งพิมพ์ในปี 2012
ทำไม Britannica ถึงไม่ทำสิ่งพิมพ์แล้วหล่ะ???
– ยอดขายตกลงอย่างรุนแรง ในปี 1990 ยอดขาย 120,000 ฉบับ ในปี 1996 เหลือยอดขาย 40,000 ฉบับ และในปี 2009 เหลือ 8,000 ฉบับ
ราคาของการใช้งานสารานุกรม Britannica เมื่อเทียบกับ wikipedia
– Britannica ฉบับพิมพ์ ราคา 1,395 เหรียญสหรัฐ
– Britannica ฉบับ ipad ราคา 1.99 เหรียญสหรัฐ/เดือน
– Britannica ฉบับออนไลน์ สมัครสมาชิก 70 เหรียญสหรัฐ/ปี
– wikipedia ฟรี ฟรี ฟรี
จำนวนบทความสารานุกรม Britannica เมื่อเทียบกับ wikipedia
– Britannica มีจำนวนบทความประมาณ 65,000 บทความ
– Wikipedia มีจำนวนบทความประมาณ 3,890,000 บทความ
จำนวนคนที่เขียนบทความในสารานุกรม Britannica เมื่อเทียบกับ wikipedia
– Britannica มีจำนวนประมาณ 4,000 คน (ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง)
– Wikipedia มีจำนวนประมาณ 751,426 คน (ใครๆ ก็เขียนได้)
เอาเป็นว่า ณ จุดนี้ ก็คงต้องบอกว่ายุคของสารานุกรม Britannica ฉบับพิมพ์อาจจะถึงจุดสิ้นสุดไปแล้ว แต่สิ่งที่กำลังจะเริ่มต้นก็คือการแข่งขันกับ Wikipedia ในโลกออนไลน์นั่นเอง
เอาเป็นว่าเส้นทางนี้จะเป็นเช่นไร คงต้องติดตามชมกันต่อไป
ปล.จริงๆ แล้ว การแข่งขันกันระหว่าง Britannica กับ Wikipedia ทำให้ผมรู้สึกถึงการแข่งขันระหว่าง Library และ Google ด้วย…
ที่มาของภาพ Infographic นี้มาจาก http://mashable.com/2012/03/16/encyclopedia-britannica-wikipedia-infographic/
วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูล Infographic ที่น่าสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับ Ebook นะครับ Infographic นี้นำเสนอเรื่องพฤติกรรมที่น่าสนใจของบรรดาผู้ที่ใช้ Ebook และ Ereader ซึ่งสำรวจข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกา
เราไปชม Infographic นี้กันนี้
สรุปข้อมูลจาก Infographic ตัวนี้แบบคร่าวๆ นะครับ
– จำนวนคนที่อ่าน E-book มีมากขึ้น
– คนที่อ่าน E-books ส่วนหนึ่งก็ยังคงอ่านหนังสือที่เป็นฉบับพิมพ์ด้วย
– การเป็นเจ้าของ E-reader ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น
– คนอ่าน E-book ส่วนใหญ่ใช้ Ipad ในการอ่าน
– เหตุผลหลักของการอ่าน E-book คือ ความพอใจในอุปกรณ์การอ่าน
– นักอ่าน E-book นิยมการซื้อหนังสือ E-book มาอ่านมากกว่าการยืม E-book จากห้องสมุด
ประเด็นของ Infographic ชิ้นนี้ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การเปรียบเทียบการใช้งานตามวัตถุประสงค์ด้วย (ระหว่างหนังสือตัวเล่มกับ E-Book)
1. อ่านหนังสือในระหว่างการเดินทาง นิยม E-Book
2. อ่านหนังสือที่มีตัวเลือกเยอะๆ นิยม E-Book
3. การอ่านหนังสือกับเด็ก นิยม หนังสือที่เป็นตัวเล่ม
4. หนังสือที่อยากจะแชร์ให้คนอื่นได้อ่าน นิยม หนังสือที่เป็นตัวเล่ม
5. อ่านหนังสือก่อนนอน นิยม E-Book (คะแนนออกมาสู้สีมาก)
6. หนังสือที่ต้องการอ่านแบบเร็วๆ นิยม E-Book
เอาเป็นว่าที่สุดแล้ว Ebook และ หนังสือแบบตัวเล่มก็ยังคงต่างมีจุดดีและจุดด้อยต่างกัน ที่สำคัญเลือกให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของเราน่าจะดีกว่านะครับ
กระแสของ Ebook และ Ereader เริ่มมีบทบาทที่ชัดเจนมากขึ้น จนผมเองยังต้องย้ำและนำเสนอข้อมูลเรื่องนี้มากขึ้นไปด้วย เพื่อให้วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์รวมไปถึงวงการศึกษาในเมืองไทยเตรียมรับมือและเตรียมพร้อมเพื่อการพัฒนางานบริการต่างๆ ของเรา
พวกเราพร้อมหรือยังที่จะเตรียมให้บริการและพัฒนางานบริการของเรา
credit : http://www.onlineuniversities.com/e-book-nation
เพื่อนๆ จำกันได้หรือปล่าว ว่าเมื่อเดือนที่แล้วผมทำแบบสำรวจเรื่องพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ (ลองอ่านดูย้อนหลังได้ที่ Libraryhub ขอสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของท่าน) ในบทความนั้นผมสัญญาไว้ว่าจะนำผลการสำรวจมาทำเป็น Infographic ให้ชม ไปดูกันเลยครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับ ผมขอสรุปจากแบบสำรวจเรื่องพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ อีกครั้งแล้วกัน ซึ่งมีข้อมูลดังนี้
– ผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 125 คน ซึ่งแบ่งเป็นเพศหญิง 96 คนและเพศชาย 29 คน
– หนังสือในกลุ่มบันเทิงคดี เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น การ์ตูน ได้รับความนิยมในการอ่านมากที่สุด รองลงมาเป็นหนังสืออื่นๆ ทั่วไป และนิตยสาร ส่วนหนังสือในกลุ่มหนังสือพิมพ์และตำราเรียนได้รับความนิยมในการอ่านน้อย (สาเหตุอาจจะมาจากการติดตามข่าวสารผ่านเว็บไซต์รวดเร็วกว่าการติดตามผ่านสื่อสิ่งพิมพ์)
– ช่วงเวลาที่ผู้อ่านชอบอ่านมากที่สุด คือ ช่วงเวลากลางคืน (ไม่ได้หมายความว่าอ่านหลังเที่ยงคืนนะครับ แต่เป็นการอ่านหลังจากการทำงานหรือเรียนแล้วกลับมาถึงบ้านตั้งแต่หัวค่ำเป็นต้นไป)
– นักอ่านก็ยังคงชอบการอ่านผ่านสื่อสิ่งพิมพ์มากกว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่
เอาเป็นว่าผมก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ตอบแบบสำรวจในครั้งนี้นะครับ
ไว้วันหลังจะหาข้อมูลอะไรดีๆ แบบดีมาทำเป็น Infographic ให้ดูเล่นกันอีก
ปล. ภาพขยายได้นะครับถ้าคลิ๊กที่รูป นำภาพไปแล้วก็เครดิตให้ด้วยนะครับ
ข้อมูลตั้งต้นสามารถดูได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/2011/11/14/poll-libraryhub-reading-for-make-infographic/
Inforgraphic ที่นำเสนอวันนี้ เป็น Infographic ที่นำเสนอเรื่องพฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักเรียนออกแบบกราฟิก MHCC (ว่าที่ graphic designer) (อาชีพที่ค่อนข้างยุ่งแต่มีเวลาอ่านหนังสือด้วยหรอ)
ภาพๆ นี้จัดทำโดยนักเรียนออกแบบกราฟิก MHCC คนนึง ที่รวบรวมข้อมูลการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ ในชั้นเรียนด้วยกัน (Graphic Designer เช่นกัน)
ไปดูภาพกันเลยครับ
เป็นยังไงบ้าง ว่าที่ Graphic designer ทำ Infographic จากข้อมูลใกล้ตัว (ผมว่ามันเยี่ยมมากจริงๆ นะ)
บทสรุปง่ายของภาพนี้ มีดังนี้
– Graphic Designer อ่านหนังสือเฉลี่ย 4.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยผู้หญิงใช้เวลาในการอ่านมากกว่าผู้ชาย
– หนังสือในกลุ่มเรื่องแฟนตาซีถือว่าเป็นหนังสือที่ Graphic Designer ชอบอ่านมากที่สุด
– ช่วงเวลาที่ Graphic Designer อ่านหนังสือมากที่สุด คือ ช่วงกลางคืน
– Graphic Designer อ่านหนังสือจากตัวเล่มมากกว่าอ่านในสื่อดิจิตอล
– 44% ของ Graphic Designer ในชั้นเรียนนี้อ่านหนังสือมากกว่าดูทีวี
– สถานที่ที่ชอบอ่านที่สุด คือ ที่บ้าน โดยเฉพาะบนเตียงนอน
เห็นข้อมูลแล้วก็ตกใจจริงๆ นะครับว่า Graphic Designer ยังคงชอบอ่านหนังสืออยู่
เรื่องที่ไม่แปลกใจคือเรื่องสื่อที่อ่านครับ แน่นอน Graphic Designer คงทำงานคอมมาเยอะแล้วจึงขออ่านจากตัวเล่มหนังสือดีกว่าอ่านบนหน้าจอ
ไว้ว่างๆ ผมจะลองทำแบบสอบถามคล้ายๆ แบบนี้แล้วส่งให้เพื่อนๆ ทำดีกว่า
ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่าบรรณารักษ์จะมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่เป็นหนอนหนังสือ
ที่มาของภาพ Infographic จาก http://elisabethwdesign.blogspot.com/2011/05/infographic.html
วันนี้เจอภาพ Infographic ที่น่าสนใจภาพนึง เกี่ยวกับวงการหนังสือด้วย ผมเลยขอนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ ดูสักนิดนึง ภาพๆ นี้ คือ “ภาพที่แสดงให้เห็นถึงความนิยมและจำนวนที่เพิ่มขึ้นของคนอเมริกันที่อ่านหนังสือด้วย E-Reader”
เราไปดูภาพนี้พร้อมๆ กันเลยครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับภาพนี้
คำอธิบายเพิ่มเติมในภาพนี้
– E-Reader = อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Kindle, Ipad, Nook
– ชาวอเมริกา 1 ใน 6 คนใช้ E-Reader และมีแผนจะซื้อในอีก 6 เดือนข้างหน้า (ปัจจุบันใช้แต่ยังไม่ได้ซื้อ)
– อัตราการใช้ E-Reader ในปี 2011 มีจำนวน 15% ซึ่งมากกว่าปี 2010 ในปี 2010 มีจำนวน 8%
– จำนวนการซื้อในปี 2011 มีจำนวน 15% ซึ่งมากกว่าปี 2010 ในปี 2010 มีจำนวน 12%
– จำนวนการอ่านหนังสือจาก E-Reader มีมากกว่าการอ่านหนังสือที่เป็นตัวเล่ม
– จำนวนการซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) มีมากกว่าการซื้อหนังสือที่เป็นตัวเล่ม
– หนังสือนวนิยายเป็นหนังสือที่คนอ่านเยอะมาก ซึ่งหนังสือในกลุ่มนิยายลึกลับ สอบสวน ปริศนา เป็นหนังสือที่มีคนให้ความสนใจเยอะที่สุด
– หนังสือในกลุ่มสารคดี ผู้อ่านนิยมเรื่องชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ ศาสนา มากทื่สุด
ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นของอเมริกานะครับ ไม่ใช่ประเทศไทย
จริงๆ ผมก็อยากรู้เหมือนกันนะครับว่า ในเมืองไทยจะมีอัตราการอ่านเป็นอย่างไร
จะให้ดีถ้ามีคนนำภาพการอ่านของไทยมาเปลี่ยนเป็น Infographic ก็คงดีไม่น้อย
ที่มาของภาพนี้ http://www.livescience.com/16535-readers-kindle-popularity-infographic.html
วันนี้นั่งค้นรูป InfoGraphic ไปเรื่อยๆ ก็พบกับภาพ InfoGraphic ที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดอีกแล้ว
ผมจึงขอนำภาพๆ นี้มานำเสนอให้เพื่อนๆ ได้ดูกันสักนิดแล้วกัน (ข้อมูลค่อนข้างน่าสนใจ)
อย่างที่เคยบอกเอาไว้แหละครับว่า ภาพ InfoGraphic ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว บางคนใช้นำเสนอข้อมูลจำพวกสถิติ บางคนนำเสนอข้อมูลที่เป็นข้อความหรือสรุปเรื่องราว ….. วันนี้ InfoGraphic ที่ผมจะให้ดู เป็นเรื่องของการนำเสนอข้อมูลแบบสรุปนะครับ ซึ่งมีชื่อเรื่องว่า “5 Fun Facts You may not know about libraries” หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “5 ข้อเท็จจริงที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับห้องสมุด”
ชมภาพ InfoGraphic : 5 ข้อเท็จจริงที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับห้องสมุด
ทสรุปจากภาพด้านบน (5 ข้อเท็จจริงที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับห้องสมุด)
1. ห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาจะต้องให้บริการตอบคำถาม จำนวนถึง 56.1 ล้านคำถามในแต่ละปี โดยที่คำถามประมาณ 10 ล้านคำถามจะเกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอล (ข้อมูลจาก ALA)
2. ชาวอเมริกันไปห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษามากกว่าไปดูหนังในโรงภาพยนตร์ถึง 3 เท่า (ข้อมูลจาก ALA)
3. ในประเทศอเมริกามีห้องสมุดประชาชนมากกว่าร้านแมคโดนัลด์ – ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนมีสาขามากถึง 16,604 แห่ง (ข้อมูลจาก ALA)
4. Benjamin Franklin เป็นผู้ที่ก่อตั้งห้องสมุดประชาชนในฟิลลาเดเฟีย ซึ่งเป็นห้องสมุดที่ให้บริการยืมคืนครั้งแรกของอเมริกา (ข้อมูลจาก USHistory) อ่านประวัติเพิ่มเติมของ Benjamin Franklin ได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Benjamin_Franklin
5. 1 ใน 3 ของห้องสมุดประชาชนในอเมริกาจะมี account Facebook (ข้อมูลจาก library Research)
เป็นยังไงกันบ้างครับ ข้อมูลในภาพน่าสนใจมากใช่หรือเปล่า
ผมเองก็เพิ่งจะรู้ว่าที่อเมริกามีห้องสมุดมากกว่าร้านแมคโดนัลด์ซะอีก
เอาเป็นว่าถ้ามีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจอีก ผมจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันต่อนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอตัวไปเก็บข้อมูลอย่างอื่นก่อนแล้วกันนะครับ
ที่มาของภาพ Infographic : http://knovelblogs.com/2011/06/13/knovel-presents-5-fun-facts-you-may-not-know-about-libraries/
เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 1 ปีของการปรับเปลี่ยนรูปแบบห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี (วันครบรอบ 24 กรกฎาคม) ผมจึงถือโอกาสสรุปผลการดำเนินงานและข้อมูลที่น่าสนใจตลอด 1 ปีที่ผ่านมาให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน
แต่ถ้าจะสรุปข้อมูลสถิติของห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีแบบธรรมดาๆ (แบบตาราง หรือ แผนภูมิ) ผมว่ามันก็ไม่น่าสนใจเท่าไหร่ ดังนั้นผมจึงขอนำแนวความคิดของการจัดทำ Infographic ของต่างประเทศมาช่วยเพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอข้อมูลแบบใหม่ๆ
Infographic ที่เพื่อนๆ จะได้เห็นนี้ ผมเชื่อว่าเป็น Infographic แรกของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ใช้เวลาในการทำ 5 ชั่วโมง (ไม่ใช่แค่เรื่องออกแบบ และทำ graphic เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขต่างๆ ด้วย)
เอาเป็นว่าผมคงไม่อธิบายอะไรมากนอกจากให้เพื่อนๆ ได้ดู Infographic นี้เลย
[หากต้องการดูรูปใหญ่ให้คลิ๊กที่รูปภาพได้เลยครับ]
เป็นยังไงกันบ้างครับกับการนำเสนอข้อมูลห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีของผม
เพื่อนๆ คิดเห็นยังไงก็สามารถเสนอแนะได้นะครับ ผมจะได้นำแนวทางไปปรับปรุงต่อไป
ปล. หากต้องการนำไปเป็นตัวอย่างหรือนำไปลงในเว็บไซต์หรือบล็อกอื่นๆ กรุณาอ้างอิงผลงานกันสักนิดนะครับ