LibCamp#3 : กรณีศึกษาการทำกิจกรรมของนักศึกษาเอกบรรณ

ผู้บรรยายต่อมา คือ น้องอะตอม เจ้าของบล็อก http://atomdekzaa.exteen.com
และยังเป็นตัวแทนของนิสิตเอกบรรณารักษ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มาถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำกิจกรรมของเด็กๆ เอกบรรณฯ

atomlibcamp3

กิจกรรมที่น้องอะตอมได้นำมาเล่าให้พวกเราฟัง มีอยู่ด้วยกัน 2 กิจกรรมใหญ่ๆ นั่นคือ
1. ค่ายสอนน้อง
2. ค่าพัฒนาห้องสมุด

โดยหลักๆ อย่างค่ายสอนน้อง ในมหาลัยก็จะมีการตั้งกลุ่มกัน โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มค่ายแสงเทียน”
ซึ่ง “กลุ่มค่ายแสงเทียน” เป็นกลุ่มที่รวบรวมนักศึกษาจากคณะต่างๆ มารวมกันทำกิจกรรม ซึ่งนับว่าน่าสนใจมาก
ซึ่งโดยหลักการก็เพียงแค่ให้โรงเรียนประชาสัมพันธ์เรื่องการติวให้ ส่วนเรื่องเงินสนับสนุนจะเน้นจากองค์กรส่วนท้องถิ่น

ในแง่ของค่ายพัฒนาห้องสมุด จะเกิดจากความร่วมมือระหว่างเอกบรรณฯ และเด็กวิศวกรรม
โดยแบ่งหน้าที่กันชัดเจน คือ บรรณารักษ์จะให้ข้อมูลต่างๆ ด้านการทำงาน ส่วนวิศวกรรมก็เขียนโปรแกรม
ซึ่งนับว่าได้พัฒนาฐานข้อมูลให้พร้อมใช้งานได้ทันที

นอกจากกิจกรรมที่น้องอะตอมทำร่วมกับมหาวิทยาลัยแล้ว
น้องอะตอมได้เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานเป็นอาสาสมัครบรรณารักษ์ให้กับห้องสมุด บ้านเซเวียร์
ซึ่งตอนนี้น้องอะตอมได้ทำงานที่นี่ในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ครับ
โดยทำงานตั้งแต่เอาหนังสือออกมาปัดฝุ่น ทำความสะอาด และจัดขึ้นชั้น
ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้สอบถามถึงงานที่ทำและเสนอไอเดียต่างๆ เพื่อความช่วยเหลือมากมาย

น้องอะตอมให้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กเอกบรรณรุ่นปัจจุบันว่า
ส่วนใหญ่เด็กเอกบรรณรุ่นนี้จะเน้นและชอบเรียนด้านไอทีมากกว่าด้านเทคนิค
แต่น้องอะตอมชอบเรียนด้านการให้หัวเรื่องและการทำดัชนีของหนังสือมากกว่าไอทีครับ
ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดแง่มุมแปลกๆ ให้ผู้เข้าฟังรู้สึกประหลาดใจและชื่นชมในเรื่องของอุดมการณ์มากๆ

ก่อนจบการบรรยายในช่วงนี้ น้องอะตอมได้ฝากประโยคทิ้งท้ายให้เป็นแง่คิดต่อไปว่า
“เราต้องจัดเวลาเรียน และเวลากิจกรรมให้ได้ แต่อย่าไปทุ่มอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป”

LibCamp#3 : กว่าจะได้ห้องสมุดหนึ่งแห่งต้องทำอย่างไร

ผู้ร่วมเสวนาคุณสุจิตร สุวภาพ ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
และดำเนินรายการโดยนายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ บล็อกเกอร์ห้องสมุด
เสวนาในหัวข้อเรื่อง “กว่าจะได้ห้องสมุดหนึ่งแห่งต้องทำอย่างไร”

libcamp3-1

การเสวนานี้เริ่มจากการแนะนำตัวเองของผู้เสวนา นั่นคือ คุณสุจิตร สุวภาพ ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์ฯ จนกลายเป็นห้องสมุดมารวย

ผมขอเรียกคุณสุจิตร สุวภาพ ว่าพี่อ้วนนะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านบทสรุปของเรื่องนี้

พี่อ้วนจบปริญญาตรีใบแรกเอกภาษาอังกฤษ
หลังจากนั้นพี่อ้วนก็เกิดความสนใจเรื่องของสารสนเทศจึงได้ศึกษาปริญญาตรีอีกใบคือ เอกบรรณารักษ์ และได้ต่อปริญญาโทในสาขานี้
จากนั้นด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป พี่อ้วนจึงได้ศึกษาปริญญาโทอีกใบด้านไอที นั่นเอง

พี่อ้วนได้พูดถึงกรณีศึกษาการพัฒนาห้องสมุดมารวยให้พวกเราฟังต่อว่า
แต่เดิมแล้วห้องสมุดมารวยไม่ได้เรียกว่าห้องสมุดมารวยเหมือนทุกวันนี้หรอกนะครับ
แต่ก่อนห้องสมุดแห่งนี้ เรียกว่า ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่างหาก

แต่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงก็มาถึง เมื่อผู้บริหารต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์และสร้างแบรนต์ใหม่ให้ห้องสมุด
จึงได้มีการนำชื่อ มารวย มาใช้เพื่อเป็นเกียรติแด่ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 5

แนวความคิดในการปรับปรุงภาพลักษณ์ของห้องสมุดมารวย
คือ การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ทั่วไป และหาคู่แข่งห้องสมุดเพื่อเปรียบเทียบบริการ
การจัดโต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ — คล้ายกับร้านอาหาร (มาเยอะก็ต่อโต๊ะกัน)
เวลาทำการ (การเปิดปิด) ห้องสมุด — ปิดให้ดึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ แข่งกับห้างสรรพสินค้า

ฯลฯ

ห้องสมุดแห่งนี้ใช้เวลาในการวางแผนเพื่อการปรับปรุงทั้งหมด 6 เดือนก็สามารถที่จะปรับปรุงและเสร็จอย่างรวดเร็ว
ด้วยภาพลักษณ์เดิมที่ถูกเปลี่ยนเป็นภาพลักษณ์ใหม่ไปอย่างชัดเจน

ตัวอย่างสิ่งที่เปลี่ยนไป เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้แบบหรูหราถูกเปลี่ยนเป็นโต๊ะที่นั่งอ่านแบบสบายๆ

การจะสร้างห้องสมุดสักแห่งนึงต้องคำนึงถึง สิ่งดังต่อไปนี้
– สถานที่
– หนังสือ
– งานบริการ
– บรรณารักษ์
– ระบบเทคโนโลยี

แนะนำห้อง Plern ของตลาดหลักทรัพย์ (ห้องสมุด ห้องทำการบ้าน ห้องเล่น ห้องรับฝากเด็ก ห้องสอนพิเศษ – จิปาถะมากครับ)
Plern = Play + Learn เป็นห้องที่ตลาดหลักทรัพย์จัดไว้เพื่อใช้เป็นพื้นที่อำนวยความสะดวกกับชุมชนใกล้เคียง (ชุมชนคลองเตย)

การหาผู้สนับสนุนโครงการต่างๆ (CSR Project) ตลาดหลักทรัพย์จะมีรายชื่อหน่วยงานทางธุรกิจมากมาย
ดังนั้นจึงทำให้ติดต่อได้ไม่ยากนัก ถ้าเป็นโครงการที่ดีและทำเพื่อสังคม เราน่าจะลองทำเรื่องขอได้เช่นกัน

ตัวอย่างการสนับสนุนไม่ต้องมองที่อื่นเลย ที่นี่แหละ ห้องสมุดเสริมปัญญาก็ได้รับการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์นั่นแหละ

พี่อ้วนได้ทิ้งข้อคิดดีๆ ให้เราชาวห้องสมุดได้ฟังอีกว่า
การจะทำห้องสมุดสักแห่ง เราต้องตั้งเป้าประสงค์ของห้องสมุดให้ได้เสียก่อน
เช่นทำห้องสมุดอะไร เพื่ออะไร จะมีอะไรบ้าง แล้วเป็นประโยชน์อย่างไร
ถ้าเราตอบคำถามนี้ได้แล้วเราก็เขียนโครงการ เรื่องเงินไว้คิดทีหลังจะดีกว่า
เพราะถ้าเอาเรื่องเงินมากำหนดว่าจะทำห้องสมุด เราก็จะได้ห้องสมุดที่ไม่ต้องกับความต้องการของเรา

เป้าหมาย —> งบประมาณ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณพี่อ้วนมากๆ เลยเกี่ยวกับแง่คิดดีๆ และกรณีศึกษามากมาย

LibCamp#3 : นายกสมาคมห้องสมุดฯ กล่าวต้อนรับ

กล่าวต้อนรับและเปิดงานโดย นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ : ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
ซึ่งได้รับความรู้และตอบคำถามต่างๆ เกี่ยวกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

openlibcamp

บทสรุปที่คุณหญิงฯ ได้กล่าวให้พวกเราฟังมีสาระมากมายซึ่งผมได้สรุปประเด็นดังนี้

แนะนำที่มาของการก่อตั้งสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
(อันนี้ผมขอเล่าไม่มากนะครับเพราะว่าเพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ http://www.tla.or.th/history.htm)
แต่หลักๆ ตอนก่อตั้งครั้งแรกคุณหญิงฯ ก็เป็นผู้บุกเบิกในการก่อตั้งสมาคมห้องสมุดในช่วงนั้นเช่นกัน
ซึ่งปีนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีอีกครั้งที่คุณหญิงฯ ได้กลับมาเป็นประธานสมาคมฯ อีกครั้ง

ความสามัคคีในวิชาชีพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
คุณหญิงเน้นย้ำให้วงการวิชาชีพเราให้มีความสามัคคีกัน
และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันมากๆ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพของเราต่อไป

การบริการของห้องสมุดในปัจจุบันบางครั้งผู้ใช้อาจจะไม่จำเป็นต้องมาที่ห้องสมุดแล้วก็ได้
และบรรณารักษ์อย่างเราก็ต้องคอยบริการผู้ใช้ต่างๆ ด้วย
การบริการเชิงรุกในลักษณะนี้ คุณหญิงฯ ได้เคยกล่าวไว้นานแล้ว ซึ่งเรียกว่า “โครงการห้องสมุดสุดขอบฟ้า”
ซึ่งมีนิยามว่า “ไม่ว่าห้องสมุดจะอยู่ที่ไหนก็ตาม แต่บริการห้องสมุดและบริการความรู้จะต้องไปถึงในทุกๆ ที่”

หลายคนบอกว่าอาชีพบรรณารักษ์เป็นงานที่สบาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว
“งานบรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ทำงานหนักกว่าอาชีพอื่นๆ เพราะต้องคอยรวบรวมความรู้ของทุกสาขาอาชีพมาเก็บไว้ที่เดียวกัน

การทำงานบรรณารักษ์จำเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะของวิชาชีอยู่ตลอด
แต่เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องบริการด้วยความเครียดนะครับ คุณหญิงได้กล่าวให้เราเข้าใจเรื่อง “ความรู้คู่บันเทิง”

หลังจากที่ได้รับความรู้ต่างๆ มากมายแล้ว คุณหญิงฯ ก็เปิดโอกาสให้คณะกรรมการของสมาคมห้องสมุดแนะนำตัวเอง
และเชิญผู้เข้าร่วมงานสัมมนาแนะนำตัวเอง ซึ่งเพื่อทำความรู้จักกันก่อนการสัมมนา

อ๋อ เกือบลืมไปอย่างนึง วันนี้ผมได้รับคำตอบเกี่ยวกับเรื่อง “บุคคลดีเด่นของวงการบรรณารักษ์มาด้วย”
เพื่อนๆ ยังจำคำถามของผมเกี่ยวกับประเด็นเรื่องนี้หรือปล่าวครับ ว่า
“ทำไมบุคคลดีเด่นในวงการห้องสมุด จะต้องเป็นสมาชิกแบบตลอดชีพของสมาคมฯ ด้วย”
เหตุผลนั่นก็คือ เพื่อการอุปถัมภ์วงการห้องสมุด หากเรารักในวงการห้องสมุดเราก็ควรที่จะเข้าร่วมกับสมาคมห้องสมุดฯ
เพื่อร่วมกันพัฒนาวงการวิชาชีพนั่นแหละครับ
คือคำตอบของคำถามข้อนี้

เป็นครั้งแรกที่ผมยอมเปิดใจให้สมาคมมากขึ้นเลยนะครับเนี้ย
ขอบคุณครับคุณหญิงฯ ที่ให้เกียรติมาเปิดงานสัมมนาครั้งนี้ด้วยนะครับ
และหวังว่าเราจะร่วมกันสร้างเครือข่ายระหว่างสมาคมห้องสมุดและเครือข่าย Libraryhub ได้นะครับ

อาทิตย์สุดท้ายก่อนถึงงาน Libcamp#3

วันอาทิตย์ที่จะถึงนี้แล้วสินะครับ กับงานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ ครั้งที่ 3 (Libcamp#3)
เพื่อนๆ คนไหนที่ยังไม่ลงทะเบียนก็ยังสามารถลงได้อีกนะครับ ที่ dcy_4430323@hotmail.com

logo-libcamp3-copy

วันนี้ผมขอมาคอนเฟิมรายละเอียดของงานอีกครั้งนะครับ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
เพราะว่ามีหลายคนถามผมหลังไมค์ว่า ตกลงเสียเงินหรือปล่าว
ผมจะขอย้ำอีกเป็นรอบที่สิบว่า งานนี้ฟรีครับ

กำหนดการในงาน Libcamp#3
09.00 – 9.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
09.30 – 10.00 น. เครือข่ายจิตอาสาแนะนำโครงการจิตอาสา พร้อมทั้งกล่าวเปิดงาน
10.00 – 11.00 น. สิ่งที่ต้องคำนึงถึงขั้นพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด
11.00 – 12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น. แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมให้ห้องสมุด
14.00 – 15.00 น. ความร่วมมือระหว่างอาสาสมัครกับบรรณารักษ์
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.15 น. ประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนอื่นๆ (Open Session)
16.15 – 17.00 น. เยี่ยมชม และแนะนำห้องสมุดเสริมปัญญา


ในงานนี้ผมต้องขอขอบคุณสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยด้วย
ที่ให้พวกเราได้ใช้สถานที่ในการสัมมนาแบบฟรีๆ นะครับ
แถมให้เราได้รู้จักห้องสมุดเสริมปัญญาได้มากขึ้นด้วยนะครับ

เอาป็นว่าตอนนี้ผมเองก็คาดหวังว่าบทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยคงจะแจ่มชัดขึ้นนะครับ

ขอย้ำก่อนจากกันวันนี้ ลงทะเบียนโดยบอกจำนวนคนที่เข้าร่วม ชื่อจริง ชื่อตำแหน่ง หน่วยงานของคุณ
มาที่ dcy_4430323@hotmail.com

ลงชื่อเข้าร่วมงาน Libcamp#3 ได้แล้วที่นี่

ตอนนี้งาน Libcamp#3 พร้อมทุกอย่างแล้วครับ ทั้งเรื่อง ธีมงาน แผนงาน วันเวลา สถานที่
ตอนนี้ผมจึงขอประชาสัมพันธ์อย่างเต็มตัวบ้าง และถ้าเพื่อนๆ คนไหนส่งใจก็แจ้งมาที่ผมได้เช่นเดิมครับ

logo-libcamp3

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงาน Libcamp#3
ชื่องานอย่างเป็นทางการ : โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ ครั้งที่ 3
ธีมของงาน : ความร่วมมือระหว่างกลุ่มอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมทและบรรณารักษ์ (Volunteer and Librarian Network)
ชื่องานอย่างไม่เป็นทางการ : Libcamp#3
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 กันยายน 2552?? เวลา 9.30 – 16.30 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดเสริมปัญญา 1346 ถนนอาคารสงเคราะห์ 5 คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ

อย่างที่เพื่อนๆ ได้อ่านข้อมูลเบื้องต้นจากด้านบน และเพื่อนๆ บางคนคงอ่าน “ร่างโครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3
ธีมของการจัดงานในครั้งนี้ผมขอเปิดประเด็นและให้โอกาสกับกลุ่มคนภายนอกห้องสมุดเพื่อให้เข้าใจกระบวนการต่างๆ ในห้องสมุด
เพราะว่าผมเชื่อว่าในโลกยุคปัจจุบันอาชีพทุกอาชีพจะต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ยิ่งเรื่องของห้องสมุดเป็นเรื่องที่สาธารณะตระหนักถึงความสำคัญเท่าไหร่
บทบาทและหน้าที่ของห้องสมุดจะสำคัญและได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้นด้วย

อาสาสมัครหลายๆ คนที่อยากพัฒนาห้องสมุด แต่ขาดความเข้าใจในเรื่องของห้องสมุด
ก็จะได้มีโอกาสเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงกระบวนการจัดการงานห้องสมุดด้วย

ดังนั้นงานนี้ผมว่า ทั้งอาสาสมัคร บรรณารักษ์ และบุคคลที่เข้าร่วมในงานนี้
จะได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสังคมไทยได้นะครับ

ผมขอแนะนำกำหนดการของงาน Libcamp#3 ก่อนดีกว่า
09.00 – 9.30 น.?????????? ลงทะเบียน + รับเอกสารประกอบการบรรยาย
09.30 – 10.00 น.???????? เครือข่ายจิตอาสาแนะนำโครงการจิตอาสา พร้อมทั้งกล่าวเปิดงาน
10.00 – 11.00 น.???????? สิ่งที่ต้องคำนึงถึงขั้นพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด
11.00 – 12.00 น.??????? พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น.??????? แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมให้ห้องสมุด
14.00 – 15.00 น.??????? ความร่วมมือระหว่างอาสาสมัครกับบรรณารักษ์
15.00 – 15.15 น.??????? พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.15 น.??????? ประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนอื่นๆ (Open Session)
16.15 – 17.00 น.??????? เยี่ยมชม และแนะนำห้องสมุดเสริมปัญญา

(หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

ถึงแม้ว่างาน libcamp ครั้งนี้จะใช้เวลามากกว่า libcamp ครั้งก่อนๆ (ปกติจะจัดแค่ครึ่งวัน)
แต่การจัดงานในครั้งนี้จะสังเกตว่ามีทั้งหัวข้อแบบบรรยาย แบบความคิดเห็น รวมถึงการดูงานในสถานที่จริง

เป็นไงกันบ้างครับกับวัน เวลา สถานที่ กำหนดการ เพื่อนๆ ว่าสมบูรณ์หรือยัง
อ๋อ ลืมบอกไปอีกอย่าง ก็เหมือนกับทุกครั้งนั่นแหละครับ งานนี้ ฟรี ครับ

สำหรับใครที่สนใจจะเข้าร่วมงานนี้ กรุณาส่งเมลล์แจ้งความประสงค์ของคุณมาที่ dcy_4430323@hotmail.com นะครับ
กรุณาบอกจำนวนคนที่เข้าร่วม ชื่อจริง ชื่อตำแหน่ง หน่วยงาน ของคุณมาด้วยนะครับ

โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3

หลังจากจบงาน Libcamp#2 เมื่อเดือนที่แล้ว (สิงหาคม 2552)
ทางทีมงานผู้ร่วมจัดงานได้มีแผนงานต่อเนื่องของงาน Libcamp
จึงขอร่างและเตรียมจัดงาน Libcamp#3 ต่อเลยในเดือนกันยายน 2552

libcamp3

วันนี้ผมขอนำร่างโครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3 มาให้เพื่อนๆ อ่านก่อน
เผื่อว่าจะได้ตัดสินใจว่าจะมาหรือไม่มาตั้งแต่เนิ่นๆ (ขอประชาสัมพันธ์ล่วงหน้ายาวกว่า 2 ครั้งที่จัดมา)

สัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3

1.??? ความเป็นมา
ห้องสมุดยุคใหม่ มีการปรับตัวตามปัจจัยทางสังคมและเทคโนโลยีที่ทำให้พฤติกรรมของผู้ใช้ห้อง สมุดเปลี่ยนไป ซึ่งห้องสมุดปัจจุบันสามารถเข้าถึงผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น และสภาพแวดล้อมภายในห้องสมุดได้ปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัย ทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การให้บริการ ดังนั้นบรรณารักษ์จึงต้องมีการพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีความสามารถในการบริการและการจัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพ และสร้างเครือข่ายทางสังคมของบรรณารักษ์ เพื่อรองรับกับรูปแบบของห้องสมุดในอนาคต อาทิ ห้องสมุดดิจิทัล

ดังนั้นโครงการนักอ่านจิตอาสา มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ บ้านจิตอาสา จึงร่วมกับเครือข่ายด้านห้องสมุด จัดการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพให้กับอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม และบรรณารักษ์ ในการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบรรณารักษ์ โดยใช้ชื่องานว่า Libcamp ซึ่งได้จัดไปแล้วสองครั้ง เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 ณ ห้องประชุม อุทยานการเรียนรู้ TK Park ห้างเซ็นทรัลเวิร์ล (ตัวอย่างงาน Libcamp#1 : http://www.libraryhub.in.th/2009/05/07/gallery-for-libcamp1/) และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2552 ณ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2.??? วัตถุประสงค์โครงการ
2.1??? เพื่อให้อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมเข้าใจกระบวนการและแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดการห้องสมุด
2.2??? เพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างเครือข่ายบรรณารักษ์ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
2.3??? เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมระหว่างอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมกับบุคลากรในวิชาชีพบรรณารักษ์


3.??? ผู้รับผิดชอบโครงการ

3.1??? โครงการนักอ่านจิตอาสา
3.2??? ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ libraryhub.in.th
3.3??? แผนงาน ICT เพื่อสุขภาวะออนไลน์ และการสนับสนุนภาคีเครือข่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

4.??? การดำเนินการ
การสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ Libcamp ในครั้งที่สาม จะมีประเด็นหลักในการอภิปราย คือ การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม กับบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดให้เข้าใจกระบวนการและแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดการห้องสมุด เช่น หลักการพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมในห้องสมุด และการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลนอกวิชาชีพห้องสมุดกับบรรณารักษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่อาสาสมัครและคนทำงานด้านห้องสมุดจะสามารถพัฒนาและ นำไปใช้ เพื่อปรับปรุงห้องสมุดให้เข้าถึงผู้ใช้ในยุคสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลตรงตามจุดมุ่งหมายของงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์

5.??? กลุ่มเป้าหมาย
1. อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม
2. บรรณารักษ์
3.ผู้สนใจทั่วไป

6.??? รูปแบบการสัมมนา
จะเป็นรูปแบบไม่เป็นทางการ หรืออสัมมนา (Unconference) โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้นำเสนอภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามหัวข้อที่สนใจ ซึ่งสามารถเสนอหัวข้อทั้งก่อนวันงานและในวันงานได้ หลังจากการนำเสนอของแต่ละคนจะมีเวลาให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถาม

7.??? ผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.1??? เกิดเครือข่ายในการจัดการความรู้ของบรรณารักษ์
7.2??? เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในการเผยแพร่ความรู้และสนับสนุนการจัดการความรู้ระหว่างบรรณารักษ์
7.3??? เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาช่วยในการให้บริการผู้ใช้

โครงการนี้ผมขอนำต้นฉบับจากงาน Libcamp#2 ที่เขียนโดย แผนงาน ICT สสส.
มาเขียนใหม่และปรับรูปแบบใหม่ รวมถึงการตรวจสอบและแก้ไขโดยทีมงานจากโครงการนักอ่านจิตอาสา

ประมวลภาพงาน LibCamp#2

ก่อนจะประมวลภาพ Libcamp#2 ผมคงต้องขอขอบคุณแหล่งภาพจากทีมงานของ สสส. นะครับ

gallery-libcamp

สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่ได้อ่านบทสรุปของงานนี้
เพื่อนๆ ก็สามารถหาอ่านได้ตามนี้เลยนะครับ

โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#2
LibCamp#2 : เสวนาชวน Blogger มาเล่าสู่กันฟัง
LibCamp#2 : แอบดูบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ
Libcamp#2 : เครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก
Libcamp#2 : เปิดประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สำหรับคนที่อ่านจบแล้วก็มาดูรูปกันเลยดีกว่านะครับ
http://www.flickr.com/photos/guopai/sets/72157621876757181/

ภาพบางส่วนจากอัลบั้มงาน Libcamp#2

ป้ายของงาน Libcamp#2

libcamp20

ภาพผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด

libcamp21

ภาพบรรยากาศในงาน 1

libcamp21-2

ภาพบรรยากาศในงาน 2

libcamp21-3

ภาพบรรยากาศในงาน 3

libcamp21-4

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ผมต้องขอขอบคุณบุคคลต่างๆ ดังต่อไปนี้
– แผนงาน ICT เพื่อสุขภาวะออนไลน์ และการสนับสนุนภาคีเครือข่าย สสส.
– ห้องสมุดสตางค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
– วิทยากรผู้ให้ความรู้ทุกท่าน
– ผู้เข้าร่วมงาน LibCamp ทุกคน

แล้วรอติดตามงาน Libcamp#3 เร็วๆ นี้นะครับ

Libcamp#2 : เปิดประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ในช่วงหนึ่งชั่วโมงสุดท้ายก่อนปิดงาน Libcamp#2 ทางทีมงานได้เปิดหัวข้อ Open session ให้
ซึ่งเป็นหัวข้อที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าร่วมงานนำเสนอไอเดียใหม่ๆ และไอเดียที่น่าสนใจสำหรับวงการห้องสมุด

libcamp-open-session

ซึ่งผลจากการเปิดหัวข้อในครั้งนี้เราได้ข้อมูลต่างๆ มากมาย ซึ่งสรุปออกมาได้หลายประเด็นดังนี้

1. แนะนำโครงการห้องสมุดดิจิทัล โดย คุณชิตพงษ์? กิตตินราดร
ตอนนี้โครงการห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติ ได้มีการดำเนินการมาในระยะหนึ่งแล้ว
โดยแผนงานไอซีที ของ สสส. จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาน และผลักดันให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายต่างๆ
เพื่อนำไปสู่การร่วมกันขับเคลื่อนงานพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลฯ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในสังคม
โครงการนี้ก็หวังว่าจะเป็นโยชน์ต่อสังคมในแง่ของการให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก และเยาวชนบนโลกออนไลน์

2. Arnarai.in.th: คุณกำลังอ่านหนังสืออะไรอยู่ โดย คุณวรัทธน์? วงศ์มณีกิจ
แนะนำเว็บไซต์ “อ่านอะไร” บล็อกก็คือที่ปล่อยของ ในที่นี้หมายถึงหนังสือนะครับ
แรงบันดาลใจในการทำเว็บๆ นี้ คือ “เด็กไทยอ่านหนังสือวันละ 6 บรรทัด”
นี่เป็นสิ่งน่าคิดมากว่าแล้วเราจะทำยังไงให้มีการอ่านเพิ่มมากขึ้น
จึงได้จับเอาหนังสือมาผนวกกับแนวความคิดของเว็บ 2.0 จึงทำให้ได้เว็บนี้ออกมา

arnarai

ลองเข้าไปเยี่ยมชมกันได้ที่ http://www.arnarai.in.th/

นอกจากสองประเด็นใหญ่นี้แล้ว ทางทีมงานยังได้รับคำถามต่างๆ เกี่ยวกับงาน Libcamp ในครั้งหน้าด้วย เช่น
– อยากให้งาน LibCamp มีการฝึกปฏิบัติ หรือ workshop กันด้วย
– อยากให้งาน LibCamp จัดงานหมุนเวียนไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ บ้าง
– อยากให้งาน LibCamp ไปจัดในต่างจังหวัดด้วยเช่นกัน

เอาเป็นว่าในงานนี้ทุกคนต่างก็ได้รับความรู้ไปใช้ไม่มากก็น้อยนะครับ
ทางทีมงานและผู้จัดงานทุกคนต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ได้ติดตามงาน Libcamp มาอย่างต่อเนื่องครับ

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

Libcamp#2 : เครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก

วิทยากรที่ดูแลในช่วงนี้ คือ อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ จาก สวทช.
ซึ่งมาพูดในหัวข้อเกี่ยวกับเครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก นั่นเอง

libcamp-wp-elgg

อาจารย์บุญเลิศ ได้แนะนำการทำบล็อกห้องสมุดด้วยเครื่องมือต่างๆ
โดยถ้าเน้นระบบสำเร็จรูปที่รองรับมาตรฐานการใช้บล็อก และดูแลง่ายไม่ซับซ้อน ก็ให้ใช้ WordPress
แต่ถ้าต้องการความซับซ้อน และทำเว็บไซต์ให้ออกมาอยู่ในรูปแบบเครือข่ายสังคม (Social Network) ก็ให้ใช้ elgg ดีกว่า


ใช้ Blog เป็นเครื่องมือทำอะไรได้บ้าง


1. Blog สามารถสร้างเว็บห้องสมุดได้

ศักยภาพของ Blog นอกจากจะมีไว้เขียน Blog ปกติแล้วยังสามารถทำให้ Blog ให้กลายเป็นเว็บห้องสมุด
เช่น การผูก CMS มาตรฐานเข้ากับระบบ OPAC ที่ใช้งานได้ฟรี ทำให้ได้เว็บห้องสมุดที่มีคุณสมบัติมาตรฐานพร้อมใช้งาน
ซึ่งมีข้อดีคือ ใช้ง่าย ประหยัดทั้งงบประมาณ และระยะเวลาในการสร้างระบบเว็บห้องสมุด


2. Blog รองรับการสร้างรายการบรรณานุกรมออนไลน์โดยอัตโนมัติ

ระบบ CMS มาตรฐานที่แนะนำให้บรรณารักษ์เลือกใช้การสร้างระบบห้องสมุดเหล่านี้
สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ปลายทาง ที่ต้องการสร้างรายการบรรณานุกรมอ้างอิง จากข้อมูลในเว็บโดยอัตโนมัติ
โดยผู้ใช้ปลายทางต้องใช้โปรแกรมช่วยสร้างรายการบรรณานุกรมอย่าง Zotero (http://www.zotero.org/)
โดยระบบ CMS มาตรฐานดังกล่าวจะส่งข้อมูล metadata ที่ Zotero ต้องการ
ทำให้ผู้ใช้งานได้รับรายการบรรณานุกรมที่มีข้อมูลสมบูรณ์พร้อมใช้


3. Blog เป็นเครื่องมือสร้าง Community Online และการจัดการความรู้ขององค์กร

หลักของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในองค์กร
เราก็สามารถนำ Blog มาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ แลฃะสร้างชุมชนออนไลน์ในองค์กรได้

4. Blog ทำให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลในเว็บของเราเจอได้ง่ายขึ้น โดยผ่าน search engine
การทำบล็อกที่ดีจะทำให้เนื้อหาของเราถูกค้นเจอได้ง่ายขึ้นผ่าน search engine ด้วย
โดยหลักการแล้วจะเรียกว่าเป็นการทำ SEO ? Search Engine Optimization ก็ว่าได้
โดยเพื่อนๆ ก็ต้องใส่ข้อมูลให้ครบเวลาจะสร้างเนื้อหา เช่น หัวเรื่อง, ชื่อคนแต่ง, แท็ก, คำโปรย เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นเจอ


5. Blog มีระบบ CMS มาตรฐานทำให้ผู้ใช้ปลายทาง มีทางเลือกมากขึ้นในการรับข้อมูลผ่าน feed

การสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้ด้วยการดึงข้อมูลจากบล็อกของเราไปแสดง หีอที่เรียกว่า feed
เราสามารถเลือกใช้งานได้หลายรูปแบบ แบบหนึ่งคือโปรแกรมที่ติดตั้งบน Desktop ของผู้ใช้เอง
หรืออีกวิธีคือการส่ง feed ของเราไปยัง twitter โดยอัตโนมัติเมื่อมีการอัปเดตเนื้อหาในเว็บ
ซึ่งก็ถือว่าเป็นช่องทางในการเผยแพร่เนื้อหาเพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง


6. ระบบ CMS มาตรฐาน มีระบบการวัดสถิติผู้เข้าชม (Stat)

ซึ่งถือว่าเป็นข้อดี คือ ทำให้ผู้บริหารเว็บสามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ได้

นอกจากนี้ อาจารย์บุญเลิศยังได้ให้ แนวคิดในการบริหารจัดการเว็บห้องสมุด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ปลายทาง เช่น
– การกำหนดเป้าหมาย และทิศทางการทำงานขององค์กร เช่น การเป็นห้องสมุดเชิงรุกที่ใช้งบน้อยที่สุด หรือไม่ใช้เลย
– การกระตุ้นให้สมาชิกของหน่วยงานเขียนบล็อกเป็นประจำ
– การกำหนดมาตรฐานการใส่ข้อมูล เช่นการใส่คำโปรย 1-2 บรรทัดที่สรุปเนื้อหาทั้งหมดของเรื่องที่เขียน และการกรอก metadata เช่น tag ให้ครบถ้วน

นับว่าเป็นช่วงที่ได้รับความรู้ และวิธีการต่อยอดจากการทำบล็อกแบบธรรมดา
ให้กลายเป็นบล็อกที่มียอดความนิยมเลยก็ว่าได้นะครับ

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

LibCamp#2 : แอบดูบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ

ผู้บรรยายคนต่อมา คือ คุณวงศ์ต้น เบ็ญจพงษ์ บรรณารักษ์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ซึ่งมาพูดเรื่อง อัปเดทสถานการณ์บล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ

inter-library-blog

ซึ่งเริ่มจากการเกริ่นเกี่ยวกับเรื่องของบล็อกมากมาย เช่น

บล็อกไม่ได้ไร้สาระเหมือนที่หลายๆ คนกำลังคิด….
บล็อกก็ไม่ใช่ของคนรุ่นใหม่อย่างเดียว
มีบล็อกได้ง่ายๆ ฟรี… ไม่ต้องเสียเงิน
ไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม ก็มีบล็อกได้

จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่เรื่องราวว่าบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศมี 4 ลักษณะที่น่าสนใจ คือ

1. Blog เพื่อองค์กร
– ใช้บล็อกเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ทัศนคติของคนในองค์กร
และทำให้คนใช้ห้องสมุด มีทัศนคติกับห้องสมุดดีขึ้น โดยเฉพาะเยาวชนที่จะมีแนวโน้มเข้าห้องสมุดน้อยลง

ตัวอย่าง Blog เพื่อองค์กร เช่น
http://www.loc.gov/blog/
http://www.worldcat.org/blogs/
http://www.nypl.org/blog

2. Blog เพื่อข่าวสาร
– ใช้บล็อกเพื่ออับเดทสถานการณ์ และข่าวสารต่างๆ ในวงการห้องสมุด

ตัวอย่าง Blog เพื่อข่าวสาร เช่น
http://lisnews.org/
http://liswire.com

3. Blog เพื่อการสร้างเครือข่าย
– ใช้บล็อกเพื่อสร้างกลุ่มเครือข่ายเพื่อนร่วมวิชาชีพ
โดยทั่วไปจะมาจากกลุ่มเล็กๆ และขยายขึ้นจนกลายเป็นกลุ่มใหญ่ในที่สุด

ตัวอย่าง Blog เพื่อการสร้างเครือข่าย เช่น
http://www.socialnetworkinglibrarian.com/
http://litablog.org/

4. Blog เพื่อสร้างความรู้ / เผยแพร่ความรู้
– ความรู้จะได้รับการต่อยอด เพราะเกิดจากการเปิดเผยความรู้
เมื่อมี Blog ทุกอย่างจะตามมา

ตัวอย่าง Blog เพื่อสร้างความรู้ เช่น
http://lonewolflibrarian.wordpress.com/
http://tametheweb.com

ก่อนจบคุณวงศ์ต้นได้กล่าวถึงเรื่องประโยชน์ของการใช้บล็อกว่า
จากการสร้างบล็อกเล็กๆ เพียง 1 บล็อก เมื่อมีการรวมกลุ่มและจับกลุ่มกันก็จะทำให้เกิดเครือข่าย
เมื่อมีเครือข่ายก็จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันจนกลายเป็นคลังความรู้ขนาดใหญ่
ซึ่งก็จะทำให้วิชาชีพมีคลังความรู้ และสามารถพัฒนาวงการห้องสมุดต่อไปในอนาคตได้

นับว่าเป็นประโยชน์มากเลยนะครับกับเรื่องการต่อยอดความรู้
ผมเองก็ตกใจมากเลยไม่คิดว่าเพียงแค่บล็อกเล็กๆ ก็สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ขนาดใหญ่
(ก็คงเหมือน Libraryhub ใรวันนี้ที่ต้องรอเวลาจนกลายจะมีความรู้ขนาดมหาศาลหล่ะมั้ง)

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ