LibCamp#3 : Library and Social Enterprise

ผู้บรรยายคนต่อมา คือ คุณไกลก้อง ไวทยการ จากแผนงานไอซีที สสส.
มาบรรยายในเรื่องการปรับเปลี่ยนบทบาทของห้องสมุดให้เข้ากับแนวทาง Social Enterprise

librarysocialenter

ก่อนที่คุณไกลก้องจะเริ่มบรรยาย ผมก็ได้เกริ่นถึงเรื่อง
“การสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรจากภายนอกกับองค์กรด้านห้องสมุด”
ว่าทำไมห้องสมุดอย่างเราจึงต้องสร้างความร่วมมือร่วมกัน หรือทำไมต้องร่วมกับองค์กรอื่นๆ
ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็ไม่พ้นเรื่องของความช่วยเหลือในด้านงบประมาณหรือการพัฒนาต่างๆ นั่นเอง

ซึ่งเมื่อเราสร้างเครือข่ายไปแล้ว เราจะได้อะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น
– การช่วยเหลือด้านงบประมาณในการพัฒนาห้องสมุด
– บุคลากรด้านเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาระบบห้องสมุด
– หนังสืออภินันทนาการ ฐานข้อมูล และเนื้อหาที่ดีสำหรับห้องสมุด
– นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีค่ายพัฒนาห้องสมุด

เหล่านี้ก็เป็นเพียงตัวเย่างความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายของห้องสมุดกับหน่วยงานต่างๆ

จากนั้นคุณไกลก้องก็อธิบายถึงคำว่า Social Enterprise ว่า
Social Enterprise หรือ องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม คือโมเดลทางธุรกิจที่ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
ลักษณะขององค์กรประเภทนี้คือการทำเพื่อแสวงหากำไร (เงิน)
แต่สิ่งสำคัญขององค์กรประเภทนี้คือเงินเหล่านี้จะนำไปใช้เพื่อประโยชน์และตอบแทนสังคมต่อไป

“กำไรไม่ใช่เป้าหมายหลักขององค์กร แต่องค์กรก็ต้องอยู่ได้ด้วยผลตอบแทนเหล่านี้ด้วย”

ห้องสมุดก็สามารถที่จะทำให้กลายเป็น องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม ได้นะครับ
หากเรามองในแง่ของห้องสมุดในเมืองต่างๆ (อำเภอเมือง ของจังหวัดต่างๆ)
เราจะเห็นบทบาทของห้องสมุดในฐานะ ที่อ่านหนังสือ ที่ทำรายงาน ที่ทำงาน ฯลฯ

ถ้าสมมุติว่าเราเติมฟังค์ชั่นลงไปในห้องสมุดเหล่านี้หล่ะ
เช่น เอาโครงการ Digital Library ไปให้ห้องสมุดเหล่านี้ดำเนินการ จะเกิดอะไรขึ้น
– ห้องสมุดก็จะกลายเป็นศูนย์สแกนเอกสาร
– ห้องสมุดเป็นผู้นำเข้าข้อมูลให้โครงการ Digital Library
– ห้องสมุดเป็นแหล่งที่ใช้ในการเรียนการสอนได้ (สามารถมาฝึกงานได้ในห้องสมุด)
– สร้างอาชีพให้คนในสังคม (จ้างคนมาดำเนินการ)
– ห้องสมุดจะกลายเป็นศูนย์ telecenter (ศูนย์กลางของชุมชนและเชื่อมไปหาหน่วยงานอื่นๆ)

จะเห็นว่าห้องสมุดก็จะมีผลตอบแทนที่เข้ามาที่ห้องสมุดก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนั่นไม่ได้เป็นปัจจัยหรอกครับ
เพราะเงินหรือผลตอบแทนเหล่านั้นก็จะกลับมาพัฒนาห้องสมุดเพื่อสังคมต่อไปได้อีกนั่นเอง

หลักขององค์กรธุรกิจเพื่อสังคมที่น่าสนใจ เช่น
– ธุรกิจต้องแก้ไขปัญหาทางสังคม
– ธุรกิจต้องยั่งยืน
– ลงทุนเท่าไหร่ก็ได้คืนเท่านั้น
– ตระหนักในสิ่งแวดล้อม
– ต้องมีใจรักในการทำ

ประเด็นสุดท้ายที่คุณไกลก้องได้พูดถึงคือ แนวทางสำหรับห้องสมุดที่จะเปลี่ยนตัวเองเป็นองค์กรธุรกิจเพื่อสังคม มีขั้นตอนดังนี้
1. ห้องสมุดต้องเริ่มจากการเขียนโครงการ (หาโครงการที่น่าสนใจและทำเพื่อชุมชนมาลองเขียนดู)
2. ห้องสมุดต้องหาผู้ลงทุน เช่น ติดต่อกับองค์กรส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนเรื่องงบประมาณ
3. ห้องสมุดต้องมีผู้ให้คำปรึกษาเนื่องจากโครงการที่ทำห้องสมุดอาจจะไม่ได้เข้าใจทุกส่วน
4. สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ และเข้าร่วมกับเครือข่ายเพื่อดำเนินงาน
5. ต่อยอดแนวคิดและพัฒนาโครงการอยู่เรื่อยๆ

เป็นไงกันบ้างครับน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
การเปลี่ยนตัวเองจากองค์กรที่คอยรับอย่างเดียว เป็นองค์กรที่รุกแบบนี้ผมว่าน่าสนุกมากๆ เลยใช่มั้ยครับ

LibCamp#3 : กรณีศึกษาการทำกิจกรรมของนักศึกษาเอกบรรณ

ผู้บรรยายต่อมา คือ น้องอะตอม เจ้าของบล็อก http://atomdekzaa.exteen.com
และยังเป็นตัวแทนของนิสิตเอกบรรณารักษ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มาถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำกิจกรรมของเด็กๆ เอกบรรณฯ

atomlibcamp3

กิจกรรมที่น้องอะตอมได้นำมาเล่าให้พวกเราฟัง มีอยู่ด้วยกัน 2 กิจกรรมใหญ่ๆ นั่นคือ
1. ค่ายสอนน้อง
2. ค่าพัฒนาห้องสมุด

โดยหลักๆ อย่างค่ายสอนน้อง ในมหาลัยก็จะมีการตั้งกลุ่มกัน โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มค่ายแสงเทียน”
ซึ่ง “กลุ่มค่ายแสงเทียน” เป็นกลุ่มที่รวบรวมนักศึกษาจากคณะต่างๆ มารวมกันทำกิจกรรม ซึ่งนับว่าน่าสนใจมาก
ซึ่งโดยหลักการก็เพียงแค่ให้โรงเรียนประชาสัมพันธ์เรื่องการติวให้ ส่วนเรื่องเงินสนับสนุนจะเน้นจากองค์กรส่วนท้องถิ่น

ในแง่ของค่ายพัฒนาห้องสมุด จะเกิดจากความร่วมมือระหว่างเอกบรรณฯ และเด็กวิศวกรรม
โดยแบ่งหน้าที่กันชัดเจน คือ บรรณารักษ์จะให้ข้อมูลต่างๆ ด้านการทำงาน ส่วนวิศวกรรมก็เขียนโปรแกรม
ซึ่งนับว่าได้พัฒนาฐานข้อมูลให้พร้อมใช้งานได้ทันที

นอกจากกิจกรรมที่น้องอะตอมทำร่วมกับมหาวิทยาลัยแล้ว
น้องอะตอมได้เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานเป็นอาสาสมัครบรรณารักษ์ให้กับห้องสมุด บ้านเซเวียร์
ซึ่งตอนนี้น้องอะตอมได้ทำงานที่นี่ในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ครับ
โดยทำงานตั้งแต่เอาหนังสือออกมาปัดฝุ่น ทำความสะอาด และจัดขึ้นชั้น
ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้สอบถามถึงงานที่ทำและเสนอไอเดียต่างๆ เพื่อความช่วยเหลือมากมาย

น้องอะตอมให้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กเอกบรรณรุ่นปัจจุบันว่า
ส่วนใหญ่เด็กเอกบรรณรุ่นนี้จะเน้นและชอบเรียนด้านไอทีมากกว่าด้านเทคนิค
แต่น้องอะตอมชอบเรียนด้านการให้หัวเรื่องและการทำดัชนีของหนังสือมากกว่าไอทีครับ
ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดแง่มุมแปลกๆ ให้ผู้เข้าฟังรู้สึกประหลาดใจและชื่นชมในเรื่องของอุดมการณ์มากๆ

ก่อนจบการบรรยายในช่วงนี้ น้องอะตอมได้ฝากประโยคทิ้งท้ายให้เป็นแง่คิดต่อไปว่า
“เราต้องจัดเวลาเรียน และเวลากิจกรรมให้ได้ แต่อย่าไปทุ่มอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป”

LibCamp#3 : กว่าจะได้ห้องสมุดหนึ่งแห่งต้องทำอย่างไร

ผู้ร่วมเสวนาคุณสุจิตร สุวภาพ ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
และดำเนินรายการโดยนายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ บล็อกเกอร์ห้องสมุด
เสวนาในหัวข้อเรื่อง “กว่าจะได้ห้องสมุดหนึ่งแห่งต้องทำอย่างไร”

libcamp3-1

การเสวนานี้เริ่มจากการแนะนำตัวเองของผู้เสวนา นั่นคือ คุณสุจิตร สุวภาพ ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์ฯ จนกลายเป็นห้องสมุดมารวย

ผมขอเรียกคุณสุจิตร สุวภาพ ว่าพี่อ้วนนะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านบทสรุปของเรื่องนี้

พี่อ้วนจบปริญญาตรีใบแรกเอกภาษาอังกฤษ
หลังจากนั้นพี่อ้วนก็เกิดความสนใจเรื่องของสารสนเทศจึงได้ศึกษาปริญญาตรีอีกใบคือ เอกบรรณารักษ์ และได้ต่อปริญญาโทในสาขานี้
จากนั้นด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป พี่อ้วนจึงได้ศึกษาปริญญาโทอีกใบด้านไอที นั่นเอง

พี่อ้วนได้พูดถึงกรณีศึกษาการพัฒนาห้องสมุดมารวยให้พวกเราฟังต่อว่า
แต่เดิมแล้วห้องสมุดมารวยไม่ได้เรียกว่าห้องสมุดมารวยเหมือนทุกวันนี้หรอกนะครับ
แต่ก่อนห้องสมุดแห่งนี้ เรียกว่า ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่างหาก

แต่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงก็มาถึง เมื่อผู้บริหารต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์และสร้างแบรนต์ใหม่ให้ห้องสมุด
จึงได้มีการนำชื่อ มารวย มาใช้เพื่อเป็นเกียรติแด่ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 5

แนวความคิดในการปรับปรุงภาพลักษณ์ของห้องสมุดมารวย
คือ การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ทั่วไป และหาคู่แข่งห้องสมุดเพื่อเปรียบเทียบบริการ
การจัดโต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ — คล้ายกับร้านอาหาร (มาเยอะก็ต่อโต๊ะกัน)
เวลาทำการ (การเปิดปิด) ห้องสมุด — ปิดให้ดึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ แข่งกับห้างสรรพสินค้า

ฯลฯ

ห้องสมุดแห่งนี้ใช้เวลาในการวางแผนเพื่อการปรับปรุงทั้งหมด 6 เดือนก็สามารถที่จะปรับปรุงและเสร็จอย่างรวดเร็ว
ด้วยภาพลักษณ์เดิมที่ถูกเปลี่ยนเป็นภาพลักษณ์ใหม่ไปอย่างชัดเจน

ตัวอย่างสิ่งที่เปลี่ยนไป เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้แบบหรูหราถูกเปลี่ยนเป็นโต๊ะที่นั่งอ่านแบบสบายๆ

การจะสร้างห้องสมุดสักแห่งนึงต้องคำนึงถึง สิ่งดังต่อไปนี้
– สถานที่
– หนังสือ
– งานบริการ
– บรรณารักษ์
– ระบบเทคโนโลยี

แนะนำห้อง Plern ของตลาดหลักทรัพย์ (ห้องสมุด ห้องทำการบ้าน ห้องเล่น ห้องรับฝากเด็ก ห้องสอนพิเศษ – จิปาถะมากครับ)
Plern = Play + Learn เป็นห้องที่ตลาดหลักทรัพย์จัดไว้เพื่อใช้เป็นพื้นที่อำนวยความสะดวกกับชุมชนใกล้เคียง (ชุมชนคลองเตย)

การหาผู้สนับสนุนโครงการต่างๆ (CSR Project) ตลาดหลักทรัพย์จะมีรายชื่อหน่วยงานทางธุรกิจมากมาย
ดังนั้นจึงทำให้ติดต่อได้ไม่ยากนัก ถ้าเป็นโครงการที่ดีและทำเพื่อสังคม เราน่าจะลองทำเรื่องขอได้เช่นกัน

ตัวอย่างการสนับสนุนไม่ต้องมองที่อื่นเลย ที่นี่แหละ ห้องสมุดเสริมปัญญาก็ได้รับการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์นั่นแหละ

พี่อ้วนได้ทิ้งข้อคิดดีๆ ให้เราชาวห้องสมุดได้ฟังอีกว่า
การจะทำห้องสมุดสักแห่ง เราต้องตั้งเป้าประสงค์ของห้องสมุดให้ได้เสียก่อน
เช่นทำห้องสมุดอะไร เพื่ออะไร จะมีอะไรบ้าง แล้วเป็นประโยชน์อย่างไร
ถ้าเราตอบคำถามนี้ได้แล้วเราก็เขียนโครงการ เรื่องเงินไว้คิดทีหลังจะดีกว่า
เพราะถ้าเอาเรื่องเงินมากำหนดว่าจะทำห้องสมุด เราก็จะได้ห้องสมุดที่ไม่ต้องกับความต้องการของเรา

เป้าหมาย —> งบประมาณ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณพี่อ้วนมากๆ เลยเกี่ยวกับแง่คิดดีๆ และกรณีศึกษามากมาย

LibCamp#3 : นายกสมาคมห้องสมุดฯ กล่าวต้อนรับ

กล่าวต้อนรับและเปิดงานโดย นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ : ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
ซึ่งได้รับความรู้และตอบคำถามต่างๆ เกี่ยวกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

openlibcamp

บทสรุปที่คุณหญิงฯ ได้กล่าวให้พวกเราฟังมีสาระมากมายซึ่งผมได้สรุปประเด็นดังนี้

แนะนำที่มาของการก่อตั้งสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
(อันนี้ผมขอเล่าไม่มากนะครับเพราะว่าเพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ http://www.tla.or.th/history.htm)
แต่หลักๆ ตอนก่อตั้งครั้งแรกคุณหญิงฯ ก็เป็นผู้บุกเบิกในการก่อตั้งสมาคมห้องสมุดในช่วงนั้นเช่นกัน
ซึ่งปีนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีอีกครั้งที่คุณหญิงฯ ได้กลับมาเป็นประธานสมาคมฯ อีกครั้ง

ความสามัคคีในวิชาชีพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
คุณหญิงเน้นย้ำให้วงการวิชาชีพเราให้มีความสามัคคีกัน
และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันมากๆ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพของเราต่อไป

การบริการของห้องสมุดในปัจจุบันบางครั้งผู้ใช้อาจจะไม่จำเป็นต้องมาที่ห้องสมุดแล้วก็ได้
และบรรณารักษ์อย่างเราก็ต้องคอยบริการผู้ใช้ต่างๆ ด้วย
การบริการเชิงรุกในลักษณะนี้ คุณหญิงฯ ได้เคยกล่าวไว้นานแล้ว ซึ่งเรียกว่า “โครงการห้องสมุดสุดขอบฟ้า”
ซึ่งมีนิยามว่า “ไม่ว่าห้องสมุดจะอยู่ที่ไหนก็ตาม แต่บริการห้องสมุดและบริการความรู้จะต้องไปถึงในทุกๆ ที่”

หลายคนบอกว่าอาชีพบรรณารักษ์เป็นงานที่สบาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว
“งานบรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ทำงานหนักกว่าอาชีพอื่นๆ เพราะต้องคอยรวบรวมความรู้ของทุกสาขาอาชีพมาเก็บไว้ที่เดียวกัน

การทำงานบรรณารักษ์จำเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะของวิชาชีอยู่ตลอด
แต่เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องบริการด้วยความเครียดนะครับ คุณหญิงได้กล่าวให้เราเข้าใจเรื่อง “ความรู้คู่บันเทิง”

หลังจากที่ได้รับความรู้ต่างๆ มากมายแล้ว คุณหญิงฯ ก็เปิดโอกาสให้คณะกรรมการของสมาคมห้องสมุดแนะนำตัวเอง
และเชิญผู้เข้าร่วมงานสัมมนาแนะนำตัวเอง ซึ่งเพื่อทำความรู้จักกันก่อนการสัมมนา

อ๋อ เกือบลืมไปอย่างนึง วันนี้ผมได้รับคำตอบเกี่ยวกับเรื่อง “บุคคลดีเด่นของวงการบรรณารักษ์มาด้วย”
เพื่อนๆ ยังจำคำถามของผมเกี่ยวกับประเด็นเรื่องนี้หรือปล่าวครับ ว่า
“ทำไมบุคคลดีเด่นในวงการห้องสมุด จะต้องเป็นสมาชิกแบบตลอดชีพของสมาคมฯ ด้วย”
เหตุผลนั่นก็คือ เพื่อการอุปถัมภ์วงการห้องสมุด หากเรารักในวงการห้องสมุดเราก็ควรที่จะเข้าร่วมกับสมาคมห้องสมุดฯ
เพื่อร่วมกันพัฒนาวงการวิชาชีพนั่นแหละครับ
คือคำตอบของคำถามข้อนี้

เป็นครั้งแรกที่ผมยอมเปิดใจให้สมาคมมากขึ้นเลยนะครับเนี้ย
ขอบคุณครับคุณหญิงฯ ที่ให้เกียรติมาเปิดงานสัมมนาครั้งนี้ด้วยนะครับ
และหวังว่าเราจะร่วมกันสร้างเครือข่ายระหว่างสมาคมห้องสมุดและเครือข่าย Libraryhub ได้นะครับ

อาทิตย์สุดท้ายก่อนถึงงาน Libcamp#3

วันอาทิตย์ที่จะถึงนี้แล้วสินะครับ กับงานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ ครั้งที่ 3 (Libcamp#3)
เพื่อนๆ คนไหนที่ยังไม่ลงทะเบียนก็ยังสามารถลงได้อีกนะครับ ที่ dcy_4430323@hotmail.com

logo-libcamp3-copy

วันนี้ผมขอมาคอนเฟิมรายละเอียดของงานอีกครั้งนะครับ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
เพราะว่ามีหลายคนถามผมหลังไมค์ว่า ตกลงเสียเงินหรือปล่าว
ผมจะขอย้ำอีกเป็นรอบที่สิบว่า งานนี้ฟรีครับ

กำหนดการในงาน Libcamp#3
09.00 – 9.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
09.30 – 10.00 น. เครือข่ายจิตอาสาแนะนำโครงการจิตอาสา พร้อมทั้งกล่าวเปิดงาน
10.00 – 11.00 น. สิ่งที่ต้องคำนึงถึงขั้นพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด
11.00 – 12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น. แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมให้ห้องสมุด
14.00 – 15.00 น. ความร่วมมือระหว่างอาสาสมัครกับบรรณารักษ์
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.15 น. ประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนอื่นๆ (Open Session)
16.15 – 17.00 น. เยี่ยมชม และแนะนำห้องสมุดเสริมปัญญา


ในงานนี้ผมต้องขอขอบคุณสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยด้วย
ที่ให้พวกเราได้ใช้สถานที่ในการสัมมนาแบบฟรีๆ นะครับ
แถมให้เราได้รู้จักห้องสมุดเสริมปัญญาได้มากขึ้นด้วยนะครับ

เอาป็นว่าตอนนี้ผมเองก็คาดหวังว่าบทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยคงจะแจ่มชัดขึ้นนะครับ

ขอย้ำก่อนจากกันวันนี้ ลงทะเบียนโดยบอกจำนวนคนที่เข้าร่วม ชื่อจริง ชื่อตำแหน่ง หน่วยงานของคุณ
มาที่ dcy_4430323@hotmail.com

ลงชื่อเข้าร่วมงาน Libcamp#3 ได้แล้วที่นี่

ตอนนี้งาน Libcamp#3 พร้อมทุกอย่างแล้วครับ ทั้งเรื่อง ธีมงาน แผนงาน วันเวลา สถานที่
ตอนนี้ผมจึงขอประชาสัมพันธ์อย่างเต็มตัวบ้าง และถ้าเพื่อนๆ คนไหนส่งใจก็แจ้งมาที่ผมได้เช่นเดิมครับ

logo-libcamp3

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงาน Libcamp#3
ชื่องานอย่างเป็นทางการ : โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ ครั้งที่ 3
ธีมของงาน : ความร่วมมือระหว่างกลุ่มอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมทและบรรณารักษ์ (Volunteer and Librarian Network)
ชื่องานอย่างไม่เป็นทางการ : Libcamp#3
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 กันยายน 2552?? เวลา 9.30 – 16.30 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดเสริมปัญญา 1346 ถนนอาคารสงเคราะห์ 5 คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ

อย่างที่เพื่อนๆ ได้อ่านข้อมูลเบื้องต้นจากด้านบน และเพื่อนๆ บางคนคงอ่าน “ร่างโครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3
ธีมของการจัดงานในครั้งนี้ผมขอเปิดประเด็นและให้โอกาสกับกลุ่มคนภายนอกห้องสมุดเพื่อให้เข้าใจกระบวนการต่างๆ ในห้องสมุด
เพราะว่าผมเชื่อว่าในโลกยุคปัจจุบันอาชีพทุกอาชีพจะต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ยิ่งเรื่องของห้องสมุดเป็นเรื่องที่สาธารณะตระหนักถึงความสำคัญเท่าไหร่
บทบาทและหน้าที่ของห้องสมุดจะสำคัญและได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้นด้วย

อาสาสมัครหลายๆ คนที่อยากพัฒนาห้องสมุด แต่ขาดความเข้าใจในเรื่องของห้องสมุด
ก็จะได้มีโอกาสเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงกระบวนการจัดการงานห้องสมุดด้วย

ดังนั้นงานนี้ผมว่า ทั้งอาสาสมัคร บรรณารักษ์ และบุคคลที่เข้าร่วมในงานนี้
จะได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสังคมไทยได้นะครับ

ผมขอแนะนำกำหนดการของงาน Libcamp#3 ก่อนดีกว่า
09.00 – 9.30 น.?????????? ลงทะเบียน + รับเอกสารประกอบการบรรยาย
09.30 – 10.00 น.???????? เครือข่ายจิตอาสาแนะนำโครงการจิตอาสา พร้อมทั้งกล่าวเปิดงาน
10.00 – 11.00 น.???????? สิ่งที่ต้องคำนึงถึงขั้นพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด
11.00 – 12.00 น.??????? พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น.??????? แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมให้ห้องสมุด
14.00 – 15.00 น.??????? ความร่วมมือระหว่างอาสาสมัครกับบรรณารักษ์
15.00 – 15.15 น.??????? พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.15 น.??????? ประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนอื่นๆ (Open Session)
16.15 – 17.00 น.??????? เยี่ยมชม และแนะนำห้องสมุดเสริมปัญญา

(หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

ถึงแม้ว่างาน libcamp ครั้งนี้จะใช้เวลามากกว่า libcamp ครั้งก่อนๆ (ปกติจะจัดแค่ครึ่งวัน)
แต่การจัดงานในครั้งนี้จะสังเกตว่ามีทั้งหัวข้อแบบบรรยาย แบบความคิดเห็น รวมถึงการดูงานในสถานที่จริง

เป็นไงกันบ้างครับกับวัน เวลา สถานที่ กำหนดการ เพื่อนๆ ว่าสมบูรณ์หรือยัง
อ๋อ ลืมบอกไปอีกอย่าง ก็เหมือนกับทุกครั้งนั่นแหละครับ งานนี้ ฟรี ครับ

สำหรับใครที่สนใจจะเข้าร่วมงานนี้ กรุณาส่งเมลล์แจ้งความประสงค์ของคุณมาที่ dcy_4430323@hotmail.com นะครับ
กรุณาบอกจำนวนคนที่เข้าร่วม ชื่อจริง ชื่อตำแหน่ง หน่วยงาน ของคุณมาด้วยนะครับ

โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3

หลังจากจบงาน Libcamp#2 เมื่อเดือนที่แล้ว (สิงหาคม 2552)
ทางทีมงานผู้ร่วมจัดงานได้มีแผนงานต่อเนื่องของงาน Libcamp
จึงขอร่างและเตรียมจัดงาน Libcamp#3 ต่อเลยในเดือนกันยายน 2552

libcamp3

วันนี้ผมขอนำร่างโครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3 มาให้เพื่อนๆ อ่านก่อน
เผื่อว่าจะได้ตัดสินใจว่าจะมาหรือไม่มาตั้งแต่เนิ่นๆ (ขอประชาสัมพันธ์ล่วงหน้ายาวกว่า 2 ครั้งที่จัดมา)

สัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3

1.??? ความเป็นมา
ห้องสมุดยุคใหม่ มีการปรับตัวตามปัจจัยทางสังคมและเทคโนโลยีที่ทำให้พฤติกรรมของผู้ใช้ห้อง สมุดเปลี่ยนไป ซึ่งห้องสมุดปัจจุบันสามารถเข้าถึงผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น และสภาพแวดล้อมภายในห้องสมุดได้ปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัย ทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การให้บริการ ดังนั้นบรรณารักษ์จึงต้องมีการพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีความสามารถในการบริการและการจัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพ และสร้างเครือข่ายทางสังคมของบรรณารักษ์ เพื่อรองรับกับรูปแบบของห้องสมุดในอนาคต อาทิ ห้องสมุดดิจิทัล

ดังนั้นโครงการนักอ่านจิตอาสา มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ บ้านจิตอาสา จึงร่วมกับเครือข่ายด้านห้องสมุด จัดการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพให้กับอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม และบรรณารักษ์ ในการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบรรณารักษ์ โดยใช้ชื่องานว่า Libcamp ซึ่งได้จัดไปแล้วสองครั้ง เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 ณ ห้องประชุม อุทยานการเรียนรู้ TK Park ห้างเซ็นทรัลเวิร์ล (ตัวอย่างงาน Libcamp#1 : http://www.libraryhub.in.th/2009/05/07/gallery-for-libcamp1/) และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2552 ณ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2.??? วัตถุประสงค์โครงการ
2.1??? เพื่อให้อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมเข้าใจกระบวนการและแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดการห้องสมุด
2.2??? เพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างเครือข่ายบรรณารักษ์ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
2.3??? เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมระหว่างอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมกับบุคลากรในวิชาชีพบรรณารักษ์


3.??? ผู้รับผิดชอบโครงการ

3.1??? โครงการนักอ่านจิตอาสา
3.2??? ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ libraryhub.in.th
3.3??? แผนงาน ICT เพื่อสุขภาวะออนไลน์ และการสนับสนุนภาคีเครือข่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

4.??? การดำเนินการ
การสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ Libcamp ในครั้งที่สาม จะมีประเด็นหลักในการอภิปราย คือ การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม กับบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดให้เข้าใจกระบวนการและแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดการห้องสมุด เช่น หลักการพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมในห้องสมุด และการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลนอกวิชาชีพห้องสมุดกับบรรณารักษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่อาสาสมัครและคนทำงานด้านห้องสมุดจะสามารถพัฒนาและ นำไปใช้ เพื่อปรับปรุงห้องสมุดให้เข้าถึงผู้ใช้ในยุคสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลตรงตามจุดมุ่งหมายของงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์

5.??? กลุ่มเป้าหมาย
1. อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม
2. บรรณารักษ์
3.ผู้สนใจทั่วไป

6.??? รูปแบบการสัมมนา
จะเป็นรูปแบบไม่เป็นทางการ หรืออสัมมนา (Unconference) โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้นำเสนอภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามหัวข้อที่สนใจ ซึ่งสามารถเสนอหัวข้อทั้งก่อนวันงานและในวันงานได้ หลังจากการนำเสนอของแต่ละคนจะมีเวลาให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถาม

7.??? ผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.1??? เกิดเครือข่ายในการจัดการความรู้ของบรรณารักษ์
7.2??? เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในการเผยแพร่ความรู้และสนับสนุนการจัดการความรู้ระหว่างบรรณารักษ์
7.3??? เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาช่วยในการให้บริการผู้ใช้

โครงการนี้ผมขอนำต้นฉบับจากงาน Libcamp#2 ที่เขียนโดย แผนงาน ICT สสส.
มาเขียนใหม่และปรับรูปแบบใหม่ รวมถึงการตรวจสอบและแก้ไขโดยทีมงานจากโครงการนักอ่านจิตอาสา