บรรณารักษ์ยังคงสำคัญเสมอในวันที่อะไรๆ มันเปลี่ยนไป

บรรณารักษ์ยังคงสำคัญเสมอในวันที่อะไรๆ มันเปลี่ยนไป

เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่า วันที่ 4 เมษายน ของทุกปี คือวันอะไร
ถ้าไม่ทราบลองเปิดดู https://nationaldaycalendar.com/april/

เราจะพบว่า “มีวันสำคัญวันหนึ่งของชาวบรรณารักษ์” นั่นคือ “National School Librarian Day

Read more
credit : Twitter @LibraryLantern

10 ทักษะของบรรณารักษ์ที่จำเป็นต่ออนาคต

มีหลายคนเริ่มถามผมว่า “หุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานแทนบรรณารักษ์ได้หรือไม่
คำตอบที่ผมจะตอบ คงตอบได้ทั้งสองแบบ คือ

1. ทำงานแทนได้ ถ้าลักษณะงานนั้นเป็นงานที่ทำได้แบบซ้ำๆ งานประจำที่ไม่ต้องคิดอะไรเยอะ เช่น
การยืมคืน, การ catalog, การเตรียมตัวเล่ม (ประทับตรา) ฯลฯ

2. ทำงานแทนไม่ได้ ถ้าลักษณะงานที่ต้องใช้ความคิด หรือ งานที่ต้องใช้จิตใจในการให้บริการ เช่น
การถามตอบคำถามเชิงลึก, การแนะนำหนังสือที่ควรอ่าน, การช่วยเหลือด้วยความเห็นอกเห็นใจ

Bobbie from Temasek Polytechnic
credit : FB Temasek Polytechnic

Read more

ข้อคิดเสริมสร้างการเป็น “บรรณารักษ์ที่สร้างสรรค์” (Creative Librarian)

ข้อคิดเสริมสร้างการเป็น “บรรณารักษ์ที่สร้างสรรค์” (Creative Librarian)

ไม่ได้เขียนอะไรแนวสร้างสรรค์มานานแล้ว วันนี้ขอสักบทความหนึ่งแล้วกัน
หัวข้อก็ไม่มีอะไรมากแค่ “บรรณารักษ์ที่สร้างสรรค์” ใครๆ ก็อยากเป็น
ผมก็เลยไปค้นข้อมูล และก็เจอเส้นทางสู่การเป็น “นักสร้างสรรค์”

ปล. เป็นคำแนะนำเล็กๆ แต่ขอนำมาใช้ในวงการบ้าง เพื่อจะมีคนนำไปต่อยอดได้

Read more

สั้นๆ ง่ายๆ บรรณารักษ์ยุคใหม่ในสายตาผม

คำถาม : บรรณารักษ์ยุคใหม่คืออะไร บรรณารักษ์ยุคใหม่หมายถึงบรรณารักษ์อายุน้อยๆ หรือไม่ บรรณารักษ์ที่อายุมากแล้วมีโอกาสเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่หรือไม่

คำถามข้างต้นนี้ผมได้รับฟังมากจน ผมรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว
เอาเป็นว่าวันนี้เลยขอนำเสนอภาพการ์ตูนสักนิดนึง แล้วคำอธิบายสักหน่อยแล้วกัน

ชมภาพกันก่อนเลยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับภาพดังกล่าว
จริงๆ แล้วข้อความผมว่าก็อธิบายด้วยตัวของมันแล้วนะครับ

บรรณารักษ์ยุคใหม่ =?
แน่นอนครับว่าบรรณารักษ์ยุคใหม่ไม่ได้หมายความถึงความหนุ่มสาวและไม่ได้ยึดติดที่อายุ
แต่บรรณารักษ์ยุคใหม่ในสายตาของผม คือ
– บรรณารักษ์ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการทำงานได้ตามยุคตามสมัย
– บรรณารักษ์ที่สามารถแสดงให้ผู้ใช้บริการเห็นได้ว่าห้องสมุดเป็นสถานที่ที่มากกว่าห้องเก็บหนังสือ
– บรรณารักษ์ที่ไม่ต้องเก่งไอทีเหมือนโปรแกรมเมอร์แต่สามารถประยุกต์ใช้ไอทีกับงานห้องสมุดได้
– บรรณารักษ์ที่มีความคิดสร้างสรรค์คิดกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ
– บรรณารักษ์ที่สามารถทำให้ห้องสมุดธรรมดาๆ เป็นห้องสมุดที่มีชีวิตชีวาได้

ฯลฯ

เอาเป็นว่าสั้นๆ ง่ายๆ คือ บรรณารักษ์ที่เป็นมากกว่าคนเฝ้าหนังสือในห้องสมุดแล้วกัน ซึ่งผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ทุกคนมีความเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่อยู่ในตัวอยู่แล้ว ดังนั้นดึงศักยภาพของตัวเองออกมาใช้กันมากๆ นะครับ

สุดท้ายนี้ ชวนคิดต่อ เพื่อนๆ หล่ะคิดว่าบรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องเป็นอย่างไร
ส่งมาให้ผมอ่านบ้างแล้วกัน สู้ๆ ครับคุณบรรณารักษ์ยุคใหม่

บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ต้องมีบุคลิกภาพแบบนี้…

บทความที่เกี่ยวกับ Cybrarian ผมเคยเขียนไปแล้วหลายครั้ง (ลองค้นคำว่า Cybrarian ดู)
วันนี้ผมขอเติมมติในเรื่องของบุคลิกภาพของบรรณารักษ์ยุคใหม่ที่ควรเป็นบ้างดีกว่า
เอาเป็นว่าลองอ่านแล้วลองคิดดุแล้วกันว่า “เราเป็นแบบนั้นแล้วหรือยัง

บุคลิกภาพของบรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ควรมีดังนี้

1. รักในงานบริการ – อันนี้แน่นอนครับสำหรับงานด้านบรรณารักษ์หรือสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่เราจะต้องเจอผู้คนมากมายที่เขามาขอความช่วยเหลือด้านข้อมูลกันอยู่แล้ว ตั้งแต่ตอนเรียนพวกเราทุกคนจะต้องถูกปลูกฝังเรื่องจิตบริการ (service mind) อยู่แล้ว ดังนั้นเรื่องนี้คงไม่ยากมาก

2. รักการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ประเด็นนี้จะกล่าวถึงข่าวสารในชีวิตประจำวัน และสาระความรู้ทั่วๆ ไป บรรณารักษ์ยุคใหม่จะรู้เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ ควรจะมีความรู้รอบตัวสามารถเข้าใจพื้นฐานของทุกวิชาได้ เช่น หากเราทำงานเป็นบรรณารักษ์ในศูนย์การแพทย์ เราก็ควรจะต้องรู้และเข้าใจเนื้อหาแบบพื้นฐานของวิชานี้บ้างก็ดีครับ

3. ชอบการเปลี่ยนแปลงและมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา
ในสังคมปัจจุบัน ผมคงไม่ต้องบอกเพื่อนๆ หรอกนะครับว่า ทุกวันโลกเราเปลี่ยนแปลงเร็วขนาดไหน ยิ่งเรื่องของเทคโนโลยีที่ค่อนข้างไปเร็ว จนบางครั้งผู้ใช้บริการไปเร็วกว่าเราอีก บรรณารักษ์ยุคใหม่ควรจะเป็นคนที่อัพเดทข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ เช่น เรียนรู้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการอัพเดทเวอร์ชั่นตลอดเพื่อปรับปรุงงานด้านต่างๆ ในศูนย์สารสนเทศ

4. มีความสามารถในการถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้ ความสามารถในด้านนี้จะกล่าวได้ว่าบรรณารักษ์ยุคใหม่ก็เปรียบเสมือนกับครู อาจารย์กันเลยทีเดียว เพราะหากเรามีองค์ความรู้ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการเราเราก็คอยถ่ายทอดสิ่งที่รู้ออกมาได้เพื่อให้เป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการต่อไป

5. มีบุคลิกว่องไว กระตือรือร้นในการทำงานการบริการด้วยความว่องไว และรวดเร็วย่อมเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

6. ยอมรับฟังความคิดเห็น และมีจิตใจกว้างขวาง
สำคัญนะครับประเด็นนี้เนื่องจากหากเรายึดติดความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้งโดยไม่ยอมรับฟังความคิดของผู้อื่นเลยจะทำให้เราไม่รู้จักโลกกว้างๆ ใบนี้เลย

จริงๆ แล้วยังบรรณารักษ์ยุคใหม่ยังต้องมีบุคลิกภาพและความสามารถอีกมากนะครับ
ที่สำคัญอย่างที่ผมเกริ่นไว้ว่าต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา และการเปิดใจรับฟังคนอื่น
เพียงเท่านี้เราก็จะมีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาให้เป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่ได้ตลอดเวลา

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 3

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 3
ออกในเดือนกรกฎาคม 2554

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ออกมาในช่วงเลือกตั้งพอดี ดังนั้นเรื่องไฮไลท์ของเล่มจึงอยู่ในแวดวงใกล้ๆ กันนี้ โดยเรื่องจากปกฉบับนี้เป็นการแนะนำอดีตบรรณารักษ์และอาจารย์ภาควิชาบรรณารักษ์ที่ผันตัวเองไปอยู่ในวงการเมือง นั่นคือคุณพรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง นั่นเอง ได้อ่านประวัติท่านแบบคร่าวๆ แล้วขนลุกเลยครับ นี่คือความสำเร็จของอีกหนึ่งบรรณารักษ์นั่นเอง

อีกเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ บทความของอาจารย์พวา ที่มาเล่าถึงเรื่องการสอนวิชาการแบ่งหมวดหมู่และการทำรายการในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ อ่านแล้วก็ทำให้รู้สึกย้อนเวลากลับไปตอนที่เรียนเลยหล่ะครับ

เอาเป็นว่าเกริ่นมาพอสมควรแล้ว เรามาดูกันเลยดีกว่าว่านิตยสารบรรณารักษืออนไลน์ฉบับนี้มีเรื่องที่น่าสนใจอะไรบ้าง

เรื่องจากปก : คุณพรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา

บทความ : การสอนวิชาการแบ่งหมวดหมู่และการทำรายการในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

บทความ : ฐานข้อมูลบรรณานุกรมทางการศึกษาของฮ่องกง

เรื่องแปล : รู้จักเรา “ Mini CREAM ” สบาย สบาย

บทความ : Start…นครปฐม นครแห่งการอ่าน

เรื่องแปล : ห้องสมุดบริติชจับมือกูเกิ้ล

เรื่องแปล : แนะนำหนังสือน่าอ่านสำหรับบรรณารักษ์

พาเที่ยว : ห้องสมุดรัฐสภาออสเตรเลีย

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้
หวังว่าเพื่อนๆ คงจะเก็บไอเดียต่างๆ จากในเล่มนี้ไปใช้กับการทำงานได้นะครับ

สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขออตัวไปอ่านนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ต่อก่อนนะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2
ออกในเดือนเมษายน 2554

ผ่านสงกรานต์มาสักระยะนึงแล้ว ผมก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาคอยนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ต่อ
ซึ่งในที่สุดก็ออกมาให้ผมได้อ่านจนได้ (ออกสายไปนิดนึงนะครับ แต่ให้อภัยได้)

โดยฉบับนี้ไฮไลท์อยู่ที่เรื่องจากปกครับ ซึ่งพูดถึง “มหานครแห่งการอ่าน”
แม่นแล้วครับ เมื่อต้นเดือนเรามีเรื่องของสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ วันรักการอ่าน
ซึ่งหัวข้อนึงที่คนจับตาดูและให้ความสนใจคือ การผลักดันกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครแห่งการอ่าน นั่นเอง

เอาเป็นว่าลองไปอ่านกันดูเลยดีกว่าครับ

เรื่องจากปก : มหานครแห่งการอ่าน

บทความ : สีสัน สรรสี

บทความ : ?คลื่นอีกระลอก…

เรื่องแปล : เรื่องเล่าขานในยุคสารสนเทศ

บทความ : ห้องสมุดส่งเสริมสุขภาพ

บทความ : เก็บตกจากการประชุม APLAP

บทความ : ห้องสมุดในยุคปัจจุบันเป็นมากกว่าที่อ่านหนังสือ

บทความ : อาศรมวงษาธิราชสนิท

พาเที่ยว : อุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พาเที่ยว : ห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

บทความ : บทเพลงของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้
มีอะไรน่าอ่านมากมายเลยใช่มั้ยครับ เอาเป็นว่าก็ลองอ่านแล้วเก็บไอเดียไปคิดเพื่อต่อยอดในการทำงานนะครับ

สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขออตัวไปอ่านนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ต่อก่อนนะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 1

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 1
ออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2554

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ออกมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแล้วนะครับ
แต่ในช่วงนั้นผมหยุดเขียนบล็อกก็เลยไม่ได้เอามาลง ตอนนี้เริ่มกลับมาเขียนใหม่จึงขอลงย้อนหลังให้
เอาเป็นว่าเล่มนี้ก็เป็นเล่มแรกของปีที่ 4 นับว่าอยู่คู่กับบล็อกผมมานานจริงๆ

เรื่องเด่นของเล่มนี้ก็อยู่ที่บทสัมภาษณ์ของห้องสมุดมีชีวิตอันดับหนึ่งของไทย
นั่นก็คือ ห้องสมุดอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ นั่นเองครับ

เอาเป็นว่าเกริ่นมาเยอะแล้ว เราไปดูเนื้อหาในฉบับนี้กันดีกว่า

เรื่องจากปก : บทสัมภาษณ์บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนอำเภอขุขันธ์

บทสัมภาษณ์ : คุณสมพงษ์ เจริญศิริ ผู้พัฒนาโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM

บทความ : หนังสืออิเลคทรอนิกส์ด้านการเกษตรเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

บทความ : แปลงร่างตู้บัตรรายการเป็นตู้รับจดหมายด้วยเทคนิคเดคูพาจ (D?coupage)

บทความ : อาสาทำดีเพื่อพ่อ

บทความ : เปิดบ้านห้องสมุดหนังสือหายากของจุฬา

บทความ : ห้องสมุดศิลปะ ( Art Library)

พาเที่ยว : ห้องสมุดประชาชน Deichmanske Bibliotek

แนะนำฐานข้อมูล : CAB Direct

เรื่องแปล : หนังสือเล่มโตจริง ๆ

เรื่องแปล : ห้องสมุดดิจิทัลจอห์น เอฟ. เคนเนดี้

เป็นยังไงกันบ้างครับกับสาระที่มาเต็มๆ แบบนี้ ยังไงก็ลองอ่านดูกันนะครับ
สำหรับฉบับนี้ก็จบไว้เท่านี้ดีกว่า ไว้ติดตามดูฉบับหน้าอีกทีนะ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ (Librarians’ Licensure)

คำถามในเรื่องวิชาชีพที่หลายๆ คนอยากรู้เรื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่อง “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์”
ซึ่งผมเองก็สงสัยมานานแล้วเหมือนกันว่า ทำไมวิชาชีพของเราจึงไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
เรื่องราวที่ผมจะเขียนต่อไปนี้อาจจะอ้างอิงจากประเทศฟิลิปปินส์นะครับ แต่ก็เป็นข้อมูลที่น่าสนใจเหมือนกัน


เรื่องของเรื่องผมตามอ่านบล็อก filipinolibrarian มาสักระยะหนึ่งแล้ว
และพบบทความชื่อเรื่องว่า “Librarians’ Licensure Examination 2010: Results

ซึ่งเมื่อเข้าไปอ่านแล้ว ผมก็พบข้อมูลว่า
“ผลการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ในปี 2010 มีคนผ่าน 27% (191 จาก 699 คน) ซึ่งน้อยกว่าปี 2009 ซึ่งมี 30% ที่ผ่าน”

เพียงแค่ประโยคนี้ประโยคเดียวมันก็ทำให้ผมสนใจเรื่องนี้มากขึ้นแล้ว “เรื่องใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์”
ในประเทศฟิลิปปินส์บรรณารักษ์ที่จะประกอบวิชาชีพได้ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้นนะครับ
คนที่ไม่มีใบอนุญาตแล้วทำงานบรรณารักษ์ถือว่าผิดกฎหมายด้วย

ซึ่งแตกต่างจากประเทศของเรานะครับ “เอาใครก็ได้มาเป็นบรรณารักษ์”
เมื่อได้ “ใครก็ได้” มาทำงาน “มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง” ผมว่าเพื่อนๆ หลายคนคงรู้นะครับ

แต่ก็มีหลายๆ คนคงคิดต่อไปอีกว่า แล้วในประเทศฟิลิปปินส์เขาไม่ถกเถียงกันเรื่องนี้บ้างหรอ
จริงๆ แล้วมีการถกเถียงเรื่องนี้กันมากๆ เลย ลองอ่านได้จาก “Unlicensed Librarians and R.A. 9246

เอกสาร R.A. 9246 คือ กฎหมายหรือบทบัญญัติที่เกี่ยวกับวิชาชีพบรรณารักษ์ในฟิลิปปินส์ ออกมาตั้งแต่ปี 2004
(ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.congress.gov.ph/download/ra_12/RA09246.pdf)

ตัวอย่างบทบัญญัติที่น่าสนใจ

SECTION 31. Employment of Librarians. ? Only qualified and licensed librarians shall be employed as librarians in all government libraries. Local government units shall be given a period of three (3) years from the approval of this Act to comply with this provision.

SECTION 32. Penal Provisions. ? Any person who practices or offers to practice any function of a librarian as provided for under Section 5 of this Act who is not registered and has not been issued by the Commission a Certificate of Registration and Professional Identification Card, or a temporary license/permit or who violates any of the provisions of this Act, its Implementing Rules and Regulations, shall, upon conviction, be penalized by a fine of not less than Thirty thousand pesos (P30,000.00) nor more than One hundred thousand pesos (P100,000.00), or imprisonment of not less than one (1) month nor more than three (3) years at the discretion of the court.

นอกจากนี้สำหรับชาวต่างชาติที่จะเข้าไปเป็นบรรณารักษ์ในฟิลิปปินส์ ในบทบัญญัติก็กล่าวไว้ว่าต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเช่นกัน เป็นไงกันบ้างครับแรงไปหรือปล่าว แต่เหตุผลหลักๆ ที่เขาปฏิบัติกันมาเช่นนี้เพราะเขาต้องการรักษามาตรฐานความเป็นวิชาชีพบรรณารักษ์ นั่นเอง

สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนบรรณารักษ์แต่อยากเป็นบรรณารักษ์ที่ฟิลิปปินส์ก็เปิดโอกาสนะ แต่ต้องไปเรียนหรือเข้าคอร์สตามมหาวิทยาลัยที่รับรองมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งจะมีประกาศออกมาทุกปี ดูได้จากตัวอย่างนะครับ “The Best and the Worst LIS Schools, 2007-2009.”

Librarian Licensure Examination 2009

ขอสรุปแบบคร่าวๆ เลยแล้วกันครับว่า “หากบรรณารักษ์ไทยอยากมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์” บ้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
– สภาวิชาชีพบรรณารักษ์
– สภาทนายความ
– วุฒิสภา
– มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรบรรณารักษ์
– ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ
ฯลฯ

ซึ่งถามว่า “ยากมั้ย”? คำตอบ “ยากครับ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้”
เอาเป็นว่าก็ขอเอาใจช่วยลุ้นก็แล้วกันนะครับ (ใจจริงอยากให้มีนะ วงการห้องสมุดจะได้พัฒนากันมากกว่านี้)

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 5

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 5
ออกในเดือนพฤศจิกายน 2553

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์กลับมาพบกลับเพื่อนๆ ชาวบรรณารักษ์และห้องสมุดกันอีกครั้งแล้วนะครับ
นับว่าเป็นนิตยสารที่อยู่คู่กับ projectlib และ libraryhub มากกว่า 3 ปีแล้ว (แอบดีใจที่มีเพื่อนร่วมทาง)
เอาเป็นว่าฉบับนี้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากมายหลายบทความ ร่วมถึงบทความที่เข้ากับช่วงนี้ด้วย (น้ำท่วม)

ไฮไลท์ของเล่มอยู่ที่ห้องสมุดในมหาวิทยาลัยที่ผมเรียนปริญญาตรี (ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
ช่วงเดือนที่ผ่านมาที่มีข่าวเรื่องพายุเข้าในจังหวัดปัตตานีทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงในมหาวิทยาลัย
ผลกระทบนี้ส่งผลไปถึงห้องสมุดต่าง ๆที่อยู่ที่นั่นด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ หอสมุดจอร์นเอฟเคนเนดี้ นั่นเอง

เอาเป็นว่าเกริ่นมาเยอะแล้ว เราไปดูเนื้อหาในฉบับนี้กันดีกว่า

เรื่องจากปก 😕 หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ปะทะ ดีเปรสชั่น

พาเที่ยว : ห้องสมุดประชาชนเมืองTampere ฟินแลนด์

พาเที่ยว : เล่าเรื่องกิจกรรม ?โครงการหนังสือเพื่อน้อง?

บทความ : Chair & Share

บทความ : จุฬาฯ ส่งมอบห้องสมุด 3 ดี

บทความ : Top 10 Books From Library Journal

บทความ 😕 ทำอย่างไรจึงเป็นดาว

บทความ : การดูแลและเอาใจใส่ลูกค้า … ยังต้องพยายามกันต่อไป

บทความ : ซอฟต์แวร์อิสระ ถึง ระบบห้องสมุดอิสระ

ป็นยังไงกันบ้างครับ ลองเข้าไปอ่านกันดูนะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่ม 5 : http://www.librarianmagazine.com/VOL3/NO5/index.html