นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 5
ออกในเดือนกรกฎาคม 2552
librarian
LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 4
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 4
ออกในเดือนมิถุนายน 2552
ผ่านมาปีครึ่งแล้วนะครับ นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดตัวจนถึงวันนี้
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์แห่งนี้ก็มีการนำเสนอเรื่องราวของวงการอย่างต่อเนื่อง
ฉบับนี้ก็เช่นเดียวกัน คอลัมน์พาเที่ยว สัมภาษณ์ และบทความแปล ยังคงน่าสนใจเหมือนปกติ
เราไปดูกันเลยดีกว่าว่านิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ประกอบไปด้วยเรื่องอะไรบ้าง
เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้
เรื่องจากปก – หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
เรื่องจากปก – ระบบหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร
พาเที่ยว – เทคโนโลยีสารสนเทศ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในประเทศเกาหลีใต้
พาเที่ยว – The journey of next generation library in CONSAL
พาเที่ยว – การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Workshop) ให้แก่บรรณารักษ์ห้องสมุดในกรุงเวียงจันทน์
บทสัมภาษณ์ – การรับบรรณารักษ์แลกเปลี่ยนในโครงการ ALP training attachment programme
เรื่องแปล – บรรณารักษ์คิดบวก
เรื่องแปล – ไวรัสไอเฟรม ฝันร้ายของคนทำเว็บ !
เรื่องเล่า – เมื่อข้าพเจ้าได้ไปอบรมกรรมฐาน ณ วัดโสมนัสราชวรวิหาร
เรื่องเล่า – สุสานโฮจิมินห์ที่ไม่ควรพลาดชม
เรื่องเล่า – พิพิธภัณฑ์รองเท้าที่เมืองมาริกีน่า
และนี่ก็เป็นเพียงเนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ปี 2 ฉบับที่ 4 นะครับ
ผมก็ขอตัวไปอ่านเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ก่อนนะครับ
เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 4 : http://www.librarianmagazine.com/VOL2/NO4/index.html
อาชีพที่ดีที่สุดของปี 2009 คือ บรรณารักษ์
บทความแห่งความภูมิใจของวิชาชีพบรรณารักษ์บทความนี้
หากเพื่อนๆ ได้อ่านแล้ว จะทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติงานมากขึ้นหรือปล่าวครับ
เรื่องนี้มาจากบทความที่ชื่อว่า “Best Careers 2009: Librarian”
ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน U.S.News & World Report ในวันที่ 11 ธันวาคม 2008
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านเรื่องแบบเต็มๆ ได้ที่
http://www.usnews.com/articles/business/best-careers/2008/12/11/best-careers-2009-librarian.html
ซึ่งผมได้สรุปเนื้อหานี้ ออกมาเป็นประเด็นๆ มีดังนี้
– บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่อยู่กับความรู้ และมีการปรับตัวให้เข้ากับความทันสมัยของเทคโนโลยี
– สิ่งที่บรรณารักษ์มีเหนืออาชีพอื่นๆ คือ การช่วยเหลือผู้ใช้บริการด้วยใจ และทำให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลด้วยหนังสือ หรือ สื่อดิจิตอล
– การให้บริการอย่างเต็มใจ เป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นปรัชญาประจำตัวของบรรณารักษ์
– บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ต้องทำงานตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นวันหยุด หรือวันทำงาน แถมยังเลิกงานดึกอีก
– หนึ่งวันของบรรณารักษ์ทำงานต่างๆ มากมาย เช่น นั่งวิเคราะห์รายการหนังสือ ให้บริการอ้างอิง ตอบคำถามผู้ใช้ จัดเก็บหนังสือ และเรียนรู้งานใหม่ๆ
– รายได้ของบรรณารักษ์ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดีมาก
นอกจากการยกย่องวิชาชีพนี้แล้ว ในบทความนี้ยังกล่าวถึงความนิยมในการเรียนวิชาชีพบรรณารักษ์ในสหรัฐอเมริกาอีก
โดยมีการรายงานแบบสรุปของหลักสูตรว่า หลักสูตรบรรณารักษ์ที่หลายๆ คนให้ความสนใจ มีดังนี้
– Archives and Preservation
– Digital Librarianship
– Health Librarianship
– Information Systems
– Law Librarianship
– School Library Media
– Services for Children and Youth
เป็นยังไงกันบ้างครับ อ่านแล้วรู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพบรรณารักษ์บ้างหรือปล่าว
ถึงแม้ว่าเรื่องบางเรื่องอาจจะไม่จริงสำหรับเมืองไทย (รายได้ของบรรณารักษ์)
แต่ผมเชื่อว่าการบริการของเราเป็นสิ่งที่ทำให้วิชาชีพเราได้ใจคนทุกคน
LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 3
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 3
ออกในเดือนเมษายน 2552
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้เปลี่ยนลุ๊คไปมากเลยนะครับ
ในรูปแบบของการนำเสนอออกมาคล้ายนิตยสารมากขึ้น
มีการใช้คำว่า สารบัญ และจัดหน้าสารบัญคล้ายๆ นิตยสาร
ทำเอาผมตกใจอยู่เหมือนกันนะครับ
แต่เอาเหอะครับ เนื้อหาสาระก็ยังคงมีประโยชน์ต่อวงการเหมือนเดิม
เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้
เรื่องจากปก – IFLA ASIA & Oceania Mid-Conference Meeting
พาเที่ยว – Victoria University of Wellington Central library
เรื่องแปล – วิธีนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ
เรื่องแปล – ห้องสมุดมาร์กาเร็ด เฮอร์ริค (Margaret Herrick Library)
เรื่องแปล – หากนักศึกษาออกแบบห้องสมุดได้ เขาก็อยากจะมาใช้เองนั่นแหละ
บทความ – ท่องเว็บเก็บเกี่ยว KM ในห้องสมุด
บทความ – ประชาคมอาเซียนมีอะไรบ้างที่น่าสนใจสำหรับบรรณารักษ์และนักสารสนเทศต้องเตรียมรับมือ
Reflection Report – English for Information Professionals Training
เก็บมาฝาก – งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 37
เป็นยังไงกันบ้างครับ เนื้อหาที่ยังคงน่าสนใจ และมีประโยชน์แบบนี้
ไม่บอกต่อคงไม่ได้แล้วนะ เพื่อนๆ ว่ามั้ย
เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 3 : http://www.librarianmagazine.com/VOL2/NO3/index.html
LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 2
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 2
ออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2552
แม้ว่าในฉบับนี้จะมีหัวข้อให้อ่านน้อยหน่อย
แต่ทุกเรื่องก็ยังคงมีเนื้อหาที่น่าสนใจเช่นกันนะครับ
ลองดูได้จากสารบัญของนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ด้านล่างนี้นะครับ
เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้
เรื่องจากปก – หนังสือสวย ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครระยอง
เรื่องพิเศษ – ?ชมรมบรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศนานาชาติ?
พาเที่ยวห้องสมุด – ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครระยอง
พาเที่ยวห้องสมุด – “รางวัลแด่คนช่างฝัน: ล้านของเล่นของอาจารย์เกริก”
บทสัมภาษณ์ – คุณสารภี สีสุข บรรณารักษ์ ฝ่ายบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทความและเรื่องแปล – ห้องสมุดแบบโปร่งใส: เครื่องมือวัดความเงียบ
บทความและเรื่องแปล – Google และ Amazon ทำหนังสือผ่านบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
บทความและเรื่องแปล – การค้นข้อมูลจากห้องสมุดแห่งยุโรป (Europeanlibrary)
หนังสือใหม่เดือนนี้ – แนะนำหนังสือใหม่ปี 2552 สำหรับห้องสมุดโรงเรียน
บรรณารักษ์เล่าเรื่อง – พระราชอารมณ์ขันของในหลวง
เรื่องเล่าจากผู้อ่าน – มิวเซียมสยาม
สุดยอดเลยใช่มั้ยครับฉบับนี้ ใครจะรู้บ้างว่าห้องสมุดเทศบาลสามารถทำอะไรได้มากขนาดนี้
ส่วนอีกเรื่องที่ทำให้ผมต้องรีบอ่านคือ ?ชมรมบรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศนานาชาติ?
ใครยังอ่านก็ลองอ่านดูนะครับ รับรองว่ามีประโยชน์จิงๆ นะครับ
เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 2 : http://www.librarianmagazine.com/VOL2/NO2/index.html
LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 1
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 1 ออกในเดือนมกราคม 2552
ฉบับนี้เป็นฉบับเริ่มต้นปีที่ 2 ของนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์นะครับ
เริ่มต้นปีที่ 2 ของนิตยสารบรรณารักษ์ก็เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมาย
ทั้งในวงการห้องสมุดและวงการบรรณารักษ์อีกแล้วนะครับ
เปิดต้นฉบับด้วยศูนย์ข้อมูลของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
แม้ว่าจะไม่ได้เรียกว่าห้องสมุดแบบตรงๆ
แต่อย่างน้อยศูนย์ข้อมูล ก็ถือว่าเป็นพี่น้องในวงการห้องสมุดอยู่ดีนะครับ
เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้
เรื่องจากปก – ศูนย์ข้อมูลเทป สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3
เรื่องพิเศษ – รวมภาพงานประชุมวิชาการ เรื่อง? “เสริมสร้างสังคมการเรียนรู้ : การเข้าถึงสภาพที่แตกต่างของสังคม”
เรื่องพิเศษ – เยี่ยมบ้าน รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน
พาเที่ยวห้องสมุด – สถาบันไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ
พาเที่ยวห้องสมุด – เส้นทางพาชมพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน
บทความและเรื่องแปล – มาทำดีกับลูกน้องกันเถอะ
บทความและเรื่องแปล – STRONG PASSWORD
ท่องเที่ยว ดูงาน? – จากมหาวิทยาลัยทางด้านศาสนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งเกาะฮ่องกง
บรรณารักษ์เล่าเรื่อง – ปราสาทพระวิหาร: เทวสถานแห่งความทรงจำ? มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
บรรณารักษ์เล่าเรื่อง – เรื่องเล่าจากอินเดีย (ตอนจบ)
บรรณารักษ์เล่าเรื่อง – ประสบการณ์จากการอบรมหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน (ILC)
เรื่องสั้น – บรรณารักษ์ป้ายแดง
เรื่องเล่าจากผู้อ่าน – หิ้วกล้องท่องพิพิธภัณฑ์สิงค์โปร์
เป็นยังไงกันบ้างครับกับฉบับปีที่ 2 ของนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์
นิตยสารออนไลน์ที่ยังคงมีอุดมการณ์ในการนำเสนอข้อมูลด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่อไป
ยังไงซะ ผมก็ยังคงติดตามอ่านอยู่เรื่อยๆ นะครับ
เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 1 : http://www.librarianmagazine.com/VOL2/NO1/index.html
LibrarianMagazine Special edition#1
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ฉบับพิเศษ 1
ออกในเดือนธันวาคม 2551
ซึ่งในเล่มได้มีการกล่าวถึงหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ
ซึ่งปัจจุบันยังไม่เปิดให้เข้าชม เนื่องจากอยู่ในระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ และการส่งมอบงาน
ชื่อเต็มๆ ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ คือ
“หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช”
ทางทีมงานของนิตยสารบรรณารักษ์ได้มีโอกาสเล่าเรื่องราวความเป็นมา
และนำภาพถ่ายจากสถานที่จริงมาให้เราได้ชมกัน นับว่าเป็นโอกาสที่ดีอีกครั้งหนึ่ง
เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ได้กล่าวถึง
– ประวัติความเป็นมาของหอจดหมายเหตุฯ
– วัตถุประสงค์ของการจัดสร้าง
– ภารกิจของหอจดหมายเหตุ
– ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บ
– อาคารต่างๆ ในบริเวณหอจดหมายเหตุฯ
เอาเป็นว่าเป็นฉบับพิเศษ ที่ช่างพิเศษอะไรเช่นนี้
เพื่อนๆ สามารถดูรายละเอียดทั้งหมดที่
http://www.librarianmagazine.com/VOL1_SPECIAL/index.html
LibrarianMagazine ปีที่ 1 เล่ม 8
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่มที่ 8 ออกในเดือนตุลาคม 2551
ฉบับนี้เป็นฉบับส่งท้ายปีที่ 1 ของนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์
ก่อนเข้าเนื้อหาของเล่มนี้ ผมเลยขอถือโอกาสอวยพรล่วงหน้าเลยดีกว่า
ขอให้ Librarian Magazine อยู่คู่วงการบรรณารักษ์นานๆ
ขอให้ Librarian Magazine เป็นศูนย์กลางข้อมูลของเหล่าบรรณารักษ์
ขอให้คนทำ Librarian Magazine จงมีแรงใจในการนำเสนอผลงาน
ขอให้ Librarian Magazine ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้
เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้
เรื่องจากปก – ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม
เรื่องพิเศษ – “งานแสดงมุทิตาจิต จากศิษย์ถึงครู”
เรื่องพิเศษ – ครูในดวงใจของพวกเรา
พาเที่ยวห้องสมุด – ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย
พาเที่ยวห้องสมุด – ห้องสมุดวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
พาเที่ยวห้องสมุด – ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย
พัฒนาห้องสมุด – วีดิโอสตรีมมิ่ง
บทสัมภาษณ์ – คุณนันทนา กรดเต็ม
บทสัมภาษณ์ – อาจารย์ภณิดา แก้วกูร
บทสัมภาษณ์ -? คุณปิยะพร ดาวกระจ่าง (ใหม่)
ท่องเที่ยว ดูงาน? – ประเทศฮ่องกง 7X24 Learning Center บทบาทห้องสมุดยุคใหม่ ที่ต้องไปให้ถึง
บทความภาษาอังกฤษ? – The Plague of Plagiarism in an Online World
บทความและเรื่องแปล – สิบอย่างที่เราเรียนรู้ขณะที่กำลังสร้างเว็บไซต์ใหม่
บทความและเรื่องแปล – Dissertation & Research Clinics
บทความและเรื่องแปล – สภาผู้แทนราษฎร
เรื่องสั้นบรรณารักษ์ – บรรณารักษ์ป้ายแดง? (ตอน ๒)
เรื่องเล่าบรรณารักษ์ – เรื่องเล่าจากอินเดีย (ตอน ๒)
เรื่องเล่าบรรณารักษ์ – เลโอนาร์โด ดาวินชี : อัจฉริยะผู้เกิดก่อนยุคสมัย
เรื่องเล่าจากผู้อ่าน – หิ้วกล้องท่องพิพิธภัณฑ์สิงค์โปร์
หลังจากเล่มนี้ (ฉบับที่ 8) ทางทีมงานแอบกระซิบว่าจะมีเล่มฉบับพิเศษด้วย
ยังไงเดี๋ยวผมจะนำมาลงให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ได้อ่านนะครับ
เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่ม 8 : http://www.librarianmagazine.com/VOL1No8/index.html
LibrarianMagazine ปีที่ 1 เล่ม 6
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่มที่ 6
ออกในเดือนกรกฎาคม 2551
เรื่องจากปกของนิตยสารออนไลน์ฉบับนี้ ได้พูดถึงเรื่อง การนำโมเดลธุรกิจมาใช้ในห้องสมุด
ซึ่งกรณีตัวอย่างที่นำมาศึกษานี้ คือ กรณีการเปิด BookShop ของห้องสมุดสตางค์
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยนะครับ เพื่อนๆ ลองเอาไปประยุกต์ใช้ดูนะ
เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้
เรื่องจากปก – Library Bookshop ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข
พัฒนาห้องสมุด – เมื่อไปจัดห้องสมุดที่ลับแล
พัฒนาห้องสมุด – ห้องสมุดเพื่อน้อง
พาเที่ยวห้องสมุด – เคยไปศูนย์การเรียนรู้ วังจันทรเกษม ในกระทรวงศึกษาธิการไหม
พาเที่ยวห้องสมุด – ห้องสมุด Book Garden
บรรณารักษ์ท่องเที่ยว ดูงาน? – The 34th Binirayan Festival 2008 ประเทศฟิลิปปินส์
บรรณารักษ์ท่องเที่ยว ดูงาน? – เตรียมตัวขอทุน IFLA ตอนสอง การประเมินผลการเข้ารับการอบรม
เรื่องแปล – ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้
เรื่องแปล – หากว่าโลกของห้องสมุดจะไม่มีบรรณารักษ์
เรื่องแปล – หนูทำได้: เมื่อเด็กอายุ 12ขวบอยากเป็นเจ้าของห้องสมุด
ประสบการณ์การฝึกงานห้องสมุด – ประสบการณ์การฝึกงานห้องสมุดของนักศึกษาวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ประสบการณ์การฝึกงานห้องสมุด – จากประสบการณ์การฝึกงานนักศึกษา
กิจกรรม และ สาระน่ารู้อื่นๆ – กิจกรรมห้องสมุดประชาชนจังหวัดเลย ตอนสอง
กิจกรรม และ สาระน่ารู้อื่นๆ – ไล-บรา-รี่ ห้องสมุดนี้ขายกาแฟ
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ก็ได้ดำเนินการออกมาครบหกฉบับแล้ว
กำหนดเวลาก็ออกตรงเวลาทุกครั้ง แถมยังมีสาระความรู้ที่น่าสนใจมากมาย
ยังไงผมก็ขออวยพร และเป็นกำลังใจให้ผู้จัดทำทุกคนนะครับ
เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่ม 6 : http://www.librarianmagazine.com/VOL1No6/index.html
LibrarianMagazine ปีที่ 1 เล่ม 5
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่มที่ 5
ออกในเดือนมิถุนายน 2551
ฉบับนี้ผมชอบหน้าปกมากเลยครับ เพราะว่าเป็นรูปหนังสือเสียง
บอกเท่านี้ เพื่อนๆ ก็คงเดาได้แล้วนะครับว่าเนื้อหาในฉบับนี้มีเรื่องเด่นคืออะไร
นั่นแหละครับ ห้องสมุดโรงเรียนคนตาบอด นับว่าน่าสนใจมาก
เพราะเจาะลึกวิธีการทำงานของบรรณารักษ์ที่ทำงานจริงในห้องสมุดคนตาบอด
ส่วนเนื้อหาเรื่องอื่นๆ ก็น่าสนใจเหมือนกันนะครับ ลองดูสารบัญกันก่อนดีกว่า
เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้
เรื่องจากปก ห้องสมุดคนตาบอดแห่งชาติ The Nation Library of The Blind
บทสัมภาษณ์ – คุณพัชรพร ไตรอังกรู? บรรณารักษ์ ห้องสมุดคนตาบอดแห่งชาติ
บทสัมภาษณ์ – คุณวาสนา กลีบเมฆ? หัวหน้าฝ่ายผลิตหนังสือเสียง ห้องสมุดคนตาบอดแห่งชาติ
บทสัมภาษณ์ – คุณอุดม จันดากร? ผู้ใช้ห้องสมุด ห้องสมุดคนตาบอดแห่งชาติ
พาเที่ยวห้องสมุด – ห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี
พาเที่ยวห้องสมุด – Assumption University library
พัฒนาห้องสมุด – การออกแบบห้องสมุดมีชีวิต
พัฒนาห้องสมุด – ห้องสมุดมีชีวิต: ที่นี่มีมนุษย์หนังสือให้คุณยืม
พัฒนาห้องสมุด – ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดทางการแพทย์ในประเทศไทย
พัฒนาห้องสมุด – ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเลย
บรรณารักษ์ท่องเที่ยว ดูงานต่างประเทศ? – เตรียมตัวขอทุน? IFLA
เรื่องสั้น และ บทความอื่นๆ – มุมคุณธรรม (ตอน สอง)
เรื่องสั้น และ บทความอื่นๆ – หนังสือนิทานเสียงในซีดี? : หนูก็ทำได้
เป็นยังไงกันบ้างครับ หวังว่าคงได้ความรู้กันไปไม่มากก็น้อยเลยนะครับ
ว่างๆ ผมว่าจะไปเยี่ยมชมห้องสมุดโรงเรียนสอนคนตาบอดบ้างนะครับ
เพื่อจะได้ไอเดียดีๆ มาช่วยพัฒนาห้องสมุดต่อไป
เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่ม 5 : http://www.librarianmagazine.com/VOL1NO5/index.html