LibrarianMagazine ปีที่ 1 เล่ม 4

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่มที่ 4
ออกในเดือนเมษายน 2551

libmag14

ฉบับที่ 4 นี้มีรูปลักษณ์ที่เปลี่ยนไปเยอะมากเลยนะครับ แบ่งคอลัมน์ชัดเจนมากขึ้น
แต่เนื้อหาในเล่มยังคงเข้มข้นเหมือนเดินนะครับ ยังไงก็ลองติดตามดูนะครับ

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้
มีดังนี้

พาเที่ยวห้องสมุด – Read & Fit? สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา

พาเที่ยวห้องสมุด – ห้องสมุดเสริมปัญญา

พัฒนาห้องสมุด – ข้าพเจ้าเป็นบรรณารักษ์วิชาชีพ ..

พัฒนาห้องสมุด – โครงการบริการวิชาการพัฒนาห้องสมุดและสื่อการเรียนรู้ห้องสมุด

พัฒนาห้องสมุด – ชมรม TOFU ( THE OPPORTUNITY FUND UNIT)

บรรณารักษ์ท่องเที่ยวดูงาน ต่างประเทศ – Demystifying the American Library Association

บรรณารักษ์ท่องเที่ยวดูงาน ต่างประเทศ – ห้องสมุดในฮ่องกง

บรรณารักษ์ท่องเที่ยวดูงาน ต่างประเทศ – ประสบการณ์ดีๆที่เซี่ยงไฮ้

พาเที่ยวร้านหนังสือ – ร้านบุ๊คมาร์ค

เรื่องสั้น และ บทความอื่นๆ – มุมคุณธรรม

เรื่องสั้น และ บทความอื่นๆ – เว็บไซต์หนังสือสำหรับเด็ก

เรื่องสั้น และ บทความอื่นๆ – พาหนังสือเที่ยว

ความชัดเจนของการแบ่งคอลัมน์ในเล่นนี้ ทำให้เนื้อหาด้านในน่าติดตามมากๆ เลยนะครับ
ทางทีมงานก็ตั้งใจนำเสนอข้อมูลและเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อไป และหวังว่าเพื่อนๆ จะติดตามต่อไปด้วยเช่นกัน

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่ม 4 : http://www.librarianmagazine.com/VOL1NO4/index.html

LibrarianMagazine ปีที่ 1 เล่ม 3

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่มที่ 3
ออกในเดือนมีนาคม 2551

libmag13

ต้องขอออกตัวแทนผู้จัดทำก่อนนะครับ
เนื่องจากนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ บางคอลัมน์ออกไม่ทันจริงๆ
จึงขอยกยอดคอลัมน์บางส่วนไปฉบับหน้านะครับ

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

พาเที่ยวห้องสมุดด้วยภาพ – หอสมุด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

พาเที่ยวห้องสมุดด้วยภาพ – หอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พาเที่ยวห้องสมุดด้วยภาพ – The Library เกาะสมุย

เรื่องพิเศษประจำฉบับ – นนทบุรีศึกษา โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สมพร พุทธาพิทักษ์ผล

เรื่องพิเศษประจำฉบับ – บริการ??? ?นำส่งเอกสาร? โดย คุณพรทิพย์ สุวันทารัตน์

เรื่องพิเศษประจำฉบับ – ห้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ โดย คุณศิริน โรจนสโรช

เรื่องพิเศษประจำฉบับ – Experience from IFLA/ALP Attachment Program by Sarapee Srisuk

เรื่องพิเศษประจำฉบับ – ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ โดย รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน

เรื่องพิเศษประจำฉบับ – คุณค่าของห้องสมุดคืออะไร โดย คุณพิมล เมฆสวัสดิ์

บรรณารักษ์ – เพิ่มเสน่ห์ให้ห้องสมุดด้วย …..

บรรณารักษ์ – ชีวิตบรรณารักษ์ที่เข้ามาอยู่ในแวดวงทหาร

บรรณารักษ์ – งานบรรณารักษ์ ณ The Library

เรื่องพิเศษประจำฉบับ – it?s time for wonderful test !

ถึงแม้ว่าเรื่องจะน้อยกว่าปกติ บางคอลัมน์ไม่มี
แต่จากเนื้อหาที่นำเสนอในเรื่องนี้ ก็พิสูจน์แล้วว่านิตยสารเล่มนี้มีประโยชน์ และคุณค่ามากมาย

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ :
http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่ม 3 : http://www.librarianmagazine.com/VOL1NO3/index.html

LibrarianMagazine ปีที่ 1 เล่ม 2

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่มที่ 2
ออกในเดือนมกราคม 2551

libmag12

ในเล่มนี้เนื้อหาก็ยังคงเข้มข้นเหมือนเดิมนะครับ
ลองเข้าไปดูเนื้อหาในเล่มนี้กันดูนะครับ

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้
มีดังนี้

พาเที่ยวห้องสมุดด้วยภาพ – ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง

พาเที่ยวห้องสมุดด้วยภาพ – ห้องสมุดโรงเรียนสารวิทยา

หนังสือเด่นประจำเดือน -? หนังสือพระนิพนธ์ โดย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

เรื่องพิเศษประจำฉบับ – ผมเป็นผมทุกวันนี้เพราะห้องสมุด

เรื่องพิเศษประจำฉบับ – ห้องสมุดเป็นหัวใจของโรงเรียน

เยี่ยมภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ – บทสัมภาษณ์? รองศาสตราจารย์ สุพัฒน์ ส่องแสงจันทร์?? มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บรรณารักษ์ – ห้องสมุดประชาชนห้องสมุดของทุกคน

บรรณารักษ์ – การพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนแนวคิดใหม่

ท่องเที่ยว ดูงาน – ห้องสมุดในสหรัฐอเมริกา

ท่องเที่ยว ดูงาน – มรดกความทรงจำด้านภาพและเสียง (ตอนจบ)

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – เขียนทำไม? (2)

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – ห้องสมุดประธานาธิบดี

จากชั้น(หนังสือ) สู่..จอ – Flowers for Algernon

เรื่องดีๆ มีประโยชน์แบบนี้ผมเลยต้องขอบอกต่อ
ยังไงก็เป็นกำลังใจให้ทีมงานนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์นะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่ม 2 :
http://www.librarianmagazine.com/VOL1NO2/index.html

LibrarianMagazine ปีที่ 1 เล่ม 1

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่มที่ 1
ออนไลน์ครั้งแรกวันที่ 1 ธันวาคม 2550

libmag11

แค่เล่มเปิดตัวก็มีเนื้อหาเยอะเลยนะครับ
เอาเป็นว่าลองเข้าไปดูกันเลยดีกว่าว่าใน นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ จะมีเนื้อหาอะไรที่น่าสนใจบ้าง

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ มีดังนี้

พาเที่ยวห้องสมุดด้วยภาพ – สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พาเที่ยวห้องสมุดด้วยภาพ – สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม

พาเที่ยวห้องสมุดด้วยภาพ – อาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เยี่ยมภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ – บทสัมภาษณ์? ผศ.ดวงกมล อุ่นจิตติ มหาวิทยาลัยบูรพา

บรรณารักษ์ – บรรณารักษ์นักเขียน (1)

บรรณารักษ์ – หนึ่งวันกับบรรณารักษ์

บรรณารักษ์ – Military library

ท่องเที่ยว ดูงาน – มรดกความทรงจำด้านภาพและเสียง (1)
หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติลาว

ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ – ICT กับของฟรีที่คนไทยชอบ

ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ – งานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2550

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – ฝรั่งเศสเปิดตัว ห้องสมุดดิจิทัลภาษาฝรั่งเศส

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – มีลูกเล่นบ้าง ใช่ทำแต่งานอย่างเดียว

จากชั้น(หนังสือ) สู่..จอ – ข้างหลังภาพ โดย คนเดินตั๋ว

ธุรกิจและบริการสำหรับห้องสมุด – ธุรกิจฐานข้อมูลในประเทศไทย

ธุรกิจและบริการสำหรับห้องสมุด – Booknet เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์

นี่เป็นเพียงปฐมบทแห่งการเริ่มต้นนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เท่านั้นนะครับ
ยังไงก็ลองติดตามอ่านในเล่มอื่นๆ ด้วยนะครับ คุณภาพเขาคัดจริงๆ เล่มนี้

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ :
http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่ม 1 : http://www.librarianmagazine.com/VOL1NO1/index.html

แนะนำนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ (LibrarianMagazine)

หากพูดถึงวงการนิตยสารออนไลน์ และวารสารออนไลน์
ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากเลยนะครับ

ภาพแสดงแนวความคิดของนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ก่อนเปิดตัวครั้งแรก
ภาพแสดงแนวความคิดของนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ก่อนเปิดตัวครั้งแรก

ในวงการบรรณารักษ์ของพวกเราก็มีนิตยสารออนไลน์เช่นเดียวกัน
ซึ่งนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ในเมืองไทย มีชื่อว่า “LibrarianMagazine

ข้อมูลที่ผมจะนำเสนอในตอนนี้คือ ข้อมูลก่อนการเปิดตัวของนิตยสารเล่มนี้
(เป็นข้อมูลที่ผมเคยเขียนเมื่อเดือนตุลาคม 2550)

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์จะเปิดตัวครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2550 นะครับ

ซึ่งถือว่าเป็นนิตยสารบรรณารักษ์ นิตยสารออนไลน์ฉบับแรกของวงการบรรณารักษ์ไทย

แนวความคิดเดิมก่อนการเปิดตัว ทางผู้จัดทำได้วางประเด็นไว้ 7 ส่วน ดังนี้

1. Librarian Travel & Learning
จะเล่าเรื่องราวประสบการณ์ในการเดินทางท่องเที่ยวและดูงานของบรรณารักษ์

2. Librarian Web Board
พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน และประชาสัมพันธ์เรื่องราวต่างๆ ของบรรณารักษ์

3. Librarian Buyer Guide
รวบรวมข้อมูลธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับห้องสมุด เช่น ร้านหนังสือ ระบบงานห้องสมุด ครุภัณฑ์ในห้องสมุด

4. News & Update
ข่าวและข้อมูลอัพเดทในวงการบรณารักษ์และห้องสมุด

5. New Books & Journals
แนะนำหนังสือขายดีทั้งในประเทศและต่างประเทศ

6. บทสัมภาษณ์
สัมภาษณ์บุคคลในวงการห้องสมุด (ในเล่มแรกสัมภาษณ์ รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน)

7. Library Photo Gallery

รวบรวมภาพห้องสมุดสวยๆ

เอาเป็นว่าแนวความคิดในการจัดทำค่อนข้างชัดเจนในจุดประสงค์ดีนะครับ
เดี๋ยวผมจะนำ นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์มา ไว้ใน LibraryHub ทุกฉบับ
เพื่อให้เพื่อนๆ ได้ติดตามได้ง่ายขึ้นด้วย แล้วเจอกันนะครับ

ปล. ผมไม่ได้เป็นผู้จัดทำนะครับ แต่ผมเป็นช่องทางในการเข้าถึงเฉยๆ

บรรณารักษ์ยุคใหม่สไตล์ Cybrarian

วันนี้ผมขอแนะนำคำศัพท์ใหม่ในวงการบรรณารักษ์หน่อยนะครับ
จริงๆ จะบอกว่าใหม่ก็อาจจะไม่ถูกซะทีเดียว คำศัพท์นี้เพื่อนๆ คงอาจจะคุ้นๆ บ้างนั่นแหละ

cybrarian

คำศัพท์ที่จะแนะนำวันนี้ คือ “Cybrarian”

ที่มาของ Cybrarian = Cyber + Librarian

คำว่า Cyber เป็นคำที่ใช้แสดงความเป็นโลกยุคใหม่ โลกสารสนเทศ โลกคอมพิวเตอร์
คำว่า Librarian ตรงตัวเลยครับ คือ บรรณารักษ์

ดังนั้นการนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น “Cybrarian” ย่อมมีความหมายว่า
– บรรณารักษ์แห่งโลกคอมพิวเตอร์
– บรรณารักษ์แห่งโลกดิจิตอล
– บรรณารักษ์ยุคใหม่
– บรรณารักษ์แห่งโลกออนไลน์

ซึ่งอยากได้ความหมายแบบไหนเพื่อนๆ ก็นิยามกันได้เลยนะครับ

จริงๆ แล้วนอกจาก Cybrarian
เพื่อนๆ อาจะได้ยินคำว่า Cybrary อีกก็ได้ นั่นคือ Cyber + Library นั่นเอง
หรือที่หลายๆ คนจินตนาการว่า เป็นห้องสมุดแห่งโลกคอมพิวเตอร์ หรือ ห้องสมุดแห่งโลกออนไลน์

แล้ว Cybrarian กับ Librarian มีอะไรที่ต่างกันบ้างหรือปล่าว
หลังจากที่ผมนั่งคิด และพิจารณาถึงความหมายต่างๆ เหล่านี้แล้ว
ผมว่าลักษณะการทำงาน และความรู้ต่างๆ Cybrarian คงมีเหมือนกับ Librarian นั่นแหละ
เพียงแต่จะเพิ่มในเรื่องของความเป็นโลกสมัยใหม่ลงไป เช่น
– ความรู้ด้านไอที หรือความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
– ความรู้ด้านการจัดการและบริหารงานสมัยใหม่
– มีทักษะและเข้าใจหลักในการสืบค้นข้อมูลออนไลน์
– รู้จักสื่อในยุคใหม่ๆ (New Media)
– รู้จักและเข้าใจการใช้งานของเว็บไซต์ 2.0

เป็นไงกันบ้างครับ ทักษะต่างๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นมา
หวังว่าคงไม่ยากเกินกำลังของบรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างพวกเรานะครับ
ค่อยๆ เรียนรู้ ค่อยๆ ฝึกกันไป สักวันพวกเราก็จะกลายเป็น Cybrarian อย่างเต็มตัว

บรรณารักษ์สุดเซ็กซี่ก็มีนะครับ

หลายคนบอกผมว่า “บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้หญิงเรียบร้อยๆ ใส่แว่น แถมยังดุอีกต่างหาก”
วันนี้ผมจะขอปรับทัศนคติเหล่านี้ เพราะเรื่องดังกล่าวมันก็ไม่จริงเสมอหรอกนะครับ

sexy-librarian

บางครั้งการมองภาพบรรณารักษ์เรียบร้อยมากๆ
ก็อาจจะทำให้ภาพลักษณ์ของบรรณารักษ์ดูเป็นเช่นนั้น

วันนี้ผมเลยขอนำภาพบรรณารักษ์ในแนวสวยๆ งามๆ มาให้เพื่อนๆ ดูกันบ้าง
เผื่อว่าอาจจะลบภาพลักษณ์เดิมๆ ของบรรณารักษ์ลงได้บ้าง

ไปดูรูปกันก่อนเลยดีกว่า

sexy-librarian-1 sexy-librarian-2

sexy-librarian-3 sexy-librarian-4 sexy-librarian-5

เป็นไงบ้างครับรูปบรรณารักษ์สวยๆ งามๆ แบบนี้
พอจะลบภาพลักษณ์เดิมๆ ของบรรณารักษ์ได้หรือปล่าวครับ

รูปเหล่านี้ผมสืบค้นจากเว็บไซต์แชร์ไฟล์รูปอย่าง Flickr ครับ
ผมใช้คำสืบค้น ว่า “Sexy Librarian
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมา ปรากฎว่าพบรูป “Sexy Librarian” จำนวน 676 ภาพ
ยังไงก็ลองเข้าไปดูกันนะครับที่ http://flickr.com/search/?q=sexy+librarian&m=text

หมายเหตุขอการเขียนบล็อกเรื่องนี้ ผมคงต้องประกาศเจตนารมณ์ไว้ก่อนนะครับว่า
– สิ่งที่นำมาให้ดูเพื่อให้เกิดความบันเทิง (ดูแบบว่าขำขำนะ)
– สิ่งที่นำมาให้ดูมิได้เป็นการยั่วยุกิเลสของใครหลายๆ คน
– สิ่งที่นำมาให้ดูเป็นเพียงภาพซึ่งจริง หรือไม่จริงคงต้องไปพิสูจน์กันเอง
– สิ่งที่นำมาให้ดูไม่ได้ต้องการสร้างความแตกแยกในหมู่บรรณารักษ์
– สิ่งที่นำมาให้ดูเพียงแค่ต้องการ ลบภาพลักษณ์ของบรรณารักษ์ลงบ้าง

ก็จากกันวันนี้ ผมก็ขอบอกกับเพื่อนๆ หลายคนว่า
“บรรณารักษ์แอบเซ็กซี่” ก็พอจะมีให้เห็นบ้างนะครับ อิอิ

บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

วันนี้ผมได้เข้าไปค้นข้อมูลเรื่องบรรณารักษ์จากเว็บไซต์ wikipedia
ซึ่งด้านในมีเนื้อหาที่พูดถึงบรรณารักษ์มากมาย แต่ที่ดูน่าสนใจเห็นจะเป็นเรื่อง
Librarian roles and duties – บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

librarianrole

Read more

บรรณารักษ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก

เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าบุคคลสำคัญระดับโลกหลายๆ คนเคยเป็นบรรณารักษ์มาก่อน
บุคคลสำคัญระดับโลกที่เคยเป็นบรรณารักษ์มาก่อน เช่น Benjamin Franklin, Mao Zedong(เหมา เจ๋อตุง)

librariantop

Read more

แนะนำเกมส์แต่งตัวบรรณารักษ์

เพื่อนๆ อยู่ว่างๆ เบื่อกันหรือปล่าวครับ
วันนี้ผมมีเว็บไซต์เกมส์แต่งตัวบรรณารักษ์มาให้เล่นครับ
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปเล่นดูกันนะ แล้วแต่งตัวได้ยังไงก็ส่งมาให้ดูกันบ้าง

เว็บไซต์เกมส์แต่งตัวบรรณารักษ์ คือ? http://librariandressup.com

librarydressup

Read more