10 อันดับห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก (วัดจากจำนวนหนังสือ)

วันนี้ขอต่อเรื่องห้องสมุดกับความเป็นที่สุดในโลกกันต่อนะครับ
เมื่อวานได้เขียนถึงหอสมุดแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกไปแล้ว
วันนี้ขอนำเสนอห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก 10 อันดับบ้างดีกว่า

ที่บอกว่าใหญ่ที่สุดในโลกอันนี้เขาวัดจากการมีจำนวนหนังสือนะครับ
หนังสือมากที่สุดในโลกทั้ง 10 อันดับนี้บางแห่งก็ไม่ใช่หอสมุดแห่งชาติด้วย
ห้องสมุดสถาบันก็สามารถครอง 1 ใน 10 อันดับนี้ได้ด้วย เราไปดูกันเลยดีกว่า

10 อันดับห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อันดับที่ 1 Library of Congress ก่อตั้งเมื่อ 1800 มีหนังสือจำนวน 29 ล้านเล่ม
อันดับที่ 2 National Library of China ก่อตั้งเมื่อ 1909? มีหนังสือจำนวน 22 ล้านเล่ม
อันดับที่ 3 Library of the Russian Academy of Sciences ก่อตั้งเมื่อ? 1714 มีหนังสือจำนวน 20 ล้านเล่ม
อันดับที่ 4 National Library of Canada ก่อตั้งเมื่อ 1953? มีหนังสือจำนวน 18.8 ล้านเล่ม
อันดับที่ 5 Deutsche Biblothek ก่อตั้งเมื่อ? 1990 มีหนังสือจำนวน 18.5 ล้านเล่ม
อันดับที่ 6 British Library ก่อตั้งเมื่อ? 1753 มีหนังสือจำนวน 16 ล้านเล่ม
อันดับที่ 7 Institute for Scientific Information on Social Sciences of the Russian Academy of Sciences ก่อตั้งเมื่อ? 1969 มีหนังสือจำนวน 13.5 ล้านเล่ม
อันดับที่ 8 Harvard University Library ก่อตั้งเมื่อ? 1638 มีหนังสือจำนวน 13.1 ล้านเล่ม
อันดับที่ 9 Vernadsky National Scientific Library of Ukraine ก่อตั้งเมื่อ? 1919 มีหนังสือจำนวน 13 ล้านเล่ม
อันดับที่ 10 New York Public Library ก่อตั้งเมื่อ 1895 มีหนังสือจำนวน 11 ล้านเล่ม

เอาเป็นว่าก็สุดยอดกันไปเลยใช่มั้ยหล่ะครับ เรื่องจำนวนหนังสือแบบเป๊ะๆ อันนี้ผมไม่อยากจะเชื่อตัวเลขสักเท่าไหร่
เนื่องจากในเมืองไทยเองที่ผมเคยไปเยี่ยมห้องสมุดหลายที่ก็มักจะเอาตัวเลขจากฐานข้อมูล แต่หนังสือเล่มจริงๆ มักมีไม่ถึง
จริงๆ ผมอยากรู้จังว่า 1-10 อันดับห้องสมุดในเมืองไทยที่สุดที่สุดมีที่ไหนบ้างจังเลย
ไว้ว่างๆ จะมาเขียนและหาข้อมูลเล่นๆ กันนะ

ข้อมูลมาจากเว็บไซต์ http://www.watchmojo.com/top_10/lists/knowledge/libraries/libraries_largest.htm

10 เหตุผลยอดฮิตของการเป็นบรรณารักษ์

บทความนี้ผมเขียนตั้งแต่ปี 2007 แต่ขอเอามาเขียนใหม่นะครับ
ด้วยเหตุที่ว่า มีเพื่อนหลายคนถามอยู่เสมอว่า “ทำไมถึงอยากเป็นบรรณารักษ์”
ผมก็เลยไปหาคำตอบมาตอบให้เพื่อนๆ อ่าน ซึ่ง 10 เหตุผลดังกล่าวผมว่าก็มีส่วนที่ค่อนข้างจริงนะ

reason-librarian

ปล. 10 เหตุผลยอดนิยมของการบรรณารักษ์ ต้นฉบับเป็นของต่างประเทศ
ดังนั้นอาจจะมีบางส่วนที่เพื่อนๆ อาจจะรับไม่ได้ก็ได้นะครับ ต้องขออภัยล่วงหน้า

ต้นฉบับของเรื่องนี้ ชื่อเรื่องว่า “The Top 10 Reasons to Be a Librarian
ซึ่งเขียนโดย Martha J. Spear

10 เหตุผลยอดฮิตของการเป็นบรรณารักษ์ มีดังนี้
1. Grand purpose – ตั้งใจอยากจะเป็น
2. Cool coworkers – เพื่อนร่วมงานดี
3. Good working conditions – สภาพการทำงานใช้ได้
4. It pays the rent – สามารถยืนด้วยลำแข้งตัวเอง
5. A job with scope – เป็นงานที่มีความหลากหลาย
6. Time off – มีเวลาพักเยอะ
7. Great conferences – มีการจัดงานประชุมได้ดีมาก
8. Useful skills – ใช้ทักษะที่เรียนอย่างเต็มที่
9. Romance – อาชีพที่มีความโรแมนติก
10. Ever-changing and renewing – เป็นอาชีพที่ทำได้นานกว่าอาชีพอื่นๆ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ มีเหตุผลไหนที่ตรงใจคุณกันบ้าง
อย่างที่ผมบอกไว้แต่แรกหล่ะครับ ว่านี่เป็นเหตุผลของบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
อย่าเพิ่งโต้เถียงนะครับ เพราะว่าบ้านเมืองเขาเป็นอย่างนั้น

วันนี้ผมคงได้แค่แปลให้อ่านนะครับ แล้ววันหลังจะมาเขียนอธิบายทีละข้อเลย
เพราะว่าเท่าที่อ่านดูคร่าวๆ นับว่ามีแง่คิดเยอะเหมือนกันครับ
เช่น ข้อที่ 7 ที่พูดถึงเรื่องการจัดประชุมทางวิชาการของสาขาวิชาชีพนี้ ที่เขาบอกว่าดีที่สุด มันเป็นอย่างไร เอาไว้อ่านคราวหน้านะครับ

นั่นคือเหตุผลของบรรณารักษ์ในต่างประเทศ เอาเป็นว่าทีนี้ในบ้านเรา ผมก็อยากรู้เหมือนกันนะครับว่า
“ทำไมเพื่อนๆ ถึงเรียนบรรณารักษ์ หรือทำงานบรรณารักษ์” อิอิ ว่างๆ จะขอสำรวจนะครับ

หอสมุดแห่งชาติกับภาพลักษณ์ใหม่ๆ

นำเที่ยวห้องสมุดวันนี้ ผมขอนำเสนอ “หอสมุดแห่งชาติ”
ล่าสุดที่ผมได้ไปเยี่ยมชมหอสมุดแห่งชาติ ทำเอาผมประหลาดใจในหลายๆ ส่วน
ผมจึงอยากนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้เห็นภาพลักษณ์ใหม่ๆ ของหอสมุดแห่งชาติบ้าง

nlt-banner

ข้อมูลทั่วไปของหอสมุดแห่งชาติ
สถานที่ : หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี
ที่อยู่ : ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : 0-2281-5212 โทรสาร : 0-2281-5449
เว็บไซต์ : http://www.nlt.go.th

การนำชมหอสมุดแห่งชาติของผม ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า
ผมเข้าชมหอสมุดแห่งชาติในวันอังคาร ดังนั้นจำนวนคนจึงไม่ค่อยมาก
และข้อจำกัดด้านเวลา ที่ผมมีเวลาในการเข้าชมเพียงแค่ 2 ชั่วโมง
ดังนั้นอาจจะเข้าชมได้ไม่ครบ แต่ผมจะนำเสนอข้อมูลเท่าที่ผมได้เห็นนะครับ

ไปดูในส่วนต่างๆ กันเลยดีกว่าครับ

เริ่มจากเมื่อเดินเข้าประตูหน้า แล้วมาที่ตึกใหญ่
แต่เดิมหน้าหน้าตึกใหญ่เป็นเพียงสวนต้นไม้หน้าตึก
แต่เดี๋ยวนี้มีการสร้างอาคารเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งอาคารแบบ 1 ชั้น

อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น ด้านหน้าอาคารใหญ่
อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น ด้านหน้าอาคารใหญ่

อาคารที่สร้างเพิ่มขึ้นมาด้านหน้าตึกใหญ่ ภายในมี
– ร้านกาแฟ
– ร้านอาหาร
– ร้านขายขนม ของว่าง
– ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่
– ร้านจำหน่ายหนังสือ

นับว่าเป็นอาคารที่เพิ่มตัวเลือกให้ผู้ใช้บริการได้มากเลยนะครับ
มีกาแฟให้ดื่ม หิวข้าวก็กินข้าได้ แถมมีหนังสือจำหน่ายอีก
ครบแบบนี้ผมต้องยกนิ้วให้เลยครับ

ในส่วนต่อมาภายในอาคารใหญ่ของหอสมุดแห่งชาติ

จุดแรกที่ทุกคนจะต้องพบก็คือ ทางเข้าและทางออกของอาคาร ซึ่งจะประกอบด้วย
– ห้องฝากของ (เพื่อนๆ ต้องนำกระเป๋ามาฝากไว้ที่นี่เท่านั้น)
– จุดตรวจของ รปภ. (จุดนี้จะช่วยตรวจของๆ ผู้ใช้บริการตอนออกมาครับ)

แต่ ณ จุดทางเข้าก็ยังคงมีป้ายประกาศ และกฎการเข้าใช้ห้องสมุดติดอยู่นะครับ

จุดต่อมานั่นคือ ห้องโถงใหญ่ บริเวณชั้น 1
แต่เดิมจะใช้ในการแสดงนิทรรศการ (แต่ส่วนใหญ่ผมจะพบกับห้องโล่งๆ มากกว่า)
แต่เดี๋ยวนี้มีเคาน์เตอร์กลาง ซึ่งใช้เป็นส่วนของประชาสัมพันธ์ และจุดบริการตอบคำถาม

nlt2
เคาน์เตอร์กลาง และจุดประชาสัมพันธ์

ในชั้นหนึ่งผมเพิ่งสังเกตเห็นห้องนิทรรศการใหม่ของหอสมุดแห่งชาติ
ซึ่งออกแบบเป็นประตูเลื่อนเพื่อเข้าไปดูนิทรรศการด้านใน
แต่ในระหว่างการเยี่ยมชม ห้องนี้ยังถูกปิดล็อคอยู่ยังไม่สามารถเข้าไปดูได้
ผมเลยขอถ่ายรูปจากด้านนอกเข้าไปก็แล้วกัน

ห้องนิทรรศการ อยู่ชั้น 1 อาคารใหญ่
ห้องนิทรรศการ อยู่ชั้น 1 อาคารใหญ่

จากนั้นผมก็ได้ชมวีดีโอแนะนำหอสมุดแห่งชาติ
ที่น่าตกใจคือ วีดีโอที่แนะนำยังเป็นแบบ เทปวีดีโออยู่เลย
คุณภาพของภาพและเสียงยังไม่ค่อยดีนัก แต่คิดว่าอีกหน่อยเขาคงจะปรับปรุงนะ

หลังจากการชมวีดีโอเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มเดินชมห้องบริการต่างๆ ดังนี้
– ห้องสืบค้นอินเทอร์เน็ต และบัตรรายการ (ชั้น 1)
– ห้องวารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ (ชั้น 1)
– ห้องวิทยานิพนธ์และงานวิจัย (ชั้น 5)
– ห้องเอกสารโบราณ (ชั้น 4)
– ห้องบริการอ่านหนังสือ (ชั้น 2)

nlt4

แต่ละจุดมีไอเดียการบริการที่น่าสนใจหลายๆ อย่าง เช่น
– หอสมุดแห่งชาติให้บริการ wifi และปลั๊กไฟสำหรับโน้ตบุ๊ค
– บัครรายการ (บัตรสืบค้นหนังสือ) ยังคงมีการอัพเดทเรื่อยๆ คู่กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
– ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่หอสมุดแห่งชาติใช้ คือ Horizon
– หอสมุดแห่งชาติไม่มีการรับสมัครสมาชิก ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทุกคนไม่จำกัด
– ไม่อนุญาติให้ยืมหนังสือออกจากหอสมุดแห่งชาติ
– การจัดหนังสือในห้องวารสารยังคงใช้การเรียงตามตัวอักษรเป็นหลัก
– การแบ่งห้องบริการต่างๆ ในหอสมุดแห่งชาติ ยังคงยึดหลักตามการแบ่งหมวดหมู่
– หอสมุดแห่งชาติรวบรวมงานวิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัย หน่วยงานต่างๆ มากมาย
– วิทยานิพนธ์และงานวิจัย ปี 2546-ปัจจุบันถูกจัดเก็บที่นี่ ส่วนที่เก่ากว่านั้นจะอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติลาดกระบัง
– การจัดหมวดหมู่ที่นี่ใช้แบบดิวอี้ และแถบสี เพื่อง่ายต่อการคัดแยกและจัดเก็บ

nlt5

Hilight ของการเยี่ยมชมครั้งนี้อยู่ที่ ชั้น 2 ในห้องอ่านหนังสือ
พอเข้ามาถึงก็ต้องประหลาดใจ เมื่อภาพหอสมุดแห่งชาติแต่เดิมของผมถูกลบออกจากสมอง

แต่เดิมที่ผมมาใช้ห้องสมุดในชั้นสองจะมีการแบ่งออกเป็นสองห้องโดยการกั้นกระจก
ในส่วนโถงกลางของชั้นสองคือบริเวณร้านถ่ายเอกสารที่คอยให้บริการผู้ใช้

แต่สิ่งใหม่ๆ ที่ผมเห็นคือ เคาน์เตอร์กลางที่อยู่ตรงหน้าผมที่จะคอยบริการทั้งสองห้อง
นอกจากนี้ยังมีการเล่นสีสันในห้องสมุดใหม่ เช่น สีเหลือง สีชมพู แบบว่าเอาใจวัยรุ่นมากๆ
จากการกั้นห้องทั้งสองแบบเดิม กลายเป็น การรวมกันของห้อง แล้วแยกเป็นโซนดี

nlt6

ด้านหลังเคาน์เตอร์กลางมีมุมหนังสือพิเศษมากๆๆๆๆๆๆๆ
นั่นคือ Window on Dynamic Korea
เรียกง่ายๆ ว่ามุมหนังสือเกาหลี….. ซึ่งได้รับความร่วมมือจากการท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
แบบว่ามีหนังสือภาษาเกาหลี หนังสือสอนภาษาเกาหลี หนังสือวัฒนธรรมและประเพณีเกาหลี ฯลฯ
นับว่าเป็นมุมที่สร้างสีสันอีกมุมหนึ่งให้ห้องสมุดเลยก็ว่าได้

nlt7

เป็นยังไงกันบ้างครับกับภาพลักษณ์ด้านสถานที่และบริการที่เปลี่ยนไป
หวังว่าคงพอที่จะดึงดูดคนมาเข้าอสมุดแห่งชาติได้บ้างนะครับ
การพัฒนาและปรับเปลี่ยนหอสมุดแห่งชาติยังคงต้องดำเนินการต่อไป
เพื่อการบริการและภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น

สำหรับเวลาเปิด-ปิดทำการของหอสมุดแห่งชาติ
เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 18.30
ส่วนวันเสาร์ อาทิตย์ เปิด 9.00 – 17.00
วันหยุดก็ตามวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดชดเชย และวันหยุดพิเศษอื่นๆ

ถ้าว่างๆ ก็ลองมาเที่ยวที่นี่กันดูนะครับ

ปล. หากมีเวลามากกว่านี้ผมคงจะสำรวจทุกซอกทุกมุมได้ทั่วเลยนะครับ
เอาเป็นว่าไว้โอกาสหน้าก็แล้วกันนะครับ

รวมภาพบรรยายกาศภายในหอสมุดแห่งชาติ

[nggallery id=5]

เปิดเว็บห้องสมุดสำหรับคนขี้เกียจ

วันนี้ขอแนะนำคำว่า LazyLibrary ให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
หากเพื่อนๆ แปลกันแบบตรงๆ คำว่า LazyLibrary คงจะหมายความว่า ห้องสมุดขี้เกียจ
แต่จริงๆ แล้วคำว่า LazyLibrary เป็นเพียงชื่อเว็บไซต์ต่างหาก

lazylibrary

ไปดูกันว่าตกลงมันเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร

LazyLibraryเป็นเว็บไซต์สำหรับการค้นหาหนังสือ เพื่อสั่งซื้อหนังสือมาอ่านครับ
ดูผิวเผินเพื่อนๆ ก็จะนึกถึง Amazon นั่นเอง

โดยหลักการสืบค้นหนังสือ ก็เหมือนๆ กับ Amazon นั่นแหละครับ
แต่แตกต่างกันที่แนวความคิด และไอเดียของการทำเว็บไซต์

ซึ่งในเว็บไซต์ LazyLibrary ได้พูดถึงแนวความคิดว่า

“where you can find books on any topic without having to worry about high page counts. If it’s over 200 pages, you won’t even see it. Read all about anything, in less time, for (usually) less money.”

ปกติ เวลาค้นหาหนังสือเพื่อทำรายงานสักเรื่อง คุณอาจจะต้องกังวลเกี่ยวกับจำนวนหน้าของหนังสือที่เยอะเหลือเกิน และถ้าหนังสือเล่มนั้นเกิน 200 หน้า คุณก็คงไม่อยากเห็นมันเช่นกัน ดังนั้นเว็บนี้จะช่วยคุณหาหนังสือที่ไม่เกิน 200 หน้า เพื่อให้คุณใช้เวลาที่น้อยกับเรื่องนั้นๆ และมีราคาที่ถูก

เจ๋งดีมั้ยครับ หาหนังสือที่มีจำนวนไม่เกิน 200 หน้า

lazylibrary-search

หลักการค้นก็ง่ายๆ ครับ เพียงแค่ใส่หัวข้อที่เราต้องการหาลงไปในช่องค้นหา
ซึ่งหน้าตาก็ใช้งานง่ายเหลือกเกิน จากนั้นก็ค้นหาตามปกติ

เพียงเท่านี้เราก็จะเจอหนังสือที่ในหัวข้อที่เราต้องการ และที่สำคัญไม่เกิน 200 หน้าด้วย

ไอเดียปิดท้ายที่ได้จากการรีวิวครั้งนี้
บางทีถ้าห้องสมุดเอาฟีเจอร์แบบนี้มาใส่ในฐานข้อมูลหนังสือก็คงจะดีสินะครับ
เพราะบางทีผู้ใช้ก็ไม่ค่อยชอบหนังสือเล่มใหญ่ๆ สักเท่าไหร่
ผู้ใช้อาจจะอยากได้หนังสือเล่มเล็กๆ จำนวนไม่เกิน 200 หน้าก็ได้นะ

ในแง่ของการนำไปใช้ผมว่าไม่ยากหรอกนะครับ
เพราะในทางบรรณารักษ์จะมี tag ที่สำหรับใส่จำนวนหน้าอยู่แล้ว
ถ้าสมมุติเรานำ filter มาให้ผู้ใช้เลือกก็คงจะดี

เช่น ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่มีจำนวนหน้าไม่เกิน 100 หน้า / 200 หน้า / 300 หน้า …

ก่อนจากกันวันนี้ อยากให้เพื่อนๆ เข้าไปลองเล่นเว็บไซต์นี้ดูนะครับ
แล้วเพื่อนๆ จะรู้ว่า บางสิ่งที่บังตาเราอาจจะนำมาซึ่งการพัฒนาห้องสมุดก็ได้

เว็บไซต์ Lazylibraryhttp://lazylibrary.com/

ทัวร์ห้องสมุดประชาชนอุบลราชธานี

วันนี้ผมขอเปลี่ยนบรรยากาศจาก ภาคเหนือ มายัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กันบ้าง
จากตอนที่แล้วที่ผมได้เล่าเรื่อง ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ (อยู่ตรงข้ามกาดสวนแก้ว)
วันนี้ผมขอพาไปทัวร์ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี บ้างแล้วกัน

dscf0024

Read more

คุณเคยไปห้องสมุดไหนบ้าง

นอกเหนือจากห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุดโรงเรียนแล้ว
ผมอยากรู้ว่าเพื่อนๆ ยังเคยใช้บริการห้องสมุดที่ไหนอีกบ้าง

librarygo

ห้องสมุดตัวเลือกที่ผมนำมาให้เพื่อนๆ เลือก ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ น่าจะรู้จักเกือบหมด
ดังนั้นเลยอยากถามเพื่อนๆ ว่านอกจากรู้จักแล้ว เพื่อนๆ เคยไปห้องสมุดเหล่านี้บ้างหรือปล่าว

อ๋อ ลืมบอกไปอีกนิดว่า ตัวเลือกวันนี้ เพื่อนๆ สามารถเลือกได้หลายๆ ตัวเลือกพร้อมกัน
และที่เคยไปผมขอว่าเป็นการไปแบบใช้บริการนะครับ ไม่ใช่ไปแค่ดูงาน

เอาเป็นว่าไปตอบแบบสอบถามกันเลยนะครับ

[poll id=”5″]

ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ร่วมกันตอบแบบสอบถามนี้นะครับ

เที่ยวท่องห้องสมุดไทย

หลายๆ คนชอบตั้งคำถามว่า “ห้องสมุดในเมืองไทยที่ไหนน่าไป”
เพื่อให้ทุกคนหายข้องใจในเรื่องนี้ ผมจึงขอแนะนำห้องสมุดที่น่าสนใจให้ฟังกัน

cover1

แต่ถ้าจะให้ผมบอกว่าที่ไหนบ้าง
ผมก็คงจะต้องใช้เวลาในการศึกษาสักนิดนะครับ
แต่ถ้าอยากได้แบบรวดเร็ว ผมก็ขอรวบรัดตัดความเลย ว่า ลองอ่านหนังสือเล่มนี้สิครับ

ชื่อหนังสือ : เที่ยวท่องห้องสมุด
ชื่อผู้แต่ง : เจริญขวัญ แพรกทอง
สำนักพิมพ์ : เวลาดี
ISBN : 9789749659014
จำนวนหน้า : 268 หน้า
ราคา : 295 บาท

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่แนะนำห้องสมุดที่น่าสนใจมากกว่า 40 แห่งให้เพื่อนๆ ได้อ่าน
รายละเอียดที่ผู้เขียนแนะนำก็คือ ความแตกต่าง ความโดดเด่น และความสวยงามของห้องสมุดทั้งหลายเหล่านั้น
ซึ่งมีทั้งภาพประกอบ สถานที่ตั้ง และเนื้อหาที่น่าติดตามมากๆ

ห้องสมุดที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้จะมีการแบ่งกลุ่มตามประเภทและลักษณะของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น
– ห้องสมุดในหอสมุดแห่งชาติ
– ห้องสมุดในพิพิธภัณฑ์
– ห้องสมุดด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม
– ห้องสมุดเอกชนและมูลนิธิ
– ห้องสมุดภายในหน่วยงานรัฐบาล
– ห้องสมุดในพระราชวังเดิม
– ห้องสมุดสถาบันการศึกษาและศาสนา
ฯลฯ

ตัวอย่างห้องสมุดที่ในหนังสือแนะนำ เช่น

หอ สมุดแห่งชาติ, หอวชิราวุธานุสรณ์ , ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร, ห้องสมุดกล้วยไม้ระพี สาคริก, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์แมลง, ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ห้องสมุดศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, หอสมุดดำรงราชานุภาพ, ห้องสมุดดนตรีเรวัต พุทธินันท์? ฯลฯ

ผมชอบที่เขาเขียนแนะนำหนังสือเล่มนี้อ่ะครับ

?คู่มือท่องเที่ยวฉบับ ห้องสมุด ที่หนอนหนังสือต้องไม่พลาด ! ท่านเชื่อหรือไม่ว่าในโลกนี้ยังมีดินแดนมหัศจรรย์อีกมากมายให้สำรวจและค้นหา ห้องสมุดคือหนึ่งในจำนวนนั้น มีความมหัศจรรย์ซ่อนอยู่ทุกหนทุกแห่ง รอคอยให้ขุดค้นขุมทรัพย์ล้ำค่าห้องสมุดทำให้บางคนบรรลุฝันอันงดงามประสบความ สำเร็จในชีวิต โรงเรียนแห่งจิตวิญญาณ สร้างหลักสูตรเฉพาะตนอย่างไม่รู้จบ ประตูแห่งดินแดนมหัศจรรย์เปิดขึ้นแล้วคุณพร้อมหรือยังสำหรับการผจญภัยครั้ง นี้?

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นการตอบโจทย์เรื่องห้องสมุดที่น่าสนใจในกรุงเทพฯ แบบคร่าวๆ แล้วนะครับ
ยังไงก็ลองไปหาซื้อได้ที่ร้านซีเอ็ด บีทูเอส นายอินทร์ หรือไม่ก็ร้านดอกหญ้าก็ได้ครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมของหนังสือ สามารถดูได้ที่
http://thaispecial.com/bookshop/newbookpreview.asp?booklist=9749659015

รู้มั้ยว่า LIBRARY ย่อมาจากอะไร

รู้หรือปล่าวว่าตัวอักษรทุกตัวของคำว่า ?Library? มีความหมาย
(ความหมายของตัวอักษรทุกตัว ผมเป็นคนนิยามให้นะครับ)

library

เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะแยกคำว่า LIBRARY ให้เพื่อนๆ ได้รู้ว่า
นอกจากคำว่า Library จะมีความหมายว่าห้องสมุดแล้ว
แต่ละตัวอักษรของคำนี้สามารถใช้แทนอะไรได้บ้าง

L-I-B-R-A-R-Y =?

L = Literature ? วรรณกรรม
I = Information ? สารสนเทศ
B = Book ? หนังสือ
R = Reference ? อ้างอิง
A = Advice ? คำแนะนำ
R = Read ? การอ่าน
Y = You / User ? คุณๆ นั่นแหละ ผู้ใช้ทุกคน

จากตัวอักษรต่างๆ ด้านบน หากเพื่อนๆ เอามารวมกัน ก็จะคำว่า

Literature + Information + Book = LIB
ตัวอักษรทั้งสามตัวนี้ แสดงถึงทรัพยากรต่างๆ ที่มีในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นบันเทิง หรือสาระความรู้

Reference + Advice + Read = RAR
ตัวอักษรทั้งสามตัวนี้ แสดงถึงงานบริการต่างๆ ที่มีในห้องสมุด
ทั้งบริการการอ่าน บริการตอบคำถามและอ้างอิง บริการแนะนำสารสนเทศ

You = USER
ตัวอักษรตัวนี้สำคัญกับพวกเรามากที่สุด นั่นคือ ผู้ใช้ทุกคน หรือว่าคุณ นั่นเอง

ดังนั้นหากแยกส่วนต่างๆ ของห้องสมุดแล้วเราจะพบว่า
ส่วนประกอบของความสมบูรณ์ของห้องสมุดมาจาก
Content + Service + User = ความสำเร็จของห้องสมุด

เอาเป็นว่าวันนี้ผมได้ให้ความหมายของทุกตัวอักษรดังนี้
แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไง เห็นด้วยกับตัวอักษรต่างนี้หรือปล่าว
หรือว่าคิดว่าควรจะแทนด้วยตัวอักษรอื่นๆ ยังไงก็ลองเสนอความคิดเห็นมานะครับ อิอิ