เทคนิคในการนำ Foursquare ไปใช้กับงานห้องสมุด

วันก่อนพูดเรื่อง Twitter ไปแล้ววันนี้ผมขอลงเรื่อง Social Media กับงานห้องสมุดตัวอื่นๆ บ้างนะครับ
เริ่มจากเทคนิคในการนำ Foursquare ไปใช้กับงานห้องสมุดที่บรรณารักษ์ไม่ควรพลาด

หลายๆ คนคงกำลังงงว่า Foursquare คืออะไร คำจำกัดความและวิธีการเล่น เพื่อนๆ สามารถอ่านได้จากเว็บอื่นๆ ครับ เช่น
ทำความรู้จัก สอนเล่น FourSquare อนาคตเทรนด์ Location Based Services
?Foursquare?: กระแสใหม่ของสังคมออนไลน์ที่ไม่ควรพลาด
ตะโกนบอกโลกให้รู้ว่าคุณอยู่ไหนกับ foursquare.com – Social Network สายพันธุ์ใหม่

เอาเป็นว่าขอสรุปง่ายๆ ว่าเป็น social network ที่บอกให้เรารู้ว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหน
ด้วยแนวคิดเรียบง่ายว่า “อยู่ที่ไหน ก็ Check in ที่นั้น” “ตอนนี้ผมอยู่ที่….” “กำลัง…ที่นี่”

ในวงการธุรกิจได้นำ Foursquare มาปรับใช้ เช่น แนะนำโปรโมชั่นของสินค้าหรือบริการ
รวมไปถึงการสร้างข้อมูลสถานที่ของตัวเองให้ผู้ใช้บริการออนไลน์รู้จัก

“อ้าว แล้ววงการห้องสมุดจะนำมาใช้ทำอะไรได้บ้างหล่ะ”
นั่นแหละเป็นที่มาของเรื่องนี้ ผมจะแนะนำวิธีการนำมาใช้กับงานห้องสมุดบ้างหล่ะ

1. เพิ่มห้องสมุดของคุณให้เป็นสถานที่แห่งหนึ่งใน FourSquare

ง่ายๆ ครับ แค่เพิ่มชื่อห้องสมุด ที่อยู่ โดยเพื่อนๆ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จาก google map

2. ใส่ชื่อกลุ่มสถานที่เป็นกลุ่ม education….แล้วเลือกกลุ่มย่อย Library
จากนั้นก็ใส่ Tag ของห้องสมุด เช่น ห้องสมุด, หนังสือ, สื่อมัลติมีเดีย, อินเทอร์เน็ตไร้สาย, บริการยืมคืน…..

3. ใส่คำแนะนำหรือสิ่งที่ต้องทำลงใน Tips / To do list
ใส่คำแนะนำห้องสมุดหรือโปรโมชั่นของห้องสมุดที่น่าสนใจลงไปเลยครับ เช่น
– “ช่วงวันที่… ห้องสมุดมีบริการให้ยืมได้ไม่จำกัดจำนวน”
– “บุคลากรภายนอกสามารถเข้าใช้ห้องสมุดได้โดยแสดงบัตรประชาชน”
– “อินเทอรืเน็ตไร้สายบริการฟรี เพียงแค่ติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ เคาน์เตอร์บริการ”


4. จัดกิจกรรมย่อยๆ ผ่านการ Check in ใน FourSquare

ห้องสมุดก็น่าจะจัดกิจกรรมเล็กๆ ที่เกี่ยวกับการ Check in ใน FourSquare ได้ เช่น
“ผู้ที่ Check in ผ่าน FourSquare คนที่ 99 ของเดือนจะได้รับรางวัล”
“ผู้ที่ Check in ผ่าน FourSquare จะได้รับสิทธิ์ในการยืมหนังสือเพิ่มขึ้น”

5. ทักทายและประกาศเรื่องราวอัพเดทได้ผ่าน Shout out
ห้องสมุดสามารถประกาศข่าวสารอัพเดท หรือ ทักทายผู้ใช้บริการผ่านทางออนไลน์ได้
และยิ่งไปกว่านั้น FourSquare สามารถเชื่อมไปยัง Twitter และ Facebook ได้ด้วย
ดังนั้นโพสข้อความลง Shout out ของ FourSquare ข้อความจะไป Twitter และ Facebook ด้วย

เอาเป็นว่าก็ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้กันดูนะครับ แต่ก่อนอื่นไปสมัครสมาชิกกันก่อนที่ http://foursquare.com/
แล้วอย่าลืมไปแอดผมเป็นเพื่อนด้วยนะครับ อิอิ http://foursquare.com/user/ylibraryhub
สำหรับวันนี้ผมคงแนะนำไว้เท่านี้ก่อน แล้วผมจะนำ social media กับงานห้องสมุดมาลงให้อ่านกันใหม่

แนะนำหนังสือเกี่ยวกับ Library 2.0

ช่วงนี้เพื่อนๆ คงได้ยินคำว่า Library2.0 หรือ ห้องสมุด 2.0 บ่อยขึ้นนะครับ
แล้วเพื่อนๆ อยากหาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้อ่านบ้างมั้ย วันนี้ผมมีเล่มนึงมาแนะนำครับ

librarybook Read more

VuFind – Open Source for OPAC 2.0

คุณรู้สึกเบื่อกับหน้าจอแสดงผล OPAC แบบเก่าๆ กันมั้ยครับ
วันนี้ผมมีทางเลือกในการสร้างหน้าจอแสดงผล OPAC แบบใหม่ๆ มาให้เพื่อนๆ ดูกัน
ที่สำคัญของโปรแกรมนี้ คือ เป็นโปรแกรม Open Source ด้วยนะครับ

vufind

โปรแกรมที่ผมจะแนะนำนั่นก็คือ VuFind

แนะนำข้อมูลเบื้องต้น

VuFind คือ โปรแกรม Open Source ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข และลิขสิทธิ์ของ GPL
โดยโปรแกรมนี้ทำหน้าที่เป็น โปรแกรม Browers เพื่อใช้สำหรับแสดงผลการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะ
โปรแกรมนี้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยแนวความคิดของห้องสมุดยุคใหม่ที่ต้องการสร้างความน่าสนใจในสารสนเทศ

search

โปรแกรมนี้ทำอะไรได้บ้าง

1. Search with Faceted Results
มีระบบสืบค้นที่ยืดหยุ่น เช่น สามารถสืบค้นแบบจำกัดขอบเขตได้

2. Live Record Status and Location with Ajax Querying

แสดงผลทันที ด้วยเทคโนโลยี AJAX ทำให้การสืบค้นมีลูกเล่นน่าสืบค้น

3. ?More Like This? Resource Suggestions

สามารถแนะนำ และวิจารณ์หนังสือเล่นนั้นนั้นได้ด้วย

search-vufind

4. Save Resources to Organized Lists
สามารถบันทึกรายการที่ต้องการลงในรายการส่วนตัวได้ (คล้ายๆ save favorites)

5. Browse for Resources
สามารถสืบค้นตามหมวดของรายการสารสนเทศได้

6. Author Biographies
สามารถแสดงผลข้อมูลชีวประวัติของผู้แต่ง หรือ ผู้เขียนได้

7. Persistent URLs

บันทึก URL เพื่อใช้ในคราวต่อไป หรือส่งให้คนอื่นได้

8. Zotero Compatible

รองรับกับโปรแกรม Zotero เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลที่สืบค้นไปจัดทำรายการบรรณานุกรม

9. Internationalization
รองรับการแสดงผลหลายภาษา

10. Access Your Data: Open Search, OAI, Solr
สามารถใช้งานร่วมกับ Open Search, OAI, Solr ได้

เป็นยังไงบ้างครับกับฟีเจอร์ดังกล่าว
VuFind สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างระบบกับผู้ใช้บริการมากขึ้น
หรือสามารถให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมต่อการจัดการรายการสารสนเทศได้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการสนใจ หรือจะเป็นการกำหนด tag เองได้

และนี่แหละครับ คำจำกัดความที่เรียกว่า OPAC 2.0

ระบบกับผู้ใช้สามารถตอบสนองความต้องการได้ซึ่งกันและกัน
เมื่อผู้ใช้สืบค้น ระบบก็แสดงผล ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้หลายรูปแบบ
รวมถึงเขียนวิจารณ์รายการหนังสือเล่มนั้นๆ ได้ด้วย

หากเพื่อนๆ อยากลองเล่น VuFind ลองเข้าไปดูที่
http://www.vufind.org/demo/

หรือถ้าอยากดาวน์โหลดไปใช้ก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://www.vufind.org/downloads.php

และข้อมูลอื่นๆ และรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ http://www.vufind.org