พาชมนิทรรศการ ?เครื่องรางของขลัง? ณ มิวเซียมสยาม

วันนี้มีโอกาสมาดูงานนิทรรศการที่มิวเซียมสยาม ผมจึงไม่พลาดที่จะต้องรายงานให้เพื่อนๆ ได้ติดตามด้วย
งานนิทรรศการที่จัดขึ้นที่มิวเซียมสยามนี้ เป็นนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่อง “เครื่องรางของขลัง” ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของคนไทยอยู่

ภายในนิทรรศการประกอบด้วยเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อ ของขลัง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย
ซึ่้งผมจะขอเล่าเรื่องตั้งแต่เดินเข้าไปในห้องนิทรรศการจนออกจากห้องนิทรรศการ

ในส่วนแรกจะพบกับเรื่อง “ทำไมต้องสร้างเครื่องราง” ซึ่งจะมีส่วนแสดงที่น่าสนใจ คือ เรื่องราวของพระเครื่อง นางกวัก และพวงมาลัยที่แขวนหน้ารถ (ในส่วนนี้เป็นการเกริ่นก่อนเข้าเรื่องราวของของขลัง)

ภายในห้องนิทรรศการจะมีข้อมูลต่างๆ นำเสนอ พร้อมกับ display ที่จัดไว้ค่อนข้างดี มีบรรยากาศมืดๆ ชวนขนลุกมาก ข้อมูลที่นำเสนอ เช่น สิ่งของบางอย่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติคนเราก็สามารถนำมาเป็นของขลังได้ เช่น เหล็กไหล คดต่างๆ เขากวาง เขี้ยวหมู ฯลฯ และป้ายข้อมูลความรู้ต่างๆ เช่น
– สิ่งเร้นลับกับมนุษย์
– ความกลังของคน
– ลัทธิผีและศาสนา
– ความเชื่อ
– ผีกับพราหมณ์
– ผีกับวิทยาศาสตร์
– ของขลังของผี
– พรจากเทพ
– เทศกาลขอพร
– ชุมนุมเทพเจ้า
– พิธีกรรมคู่ชีวิต
– กำเนิดพระพิมพ์และวัตถุมงคล
– ยุคแห่งพระเครื่อง
– ผีกับพุทธ
– ผลผลิตของลัทธิผี
– ไสยศาสตร์ ไสยดำ ไสยขาว
– ความเชื่อ : ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
– ธุรกิจศรัทธา
– ยิ่งขลัง ยิ่ง (ราคา) สูง

หลังจากที่เดินผ่านห้องแสดงความรู้ต่างๆ มาแล้ว ก็จะพบกับห้องที่แสดงของขลัง โดยจัดวางของขลังในตู้กระจก แบบแยกเป็นกลุ่มต่างๆ ซึ่งเข้าไปห้องนี้ ผมเองก็รู้สึกขนลุกอย่างบอกไม่ถูกเลย เพราะมันขลังจนดูน่ากลัวไปเลยจริงๆ ของต่างๆ ที่แสดงเป็นของจริงๆ ไม่ใช่ของที่ทำขึ้นเพื่อโชว์นะครับ

เอาเป็นว่างานนี้ก็น่าสนใจมากๆ ครับ ใครว่างๆ ผมก็แนะนำให้เข้ามาชมงานนิทรรศการนี้นะครับ
งานนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย ชมฟรีตลอดงาน แถมได้ความรู้และไอเดียดีๆ ในการทำนิทรรศการ เผื่อเอาไปใช้กับห้องสมุดก็ได้นะ

พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ

วันนี้ขอพาเที่ยวต่างประเทศอีกสักรอบนะครับ สถานที่ที่ผมจะพาไปเที่ยวนั่นก็คือ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?
ทำไมผมถึงพาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์รู้มั้ยครับ เพราะว่าพิพิธภัณฑ์ก็คือพี่น้องของห้องสมุดนั่นเอง

nawcc

พิพิธภัณฑ์จะเน้นในการเก็บรักษาสิ่งของหรือวัสดุที่ไม่ใช่หนังสือ
รวมถึงมีหน้าที่ในการเก็บและสงวนสิ่งของหายากและของล้ำค่า

?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? (The National Watch & Clock Museum)
ตั้งอยู่ที่ 514 Poplar street – Columbia, Pensylvania ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

เปิดให้เข้าชมครั้งแรกในปี 1977 ซึ่งในปีแรกมีนาฬิกาแสดงจำนวนน้อยกว่า 1,000 ชิ้น
จนในเวลาต่อมาเมื่อนาฬิกาที่แสดงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนถึงจำนวน 12,000 ชิ้น
ทางพิพิธภัณฑ์จึงได้สร้างส่วนขยายของพิพิธภัณฑ์เพื่อรองรับกับจำนวนสิ่งของที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งส่วนขยายในส่วนสุดท้ายได้สร้างเสร็จและเปิดให้บริการในเดือนตุลาคมปี 1999 นั่นเอง

Collection ที่จัดเก็บในพิพิธภัณฑ์นี้ มี นาฬิกาทั้งแบบแขวน นาฬิกาข้อมือ
วัสดุที่ใช้ในการสร้างนาฬิกา และสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบอกเวลา
สิ่งที่เป็นจุดดึงดูดของพิพิธภัณฑ์นี้ คือ ส่วนที่ใช้แสดงนาฬิกาของอเมริกาในยุคศตวรรษที่ 19
แต่อย่างไรก็ดีนอกจากนาฬิกาในประเทศอเมริกาแล้ว

พิพิธภัณฑ์นี้ยังเก็บนาฬิกาจากทุกมุมโลกอีกด้วย เช่น
– นาฬิกาแบบตู้ทรงสูงจากประเทศอังกฤษ
– นาฬิกาทรงเอเซียจากประเทศจีนและญี่ปุ่น
– อุปกรณ์ที่บอกเวลาต่างๆ จากประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเยอรมัน, ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศรัสเซีย

ส่วนที่จัดแสดงจะมีนำเสนอเหตุการณ์ต่างๆ พัฒนาการต่างๆ ของนาฬิกา เทคโนโลยีในการบอกเวลา

เรามาดูการแบ่งพื้นที่ภายใน ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? กันนะครับ

– Admissions & Information desk
ในส่วนนี้เป็นบริเวณทางเข้าและส่วนข้อมูลของพิพิธภัณฑ์

– Theater เป็นห้องภายภาพยนต์ประวัติและความเป็นของนาฬิกา
นอกจากนี้ยังใช้ในการอบรมและแนะนำ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?

– Ancient Timepieces เป็นห้องที่แสดงการบอกเวลาในสมัยโบราณ
รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้บอกเวลาในสมัยโบราณ เช่นนาฬิกาทราย นาฬิกาแดด ฯลฯ

– Special Exhibition เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงปี 1700 – 1815
ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของการประดิษฐ์นาฬิกาในอเมริกา

– Eighteenth Century เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงศตวรรษที่ 18

– Nineteenth Century เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงศตวรรษที่ 19

– American Clocks เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปอเมริกา

– European Clocks เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปยุโรป

– Asian Horology เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปเอเซีย

– Wristwatches เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาข้อมือ

– Car Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาที่อยู่ในรถยนต์

– Novelty Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาที่มีรูปแบบแปลกๆ

– Pocket Watches เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบที่สามารถพกพาได้

– Early 20TH Century Shop เป็นส่วนของร้านขายนาฬิกาและแสดงนาฬิกาที่ประดับอัญมณี

– Learning Center เป็นส่วนที่แสดงนิทรรศการและให้ความรู้เกี่ยวกับศาตร์แห่งการบอกเวลา
ทั้งวิวัฒนาการของการบอกเวลา นาฬิกาประเภทต่างๆ เทคโนโลยีเกี่ยวกับการบอกเวลา

– Monumental Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับหอนาฬิกา

– Tower Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบตู้ทรงสูง

– Electronic Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบดิจิตอล

– Gift Shop ร้านจำหน่ายของที่ระลึกของ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?
ซึ่งในร้านมีนาฬิกาให้เราเลือกซื้อมากมาย หลายแบบให้เลือก

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? แห่งนี้ เสียดายอย่างเดียวว่ามันอยู่ที่อเมริกา
เพราะว่าถ้ามันอยู่เมืองไทย ผมก็คงต้องอาสาไปเยี่ยมเยียนสักหน่อย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้จากลิ้งก์ด้านล่างนี้นะครับ
http://www.nawcc.org/museum/museum.htm

และใครสนใจดูภาพภายใน ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? ก็ดูได้ที่
http://www.nawcc.org/museum/nwcm/MusMap.htm

พาเที่ยวพี่น้องของห้องสมุด : มิวเซียมสยาม

ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ห้องสมุดแต่อย่างน้อยที่ๆ ผมจะพาไปเที่ยววันนี้ก็เป็นพี่น้องของห้องสมุดอยู่ดี
สถานที่แห่งนั้น นั่นก็คือ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า มิวเซียมสยาม

siam-museum

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับมิวเซียมสยาม
ที่ตั้ง เลขที่ 4 ถนนสนามไชย พระนคร กรุงเทพฯ 10200
ติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ : 02 225 2777
เว็บไซต์ : http://www.ndmi.or.th
เปิดทำการ : วันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 18.00 น.

เริ่มจากการเดินทางมาที่มิวเซียมสยาม
ผมเลือกใช้การเดินทางด้วยเรือเจ้าพระยา โดยขึ้นจากท่าสะพานตากสินแล้วมาขึ้นที่ท่าราชินี
เดินออกจากท่าราชินีตรงออกมาจะพบกับสถานีตำรวจนครบาลพระราชวังเดิน
เดินผ่านสถานีตำรวจมานิดเดียวก็ถึงมิวเซียมสยามแล้ว (สะดวกดีจัง)

ภายในอาคารนิทรรศการถาวรมี 3 ชั้น และแบ่งออกเป็นส่วนๆ
แนะนำว่าให้เดินชมตามลำดับที่ทางมิวเซียมสยามจัดไว้
เพราะว่าจะเข้าใจเรื่องราวได้เป็นลำดับๆ ต่อไป

เรื่องราวในมิวเซียมสยามแบ่งออกเป็นส่วนๆ ดังนี้ (ให้เดินชมตามลำดับดังนี้)
1. เบิกโรง – ชั้น 1 (ส่วนนี้จะฉายหนังสั้นประมาณ 7 นาที เพื่อแนะนำตัวละครต่างๆ ในมิวเซียมสยาม)
2. ไทยแท้ – ชั้น 1 (รู้ได้ยังไงว่าคนไหนไทยแท้)
3. เปิดตำนานสุวรรณภูมิ – ชั้น 3 (ตำนานของสุวรรณภูมิ อาณาจักรมีมาเมื่อประมาณ 3000 ปีก่อน)
4. สุวรรณภูมิ – ชั้น 3 (ความเป็นอยู่ของผู้คนในสุวรรณภูมิ)
5. พุทธิปัญญา – ชั้น 3 (นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา)
6. กำเนิดสยามประเทศ – ชั้น 3 (เล่าเรื่องอาณาจักรต่างๆ รวมถึงตำนานท้าวอู่ทอง)
7. สยามประเทศ – ชั้น 3 (ความรุ่งเรือง และความหลากหลายทางวัฒนธรรมในกรุงศรีอยุธยา)
8. สยามยุทธ์ – ชั้น 3 (นำเสนอเรื่องราวการรบ ทหาร และการทำสงคราม)
9. แผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ – ชั้น 2 (การทำแผนที่ทางภูมิศาตร์ต่างๆ)
10. กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา – ชั้น 2 (เป็นการเปรียบเทียบสถานที่่ต่างๆ ที่มีเหมือนกันในกรุงศรีอยุธยา และกรุงเทพ)
11. ชีวิตนอกกรุงเทพฯ – ชั้น 2 (วิถีชีวิตของเกษตรกร การละเล่นแบบไทยๆ)
12. แปลงโฉมสยามประเทศ – ชั้น 2 (การเข้ามาของประเทศทางตะวันตก นำวิถีชีวิตเข้ามาที่สยามประเทศ)
13. กำเนิดประเทศไทย – ชั้น 2 (ห้องที่เราสามารถเป็นนักข่าวยุคอดีตได้ น่าสนใจมาๆ เลย)
14. สีสันตะวันตก – ชั้น 2 (อยากรู้ว่าสถานบันเทิงที่ชาวตะวันตกเอาเข้ามาแบบไหน ลองดูห้องนี้สุดยอดอีกห้อง)
15. เมืองไทยวันนี้ – ชั้น 2 (เป็นห้องที่รวมภาพต่างๆ ของไทยมากมายผ่านจอทีวีมากมาย)
16. มองไปข้างหน้า – ชั้น 2 (เป็นห้องที่ย้ำว่าอนาคตของไทยจะเป็นยังไงก็ขึ้นอยู่กับเราว่าจะทำอะไร)

นี่คือส่วนของอาคานิทรรศการถาวรทั้งหมด เห็นหัวข้อแล้วเป็นยังไงกันบ้างครับ
น่าสนใจใช่มั้ยหล่ะครับ ผมบอกได้คำเดียวว่า ?ที่นี่ลบภาพพิพิธภัณฑ์แบบเดิมๆ ที่ผมรู้จักเลยก็ว่าได้?
เห็นแล้วก็อยากประกาศให้ทุกคนมาดูมากๆ เลย แล้วคุณจะรู้จักเมืองไทยของพวกคุณมากขึ้น

วันนี้ผมก็ขอพาชมแค่นี้ก่อนนะครับ ไว้วันหลังผมจะพาไปเจอะลึกพิพิธภัณฑ์ที่อื่นๆ อีก

ปล. จริงๆ แล้วนอกจากอาคารนิทรรศการถาวรแล้วยังมีอีกหลายจุดที่น่าสนใจ
เช่น นิทรรศการชั่วคราว ห้องจำหน่ายของที่ระลึก ร้านอาหาร ลานกิจกรรม ฯลฯ
แต่เนื่องจากเวลาของผมมีจำกัด จึงขอยกยอดอาไว้ไปใหม่คราวหน้าแล้วกันนะครับ

ชมภาพมิวเซียมสยามทั้งหมด

[nggallery id=9]