การค้นหาหนังสือในเว็บไซต์ห้องสมุดด้วย OPAC

ปัจจุบันการค้นหาหนังสือในห้องสมุดดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากนะครับ
จากบัตรรายการมาเป็น OPAC หรือ WEBPAC ซึ่งทำให้เราค้นหาหนังสือได้จากทุกที่ทุกเวลา
แต่การค้นหาทุกๆ อย่างก็มีข้อจำกัดของมัน วันนี้ผมขอเขียนถึง OPAC แล้วกันนะครับ

libraryopac

OPAC (Online Public Access Catalog) เป็นระบบค้นหารายการหนังสือในห้องสมุด
โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ แทนที่ระบบแบบเก่าที่เป็นบัตรกระดาษผู้ใช้บริการห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด หรือว่าใช้คอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

หลายคนคงคุ้นเคยกับการใช้งาน OPAC กันแล้วนะครับ
ในเว็บของห้องสมุดเกือบทุกที่จะมีบริการสืบค้นหนังสือออนไลน์ (OPAC / WEBPAC)
และหลายๆ คนคงคิดว่าระบบ OPAC นี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นหนังสือได้ทุกที่ทุกเวลา

แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกคุณเคยคิดมั้ยว่า…
เวลาเราค้นหนังสือเจอใน OPAC แล้วเราทำไงต่อ

ระบบ OPAC นี้สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาก็จริงแต่พอค้นหนังสือเจอแล้วแต่ก็อ่านไม่ได้
สิ่งที่เราได้คือเรารู้ว่ามันเก็บอยู่ที่ไหนเพียงเท่านั้นและบอกว่าหนังสือนั้นอยู่ในห้องสมุดหรือปล่าว

หากเราต้องการหนังสือเราก็ต้องเดินทางมาที่ห้องสมุดอยู่ดี
ระบบ OPAC อาจจะใช้งานได้ในทุกที่ทุกเวลาก็จริง
แต่ถ้าเราค้นหาหนังสือตอนห้องสมุดปิดบริการหล่ะ เราจะทำยังไง

ผมขอยกตัวอย่างปัญหาสักนิดมาให้อ่านนะครับ

ตัวอย่างที่ 1 นาย ก. สืบค้นหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
นาย ก. จึงเปิดเข้าไปในเว็บห้องสมุดในเวลาเที่ยงคืนของวันอาทิตย์แล้วพิมพ์คำค้นว่า ระบบสารสนเทศ นาย ก.
ได้รายชื่อหนังสือที่เกี่ยวกับสารสนเทศโดยมีหนังสืออยู่ที่ห้องสมุดกลาง จำนวน 3 เล่ม
แทนที่นาย ก.จะอ่านได้เลยแต่นาย ก.กลับต้องรอวันจันทร์วันที่ห้องสมุดเปิดทำการ
จึงจะสามารถไปที่ห้องสมุดแล้ว ยืมได้ – – – นี่แหละระบบที่ตอบสนองทุกที่ทุกเวลาแต่สถานที่ไม่ใช่

ตัวอย่างที่ 2 ในวันจันทร์ นาย ก.คนเดิมที่ได้รายชื่อหนังสือแล้วเข้าไปที่ห้องสมุดไปหาหนังสือที่ตนเองค้น ไว้
ผลปรากฎว่าหนังสือที่ค้นเนื้อหาด้านในไม่ตรงกับสิ่งที่ นาย ก.ต้องใช้
สรุปก็ต้องหาใหม่ – – – นี่แหละเห็นรายการแต่ไม่เห็น content

แล้วอย่างนี้จะแก้ปัญหาได้อย่างไร

สมมุติถ้านาย ก. หาข้อมูลใน Search Engine แต่แรก
คงได้อ่านตั้งแต่คืนวันอาทิตย์แล้ว ไม่ต้องเสียเวลามาที่ห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่าอย่างที่ผมบอก ไม่มี solution ไหนที่ดีที่สุดสำหรับห้องสมุด
เพียงแต่เราต้องหาทางแก้ไขและปรับปรุงการให้บริการของเราให้ดีขึ้นต่างหาก

ทางแก้ของเรื่องนี้อยู่ผมจะนำมาเขียนเล่าให้ฟังวันหลังนะครับ
เกี่ยวกับเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการเชิงรุกของห้องสมุดบ้าง
ว่าเพื่อนๆ จะต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้

ปล.ที่เขียนเรื่องนี้มาไม่ใช่ว่าต้องการจะล้มระบบ OPAC หรอกนะครับ? และไม่ได้มีเจตนาในการเปรียบเทียบแต่อย่างใด

ตามหาศีล 5 ในห้องสมุด

เนื่องด้วยวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง นั่นก็คือ “วันอาสาฬหบูชา”
ผมจึงขอเขียนเรื่องห้องสมุดที่สอดคล้องกับแง่คิดในศาสนาพุทธสักหน่อยแล้วกันนะครับ

dhamma

ธรรมะที่ผมจะนำมาเขียนในวันนี้
เป็นธรรมะที่ทุกคนต้องรู้จักกันดี นั่นก็คือ “การรักษาศีล 5” นั่นเอง

มาทบทวนกันหน่อยดีกว่า ว่าศีล 5 ประกอบด้วยอะไรบ้าง
1. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
2. งดเว้นจากการลักทรัพย์
3. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. งดเว้นจากการพูดปด
5. งดเว้นจากการเสพของมึนเมา

เอาเป็นว่าเมื่อเพื่อนๆ รู้จักความหมายและส่วนประกอบของคำว่า “ศีล5” แล้ว
ทีนี้ผมก็อยากจะลองหาหนังสือที่เกี่ยวกับ “ศีล5” ในห้องสมุดบ้าง
อยากจะรู้เหมือนกันว่าผมจะได้หนังสือเล่มไหนไว้อ่านบ้าง

search

เริ่มแรกผมเข้าไปที่เว็บไซต์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร
จากนั้นผมก็ค้นคำว่า “ศีล 5” ในหน้า OPAC ของห้องสมุด
โดยผมใช้ตัวเลือกในการค้นว่า ให้ค้นจาก Keyword

ผลที่ออกมาก็ทำให้ผมได้เห็นหนังสือที่เกี่ยวกับ “ศีล5” มากมาย
แต่ผมขอเลือกนำมาให้เพื่อนๆ อ่านแค่ 8 เรื่องนะครับ

หนังสือที่ผมจะแนะนำ 8 เล่ม มีดังนี้

1. การพัฒนางาน?ด้วย?ระบบ? RE-ENGINEERING, AIC, QC, ?ฯลฯ? ?และ?ประยุกต์มรรคมีองค์? 8 ?ของพระพุทธเจ้า? ?คุณธรรม? ?รักเหนือรัก? ?หรื่อ? ?คุณธรรม? ?สาราณียธรรม? 6 ?เพื่อพุทธพจน์? 7 ?และ?ระบบบุญนิยม? ?ใน?ระดับ? ?ศีล? 5 ?ของศาสนาพุทธ? ?เพื่อการบริหารงาน?ให้?ประสบผลสำ?เร็จ

2. รวมธรรมะ

3. ?อานิสงส์ศีล? 5?

4. อนุสรณ์ฌาปนกิจศพ? ?พระครูศีลสารวิมล? (ล้วน? ?สีลรา?โม)?4-5 ?เมษายน? 2535.

5. มลทินของใจ?กับ?ศีล? 5 ?คือสมบัติของมนุษย์

6. พระราชปุจฉา? ?ใน?ชั้นกรุงรัตนโกสินทร์? ?ตั้งแต่รัชกาลที่? 1 ? ?รัชกาลที่? 5

7. รายงานการวิจัยอิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดู? ?การไปวัด? ?การรักษาศีล? 5 ?และ?การนั่งสมาธิ? ?ต่อ?ความ?กตัญญูกตเวที

8. กฎแห่งกรรม?กับ?ศีล? 5

สรุปวันนี้ผมก็มีหนังสือที่เกี่ยวกับ “ศีล5” ไว้สำหรับอ่านแล้ว
แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับมีหนังสือที่เกี่ยวกับ ศีล5″ ไว้อ่านหรือยัง
ลองทำตามที่ผมบอกแล้วเอาชื่อเรื่องมาอวดกันบ้างนะครับ

สุดท้ายนี้ผมก็ขออนุโมทนาสาธุกับเพื่อนๆ ทุกคนที่รักษาศีล 5 ในวันนี้ครับ

VuFind – Open Source for OPAC 2.0

คุณรู้สึกเบื่อกับหน้าจอแสดงผล OPAC แบบเก่าๆ กันมั้ยครับ
วันนี้ผมมีทางเลือกในการสร้างหน้าจอแสดงผล OPAC แบบใหม่ๆ มาให้เพื่อนๆ ดูกัน
ที่สำคัญของโปรแกรมนี้ คือ เป็นโปรแกรม Open Source ด้วยนะครับ

vufind

โปรแกรมที่ผมจะแนะนำนั่นก็คือ VuFind

แนะนำข้อมูลเบื้องต้น

VuFind คือ โปรแกรม Open Source ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข และลิขสิทธิ์ของ GPL
โดยโปรแกรมนี้ทำหน้าที่เป็น โปรแกรม Browers เพื่อใช้สำหรับแสดงผลการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะ
โปรแกรมนี้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยแนวความคิดของห้องสมุดยุคใหม่ที่ต้องการสร้างความน่าสนใจในสารสนเทศ

search

โปรแกรมนี้ทำอะไรได้บ้าง

1. Search with Faceted Results
มีระบบสืบค้นที่ยืดหยุ่น เช่น สามารถสืบค้นแบบจำกัดขอบเขตได้

2. Live Record Status and Location with Ajax Querying

แสดงผลทันที ด้วยเทคโนโลยี AJAX ทำให้การสืบค้นมีลูกเล่นน่าสืบค้น

3. ?More Like This? Resource Suggestions

สามารถแนะนำ และวิจารณ์หนังสือเล่นนั้นนั้นได้ด้วย

search-vufind

4. Save Resources to Organized Lists
สามารถบันทึกรายการที่ต้องการลงในรายการส่วนตัวได้ (คล้ายๆ save favorites)

5. Browse for Resources
สามารถสืบค้นตามหมวดของรายการสารสนเทศได้

6. Author Biographies
สามารถแสดงผลข้อมูลชีวประวัติของผู้แต่ง หรือ ผู้เขียนได้

7. Persistent URLs

บันทึก URL เพื่อใช้ในคราวต่อไป หรือส่งให้คนอื่นได้

8. Zotero Compatible

รองรับกับโปรแกรม Zotero เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลที่สืบค้นไปจัดทำรายการบรรณานุกรม

9. Internationalization
รองรับการแสดงผลหลายภาษา

10. Access Your Data: Open Search, OAI, Solr
สามารถใช้งานร่วมกับ Open Search, OAI, Solr ได้

เป็นยังไงบ้างครับกับฟีเจอร์ดังกล่าว
VuFind สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างระบบกับผู้ใช้บริการมากขึ้น
หรือสามารถให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมต่อการจัดการรายการสารสนเทศได้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการสนใจ หรือจะเป็นการกำหนด tag เองได้

และนี่แหละครับ คำจำกัดความที่เรียกว่า OPAC 2.0

ระบบกับผู้ใช้สามารถตอบสนองความต้องการได้ซึ่งกันและกัน
เมื่อผู้ใช้สืบค้น ระบบก็แสดงผล ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้หลายรูปแบบ
รวมถึงเขียนวิจารณ์รายการหนังสือเล่มนั้นๆ ได้ด้วย

หากเพื่อนๆ อยากลองเล่น VuFind ลองเข้าไปดูที่
http://www.vufind.org/demo/

หรือถ้าอยากดาวน์โหลดไปใช้ก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://www.vufind.org/downloads.php

และข้อมูลอื่นๆ และรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ http://www.vufind.org