แปลงชั้นหนังสือในบ้านให้เป็นห้องสมุดส่วนตัวด้วยโปรแกรม GCstar

เพื่อนๆ เคยเกิดอาการแบบนี้หรือไม่
“อยากรู้ว่าหนังสือที่อยู่ในชั้นหนังสือที่บ้านมีเรื่องอะไรบ้าง”
“หนังสือเยอะอยากให้เพื่อนยืม แต่พอเพื่อนยืมไปแล้ว ลืมไม่รู้ว่าใครยืมไป”
“หนังสือที่บ้านเยอะจนจำได้ไม่หมด แล้วดันซื้อหนังสือเข้ามาซ้ำอีก”

จริงๆ ยังมีอีกหลายสถานการณ์ครับ….เอาเป็นว่า วันนี้ผมมีวิธีแก้แบบง่ายๆ มาฝากครับ

วิธีแก้ที่ผมจะเสนอนี้ คือ การนำโปรแกรมจัดการข้อมูลหนังสือ มาใช้ครับ
ซึ่งโปรแกรมที่ว่านี้บนเว็บไซต์ก็มีหลายตัวให้เลือกนะครับ
แต่ที่ผมอยากนำเสนอก็คือ โปรแกรม GCstar ครับ (ผมเองก็ใช้อยู่)

โปรแกรม GCstar เป็นโปรแกรม Open source ตัวหนึ่งที่ใช้ในการจัดการหนังสือที่เรามีอยู่โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มประเภทหนังสือได้ตามต้องการ เช่น แบ่งตามหัวเรื่อง, แบ่งตามหมวดหมู่, แบ่งตามความชอบ ….. ซึ่งในโปรแกรมนี้เราสามารถเพิ่มข้อมูลของหนังสือได้ เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ชื่อปีพิมพ์ สำรนักพิมพ์ ISBN ….. ไปจนถึงการเขียนบันทึกแบบย่อๆ ของหนังสือเล่มนั้นๆ ได้ด้วย Review หนังสือได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีระบบบันทึกการยืมคืนแบบง่ายๆ ไว้ใช้อีก


ความง่ายของโปรแกรมนี้อีกอย่าง คือ ถ้าหนังสือของเพื่อนๆ เป็นหนังสือที่มีใน Amazon(หนังสือภาษาต่างประเทศ)
เพื่อนๆ สามารถดึงข้อมูลจาก amazon มาแสดงผลได้ในโปรแกรมด้วย โดยใช้หมายเลข ISBN หรือไม่ก็ชื่อเรื่องครับ

เว็บไซต์ที่สามารถดึงข้อมูลหนังสือให้มาเข้าโปรแกรม GCstar ได้ เช่น
– Amazon
– Adlibris
– ISBNdb
– InternetBookShop
– Mediabooks

และยังมีอีกหลายๆ ที่นะครับ

เราลองไปดูหน้าตาของโปรแกรมนี้แบบคร่าวๆ กันก่อนครับ


ภาพของโปรแกรมส่วนแสดงข้อมูลหนังสือ

เพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรม GCstar ได้จาก http://wiki.gcstar.org/en/Install

เอาเป็นว่าก็ลองโหลดไปใช้กันได้เลยนะครับ แล้วถ้าติดขัดอะไรก็สอบถามผมมาได้อีกที
สำหรับวันนี้ก็ขอลาไปก่อนนะ อิอิ แล้วจะหาโปรแกรมดีๆ มาแนะนำอีกนะครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จาก http://www.gcstar.org/

โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 ออกมาแล้ว

ตามสัญญาจากวันก่อนที่ koha community ประกาศว่าจะออก koha 3.4 วันที่ 22 เมษายน 2011
บัดนี้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 ก็ออกมาตามกำหนดเรียบร้อยแล้ว
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดและอัพเกรดโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 ได้เลย

สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 ได้ที่ http://download.koha-community.org/koha-3.04.00.tar.gz
นอกจากนี้เพื่อนๆ สามารถอ่านคู่มือการติดตั้งได้ที่ http://wiki.koha-community.org/wiki/Installation_Documentation

รายละเอียดในเวอร์ชั่นใหม่นี้มีการปรับปรุงหลายๆ อย่าง ซึ่งผมขอนำตัวเด่นๆ มากล่าวนะครับ เช่น
– ความสามารถในการนำเข้าและส่งออก MARC framework
– สนับสนุนการทำงานแบบ non- marc
– หน้า log in สำหรับการยืมคืนด้วยตัวเอง
– plug in เพื่อการกรอกข้อมูลใน tag 006/008
– การ review และ comment หนังสือในหน้า opac

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นนะครับความสามารถเพิ่มเติมมากกว่า 100 อย่าง
เพื่อนๆ ดูได้จาก http://koha-community.org/koha-3-4-0-released

เอาเป็นว่าก็ไปลองทดสอบและใช้งานกันดูนะครับ

ข่าวการเปิดตัวโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 อ่านได้จาก http://koha-community.org/koha-3-4-0-released

อัพเดทโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.2.6 และข่าว Koha 3.4

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ชุมชนคนใช้ Koha ได้ประกาศการอัพเดท Koha อีกครั้ง
หลังจากที่ปีที่แล้ว koha ประกาศอัพเดท 3.2.0 ผ่านไป
ในเดือนกุมภาพันธ์ก็ประกาศอัพเดทเป็น 3.2.5 และในเดือนมีนาคมก็อัพเดทเป็น 3.2.6

ในเวอร์ชั่น 3.2.6 มีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง เท่าที่ผมอ่านหลักๆ ก็จะเป็นเรื่องการแก้ bug ใน koha 3.2.0 และ 3.2.5 (ที่ออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2011)
ตอนนี้ Koha ถูกแปลไปแล้ว 14 ภาษา ซึ่งก็มีภาษาใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้าร่วม เร็วๆ นี้

เอาเป็นว่ารายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้จากหน้าหลักของเวอร์ชั่น 3.2.6 นะครับ
http://koha-community.org/koha-3-2-6/

โปรแกรม Koha 3.2.6 สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://download.koha-community.org/koha-3.02.06.tar.gz

และเร็วๆ นี้ (วันที่ 22 เมษายน 2011) มีข่าวว่า Koha จะประกาศเปิดตัว เวอร์ชั่น 3.4 ซึ่งผมว่าต้องรอดูกันครับ
ติดตามข่าว Koha 3.4 ได้ที่ http://koha-community.org/koha-3-4-0-release-schedule-april-coming-fast/

โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha เวอร์ชั่น 3.2.0 ออกแล้ว

โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ฉบับ opensource ประกาศการอัพเดทโปรแกรมเป็นเวอร์ชั่น 3.2.0 แล้วจ้า
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดและอัพเกรดโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.2.0 ได้เลย

ดาวน์โหลด Koha 3.2.0 ได้ที่? http://koha-community.org/koha-3-2-0/

รายละเอียดของโปรแกรมในส่วนที่อัพเดทเพื่อนๆ ลองอ่านในเว็บ koha ดูนะครับ หลักๆ จะอยู่ที่โมดูลการจัดหาเกี่ยวกับการเพิ่มความสามารถในการแบ่งงบประมาณในการจัดหา ส่วนที่เพิ่มหลักๆ อีกอันคือ การอัพเดทตารางในฐานข้อมูลใหม่นิดหน่อย

ข้อมูลการอัพเดทโปรแกรมอ่านได้ที่ http://files.ptfs.com/koha/Koha%20Release%20Notes%203.2.txt

นำเสนอประวัติโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha แบบ Visualization

วันนี้ผมขอนำตัวอย่าง “การใช้ Visualization เพื่อนำเสนองานด้านห้องสมุด” มาให้เพื่อนๆ ดูกันนะครับ
การนำเสนอแบบ Visualization กำลังเป็นที่นิยมในวงการไอที ดังนั้นห้องสมุดเราก็ไม่ยอมน้อยหน้าเช่นกัน

คำอธิบายเรื่อง Visualization แบบสั้นๆ ง่ายๆ คือ การแปลงข้อมูลจำนวนตัวอักษรให้กลายเป็นรูปภาพเพื่อให้การนำเสนอดูง่ายและน่าสนใจยื่งขึ้น (เอาไว้ผมจะเขียนบล็อกเรื่องนี้วันหลังครับ)

ตัวอย่างที่ผมจะนำมาให้ดูนี้เป็น Visualization แสดงความเป็นมาของการพัฒนาโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha
ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติแบบรหัสเปิด หรือเรียกง่ายๆ ว่า Opensource

หากให้เพื่อนๆ ไปนั่งอ่านประวัติของ Koha เพื่อนๆ ก็คงอ่านได้ไม่จบหรอกครับ
เพราะว่าโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha เริ่มโครงการในปี 1999 (ปีนี้เป็นปีที่ 11 แล้ว)
โดยเพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Koha_%28software%29 หรือ http://koha-community.org/

ในงาน kohacon (KOHA Conference) ที่ผ่านมา http://www.kohacon10.org.nz/
ได้มีการฉายคลิปวีดีโอ “Koha Library Software History Visualization” ทำเอาเป็นที่ฮือฮามาก
เพราะเป็นการใช้ Visualization ในการนำเสนอประวัติการพัฒนาของโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Tl1a2VN_pec[/youtube]

ในคลิปวีดีโอนี้เริ่มจากข้อมูลในการพัฒนาโปรแกรม KOHA ในเดือนธันวาคม 2000 – ตุลาคม 2010
ดูภาพแล้วก็อ่านคำอธิบายที่โผล่มาเป็นระยะๆ ดูแล้วก็เพลินดีครับ เพลงก็ไปเรื่อยๆ

ถามว่าถ้าให้อ่าน paper ประวัติที่มีแต่ตัวอักษร กับ Visualization นี้
ผมคงเลือกดู Visualization เพราะผมแค่อยากรู้ว่าช่วงไหนทำอะไร ไม่ได้อยากทำรายงานนะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็ค่อยๆ ดูไปนะครับ ผมว่าเพลินดี
วันนี้ก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ สุขสันต์วันหยุดครับ

เว็บไซต์ชุมชนผู้พัฒนา KOHA – http://koha-community.org/

การติดตั้งโปรแกรม Koha บน Windows V.1

มีหลายคนเขียนเมล์มาถามผมเรื่อง Koha มากมายเกี่ยวกับเรื่องการติดตั้ง
วันนี้ผมเลยขอนำเสนอการติดตั้ง Koha แบบ step by step ให้เพื่อนๆ อ่านแล้วกัน

Koha - Open Source for ILS

ปล.สำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก Koha กรุณาอ่านKoha – Open Source for ILS

การเตรียมพร้อมก่อนการติดตั้ง Koha บน Windows

อย่างแรกก่อนการติดตั้งนั่นก็คือ ดาวน์โหลดโปรแกรม Koha มาก่อน
ซึ่งตอนนี้ Koha ที่ใช้กับ Window ที่ผมแนะนำคือ Koha V2.2.9
เพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://www.koha.rwjr.com/downloads/Koha2.2.9-W32-R1.EXE

หลังจากดาวน์โหลดโปรแกรม Koha แล้ว ให้เพื่อนๆ สำรวจเครื่องของเพื่อนๆ ก่อนว่ามีโปรแกรมดังต่อไปนี้หรือไม่
– Apache (http://mirror.kapook.com/apache/httpd/binaries/win32/)
– MySQL (http://dev.mysql.com/downloads/)
– ActivePerl (http://www.activestate.com/activeperl/downloads/)

ถ้ายังไม่มีให้ดาวน์โหลดก่อน ตาม link ที่ให้ไปได้เลย

ขั้นตอนการ ติดตั้ง Koha บน Windows

ขั้นที่ 1 ติดตั้ง Apache ให้เลือก folder ( C:\Program Files\Apache Group\ )

ขั้นที่ 2 ติดตั้ง MySQL ให้เลือก folder (C:\mysql)

ขั้นที่ 3 ติดตั้ง Perl ให้เลือก folder (C:\usr\)

ขั้นที่ 4 ติดตั้ง Koha

หลังจากที่ติดตั้งโปรแกรมทั้งหมดครบแล้ว เราก็จะเริ่มใช้งาน Koha ครั้งแรก
โดยคุณจะสังเกตไอคอนใน System tray 2 ตัวคือ ไอคอนที่มีรูปคล้ายไฟจราจรกับไอคอน apache
ให้คุณกดไอคอน apache แล้วเลือก start apache server
และไอคอนรูปไฟจราจรให้เลือก Start MySQL database server

เมื่อดำเนินการกับ Apache และ SQL เสร็จ ให้เราเปิด Web brower
ในช่อง Address ให้ใส่คำว่า “opac” หรือ “Intranet” เพื่อเข้าสู่หน้าจอการทำงาน

ในส่วนขั้นตอนของการทำงานเอาไว้ผมจะเอามาเขียนอีกทีแล้วกันนะครับ
วันนี้ขอแค่เรื่องการติดตั้งอย่างเดียวก่อนนะครับ

ปล.บทความนี้ผมเพิ่งเขียนครั้งแรก คงต้องมีเวอร์ชั่นปรับปรุงอีก
แล้วเดี๋ยวผมจะมาแจ้งให้เพื่อนๆ ทราบอีกทีนะครับ (โดยเฉพาะการเพิ่มรูปขั้นตอนการติดตั้ง)

คู่มือการใช้งานและการติดตั้ง Koha : http://www.koha.rwjr.com/downloads/Koha%20on%20Windows.pdf

ความหลังจากงานสัมมนาโปรแกรมห้องสมุดดิจิทัล Greenstone เมื่อสามปีที่แล้ว

วันนี้ผมขอแนะนำโปรแกรม Greenstone Digital Library อีกสักครั้งดีกว่า
จริงๆ ผมเคยแนะนำหนังสือการใช้งานโปรแกรม Greenstone ไปแล้ว (เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone)

greenstone-library

ข้อมูลของโปรแกรม Greenstone Digital Library นี้ ผมได้นำมาจากสไลด์งานสัมมนาเมื่อสามปีที่แล้วนะครับ
ที่ตอนนั้นผมได้รับร่วมสัมมนาเรื่อง โปรแกรมห้องสมุดดิจิทัล โดยใช้โปรแกรม Greenstone Digital Library Software
ซึ่งจัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NSTDA

การสัมมนาครั้งนี้เริ่มจากการเกริ่นถึง
– ความเป็นมาของห้องสมุดดิจิทัล (What is Digital Library for ?)
– ซอฟต์แวร์ที่ห้องสมุดดิจิทัลสามารถรองรับได้ (DL Software Requirements)
– มาตรฐานที่เกี่ยวกับการทำงานระหว่างห้องสมุด (Library Interoperability)
– การทำต้นแบบของห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library Prototype)

หลังจากที่เกริ่นถึงข้อมูลโดยทั่วไป ซอฟต์แวร์ และการทำงานร่วมกันระหว่างห้องสมุดจบ
สไลด์นี้ก็ได้กล่าวถึงสถาปัตยกรรมของระบบ (System Architecture) โดยทั่วไป
ว่าห้องสมุดดิจิทัลมีลักษณะการทำงานอย่างไร ต้องผ่านกระบวนการใดบ้าง

หลังจากที่เกริ่นเรื่องสถาปัตยกรรมของระบบจบ
ก็เข้าสู่เรื่องที่หลายๆ คนต้องการรู้ นั่นคือ เกี่ยวกับระบบ Greenstone Digital Library Software
– ข้อมูลโดยทั่วไปของระบบ (Overall System)
– สถาปัตยกรรมของระบบ (System Architecture)
– การทำงานของระบบในฟังก์ชั่นต่างๆ (Functionality) เช่น Search system, Librarian Interface, Configuration system

เป็นอย่างไรกันบ้างครับคร่าวๆ สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
แต่เสียดายที่ผมไม่ได้เก็บสไลด์งานวันนั้นอ่ะครับ เลยเอามาโพสให้ดูไม่ได้

แต่ผมขอแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นๆ แล้วกันนะครับ

เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บของ Greenstone Digital Library Software ได้เลยครับ

VuFind – Open Source for OPAC 2.0

คุณรู้สึกเบื่อกับหน้าจอแสดงผล OPAC แบบเก่าๆ กันมั้ยครับ
วันนี้ผมมีทางเลือกในการสร้างหน้าจอแสดงผล OPAC แบบใหม่ๆ มาให้เพื่อนๆ ดูกัน
ที่สำคัญของโปรแกรมนี้ คือ เป็นโปรแกรม Open Source ด้วยนะครับ

vufind

โปรแกรมที่ผมจะแนะนำนั่นก็คือ VuFind

แนะนำข้อมูลเบื้องต้น

VuFind คือ โปรแกรม Open Source ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข และลิขสิทธิ์ของ GPL
โดยโปรแกรมนี้ทำหน้าที่เป็น โปรแกรม Browers เพื่อใช้สำหรับแสดงผลการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะ
โปรแกรมนี้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยแนวความคิดของห้องสมุดยุคใหม่ที่ต้องการสร้างความน่าสนใจในสารสนเทศ

search

โปรแกรมนี้ทำอะไรได้บ้าง

1. Search with Faceted Results
มีระบบสืบค้นที่ยืดหยุ่น เช่น สามารถสืบค้นแบบจำกัดขอบเขตได้

2. Live Record Status and Location with Ajax Querying

แสดงผลทันที ด้วยเทคโนโลยี AJAX ทำให้การสืบค้นมีลูกเล่นน่าสืบค้น

3. ?More Like This? Resource Suggestions

สามารถแนะนำ และวิจารณ์หนังสือเล่นนั้นนั้นได้ด้วย

search-vufind

4. Save Resources to Organized Lists
สามารถบันทึกรายการที่ต้องการลงในรายการส่วนตัวได้ (คล้ายๆ save favorites)

5. Browse for Resources
สามารถสืบค้นตามหมวดของรายการสารสนเทศได้

6. Author Biographies
สามารถแสดงผลข้อมูลชีวประวัติของผู้แต่ง หรือ ผู้เขียนได้

7. Persistent URLs

บันทึก URL เพื่อใช้ในคราวต่อไป หรือส่งให้คนอื่นได้

8. Zotero Compatible

รองรับกับโปรแกรม Zotero เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลที่สืบค้นไปจัดทำรายการบรรณานุกรม

9. Internationalization
รองรับการแสดงผลหลายภาษา

10. Access Your Data: Open Search, OAI, Solr
สามารถใช้งานร่วมกับ Open Search, OAI, Solr ได้

เป็นยังไงบ้างครับกับฟีเจอร์ดังกล่าว
VuFind สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างระบบกับผู้ใช้บริการมากขึ้น
หรือสามารถให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมต่อการจัดการรายการสารสนเทศได้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการสนใจ หรือจะเป็นการกำหนด tag เองได้

และนี่แหละครับ คำจำกัดความที่เรียกว่า OPAC 2.0

ระบบกับผู้ใช้สามารถตอบสนองความต้องการได้ซึ่งกันและกัน
เมื่อผู้ใช้สืบค้น ระบบก็แสดงผล ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้หลายรูปแบบ
รวมถึงเขียนวิจารณ์รายการหนังสือเล่มนั้นๆ ได้ด้วย

หากเพื่อนๆ อยากลองเล่น VuFind ลองเข้าไปดูที่
http://www.vufind.org/demo/

หรือถ้าอยากดาวน์โหลดไปใช้ก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://www.vufind.org/downloads.php

และข้อมูลอื่นๆ และรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ http://www.vufind.org