นิยามการอ่านแบบสั้นๆ ฉบับคนทำงานห้องสมุดและบรรณารักษ์

เมื่อสองวันก่อนเปิดประเด็นชวนคิดให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้ตอบกัน โดยคำถามมีอยู่ว่า “เพื่อนๆ คิดว่าการอ่านมีประโยชน์อย่างไรบ้าง” (ขอนิยามแบบสั้นๆ นะครับ) ซึ่งเพื่อนๆ ได้ตอบกันมาเยอะพอสมควร ผมจึงขอนำมาลงให้ทุกท่านได้อ่านกัน

ปล. บล็อกเรื่องนี้ถือว่าเพื่อนๆ ทุกคนช่วยกันเขียนนะครับ ขอบคุณเพื่อนๆ ที่มีส่วนร่วม

“เพื่อนๆ คิดว่าการอ่านมีประโยชน์อย่างไรบ้าง” (ขอนิยามแบบสั้นๆ นะครับ)

คำตอบจากกลุ่ม Librarian in Thailand ใน Facebook

1. Improvised Heart – การอ่านมีประโยชน์ ดังนี้ 1. ทำให้เกิดจินตนาการ เพราะการอ่านจะทำให้เราคิดภาพไปด้วย (แต่จินตนาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน) และ 2. ทำให้ได้รับความรู้มากขึ้น (แน่ล่ะ)
2. Cybrarian Cyberworld – Open my life,open my world ,change my life ,change my world & change one’s idea…
3. Aobfie Thiyaphun – อ่านเพื่อ.. ได้รู้ ได้คิด
4. สุดหล่อ ก่ะ เด็กซื่อ – Today a reader, tomorrow a leader
5. Sornor Toom – การอ่านคือ ขุมทรัพย์แห่งปัญญา
6. บรรณารักษ์ เจน – เปิดหูเปิดตา , เกิดปัญญา , มีเรื่องคุย
7. Aobfie Thiyaphun – อ่านเพื่อ…กด Like และ กด แชร์ ^^
8. Jakapon Patpongpun – เรียนรู้เพื่อรับปริญญาชีวิต
9. Aobfie Thiyaphun – อ่านเพื่อ.. เสริมสร้างภูมิปัญญา พัฒนาความคิด เพิ่มคุณภาพชีวิต อุทิศคืนสู่สังคม…
10. Sorravee Tungwongthavornkij – การอ่านคือ การพัฒนาชีวิต
11. Alich Jutarat Chomsuntia – การอ่านเป็นประตูบานแรกที่จะเปิดสู่โลกของการศึกษาค่ะ^^
12. Jung Bi Yoon – การอ่านคือการเรียนรู้แบบ hi speed เพราะได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์คนอื่น 😉
13. เสาวณีย์ เจ๊ะหนุ่ม – การอ่านทำให้คุยกับคนในสังคมรู้เรื่อง
14. Aobfie Thiyaphun การอ่าน “เรื่องจริง” ทำให้เข้าใจถูก…การอ่าน “เรื่องเท็จ” ทำให้เข้าใจผิด…การอ่านจึงต้องใช้ “วิจารณญาน” ประกอบด้วย ^^
15. สุนทรี เซี่ยงว่อง – การอ่านทำให้เราฉลาดขึ้น เข้าใจตัวเอง และเข้าใจคนรอบข้าง รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
16. Cabinlazz Lizzie – การอ่านคือชีวิต เพราะถ้าไม่ได้อ่านกระทั่งฉลากยา ก็คงกินยาผิดค่ะ
17. ประพาฬรัตน์ เจริญศิริรุ่งเรือง – ‎”การอ่าน” คือการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชีวิตประจำวัน ค่ะ
18. Kritsana C Thipsy – การอ่านมาจากความความ “อยาก” สิ่งที่ได้คือ ฉันรู้แล้ว
19. Thung Thailife – การอ่านคือ การที่เราทำความเข้าใจกับข่าวสารหรือเรื่องราวที่เราสนใจและนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง สังคม ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
20. Aom Khontharose – ทำให้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของนักเขียน เช่น หนังสือที่ไปเที่ยวแต่ละประเทศก่อนที่จะได้ไปสัมผัสประสบการร์จริง
21. Nantana Krodtem – การอ่านเป็นการออกกำลังสมอง ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์
22. Marootpong Aimmo – การอ่าน เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนชีวิตครับ
23. Chattayathorn Lapath – การอ่าน ทำให้ได้ฝึกคิดจินตนาการ
24. เสือทอม สุดแรงปั่น – การอ่าน คือการแสวงหาความรู้
25. Chatchaya Kuntakate – การอ่าน คือ การเรียนรู้โลกและสังคม

คำตอบจาก Fanpage เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย ใน Facebook

1. Nawapat Chanloy – เกิดจินตนาการกว้างไกล…
2. Maykin Likitboonyalit – เหงา เศร้า ซึม หนังสือช่วยแก้ได้นะ #การอ่านช่วยบำบัด
3. Pong Ping – ช่วยเปิดกระโหลก ให้ ความคิดกว้างไกล ไม่เป็นกบในกะลา
4. Somchai Tinyanont – การอ่านคือการพัฒนาตนเองที่ดีที่สุด
5. Nit Kumansit – การอ่าน คือ การรับความรู้ มาสร้างปัญญา เพื่อพัฒนาตน
6. บริการแปลล่ามอังกฤษไทย และเรียนภาษาออนไลน์ – การอ่านเป็นการเปิดประตูรับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง ที่จะนำมาใช้ให้อยู่รอดได้ทุกสถานการณ์
7. Chattayathorn Lapath – การอ่านทำให้เราเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดเวลาสถานที่^^
8. น้อยใจยา จ๋าจ๊ะ – การอ่านคือการพัฒนาชีวิตทำให้เกิดความคิดที่ก้าวไกล
9. Aom P. Chan – การอ่านทำให้คนเราเกิดการเรียนรู้และฉลาดมากยิ่งขึ้น
10. Porntip Mung – การอ่านเป็นการเปิดความคิด
11. Sophit Sukkanta – การอ่านช่วยให้เรารู้เขารู้เรา
12. Wanpen Srisupa – การอ่านคือบุญกับบาป
13. ขวัญจิตร เดชเดชะสุนันท์ – เปิดหนังสือเปลี่ยนความคิดชีวิตเปลี่ยน

เอาหล่ะครับเป็นยังไงกันบ้าง นี่แหละความมีส่วนร่วมของพี่น้องวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์แหละครับ
ถ้าเพื่อนๆ อ่านแล้วอยากเพิ่มเติมอะไรก็สามารถเข้ามา comment ต่อได้ด้านล่างนี้เลยนะครับ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

อ่านอะไรดี : กำเนิดหนังสือของเด็กไทยสู่รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน

แนะนำหนังสือดีๆ มาพบกับเพื่อนอีกครั้งแล้วนะครับ ช่วงนี้ไปยืมหนังสือที่เกี่ยวกับห้องสมุดและการอ่านมาเยอะมากเลย วันนี้ขอยกมาแนะนำสักเล่มแล้วกัน ซึ่งหนังสือที่ผมแนะนำวันนี้ คือ “กำเนิดหนังสือของเด็กไทยสู่รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : กำเนิดหนังสือของเด็กไทยสู่รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน
สำนักพิมพ์ : แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
จำนวนหน้า : 87 หน้า
ปีพิมพ์ : 2554

หนังสือเล่มนี้ถูกจัดพิมพ์โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน มุ่งเน้นอยากให้เด็กและเยาวชนไทยได้เห็นความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ของหนังสือ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. กำเนิดหนังสือเด็กของไทย : จากสมุดไทยถึงยุคกำเนิดการพิมพ์
2. สร้างหนังสือ สร้างเด็กไทย ในยุคก้าวสู่การศึกษาแผนใหม่
3. รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน : เพาะนักอ่าน หว่านเมล็ดพันธุ์ “นักเขียน” สู่บรรณพิภพ


จากการเปิดอ่านอย่างผ่านๆ ได้พบเห็นหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย
เช่น

1. กำเนิดหนังสือเด็กของไทย : จากสมุดไทยถึงยุคกำเนิดการพิมพ์

– หนังสือเล่มแรก ดวงแก้วแห่งปัญญาเด็กไทย (หนังสือที่ปรากฎหลักฐานว่าแต่งขึ้นสำหรับเด็กเล่มแรก ได้แก่ “จินดามณี”)
– หนังสือสอนทักษะชีวิตเล่มแรก คือ “สวัสดิรักษา” แต่งโดย สุนทรภู่
– แบบเรียนภาษาไทย เรียนความรู้ด้วยความงาม (แบบเรียนหลวง ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร)
– การบันทึกข้อมูล (การจารึกบนศิลา เขียนบนใบลาน เขียนลงกระดาษข่อย พิมพ์อักษรไทย)

2. สร้างหนังสือ สร้างเด็กไทย ในยุคก้าวสู่การศึกษาแผนใหม่

– สร้างแบบเรียน คือ สร้าง “แบบ” เด็กไทย
– สร้างเสริมแบบเรียนไทยโดยบาทหลวงฝรั่ง
– หนังสือนิทาน-อ่านสนุก…ปลูกฝังความดีด้วยความงาม
– หนังสือดีที่ต้องห้มในสมัยรัชกาลที่ 6-7 (ทรัพยศาสตร์เล่ม 1-2 โดยพระยาสุริยานุวัตร)
– เพลงกล่อมเด็ก : จากมุขปาฐะสู่หนังสือเพื่อเด็กปฐมวัยเล่มแรก

3. รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน : เพาะนักอ่าน หว่านเมล็ดพันธุ์ “นักเขียน” สู่บรรณพิภพ

– นิตยสารหรือจดหมายข่าวสำหรับเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่จัดทำโดยโรงเรียนต่างๆ เช่น

— จดหมายเหตุแสงอรุณ : แสงแรกแห่งอรุณของนิตยสารเพื่อเด็ก (จัดทำโดยโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง)
— กุลสัตรี : ปฐมฤกษ์เพื่อโรงเรียนสตรีและนักเรียนสตรี (นิตยสารของมหามกุฏราชวิทยาลัย)
— ราชินีบำรุง : สื่อสร้างเสริมคุณภาพผู้หญิงยุคใหม่ (ของโรงเรียนราชินี)
— อัสสัมชัญอุโฆษสมัย : จากครูฝรั่งถึงนักเรียนไทย ก้องไกลในกระแสกาล (ของโรงเรียนอัสสัมชัญ)
— แถลงการศึกษาเทพศิรินทร์ : แปลงเพาะต้นกล้า “นักประพันธ์” (ของโรงเรียนเทพศิรินทร์)

– นักเขียนที่มีบทบาทและสำคัญในอดีต

— “ศรีบูรพา” กุหลาบ สายประดิษฐ์ : บุคคลสำคัญของโลกทางศิลปวัฒนธรรม
— ม.จ.อากาศดำเกิง : เปิดโลกและชีวิตด้วย ละครแห่งชีวิต
— สด กูรมะโรหิต : ผู้สร้างอาณาจักรจรรโลงวรรณกรรม

นี่ก็เป็นตัวอย่างเรื่องเด็ดๆ ที่เราจะได้อ่านจากหนังสือเล่มนี้
เอาเป็นว่าผมได้เข้าใจและเห็นที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์หนังสือเด็กที่อธิบายได้ดีทีเดียว

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ สามารถหาหนังสือเล่มนี้ได้ที่ TKpark เลยนะครับ ยืมมาอ่านได้ฟรีเลยครับ
หรือไม่ผมก็ขอแนะนำให้อ่านออนไลน์ไปเลยที่ http://issuu.com/happy2reading/docs/happyreading7

อย่าลืมไปหาอ่านกันเยอะๆ นะครับ ลองดูแล้วคุณจะชอบหนังสือเล่มนี้เหมือนผม

แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน http://www.happyreading.in.th/

อ่านอะไรดี : พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R

ช่วงนี้เห็นหลายๆ คน พูดถึงเรื่องความสำคัญของการอ่านมากขึ้นเรื่อยๆ
วันนี้ผมจึงขอแนะนำหนังสืออีกสักเล่มที่เกี่ยวกับการอ่านมาฝาก
ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มนี้ คือ “พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R
สำนักพิมพ์ : สุวีริยาสาส์น
ISBN : 9789741329526
จำนวนหน้า : 152 หน้า
ปีพิมพ์ : 2551

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการอ่าน และ ตัวอย่างแบบฝึก (แผนการสอนเรื่องการอ่าน)
บทที่ 1 และ 2 เป็นเรื่องทฤษฎีล้วนๆ พูดถึงความสำคัญของการอ่าน และเทคนิดการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
และตั้งแต่บทที่ 3 ไปจนถึงบทสุดท้ายจะเป็นเนื้อเรื่องตัวอย่างที่มีไว้ให้อ่าน ลองอ่านและทำแบบทดสอบดู

หลักๆ ที่ผมหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านก็เพราะคำว่า “SQ3R” นั่นแหละครับ
พอได้อ่านและเข้าใจถึงแนวทางในการอ่านแล้ว ผมจึงรู้สึกว่าการอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีความสำคัญมากๆ

เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่าการวัดผลสำเร็จของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีอะไรบ้าง
หนังสือเล่มนี้รวบรวมจากนักวิชาการมาหลายคน เช่น อาจารย์เปลื้อง ณ นคร, อาจารย์อรษา บุญปัญญา ฯลฯ

ตัวอย่างการวัดว่าผู้อ่านมีทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณมากน้อยเพียงใด จะต้องดูจากสิ่งดังต่อไปนี้
– ความสามารถในการจำแนกประเภทของงานเขียน
– ความสามารถแยกแยะส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น
– ความสามารถอธิบายความหมายของคำศัพท์ สำนวน อุปมา
– การตัดสินสิ่งที่ถูกและสิ่งที่ผิด
– การบอกจุดประสงค์ของผู้เขียน
– การจับแนวความคิดหลัก
– การจับน้ำเสียงหรือความรู้สึกของผู้เขียน
– การบอกโครงเรื่องหรือสรุปเรื่อง
– การประเมินคุณค่าของเรื่องที่อ่าน

เอาหล่ะครับ เมื่อเรารู้แบบนี้แล้ว ผมจะได้อธิบายถึง หลัก SQ3R กันต่อเลย ว่ามันคืออะไรและย่อมาจากอะไร

การอ่านแบบ SQ3R ผู้ริเริ่ม คือ นายฟรานซิส พี โรบินสัน (ผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ) เขาได้แนะนำเทคนิคนี้กับนักศึกษา ซึ่งการอ่านแบบนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก

SQ3R = S Q R R R = Survey, Question, Read, Recite, Review
มาดูฉบับแปลไทยโดยอาจารย์ฉวีลักษณ์กันสักหน่อย

Survey = การสำรวจ = สำรวจ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สารบัญ คำนำ รวมถึงแนวคิดและจุดมุ่งหมายในการเขียน
Question = การตั้งคำถาม = การพิจารณาให้แน่ชัดว่าเราต้องการคำตอบอะไรจากการอ่าน
Read = การอ่าน = อ่านเพื่อให้ได้คำตอบตามที่ตั้งคำถามโดยมุ่งหารายละเอียดเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจนในคำถาม
Recite = การจดจำ = เมื่อได้รับคำตอบแล้วควรมีการจดบันทึกไว้เพื่อเตือนความจำ
Review = การทบทวน = ต้องหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงบทสรุปที่ผมอยากให้อ่านก็เท่านั้นนะครับ ถ้าอยากอ่านแบบเต็มๆ ก็หาอ่านได้ที่ร้านหนังสือซีเอ็ด หรือไม่ก็ห้องสมุดต่างๆ ก็น่าจะต้องมีหนังสือเล่มนี้นะครับ

เอาเป็นว่าผมก็ขอแนะนำหนังสือเล่มนี้ไว้ให้เพื่อนๆ อีกสักเล่มหนึ่งแล้วกันนะครับ
อ่านอย่างเดียวไม่พอ ต้องอ่านและคิดวิเคราะห์ได้ด้วยถึงจะทำให้เรารู้จริง

อ่านอะไรดี : 20 คมคิด ฝ่าวิกฤตการอ่าน

แนะนำหนังสือดีๆ มาพบกับเพื่อนๆ อีกแล้วนะครับ ช่วงนี้อ่านหนังสือเยอะมากๆ เลยเนื่องจากอ่านเพื่อให้หายเครียดเรื่องน้ำท่วมอ่ะครับ (แอดมินกลายเป็นผู้ประสบภัยไปซะแล้ว) เมื่อวานเขียนเรื่อง “Libraryhub ขอสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของท่าน” ดังนั้นวันนี้จึงขอแนะนำหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่อง “การอ่านหนังสือ” แล้วกันครับ

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : 20 คมคิด ฝ่าวิกฤตการอ่าน
สำนักพิมพ์ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้
ISBN : 9786167197296
จำนวนหน้า : 63 หน้า
ปีพิมพ์ : 2552


หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมมุมมองและข้อเสนอเรื่องการส่งเสริมการรักการอ่านจากบุคคลที่มีชื่อเสียง รวมถึงบุคคลที่ทำหน้าที่และเกี่ยวข้องกับการอ่าน

เอาเป็นว่าแต่ละคนกล่าวอะไรไว้บ้าง ลองอ่านได้เลยครับ (ปล. ตำแหน่งของบุคคลหลายๆ คนเป็นตำแหน่งในช่วงปี 2552 นะครับ)

1. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : นายกรัฐมนตรี
“การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทรงพลังสำหรับมวลมนุษย์ เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาตลอดชีวิต และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดียิ่งสำหรับคนทุกคน”

2. จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
“การเติมเต็มการศึกษาตลอดชีวิต ให้ประชาชนมีความสามารถในการอ่าน การแสวงหาความรู้ เข้าถึงความรู้ได้ตลอดเวลา จากสื่อและวิธีการที่หลากหลายในยุคโลกาภิวัฒน์ เพื่อต่อยอดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต”

3. ดร.วราภรณ์ สามโกเศศ : อดีต รมช.กระทรวงศึกษาธิการ
“รัฐบาลทุกชุดต้องทำเรื่องนี้ เพราะนโยบายรักการอ่านสำคัญมาก และคนในสังคมต้องเข้าใจว่า สังคมดีขึ้นต้องมาจากการศึกษาดี คุณภาพการศึกษาดี ต้องอ่านและเขียน เพราะนี่คือทักษะสำคัญในการครองชีพ”

4. ดร.ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล : ผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้
“ถ้าเราส่งเสริมการอ่านอย่างเต็มที่ แต่ไม่มีหนังสือดีๆ อะไรให้อ่าน ก็ไม่เกิดผล แต่ในขณะเดียวกันหากมีหนังสือออกมากองจำนวนมาก แต่ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะส่งเสริมการอ่าน หนังสือก็จะกองอยู่อย่างนั้น ไม่มีคนอ่าน ทั้งนี้หนังสือจะมีชีวิตได้ก็ต่อเมื่อได้รับการจับต้อง ได้รับการอ่าน”

5. คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต : นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
“รัฐบาลต้องมีนโยบายการอ่านแบบครบวงจร คือ ส่งเสริมให้มีนักเขียนที่ดี ส่งเสริมให้สำนักพิมพ์สามารถจัดพิมพ์หนังสือที่มีคุณภาพ และมีช่องทางในการจำหน่ายที่กระจายไปอย่างทั่วถึง สนับสนุนให้ห้องสมุดประชาชน และห้องสมุดโรงเรียน มีกิจกรรมซึ่งสามารถจูงใจให้เด็กเข้าห้องสมุด รวมทั้งดึงเอาคนในชุมชนมาช่วยกันทำงานในห้องสมุด”

6. ชมัยภร แสงกระจ่าง : นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
“ทำให้การอ่านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เช่น จัดกลุ่มนักอ่าน อ่านแล้วเล่าสู่กันฟัง สร้างครอบครัวรักการอ่าน สร้างมุมการอ่านทุกที่ทุกเวลา ทำให้หนังสือราคาถูกและดี การยกย่องและให้กำลังใจนักอ่านและนักเขียนให้มากกว่าดารา”

7. ริสรวล อร่ามเจริญ : นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย
“ทุกวันอาทิตย์ในรายการนายกรัฐมนตรีพบประชาชน ควรให้นายกรัฐมนตรีพูดถึงการอ่านหนังสือหรือเล่านิทานให้เด็กฟัง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวว่า ผู้นำประเทศให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการอ่าน”

8. ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน : นายกสมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย
“ภาครัฐซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดพลังทางสังคม ควรจะต้องสร้างนโยบายหลักเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยว่าต้องการให้เป็นเช่นใด”

9. เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป : กรรมการผู้จัดการ มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
“การอ่าน เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่ของชาติ การสร้างนิสัยรักการอ่านจึงต้องทำในทุกกลุ่มอายุ คือ ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์มารดา จนกระทั่งถึง ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป”

10. ผาณิต เกิดโชคชัย : ผู้อำนวยการฝ่ายศูนย์การเรียนรู้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“การใช้นโยบายภาษีในเชิงส่งเสริมผู้ประกอบการที่สัมพันธ์กับการอ่าน เพื่อให้มีต้นทุนที่เหมาะสมและเอื้อให้ผู้ซื้อมีอำนาจเป็นเจ้าของหนังสือหรือสื่อเรียนรู้เป็นของตนเองได้”

11. พฤหัส พหลกุลบุตร : ผู้อำนวยการฝ่ายละครการศึกษา กลุ่มมะขามป้อม
“เด็กต้องเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมเองจึงจะมีผลต่อกระบวนการเรียนรู้ของเขาทำให้กิจกรรมส่งเสริมการอ่านเป็นรูปธรรมจริงๆ และยั่งยืน”

12. ทศสิริ พูลนวล : บรรณาธิการบริหาร สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก
“รัฐต้องเริ่มจากแผนพัฒนาทุนมนุษย์ ที่มีเป้าหมายชัดเจนว่า ในอีกกี่ปีข้างหน้าประเทศไทยต้องการประชากรที่มีทักษะชีวิตด้านใดบ้าง ประชากรของประเทศต้องพึ่งพาตนเองได้ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต ซึ่ง “การอ่าน” อยู่ในฐานะเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ที่สำคัญที่สุด”

13. จรัญ มาลัยกุล : มูลนิธิกระจกเงา
“ผู้ใหญ่เองก็ต้องอ่านด้วย อย่าไปคิดแค่ให้เด็กอ่านเท่านั้น ผู้ใหญ่ต้องยอมรับความจริงว่าการอ่านนั้นเป็นปัญหาของผู้ใหญ่ไม่ใช่ปัญหาของเด็ก”

14. เข็มพร วิรุณราพันธ์ : ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน สสส.
“การอ่านควรเป็นเรื่องของวิถีชีวิต ควรแทรกอยู่ในกิจกรรมสร้างสรรค์ของเด็ก ซึ่งบูรณาการอยู่ในหลายๆ เรื่อง ไม่ควรแยกออกไปต่างหาก เพราะการอ่านเป็นพื้นฐานสำคัญของเด็ก ถ้าจะทำยุทธศาสตร์เพื่อเด็ก การอ่านจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องผลักดันให้เกิดผลให้ได้”

15. ดร.อมรา ปฐภิญโญบูรณ์ : สถาบันส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ (สพร.) สำนักงาน กศน.
“ทุกๆ หน่วยของสังคมต้องช่วยกันสร้างกระบวนรัการอ่าน และควรที่จะสร้างค่านิยม “การอ่าน” ให้เป็นคุณลักษณะจำเป็นขั้นพื้นฐาน”

16. ดร.กมล รอดคล้าย : ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
“ส่งเสริมการอ่านโดยระดมสรรพกำลัง ทำให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ และมีกลยุทธ์นอกกรอบ คือ มีนวัตกรรม เทคนิค วิธีการรูปแบบใหม่ๆ ที่จูงใจคนให้อ่านหนังสือ โดยอาจศึกษาตัวอย่างจากต่างประเทศ แล้วนำมาปรับให้เหมาะสมกับคนไทย”

17. ดร.จิรพรรณ ปุณเกษม : ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
“การส่งเสริมการอ่านต้องเริ่มจากเด็กเล็กๆ ระดับปฐมวัย ปัจจัยความสำเร็จของโครงการ Bookstart จึงอยู่ที่ความเข้าใจของพ่อแม่ ในการเลี้ยงดูเด็ก”

18. ดร.เยาวพา เดชะคุปต์ : โครงการบริการวิชาการ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
“ผู้ใหญ่ต้องช่วยดูแลให้เด็กอ่านหนังสือ หาหนังสือให้เด็กอ่าน ตระหนักในความสำคัญของเรื่องนี้ ไม่ปล่อยปละละเลย ซื้อหนังสือให้เด็ก แทนการให้เด็กเล่นแต่คอมพิวเตอร์”

19. สรวงธร นาวาผล : กลุ่ม We are happy
“หนังสือต้องอยู่ในใจเด็ก ให้เด็กได้สัมผัสประสบการณ์จากการอ่านหนังสือ ได้เป็นเจ้าของ และมีความสุขกับหนังสือ โดยสร้างสุขภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านทั้งใน ครอบครัว และชุมชน”

20. วันทนีย์ นามะสนธิ : ผู้ช่วยกรรมการ สำนักกิจกรรมสังคม บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
“ทุกคนในสังคมไทยประสานความร่วมมือกันสร้างสังคมแห่งการอ่าน อาทิ ผู้นำทางความคิด/ผู้นำทางสังคม มีนิสัยรักการอ่าน และเป็นต้นแบบอันดีให้กับเยาวชน และประชาชนในสังคม”

เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้รับข้อคิดดีๆ เพียบเลยใช่มั้ยครับ
นี่แหละครับอย่างน้อยก็ทำให้เรารู้ว่า สังคมไทยก็ยังคงให้ความสำคัญกับการอ่านอยู่นะครับ
ผมเองก็อยากให้คนไทยอ่านหนังสือมากๆ ยิ่งอ่านมากภูมิคุ้มกันทางปัญญายิ่งมีมากเช่นกัน

ปล. หนังสือเล่มนี้สามารถยืมอ่านได้ที่สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ หรือ ห้องสมุด TK park นั่นเอง

Libraryhub ขอสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของท่าน

วันนี้วันจันทร์คาดว่าหลายๆ คนคงยุ่งกับการทำงานมาก รวมถึงหลายๆ คนคงจะยุ่งกับเรื่องน้ำท่วมกันอยู่
วันนี้ผมขอใช้เวลาแบบสั้นๆ เพื่อขอเก็บข้อมูลเรื่องการอ่านของทุกๆ ท่านนะครับ


แบบสำรวจนี้ไม่ได้นำมาใช้เพื่อการวิจัยหรอกครับ เพียงแค่อยากรู้ว่าพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ เป็นอย่างไร
เอาหล่ะครับขอรบกวนแค่กดเลือกคำตอบที่เป็นพฤติกรรมการอ่านของท่านจริงๆ นะครับ คำถามก็มีไม่กี่ข้อดังนี้

1. เรื่องเพศกับการอ่านหนังสือ

[poll id=”21″]

2. ประเภทหนังสือที่ท่านอ่าน

[poll id=”22″]

3. ช่วงเวลาที่อ่านหนังสือ

[poll id=”23″]

4. ชอบอ่านจากสื่อประเภทใด

[poll id=”24″]

คำถามก็ง่ายๆ ใช่มั้ยครับ ยังไงก็รบกวนตอบกันสักนิดแล้วกันครับ

แบบสำรวจนี้ผมขอตั้งเวลาในการปิดรับข้อมูล 1 เดือนนะครับ (ปิดรับคำตอบ 20 ธันวาคม 2554)
เพื่อที่จะนำข้อมูลในบล็อกเรื่องนี้มาจัดทำเป็น Infographicให้เพื่อนๆ ดูครับ
(คล้ายๆ กับเรื่อง http://www.libraryhub.in.th/2011/11/09/graphic-designer-and-reading-habits-infographic/)

ขอบคุณทุกๆ ท่านมากครับ

คุณอ่านหนังสือแบบไหนในห้องสมุด

ในห้องสมุดมีหนังสือให้เพื่อนๆ ได้เลือกอ่านมากมาย
ไม่ว่าจะเป็น หนังสือเรียน หนังสือทั่วไป หนังสือนวนิยาย หนังสืออ้างอิง ฯลฯ

reading-book

วันนี้ผมจึงอยากมาถามเพื่อนๆ ว่า
“หนังสือประเภทไหนที่เพื่อนๆ ชอบมากที่สุดเวลาเข้าใช้ห้องสมุด”

[poll id=”6″]

วัตถุประสงค์ในการถามปัญหาข้อนี้ คือ
บรรณารักษ์ที่เข้ามาอ่านก็จะรู้ว่า พฤติกรรมผู้ใช้ห้องสมุดส่วนใหญ่ชอบหนังสือแนวไหน
และต้องจัดหาหนังสือแนวใหม่เพิ่มขึ้น รวมถึงวางแผนการให้บริการได้ดีขึ้นด้วย

ยังไงก็ขอความกรุณาแล้วกันนะครับ ช่วยๆ ตอบกันหน่อย