มุมมองของนักศึกษาชาวอเมริกันต่อเว็บไซต์ห้องสมุด 2005 – 2010

สวัสดีครับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูลทัศนคติและมุมมองของกลุ่มผู้ใช้ห้องสมุดที่เป็นนักศึกษา (ช่วงอายุ 18-24 ปี) ที่มีต่อเว็บไซต์ห้องสมุดและสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ

perception of libraries 2010

ข้อมูลที่ผมนำมาทำสไลด์และนำเสนอนี้มาจาก
Perception of Libraries, 2010 by OCLC

เอกสารสไลด์ชุดนี้

[slideshare id=16951436&doc=perceptionoflibrariesbyoclc-130305103911-phpapp02]

สรุปข้อมูลจากเอกสาร
1. บรรณารักษ์มีคุณค่าต่อผู้ใช้บริการมากขึ้น

2. อัตราการใช้สื่อหรือข้อมูลของห้องสมุด
2.1 เว็บไซต์ห้องสมุด ในปี 2005 จำนวน 53% ในปี 2010 จำนวน 58% — เพิ่มขึ้น
2.2 ฐานข้อมูลออนไลน์ ในปี 2005 และ 2010 มีจำนวนเท่ากัน 30% — เท่าเดิม
2.3 วารสารออนไลน์ ในปี 2005 จำนวน 41% — ลดลง

3. การค้นหาข้อมูลออนไลน์ ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการจะเลือกใช้เครื่องมืออย่าง Search Engine, Wikipedia, Online bookstores มีส่วนน้อยที่ใช้เว็บไซต์ห้องสมุด นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ และฐานข้อมูลออนไลน์

4. สิ่งแรกที่ผู้ใช้จะไปเวลาต้องการค้นหาข้อมูล คือ Search Engine, Wikipedia, เครือข่ายสังคมออนไลน์ และอีเมล์….. อะไรที่เกี่ยวกับห้องสมุดผู้ใช้บริการไม่นึกถึง

5. ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ยังคงยอมรับว่าข้อมูลจากห้องสมุดยังคงมีความน่าเชื่อถือ

6. ความพึงพอใจใน Search Engine ลดลงมาก ในขณะที่ความพึงพอใจในบรรณารักษ์เริ่มมีการเพิ่มขึ้น

7. ถ้าเว็บไซต์ห้องสมุดมีการปรับปรุงหรือพัฒนา…โดยการเติมเนื้อหา ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ลงในเว็บไซต์ โอกาสที่ผู้ใช้บริการจะกลับมานิยมและใช้เว็บไซต์ห้องสมุด

8. บริการในห้องสมุดที่มีอัตราการใช้ลดลง ได้แก่
– บริการหนังสืออ้างอิงและสารสนเทศเฉพาะด้าน
– สถานที่ที่ช่วยทำการบ้าน
– คัดลอกบทความวารสาร
– ผู้ช่วยการวิจัย / การค้นหาเฉพาะด้าน
– การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์
– การยืมคืนหนังสือ
– การอ่านเพื่อความบันเทิง

9. ผู้ใช้บริการมาห้องสมุด เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต ใช้คอมพิวเตอร์ และเชื่อมต่อโลกออนไลน์ ณ ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น

เอาเป็นว่าข้อมูลนี้ก็เป็นข้อมูลแบบย่อๆ เท่านั้นถ้าต้องการอ่านฉบับเต็ม สามารถอ่านได้ที่
http://www.oclc.org/reports/2010perceptions/2010perceptions_all.pdf

Flickr Fight ยกที่หนึ่ง : เมื่อห้องสมุดเจอกับ search engine

เว็บไซต์ Flickr Fight คือ เว็บไซต์ที่ใช้ Flickr Api ร่วมกับการค้นหาของ Google
ซึ่งในเว็บไซต์นี้จะใช้ในการเปรียบเทียบจำนวนของรูปภาพ ของคำที่เราต้องการสืบค้นจำนวน 2 คำ

หลักการง่ายๆ ครับ นำคำที่เราต้องการเปรียบเทียบทั้งสองคำใส่ลงไปในช่องช่าง
ซึ่งในยกแรกวันนี้ผมขอใช้ 2 คำ คือ Library กับ Search engine ดูซิว่าใครจะชนะ

เอาเป็นว่าไปดูผลกันเลยดีกว่า

วันนี้ก็เป็นวันของชาวห้องสมุดครับ เมื่อ Library ชนะ Search Engine
ผลออกมาน่าพอใจมากครับเมื่อ Library มี result = 2388533 images!
ส่วนผลของ Search engine มี result = 35036 images!

เห็นหรือยังครับ ว่าห้องสมุดต้องยิ่งใหญ่กว่า Search Engine แน่นอนครับ 5555

เพื่อนๆ ลองเอาไปเล่นดูกันนะครับ ที่ http://flickrfight.net

ปล. อย่าสนใจโฆษณาด้านบนของเว็บไซต์นะ มันไม่เหมาะสม อิอิ

ผลสำรวจจำนวนคำที่ใช้ในการสืบค้นบน search engine

เวลาที่เพื่อนๆ ต้องการสืบค้นข้อมูลหรือเว็บไซต์ใน google เพื่อนๆ มักจะสืบค้นด้วยคำ keyword ใช่มั้ยครับ
แล้วคำ keyword เหล่านั้น เพื่อนๆ ใช้กี่คำในแต่ละการสืบค้น 1 ครั้งละครับ คำเดียว สองคำ สามคำ หรือ…

keyword-website

วันนี้ผมเอาผลสำรวจเกี่ยวกับเรื่องการใช้คำ keyword เพื่อการสืบค้นข้อมูลมาให้เพื่อนๆ ดูครับ
ข้อมูลดังกล่าวสำรวจโดย OneStat และถูกนำเสนอในเรื่อง Most Searchers Have Two Words for Google

ซึ่งผมได้สรุปประเด็นสำคัญออกมาได้ดังนี้

– คนส่วนใหญ่ที่ใช้ google ในการสืบค้นข้อมูล พวกเขามักจะพิมพ์คำ Keyword จำนวน 2 คำในช่องสืบค้น
ซึ่งผลที่ออกมาคือ พวกเขาจะได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน ถูกต้อง และละเอียดขึ้น

– นอกจาก google ที่มีสถิติการใช้คำKeyword จำนวน 2 คำแล้ว search engine รายอื่นๆ ก็พบประเด็นในทำนองเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็น MSN, Yahoo ผู้ใช้ก็จะมีพฤติกรรมทำนองเดียวกัน คือ ใช้ Keyword จำนวน 2 คำ

– ผลสำรวจนี้อ้างอิงจากผู้ใช้จำนวน 2 ล้านคนใน 100 ประเทศ

ข้อมูลจากการสำรวจ : จำนวนคำสืบค้นที่ใส่ในช่องค้นหา / จำนวนเปอร์เซ็นต์ของคนในกลุ่มต่างๆ

ใช้ Keyword จำนวน 1 คำค้นในช่อง มีจำนวน 15.2 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 2 คำค้นในช่อง มีจำนวน 31.9 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 3 คำค้นในช่อง มีจำนวน 27 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 4 คำค้นในช่อง มีจำนวน 14.8 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 5 คำค้นในช่อง มีจำนวน 6.5 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 6 คำค้นในช่อง มีจำนวน 2.7 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 7 คำค้นในช่อง มีจำนวน 1.1 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 8 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.5 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 9 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.2 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 10 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.1 เปอร์เซ็นต์

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับผลสำรวจ
หากเรามาลองวิเคราะห์กันจริงๆ แล้ว ผมเห็นด้วยกับการใช้คำจำนวน 2-3 คำครับ
เพราะว่ามันจะทำให้เราได้ผลลัพธ์ได้ดีและตรงกับความต้องการมากขึ้น

หากเราใช้คำเดียวมันอาจจะได้ผลลัพธ์ที่กว้างและมากเกินไปจนทำให้เราต้องมานั่งกรองคำอีก
ซึ่งนั่นหมายความว่าจำนวนมากๆ ปัญหาที่ตามมาคือการตรวจสอบว่าใช่เรื่องที่ต้องการจริงหรือปล่าวครับ
และในทางกลับกันหากเราใช้คำค้นเยอะเกินไปมันก็อาจจะทำให้ระบบไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาได้

ทางที่ดีแล้วเราควรจะดูวัตถุประสงค์ของการค้นข้อมูลของเราด้วย เช่น หากเป็นศัพท์เฉพาะทางแล้วใช้คำน้อยๆ มันก็เจอครับ
แต่หากเป็นคำที่มีความหมายกว้างเราก็ควรใส่คำเงื่อนไขเพื่อกรองคำให้ตรงกับความต้องการ

ตัวอย่างเช่น

เราต้องการค้นคำว่า LPG คำๆ นี้มีความหมายแคบอยู่แล้ว ดังนั้นเราจะค้นโดยใส่คำแค่ไม่กี่คำก็พอแล้ว
แต่หากเราจะค้นคำว่า travel คำนี้มันกว้างไปดังนั้นเราควรเพิ่มเงื่อนไขอีกเช่น
travel in Thailand บางทีมันก็อาจจะกว้างอีกเราก็เพิ่มไปเรื่อยๆ ครับเช่น travel in north of thailand
อิอิ นั่นแหละครับคือการกรองให้ตรงกับความต้องการของเราให้ได้มากที่สุดครับ

ปล. อ๋อลืมบอกไปอย่างนึงว่าคำที่มาจากการสำรวจ คือ คำในภาษาอังกฤษนะครับ
ไม่ใช่คำในภาษาไทยเพราะไม่งั้นบางทีคำเดียวก็ยาวเป็นกิโลตามสไตล์คนไทย อิอิ

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญต่อคนในสังคมอยู่หรือปล่าว บทความนี้จะเป็นคนบอกคุณเอง
โดยบทความนี้ผมแปลมาจากเรื่อง “33 Reasons Why Libraries and Librarians are Still Extremely Important

library-and-librarian

บทความนี้นับว่าเป็นบทความที่น่าสนใจมากๆ เลยครับ ผมเลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟังบ้าง

เนื้อหาหลักในบทความนี้สะท้อนถึงสาเหตุที่อินเทอร์เน็ต ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ห้องสมุดได้
รวมถึงเครื่องมือสืบค้นอย่าง search engine ก็ไม่สามารถแทนที่บรรณารักษ์ได้เช่นกัน

แม้ว่าแนวโน้มในอนาคต คือ สื่อดิจิทัลจะมาแทนสื่อสิ่งพิมพ์ก็จริง
แล้วทำไมบทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ยังคงอยู่จะเป็นอย่างไร ไปติดตามได้เลยครับ

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

1. Not everything is available on the internet
อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีทุกอย่าง ? แม้ว่าข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะมีมหาศาลเพียงใด แต่ในบางเรื่องเราก็ไม่สามารถค้นบนอินเทอร์เน็ตได้ เช่น เอกสารทางด้านปะวัติศาสตร์ หรือหนังสือเก่าๆ บางเล่มที่เราอยากอ่าน แต่ก็ไม่สามารถค้นได้ในอินเทอร์เน็ต

2. Digital libraries are not the internet
ห้องสมุดดิจิทัลไม่ใช่อินเทอร์เน็ต ? อันนี้เกิดจากความเข้าใจผิดของคนบางกลุ่มที่บอกว่า อินเทอร์เน็ตคือห้องสมุดดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเด็นนี้เค้าเปรียบเทียบว่าบนอินเทอร์เน็ตมีการจัดเก็บ Web Sources แต่ห้องสมุดดิจิทัลมีการจัดเก็บแบบ Online Collections

3. The internet isn?t free
หนังสือบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ฟรีอย่างที่คิด ? ในบางครั้งที่เราเข้าไปดูคลังหนังสือออนไลน์ที่บอกว่าฟรี ไม่เสียค่าบริการ ความเป็นจริงแล้วเว็บเหล่านี้ฟรีเฉพาะเอาหนังสือมาฝากไว้บนเว็บให้คนอื่น โหลด แต่คนที่โหลดหนังสือเหล่านี้นั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบกับเรื่องความใช้จ่าย ในการดาวน์โหลด ยกตัวอย่างเช่น Project Gutenberg ที่รวบรวมหนังสือมากมายไว้ แต่พอจะดาวน์โหลดก็ต้องเสียเงินอยู่ดี

4. The internet complements libraries, but it doesn?t replace them
อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของห้องสมุดที่ควรจะมี แต่ก็ไม่สามารถแทนที่ได้ สาเหตุคล้ายๆ ข้อ 2 เพราะว่าสารสนเทศที่จัดเก็บเป็นคนละรูปแบบ เช่น ความจริง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ

5. School Libraries and Librarians Improve Student Test Scores
ห้องสมุดทางการศึกษาและบรรณารักษ์ที่ทำงานในห้องสมุด ทางการศึกษามีส่วนช่วยให้เด็กเรียนดีขึ้น ? อันนี้ได้มาจากการศึกษากรณีตัวอย่างเรื่องการใช้ห้องสมุดเพื่อพัฒนาการศึกษา ของ Illinois School Libraries

6. Digitization Doesn?t Mean Destruction
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ได้หมายความว่าจะต้องลด ภาระงาน ? มีกรณีศึกษาเกี่ยวกับ Google Book Search ที่ทาง google เองในช่วงแรกพัฒนาเองแต่ก็เกิดความผิดพลาดหลายส่วน จนต้องดึงห้องสมุดหลายๆ ที่เพื่อเข้ามาปรับปรุงและเป็นที่ปรึกษาเรื่องการสืบค้นสารสนเทศ เนื่องจาก google มีความชำนาญเรื่องการใช้โปรแกรมในการค้นหาเว็บ แต่ในกรณีหนังสือ Google Book Search นั่นเอง

7. In fact, digitization means survival
ความเป็นจริงแล้วการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลจะเน้นไปใน ความหมายของการรักษาสารสนเทศให้อยู่ได้นาน ? มีกรณีศึกษาจากเรื่อง libraries destroyed by Hurricane Katrina เนื่องจากห้องสมุดแห่งนี้ถูกทำลายโดยภัยธรรมชาติซึ่งแน่นอนว่าห้ามกันไม่ได้ ดังนั้นจากข้อ 6 ความหมายที่แท้จริงของการทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลจึงหมายถึงการช่วย ชีวิตสารสนเทศไว้นั่นเอง เพราะถ้าข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเกิดภัยอะไรก็ตามข้อมูลก็จะดำรงคงอยู่ไม่ถูกทำลายง่ายๆ แน่นอน

8. Digitization is going to take a while. A long while.
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลใช้เวลาปรับนิดเดียวแต่ยาว นาน ? เหมือนขัดๆ กันอยู่ใช่มั้ยครับ จริงๆ แล้วอยากที่รู้ว่าการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ยากครับก็คือการสแกนตัว หนังสือลงไปในคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เวลานิดเดียว แต่จำนวนของหนังสือที่มีมากมายมหาศาล ดังนั้นการปรับข้อมูลทุกอย่างให้เป็นดิจิทัลคงต้องใช้เวลาหลายสิบปีเลยครับ

9. Libraries aren?t just books
ห้องสมุดไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสืออย่างเดียว ? ในห้องสมุดไม่ได้มีสารสนเทศประเภทหนังสือเพียงอย่างเดียวนะครับ ความรู้ในการประกอบวิชาชีพ ทักษะในการทำงาน บริการตอบคำถาม เหล่านี้ถือว่าเป็นสารสนเทศที่มีคุณค่าอีกลักษณะหนึ่ง ลองนกภาพตามนะครับว่า ความรู้จากตำรา กับความรู้จากทักษะอย่างไหนน่าจะช่วยเพื่อนๆ ในการทำงานมากกว่ากัน เอาตัวอย่างใกล้ตัวดีกว่า เช่นหนังสือตำราเรียนวิชาบรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น กับบล็อกนี้แล้วกัน อิอิ

10. Mobile devices aren?t the end of books, or libraries
อุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ได้เป็นจุดที่สิ้นสุดของหนังสือ และห้องสมุด ? เนื่องจากอุปกรณ์พวกนี้ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน เช่น มีคือ kindle ของ amazon สามารถดู E-book ได้ก็จริง แต่อุปกรณ์เหล่านี้มีข้อจำกัด เช่น ราคา, เวลาในการใช้งาน, หนังสือที่ต้องโหลดเข้ามา, และอื่นๆ อีกมากมาย เห็นมั้ยหล่ะครับ อุปกรณ์พวกนี้ไม่สามารถแทนห้องสมุดได้ยังไง

11. The hype might really just be hype
การผสมผสานมันก็แค่ผสมผสาน ? มีการพูดถึงความเป็น paper book กับ E-book ว่าโลกนี้จะไม่มี paper book คงไม่ได้เพราะว่าคนยังเคยชินกับความรู้สึกในการใช้กระดาษมากกว่าการใช้ อุปกรณ์ตัวเล็กไว้สำหรับอ่าน ดังนั้นหากทั้งสองสามารถรวมกันได้ ก็ควรจะรวมกัน ไม่ใช่ว่าพอ E-book มาก็ยกเลิก paper book ทิ้ง มันก็อาจจะทำให้ดูไม่ดีก็ได

12. Library attendance isn?t falling ? it?s just more virtual now
การเข้าใช้ห้องสมุดไม่ได้มียอดที่ลดลง แต่มีการเข้าใช้ทางเว็บไซต์ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันการศึกษา

13. Like businesses, digital libraries still need human staffing
เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ ห้องสมุดดิจิทัลก็ยังคงต้องใช้คนในการจัดการและดำเนินงานอยู่ดี

14. We just can?t count on physical libraries disappearing
เราไม่สามารถนับจำนวนการสูญเสียของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดทางกายภาพได้ ? เพราะเนื่องจากการปรับเปลี่ยนจากสิ่งพิมพ์ทางกายภาพเป็นสานสนเทศดิจิทัลมมี ค่าเท่ากัน ดังนั้นการที่ห้องสมุดสูญเสียหนังสือที่เป็นเล่ม แต่ได้มาซึ่งสารสนเทศดิจิตอลจึงเป็นสิ่งที่แทนกันได้ และไม่ได้เรียกว่าสูญเสีย

15. Google Book Search ?don?t work?
แค่หัวข้อคงไม่ต้องบรรยายแล้วหล่ะครับ ตรงไปตรงมาดี เพราะว่า Google Book Search ทำงานไม่ดีพอ

16. Physical libraries can adapt to cultural change
ห้องสมุดที่เป็นกายภาพสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้

17. Physical libraries are adapting to cultural change
จากข้อ 16 เมื่อสามารถทำได้ ดังนั้นห้องสมุดทางกายภาพจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการตลอดเวลา เพื่อ ปรับตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรม

18. Eliminating libraries would cut short an important process of cultural evolution
การที่เรากำจัดห้องสมุดถือว่าเป็นการตัดกระบวนการทางสังคมออก ? ห้องสมุดถือว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมในการศึกษาและ วัฒนธรรมแห่งความรู้ ดังนั้นการตัดความสำคัญของห้องสมุดก็เท่ากับว่าเราตัดความสำคัญทางการศึกษา ออกด้วย

19. The internet isn?t DIY
อินเทอร์เน็ตไม่ใช่คุณเองก็ทำได้ ? ต้องยอมรับอย่างนึงว่าอินเทอร์เน็ตเกิดเพราะคุณ แต่เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเราไม่สามารถกำหนดหรือสั่งการมันได้ เช่น search engine ที่มันทำงานได้เพราะว่าโปรแกรมในบางครั้งการค้นหาที่มีความหมายแบบขั้นลึก โปรแกรมก็ไม่สามารถค้นหาให้ได้เหมือนกัน เอาตรงๆ ก็คือ เวลาค้นกับ search engine มันจะได้คำตอบตรงๆ และตายตัว อยากรู้อย่างอื่นเพิ่มเติมก็ต้องค้นใหม่ แต่ถ้าเป็นบรรณารักษ์ในการตอบคำถาม คำตอบที่ได้มาจะเน้นไปในแนวทางความรู้สึกซึ่งผู้ใช้สามารถค้นได้ง่ายกว่า

20. Wisdom of crowds is untrustworthy, because of the tipping point
ความรอบรู้ของอินเทอร์เน็ตยังไว้ใจไม่ได้ เนื่องจากการแพร่กระจายอาจจะนำมาซึ่งภาวะของข่าวลือ

21. Librarians are the irreplaceable counterparts to web moderators
บรรณารักษ์ไม่สามารถเปลี่ยนจากคนนั่ง counter เป็น web moderators ? ถึงแม้ว่าห้องสมุดจะกลายเป็นห้องสมุดดิจิทัลแต่ก็ต้องมีบรรณารักษ์คอยจัดการ content เนื้อหาอยู่ดี

22. Unlike moderators, librarians must straddle the line between libraries and the internet
บรรณารักษ์เป็นคนช่วยประสานช่องหว่างระหว่างห้องสมุดกับอินเทอร์เน็ต
ครับ

23. The internet is a mess
อินเทอร์เน็ตคือความยุ่งเหยิง ? ครับแน่นอนว่าอินเทอร์เน็ตคงไม่มานั่งจัดหมวดหมู่ หรือ หัวเรื่องเหมือนห้องสมุดหรอกครับ อิอิ

24. The internet is subject to manipulation
อินเทอร์เน็ตมีหัวเรื่องที่เกิดจากการผสมผสานหลากหลาย วิธีนึงใน web 2.0 ก็คือ การใช้ Tag clould เข้ามากำหนดความนิยมของหัวเรื่อง ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการ spam tag กันมากขึ้นจึงทำให้เนื้อหาที่ได้มาบางครั้งไม่ตรงกับจุดประสงค์ของเรา

25. Libraries? collections employ a well-formulated system of citation
ห้องสมุดมีระบบการจัดการที่เป็นระบบมากกว่าบนอินเทอร์เน็ต จาก 2 ข้อด้านบน คงพิสูจน์แล้ว

26. It can be hard to isolate concise information on the internet
มันยากที่จะแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกจากกันในอินเทอร์เน็ต สังเกตได้จากแต่ละเว็บไซต์จะมีการเชื่อมโยงจนบางครั้งข้อมูลในหลากหลายมาก เกินไป จนเราไม่สามารถที่จะพิจารณาว่าจะเชื่อข้อมูลจากที่ไหน

27. Libraries can preserve the book experience
ห้องสมุดสามารถอนุรักษ์หนังสือได้อย่างมีประสบการณ์ช่ำชอง อันนี้คงไม่มีใครเถียงนะครับ แต่อย่างที่เคยเขียนไปคือห้องสมุดอาจจะเปลี่ยนบทบาทเป็นพิพิธภัณฑ์หนังสือก็ ได้

28. Libraries are stable while the web is transient
ห้องสมุดเป็นอะไรที่เก็บข้อมูลได้มั่นคง แต่อินเทอร์เน็ตเก็บอะไรชั่วคราว ? เห็นด้วยนะครับเพราะว่าบางครั้งพอเราค้นอะไรในอินเทอร์เน็ตวันนี้อาจจะเจอ แต่พอวันรุ่งขึ้นผลการค้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง

29. Libraries can be surprisingly helpful for news collections and archives
ห้องสมุดสามารถสร้างประโยชน์ในการสร้าง collection ใหม่ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ? ความสามารถดังกล่าวมาจากห้องสมุดเฉพาะ เพราะว่าห้องสมุดเหล่านี้จะเน้น collection พิเศษที่เกี่ยวกับตัวเอง รวมถึงถ้า collection นั้นยังไม่มีห้องสมุดไหนเคยทำ องค์กรที่เกี่ยวข้องก็จะสนับสนุนในการจัดการห้องสมุดสาขาวิชานั้นๆ

30. Not everyone has access to the internet
ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น การติดต่อในอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อ, จุดกระจายสัญญาณเครือข่าย, สถานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต

31. Not everyone can afford books
ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีหนังสือ ? อธิบายง่ายๆ ว่า บางคนก็ไม่สามารถเป็นเจ้าของหนังสือได้ ดังนั้นแล้วคนเหล่านั้นจะอ่านความรู้ต่างๆ ได้อย่างไร ห้องสมุดจึงเป็นตัวช่วยให้คนสามารถเป็นเจ้าของหนงสือได้ร่วมกัน

32. Libraries are a stopgap to anti-intellectualism
ห้องสมุดช่วยหยุดช่องว่างของความไม่มีความรู้ ? พูดง่ายๆ ว่าห้องสมุดช่วยสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า

33. Old books are valuable
ในยุคที่ใกล้เข้าสู่โลกดิจิทัล เกิดไอเดียใหม่สำหรับห้องสมุด นั่นก็คือ พิพิธภัณฑ์หนังสือ(book museum) เพราะว่าหนังสือรุ่นใหม่ๆ จะอยู่ในรูปดิจิทัล ส่วนหนังสือเก่าที่ทรงคุณค่าก็เก็บไว้ใส่พิพิธภัณฑ์แทน

เป็นอย่างไรบ้างครับ จบตอนกันสักที

จุดประสงค์ที่เอามาให้อ่านไม่ใช่ว่าอาชีพอย่างเรา จะอยู่อย่างเป็นนิรันดร์นะครับ
แต่ถ้าเพื่อนๆ ได้อ่านกันจริงๆ บรรณารักษ์จะเปลี่ยนบทบาทการทำงาน
รวมถึงห้องสมุดก็เปลี่ยนบทบาทและรูปแบบในการให้บริการ
ที่เด่นๆ ก็เห็นจะเป็น จากห้องสมุดทางกายภาพจะกลายเป็นห้องสมุดเสมือน
รวมถึงสื่อต่างๆ จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแบบดิจิทัลมากขึ้นนะครับ