ChatGPT แนะนำให้ผมเขียนเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์แบบนี้

ChatGPT แนะนำให้ผมเขียนเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์แบบนี้

ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า “เรื่องที่เขียนในวันนี้ ไม่ได้มาจากการหมดไฟ หรือ หมดไอเดียที่จะเขียนเรื่องราวของห้องสมุดหรือบรรณารักษ์นะครับ” แต่มาจากการอยากลองสิ่งใหม่ๆ มากกว่า

หากกล่าวถึง ChatGPT ผมคงไม่ต้องแนะนำอะไรมากมายแล้ว ณ ตอนนี้ เพราะเชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนก็คงรู้จัก และหลายคนก็คงใช้ในชีวิตประจำวันเช่นกัน

Read more
ติดตาม Trend ในวงการห้องสมุดแบบง่ายๆ

ติดตาม Trend ในวงการห้องสมุดแบบง่ายๆ

เปิดเรื่องวันนี้ผมขอนำเสนอเกี่ยวกับ การติดตามกระแสคำสืบค้น และ Trend ในวงการวิชาชีพแบบง่ายๆ และใช้เครื่องมือที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ให้เพื่อนๆ ทราบและลองใช้กันดู ไปดูเรื่องที่ผมเขียนเป็นตัวอย่างกันได้เลยครับ

กระแสคำสืบค้น “ห้องสมุด” ในวันที่ 17 สิงหาคม 2562 เวลา 19:37 น.

Read more
แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2018

แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2018

ในปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปบรรยายให้ห้องสมุดหลายแห่งฟังเกี่ยวกับแนวโน้มที่น่าสนใจทางเทคโนโลยี ซึ่งบ่อยครั้งผมจะพูดถึง Gartner เป็นหลัก แต่วันนี้ที่ผมจะเขียนให้เพื่อนๆ อ่าน ผมขอหยิบแนวโน้มที่น่าสนใจทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดมาเล่าบ้าง ซึ่งคนที่ผมชอบกล่าวถึงบ่อยๆ คงหนีไม่พ้น David Lee King (บรรณารักษ์ด้านไอที Idol ของผมเอง) ซึ่งเพื่อนๆ สามารถตามอ่านบล็อกของเขาได้ที่ https://www.davidleeking.com/

Read more

Trend ด้านเทคโนโลยีโลก ถึง เทคโนโลยีห้องสมุด ในปี 2016

Trend ด้านเทคโนโลยีโลก ถึง เทคโนโลยีห้องสมุด ในปี 2016

เมื่อวานนี้ผมได้เขียนเรื่อง “แนวโน้มด้านเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุดในปี 2559” โดยผมได้อ้างอิงเรื่องจาก David Lee King วันนี้ผมจะนำมาเปรียบเทียบกับ “แนวโน้มด้านเทคโนโลยีปี 2016 ของ Gartner

Gartner เป็นบริษัทวิจัยและให้คำแนะนำด้าน IT ในสหรัฐฯ ซึ่งได้เผยแพร่บทความเรื่องแนวโน้มด้านเทคโนโลยีทุกปี โดยมักจะอธิบายออกมาในรูปแบบของ Hype Cycle ตัวอย่างดังภาพด้านล่างเป็นของปี 2015 Read more

แนวโน้มด้านเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุดในปี 2559

แนวโน้มด้านเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุดในปี 2559

ปกติเวลาผมบรรยายเรื่องเทคโนโลยีของห้องสมุด ผมจะต้องเล่าเรื่อง TECHNOLOGY Trend ในวงการห้องสมุดให้เพื่อนๆ ฟังทุกครั้ง วันนี้ผมเลยขอนำมาเขียนใน Blog Libraryhub ให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้ฟังบรรยายได้อ่านกัน

trend tech library

เบื้องต้นทุกครั้งผมจะอ้างอิงจาก Slide ของคุณ David Lee King
(Digital Services Director at Topeka & Shawnee County Public Library) Read more

QR code กับงานห้องสมุดยุคใหม่

1 ใน ตัวอย่างการนำ Mobile Technology มาใช้ในห้องสมุด บรรณารักษ์ในบ้านเราหลายคนรู้จักดี คือ QR code หรือ โค้ตแบบ 2 มิติ

qr code in mobile technology for library

ก่อนอื่นต้องแนะนำให้เพื่อนๆ บางส่วนรู้จัก เจ้า QR code กันก่อน
QR code ย่อมาจาก Quick Response หรือการตอบสนองแบบรวดเร็ว เป็น code แบบ 2 มิติ ซึ่งอ่านได้จากเครื่องมือหรือ app ที่อ่าน QR code ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet

ข้อมูลใน QR code จะเก็บอะไรได้บ้าง
– ตัวอักษร
– ตัวเลข

QR code เป็นที่นิยมมากกว่า Barcode แบบปกติ เนื่องจากจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า และขนาดที่ไม่ใหญ่มาก นั่นเอง เช่น

“1234567890123456789012345678901234567890”

Barcode

12345678901234567890_mv0nis

QR code

12345678901234567890_mv0njg

เป็นยังไงกันบ้างครับ ดูแตกต่างอย่างสิ้นเชิงเลยหรือเปล่า

เอาหล่ะครับ รู้ที่มาแล้ว ต่อไปก็ต้องรู้ว่านำมาใช้ในห้องสมุดได้อย่างไร

– ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ห้องสมุดได้ง่าย
– จะอ่าน Review ของหนังสือ หรือ ดาวน์ดหลดตัวอย่างหนังสือไปอ่านก็ทำได้
– แอด Line มาคุย หรือ ปรึกษา หรือ บริการถามตอบกับบรรณารักษ์ก็ได้
– login เข้าระบบห้องสมุดก็สามารถทำได้
– ใช้แทนบัตรสมาชิกห้องสมุดก็ทำได้
– Add fanpage ห้องสมุดก็ดีนะ

ตัวอย่างมากมายอ่านต่อที่ http://www.libsuccess.org/index.php?title=QR_Codes

ตัวอย่างการใช้ QRcode แบบแจ่มๆ จากห้องสมุดรอบโลก
– โครงการห้องสมุดเสมือน ณ สถานีรถไฟ เมือง Philadelphia

โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.
โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.

ชั้นหนังสือเสมือน ไม่ต้องเปลืองเนื้องที่ แค่ติดไว้กับผนัง ผู้ใช้ก็ดาวน์โหลดหนังสือไปอ่านได้แล้ว

e-books-top-100-4x1-reverse-sort-791x1024

 

pbookshelf

 

จริงๆ ยังมีตัวอย่างอีกเพียบเลยนะครับ แล้วถ้าผมเจอไอเดียแจ่มๆ แบบนี้อีกจะนำมาแชร์ให้อ่านต่อนะครับ

เพื่อนๆ สามารถลองสร้าง barcode หรือ qr code ได้ที่ http://www.barcode-generator.org/

ลองเข้าไปทำดูนะครับ มีรูปแบบให้เลือกเยอะเลยแหละ

ทำไมห้องสมุดและบรรณารักษ์ต้องพัฒนา Mobile Technology

หลังจากวันก่อนที่ผมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ เรื่อง Library and Mobile Technology ก็มีเพื่อนหลายคนสงสัยและถามผมว่า Mobile Technology มันมีประโยชน์ยังไง และห้องสมุดสามารถนำ Mobile device มาให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างไร

วันนี้ผมจะมาตอบข้อสงสัยดังกล่าว พร้อมอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับ Mobile Technology เพิ่มเติม

ก่อนอื่นผมต้องขอยกข้อมูลเรื่องแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาเขียนก่อน คือ

ข้อมูลการใช้ Mobile Device ในประเทศไทย

DM-Export-WSources

เห็นมั้ยครับว่ามีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมาก อีกไม่นานที่เขาว่ากันว่าจำนวน Mobile Device จะมีจำนวนมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมกับ notebook ซะอีก ก็คงต้องรอดูไปอ่ะครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Mobile Technology ในห้องสมุด ปี 2011-2012

7_mobile

– มีเว็บไซต์ห้องสมุดที่พัฒนาให้รองรับการอ่านบน mobile device 14%
– ห้องสมุดนำ QR code มาใช้ในห้องสมุด 12%
– ห้องสมุดมีการพัฒนา application ในการให้บริการ 7%

นอกจากการให้บริการดังกล่าวแล้วจริงๆ มีการสำรวจถึงข้อมูลการใช้ Mobile Technology สำหรับห้องสมุดในรูปแบบของ Application อีกว่า มีบริการต่างๆ มากมาย อาทิ

ljx120201webThomas1

– ค้นหาข้อมูลหนังสือในห้องสมุด (Search Catalog)
– ต่ออายุการยืมหนังสือผ่าน Application
– จองหนังสือผ่านระบบออนไลน์
– ค้นหาหนังสือใหม่ หรือ ชมการแนะนำหนังสือจากเหล่าบรรณารักษ์
– ค้นหาข้อมูลห้องสมุด เช่น ที่ตั้ง แผนที่ เวลาเปิดปิด
– อ่าน review หนังสือต่างๆ ในห้องสมุด
– ดูประวัติการยืมคืน หรือ การอ่านหนังสือย้อนหลังได้
– ยืมหนังสือเพียงแค่สแกนบาร์โค้ตลงใน application
– เข้าถึงฐานข้อมูลของห้องสมุด
– ดาวน์โหลด Ebook ไปอ่าน

เห็นมั้ยครับว่ามีประโยชน์มากมาย ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงประโยชน์ของผู้ใช้บริการนะครับ
ประโยชน์ในมุมมองของบรรณารักษ์และผู้ให้บริการก็ยังมีอีกเพียบเลยเช่นกัน
ไว้ผมจะกล่าวในครั้งหน้านะครับ

เอาเป็นว่ายังไๆ ผมว่า Mobile Technology เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้น
ถ้าเพื่อนๆ รู้ก่อน และปรับตัวให้เข้ากับมันได้เร็ว ห้องสมุดของเพื่อนๆ ก็ได้เปรียบครับ….

งานประชุมวิชาการ เรื่อง Library and Mobile Technology

ต้องยอมรับจริงๆ ครับ ว่ากระแสทางด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์แบบพกพา (Mobile Device) ไม่ว่าจะเป็น Tablet หรือ Smartphone กำลังมาแรงจริงๆ เกือบทุกวงการก็พยายามปรับตัวให้เข้าสู่โลกยุคสื่อสารไร้พรมแดน รวมไปถึงวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ของเราด้วย

TLA-PosterOnweb

ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย จึงได้จัดงานประชุมสามัญและประชุมวิชาการ ประจำปี 2556 เรื่อง Library and Mobile Technology

ลองอ่านรายละเอียดกันต่อได้เลยครับ

รายละเอียดการประชุมวิชาการนี้เบื้องต้น
ชื่องาน : Library and Mobile Technology
วันที่จัดงาน : 8 พฤศจิกายน 2556
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้จัดงาน : ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่า อัตราการเติบโตของอุปกรณ์แบบพกพาในประเทศไทยและทั่วโลกสูงขึ้นมาก ผู้ใช้บริการของเราสามารถเข้าถึงบริการห้องสมุดหรืออ่านหนังสือได้จากอุปกรณ์ดังกล่าว Mobile Technology มีประโยชน์ต่อวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย

หัวข้อที่เพื่อนๆ จะได้ฟังมีดังนี้
– Happy Library & Happy Mobile
– The 21 Century Library Website
– Library and Mobile Technology : Step by step
– Smart Phone Smart Library

แค่เห็นหัวข้อก็รู้สึกได้ว่า น่าสนุกจริงๆ เรื่องต่างๆ เหล่านี้น่าสนใจมากๆ

สำหรับการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย
สมาชิกสมาคมห้องสมุด 600 บาท และบุคคลทั่วไป 800 บาท

รายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อได้ที่
http://www.car.chula.ac.th/downloader2/c81787f3c490e1cb86029fd87e0c4d36/