เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่ ณ ห้องสมุดร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ผมและหัวหน้าของผมได้มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อบรรยายให้บรรณารักษ์ที่ทำงานอยู่ในห้องสมุดจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งในช่วงเช้าเป็นหัวข้อ “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่” ซึ่งบรรยายโดยหัวหน้าของผม และตอนบ่ายเป็นหัวข้อ “สื่อสังคมออนไลน์กับการใช้งานในห้องสมุดประชาชน” โดยผมเอง

ซึ่งในขณะที่หัวหน้าของผมกำลังบรรยายในเรื่อง “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่” ผมเองก็ได้ทำการถ่ายทอดสดการบรรยายในหัวข้อนี้ด้วย เผื่อที่ว่าเพื่อนๆ ที่ไม่มีโอกาสได้มาฟังก็สามารถอ่านการรายงานสดของผมได้

การรายงานสดของผมครั้งนี้ ผมใช้เครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ที่เรียกว่า Twitter
ซึ่งง่ายต่อการรายงานสดๆ มาก เพราะพิมพ์ข้อความละครั้งไม่เกิน 140 ตัวอักษรเท่านั้น
การดำเนินการรายงานสดของผมใช้ชื่อว่า “Live Tweet” และใช้คำหลักว่า “#Libraryatroiet

ลองอ่านดูแล้วกันนะครับว่า ผมรายงานเป็นอย่างไรบ้าง
[ผมจะเรียงจากข้อความแรกไปจนถึงข้อความสุดท้ายนะครับ]

Live Tweet : “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่” #Libraryatroiet

– หัวข้อในช่วงเช้านี้ “เส้นทางสู่บรรณารักษ์ยุคใหม่ & เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่” #LibraryatRoiet

– วิทยากรช่วงเช้านี้ หัวหน้าผมเอง คุณนพดล วีรกิตติ #LibraryatRoiet

– เมื่อกี้วิทยากรพูดถึงแนวทางในการพัฒนาห้องสมุดในต่างประเทศ โดยเฉพาะในอเมริกา #LibraryatRoiet

– การจัดชั้นวารสารที่น่าสนใจอยากให้ห้องสมุดดูร้านหนังสือเป็นตัวอย่าง #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดหลายแห่งจัดนิตยสารโดยการเรียงตามตัวอักษร ดังนั้นผู้ใช้ที่ต้องการหานิตยสารที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันลำบากในการเดินมากๆ #LibraryatRoiet

– ถ้าจัดชั้นนิตยสารตามหมวดหมู่ หรือ เรียงนิตยสารที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ผู้ใช้สบาย บรรณารักษ์ก็ทำงานง่าย #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังแนะนำเทคนิคเรื่องการนำ mindmap มาใช้ในการหาความคิดสร้างสรรค์ในห้องสมุด #LibraryatRoiet

– บรรณารักษ์มีเสื้อกันเปื้อยด้วย เท่ห์ป่ะหล่ะ #LibraryatRoiet

– Library2.0 แบบง่ายๆ ไม่ต้องใช้เทคโนโลยี คือ สมุดเซ้นเยี่ยมชมห้องสมุด และ สมุดแสดงความคิดเห็นในห้องสมุด #LibraryatRoiet

– สมุดเซ็นเยี่ยม หรือ สมุดแสดงความคิดเห็น ที่ดี คือ สมุดวาดเขียน (สมุดที่ไม่มีเส้นบรรทัด) จะดีมากๆ #LibraryatRoiet

– จะทำให้ห้องสมุดมีชีวิต บรรณารักษ์ต้องมีชีวิตชีวาก่อน ตื่นเช้าขึ้นมาแล้วรู้สึกอยากทำงาน #LibraryatRoiet

– อาชีพการจัดการความรู้เป็นอาชีพที่ต้องการมากในต่างประเทศ #LibraryatRoiet

– สังคมต้องช่วยให้คนมีความรู้ที่ดี เพื่อให้คนมีโอกาสในช่วง AEC ห้องสมุดคือหน่วยงานที่ต้องสร้างองค์ความรู้นั้น #LibraryatRoiet

– ในประเทศอเมริกา obama แต่งตั้งให้บรรณารักษ์ดูแลนโยบายการจัดการความรู้ของประเทศ ถ้าเมืองไทยหล่ะ ใครจะได้รับตำแหน่งนี้ #LibraryatRoiet

– ที่อุบลราชธานี ราชภัฎอุบลเองยังต้องมาดูงานที่ห้องสมุดประชาชน #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังยกตัวอย่างห้องสมุดเทศบาลระยอง ที่เทศบาลกู้เงินจาก world bank เพื่อพัฒนาห้องสมุด #LibraryatRoiet

– Seattle ประชากรมีมากกว่า 168 เชื้อชาติ ห้องสมุดประชาชนจึงจัดคอร์สอบรมภาษาอังกฤษให้ฟรี #LibraryatRoiet

– ถ้าคนในพื้นที่มีความรู้มากขึ้น ก็มีโอกาสได้งานมากขึ้น ก็จะมีรายได้มากขึ้น ผลสุดท้ายท้องถิ่นก็เก็บภาษีได้มากขึ้น นี่แหละกลไล #LibraryatRoiet

– เหตุผลง่ายๆ ที่ท้องถิ่นต้องลงทุนพัฒนาห้องสมุดในท้องที่ของตัวเอง #LibraryatRoiet

– หนังสือดีๆ ควรมีในห้องสมุด #LibraryatRoiet

– ทำไมห้องสมุดถึงจะมีการ์ตูนไม่ได้หล่ะ การ์ตูนเป็นตัวเชื่อมระหว่างเกาหลีและญี่ปุ่น #LibraryatRoiet

– รักการอ่านต้องเริ่มจากความสนใจ ไม่ใช่ถูกบังคับ #LibraryatRoiet

– คนที่ทำงานด้านไอทีอยากได้องค์ความรู้ด้านไอทีมาก แต่หนังสือก็ราคาแพง ห้องสมุดทำไมถึงไม่จัดหาให้คนกลุ่มนี้บ้างหล่ะ #LibraryatRoiet

– การจะเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด ต้องมีกรอบการเลือกที่ชัดเจน ไม่งั้นก็ได้หนังสือมาแบบไม่มีแก่นสาร #LibraryatRoiet

– การจะเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดได้ เราต้องรู้จักพื้นที่ของเราก่อนว่าผู้ใช้บริการต้องการอะไร และเรามีอะไร #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดวัสดุก็เป็นอีกตัวอย่างนึงที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้ไม่ได้มาจากแค่การอ่านเท่านั้น #LibraryatRoiet

– ตัวอย่างการเรียนรู้ด้วยองค์ความรู้ท้องถิ่น กรณี “ผ้าย้อมมะเกลือป้องกันแสงยูวี” เป็นเรื่องที่ห้องสมุดก็นำมาเล่าได้ #LibraryatRoiet

– ในท้องถิ่นจะมีองค์ความรู้ที่น่าสนใจอีกเพียบ หน้าที่นึงของห้องสมุด คือ การดึงองค์ความรู้เหล่านี้มาเล่าให้คนอื่นฟัง #LibraryatRoiet

– นึกอะไรไม่ออกให้เดินมาที่ห้องสมุด ห้องสมุดอยู่กับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ได้ #LibraryatRoiet

– พักเบรค 15 นาทีครับ เดี๋ยวกลับมารายงานต่อครับ #LibraryatRoiet

– อธิบายในช่วงเบรคนิดนึง #LibraryatRoiet คือ การรายงาน live tweet การอบรมบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรม 26 คน

– กลับมาจากเบรคแล้ว เริ่มด้วยของเด่นประจำจังหวัด #LibraryatRoiet

– ร้อยเอ็ดเด่นเรื่องข้าว (ข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดอยู่ที่นี่) #LibraryatRoiet

– ช่วงนี้เน้นเรื่องการเอาองค์ความรู้ท้องถิ่นมานำเสนอในห้องสมุด ตัวอย่างกรณีศึกษาคือ “ตลาดนัดฮักสุขภาพ” ที่ห้องสมุดอุบลราชธานี #LibraryatRoiet

– คนรุ่นใหม่เรียนจบมาทำฟาร์ม ทำสวนกันเยอะเหมือนกันนะ “คนที่ต้องการใช้ความรู้เพื่อทำการเกษตร” ห้องสมุดจะทำอย่างไร #LibraryatRoiet

– การสังเกตความสนใจของผู้ใช้บริการแบบง่ายๆ คือ หยิบหนังสือมาดูด้านหลังตรงที่ประทับตรากำหนดส่ง ว่ามีเยอะแค่ไหน #LibraryatRoiet

– “คุณภาพชีวิต” เป็นประเด็นที่มีคนให้ความสนใจมาก #LibraryatRoiet

– การ survey แบบง่ายๆ และไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายเลย คือ การพูดคุยกับผู้ใช้บริการมากๆ #LibraryatRoiet

– การหาความรู้ของคนในต่างจังหวัดมักจะมาจากการพูดคุย ถามกันเอง ไม่ใช่การมาอ่านหนังสือในห้องสมุด ดังนั้นห้องสมุดควรจะจัดเวทีให้ #LibraryatRoiet

– คนขายของไม่ได้ เพราะต้นทุนสูง ของจีนก็เยอะ แต่ถ้าเราหาโอกาสทางธุรกิจเจอก็ไม่ยากนะ ห้องสมุดต้องช่วยหาประเด็นเหล่านั้น #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดไปศึกษาข้อมูลงานวิจัยผู้สูงอายุพบว่า “Lifestyle ของผู้สูงอายุในยุคนี้ต่างจากยุคก่อนหน้านี้” #LibraryatRoiet

– ผู้สูงอายุถามว่า “เวลาไปซื้อของตามศูนย์การค้าทำไมต้องให้พวกเขาเดินหลายๆ ชั้น ทีของเด็กยังมีเป็นมุมช้อปปิ้งของเด็กเลย” #LibraryatRoiet

– การจัดนิทรรศการของห้องสมุดแบบเดิมๆ คือ การจัดบอร์ด ไม่ว่าจะงานไหนก็เป็นการติดบอร์ด ไม่คิดว่าผู้ใช้บริการเบื่อบ้างหรอ #LibraryatRoiet

– คนพูดเรื่อง AEC กันเยอะ แต่ก่อนที่ห้องสมุดจะไปถึงขั้นนั้นได้ ห้องสมุดต้องให้ความสำคัญกับสารสนเทศท้องถิ่นก่อน #LibraryatRoiet

– คนอุบลราชธานีบางคนยังไม่รู้เลยว่าทำไมต้องมีคำว่า “ราชธานี” สารสนเทศท้องถิ่นสำคัญมากนะ #LibraryatRoiet

– Creative Economy = ความรู้ท้องถิ่นต่อยอดกับสินค้าและบริการ ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก #LibraryatRoiet

– อาจารย์ปัญญาเล่าเรื่องเมืองอุบลราชธานีได้สนุกมาก เราก็เชิญเขามาเล่าในห้องสมุดให้ผู้ใช้บริการฟังสิ #LibraryatRoiet

– จังหวัดมอบภาระในการเล่าเรื่องจังหวัดให้ห้องสมุดเป็นคนทำ #LibraryatRoiet

– การตั้งชื่อของกิจกรรมก็มีส่วนในการเรียกคนเข้าห้องสมุดเช่นกัน #LibraryatRoiet

– ขนาดภาพยนตร์ต่างๆ ยังมีการตั้งชื่อให้น่าสนใจเลย ดังนั้นห้องสมุดก็ควรตั้งชื่อกิจกรรมต่างๆ ให้โดนใจบ้าง #LibraryatRoiet

– ตัวอย่างชื่อกิจกรรมแบบโดนๆ “จัดร้านให้ได้ล้าน, นิทรรศการเฮ็ดจังสิเด้อจังสิมีโอกาส” ภาษาถิ่นก็เป็นอีกไอเดียนึง #LibraryatRoiet

– มีโอกาสและช่องทางมากมายในการพัฒนาห้องสมุด #LibraryatRoiet

– บรรณารักษ์ในอเมริกาใช้วิธีการสมัครเข้าร่วมกลุ่มชุมชนต่างๆ ในเมือง เช่น กลุ่มไพธอน เพื่อให้กลุ่มต่างๆ มาใช้พื้นที่ในห้องสมุด #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีเป็นสถานที่ที่มีคนมาขอใช้ถ่ายทำรายการมากมาย นี่คืออีกวิธีหนึ่งในการโปรโมทห้องสมุด #LibraryatRoiet

– เรื่องที่คิดไม่ถึง “มีครูมาขอเช่าพื้นที่ในห้องสมุดสอนหนังสือเด็กฟรี” สอนฟรีแถมให้เงินห้องสมุด มีแบบนี้ด้วย ห้องสมุดอุบลฯ #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังเปิด stop motion เพื่อการแนะนำหนังสือในห้องสมุด ทำง่าย ใช้ได้จริง #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังเล่าต่อถึงเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานอื่นๆ กับห้องสมุด ห้องสมุดไม่ต้องทำงานคนเดียวแล้วนะ #LibraryatRoiet

– หลายๆ คนบอกว่าห้องสมุดจะพัฒนาได้ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ซึ่งก็จริงส่วนนึง แต่ส่วนนึงผู้ปฏิบัติต้องพิสูจน์ให้ผู้บริหารเห็น #LibraryatRoiet

– วิทยากรกำลังเกริ่นถึงเรื่องสื่อสังคมออนไลน์กับงานห้องสมุดซึ่ง ช่วงบ่ายผมจะเป็นคนบรรยายเอง #LibraryatRoiet

– ช่วงบ่ายอาจจะไม่มีการรายงานสดๆ แบบนี้ แต่ผมสัญญาว่าจะเอาเรื่องที่ผมบรรยายมาโพสในบล็อกให้อ่านนะครับ #LibraryatRoiet

– แนะนำหลักสูตรการอบรม 10 ด้าน เพื่อการพัฒนาบรรณารักษ์ “ห้องสมุดมีชีวิตเมื่อคนทำงานมีชีวิตชีวา” #LibraryatRoiet

– การอบรม คือ การติดอาวุธทางปัญญาให้คนทำงาน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุข #LibraryatRoiet

– ถ้าเรากลัวความผิดพลาด เราก็จะไม่มีแรงในการคิดสร้างสรรค์ #LibraryatRoiet

– การเรียนเรื่อง “การค้นหา” มันมีวิธีมากมาย #LibraryatRoiet

– วิธีการเขียนบล็อกที่ง่ายที่สุด คือ อย่าไปคิดว่าจะเขียนเพื่อเอารางวัลซีไรต์ #LibraryatRoiet

– Unconference ในวงการห้องสมุดก็น่าสนใจนะ #LibraryatRoiet

– ตัวอย่างงาน unconference “พรุ่งนี้บ่ายโมงไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนในโลกไปถ่ายรูปกัน” #photowalk #LibraryatRoiet

– ห้องสมุดสมัยใหม่ ต้องเปลี่ยนปัญหาของผู้ใช้บริการ มาเป็น ปัญหาของเรา เช่น ผู้ใช้ไม่ได้เอาบัตรมา เราก็ต้องให้ยืมได้ #LibraryatRoiet

– ผู้บริหารเตือนพนักงาน “คุณจะทะเลาะกับลูกค้าเพราะเงิน 50 บาทอย่างนั้นหรือ” เพราะหลังจากนั้นลูกค้าจะไม่กลับมาหาเราอีก #LibraryatRoiet #Like

– ความสุขของพวกเราคือ การเห็นผู้ใช้บริการมีความสุขกับการใช้ห้องสมุดที่พวกเราทำ #LibraryatRoiet

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นการสรุปประเด็นและเก็บตกไอเดียจากการบรรยายเรื่อง “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่” โดยคุณนพดล วีรกิตติ นะครับ ส่วนบทสรุปในช่วงบ่าย เนื่องจากผมเป็นคนบรรยายเอง จึงไม่มีการทำ Live Tweet นะครับ แต่เดี๋ยวผมจะสรุปลงบล็อกให้อ่านในตอนหน้าแล้วกัน

10 แนวโน้มด้าน Social Media สำหรับวงการห้องสมุด ในปี 2012

วันนี้เข้าไปอ่านบล็อก  socialnetworkinglibrarian แล้วเจอบล็อกเรื่องนึงที่น่าสนใจมาก เป็นเรื่องคำทำนายเกี่ยวกับ Social Media ที่จะเกิดในวงการห้องสมุดปี 2012

เรื่องของ Social Media ไม่ใช่เรื่องแฟชั่นอีกต่อไปแล้วนะครับ
เพราะตอนนี้ไม่ว่าจะวงการไหนๆ ก็ให้ความสำคัญกับมัน และใช้กันอย่างแพร่หลาย
ไม่พ้นวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์เช่นกัน เราจะต้องทำความรู้จักกับมันและใช้มันให้เป็น

ต้นฉบับเรื่องนี้ คือ Top 10 Social Media and Libraries Predictions for 2012

ผมขอแปลแบบสรุปๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วกันนะครับ

10 แนวโน้มด้าน Social Media สำหรับวงการห้องสมุด ในปี 2012
1. จำนวนของเว็บไซต์ห้องสมุดที่ออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์สื่อสารไร้สาย เช่น โทรศัพท์มือถือ tablet ฯลฯ
2. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้ Youtube เพื่อใช้วีดีโอทำการตลาดให้ห้องสมุดและเพื่อการศึกษา
3. ห้องสมุดจะสื่อ Social media มากกว่าการเป็นแค่สื่อประชาสัมพันธ์
4. Google+ จะได้รับความนิยมมากขึ้นและห้องสมุดหลายๆ แห่งจะเข้าไปสร้าง page บน Google+ ด้วย นอกเหนือจากการสร้าง page บน facebook
5. ห้องสมุดจำนวนมากจะค้นหาวิธีเพื่อสร้าง app บนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ (Mobile app)
6. ผู้ให้บริการด้านฐานข้อมูลจะสร้าง app บนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ (Mobile app) และห้องสมุดก็นำ app เหล่านี้ไปให้ผู้ใช้บริการใช้ต่อไป
7. เว็บไซต์วิจารณ์หนังสือ (Review book) เช่น Goodreads และ librarything จะถูกใช้จากวงการห้องสมุดมากขึ้น
8. ห้องสมุดจะนำโปรแกรมจำพวก Opensource มาใช้มากขึ้น
9. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้เกมส์ออนไลน์เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำการตลาดและการศึกษา
10. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้ Google app มากกว่าแค่การใช้บริการอีเมล์

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับแนวโน้มในปีนี้

จากข้อมูลข้างต้นเพื่อนๆ จะสังเกตว่าเรื่องของ Facebook เริ่มไม่ค่อยมีการพูดถึงแล้ว เนื่องจากมันเข้ามาอยู่กับวงการห้องสมุดในต่างประเทศนานพอสมควรแล้ว ปีนี้เรื่อง google+ กำลังมาจึงต้องจับตาดูเป็นพิเศษหน่อย และเรื่อง ebook เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าไม่นิยม แต่มันได้รับความนิยมจนคงที่แล้ว ตอนนี้เรื่อง Review book กำลังน่าสนใจเช่นกัน

เอาเป็นว่าปี 2012 จะเป็นอย่างไร เพื่อนๆ ต้องจับตาดูกันต่อไปนะ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ อยากอ่านเรื่องเต็มๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่
http://socialnetworkinglibrarian.com/2011/12/29/top-10-social-media-and-libraries-predictions-for-2012/

ห้องสมุดจำเป็นต้องใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หรือไม่

นานแล้วที่ไม่ได้ตั้งแบบสอบถาม วันนี้พอดีได้คุยกับเพื่อนบรรณารักษ์คนนึงเลยได้ไอเดียแบบสอบถาม
ซึ่งแบบสอบถามนี้มาจากการสนทนาระหว่างผมกับเพื่อนเรื่อง “ห้องสมุดต้องมีสื่อสังคมออนไลน์ด้วยหรือ?”

เอาเป็นว่าก่อนอ่านเรื่องนี้ ผมต้องขอถามเพื่อนๆ ก่อน ว่า “ห้องสมุดต้องมีสื่อสังคมออนไลน์ด้วยหรือ?” (สำรวจแบบจริงจังนะอย่าตอบเล่นๆ)

[poll id=”20″]

เอาหล่ะเมื่อตอบเสร็จแล้วมาอ่านเรื่องการสนทนาของผมกับเพื่อนกันต่อ เรื่องมันมีอยู่ว่า…

เพื่อนผมจุดประเด็นเรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์
ซึ่งเพื่อนผมคนนี้มองว่าห้องสมุดหลายแห่งมีการใช้งานของสื่อสังคมออนไลน์แบบแปลกๆ
เช่น มีการ invite เกมส์ออนไลน์, มีการแชร์ของ (เล่นเกมส์), ไม่ค่อยมีการอัพเดทข้อมูลสถานะ…. (ดูรูป)

ซึ่งเพื่อนผมก็เลยถามว่าแล้วตกลงห้องสมุดมีเครื่องมือแบบนี้ไว้เพื่ออะไร

อืม….บางประเด็นผมก็ไม่สามารถแก้ให้เพื่อนๆ ได้ เพราะหลักฐานมันก็ปรากฎจริงๆ
แต่ผมก็บอกได้ว่าก็ยังมีห้องสมุดอีกไม่น้อยนะที่นำมาใช้ประโยชน์จริงๆ
เช่น ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี (www.facebook.com/kindaiproject)

จากประเด็นนี้ผมกับเพื่อนจึงมานั่งระดมหัวกันว่า ตกลงแล้ว “ห้องสมุดจำเป็นต้องมีสื่อสังคมออนไลน์หรือปล่าว”
คำถามตอบสำหรับสังคมปัจจุบัน คือ “ควรมี – ต้องมี” ห้ามตอบว่า “ไม่ต้องมีก็ได้”

ทำไมหล่ะ…..ลองนั่งคิดดูนะครับว่าถ้าเรามีกิจกรรมดีๆ ที่จัดในห้องสมุดเราจะประชาสัมพันธ์อย่างไร
– ทำป้ายแล้วมาติดบอร์ดในห้องสมุด (ผู้ใช้บริการอ่านบ้างหรือปล่าว)
– ส่งอีเมล์ไปหาผู้ใช้บริการและแจ้งข่าวสาร (ผู้ใช้บริการเปิดบ้างหรือปล่าว / ไม่แน่อาจมองห้องสมุดเป็นสแปม)
– เอาขึ้นเว็บห้องสมุดเลย (แน่ใจว่าผู้ใช้บริการจะเปิดเว็บไซต์ห้องสมุด)

ปัญหาต่างๆ มากมายยังมีอีกเยอะครับ

อ่ะงั้นเราทำตัวให้เป็นผู้ใช้บริการบ้าง หลักๆ แต่ละวันผู้ใช้บริการทำอะไรบ้าง
…กิจกรรมหลักๆ คือเข้าอินเทอร์เน็ต
แต่อย่าเพิ่งดีใจครับ เขาไม่ได้เข้าเว็บห้องสมุดหรอก
เว็บไซต์ที่ผู้ใช้บริการปัจจุบันเข้าหลักๆ คือ www.facebook.com นั่นแหละครับ

อ่ะกลับมาที่คำถามดังนั้นถ้าเราทำให้ผู้ใช้บริการเป็นเพื่อนกับเราใน facebook แล้ว
นั่นก็หมายความว่าเรามีโอกาสที่จะประชาสัมพันธ์สิ่งดีๆ หนังสือดีๆ กิจกรรมดีๆ ให้ผู้ใช้บริการได้
แล้ว

แล้วมองในอีกมุมนะ ว่าถ้าหาก facebook ของห้องสมุดเต็มไปด้วยเกมส์ผู้ใช้จะคิดว่าอย่างไร…

สื่อสังคมออนไลน์มีหลายตัวนะที่อยากแนะนำ facebook, twitter, youtube, slideshare, flickr….. เอาเป็นว่าใช้ได้ทั้งหมดเลย แถมฟรีด้วย

เรื่องสนทนายังคงเดินหน้าต่อไปเรารู้แล้วว่าผู้ใช้บริการมีชีวิตที่อยู่ในออนไลน์มากมาย
และเราเองในฐานะห้องสมุดเราก็ต้องนำเสนอความรู้ต่างๆ เหล่านี้ให้ผู้ใช้บริการ

แล้วตกลงการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในทางอื่นเกิดจากอะไรหล่ะ
– เกิดจากกระแส หรืออาจจะเกิดจากแฟชั่น (คนอื่นเล่นห้องสมุดก็เลยต้องเล่น)
– เกิดจากคำสั่ง (ผู้บริหารสั่งมาก็ทำๆ ให้เขาหน่อย)

เอาเป็นว่าถ้านำมาใช้แบบเรื่อยเปื่อยไม่มีทิศทาง เราก็ไม่สามารถที่จะใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพด้วย
การบังคับให้ทำอาจจะได้ผลในช่วงแรก แต่พอนานไปก็เริ่มเปื่อยและก็ปล่อยให้สื่อสังคมออนไลน์เฉาลงไปเรื่อยๆ

เพื่อนๆ ที่ต้องการรู้เรื่องสื่อสังคมออนไลน์มากกว่านี้ก็ลองค้นหาอ่านในบล็อกผมได้นะ
เพราะผมเขียนเรื่องเหล่านี้ไปเยอะพอสังคมแล้ว ทั้ง facebook – twitter

สุดท้ายนี้เพื่อนๆ รู้หรือยังครับว่า “ห้องสมุดจำเป็นต้องมีสื่อสังคมออนไลน์หรือปล่าว”
และตอบได้หรือยังว่า มีแล้วนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง และเพื่อนๆ สนุกกับการใช้แค่ไหน

พบปะเพื่อนๆ ชาว twitter ณ งาน twittbkk4

วันอาทิตย์….วันชิววันนี้มีแผนว่าจะไปพบกับเพื่อนๆ ชาว twitter ในงาน twittbkk4
ดังนั้นวันนี้ขอเล่าบล็อกแบบสบายๆ โดยที่ไม่เกี่ยวกับห้องสมุดก็แล้วกันนะครับ

เริ่มจากตื่นมาแบบงงๆ กับเมื่อวาน (เมื่อวานดื่มไปหนักมาก) แต่งตัวออกจากบ้าน
นัดกะ @maeyingzine ไว้ ตอนเที่ยง 12.30 แบบว่ามีเรื่องบังเอิญมากๆ (แอบขำ)
ประมาณว่า @maeyingzine ยืนรอรถอยู่ไอ้เราก็ดันนั่งอยู่บนรถแล้วก็ต่างคนต่างงง
สุดท้ายก็ได้เจอกันที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรี

ระหว่างทางเห็น @bankkung tweet ว่ากำลังจะไปพอดีก็เลยนัดเจอกันที่สถานีสยาม
เราสามคนเดินทางไปด้วยกัน ถึงสถานีเอกมัย @maeyingzine อยากกินกาแฟ ก็เลยหาร้านกาแฟสักนิด
ซึ่งไปได้กาแฟในร้านกาแฟ barista ที่เมเจอร์สุขุมวิท (กาแฟหวานมากกกกกกกกก)

จากนั้นนั่ง taxi เข้าไปที่ร้าน curve ไปถึงเจอพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ หลายคนเลย แบบว่าคงไล่ชื่อได้ไม่หมดนะครับ

ลงทะเบียนหน้างานแอบขำในช่องที่ต้องใส่อายุ (เหอๆ ไม่อยากเปิดเผยอายุของตัวเองเลย)
พี่ @molek เดินมาแซวขำขำว่า น่าจะมีอีกช่องให้เขียนสถานะด้วย 5555 ขำกันไป

พอลงทะเบียนเสร็จ คู่ twitter @jaaja กับ @tanicha ก็ออกมาพอดี (แหมมมมมม เสื้อคู่ ช้างเท้าหน้า กับ ควาญช้าง อิอิ)
เดินเข้ามาเจอบอร์ดให้เซ็นต์ชื่อ อิอิ ขอเจิมสักหน่อย….เขียนไว้บนสุดเลย 5555

เข้างานไปก็ไปหาที่นั่งก่อนเลย ตรงนั้นมี @jaaja @tanicha @ebernia @maeyingzine @gracenatthanun @Blltz และก็อีกคนไม่รู้ชื่ออาราย

เดินไปในงานรอบๆ ก็เจอเพื่อนๆ หลายคนเลย เช่น @kajeaw @kijjaz @meawba @tongkatsu @iwhale @oaddybeing @patsonic @……… เยอะมากกกกกกกก เขียนไม่หมดอ่าาาา

คำถามที่เดินไปเดินมาแล้วเจอถามเรื่อยๆ คือ
1. @junesis ไปไหน ไม่ได้มาหรอ —> @junesis ไปเที่ยวเชียงใหม่กะออฟฟิต (Dek-D)
2. ทำไมดูอ้วนขึ้นมากกกกกกก (อันนี้ไม่ตอบครับ แต่โดนหลายคนถาม แบบว่า เหอๆๆๆๆๆ ไม่ต้องย้ำได้ป่ะ)


บนเวทีก็มีการบรรยายจากเหล่า celeb ด้วยน้าาาาาาาาาาา เริ่มจาก
– @iwhale มาพูดเกี่ยวกับเรื่องความช่วยเหลือต่อสังคม
– @…. อะไรก็ไม่รู้ แต่มาพูดเกี่ยวกับเรื่อง Dtac? อันนี้ก็น่าสนใจดี
– @pongrat มาพูดเรื่อง 3.0 555555
– @rawitat มาพูดเรื่องการเติบโตของ @petdo
– @sugree ก็มาพูดเรื่องราวที่ผ่านมาในปีที่ข้อความ tweet ลดลงไปมาก

เอาเป็นว่าขอเขียนไว้แค่นี้ก่อนดีกว่า คงมีคนอัพบล็อกเรื่องนี้อีกหลายคนแน่ๆ
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณพี่ๆ ที่ร่วมกันจัดงาน twittbkk4 นี้ขึ้นมา ขอบคุณสปอนเซอร์ในงาน และขอบคุณเพื่อนๆ ที่มาเจอกัน

เว็บไซต์ทางการของงาน twittbkk : http://twittbkk.com

ห้องสมุดยุคใหม่ควรใช้ twitter อย่างไร

เมื่อวานผมได้เขียนเรื่องที่ไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter แล้ว
วันนี้ผมก็ขอนำเสนอภาคต่อด้วยการแนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติบ้างน่าจะดีกว่า

เริ่มจากคำแนะนำแบบเบื้องต้นเรื่องของการจัดการ profile ตัวเอง
– ชื่อ account สื่อถึงห้องสมุดตัวเองหรือไม่
– รูปภาพแสดงตัว ถ้าเป็นรูปห้องสมุดก็คงดีสินะ
– website ให้ใส่เว็บไซต์ของห้องสมุดตัวเอง
– Bio เขียนแนะนำห้องสมุดแบบสั้นๆ เช่น “การติดต่อสื่อสารออนไลน์กับห้องสมุด….ทำได้ไม่ยาก”

สำหรับข้อความที่ควร tweet (จากบทความ Six Things Libraries Should Tweet)
1. Library events – งานกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
เป็นการบอกให้ผู้ที่ติดตามเราได้รู้ว่ากำลังจะมีงานอะไรในห้องสมุด เช่น
“วันเสาร์นี้ 10 โมงเช้า จะมีการจัดฉายภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์ในห้องสมุด”

2. Links to articles, videos, etc. – Feed ข้อมูลจากเว็บไซต์หรือบล็อกของห้องสมุด
เป็นการเชื่อมการทำงานระหว่างเว็บไซต์และการกระจายข่าวสารสู่โลกออนไลน์
หากต้องการ tweet ข้อความมากๆ เราควรใช้บริการย่อ link จาก bit.ly หรือ tinyurl ก็ได้

เช่น “The Library of Congress Revives Public Domain Works via CreateSpace Print on-Demand and Amazon Europe Print on-Demand – http://bit.ly/9nE8H1”

3. Solicit feedback – การแสดงความคิดเห็น หรือ การสำรวจข้อมูลต่างๆ

เป็นช่องทางในการสอบถามเรื่องความคิดเห็นหรือแสดงไอเดียใหม่ๆ ของห้องสมุด
แต่ต้องระวังคำถามนิดนึงนะครับ เพราะมันมีผลตอบสนองกับมาที่ห้องสมุดแน่ๆ เช่น
ไม่ควรถามคำถามที่เดาคำตอบได้อยู่แล้ว ประมาณว่า “ห้องสมุดควรเปิด 24 ชั่วโมงหรือไม่
ผู้ใช้บริการทุกคนย่อมต้องการสิ่งนี้แน่นอน และห้องสมุดจะต้องรับผิดชอบในการกระทำนั้นๆ


4. New additions to your collection – ทรัพยากรใหม่ๆ ในห้องสมุด

เป็นช่องทางในการแนะนำหนังสือหรือสื่อใหม่ๆ ในห้องสมุด
ซึ่งเพื่อนๆ อาจจะใช้ feed ข้อมูลจากฐานข้อมูลห้องสมุดหรือเว็บไซต์ก็ได้

5. Marketing – การตลาดและประชาสัมพันธ์
เป็นช่องทางในการสร้างกระแสให้ห้องสมุด ข้อมูลของห้องสมุดอาจเป็นที่สนใจกับผู้ใช้บริการ
เช่น หนังสือที่ถูกยืมในปีที่แล้วทั้งหมดจำนวน 35,000 ครั้ง

6. Answer questions – ถามตอบปัญหาต่างๆ
เป็นช่องทางในการถามตอบระหว่างบรรณารักษ์ห้องสมุดกับผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างดีและได้ผล

เป็นไงกันบ้างครับกับเรื่องของ twitter ที่มีความสัมพันธ์กับงานห้องสมุด
พื่อนๆ สามารถอ่านบทความย้อนหลังเกี่ยวกับเรื่อง Twitter ในงานห้องสมุดได้นะครับ
ซึ่งผมได้เขียนไว้หลายเรื่องแล้ว ลองดูจาก
http://www.libraryhub.in.th/tag/twitter/

แล้วอย่าลืมเข้ามา follow ผมกันเยอะๆ ด้วยหล่ะ @ylibraryhub

สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter

จริงๆ แล้วอยากเขียนเรื่องเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติ และข้อไม่ควรปฏิบัติในบล็อกเดียวกัน
แต่กลัวว่ามันจะยาวเกินไปเดี๋ยวเพื่อนๆ จะเบื่อเอาง่ายๆ
วันนี้ผมจึงขอเลือกข้อไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter ก่อนน่าจะดีกว่า

เรื่องที่จะนำเสนอนี้สำหรับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ที่เปิด Account เพื่อใช้ในองค์กรเท่านั้น
ไม่รวมถึง Account Twitter ส่วนตัวของเพื่อนๆ นะครับ (ง่ายๆ twitter องค์กร only)

ผมก็ใช้เวลาในการเล่น Twitter มาสามปีกว่าๆ สังเกตมาสักระยะแล้วว่า
ห้องสมุดหลายๆ แห่งเริ่มมีการนำ twitter มาใช้ในองค์กรมากขึ้น
เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม แนะนำหนังสือ ฯลฯ ในห้องสมุด ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี

แต่ห้องสมุดบางแห่งเมื่อผมได้เข้าไปใน twitter ผมก็รู้สึกแปลกๆ และสงสัยเล็กน้อย
ถึงความผิดปกติในแง่ต่างๆ เช่น lock ไม่ให้คนอื่นดู, ปล่อยให้ twitter ร้าง ฯลฯ

ผมจึงอยากนำเรื่องต่างๆ เหล่านี้มาแนะนำให้เพื่อนๆ ห้องสมุดและบรรณารักษ์อ่าน
สิ่งที่ Twitter ห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ไม่ควรทำในโลกออนไลน์ ได้แก่

– การ lock หรือ การ protected Account ของห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
เพราะห้องสมุดของเราควรเปิดกว้างให้ผู้ใช้บริการบนโลกออนไลน์ทุกคน
ดังนั้นเราไม่ควรจำกัดการเข้าถึงห้องสมุดด้วยวิธียุ่งยาก

– ทำตัวเสมือนเป็นหุ่นยนต์ (ดึง feed ข่าวของห้องสมุดมาลงเพียงอย่างเดียว)
ในโลกของ twitter ห้องสมุดก็สามารถมีชีวิตได้ หากมีคนถามห้องสมุดก็ควรตอบ
นอกจากนี้ห้องสมุดยังสามารถทักทายผู้ใช้บริการออนไลน์อยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นกันเอง

– อย่าปล่อยให้การอัพเดทข้อความใน twitter ทิ้งช่วงเกิน 2-3 วัน
เพราะนั้นหมายถึงความไม่ใส่ใจของห้องสมุด (ห้องสมุดร้าง)

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ก็แล้วกันนะครับ
เพื่อเป็นคำเตือนให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์และห้องสมุดมือใหม่ระวังในการใช้เครื่องมือออนไลน์

เก็บตกความประทับใจในงาน #Twtparty

งานเลี้ยงสังสรรค์ของเราชาว twitter หรือที่มีชื่องานว่า #TWTparty ก็ผ่านไปแล้วนะครับ
วันนี้ผมขออาสาเล่าเรื่องความประทับใจที่เกิดขึ้นทั้งหมดในงานให้เพื่อนๆ ฟังนะครับ

twtparty2

งานเลี้ยง #Twtparty ที่จัดไปเมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2552 ณ ร้าน Kin Ramen
มีผู้ร่วมกินทั้งหมด 27 คน ซึ่งมีรายนามดังต่อไปนี้
@ylibraryhub @junesis @jaaja @bankkung @jazzanovalerm @jenospot @tomorn @maeyingzine @ladynile @aircoolsa? @oiil @CCCheezEEE @zetsuboublogger @exzign @eCybermania @panj @muenue @neokain @goople @lwkl @pimoooo @MeetTrend @Meetmeal @dominixz @eiiiie @Reind33r @FordAntiTrust

บทสรุปที่ร้าน Kin Ramen ก็คือ
ทุกคนอิ่มกันมากมาย แม้จะมีเวลาแค่ 1 ชั่วโมง 45 นาทีก็เถอะ
แต่พวกเราก็สั่งกันเต็มที่ งานนี้ต้องขอขอบคุณ @pimoooo ที่แนะนำเมนูต่างๆ ให้เรา
(พวกเราไม่ค่อยรู้จักเมนูอาหารอ่ะ เลยบอกพี่แกว่า ขอ 3 ชุด เลย อิอิ)

ค่าเสียหายที่เฉลี่ยรายคน ตกคนละ 315 บาทเอง เนื่องจากเราไปกัน 26 คน เลย เข้าแก็บว่า มา 10 คน ฟรี 1 คน
ดังนั้นเราเลยประหยัดกันได้นิดนึง เอาเป็นว่าราคาก็ไม่แพงมากเกินไป ใช่มั้ย ?????

ระหว่างที่กิน กิจกรรมที่เกิดขึ้น เช่น แจกของขวัญปีใหม่ พูดคุยเฮฮา ถ่ายรูปสนุกสนาน ฯลฯ
แบบว่าจริงๆ ถ้าจะจัดคราวหน้าแนะนำว่าเหมาทั้งชั้นเลยน่าจะดี เพราะพวกเราใช้เสียงกันแบบเต็มที่มากๆ

เอาเป็นว่า สนุกมากๆ ครับ

ประมวลภาพ #Twtparty ณ ร้าน Kin Ramen

[nggallery id=21]

แต่อย่างที่เกริ่นไปในกำหนดการของ #Twtparty เรายังเหลืออีกกิจกรรมนึงคือถ่ายรูปหน้า Q-House สาธร
ซึ่งมีการจัดไฟ และสถานที่เพื่อให้เข้ากับงานคริสต์มาส ดังนั้นหลังกินเสร็จพวกเราจึงมุ่งหน้าไปต่อที่ Q-House ทันที
งานนี้มี @nuboat มาแจมด้วย เอาเป็นว่าเราก็ถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนานจริงๆ

กิจกรรมเด่นๆ ที่หน้า Q-House เช่น ถ่ายรูป นั่งเสวนาเรื่องวิชาการ และชื่นชมบรรยากาศยามค่ำคืน

เอาเป็นว่าเราไปชมภาพกิจกรรมหน้า Q-House กันด้วยดีกว่า

[nggallery id=20]

เป็นยังไงกันบ้างครับกับกิจกรรมทั้งหมด

สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ตอบรับเข้าร่วมงานทุกคนนะครับ
มิตรภาพใหม่ๆ ก็เกิดขึ้น และสานสัมพันธ์เพื่อนๆ เก่าที่เคยเจอกัน
งานหน้าจะมีอีกแน่นอน ผมสัญญาและจะมีกิจกรรมดีๆ มาฝากเรื่อยๆ ครับ

อัพเดท ขอเพิ่มวีดีโอที่ถ่ายในงาน #twtparty โดย @dominixz ในบล็อกครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=S2x0p3Fkoxs[/youtube]

Happy New Year 2010 ครับ

อัพเดทข้อมูลงาน #TWTparty – 30/12/2009

หลังจากการประชุมกันนอกรอบของผู้ที่ร่วมจัดงาน #TWTparty

twtparty

ผลสรุปเรื่องกิจกรรม เวลา สถานที่ และผู้ที่เข้าร่วมงานมีดังนี้

1. กิจกรรมที่จะจัดในงาน #TWTparty
– พบปะสังสรรค์ พูดคุย และทักทายกัน
– รับประทานอาหารร่วมกัน (ร้าน Kin Ramen)
– ถ่ายรูปร่วมกัน (หน้าอาคาร Q-house ลุมพินี)
– มอบของขวัญแด่กันในโอกาสปีใหม่ (แล้วแต่ว่าใครจะเตรียมมาก็ได้)

2. เวลาในการจัดงาน #TWTparty ในวันที่ 30 ธันวาคม 2552
18.30 รวมตัวกันที่หน้าลานน้ำพุ สยามพารากอน
19.00 รับประทานอาหารที่ร้าน Kin Ramen
21.00 เดินทางไปที่ Q house ลุมพินี และถ่ายรูป #Twtphotocamp
22.30 แยกย้ายกันกลับบ้าน

ปล. สำหรับคนที่ไม่สามารถมาร่วมรับประทานอาหารแล้วสนใจจะมาถ่ายรูปก็ขอเชิญนะครับ

3. สถานที่ที่จัดงาน #TWTparty

Kin Ramen ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่น ชั้นบนของร้าน R BURGER อยู่ติดกับธนาคารกรุงเทพ (อยู่หน้าสยามสแควร์ซอย 5)

พิกัดของสถานที่

shop_kinramen_map

– อาคาร Q-house ลุมพินี (สำหรับถ่ายรูป)

พิกัดของสถานที่

map_qhouselumpini_new

4. รายชื่อผู้ที่เข้าร่วมงาน #TWTparty confirm แล้ว
– @ylibraryhub
– @junesis
– @jaaja
– @bankkung
– @jazzanovalerm
– @jenospot
– @tomorn
– @maeyingzine
– @ladynile
– @aircoolsa
– @oiil
– @CCCheezEEE
– @zetsuboublogger
– @exzign
– @eCybermania

สรุปจำนวนล่าสุดที่คอนเฟิม ณ วันนี้มีจำนวน 15 คนครับ
หากใครที่สนใจเพิ่มก็ติดต่อผมมาได้นะครับ แต่อย่าเกินวันอังคารนะครับ เพราะต้องยืนยันกับทางร้านด้วย

รวมบล็อกที่รีวิวร้านที่พวกเราจะไปกินกัน – Kin Ramen
บุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่นกลางสยาม @ Kin Ramen
บุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น Kin Ramen @ Siam Square
@ป๋าเดียชวนชิม@ .. บุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น ที่ Kin Ramen ณ SiamSquare

ขอสรุปง่ายๆ เลยนะครับ ในวันนั้น 18.30 น. เราจะเจอกันหน้าลานน้ำพุสยามพารากอน
และเราจะเริ่มเข้าร้าน kin Ramen เวลา 19.00 น. หากใครมาแล้วไม่เจอผมกรุณา DM มาหาได้ครับ

อัพเดทเพิ่มรายชื่อ @muenue @neokain @goople @lwkl @pimoooo @MeetTrend @dominixz

TWTparty งานเลี้ยงสังสรรค์ก่อนสิ้นปี 2552

จากการที่เพื่อนๆ หลายคนอยากให้มีการจัดงาน Twtparty ในวันที่ 30 ธันวาคม ช่วงเย็น
และต่างคนต่างเริ่มสับสนว่าเอาไงแน่ จัดจริงปล่าว จัดที่ไหน ใครมาบ้าง
ผมจึงขอเขียนเรื่องนี้เพื่อ ย้ำตวามมั่นใจให้เพื่อนๆ ทุกคนอีกครั้งว่า “จัดจริงๆ ครับ”

twtparty

ในงาน Twtparty เป็นงานเลี้ยงส่งท้ายปี 2552 ครับ
เป็นงานพบปะสังสรรค์กินข้าวกัน ถ่ายรูปกัน และกิจกรรมอื่นๆ ที่พอจะคิดออก

ทำไมต้องจัดวันที่ 30 ธันวาคม ????
เพราะว่าวันที่ 31 ธันวาคม หลายๆ คนคงจะกินเลี้ยงหรือ countdown อยู่ที่บ้านนั่นสิครับ
หรือไม่ก็ไปเที่ยวต่างจังหวัดกัน ดังนั้นถ้าจัดวันนั้นคงไม่สะดวก

นอกจากนี้ผมจึงขอสำรวจความต้องการของเพื่อนๆ ที่ต้องการมาร่วมกันหน่อยนะ
เริ่มจากสถานที่เพื่อนๆ อยากให้จัดที่ไหน

[poll id=”13″]

อ๋อ อีกกิจกรรมที่ผมคิดว่าน่าจะมีคือกิจกรรมการจับฉลากกัน
เพื่อนๆ คิดยังไงช่วยตอบด้วยนะ จะได้รู้ว่าจะจัดดีมั้ย

[poll id=”14″]

อ๋อ ถ้าจะจับฉลากของขวัญ ผมอยากรู้ว่าราคาของขวัญขั้นต่ำคือเท่าไหร่ดี

[poll id=”15″]

กิจกรรมที่ผมอยากให้มีในวันนั้น คือ
– พบปะพูดคุยกัน (แนะนำตัว)
– กินข้าว (ดินเนอร์ร่วมกัน)
– ถ่ายรูป (เก็บภาพความทรงจำ)
– คาราโอเกะ (ถ้าเป็นไปได้)
– จับฉลากแลกของขวัญ (ถ้าเป็นไปได้)

อ๋อ ที่สำคัญผมอยากรู้ว่าใครจะมาร่วมบ้าง ดังนั้นกรุณาลงชื่อใน Comment ด้นล่างนี้ด้วยนะครับ
รอกชื่อ username (ใน twitter ก็ดี)
กรอกอีเมล์ของเพื่อนๆ ไว้ด้วย เพื่อจะส่งข่าวยืนยันการจัดงานครับ
ส่วนในช่อง URL ให้เอา URL ใน twitter ก็ได้ เช่น http://twitter.com/Ylibraryhub

ขอบคุณทุกคนนะครับ

CTWphotocamp รอบสองยังสนุกเหมือนเดิม

หลังจากที่มีการจัด #CTWphotocamp รอบแรกไปแล้ว (อ่านได้ที่ CTWphotocamp งานถ่ายรูปที่ไม่มีทางเหงา)
ก็มีเสียงเรียกร้องให้จัด #CTWphotocamp ขึ้นอีกรอบ ดังนั้นงาน #CTWphotocamp จึงกลับมาอีกครั้ง

ctwphotocamp1

งาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 นี้จัดในวันที่ 12 ธันวาคม 2552
โดยยังคง concept เหมือนเดิมครับ คือ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว และไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า

ctwphotocamp209 ctwphotocamp202

วันนั้นพวกเรานัดเจอกันตอน 1 ทุ่มที่หน้า CTW ครับ
ก็เริ่มถ่ายรูปเล่นไปเรื่อยๆ โดยนางแบบหลักเห็นทีว่าคงจะไม่พ้น @jaaja
ถ่ายไปเรื่อยๆ คนก็เพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ ครับ และที่สำคัญ hilight เด็ด คือ มีคนพาสุนัขมาเดินด้วย ไปไปมามา สุนัขเด่นกว่าคน

ctwphotocamp219 ctwphotocamp220

พอถ่ายกันจนเหนื่อย พวกเราก็เริ่มหาของกินกันที่ Food hall ของ CTW ครับ
และก็มีสมาชิกมาเพิ่มอีก 3 คน ก็นั่งกินกันจนท้องตึง เราก็มีพลังในการถ่ายรูปต่อ
พอลงมาถึงสมาชิกใหม่ก็เดินทางมาเติมกันต่อครับ

ctwphotocamp244 ctwphotocamp258

ครั้งนี้นอกจากวิวหน้า CTW แล้วพวกเราก็ยังเดินถ่ายไปจนถึงหน้า Gaysorn Plaza แนะ
และไปจบกันที่ Amarin Plaza ครับ นับว่าเป็นการถ่ายรูปที่สนุกมากๆ อีกครั้งหนึ่งเลย

ctwphotocamp266 ctwphotocamp260 ctwphotocamp251 ctwphotocamp239

สรุปรายชื่อของผู้ที่เข้าร่วมงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 มีจำนวน 21 คน ดังนี้
@ylibraryhub @junesis @neokain @rawitat @Rujji @bankkung @zetsuboublogger @eCybermania @KimhunCPE @jaaja @jazzanovalerm @nauticalmiles @tanseven @ladynile @izeyizey @iwhale @dekunderkover @ubyi @kajeaw @WizardPunchZz @yashimaexteen

ctwphotocamp276 ctwphotocamp278

ผมก็ขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่มาแจมถ่ายรูปกันในครั้งนี้ด้วยนะครับ
นี่แหละครับคือพลังแห่งความสร้างสรรค์บน Social Network ครับ

รวมภาพถ่ายในงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2

ภาพงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 โดย ylibraryhub (multiply)

ภาพงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 โดย ylibraryhub (Facebook)

ภาพงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 โดย kimhuncpe