[InfoGraphic] 5สิ่งที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับห้องสมุดในอเมริกา

วันนี้นั่งค้นรูป InfoGraphic ไปเรื่อยๆ ก็พบกับภาพ InfoGraphic ที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดอีกแล้ว
ผมจึงขอนำภาพๆ นี้มานำเสนอให้เพื่อนๆ ได้ดูกันสักนิดแล้วกัน (ข้อมูลค่อนข้างน่าสนใจ)

อย่างที่เคยบอกเอาไว้แหละครับว่า ภาพ InfoGraphic ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว บางคนใช้นำเสนอข้อมูลจำพวกสถิติ บางคนนำเสนอข้อมูลที่เป็นข้อความหรือสรุปเรื่องราว ….. วันนี้ InfoGraphic ที่ผมจะให้ดู เป็นเรื่องของการนำเสนอข้อมูลแบบสรุปนะครับ ซึ่งมีชื่อเรื่องว่า “5 Fun Facts You may not know about libraries” หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “5 ข้อเท็จจริงที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับห้องสมุด

ชมภาพ InfoGraphic : 5 ข้อเท็จจริงที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับห้องสมุด

ทสรุปจากภาพด้านบน (5 ข้อเท็จจริงที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับห้องสมุด)
1. ห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาจะต้องให้บริการตอบคำถาม จำนวนถึง 56.1 ล้านคำถามในแต่ละปี โดยที่คำถามประมาณ 10 ล้านคำถามจะเกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอล (ข้อมูลจาก ALA)

2. ชาวอเมริกันไปห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษามากกว่าไปดูหนังในโรงภาพยนตร์ถึง 3 เท่า (ข้อมูลจาก ALA)

3. ในประเทศอเมริกามีห้องสมุดประชาชนมากกว่าร้านแมคโดนัลด์ – ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนมีสาขามากถึง 16,604 แห่ง (ข้อมูลจาก ALA)

4. Benjamin Franklin เป็นผู้ที่ก่อตั้งห้องสมุดประชาชนในฟิลลาเดเฟีย ซึ่งเป็นห้องสมุดที่ให้บริการยืมคืนครั้งแรกของอเมริกา (ข้อมูลจาก USHistory) อ่านประวัติเพิ่มเติมของ Benjamin Franklin ได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Benjamin_Franklin

5. 1 ใน 3 ของห้องสมุดประชาชนในอเมริกาจะมี account Facebook (ข้อมูลจาก library Research)

เป็นยังไงกันบ้างครับ ข้อมูลในภาพน่าสนใจมากใช่หรือเปล่า
ผมเองก็เพิ่งจะรู้ว่าที่อเมริกามีห้องสมุดมากกว่าร้านแมคโดนัลด์ซะอีก

เอาเป็นว่าถ้ามีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจอีก ผมจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันต่อนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอตัวไปเก็บข้อมูลอย่างอื่นก่อนแล้วกันนะครับ

ที่มาของภาพ Infographic : http://knovelblogs.com/2011/06/13/knovel-presents-5-fun-facts-you-may-not-know-about-libraries/

[InfoGraphic] 1 ปี ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีกับข้อมูลที่น่าสนใจ

เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 1 ปีของการปรับเปลี่ยนรูปแบบห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี (วันครบรอบ 24 กรกฎาคม) ผมจึงถือโอกาสสรุปผลการดำเนินงานและข้อมูลที่น่าสนใจตลอด 1 ปีที่ผ่านมาให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน

แต่ถ้าจะสรุปข้อมูลสถิติของห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีแบบธรรมดาๆ (แบบตาราง หรือ แผนภูมิ) ผมว่ามันก็ไม่น่าสนใจเท่าไหร่ ดังนั้นผมจึงขอนำแนวความคิดของการจัดทำ Infographic ของต่างประเทศมาช่วยเพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอข้อมูลแบบใหม่ๆ

Infographic ที่เพื่อนๆ จะได้เห็นนี้ ผมเชื่อว่าเป็น Infographic แรกของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ใช้เวลาในการทำ 5 ชั่วโมง (ไม่ใช่แค่เรื่องออกแบบ และทำ graphic เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขต่างๆ ด้วย)

เอาเป็นว่าผมคงไม่อธิบายอะไรมากนอกจากให้เพื่อนๆ ได้ดู Infographic นี้เลย

[หากต้องการดูรูปใหญ่ให้คลิ๊กที่รูปภาพได้เลยครับ]

เป็นยังไงกันบ้างครับกับการนำเสนอข้อมูลห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีของผม
เพื่อนๆ คิดเห็นยังไงก็สามารถเสนอแนะได้นะครับ ผมจะได้นำแนวทางไปปรับปรุงต่อไป

ปล. หากต้องการนำไปเป็นตัวอย่างหรือนำไปลงในเว็บไซต์หรือบล็อกอื่นๆ กรุณาอ้างอิงผลงานกันสักนิดนะครับ

Infographic : ห้องสมุดประชาชนในอเมริกาอยู่ในภาวะเสี่ยง

นานๆ ทีผมจะเจอ Infographic ที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์
เลยอยากเอามาให้เพื่อนๆ ดูและสังเกตการทำ Infographic แบบดีๆ

Infographic วันนี้ผมนำมาจากงาน National Library Week (สัปดาห์ห้องสมุดแห่งชาติ) ซึ่งจะจัดทุกปีในระหว่างวันที่ 10 – 16 เมษายน ในอเมริกาเขาจัดกันอย่างยิ่งใหญ่มากๆ ส่วนไทยเราก็อย่างที่รู้ๆ กันในช่วงนั้นเป็นวันสงกรานต์ เราหยุดครับ

อ๋อ เข้าเรื่องดีกว่า Infographic นี้นำเสนอข้อมูลห้องสมุดประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งหัวข้อใน Infographic คือ U.S. Public Libraries At Risk (แอบสะดุ้ง)
ประมาณว่าห้องสมุดประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในภาวะที่เสี่ยง (เสี่ยงถูกปิดนะครับ)

เอาเป็นว่าในไปชม Infographic กันก่อน


เป็นยังไงกันบ้างครับ สวยงาม ชัดเจน และมีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย เช่น

ผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนในสหรัฐอเมริกามีจำนวน 169 ล้านคน (59% ของประชากรในประเทศ)
(โห แบบว่าคนสหรัฐอเมริกาเข้าห้องสมุดประชาชนมากขนาดนั้นเลย แล้วไทยหล่ะ)

เรื่องที่คนให้ความสนใจในห้องสมุด (ผลสำรวจเรื่องยอดฮิตในห้องสมุด ปี 2010)
อันดับ 1 – เรื่องการทำอาหาร 67%
อันดับ 2 – เรื่องสุขภาพ 59%
อันดับ 3 – เรื่องเหตุการณ์ปัจจุบันรวมไปถึงเรื่องการเมือง 41%
อันดับ 4 – เรื่องธุรกิจและอาชีพ 37%
อันดับ 5 – เรื่องการท่องเที่ยว 26%
อันดับ 6 – เรื่องการพัฒนาตนเอง 22%

เรื่องของการตัดงบประมาณในห้องสมุดมีมาตั้งแต่ปี 2008 แล้ว
และในปี 2009 ถูกตัดไป 40%? ปี 2010 ถูกตัดไป 54.4% และในปีนี้ ถูกตัดไป 62%

เอาแล้วไงครับ เริ่มน่ากลัวแล้วว่าห้องสมุดจะถูกปิดอีกหลายแห่ง
(อ๋อ งบประมาณสำหรับห้องสมุดของเขาแม้ว่าจะโดนตัดไปเยอะแต่ผมเชื่อว่าเงินในการบริหารห้องสมุดของเขาก็ยังคงมากกว่าเงินบริหารห้องสมุดประชาชนในเมืองไทยมากนัก)

นอกจากนี้ทุกคน (ผู้ใช้บริการ) เกือบทุกวัย ทุกอาชีพ เห็นด้วย และยินดีที่มีห้องสมุดประชาชนใช้งาน
นับว่าห้องสมุดประชาชนเป็นที่ต้องการของผู้ใช้บริการเกือบทุกคน (ดูจาก % ได้เลย)

และท้ายที่สุดแล้ว ใน Infographic ก็ทิ้งท้ายไว้ว่า
“กรุณาช่วยห้องสมุดประชาชนในท้องที่ของคุณด้วย”

เอาเป็นว่าห้องสมุดบางแห่งที่ถูกสั่งปิดเมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้บางแห่งยังอยู่
เพราะความร่วมมือของคนในพื้นที่ระดมทุนช่วยเหลือห้องสมุด
ก็มีเช่นกัน

เอาเป็นว่า Infographic นี้ ผมว่าเป็นภาพที่นำเสนอข้อมูลได้อย่างน่าสนใจมากๆ
อ่านแล้วเข้าใจง่าย แถมดูกี่ทีก็ไม่รู้สึกเบื่อเลย (ถ้าเทียบกับการนำเสนอข้อมูลแบบ paper ผมว่านี้แหละเยี่ยม)

เอาเป็นว่าก็ขอฝากไว้เท่านี้แล้วกันครับ ผมเองก็ตั้งตาคอยดู infographic ของเมืองไทยอยู่นะ

ที่มาของภาพดีๆ นี้ จาก http://www.archives.com/blog/industry-news/national-library-week-2011.html

Infographic : เมื่อเราอยากแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจให้คนอื่น

วันนี้เจอภาพ Infographic นึงน่าสนใจมาก เป็นการนำเสนอเรื่อง การส่งต่อหรือการแบ่งปันข้อมูล
เมื่อเราเจอข้อมูลดีๆ ในอินเทอร์เน็ต เราจะบอกต่อให้เพื่อนๆ ได้รู้ยังไง” ผมว่าน่าสนใจดีเราขอแชร์ให้เพื่อนๆ ดู

ในภาพนี้เริ่มต้นที่ “เมื่อคุณเจอเรื่องที่น่าสนใจในอินเทอร์เน็ต” และจบด้วยการแชร์ข้อมูลนี้ไปให้คนอื่นๆ
ซึ่งผลสุดท้ายหากดูจากภาพเราจะพบสองประเด็นที่น่าสนใจ คือ
1. การแบ่งปันนี่มันเยี่ยมไปเลย
2. มันแย่มาก (คุณจะโดนด่าว่าเอามาแชร์ทำไม)

ในภาพ InfoGraphic ตัวนี้ให้ข้อคิดที่ดีหลายเรื่อง ผมขอสรุปดังนี้
– เรื่องการเลือกเรื่องที่จะแชร์ (เรื่องมันน่าสนใจแค่ไหน มันเยี่ยมยังไง ประเด็นที่ต้องการแชร์คืออะไร)
– เมื่อเราเลือกที่จะแบ่งปันข้อมูลแล้ว เราก็ต้องบอกที่มาของเรื่องนั้นๆ ด้วยว่าเรานำมาจากไหน
– ลิขสิทธิ์ในเรื่องหรือรูปภาพหรือสื่ออื่นๆ (ระวังเรื่องการนำมาดัดแปลงนะ)

เอาเป็นว่าก็ดีเหมือนกันนะภาพนี้ เพื่อนๆ คิดยังไงกับเรื่องนี้
แสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้ได้เลยนะครับ

ที่มาของรูปนี้ http://loldwell.com/ (เป็นเว็บที่นำเสนอภาพการ์ตูนกราฟิกที่น่าสนใจ)

infographic : เมื่อคนใช้ smart phone มองกันเอง

ช่วงนี้ผมกำลังศึกษาเรื่อง visualization กับการนำเสนองานต่างๆ
หนึ่งใน Visualization ที่น่าสนใจก็คือการนำเสนอข้อมูลแบบ infographic
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอ infographic แบบฮาๆ เกี่ยวกับการใช้มือถือ iPhone vs. Android vs. BlackBerry

ไปดูรูปกันเลยครับ

เป็นไงบ้าง ขำดีใช่มั้ยครับ เอาเป็นว่าวันหลังผมจะนำ infographic มาลงให้ดูเรื่อยๆ นะครับ
เผื่อว่าบรรณารักษ์จะนำไอเดียเหล่านี้ไปใช้กับการนำเสนอห้องสมุดบ้าง

ปล.สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ที่ไม่ใช่ smart phone ก็มีภาพเหมือนกันนะ เข้าไปดูที่เว็บได้

ขอบคุณที่มาจาก http://www.csectioncomics.com/2010/11/iphone-vs-android-vs-blackberry.html

นำเสนอประวัติโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha แบบ Visualization

วันนี้ผมขอนำตัวอย่าง “การใช้ Visualization เพื่อนำเสนองานด้านห้องสมุด” มาให้เพื่อนๆ ดูกันนะครับ
การนำเสนอแบบ Visualization กำลังเป็นที่นิยมในวงการไอที ดังนั้นห้องสมุดเราก็ไม่ยอมน้อยหน้าเช่นกัน

คำอธิบายเรื่อง Visualization แบบสั้นๆ ง่ายๆ คือ การแปลงข้อมูลจำนวนตัวอักษรให้กลายเป็นรูปภาพเพื่อให้การนำเสนอดูง่ายและน่าสนใจยื่งขึ้น (เอาไว้ผมจะเขียนบล็อกเรื่องนี้วันหลังครับ)

ตัวอย่างที่ผมจะนำมาให้ดูนี้เป็น Visualization แสดงความเป็นมาของการพัฒนาโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha
ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติแบบรหัสเปิด หรือเรียกง่ายๆ ว่า Opensource

หากให้เพื่อนๆ ไปนั่งอ่านประวัติของ Koha เพื่อนๆ ก็คงอ่านได้ไม่จบหรอกครับ
เพราะว่าโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha เริ่มโครงการในปี 1999 (ปีนี้เป็นปีที่ 11 แล้ว)
โดยเพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Koha_%28software%29 หรือ http://koha-community.org/

ในงาน kohacon (KOHA Conference) ที่ผ่านมา http://www.kohacon10.org.nz/
ได้มีการฉายคลิปวีดีโอ “Koha Library Software History Visualization” ทำเอาเป็นที่ฮือฮามาก
เพราะเป็นการใช้ Visualization ในการนำเสนอประวัติการพัฒนาของโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Tl1a2VN_pec[/youtube]

ในคลิปวีดีโอนี้เริ่มจากข้อมูลในการพัฒนาโปรแกรม KOHA ในเดือนธันวาคม 2000 – ตุลาคม 2010
ดูภาพแล้วก็อ่านคำอธิบายที่โผล่มาเป็นระยะๆ ดูแล้วก็เพลินดีครับ เพลงก็ไปเรื่อยๆ

ถามว่าถ้าให้อ่าน paper ประวัติที่มีแต่ตัวอักษร กับ Visualization นี้
ผมคงเลือกดู Visualization เพราะผมแค่อยากรู้ว่าช่วงไหนทำอะไร ไม่ได้อยากทำรายงานนะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็ค่อยๆ ดูไปนะครับ ผมว่าเพลินดี
วันนี้ก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ สุขสันต์วันหยุดครับ

เว็บไซต์ชุมชนผู้พัฒนา KOHA – http://koha-community.org/