Infographic หมดยุคของสารานุกรมฉบับพิมพ์อย่าง Britannica

ไม่ได้นำ Infographic ข้อมูลดีๆ มาให้เพื่อนๆ ชมนานแล้ว วันนี้ผมขอแก้ตัวด้วยการนำเสนอ Infographic ข้อมูลของสารานุกรมแห่งหนึ่งที่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังมาก (คนที่เรียนด้านบรรณารักษ์จะต้องรู้จัก) นั่นคือ Britannica

แต่เพื่อนๆ หลายคนคงได้ข่าวเมื่อต้นปี 2012 ที่ สารานุกรมอย่าง Britannica ต้องประกาศยุติการพิมพ์สารานุกรมฉบับสิ่งพิมพ์ แต่สารานุกรมนี้ยังคงให้บริการในรูปแบบออนไลน์อยู่

อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
Encyclopedia Britannica หยุดพิมพ์แล้ว – http://www.blognone.com/node/30677
สารานุกรมบริทานิกาหยุดตีพิมพ์ – http://news.voicetv.co.th/global/33700.html (วีดีโอข่าว)

เอาหล่ะครับ มาเข้าเรื่องกันดีกว่า วันนี้ผมนำ Infographic ที่เกี่ยวกับ Britannica มาให้ดูครับ ชมกันก่อนเลย

เอาหล่ะครับมาดูข้อมูลสรุปจาก Infographic นี้กัน

ข้อมูลประวัติแบบคร่าวๆ ของ Britannica
– ฉบับแรกพิมพ์ในปี 1771 (อายุในปัจจุบัน = 244 ปี)
– ฉบับดิจิทัลถูกจัดทำครั้งแรกในปี 1981 โดย Lexisnexis
– ฉบับออนไลน์ครั้งแรกและฉบับซีดีเวอร์ชั่นสมบูรณ์เกิดขึ้นในปี 1994
– ฉบับมือถือ (รองรับเครื่อง Palm) เกิดในปี 2000
– ฉบับแอพใช้งานกับอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ของบริษัท apple (ipod,ipad,iphone) เกิดในปี 2011
– ปิดฉากสารานุกรม Britannica แบบสิ่งพิมพ์ในปี 2012

ทำไม Britannica ถึงไม่ทำสิ่งพิมพ์แล้วหล่ะ???
– ยอดขายตกลงอย่างรุนแรง ในปี 1990 ยอดขาย 120,000 ฉบับ ในปี 1996 เหลือยอดขาย 40,000 ฉบับ และในปี 2009 เหลือ 8,000 ฉบับ

ราคาของการใช้งานสารานุกรม Britannica เมื่อเทียบกับ wikipedia
– Britannica ฉบับพิมพ์ ราคา 1,395 เหรียญสหรัฐ
– Britannica ฉบับ ipad ราคา 1.99 เหรียญสหรัฐ/เดือน
– Britannica ฉบับออนไลน์ สมัครสมาชิก 70 เหรียญสหรัฐ/ปี
– wikipedia ฟรี ฟรี ฟรี

จำนวนบทความสารานุกรม Britannica เมื่อเทียบกับ wikipedia
– Britannica มีจำนวนบทความประมาณ 65,000 บทความ
– Wikipedia มีจำนวนบทความประมาณ 3,890,000 บทความ

จำนวนคนที่เขียนบทความในสารานุกรม Britannica เมื่อเทียบกับ wikipedia
– Britannica มีจำนวนประมาณ 4,000 คน (ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง)
– Wikipedia มีจำนวนประมาณ 751,426 คน (ใครๆ ก็เขียนได้)

เอาเป็นว่า ณ จุดนี้ ก็คงต้องบอกว่ายุคของสารานุกรม Britannica ฉบับพิมพ์อาจจะถึงจุดสิ้นสุดไปแล้ว แต่สิ่งที่กำลังจะเริ่มต้นก็คือการแข่งขันกับ Wikipedia ในโลกออนไลน์นั่นเอง

เอาเป็นว่าเส้นทางนี้จะเป็นเช่นไร คงต้องติดตามชมกันต่อไป

ปล.จริงๆ แล้ว การแข่งขันกันระหว่าง Britannica กับ Wikipedia ทำให้ผมรู้สึกถึงการแข่งขันระหว่าง Library และ Google ด้วย…

ที่มาของภาพ Infographic นี้มาจาก http://mashable.com/2012/03/16/encyclopedia-britannica-wikipedia-infographic/

กรณีศึกษาเรื่องสารานุกรมออนไลน์ : Britannica VS Wikipedia

วันนี้ผมขอนำเรื่องเก่ามาเรียบเรียงและเล่าใหม่อีกสักครั้งนะครับ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีคนสงสัยมากมายเกี่ยวกับการอ้างอิงบทความต่างๆ ในสารานุกรม
โดยกรณีที่ผมนำมาเขียนนี้จะขอเน้นไปในเรื่องสารานุกรมที่เป็นสิ่งพิมพ์กับสารานุกรมออนไลน์

reference-site

ซึ่งเรื่องมันมีอยู่ว่า…มีอีเมล์ฉบับหนึ่งเขียนมาถามผมถึงเรื่อง
การนำข้อมูลบน website ไปอ้างอิงในการทำรายงานว่ากระทำได้หรือไม่ และมันน่าเชื่อถือหรือเปล่า

อันที่จริงคำถามนี้ผมก็เคยตั้งคำถามในใจไว้เหมือนกัน แต่ก็ยังหาคำตอบไม่ได้สักที
เพราะว่าประเด็นในเรื่องนี้มีผู้เชี่ยวชาญออกมากล่าวไว้ไม่เหมือนกัน โดยสรุปได้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มที่บอกว่าข้อมูลสามารถนำมาอ้างอิงได้ เนื่องจากในหลักการเขียนบรรณานุกรมยังมีการอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลออนไลน์
2. กลุ่มที่บอกว่าข้อมูลไม่สามารถนำมาอ้างอิงได้ทั้งหมด ซึ่งต้องเลือกและพิจารณาแหล่งข้อมูลเสียก่อนจึงจะอ้างอิงได้
ส่วนใหญ่ก็จะเป็นบทความทางวิชาการ เช่น รายงานการประชุม ฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ รวมถึงสิ่งที่เรียกว่า สารานุกรมออนไลน์

สารานุกรมออนไลน์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เราสามารถจำแนกได้ออกเป็นอีกสองกลุ่ม คือ

1. สารานุกรมออนไลน์ทั่วไป
ได้แก่ Encyclopedia Britannica , Encarta เป็นต้น
สารานุกรมจำพวกนี้ได้รับความน่าเชื่อถือมาเป็นเวลานานเนื่องจากสารานุกรม เหล่านี้นอกจากมีบนอินเทอร์เน็ตแล้วยังมีในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์อีกด้วย

2. สารานุกรมเสรี ได้แก่ Wikipedia, PBwiki เป็นต้น
สารานุกรมจำพวกนี้เป็นสารานุกรมที่ให้ข้อมูลค่อนข้างดี แต่บางครั้งก็ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นมาจากนักวิชาการ ดังนั้นจึงมีข้อถกเถียงกันเรื่องความน่าเชื่อถืออยู่

ข้อแตกต่างระหว่าง Britannica กับ Wikipedia คือ ผู้แต่งหรือผู้เขียนบทความ
ถ้าเป็นของ Britannica ผู้เขียนจะเป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ
แต่ Wikipedia ผู้แต่งหรือผู้เขียนคือใครก็ได้ที่เข้าใจหรือรู้ในเรื่องๆ นั้น เข้ามาเขียนด้วยภาษาง่ายๆ อธิบายตามที่เขารู้
ถ้าสิ่งที่เขารู้มันผิดก็จะมีคนเข้ามาแก้ไขให้เรื่อยๆ จนได้เนื้อหาที่สมบูรณ์ที่สุด

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเรื่อง wikipedia เพิ่มเติม ลองอ่านดูที่
แนะนำวิกิพีเดีย โดยเว็บไซต์ wikipedia
Wikipedia สารานุกรมฟรีออนไลน์ที่ใครๆ ก็เขียนได้ โดยผู้จัดการ 360 องศา

หากจะถามถึงการอ้างอิงเนื้อหาผมคงตอบไม่ได้ว่าจะอ้างอิงได้หรือไม่
เพื่อนๆ ต้องพิจารณากันเองนะครับ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับบทความที่เราจะนำมาใช้ว่ามีความน่าเชื่อถือขนาดไหน
เพราะว่าใน wikipedia แต่ละเรื่องจะต้องมีแหล่งอ้างอิงข้อมูลอยู่แล้ว ดังนั้นเราต้องดูแหล่งอ้างอิงของบทความนั้นๆ ด้วย

มีบทความของ Nature Magazine Dec 14, 2005 เรื่อง Internet encyclopaedias go head to head
ได้สำรวจความถูกต้องของข้อมูลแล้วพบว่า ใน Britannica กับ Wikipedia มีความผิดพลาดในระดับพอๆ กัน
ซึ่งหลายคนมองบทความชิ้นนี้ว่าเป็นการทำให้ Britannica เสียชื่อเสียงหรือเปล่า
แต่ในโลกของอินเทอร์เน็ตอะไรก็เปลี่ยนแปลงไปเร็วเหมือนกันนะ
จนถึงวันนี้จากการจัดอันดับเว็บไซท์ของ alexa ปี 2009 Wikipedia ถูกจัดอยู่ในอันดับ 6 ของโลนะครับ

แล้วเพื่อนๆ คิดยังไงกับเรื่องนี้ครับ
บทความในวิกิพีเดียสามารถนำมาอ้างอิงได้มั้ย
แล้วความน่าเชื่อถือเพื่อนๆว่าเชื่อได้กี่เปอร์เซ็นต์ครับ