7 ธีมบล็อก wordpress ที่น่าสนใจสำหรับบล็อกห้องสมุด

ช่วงปีที่ผ่านมาผมได้สังเกตว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งเริ่มมีการนำบล็อกเข้ามาใช้มากขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะ wordpress แล้ว ผมได้รับคำถามมามากเหลือเกิน เนื่องจาก ProjectLib และ Libraryhub ของผมใช้ wordpress มาตลอด ซึ่งวันนี้ผมจึงขอเขียนเรื่องที่เกี่ยวกับ wordpress ในวงการห้องสมุดบ้างดีกว่า

เข้าประเด็นกันแบบง่ายๆ เลย เรื่องที่เขียนวันนี้ “7 ธีมบล็อก wordpress ที่น่าสนใจสำหรับบล็อกห้องสมุด
ผมเรียบเรียงใหม่จากบทความ “7 Great Library Themed Templates for Your Blog(เนื่องจากบางธีมไม่สามารถเปิดได้แล้ว)

ทำไมต้องเป็น wordpress – ผมขอสรุปแบบตรงๆ เลยนะครับ ว่า “ฟรี – ง่าย – ยืดหยุ่น – ประสิทธิภาพสูง – ของเล่นเยอะ”

ปล. สำหรับคนที่ใช้ wordpress.com (แบบของฟรี) สามารถค้นหาธีมที่นำเสนอด้านล่างนี้ได้บางธีมเท่านั้น ส่วนคนที่ดาวน์โหลด wordpress ไปติดตั้งบน host สามารถนำไปใช้ได้ทุกธีมครับ

ธีมที่มีให้เลือกบน wordpress มีมากมาย จนหลายคนบอกว่านี่คือสิ่งที่ยากของ wordpress คือ เลือกธีมไม่ถูก เพราะสวยหมดทุกธีม
ซึ่งธีมที่มีใช้อยู่นั่นบางธีมก็เสียเงิน บางธีมก็ใช้ได้ฟรี ขึ้นอยู่กับความสามารถพิเศษของธีมนั่นๆ ด้วย

ห้องสมุดหลายๆ แห่งที่ตัดสินใจใช้ wordpress เป็นบล็อกของห้องสมุดจึงต้องรู้จักวิธีในการเลือกธีมที่เหมาะสมกับการใช้งาน
ดังนั้นธีมที่จะให้ดูในวันนี้ ผมว่าสำหรับบล็อกห้องสมุดแล้วฟีเจอร์ครบ และหน้าตาของธีมดูเหมาะสมกับความเป็นห้องสมุดดี

(บางธีมนั้นเป็นผลงานของห้องสมุดที่ออกแบบ สร้าง และปล่อยออกมาให้ดาวน์โหลดด้วย)

“7 ธีมบล็อก wordpress ที่น่าสนใจสำหรับบล็อกห้องสมุด”
ที่ว่านี้มีดังนี้ :-
1. Law library wordpress theme.

2. Books and Imagination theme.

3. Black Bible theme.

4. Easy Reader theme.

5. BlueWebHosting theme.

6. Trexle Theme.

7. High tech book studies theme.


เป็นยังไงกันบ้างครับกับธีมที่แนะนำในวันนี้เอาเป็นว่า ที่แนะนำทั้งหมดนี้คือธีมที่สามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรีๆ นะครับ ถ้าสนใจธีมไหนก็คลิ๊กที่ชื่อของธีมที่อยู่ด้านบนของแต่ละรูปได้เลยนะครับ

เอาเป็นว่าวันนี้พอแค่นี้ก่อนดีกว่า ไว้จะมาแนะนำอย่างอื่นที่เกี่ยวกับ wordpress วันไหนอีกแล้วกันครับ

Blogging Workshop @ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วันนี้มีการอบรมเรื่อง “ใช้ blog ดึงลูกค้า” ที่ ศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ผมจึงขอสรุปการบรรยายดังกล่าวให้เพื่อนๆ คนอื่นๆ ได้อ่านกันบ้างแล้วกัน

blog-photo

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการอบรม
ชื่อการอบรม : ใช้ blog ดึงลูกค้า
ผู้บรรยาย : คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์
วันและเวลาในการอบรม : วันที่ 8 สิงหาคม 2553
สถานที่ : ห้องฝึกอบรม ชั้น 2 ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

สรุปการอบรมช่วงเช้า
– ความแตกต่างระหว่าง Web, Blog และ Wiki
– แนะนำหลักการและแนวคิดของเว็บไซต์ Web 2.0
– แนะนำการสมัคร wordpress.com เพื่อสร้างบล็อกส่วนตัว
– การตั้งชื่อบล็อกให้น่าสนใจต่อการทำธุรกิจของเรา
– กำหนดรหัสผ่านอย่างไรไม่ให้ถูก hack
– ทำความรู้จักส่วนต่างๆ ของ wordpress เช่น header, blog, widgets
– การตั้งค่าต่างๆ ใน wordpress.com เช่น ชื่อบล็อก เวลา ภาษา
– ความแตกต่างระหว่าง page กับ post
– การเลือกธีม และ widgets ใน wordpress.com
– การเขียน blog 1 เรื่อง ต้องทำอย่างไรบ้าง = ชื่อเรื่อง ชื่อลิงค์ เนื้อเรื่อง tag หมวดหมู่ ฯลฯ

สรุปการอบรมช่วงบ่าย
– การปรับแต่งรูปภาพก่อนนำเข้าบล็อก & การใช้โปรแกรม Xnview
– ข้อแตกต่างระหว่าง wordpress.com กับ wordpress.org
– การจำลองการติดตั้ง wordpress บน server ด้วยโปรแกรม server2go
– การอัพโหลดรูป วีดีโอ ไฟล์ต่างๆ เข้าบล็อก
– การติดตั้งธีมและการเลือกธีมเพื่อใช้ในบล็อก
– การติดตั้ง plugin และการเลือก Plugin เพื่อใช้ในบล็อกสำหรับการประกอบธุรกิจ
– การใช้งาน Plugin WP e-commerce

นี่ก็เป็นการสรุปแบบคร่าวๆ ให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มาได้อ่านนะครับ
จริงๆ แล้วเรื่องของการทำบล็อกผมว่าคงต้องใช้เวลาในการอบรมมากกว่านี้

เวลาเพียง 1 วันอาจจะทำให้เรารู้จักการใช้งานแบบคร่าวๆ
ซึ่งถ้าต้องลงรายละเอียดและการทำงานขั้นสูงคงต้องฝึกฝนด้วยตัวเอง
หรือเกิดจากการทดลองใช้งานจริงๆ และจะทำให้มีประสบการณ์ในการทำงานจริงๆ

สำหรับคนที่ไม่ได้มาในวันนี้ ห้องสมุดประชาชนก็จะจัดทำวีดีโอเพื่อการสอนทำบล็อกนี้ด้วย
ไม่เพียงแค่การอบรมในวันนี้เท่านั้นนะครับ แต่รวมถึงการอบรม เสวนา กิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
ที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีจะมีการบันทึกวีดีโอและตัดต่อวีดีโอเพื่อนำมาให้บริการภายหลังด้วย

ประมวลรูปภาพในงานฝึกอบรมครั้งนี้

[nggallery id=26]

Libcamp#2 : เครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก

วิทยากรที่ดูแลในช่วงนี้ คือ อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ จาก สวทช.
ซึ่งมาพูดในหัวข้อเกี่ยวกับเครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก นั่นเอง

libcamp-wp-elgg

อาจารย์บุญเลิศ ได้แนะนำการทำบล็อกห้องสมุดด้วยเครื่องมือต่างๆ
โดยถ้าเน้นระบบสำเร็จรูปที่รองรับมาตรฐานการใช้บล็อก และดูแลง่ายไม่ซับซ้อน ก็ให้ใช้ WordPress
แต่ถ้าต้องการความซับซ้อน และทำเว็บไซต์ให้ออกมาอยู่ในรูปแบบเครือข่ายสังคม (Social Network) ก็ให้ใช้ elgg ดีกว่า


ใช้ Blog เป็นเครื่องมือทำอะไรได้บ้าง


1. Blog สามารถสร้างเว็บห้องสมุดได้

ศักยภาพของ Blog นอกจากจะมีไว้เขียน Blog ปกติแล้วยังสามารถทำให้ Blog ให้กลายเป็นเว็บห้องสมุด
เช่น การผูก CMS มาตรฐานเข้ากับระบบ OPAC ที่ใช้งานได้ฟรี ทำให้ได้เว็บห้องสมุดที่มีคุณสมบัติมาตรฐานพร้อมใช้งาน
ซึ่งมีข้อดีคือ ใช้ง่าย ประหยัดทั้งงบประมาณ และระยะเวลาในการสร้างระบบเว็บห้องสมุด


2. Blog รองรับการสร้างรายการบรรณานุกรมออนไลน์โดยอัตโนมัติ

ระบบ CMS มาตรฐานที่แนะนำให้บรรณารักษ์เลือกใช้การสร้างระบบห้องสมุดเหล่านี้
สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ปลายทาง ที่ต้องการสร้างรายการบรรณานุกรมอ้างอิง จากข้อมูลในเว็บโดยอัตโนมัติ
โดยผู้ใช้ปลายทางต้องใช้โปรแกรมช่วยสร้างรายการบรรณานุกรมอย่าง Zotero (http://www.zotero.org/)
โดยระบบ CMS มาตรฐานดังกล่าวจะส่งข้อมูล metadata ที่ Zotero ต้องการ
ทำให้ผู้ใช้งานได้รับรายการบรรณานุกรมที่มีข้อมูลสมบูรณ์พร้อมใช้


3. Blog เป็นเครื่องมือสร้าง Community Online และการจัดการความรู้ขององค์กร

หลักของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในองค์กร
เราก็สามารถนำ Blog มาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ แลฃะสร้างชุมชนออนไลน์ในองค์กรได้

4. Blog ทำให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลในเว็บของเราเจอได้ง่ายขึ้น โดยผ่าน search engine
การทำบล็อกที่ดีจะทำให้เนื้อหาของเราถูกค้นเจอได้ง่ายขึ้นผ่าน search engine ด้วย
โดยหลักการแล้วจะเรียกว่าเป็นการทำ SEO ? Search Engine Optimization ก็ว่าได้
โดยเพื่อนๆ ก็ต้องใส่ข้อมูลให้ครบเวลาจะสร้างเนื้อหา เช่น หัวเรื่อง, ชื่อคนแต่ง, แท็ก, คำโปรย เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นเจอ


5. Blog มีระบบ CMS มาตรฐานทำให้ผู้ใช้ปลายทาง มีทางเลือกมากขึ้นในการรับข้อมูลผ่าน feed

การสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้ด้วยการดึงข้อมูลจากบล็อกของเราไปแสดง หีอที่เรียกว่า feed
เราสามารถเลือกใช้งานได้หลายรูปแบบ แบบหนึ่งคือโปรแกรมที่ติดตั้งบน Desktop ของผู้ใช้เอง
หรืออีกวิธีคือการส่ง feed ของเราไปยัง twitter โดยอัตโนมัติเมื่อมีการอัปเดตเนื้อหาในเว็บ
ซึ่งก็ถือว่าเป็นช่องทางในการเผยแพร่เนื้อหาเพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง


6. ระบบ CMS มาตรฐาน มีระบบการวัดสถิติผู้เข้าชม (Stat)

ซึ่งถือว่าเป็นข้อดี คือ ทำให้ผู้บริหารเว็บสามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ได้

นอกจากนี้ อาจารย์บุญเลิศยังได้ให้ แนวคิดในการบริหารจัดการเว็บห้องสมุด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ปลายทาง เช่น
– การกำหนดเป้าหมาย และทิศทางการทำงานขององค์กร เช่น การเป็นห้องสมุดเชิงรุกที่ใช้งบน้อยที่สุด หรือไม่ใช้เลย
– การกระตุ้นให้สมาชิกของหน่วยงานเขียนบล็อกเป็นประจำ
– การกำหนดมาตรฐานการใส่ข้อมูล เช่นการใส่คำโปรย 1-2 บรรทัดที่สรุปเนื้อหาทั้งหมดของเรื่องที่เขียน และการกรอก metadata เช่น tag ให้ครบถ้วน

นับว่าเป็นช่วงที่ได้รับความรู้ และวิธีการต่อยอดจากการทำบล็อกแบบธรรมดา
ให้กลายเป็นบล็อกที่มียอดความนิยมเลยก็ว่าได้นะครับ

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ