Inside OCLC Datacenter – WorldCat

วันนี้คอลัมน์พาเที่ยวห้องสมุดของผมขอเปลี่ยนแนวหน่อยนะครับ
หลังจากที่ผมพาเพื่อนๆ เที่ยวในห้องสมุดเมืองไทยมาก็เยอะพอควรแล้ว
วันนี้ผมมีอีก 1 สถานที่ ที่อยากให้เพื่อนๆ เห็นเหมือนกัน นั่นก็คือ OCLC Datacenter

room1s

อ๋อ ต้องบอกก่อนเลยนะครับว่าผมไม่ได้ไปเยี่ยมชมข้างในจริงๆ หรอกนะครับ
เพราะว่า OCLC Datacenter ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ
แต่เรื่องที่เขียนในวันนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลมาจากหลายๆ ที่ด้วยกันครับ

ก่อนอื่นผมคงต้องแนะนำ OCLC ให้เพื่อนๆ หลายคนรู้จักก่อนนะครับ

OCLC คือใครและทำอะไร OCLC (Online Computer Library Center)
ทำหน้าที่รวบรวมรายการบรรณานุกรมและให้บริการรายการบรรณานุกรมแก่ทุกคน
ผลงานที่สำคัญของ OCLC คือ Worldcat ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งค้นหารายการบรรณานุกรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

รายละเอียดเกี่ยวกับ OCLC ผมแนะนำว่าให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านจาก? http://www.oclc.org
หรือถ้าอยากอ่านแบบง่ายๆ ก็เข้าไปดูที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Online_Computer_Library_Center

เริ่มเข้าเรื่องกันดีกว่า เมื่อเรารู้ว่า Worldcat ถือว่าเป็นแหล่งค้นหารายการบรรณานุกรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แสดงว่าสถานที่ในจัดเก็บข้อมูลรายการบรรณานุกรมจะต้องมีความพิเศษแน่นอนครับ
ไม่ใช่แค่เรื่องของความใหญ่โตของข้อมูลเท่านั้นแต่มันรวมถึงการจัดการข้อมูลต่างๆ ด้วย

room2s room3s

ข้อมูลของ Worldcat ถูกจัดเก็บในห้อง OCLC computing and monitoring facilities ซึ่งในห้องนี้ประกอบด้วย

– มี disk สำหรับจัดเก็บข้อมูล 180 Terabyte

– มีเทปสำหรับใช้ในการ Back up ข้อมูล 10 Petabyte
(สำหรับคนไม่รู้ว่า 1 petabyte มีค่าเท่าไหร่เข้าไปดูที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Petabyte)

– เครื่อง Server สำหรับ Worldcat

– ระบบสนับสนุนการทำงาน Worldcat

– ชิปที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลเหมือนกับที่ Google ใช้อยู่ปัจจุบัน คือ ชิปที่มีการประมวลผลแบบคู่ขนาน

– Hardware ที่ใช้มาจากบริษัท Dell

– ระบบปฏิบัติการที่ใช้ (OS) ใช้ SUSE Linux

เป็นยังไงกันบ้างครับ วันนี้ผมพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวซะไกลเลยทีเดียว
แต่ไม่ว่าจะไกลแค่ไหนถ้ามันน่าสนใจจริงๆ ผมก็จะนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ได้รับรู้อีกนะครับ

ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพจาก
http://hangingtogether.org/?p=273
http://www.lisnews.org/node/22173

งานสัมมนา eContent Management

วันนี้ผมมีงานสัมมนาดีๆ และฟรีๆ มาฝากเพื่อนๆ อีกแล้วครับ
เป็นงานสัมมนาด้านการจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (eContent)

oclc

ข้อมูลทั่วไปของการสัมมนาครั้งนี้
ชื่องานสัมมนา : eContent Management
งานนี้จัดโดย : Advanced Media Supplies Company (AMS)
วันและเวลาที่จัด : 12 มิถุนายน 2552 เวลา 13.00 น. ? 16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 สถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลายคนคงจะงงว่าผู้จัดงานนี้คือใคร? ทำไมถึงเกี่ยวกับการสัมมนาในครั้งนี้

ผมก็ขอเกริ่นๆ เรื่องราวของงานสัมมนาครั้งนี้สักนิดนะครับ
บริษัท AMS เป็นบริษัทที่ได้ประสานงานกับ OCLC และได้เป็นผู้แทนในการจัดการประชุมครั้งนี้ครับ
และทาง OCLC ก็ได้ส่ง Mr.Andrew Wang และ Miss Tsai Shu-En
เพื่อมาบรรยายแนวทางในการบริการ และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรห้องสมุดสมัยใหม่

หัวข้อที่น่าสนใจในการสัมมนาครั้งนี้


– One-stop Integrated OCLC Licensed eContent Management ประกอบด้วย First Search databases, ECO eJournals, NetLibrary eBooks, eAudiobooks, CAMIO ซึ่งจะอยู่บน Platform WorldCat.org เพียง platform เดียว

– Content DM – Digital Collection Management Software

– World Cat Local? -? the world’s richest database for discovery of materials held in libraries.

– Web Dewey ?? Online Decimal Classification (DDC) บน Internet

เห็นแค่หัวข้อแบบคร่าวๆ แล้วผมเองก็ชักจะสนใจจะไปงานนี้แล้วหล่ะครับ
หัวข้อที่ผมสนใจในครั้งนี้คือ การทำงานบน WorldCat.org
รวมถึงการจัดการข้อมูลต่างๆ บน WorldCat.org

ส่วนอีกหัวข้อที่น่าสนใจไม่แพ้กันนั้นคือ Web Dewey
เป็นเรื่องของการจัดหมวดหมู่แบบตัวเลขทศนิยมบนสื่อออนไลน์

การสัมมนาครั้งนี้จริงๆ แล้วเขาจัด 3 วันนะครับ สะดวกวันไหน หรือสะดวกที่ไหนก็ลองติดต่อดูนะครับ

– วันพุธที่ 10 มิถุนายน? 2552 เวลา 9:00 น. ? 12:00 น.
ณ ห้องประชุม หอสมุดแห่งชาติ? (สำหรับบุคลากรห้องสมุดในองค์กร/สถาบัน/หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน)

– วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2552 เวลา 13.00 น. -16.00 น.
ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 อาคารใหม่ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(สำหรับบุคลากรห้องสมุดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทางภาคเหนือ)

– วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2552 เวลา 13.00 น. ? 16.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 7 สถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำหรับบุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัย)

เพื่อนๆ ที่สนใจงานสัมมนานี้ สามารถดาวน์โหลด จดหมายเชิญได้ที่นี่
— จดหมายเชิญ (ภาษาไทย) —
— จดหมายเชิญ (ภาษาอังกฤษ) —

นี่แหละครับ ห้องสมุดสมัยใหม่ตามแบบที่ผมอยากให้มีในเมืองไทย
ก็ได้แต่หวังว่าสักวันจะมีองค์กรในไทยได้มีการจัดการข้อมูลในลักษณะนี้บ้างนะครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับกิจกรรมที่ผมนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้
จะมีเพื่อนคนไหนไปบ้างน้า ผมจะได้ฝากเก็บเอกสารการสัมมนาครั้งนี้ให้ด้วย
เอาเป็นว่าใครจะไปก็ฝากบอกผมด้วยนะ จะขอบคุณมากมายเลย