วันนี้ได้มีโอกาสกลับมาอ่านบล็อกของบรรดาผู้บริหารห้องสมุดที่ประสบความสำเร็จ แล้วเจอเรื่องหนึ่งที่่น่าสนใจมาก คือ “การจัดการความเปลี่ยนแปลง” หรือ “Change Management” ซึ่งได้กล่าวถึงความท้าทายจริงๆ ของเรื่องนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงในเชิงเทคโนโลยี กระบวนการทำงาน จริงๆ แล้วไม่ยาก แต่ความยากอยู่ที่ “คน” เพราะ จะเริ่มต้นเปลี่ยนแปลง หรือ สิ้นสุดการเปลี่ยนแปลง “คน” คือ สิ่งแรกที่ต้องจัดการ
การบริหาร
ทุกอย่างที่ผู้บริหารห้องสมุดควรรู้ [หนังสือ]
ในช่วงนี้ได้ใช้บริการซื้อหนังสือจาก Amazon บ่อยขึ้น
เนื่องจากหนังสือที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ค่อนข้างหายากในท้องตลาด
ล่าสุดผมสั่งหนังสือไปอีก 2 เล่ม ดังนี้
1. What Every Library Director Should Know
2. The Public Library: A Photographic Essay
เอาเป็นว่า วันนี้ผมขอเกริ่นถึงหนังสือเล่มแรกก่อนแล้วกัน
นั่นคือ What Every Library Director Should Know
หรือแปลตรงๆ ว่า “ทุกอย่างที่ผู้บริหารห้องสมุดควรรู้”
ผู้บริหารห้องสมุดยุคใหม่ต้องทำอะไรบ้าง
เรื่องที่ผมจะนำมาลงให้อ่านในวันนี้ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ผมจด Lecture มาตั้งแต่สมัยผมเรียน ป.ตรี
แต่พอเอามาอ่านย้อนหลังแล้วรู้สึกว่ามีประโยชน์ต่อหลายๆ คน เลยเอามาให้อ่านกันดู
(จริงๆ แล้ว ใน lecture ผมไม่ได้เขียนละเอียดหรอกนะครับ แต่ที่เอามาลงนี่คือการ rewrite ใหม่เท่านั้น)
?บทบาทและสมรรถภาพของผู้บริหารห้องสมุด? มีดังนี้
– Direction Setter
ผู้บริหารห้องสมุด คือ ผู้กำหนดทิศทางในการบริหารงานห้องสมุด พร้อมใช้เทคนิค และเครื่องมือทางการบริหารนำมาปรับให้เข้ากับห้องสมุด เช่น TQM, BSC, KPI?
– Leader catalyst
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องมีความสามารถในการกระตุ้นการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา และมีภาวะความเป็นผู้นำที่ดี
– Planner
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องรู้จักวางแผนงาน นโยบาย แผนปฏิบัติงาน แผนกลยุทธ์ การจัดลำดับความสำคัญของงาน และการแบ่งงานที่ดี
– Decision Maker
ผู้บริหารห้องสมุดเป็นผู้ที่มีบทบาทในการตัดสินใจ และเลือกวิธีในการปฏิบัติงาน ดังนั้นความเฉียบขาดจึงเป็นสิทธิที่พึงมีในตัวผู้บริหารด้วย
– Organizer
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักองค์กรแบบภาพกว้างๆ และมีความสามารถในการจัดการองค์กร เลือกคนให้เข้ากับงาน (put the right man on the right job)
– Change Management
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักบริหารการเปลี่ยนแปลง? งานบางงานอาจจะผิดแผนไปจากเดิมแต่ผู้บริหารก็ต้องคบคุมให้ได้ด้วย และผู้บริหารห้องสมุดต้องมีการปรับและประยุกต์งานของตนให้เข้ากับสังคม หรือองค์กรอื่นๆ ให้ได้ด้วยเช่นกัน
– Coorinator
ผู้บริหารห้องสมุดนอกจากจะเป็นผู้ที่อยู่ในระดับสูงขององค์กรแล้ว แต่สิ่งที่จะเป็นแรงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ก็คือการที่ผู้บริหารห้องสมุดมีส่วนร่วมในงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาดูแล เช่น การจัดกิจกรรมในห้องสมุดผู้บริหารห้องสมุดก็ควรเข้าร่วม (อาจจะไม่ถึงกับต้องทำกิจกรรม แต่ให้การสนับสนุน ให้คำแนะนำก็ได้เช่นกัน)
– Communicator
ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดี การสื่อสาร หรือการชี้แจงงานให้ชัดเจน ไม่สร้างความคุมเคลือให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสงสัย
– Conflict Manager
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดในห้องสมุดได้ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่าง คนกับคน หรือ คนกับงาน การที่ผู้บริหารห้องสมุดสามารถไกล่เกลี่ยปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ จะต้องวางใจเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตัดสินด้วยเหตุผล และยุติธรรม
– Problem Manager
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักการแก้ไขปัญหาล่วงหน้า รู้จัแบ่งความสำคัญของปัญหาว่าสิ่งใดเป็นปัญหาเล็ก สิ่งใดเป็นปัญหาใหญ่ และแก้ไขปัญหาตามลำดับความสำคัญได้อย่างดี
– System Manager
ผู้บริหารห้องสมุดจะต้องรู้จักการวิเคราะห์ระบบ วิเคราะห์ปัญหา และควบคุมระบบงานต่างๆ อย่างมีระเบียบและมีขั้นตอน
– Instructional Manager
ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีความสามารถทั้งในงานการปฏิบัติงานห้องสมุด และมีความสามารถทางด้านการเรียนการสอนด้วย การสอนที่ว่านี้ไม่ใช่แต่นักเรียน นักศึกษา อย่างเดียวนะครับ แต่หมายรวมถึงผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย
– Personal & Resource Manager
ผู้บริหารห้องสมุดนอกจากจะต้องควบคุมองค์กรได้แล้ว การควบคุมผูใต้บังคับบัญชา และทรัพยากรต่างๆ ในห้องสมุดก็ถือว่ามีความสำคัญด้วยเช่นกัน และต้องรู้จักการจัดสรรทรัพยากรทั้งคนและสิ่งของให้เข้ากับลักษณะงานด้วย
– Appraiser
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักการประเมินผลงานการดำเนินงาน ต่างๆ ในห้องสมุด โดยอาศัยเทคนิค หรือใช้เครื่องมือต่างๆ ในการประเมินก็ได้
จบแล้วครับ?เป็นไงกันบ้าง
งานในฐานะของผู้บริหารห้องสมุดนี่ก็เยอะเหมือนกันนะครับ
ต้องดูแลงานบริหารด้านต่างๆ จัดการกับปัญหาภายในห้องสมุด
แถมต้องพาห้องสมุดไปยังจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของห้องสมุดอีก
เฮ้อ เหนื่อยแทนเลยจริงๆ นะครับ
เรื่องของเทคโนโลยีที่ไม่เคยเกิดกับห้องสมุดแห่งนี้
ห้องสมุดของสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งมีลักษณะเช่นนี้ ผมเลยขอเอามาให้เพื่อนๆ ช่วยวิจารณ์กันหน่อยแล้วกัน
เนื่องจากองค์กรแห่งนี้เน้นเทคโนโลยีต่างๆ นานาในสถาบันการศึกษา แต่ไม่เคยสนใจห้องสมุด
แม้ว่าเทคโนโลยีจะถูกเน้นให้เกิดในองค์กร แต่ก็ถูกละเลยจากบุคลากรในองค์กรอยู่ดี เช่น
– การติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยี VOIP แต่ก็ไม่เคยมีใครใช้
– แจก Ipod ให้บุคลากรแต่ใช้ไม่เป็น
– อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แต่มีไว้โหลดหนัง โหลดเพลง
– มีการจัดสอบวัดความรู้ด้านไอทีในองค์กร แต่สามารถส่งตัวแทนไปสอบได้
– ระบบการให้บริการด้วยเว้บไซต์ออนไลน์ แต่คนส่วนใหญ่ใช้ไม่เป็นสุดท้ายก็ต้องเดินมาที่แผนก
– เว็บไซต์องค์กรที่ไม่เคยอัพเดทเลย
นี่คือสิ่งที่องค์กรตอบสนองให้บุคลากรในหน่วยงาน แต่สิ่งที่ได้มาคือความไร้ค่ามากๆ
บ้างก็ใช้ไม่เป็น บ้างก็นำไปใช้ผิดจุดประสงค์ กลุ้มใจแทนองค์กรเลยครับ
ทีนี้หันมาดูที่ห้องสมุดบ้างดีกว่า
1. มีคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการสืบค้น (ที่โต๊ะบรรณารักษ์เท่านั้น)
2. ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเป็นระบบที่ใช้ได้เสถียรที่สุด และไม่ยืดหยุ่นให้ใคร (วันหยุดก็จะคิดค่าปรับแถมให้ด้วย)
3. เครื่องทำสำเนาของสื่อโสตฯ ทำได้ (แต่เอากลับบ้านไปทำนะบรรณารักษ์)
4. ชั้นหนังสือมีจำนวนมาก (แต่หนังสือมากกว่า)
5. มีสื่อโสตฯ มากมาย (เอากลับไปดูที่บ้านนะครับ)
6. มีเว็บห้องสมุด (แต่ต้องไปฝากคนอื่นเอาขึ้น server)
นอกจากเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว จริงๆ ยังมีอีกหลายเรื่องนะครับ
แต่ขอเอาไว้เล่าให้ฟังต่อคราวหน้าดีกว่า เพราะแค่นี้ยิ่งอ่านก็ยิ่งสลดแล้ว
สุดท้ายก็ขอฝากให้เพื่อนๆ ช่วยกันคิดหน่อยนะครับว่าสาเหตุมาจากอะไร แล้วเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร
สรุปสไลด์การบริหารจัดการห้องสมุดดิจิตอล
วันนี้ว่างๆ ไม่มีอะไรทำเลยขอขุดสไลด์เก่าๆ มานั่งอ่านและทำความเข้าใจ
ซึ่งจริงๆ แล้วสไลด์เหล่านี้ก็มีความรู้ดีๆ และแง่คิดดีๆ แฝงไว้เยอะมาก
สไลด์ที่ผมอ่าน มีชื่อเรื่องว่า ?นโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางในการจัดการห้องสมุดดิจิตอล?
ซึ่งเป็นสไลด์ของรองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ครับ
โดยเนื้อหาในสไลด์ได้มีการพูดถึงเรื่องแนวโน้มของสังคมที่เปลี่ยนจาก
ยุคอุตสาหกรรมไปเป็นยุคสารสนเทศว่ามีความแตกต่างกัน
ตัวอย่างเช่น
ในยุคของอุตสาหกรรมมีการใช้ข้อมูลแบบตัวใครตัวมัน
ส่วนในยุคสารสนเทศจะเน้นการใช้ข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูล
ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ในยุคสารสนเทศจะทำให้เกิดกฎระเบียบใหม่ / พฤติกรรมใหม่ / รูปแบบความสัมพันธ์แบบใหม่
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงทางการเรียนรู้ครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นมานะครับ
คลื่นที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ บทบาทของอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นที่เชื่อมโยงและเป็นชุมชนความรู้ขนาดใหญ่
จากสิ่งที่ได้กล่าวมาทำให้มีการออกแบบห้องสมุดในรูปแบบใหม่ๆ
ทำให้เกิด ห้องสมุดเสมือนจริง, ห้องสมุดดิจิตอล และอื่นๆ
อาจารย์ยืน ยังได้ให้นิยามของห้องสมุดเสมือนจริงว่า
1. ห้องสมุดจะให้บริการได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา
2. การให้บริการสื่อดิจิตอลจะเพิ่มมากขึ้น
3. ข้อมูล สารสนเทศ และควารู้จะมีความหลากหลายและอยู่บนเครือข่าย
4. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริการ
5. การบริการเสมือนจริงโดยการนำเว็บ 2.0 เข้ามาใช้เพื่อพัฒนางานต่างๆ
6. มีการสร้างความร่วมมือเพื่อแบ่งปันข้อมูลและสร้างสังคมความรู้
หลังจากนั้นอาจารย์ยืนได้กล่าวถึงเทคโนโลยีของเว็บ 2.0
และได้ยกคำพูของ Bill Gates ที่พูดว่า ?อนาคตการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทำได้จากทุกที่?
——————————————————————————–
สรุปอีกทีนะครับ(ความคิดของผม)
ดูจากนิยามแล้วมันคล้ายๆ กับ นิยามของ Library 2.0 นะครับ
เช่นเอาเว็บ 2.0 มาประยุกต์ใช้และอีกอย่างจุดประสงค์ผมว่ามันก็คล้ายๆ กัน
คือ ?ทำอย่างไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด?
อีกเรื่องที่ผมชอบคือการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ดังนั้นเราควรจะเริ่มจากสังคมวิชาชีพของตัวเองให้มั่นคงก่อน แล้วค่อยๆ สร้างสังคมอื่นๆ ต่อไป?
สำหรับสไลด์ชุดนี้โหลดได้ที่ http://tla.or.th/004.ppt
ทักษะทันสมัยสำหรับนักวิชาชีพสารสนเทศ
วันนี้มีงานฝึกอบรมงานนึงที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟัง
งานจัดโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ข้อมูลทั่วไปของงานฝึกอบรม
ชื่องานภาษาไทย : ทักษะทันสมัยสำหรับนักวิชาชีพสารสนเทศ
ชื่องานภาษาอังกฤษ : New Age Skills for Information Professionals
วันที่จัดงาน : วันที่ 30 มิถุนายน 2552
เวลาการจัดงาน : 8.30-16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ณ ห้องประชุม 4 อาคาร 1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
จัดโดย ศูนย์ความรู้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
งานนี้เป็นงานที่น่าสนใจมากสำหรับผู้ที่อยากเป็นนักสารสนเทศยุคใหม่
เนื่องจากในการฝึกอบรมครั้งนี้มีหัวข้อที่เน้นทางด้าน web 2.0 ด้วย
ลองดูหัวข้อที่น่าสนใจกันก่อนดีกว่า
– การบริหารความเปลี่ยนแปลงกับทักษะทันสมัยสำหรับนักสารสนเทศ
– Social web… การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์
ทักาะเหล่านี้ผมคิดว่าเป็นต่อวงการวิชาชีพเราอย่างยิ่ง
การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในต่อนี้
เพราะการทำอะไรก็ตามถ้าเราไม่มีแผนการบริหารความเสี่ยง
พอเกิดวิกฤตกับเรา เราก็อาจจะคิดหรือแก้ปัญหาไม่ได้
ส่วนทักษะทางด้าน Social web ยิ่งน่าสนใจใหญ่เลยครับ
เพราะว่าเป็นการใช้เครื่องมือทางอินเทอร์เน็ตในการสร้างชุมชนออนไลน์ต่างๆ ด้วย
การอบรมในครั้งนี้วิทยากรของงานนี้คือ
– รศ.ดร. น้ำทิพย์ วิภาวิน
– น.ส. ประดิษฐา ศิริพันธ์
ค่าอบรมในครั้งนี้ก็ 1400 บาทเท่านั้นเองครับ
ถ้าเทียบกับความรู้ที่ได้ก็คุ้มค่าเหมือนกันนะครับ
เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองเข้าไปดูได้ที่
http://klc.tistr.or.th/include/download/IPskill-training_20090630.pdf