คลิปวีดีโอ : Google ก็ดีอยู่แล้ว แต่ห้องสมุดดีกว่านะ

วันนี้บังเอิญไปเจอคลิปวีดีโอตัวนึงมา เห็นชื่อเรื่องก็ตกใจเล็กน้อย “Google is good. Libraries are better.” แต่พอดูๆ ไปก็เข้าใจแล้วว่าห้องสมุดดีกว่ากูเกิลยังไง เลยขอแนะนำคลิปวีดีโอนี้ให้เพื่อนๆ ดู

ไปดูวีดีโอกันก่อนเลยดีกว่าครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ พบคำตอบหรือยังว่าห้องสมุดดีกว่ากูเกิลยังไง

อธิบายง่ายๆ คือ กูเกิลเป็นเพียงแค่หุ่นยนต์ (robot) ในการสืบค้น
มันสามารถสืบค้นข้อมูลได้มากมาย แต่มันไม่สามารถตอบคำถามเราได้ชัดเจน
ส่วนใหญ่จะเน้นไปทาง “คำสำคัญ หรือ Keyword” มากกว่า

แต่ถ้าเราตั้งเป็นประโยคคำถามไปตรงๆ กูเกิลก็คงตอบเราไม่ได้เช่นกัน
กูเกิลเป็นเพียงหุ่นยนต์ ไม่ใช่คน ดังนั้นเรื่องของความรู้สึก กูเกิลก็คงตอบเราไม่ได้ด้วยเช่นกัน

ยกตัวอย่างจากในวีดีโอ

“Do you have any books on the moon” คุณมีหนังสือที่เกี่ยวกับดวงจันทร์หรือปล่าว
ถาม google – google แสดงผลการสืบค้นอะไรออกมาก็ไม่รู้เยอะแยะ
ถามห้องสมุด – คุณก็เดินไปที่ชั้นหนังสือในกลุ่มดาราศาสตร์ได้เลย

“Can you help me find out about my grandmother?” คุณช่วยฉันตาหาย่าของฉันได้มั้ย

ถาม google – google แสดงผลการสืบค้นอะไรออกมาก็ไม่รู้เยอะแยะ
ถามห้องสมุด – โอเค งั้นเราไปช่วยกันตามหาท่านกันดีกว่า

เป็นไงบ้างครับ นี่ก็เป็นตัวอย่างเล็ก ที่แสดงให้เห็นแล้วว่า ระหว่าง google กับ ห้องสมุด ใครเหนือกว่ากัน
เอาเป็นว่าวันนี้ก็ฝากเอาไว้ให้คิดเล่นๆ กันเท่านี้ก่อนนะครับ

ผลสำรวจจำนวนคำที่ใช้ในการสืบค้นบน search engine

เวลาที่เพื่อนๆ ต้องการสืบค้นข้อมูลหรือเว็บไซต์ใน google เพื่อนๆ มักจะสืบค้นด้วยคำ keyword ใช่มั้ยครับ
แล้วคำ keyword เหล่านั้น เพื่อนๆ ใช้กี่คำในแต่ละการสืบค้น 1 ครั้งละครับ คำเดียว สองคำ สามคำ หรือ…

keyword-website

วันนี้ผมเอาผลสำรวจเกี่ยวกับเรื่องการใช้คำ keyword เพื่อการสืบค้นข้อมูลมาให้เพื่อนๆ ดูครับ
ข้อมูลดังกล่าวสำรวจโดย OneStat และถูกนำเสนอในเรื่อง Most Searchers Have Two Words for Google

ซึ่งผมได้สรุปประเด็นสำคัญออกมาได้ดังนี้

– คนส่วนใหญ่ที่ใช้ google ในการสืบค้นข้อมูล พวกเขามักจะพิมพ์คำ Keyword จำนวน 2 คำในช่องสืบค้น
ซึ่งผลที่ออกมาคือ พวกเขาจะได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน ถูกต้อง และละเอียดขึ้น

– นอกจาก google ที่มีสถิติการใช้คำKeyword จำนวน 2 คำแล้ว search engine รายอื่นๆ ก็พบประเด็นในทำนองเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็น MSN, Yahoo ผู้ใช้ก็จะมีพฤติกรรมทำนองเดียวกัน คือ ใช้ Keyword จำนวน 2 คำ

– ผลสำรวจนี้อ้างอิงจากผู้ใช้จำนวน 2 ล้านคนใน 100 ประเทศ

ข้อมูลจากการสำรวจ : จำนวนคำสืบค้นที่ใส่ในช่องค้นหา / จำนวนเปอร์เซ็นต์ของคนในกลุ่มต่างๆ

ใช้ Keyword จำนวน 1 คำค้นในช่อง มีจำนวน 15.2 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 2 คำค้นในช่อง มีจำนวน 31.9 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 3 คำค้นในช่อง มีจำนวน 27 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 4 คำค้นในช่อง มีจำนวน 14.8 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 5 คำค้นในช่อง มีจำนวน 6.5 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 6 คำค้นในช่อง มีจำนวน 2.7 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 7 คำค้นในช่อง มีจำนวน 1.1 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 8 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.5 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 9 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.2 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 10 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.1 เปอร์เซ็นต์

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับผลสำรวจ
หากเรามาลองวิเคราะห์กันจริงๆ แล้ว ผมเห็นด้วยกับการใช้คำจำนวน 2-3 คำครับ
เพราะว่ามันจะทำให้เราได้ผลลัพธ์ได้ดีและตรงกับความต้องการมากขึ้น

หากเราใช้คำเดียวมันอาจจะได้ผลลัพธ์ที่กว้างและมากเกินไปจนทำให้เราต้องมานั่งกรองคำอีก
ซึ่งนั่นหมายความว่าจำนวนมากๆ ปัญหาที่ตามมาคือการตรวจสอบว่าใช่เรื่องที่ต้องการจริงหรือปล่าวครับ
และในทางกลับกันหากเราใช้คำค้นเยอะเกินไปมันก็อาจจะทำให้ระบบไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาได้

ทางที่ดีแล้วเราควรจะดูวัตถุประสงค์ของการค้นข้อมูลของเราด้วย เช่น หากเป็นศัพท์เฉพาะทางแล้วใช้คำน้อยๆ มันก็เจอครับ
แต่หากเป็นคำที่มีความหมายกว้างเราก็ควรใส่คำเงื่อนไขเพื่อกรองคำให้ตรงกับความต้องการ

ตัวอย่างเช่น

เราต้องการค้นคำว่า LPG คำๆ นี้มีความหมายแคบอยู่แล้ว ดังนั้นเราจะค้นโดยใส่คำแค่ไม่กี่คำก็พอแล้ว
แต่หากเราจะค้นคำว่า travel คำนี้มันกว้างไปดังนั้นเราควรเพิ่มเงื่อนไขอีกเช่น
travel in Thailand บางทีมันก็อาจจะกว้างอีกเราก็เพิ่มไปเรื่อยๆ ครับเช่น travel in north of thailand
อิอิ นั่นแหละครับคือการกรองให้ตรงกับความต้องการของเราให้ได้มากที่สุดครับ

ปล. อ๋อลืมบอกไปอย่างนึงว่าคำที่มาจากการสำรวจ คือ คำในภาษาอังกฤษนะครับ
ไม่ใช่คำในภาษาไทยเพราะไม่งั้นบางทีคำเดียวก็ยาวเป็นกิโลตามสไตล์คนไทย อิอิ

หาหนังสืออ่านเล่นใน Google books search ดีกว่า

เรื่องนี้เขียนมานานแล้ว แต่อยากให้อ่านกันอีกสักรอบครับ
เกี่ยวกับการสืบค้นหนังสือโดยเฉพาะพวก text book ในเว็บไซต์ Google Books Search

textbook

ทำไมผมต้องแนะนำให้ใช้ Google Books Search หรอ….สาเหตุก็มาจาก :-
ข้อจำกัดของการใช้ Web OPAC ที่สืบค้นได้แต่ให้ข้อมูลเพียงแค่รายการบรรณานุกรมของหนังสือเท่านั้น
แต่ไม่สามารถอ่านเนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนั้นได้ เพราะฉะนั้นผู้ใช้จึงต้องเดินทางมายืมหนังสือที่ห้องสมุด
แต่ลองคิดสิครับว่าถ้าห้องสมุดปิด เพื่อนๆ จะอ่านเนื้อเรืองของหนังสือเล่มนั้นได้ที่ไหน

และนี่คือที่มาของการสืบค้นหนังสือบนโลกออนไลน์

ปัจจุบัน Search Engine ที่มีผู้ใช้งานในลำดับต้นๆ ของโลก ทุกคนคงจะนึกถึง Google
เวลาที่เราต้องการข้อมูลอะไรก็ตามเราก็จะเริ่มที่หน้าของ Google แล้วพิมพ์คำที่เราต้องการค้น เช่น ระบบสารสนเทศ
ผลของการสืบค้นจากการใช้ Search Engine จะมีสารสนเทศจำนวนมากถูกค้นออกมา
เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ ผู้ใช้สามารถได้เนื้อหาและข้อมูลในทันที แต่เราจะเชื่อถือข้อมูลได้มากเพียงไรขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของข้อมูล
รวมถึงเราจะนำข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ตไปอ้างอิงประกอบได้หรือไม่
แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเอกสารที่เราสืบค้นมีใครเป็นผู้แต่งที่แท้จริง

googlebooks

Google Book Search – http://books.google.com/
เป็นบริการใหม่ของ Google ที่ให้บริการในการสืบค้นหนังสืออิเล็ทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ซึ่งผลจาก การสืบค้นปรากฎว่าได้สารสนเทศแบบเต็ม (Full-text Search)
ซึ่งช่วยให้ผู้ที่ทำงานวิจัยอาจารย์ นักศึกษา สามารถค้นหนังสือและอ่านหนังสือได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทางด้านถานที่และเวลา

ยกตัวอย่างจาก นาย ก. เช่นเดิมที่ค้นหนังสือสารสนเทศในตอนเที่ยงคืนของวันอาทิตย์
หากนาย ก. ใช้บริการ Google Books Search ในตอนนั้น นาย ก. ก็จะได้ข้อมูลในทันที ไม่ต้องรอมาที่ห้องสมุด

แต่อย่างไรก็ตาม Google Books Search ยังมีข้อจำกัดหนึ่งสำหรับคนไทยคือ
ยังไม่สามารถสืบค้นหนังสือฉบับภาษาไทยได้ ดังนั้นหนังสือที่ค้นได้จะอยู่ในภาษาอื่นๆ เท่านั้น
คนไทยคงต้องรอกันอีกสักระยะมั้งครับถึงจะใช้ได้อย่างสมบูรณ์

แต่ถ้าอนาคต Google ทำให้สามารถค้นหนังสือภาษาไทยได้ถึงต่อนั้น
Google คงเป็นหนึ่งในคู่แข่งของห้องสมุดแน่ๆ อีกไม่นานต้องรอดูกันไป

ปล. มีบทความนึงที่น่าสนใจ เกี่ยวกับเรื่อง Full-text Searching in Books
เป็นบทความที่พูดถึง Google Books Search และ Live Search Books

วันนี้ผมขอแนะนำเพียงเล็กน้อยไว้วันหลังผมจะมา demo
และสอนเทคนิคการสืบค้นอย่างสมบูรณืแล้วกันนะครับ

การค้นหาหนังสือในเว็บไซต์ห้องสมุดด้วย OPAC

ปัจจุบันการค้นหาหนังสือในห้องสมุดดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากนะครับ
จากบัตรรายการมาเป็น OPAC หรือ WEBPAC ซึ่งทำให้เราค้นหาหนังสือได้จากทุกที่ทุกเวลา
แต่การค้นหาทุกๆ อย่างก็มีข้อจำกัดของมัน วันนี้ผมขอเขียนถึง OPAC แล้วกันนะครับ

libraryopac

OPAC (Online Public Access Catalog) เป็นระบบค้นหารายการหนังสือในห้องสมุด
โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ แทนที่ระบบแบบเก่าที่เป็นบัตรกระดาษผู้ใช้บริการห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด หรือว่าใช้คอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

หลายคนคงคุ้นเคยกับการใช้งาน OPAC กันแล้วนะครับ
ในเว็บของห้องสมุดเกือบทุกที่จะมีบริการสืบค้นหนังสือออนไลน์ (OPAC / WEBPAC)
และหลายๆ คนคงคิดว่าระบบ OPAC นี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นหนังสือได้ทุกที่ทุกเวลา

แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกคุณเคยคิดมั้ยว่า…
เวลาเราค้นหนังสือเจอใน OPAC แล้วเราทำไงต่อ

ระบบ OPAC นี้สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาก็จริงแต่พอค้นหนังสือเจอแล้วแต่ก็อ่านไม่ได้
สิ่งที่เราได้คือเรารู้ว่ามันเก็บอยู่ที่ไหนเพียงเท่านั้นและบอกว่าหนังสือนั้นอยู่ในห้องสมุดหรือปล่าว

หากเราต้องการหนังสือเราก็ต้องเดินทางมาที่ห้องสมุดอยู่ดี
ระบบ OPAC อาจจะใช้งานได้ในทุกที่ทุกเวลาก็จริง
แต่ถ้าเราค้นหาหนังสือตอนห้องสมุดปิดบริการหล่ะ เราจะทำยังไง

ผมขอยกตัวอย่างปัญหาสักนิดมาให้อ่านนะครับ

ตัวอย่างที่ 1 นาย ก. สืบค้นหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
นาย ก. จึงเปิดเข้าไปในเว็บห้องสมุดในเวลาเที่ยงคืนของวันอาทิตย์แล้วพิมพ์คำค้นว่า ระบบสารสนเทศ นาย ก.
ได้รายชื่อหนังสือที่เกี่ยวกับสารสนเทศโดยมีหนังสืออยู่ที่ห้องสมุดกลาง จำนวน 3 เล่ม
แทนที่นาย ก.จะอ่านได้เลยแต่นาย ก.กลับต้องรอวันจันทร์วันที่ห้องสมุดเปิดทำการ
จึงจะสามารถไปที่ห้องสมุดแล้ว ยืมได้ – – – นี่แหละระบบที่ตอบสนองทุกที่ทุกเวลาแต่สถานที่ไม่ใช่

ตัวอย่างที่ 2 ในวันจันทร์ นาย ก.คนเดิมที่ได้รายชื่อหนังสือแล้วเข้าไปที่ห้องสมุดไปหาหนังสือที่ตนเองค้น ไว้
ผลปรากฎว่าหนังสือที่ค้นเนื้อหาด้านในไม่ตรงกับสิ่งที่ นาย ก.ต้องใช้
สรุปก็ต้องหาใหม่ – – – นี่แหละเห็นรายการแต่ไม่เห็น content

แล้วอย่างนี้จะแก้ปัญหาได้อย่างไร

สมมุติถ้านาย ก. หาข้อมูลใน Search Engine แต่แรก
คงได้อ่านตั้งแต่คืนวันอาทิตย์แล้ว ไม่ต้องเสียเวลามาที่ห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่าอย่างที่ผมบอก ไม่มี solution ไหนที่ดีที่สุดสำหรับห้องสมุด
เพียงแต่เราต้องหาทางแก้ไขและปรับปรุงการให้บริการของเราให้ดีขึ้นต่างหาก

ทางแก้ของเรื่องนี้อยู่ผมจะนำมาเขียนเล่าให้ฟังวันหลังนะครับ
เกี่ยวกับเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการเชิงรุกของห้องสมุดบ้าง
ว่าเพื่อนๆ จะต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้

ปล.ที่เขียนเรื่องนี้มาไม่ใช่ว่าต้องการจะล้มระบบ OPAC หรอกนะครับ? และไม่ได้มีเจตนาในการเปรียบเทียบแต่อย่างใด

แนะนำ Journallink เพื่อใช้ค้นหาบทความวิชาการ

วันนี้ผมขอออกแนววิชาการบ้างนะครับ หลังจากเขียนเรื่องสบายๆ มาหลายวัน
โดยวันนี้ผมจะขอนำเสนอเกี่ยวกับ ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)

journallink

ทำไมผมถึงต้องเขียนเรื่องนี้นะหรอครับ เอาเป็นว่าสาเหตุมาจาก
มีเพื่อนบรรณารักษ์คนนึงใน Hi5 กลุ่ม Librarian in Thailand มาตั้งคำถามว่า

?ผู้ใช้ ต้องการวารสารเล่มนี้อ่ะคับ ทีไหนมี รบกวนบอกด้วยนะคับ รบกวน จิงๆ นะคับ American Journal of Enology and Viticulture?

ผมจึงขอนำเสนอวิธีการค้นหาวารสาร และบทความวารสารเล่มนี้มาฝากนะครับ
เผื่อว่าถ้าเพื่อนๆ บรรณารักษ์ เจอคำถามประมาณนี้จะตอบผู้ใช้ห้องสมุดได้อย่างถูกต้อง

journal-link

ทางออกของการค้นหาวารสารสักเล่มว่าอยู่ที่ห้องสมุดไหน
โดยทั่วไปผมจะใช้ ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย หรือ Journallink
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.journallink.or.th/

———————————————————————————

ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย จะเป็นฐานข้อมูลเพื่อค้นหาว่าวารสารเล่มที่เราค้น อยู่ที่ห้องสมุดไหนบ้าง
ที่มาของฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)
เกิดจากการร่วมมือกันของห้องสมุดภายในประเทศจำนวน 211 แห่ง

ในการใช้งานแบ่งออกเป็น 2 สถานะ คือ :-
1. ห้องสมุดที่ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิก
2. ผู้ใช้ทั่วไป (อันนี้แหละครับที่ผมจะแนะนำให้ค้น)

แต่การค้นแบบผู้ใช้ทั่วไป เพื่อนๆ จะต้องกรอกข้อมูลลงทะเบียนดังนี้
– ที่พัก (เลือกจังหวัดที่เราอยู่)
– อาชีพ (เลือกอาชีพของเรา)
– สังกัด (รัฐ / เอกชน / สถานศึกษา)

พอลงทะเบียนเสร็จก็จะเข้าสู่เมนูการสืบค้น เพื่อนๆ สามารถเลือกสืบค้นข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น
– ตามลำดับอักษร คือ เรียงชื่อวารสารตามลำดับอักษร A ? Z และ ก ? ฮ
– ชื่อวารสาร
– ISSN คือ หมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number)
– องค์กรหรือสถาบัน/Institution
– หัวเรื่อง/keyword

———————————————————————————

นี่ก็เป็นการแนะนำแบบคร่าวๆ นะครับ สำหรับฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)
คราวนี้เรามาดูโจทย์ของเราดีกว่า (อันนี้ยกกรณีของคำถามมาแสดงให้ดู)
ผมต้องการหาว่า ?American Journal of Enology and Viticulture? อยู่ที่ห้องสมุดไหนบ้าง

ขั้นตอนในการค้นหา

1. ผมก็เลือกการค้นแบบ ชื่อวารสาร จากนั้นผมก็กรอกรายชื่อวารสารในช่องสืบค้น

example-search1

2. ผลลัพธ์จากการสืบค้น คือ ผมพบวารสารเล่มนี้

result-search1

3. เข้าไปดูรายละเอียด ของวารสารที่สืบค้น

result-search2

เป็นอันจบกระบวนการสืบค้นวารสารนะครับ

สรุปจากการสืบค้นวารสาร ชื่อ American Journal of Enology and Viticulture
ผมพบว่าที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีวารสารเล่มนี้อยู่ที่ ห้องสมุดกลาง (Main Library)
ผมก็จะทำการติดต่อไป เพื่อขอทำสำเนาบทความ หรือสืบค้นชื่อบทความในวารสารเล่มนั้นต่อได้

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับการใช้งาน และตอบคำถามของผม
ไม่รู้ว่าเจ้าของคำถามจะงงอีกหรือปล่าว หรือว่าผมตอบผิดประเด็นหรือปล่าว
ยังไงถ้าได้อ่านก็แสดงความคิดเห็นมาได้นะครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ Journallink มากกว่านี้ สามารถดูได้ที่

http://www.car.chula.ac.th/gotoweb/guides_journal2.pdf

http://tanee.oas.psu.ac.th/images/tutorial/new/db-jour.pdf