สุขสันต์วันเกิด LISNews.org ปีที่ 11

ไม่ได้เข้าไปอ่านข่าวห้องสมุดและบรรณารักษ์หลายวัน วันนี้ได้ฤกษ์เข้า Lisnews.org
ก็เจอสิ่งแปลกๆ นิดหน่อยนั่น คือ “LISNews : This Site Goes To 11

เว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวสารของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แถมด้วยบล็อกที่มีบรรณารักษ์ร่วมกันเขียนเยอะที่สุดในโลก
อย่าง LISNews ครบรอบ 11 ปีแล้ว

ผมอาจจะมาอวยพรช้ากว่าชาวบ้านนิดนึง แต่ก็อยากอวยพรให้
LISNews จงอยู่คู่กับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ของโลกไปนานนาน

สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่รู้จัก LISNews.com ผมก็ขอแนะนำอย่างยิ่งครับ
เพราะเขามีเรื่องใหม่ๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาให้อ่านทุกวัน
แถมเรื่องที่ลงในเว็บนี้มาจากการร่วมกันเขียนของเหล่าบรรณารักษ์จากทั่วโลกด้วย

สำหรับคนที่เข้ามาที่เว็บนี้อยู่แล้ว ก็เข้ามาอ่านได้เรื่อยๆ นะครับ
ผมชอบที่เว็บนี้มี podcast ให้ฟังด้วย ลองเข้าไปดูได้ที่ http://lisnews.org/topic/lisnews_podcast

สำหรับวันนี้ผมต้องขอตัวก่อนนะครับ

เว็บไซต์ Lisnews.org = http://lisnews.org/

ห้องสมุด TK park ต่ออายุบัตรสมาชิกให้ฟรี! 6 เดือน

ข่าวนี้ผมนำมาจากเมล์ที่ได้รับจากอุทยานการเรียนรู้ หรือ TK park ที่เรารู้จักกันนั่นแหละครับ
เกี่ยวกับเรื่องการต่ออายุสมาชิกให้ฟรีๆ 6 เดือน

banner742x200

หลังจากที่ไม่สามารถเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 จนวันนี้เข้าสู่เดือนที่ 3 แล้วนะครับ
สมาชิกหลายๆ คนคงคิดถึงห้องสมุดแห่งนี้มากๆ หลายๆ คนยังไม่ได้คืนหนังสือ และหลายๆ คนหมดอายุสมาชิก

วันนี้ทาง TK park จึงใจดีมีข่าวดีๆ มาประกาศให้รับทราบ
นั้นคือ ข่าวการต่ออายุสมาชิก 6 เดือนแบบฟรีๆ ให้สมาชิกที่มีกำหนดหมดอายุ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 เป็นต้นไป

ผมว่าเป็นแนวทางที่ดีเหมือนกันนะครับ
เพราะหลายๆ คนที่เข้าใช้บริการประจำจะได้ไม่เสียสิทธิในการเข้าใช้ 3 เดือนที่ต้องเสียไปด้วย
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ที่บัตรสมาชิกหมดหลังวันที่ 1 เมษายนคงสบายใจขึ้นนะครับ

นอกจากนี้ทาง TK park ยังมีข่าวมาประชาสัมพันธ์อีกนิด คือ
สำหรับคนที่คิดถึง TK park ทาง TK park ก็ได้จัดให้บริการ Mini TK park ให้
โดยจัด Mini TK park ที่ ชั้น G อาคาร The Offices at Centralworld

ยังไงก็ลองไปใช้บริการกันดูนะครับ

หากมีข้อสงสัยประการใดสามารถโทรไปที่ 02-2645963-65
และอย่าลืมอัพเดทข่าวสาร TK park ได้ที่ www.tkpark.or.th นะครับ

รวมลิงค์ที่ผมชอบเข้าไปอ่านข่าวบรรณารักษ์

มีหลายคนส่งเมล์มาถามเกี่ยวกับเรื่องข่าวบรรณารักษ์และวงการห้องสมุดจากทั่วโลก ว่า
ผมเข้าไปอ่านจากที่ไหนบ้างเพราะเห็นว่าผมอัพเรื่องราวได้เยอะแยะเลย จึงอยากตามอ่านบ้าง

topsitelib

ตัวอย่างเมล์นึงที่ส่งมาให้ผม ดังนี้
“มีเรื่องจะรบกวนนะคะ ทราบมาว่าคุณวายจะอ่านเรื่องของห้องสมุดจากต่างประเทศ อยากจะขอ link ด้วยคนได้ไหมคะ เผื่อว่าจะอ่านบ้างค่ะ”

เอาเป็นว่าเพื่อไม่ให้ขัดศรัทธา…
ผมจึงขอแนะนำเว็บไซต์ที่ผมเข้าไปอ่านประจำและรู้สึกว่าอัพเดทได้เรื่อยๆ นะครับ

เว็บไซต์ที่ผมเข้าไปอ่านประจำ 5 เว็บไซต์ มีดังนี้

1. Librarian 1.5
http://lib1point5.wordpress.com/

2. ALA TechSource (American Library Association)
http://www.techsource.ala.org/blog/

3. Tame the web
http://tametheweb.com/

4. Librarian in black
http://librarianinblack.net/librarianinblack/

5. Librarian by day
http://librarianbyday.net/

เอาเป็นว่าผมเลือกมาให้แล้ว 5 เว็บไซต์แต่หากเพื่อนๆ ยังอยากอ่านเพิ่มอีก
ก็ลองดูทางด้านขวามือกรอบล่างๆ นะครับ เพื่อนๆ จะเห็น “Library Blog
นั่นแหละครับ เข้าไปเลือกดูได้เลย ทุกเว็บมีประโยชน์ทั้งนั้นครับ
ทำให้อัพเดทข่าวสารวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดจากทั่วโลกทันกระแสแน่นอน

สำหรับวันนี้ผมไปก่อนนะครับ ใครมีเว็บไซต์ดีๆ ก็เอามาแบ่งปันกันได้นะครับ

สรุปเรื่องการเผาห้องสมุดโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ในขณะที่ผมกำลังกินข้าวและอ่านข่าวในตอนเช้าวันนี้
ผมก็พบกับข่าวที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่งต่อวงการห้องสมุดอีกครั้ง
นั่นคือ “ไฟไหม้ห้องสมุดวอด ร.ร.มหิดลฯ อาคาร 3 ชั้นพังยับ

ภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์
ภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์

เพื่อนๆ ที่ยังไม่รู้ข่าวสามารถอ่านได้ที่
ไฟไหม้ห้องสมุดวอด ร.ร.มหิดลฯ อาคาร3ชั้นพังยับ จาก ไทยรัฐ
ไฟไหม้หอสมุดรร.มหิดล วิทยานุสรณ์เผาวอด 2 ชั้น จาก เนชั่น

ในช่วงบ่ายวันนี้ความจริงและสาเหตุต่างๆ ก็ถูกไขออกมา
เมื่อมีนักเรียน ชั้น ม.5 ออกมายอมรับว่าเป็นคนเผาอาคารดังกล่าว
โดยให้เหตุผลว่า เครียด และ อยากกลับบ้าน จึงเผาอาคารเพื่อให้โรงเรียนสั่งหยุดการเรียนการสอน

เพื่อนๆ สามารถอ่านข่าวได้จาก
ม.5 รร.ดังศาลายามอบตัวรับเผาอาคารห้องสมุด จาก โพสต์ทูเดย์
จับเด็ก ม.5 วางเพลิงโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จาก เดลินิวส์
ม.5วางเพลิงห้องสมุด”มหิดลวิทยานุสรณ์”เครียด เรียนไม่ทันเพื่อน รับเลียนแบบ”พฤติกรรมเผา”ร.ร.จะได้ปิด จาก มติชน
ม.5มหิดลฯเผารร.อ้างไม่อยากเรียน จาก คมชัดลึก

ความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ผมว่านอกจากทรัพย์สินต่างๆ หนังสือ อุปกรณ์ต่างๆ แล้ว
ผมว่าความรู้สึกก็เสียหายไม่แพ้กันเลย คุณค่าของความรู้ต่างๆ เสียหายไปมากมาย

สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้เหล่าบรรณารักษ์ คุณครูในโรงเรียน น้องๆ นักเรียนทุกคน
ขอให้ห้องสมุดปรับปรุงเสร็จเร็วๆ นะครับ และหากต้องการความช่วยเหลือบอกมาได้
พวกเราวงการบรรณารักษ์ไม่ทิ้งกันอยู่แล้วครับ

Update สถานการณ์ล่าสุดของห้องสมุด TK park

ผ่านเหตุการณ์ที่สะเทือนจิตใจคนไทยมาได้ไม่นาน ในช่วงนั้นหลายคนคงได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์
ซึ่งทำให้หลายคนเป็นห่วงห้องสมุดแห่งหนึ่งที่อยู่ที่นั่น ถูกต้องครับ ผมหมายถึง อุทยานการเรียนรู้ หรือ TK Park

ctw

ช่วงที่มีข่าวเรื่องการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มีกระแสข่าวที่ไม่ดีของวงการห้องสมุด
นั่นคือ เราอาจจะต้องสูญเสียห้องสมุดที่ดีๆ แห่งนั้นไปแล้ว

แต่หลังจากนั้นไม่นานเมื่อไฟสงบลงก็มีการรายงานความเสียหายของห้างออกมา
และทำให้ทุกคนโล่งใจขึ้นเนื่องจาก “TK Park ไม่ถูกไฟไหม้” นั่นเอง

news

กว่าจะได้ห้องสมุดดีๆ สักแห่งต้องผ่านกระบวนการคิด และสร้างนานมาก
ถ้าต้องเสียหายเพราะเรื่องความขัดแย้งแบบนี้คงไม่ดีแน่

เมื่อไม่โดนไฟไหม้ทุกคนก็คิดว่าห้องสมุด TK Park? ของเราคงจะกลับมาให้บริการได้เร็วๆ นี้

แต่….ทางทีมงาน TK Park? ได้เพิ่งเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ได้วันนี้ และได้เก็บภาพถ่ายมา
ผมจึงขออนุญาตเอาภาพต่างๆ มาลงให้เพื่อนๆ ได้เห็นกัน

ห้องสมุดไม่ถูกไฟไหม้ก็จริง แต่ความเสียหายก็ปรากฎให้พวกเราได้เห็น
จากที่ได้ฟังทีมงานที่เข้าไปได้รู้ว่า สปริงเกอร์น้ำได้ฉีดน้ำลงมาโดนหนังสือจำนวนมาก
และด้วยความร้อนจากไฟไหม้บริเวณห้างก็ทำให้เกิดความชื้นในห้องสมุด
หนังสือต้องเสียหายมากมาย ซึ่งทางทีมงานต้องเร่งเข้าไปคัดเลือกหนังสือที่อยู่ในสภาพดีออกมา

เอาเป็นว่าเราลองดูภาพสักนิดดีกว่านะครับ

after_tk_12_450x300

after_tk_04_450x300

after_tk_06_450x300

after_tk_02_450x300

เป็นยังไงบ้างครับ ถ้าอยากติดตามภาพแบบเต็มๆ เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.tkpark.or.th/tk/index.php?option=com_content&view=article&id=1447&Itemid=153&lang=th

สุดท้ายนี้ผมก็ขออวยพรและเป็นกำลังใจให้ TK Park กลับมาให้บริการได้อย่างดีเหมือนเดิมนะครับ

อ๋อ นิดนึงนะครับ ขอประชาสัมพันธ์สำหรับคนที่คิดถึงห้องสมุด TK Park เพื่อนๆ ก็สามารถใช้บริการ TK Mobile Library ได้ ตามจุดต่างๆ ดังนี้
– วันเสาร์ที่ 12 และวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 12.00-18.00 น. ณ สวนจตุจักร (บริเวณสนามเด็กเล่น)
– วันเสาร์ที่ 19 และวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 12.00-18.00 น. ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)
– วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 9.00-15.00 น. พบกันที่ เสถียรธรรมสถาน

Website ของ TK Park = http://www.tkpark.or.th
Facebook ของ TK Park = http://www.facebook.com/tkparkclub
Twitter ของ TK Park = http://twitter.com/TKpark_TH

ขอเชิญเพื่อนๆ ร่วมลงชื่อให้กำลังใจ TK Prak ได้ด้านล่างนี้เลยครับ

ข่าว (ไม่ดี) เรื่องการซื้อหนังสือในโครงการห้องสมุดสามดี

เรื่องดีๆ ในวงการห้องสมุดมีให้อ่านเยอะแล้ว วันนี้ผมขอนำข่าวๆ นึงมาลงให้อ่านนะครับ
ผมเชื่อว่าบรรณารักษ์ในห้องสมุดประชาชนหลายๆ ที่ คงต้องได้ยินข่าวนี้บ้างหล่ะ

old-book-in-library

ขอเกริ่นให้ทราบสักนิดนะครับว่า…
เมื่อเดือนที่แล้วผมก็ได้ยินข่าวเกี่ยวกับการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดประชาชนหลายๆ ที่นะครับ
เท่าที่รู้ คือ ทาง กศน. ได้งบเพื่อจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดตามนโยบาย “ห้องสมุดสามดี”
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ได้ข่าวเช่นนี้ เพราะถือว่าเป็นการจัดซื้อหนังสือก้อนใหญ่อีกครั้งนึงของห้องสมุดประชาชน

แต่หลังจากนั้นสองสามสัปดาห์ผมก็ได้ยินข่าวจากบรรณารักษ์หลายๆ คนว่า
การจัดซื้อหนังสือครั้งนี้ มีความแปลกและไม่ชอบมาพากลหลายอย่าง

เอาเป็นว่าผมคงบอกรายละเอียดแบบลึกๆ ไม่ได้
แต่ก็ได้แค่ให้กำลังใจและปลอบบรรณารักษ์ว่า “อย่าคิดมาก”
ยังไงก็ถือว่าได้หนังสือใหม่เข้าห้องสมุดแล้วกัน

เอางี้ดีกว่าเพื่อนๆ ลองอ่านข่าวด้านล่างนี้ก่อนนะ

หัวข้อข่าว : ซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดกศน.ส่งกลิ่น
จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 คอลัมน์การศึกษา

URL : http://dailynews.co.th/newstartpage/printmode.cfm?categoryid=42&contentid=49149

เนื้อข่าวมีดังนี้

นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย? (สำนักงาน กศน.) กล่าวถึงปัญหาการร้องเรียนความไม่ชอบมาพากลในการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด ประชาชนของ กศน. ตามโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง หรือ เอสพี 2 ว่า ที่ผ่านมา กศน. ได้รับงบฯซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดประชาชน แห่งละ 30,000 บาท แต่ปีนี้ได้รับงบฯเอสพี 2 เพื่อจัดซื้อหนังสือแห่งละ 450,000 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 15% ทำให้เกิดปัญหาการร้องเรียนในการจัดซื้อมากขึ้น โดยที่ผ่านมามี กศน.อำเภอหลายแห่งในภาคกลางร้องเรียนว่ารายชื่อหนังสือที่ได้ไม่ตรงกับความ ต้องการ ตนจึงสั่งการให้ ผอ.ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (ผอ.กศน.) อำเภอไปทบทวนแล้ว

เลขาธิการ กศน. กล่าวต่อไปว่า ปัญหาที่คาดว่าจะกลายเป็นกลียุคต่อไป คือ เรื่องการส่งหนังสือไม่ครบตามรายการที่ประมูลได้ เพราะมีบางบริษัทจับกลุ่มฮั้วกัน เช่น บางพื้นที่บริษัทประมูลหนังสือ จำนวน 1,200 รายการ ในวงเงิน 450,000 บาท แต่ส่งหนังสือได้เพียง 800 รายการ เพราะที่เหลือบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มไม่ยอมขายให้ ซึ่งถ้าเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นสถานศึกษาจะต้องรายงานมาโดยเร็วเพื่อจะได้หา ทางแก้ปัญหาต่อไป แต่หากอำเภอใดรับหนังสือไม่ครบตามสัญญาที่ประมูล แล้วอ้างว่าบริษัทส่งหนังสือไม่ครบ ผอ.กศน.อำเภอ ในฐานะผู้จัดซื้อต้องรับผิดชอบ เพราะถือว่าได้มอบอำนาจให้แล้ว

?ปัญหาเรื่องการจัดซื้อส่วนกลางไม่สามารถควบคุมได้ เพราะได้กระจายอำนาจให้สถานศึกษาไปแล้ว และที่ผ่านมาทราบว่ามีคนไปแอบอ้างว่าเป็นทีมงานของผม ขอให้ดำเนินการจัดซื้อกับบริษัทนั้น บริษัทนี้ ซึ่งมี กศน.อำเภอหลายแห่งโทรศัพท์มาถาม ผมก็ปฏิเสธไปแล้วว่าไม่เคยมีทีมงาน อย่าไปเชื่อและขอให้จัดซื้อตามระเบียบและขั้นตอน? นายอภิชาติกล่าวและว่า ส่วนที่มีการแอบอ้างผู้ใหญ่ในกระทรวงนั้น ยอมรับว่าได้ยินมาเช่นกันว่า ขณะนี้มีการสถาปนาดีลเลอร์เฉพาะกิจขึ้นมาและอ้างว่าเกี่ยวพันกับผู้ใหญ่ใน กระทรวง แต่ก็ขอให้ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา เพราะหากมีปัญหาเกิดขึ้นคนที่ต้องรับผิดชอบคือ ผอ.กศน.อำเภอ ดังนั้นหากสถานศึกษาใดถูกกดดันให้จัดซื้อโดยไม่สมัครใจ ก็ขอให้ร้องมายังส่วนกลางจะได้เร่งแก้ไขให้.

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดยังไงกับข่าวแบบนี้ครับ
ลองช่วยกันเสนอความคิดเห็นให้ผมฟังหน่อยว่าเรื่องแบบนี้ เพื่อนๆ คิดยังไง

ปล. หลังจากที่ข่าวนี้ออกมาผมเชื่อว่าห้องสมุดประชาชนหลายที่คงต้องระงับการซื้อหนังสือชั่วคราวทันที
และก็รอให้มีการตรวจสอบผ่านไปก่อนจึงจะดำเนินการจัดซื้อได้เช่นเดิม

ห้องสมุดประชาชนยุคใหม่ในอเมริกา

บทความนี้เขียนไว้ตั้งแต่บล็อกเก่าของผม (http://projectlib.wordpress.com) แต่ขอเรียบเรียงใหม่
เป็นบทความที่เขียนลงในเว็บไซต์ Voice of America ภาคภาษาไทย

publiclibrary

บทความนี้ได้เขียนถึงเรื่องห้องสมุดสาธารณะ (ผมว่าน่าจะใช้คำว่าห้องสมุดประชาชนมากกว่านะ) ยุคใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
เนื้อหาในบทความนี้เป็นการกลายถึงการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในห้องสมุด

ไม่ว่าจะเป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลบรรณานุกรม (โปรแกรมห้องสมุด) แทนบัตรรายการ
หรือจะเป็นเรื่องการเข้าถึงสารสนเทศได้จากที่ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

บทความนี้อ่านแล้วเข้าใจง่าย และเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน ผมเลยขอคัดลอกมาให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ
หากต้องการอ่านจากต้นฉบับให้เข้าไปดูที่ ห้องสมุดสาธารณะยุคใหม่ (เนื้อหาข่าว)

———————————————————————————————————————–

เนื้อหาของบทความ (ฉบับคัดลอก) – ห้องสมุดสาธารณะยุคใหม่

เมื่อก่อนนั้นห้องสมุดชุมชนในอเมริกาคือสถาน ที่ที่สมาชิกในชุมชนพากันมาพบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนหนังสือกัน แต่ปัจจุบันภาพเหล่านั้นเปลี่ยนไปแล้ว ห้องสมุดทุกวันนี้กลายเป็นศูนย์ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ มีการนำบันทึกรายชื่อหนังสือทางอินเตอร์เนตเข้ามาแทนที่บัตรรายการแบบเก่า หนังสือและข้อมูลจำนวนมากถูกนำไปเก็บเป็นแผ่นซีดีและดีวีดี และผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหาข้อมูลที่ตนต้องการเหล่านั้นได้ทางอินเตอร์เนต

ปัจจุบันหน้าที่หลักของบรรณารักษ์คือการแนะนำวิธีให้ผู้ใช้บริการสามารถ ค้นหาข่าวสารที่ต้องการจากแหล่งข้อมูลมหาศาลนั้นได้ บรรณารักษ์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่มีอยู่ และตัดสินใจว่า ฐานข้อมูลชนิดไหนที่ผู้มาใช้บริการต้องการ เมื่อผู้ใช้บริการพบข้อมูลดังกล่าวแล้วก็เพียงแค่ส่งอีเมลข้อมูลนั้นไปยัง คอมพิวเตอร์ที่บ้านโดยไม่ต้องหอบหนังสือกลับไปเหมือนสมัยก่อน

นอกจากนี้ผู้มาใช้บริการยังสามารถใช้บริการห้องสมุดจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านที่ไหนๆ ก็ได้ในโลกผ่านทางอินเตอร์เนต

เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ช่วยให้ห้องสมุดสามารถเสนอบริการใหม่ให้แก่ผู้มาใช้บริการได้คือการถามคำถาม หรือขอความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์ผ่านหน้าเวบไซต์ได้ ด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายเชื่อมต่ออินเตอร์เนตไร้สายที่กำลังขยายตัวอย่างรวด เร็วในสหรัฐทำให้ห้องสมุดสาธารณะส่วนใหญ่ในปัจจุบันสามารถให้บริการผ่านทาง คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคเพื่อช่วยหาข้อมูลในการทำการบ้าน ทำรายงาน ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยส่วนตัว

สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสายตาจอคอมพิวเตอร์สามารถปรับขนาดตัวหนังสือให้ ใหญ่ขึ้นได้ตามที่ต้องการ และสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนห้องสมุดยังมีบริการหนังสือเสียงไว้ให้เด็กๆ ฟังเป็นการเตรียมตัวสู่โลกแห่งการเรียนรู้ตั้งแต่เนิ่นๆ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ห้องสมุดชุมชนสามารถให้บริการทั้งด้าน ความรู้และความบันเทิงแก่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

ทุกวันนี้ห้องสมุดในอเมริกานั้น ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการอินเตอร์เนตที่รวดเร็วได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้ จ่ายใดๆ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย คุณตา คุณยายที่มาใช้บริการห้องสมุดหลายคนก็ยังยินดีที่จะมานั่งเปิดหนังสือเล่ม เก่าๆ ทีละหน้าเหมือนที่เคยทำมาจนชิน

———————————————————————————————————————–

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับบทความที่ผมนำมาให้อ่าน
อ๋อ ลืมบอกไปถ้าเพื่อนๆ ขี้เกียจอ่าน ผมขอแนะนำให้ฟังเป็นเสียงครับ ลองเข้าไปดูที่ ห้องสมุดสาธารณะยุคใหม่ (ไฟล์เสียง)

สำหรับวันนี้ก็ขอฝากไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ

ผู้ใช้บริการห้องสมุดร้องไห้ เนื่องจากห้องสมุดถูกปิด

เพื่อนๆ รู้มั้ยว่าห้องสมุดประชาชนสำคัญต่อคนอเมริกายังไง
วันนี้ผมมีคลิปวีดีโอนึงอยากให้ดูมากๆ ครับ (คลิปนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศสหรัฐอเมริกา)

man-cry-library

จากข่าวที่พูดถึงการปิดตัวเองของห้องสมุดประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง
สาเหตุหนึ่งมาจากเรื่องเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการเข้าถึงข้อมูล
ทำให้ผู้ใช้ลดลง ต้นทุนในการดูแลห้องสมุดสูงขึ้น นั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ห้องสมุดปิดนั่นเอง

เข้าเรื่องดีกว่าวันนี้ผมมีคลิปวีดีโอผู้ชายสูงวัยคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ทั้งน้ำตา
เมื่อทราบข่าวการปิดห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia นั่นเอง

ไปชมกันก่อนเลยนะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=81_rmOTjobk[/youtube]

คำบรรยายของคลิปวีดีโอนี้
?One local man was brought to tears over the City of Philadelphia?s plan to close his neighborhood library to help fend off the city budget crisis.?

ข่าวการปิดห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia อ่านได้ที่
Free Library of Philadelphia Closing 11 of 54 Branches
ห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia ถูกปิด 11 แห่งจากทั้งหมด 54 แห่ง

สำหรับข่าวการปิดห้องสมุดในเมือง Philadelphia นี้
สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ห้องสมุดก็สามารถถูกปิดกิจการได้เช่นกัน

ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ห้องสมุดถูกปิด คือ
– ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่มุ่งให้ความรู้และไม่หวังผลกำไร
– เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต
– การบริการแบบเก่าๆ ไม่ทันใจผู้ใช้บริการ
ฯลฯ

ดังนั้นข้อคิดที่ได้จากข่าวนี้ คือ
?หากเรายังไม่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการห้องสมุดของเราก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกปิดกิจการเป็นรายต่อไป?

กลับมาที่เรื่องวีดีโอดีกว่า เพื่อนๆ คิดยังไงกับวีดีโอชุดนี้

สำหรับผมเห็นว่า ผู้ใช้ห้องสมุดในเมืองๆ นั้น มีความผูกพันกับห้องสมุดของเขาอย่างมาก
ถึงขนาดว่า พอรู้ข่าวก็ตกใจ และเสียใจกับห้องสมุดอย่างมากมาย
แสดงว่าห้องสมุดมีคุณค่า และความสำคัญต่อพวกเขามากๆ เลยใช่มั้ยหล่ะครับ

บรรณารักษ์ขาดแคลนขั้นวิกฤติ จริงๆ หรือนี่

จากข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2552 หน้า 8

librarian1

ได้ตีพิมพ์เกี่ยวกับเรื่อง “บรรณารักษ์ขาดแคลนขั้นวิกฤติ” ผมจึงขอวิเคราะห์ดังนี้

เพื่อนๆ สามารถอ่านข่าวได้จากการคลิกรูปด้านล่างนี้นะครับ

newspaper

ประเด็นที่พอจะสรุปได้จากการอ่านข่าว คือ
– เด็กรุ่นใหม่ไม่นิยมเรียนบรรณารักษ์ เพราะขาดความก้าวหน้า
– คนเรียนบรรณารักษ์น้อย แต่ตลาดมีต้องการสูง
– ห้องสมุดที่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนบรรณารักษ์ คือ ห้องสมุดประชาชน
– ห้องสมุดต้องนำคนวิชาชีพอื่นมาทำหน้าที่แทนบรรณารักษ์

จากการสรุปประเด็นต่างๆ ของผม ทำให้ผมต้องเอามาวิพากษ์ดังนี้

– เด็กรุ่นใหม่ไม่นิยมเรียนบรรณารักษ์ เพราะขาดความก้าวหน้า
คนส่วนใหญ่คิดว่าเรียนบรรณารักษ์แล้วขาดความก้าวหน้า
จริงๆ แล้วอาจจะเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเสมอนะครับ
เพราะว่าการที่คนเราจะก้าวหน้าในอาชีพนั้น ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลไม่ใช่ขึ้นอยู่กับอาชีพนะครับ
หลายๆ คนเอาแต่โทษว่าอาชีพว่าทำให้เราไม่ก้าวหน้า
แต่แท้จริงแล้วเราพิสูจน์ให้คนอื่นได้เห็นหรือปล่าวหล่ะครับ
อ๋อ ลืมบอกอีกอย่าง การก้าวหน้าในอาชีพไม่ใช่ว่าจะขึ้นอยู่กับว่า ซีอะไรนะครับ
แต่มันขึ้นอยู่กับการยอมรับในสังคมมากกว่าต่างหากหล่ะครับ

– คนเรียนบรรณารักษ์น้อย แต่ตลาดมีต้องการสูง
ประเด็นเรื่องคนเรียนบรรณารักษ์น้อย อันนี้คงต้องศึกษากันจริงๆ นะครับ
เพราะหลักสูตรของบรรณารักษ์ที่มีในประเทศไทย
หลายๆ มหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนหลักสูตรนะครับ
เช่น การจัดการสารสนเทศ หรือสารสนเทศศาสตร์
ซึ่งจริงๆ แล้วก็ยังมีกลิ่นไอเป็นบรรณารักษ์อยู่นั่นแหละครับ
รวมถึงราชภัฎหลายๆ แห่งยังคงมีหลักสูตรบรรณารักษ์อยู่
เรื่องจำนวนอาจจะน้อยไปถ้าเทียบกับคนในประเทศ

วิธีแก้ง่ายๆ คือ การสนับสนุนหลักสูตรนี้ให้มีความทันสมัยและน่าเรียนให้มากกว่านี้
ปรับปรุงหลักสูตรบรรณารักษ์ให้เข้ากับโลกยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษามีทางเลือกในการประกอบอาชีพ
แค่นี้ก็จะเพิ่มจำนวนนักศึกษาในหลักสูตรบรรณารักษ์ได้แล้วครับ

– ห้องสมุดที่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนบรรณารักษ์ คือ ห้องสมุดประชาชน
อันนี้ผมว่าต้องศึกษากันใหม่อีกทีนะครับ เพราะเท่าที่รู้มาผมก็เห็นว่ามีคนสอบเต็มทุกพื้นที่นะครับ
และที่เพิ่งผ่านมาก็มีบรรณารักษ์ที่ต้องรอเรียกคิวมากมาย รอจนต้องไปทำอาชีพอื่น
อันนี้ผมเลยงงว่า ตกลงเรื่องราวมันเป็นยังไง

– ห้องสมุดต้องนำคนวิชาชีพอื่นมาทำหน้าที่แทนบรรณารักษ์
ส่วนข้อนี้ผมคงไม่วิจารณ์นะครับ เพราะว่าบางคนที่ผมคุยด้วยเขาไม่ได้จบบรรณารักษ์
แต่มีจิตใจที่อยากเป็นบรรณารักษ์จริงๆ และพยายามที่จะเรียนรู้มัน
ผมว่าเราก็ควรให้โอกาสกับคนที่อยากเป็นบรรณารักษ์มากๆ บ้างนะครับ
อาจจะมีการจัดหลักสูตรอบรม หรือ แนะนำการเป็นบรรณารักษ์แบบเร่งรัดให้เขาก็ได้

เอางี้ถามตรงๆ ดีกว่า ว่า
?คนที่ไม่ได้จบบรรณารักษ์แต่อยากเป็นบรรณารักษ์ และพยายามเรียนรู้งานบรรณารักษ์? กับ
?คนที่จบบรรณารักษ์ แต่ไม่ได้อยากเป็นบรรณารักษ์ และทำงานไปวันๆ? คุณจะเลือกใคร

นอกจากการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องดังกล่าวโดยผมแล้ว มีเพื่อนอีกหลายๆ คนแสดงความคิดเห็น เช่น

คุณบรรณารักษ์นอกระบบ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“ห้องสมุดประชาชนนั้นขาดแตลนบรรณารักษ์จริงครับ ในแต่ละจังหวัดจะมีลูกจ้างชั่วคราวอยู่มากในตำแหน่งบรรณารักษ์ซึ่งทางกศน.ก็ ได้ทำการเปิดสอบไปไม่นานนี้และได้ประกาศผลแล้วตามที่ทุกท่านคงทราบข่าวกัน แต่?ไม่พอหรอกครับ ผมบอกได้เลยเพราะว่าสอบผ่านกัน 282 คน แต่ขาดแคลนมากกว่านี้ครับ 282 คนนี้เรียกบรรจุครบทุกคนแน่ครับ(แต่ใครสละสิทธิ์ก็อีกเรื่องนะครับ) ต่างกันแค่ระยะเวลาแต่ภายใน 2 ปีนี้หมดแน่ครับ แล้วที่บอกว่าเรียนบรรณารักษ์แล้วไม่ก้าวหน้านั้น ขอบอกว่าป่าวเลยครับ เป็นบรรณารักษ์แล้วถ้าขึ้นไปถึงขั้น บรรณารักษ์ 7 ว. เมื่อไหร่ก็โอนไปเป็นข้าราชการครูได้นี่ครับ หรือจะไปเรียนโทเพื่อสอบเป็นผอ.ศูนย์อำเภอ หรือรองผอ.ศูนย์จังหวัดก็ได้ครับ จังหวัดผมรองผอ.ศูนย์จังหวัดมาจากบรรณารักษ์ครับ แล้วจะบอกว่าไม่ก้าวหน้าหรือครับ แล้วพอมีใครสอบได้หรือโอนได้ ตำแหน่งบรรณารักษ์นั้นก็จะว่าง รอคนรุ่นใหม่ไปบรรจุต่อไปไงครับ วันนี้ขออนุญาตกล่าวแค่นี้ก่อนนะครับ หากมีข้อสงสัยประการใดผมจะมาคลายข้อสงสัยอีกครั้งนะครับ”

คุณ Jimmy ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“เรื่องของการบรรจุ ที่เคยเห็นและสัมผัสมาในเรื่องของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน บางแห่งว่าจ้างแต่ลูกจ้าง เวลาทางศูนย์สอบถามมาก็บอกว่าไม่ขาดแคลน เนื่องจากการจ้างลูกจ้างกับบรรณารักษ์ อัตราค่าจ้างต่างกัน แล้วลูกจ้างที่ว่าก็เป็นญาติพี่น้องของบรรณารักษ์ที่มีอยู่ก่อนบ้าง เด็กฝากจากท่านผู้ใหญ่ในท้องที่บ้าง แล้วอย่างนี้จะให้มีตำแหน่งว่าได้ยังไง ไม่เข้าใจจริง ๆ เคยไปสอบแล้วต้องเสียความรู้สึกมาก ๆ เมื่อมีคนบอกว่าให้ดูรายชี่อนี้ให้ดี ๆ เพราะนี่คือคนที่จะได้ทำงานที่นี่ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เข้าห้องสอบเลยด้วยซ้ำ แล้วผลก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ทุกวันนี้เลยไม่คิดจะสอบราชการเลย ทำงานในส่วนของเอกชน ให้รู้ไปว่าจะไม่มีงานทำ เหนื่อยแล้วท้อใจกับระบบนี้จริง ๆ (ระบบเครือญาติ) หลาย ๆ คนอาจจะเถียงว่าไม่จริง แต่ขอโทษมันเกิดขึ้นแล้วค่ะ”

คุณ Nantamalin ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
ถามว่าทำไมถึงขาดแคลนบรรณารักษ์ ตอบเลยว่าเพราะตอนนี้โลกเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เด็กรุ่นใหม่ไม่เข้าใจว่าบรรณารักษ์หมายถึงอะไร ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสำคัญอย่างไร เดี๋ยวนี้ไม่รู้อะไรก็หาจาก Internet สังคมมันเปลี่ยนเป็นยุค 2.0 หมดแล้ว บรรณารักษ์เปลี่ยนรูปแบบเป็นนักสารสนเทศหมดแล้ว ความสำคัญในการวิเคราะห์หนังสือก็เปลี่ยนมาเป็นวิเคราะห์เนื้อหาของ web แทน บริการตอบคำถามก็เปลี่ยนเป็น e-service แทน สังคมทำให้คำว่าบรรณารักษ์เปลี่ยน หลักสูตรก็สอนให้คนที่เรียนคิดอย่างคนรุ่นใหม่ไม่เจาะลึกเนื้อหา จับแบบผิวเผิน คิดแค่ว่าจับข้อมูลมารวมกันให้เยอะ แล้วเอาลง web ก็เสร็จแล้ว ลืมไปแล้วว่าหัวใจ และจิตวิญญาณของบรรณารักษ์อยู่ที่ไหน แล้วอย่างนี้จะโทษใครคงไม่ได้ เพราะสังคมเปลี่ยนไป ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปเป็นเรื่องธรรมดา แต่วันนี้วิชาบรรณารักษ์จะกลับมาเมื่อยุคดิจิตอลล่มสลาย เพราะมีสูงสุดย่อมมีต่ำสุด?มันก้เป็นเช่นนั้นเอง”

คุณ yayaing ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“โดยส่วนตัวแล้ว?เคยทำงานที่ห้องสมุดประชาชนเหมือนกันค่ะ..ตำแหน่ง บรรณารักษ์อัตราจ้าง ทำสัญญาปีต่อปีกัน?ทำอยู่ประมาณ 2 ปีครึ่งน่ะคะ..หมดสัญญาจ้างแล้วก้อไม่ได้ต่ออีก..ตอนนี้ทำงานอยู่ที่ มหาวิทยาลัย แต่ก้อไม่ได้ทำงานกับห้องสมุดหรอกนะคะ..แต่ตอนนี้มาทำงานทางด้านวารสาร.. ซึ่งเหมือนก่อนนี้ตอนที่เรียนนะคะ..จำได้ว่ามีเรียนวิชาเกี่ยวกับการพิมพ์ แล้วอาจารย์พาไปดูงานตามโรงพิมพ์..ยังเคยคิดเล่นๆ ว่าไม่เกี่ยวกับเราตรงไหน..แต่พอมาทำงานจริงๆๆ..กลับเกี่ยวกับเราเต็มๆ เลย ยังดีที่เก็บเอกสารที่เรียนไว้อยู่น่ะคะ?ก้ออยากจะเข้ามาบอกว่าทุกวิชาที่ เราได้เรียนน่ะ?บางวิชาอาจจะคิดว่าไม่เกี่ยวกับเรา แต่จริงๆ แล้วอาจจะมีประโยชน์ก้อได้นะคะ?ส่วนเรื่องที่ว่าการขาดแคลนบรรณารักษ์..คิด ว่าตามราชภัฏต่างๆ ก้อมีคนที่เรียนบรรณารักษ์เยอะนะคะ..แต่เมื่อเรียนจบ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้มาทำงานที่ตัวเองเรียนหรอกค่ะ บางคนหางานไม่ได้..หรือบางคนก้อคือไม่ชอบงานห้องสมุดไปเลยก้อมี..แต่อยากจะ ให้กำลังใจสำหรับผู้ที่หางานทุกคนนะคะ (โดยเฉพาะผู้ที่เรียนจบบรรณารักษ์น่ะคะ) ตัวเองเคยมีประสบการณ์มาก่อน?.ไม่อยากให้คนอื่นต้องเป็นเหมือนตัวเองน่ะคะ”

จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายๆ คนที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้นะครับ
ผมก็ต้องขอขอบคุณทุกคนที่แสดงความคิดเห็นต่างๆ เข้ามาด้วยเช่นกัน

สรุปแล้วเรื่องที่ผมนำมาวิจารณ์ในครั้งนี้ ไม่ว่าจะจริง หรือ เท็จแค่ไหน
ผมก็อยากจะบอกและพูดกับทุกคน ว่า

?ถึงแม้ว่าอาชีพบรรณารักษ์จะเป็นอาชีพที่คนในสังคมไทยไม่เคยให้ความสำคัญ
แต่ขอให้จำเอาไว้ว่าเราเป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างความสำคัญให้สังคมไทย
ทุกอาชีพ ทุกคน ต้องเคยผ่านสถานที่ที่เราทำงาน (ห้องสมุด)?

ขอบคุณครับที่ทนอ่านบล็อกยาวๆ ครั้งนี้

อัพเดทข่าวสารห้องสมุดจากเว็บหนังสือพิมพ์

ข่าวสารของห้องสมุดจริงๆ แล้วก็มีให้อ่านมากมายเลยนะครับ
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอและสรุปข่าววงการห้องสมุดที่อยู่ในหนังสือพิมพ์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านบ้างนะครับ

newspaper-library

วันนี้มีโอกาสได้เปิดดูเว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์มากมาย
เลยขอถือโอกาสค้นข่าวและบทความที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดขึ้นมาอ่านดูบ้าง
บางข่าวและบทความเพื่อนๆ คงอ่านแล้ว แต่บางข่าวและบทความก็อาจจะเป็นเรื่องที่ใหม่ก็ได้
ยังไงก็ลองอ่านๆ ดูกันนะครับ เก็บเป็นไอเดียรวมๆ กัน คงจะมีอะไรให้คิดเล่นๆ ดู

ผมขอนำเสนอข่าวและบทความห้องสมุดสัก 5 ข่าวนะครับ

1. “ทน.ขอนแก่น”สร้างสังคมแห่งการอ่าน ส่งความรู้เดลิเวอรี่กับโครงการบุ๊กไบค์
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– เทศบาลนครขอนแก่น จัดทำโครงการนำหนังสือสู่มือน้อง (Book Bike) โดยให้สมาคมไทสร้างสรรค์เป็นผู้ดำเนินการ
– เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากการโครงการ “รถนิทาน” ที่จัดทำในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน
– วิธีการ คือ เตรียมรถจักรยานยนต์บุ๊กไบค์ มาให้ 2 คันเพื่อให้เจ้าหน้าที่นำหนังสือไปแจกในชุมชน
– เป็นโครงการที่ส่งเสริมการรักการอ่านให้กับเยาวชน

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

2. ศธ.ปั้นห้องสมุด3ดีชูหนังสือ-บรรยากาศ-บรรณารักษ์เจ๋ง
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– โครงการห้องสมุด 3ดี ได้แก่ ห้องสมุดที่มีหนังสือดี บรรยากาศดีส่งเสริมการอ่าน และต้องมีบรรณารักษ์ดี
– ให้ความสำคัญกับห้องสมุดในสถานศึกษา
– หนังสือดี = เน้นในการจัดหาหนังสือที่ดีให้กับเยาวชนมากๆ
– บรรยากาศดี = ปรับปรุงให้มีบรรยากาศเหมาะกับการอ่านหนังสือ
– บรรณารักษ์ดี = บรรณารักษ์ที่ให้คำแนะนำดีๆ กับผู้ใช้บริการ

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

3. “อยากเห็นห้องสมุดมีชีวิต”ความห่วงใยในสมเด็จพระเทพฯ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– การมีนิตยสารสารคดีต่างๆ จะทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความรู้มากมาย
– การมีห้องสมุด บรรณารักษ์จะต้องพยายามผลักดันให้ผู้ใช้มาใช้บริการมากๆ
– อย่าทำให้ห้องสมุดเป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสือเพียงอย่างเดียว

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

4. ห้องสมุดคือปัญญาดั่งยาแสนวิเศษ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– นอกจากห้องสมุดประชาชนจะต้องมีหนังสือบริการแล้ว ข้อมูลท้องถิ่นก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่ใช่น้อยเลยนะครับ
– ห้องสมุดประชาชน เปรียบเสมือนเป็นศูนย์การเรียนรู้นอกห้องเรียนอีกทางเลือกหนึ่ง
– ความรู้ท้องถิ่นจะต้องถูกสั่งสม และเรียนรู้โดยคนในท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน
– ห้องสมุดควรสนับสนุนกิจกรรม และสร้างนิสัยการรักการอ่านให้กับประชาชน

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

5. “อุทยานการเรียนรู้” เมืองอ่างทอง แหล่งศึกษาเรียนรู้ชุมชนตลอดชีพ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– เทศบาลเมืองอ่างทอง จัดสร้าง “อุทยานการเรียนรู้” เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นภายในชุมชน
– “ความรู้” ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมยุคปัจจุบัน
– มนุษย์ยิ่งอ่านมากยิ่งรู้มาก ยิ่งทำมากก็ยิ่งมีประสบการณ์มาก เมื่ออ่านและทำตลอดเวลาก็จะมีความรู้และประสบการณ์ตลอดชีวิต
– อุทยานเรียนรู้ = ตลาดวิชา + ตลาดอาชีพ + ตลาดปัญญา

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างข่าวและบทความห้องสมุดที่ผมได้ยกมาให้อ่านนะครับ
หากเพื่อนๆ มีเวลาเปิดอ่านเรื่องแบบต้นฉบับ
ผมว่ามันก็จะยิ่งเพิ่มความเข้าใจในเรื่องการจัดทำ และการให้บริการในห้องสมุดมากขึ้นด้วย

เอาเป็นว่าผมขอตัวไปอ่านข่าวและบทความเหล่านี้ก่อนนะครับ
แล้วว่างๆ ผมจะกลับมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอีกที

ปล. ข่าวต่างๆ ที่ผมค้นมา มีที่มาจากเว็บไซต์ของ หนังสือพิมพ์ คอม ชัด ลึก นะครับ
เพื่อนๆ สามารถอ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวกับห้องสมุด ในหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ต่อได้ที่
http://www.komchadluek.net/search.php?search=%CB%E9%CD%A7%CA%C1%D8%B4