ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ทุกคน

ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ทุกคน

วันนี้เปิดอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 ตุลาคม 2562 แล้วเจอคอลัมน์หนึ่ง “ก้าวไกลวิสัยทัศน์” ซึ่งเขียนโดย ดร.บวร ปภัสราทร (อาจารย์ที่เคยสอนปริญญาโทผมตอนที่อยู่ KMUTT) วันนี้ท่านเขียนเรื่อง “ทักษะที่จำเป็นสำหรับคนทุกยุค” ผมจึงขอนำมาต่อยอดและอธิบายให้บรรณารักษ์ได้อ่านกันต่อด้านล่างนี้นะครับ

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่หลายท่านได้ยินคำว่า AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์กันบ้างแล้ว และนอกจากการที่ได้ยินคำๆ นี้บ่อยขึ้น ความฉลาดและความสามารถของ AI ก็ถูกพัฒนามากขึ้นเช่นกัน จนบ่อยครั้งที่ผมไปบรรยายให้พี่น้องชาวบรรณารักษ์ฟังจะต้องมีคำถามว่า “แล้วเราจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์หรือไม่”

Read more
บรรณารักษ์กับ 10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต

บรรณารักษ์กับ 10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต

วันก่อนได้ไปบรรยายเรื่อง “ความท้าทายของห้องสมุดและวิชาชีพสารสนเทศ” ให้เด็ก ป. โทฟัง หนึ่งในหัวข้อที่ผมต้องพูดถึงก็คือทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต “วันนี้ผมไม่ได้บอกว่าพวกเราไม่มีทักษะหรือความรู้ แต่ทักษะหรือความรู้บางอย่างมันหมดอายุไปแล้ว ตอนนี้ไม่สามารถใช้ได้ 100% เราจำเป็นต้อง Unlearn Relearn และ Learn อะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา

อยากให้อ่านบทความของ ดร.สันติธาร เสถียรไทย “ความรู้ของเรามี “ชีวิต” เหลืออีกกี่ปี
https://www.the101.world/how-long-does-skills-last/

กลับมาเข้าเรื่องของเรากันนิดนึง วันนี้บังเอิญไปเจอเรื่องเดียวกับที่ผมบรรยายก็เลยขอนำมาโพสให้อ่านต่อเกี่ยวกับ “10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต” เราลองไปอ่านสรุปกันว่ามีอะไรบ้าง

Read more

สูตรสำเร็จของการพัฒนาห้องสมุด บรรณารักษ์ ในมุมมองนายห้องสมุด

หลังจากที่เปลี่ยนบทบาทจากผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้บริหารน้อยๆ ชีวิตผมก็เริ่มเปลี่ยนไป
เริ่มมีเวลาดูข้อมูล อ่านหนังสือ เยี่ยมชมเว็บไซต์ วันนี้ได้อ่านเจอประโยคนึงแล้วรู้สึกว่ามันโดนใจ
วันนี้จึงขอนำประโยคนี้มาวิเคระห์และเชื่อมโยงกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ดู

library success

ประโยคที่ว่านี้คือ Knowledge + Connection = Success
การจะประสบความสำเร็จในธุรกิจได้ นอกจากมีความรู้แล้วยังต้อง “รู้จักคน” ด้วย

เริ่มจากการวิเคราะห์ว่า “ความสำเร็จในการพัฒนาห้องสมุดและบรรณารักษ์” คืออะไร

ห้องสมุดควรเป็นเช่นนี้
– สถานที่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
– สถานที่ที่คนนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เวลาต้องการความรู้หรือต้องการคำตอบ
– สถานที่ที่คนเข้ามาใช้แล้วไม่มีคำว่า “น่าเบื่อ” “ไม่น่าใช้”
– สถานที่ที่เข้ามาแล้วทุกคนจะต้องพูดว่า “ขอบคุณนะที่มีสถานที่แบบนี้”
ฯลฯ

บรรณารักษ์ควรเป็นคนแบบนี้
– ผู้ที่ผู้ใช้เข้ามาทักทาย พูดคุย และถามในสิ่งที่ตนเองต้องการจากห้องสมุด
– ผู้ที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการค้นหาความรู้ หรือ ค้นหาคำตอบ
– ผู้ที่ทุกคนไม่นำไปพูดถึงในทางที่แย่ๆ
– ผู้ที่ไม่ได้เป็นเพียงคนนั่งเฝ้าในสายตาของผู้ใช้บริการ
ฯลฯ

ความสำเร็จที่ว่ามีความหมายมากมาย เอาเป็นว่าโดยรวมคือสิ่งที่ดี
และเพื่อนๆ เองก็พยายามจะทำให้มันเกิดขึ้นให้ได้

เอาหล่ะเมื่อสูตรความสำเร็จมาจาก “ความรู้” และ “การเชื่อมโยง”
Success = Knowledge + Connection

Knowledge ผมคงไม่เจาะจงหรอกนะครับว่าต้องมีความรู้อะไร
ขอเพียงแค่เพื่อนๆ “ฉลาดที่จะเรียนรู้” “รักในการเรียนรู้” “ประยุกต์ใช้ความรู้ที่มี”
เพียงเท่านี้เพื่อนๆ ก็จะมีความรู้ในการพัฒนาห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้เอง

Connection ผมคงไม่เจาะจงอีกว่าจะต้องติดต่อกับใคร
ขอเพียงแค่เพื่อนๆ รู้ว่า “ใครที่จะต้องติดต่อ” “หน่วยงานไหนมีอะไรดี”
โลกนี้คนเก่งทำงานคนเดียวก็สู้คนที่ทำงานเป็นทีม หรือ ทำงานแบบเครือข่ายไม่ได้
นอกจากเรื่องติดต่อแล้ว ผมขอย้ำคำเดิมว่า “Sharing Knowledge is power
คนที่ชอบแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ เป็นคนที่ได้เปรียบกว่าคนอื่น

ดังนั้นจงเก่งที่จะเรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับเรื่องที่ทำ
จะทำให้วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยพัฒนาไปได้อีกไกล

นายห้องสมุดขอแนะนำครูบรรณารักษ์ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

วันนี้มีเวลาไม่ค่อยมาก ผมจึงเลือกที่จะนั่งดูวีดีโอเพื่อผ่อนคลายบนรถตู้ในระหว่างการเดินทางกลับบ้าน บังเอิญเจอคลิปวีดีโอตัวนึงที่น่าสนใจมากเลยเลือกที่จะแนะนำให้เพื่อนๆ ชม (ขณะที่ผมเขียนบล็อกเรื่องนี้ ผมต้องออกตัวก่อนว่ากำลังนั่งบนรถตู้ เพราะฉะนั้นอาจมีพิมพ์ผิดบ้างต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วย)

วีดีโอนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวงการศึกษานะครับ บรรณารักษ์หลายคนคงอยากถามผมว่ามันเกี่ยวอะไร ผมขอชี้แจงแล้วกันว่า บรรณารักษ์ในโรงเรียน หรือ ครูบรรณารักษ์อาจดูแล้วนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ครับ

คลิปวีดีโอนี้ ชื่อว่า “การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ลองชมกันได้เลยครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=tE32HERiEs4[/youtube]

สรุปสาระที่ได้จากวีดีโอ
ความรู้ที่เด็กยุคใหม่ควรรู้ในศตวรรษที่ 21 แนวคิดของโลกยุคใหม่
– ความรู้ที่เกี่ยวกับโลก
– ความรู้ด้านการเงิน
– ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี
– ความรู้ด้านสุขภาพ
– ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม


นอกจากนี้เด็กยุคใหม่ควรถูกปลูกฝังทักษะสำคัญอีก 3 เรื่อง
ได้แก่
1. ทักษะชีวิตและการทำงาน
– ความหยืดหยุ่นและการปรับตัว
– การคิดริเริ่มสร้างสรรค์
– ทักษะด้านสังคมและการข้ามวัฒนธรรม
– การเป็นผู้สร้างและรับผิดชอบ
– ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ


2. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

– ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
– การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
– การสื่อสารและความร่วมมือ


3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี

– การใช้และประเมินสารสนเทศ
– วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม
– การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้านเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1. มาตรฐานและการประเมินในยุคศตวรรษที่ 21
2. หลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21
3. การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 – ไม่ใช่แค่การอบรม
4. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้

ประโยคเด็ดที่นายแพทย์วิจารณ์ได้กล่าวไว้ในวีดีโอ คือ
“Teach Less, Learn More”
“เปลี่ยนเป้าหมายจาก ความรู้ ไปสู่ ทักษะ”

นอกจากนี้ในวีดีโอยังพูดถึงเรื่อง การเรียนโดยการปฏิบัติ หรือ Project Based Learning

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นสาระสำคัญที่ผมดึงมาจากวีดีโอนะครับ
สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจ ผมแนะนำว่าต้องดูครับ ย้ำว่า ต้องดู

การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power)

วันนี้บังเอิญเจอเรื่องที่ตัวเองเขียนไว้เมื่อสองปีที่แล้ว ซึ่งช่วงนั้นยังไม่ค่อยมีใครรู้จักผมมากมายเหมือนตอนนี้
บทความนี้พออ่านแล้วผมว่าก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของบล็อกผม (Projectlib & Libraryhub) อยู่นั่นแหละ
นั่นคือ เรื่อง การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power) นั่นเอง

อยากให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์อ่านกันมากๆ (อ่านแล้วนำไปปฏิบัติด้วยนะ) ไปอ่านกันเลยครับ

ในอดีตมีคนกล่าวไว้เกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของสิ่งต่างๆ เช่น
– man is power
– money is power
– technology is power
– data is power
– information is power
– knowledge is power

และ ยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึง

สิ่งต่างๆ ที่ผมได้กล่าวมานี้ ผมยอมรับในความยิ่งใหญ่ของมันเช่นกัน
แต่ละยุค แต่ละสมัย สิ่งต่างๆ เหล่านี้เข้ามามีอิทธิพล รวมถึงบทบาทในการกำหนดความเป็นไปของมนุษย์
แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมเชื่อในความมีอำนาจ และความยิ่งใหญ่ของการ แบ่งปัน (Sharing)

การแบ่งปันที่ผมจะกล่าวนี้ ผมจะเน้นการแบ่งปันข้อมูล ความรู้ต่างๆ เช่น
– การแบ่งปันข้อมูล (Share data)
– การแบ่งปันข่าวสาร (Share news)
– การแบ่งปันสารสนเทศ (Share information)
– การแบ่งปันความรู้ (Share knowledge)
– การแบ่งปันความคิด (Share idea)

เพราะว่าในสมัยก่อนข้อมูล ความรู้ต่างๆ ถูกเก็บไว้ที่ตัวบุคคลมากเกินไป
จนเมื่อบุคคลๆ นั้นตายไปข้อมูลและความรู้ที่เก็บอยู่ก็สูญหายไปด้วย
ยกตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งคือ การทำงานในสำนักงาน หรือหน่วยงานทั่วไป
บุคคลที่เชียวชาญในการทำงานต่างๆ ถ้าไม่ถูกถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นๆ เมื่อบุคคลผู้นั้นลาออก
ก็จะไม่มีใครที่เข้ามาทำงานแทนคนผู้นั้นได้ (ทำงานได้ แต่ความเชียวชาญและเทคนิคอาจจะต่างกัน)

ดังนั้นการแบ่งปัน หรือการถ่ายทอดความรู้ ผมจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากๆ

ยกตัวอย่างอีกกรณีก็แล้วกัน

หากเมืองๆ หนึ่งประกอบด้วยคนที่มีอำนาจต่างๆ ทั้งการเงิน เทคโนโลยี ข้อมูล ความรู้ แต่คนเหล่านั้นเก็บสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้กับตัวเอง ไม่มีการแบ่งปันให้ผู้อื่นเมืองๆ นั้นก็อาจจะอยู่ได้ไม่นาน คือ พอคนเหล่านี้เสียชีวิตไปความรู้ หรือทรัพย์สินต่างๆ ก็สูญหายไป

และเทียบกับ

อีกเมืองหนึ่งซึ่งสร้างชุมชนแห่งการแบ่งปันซึ่งกันและกัน ความรู้ต่างๆ ถูกถ่ายทอดกันในสังคม ใครมีเทคนิคในการทำงานใหม่ๆ ก็ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ลองใช้ด้วย ผมเชื่อว่าเมืองๆ นี้ถึงแม้ว่าคนเก่าแก่จะตายไป แต่เมืองนี้ยังคงมีความเจริญต่อไปอย่างแน่นอน เพราะทุกคนต่างแบ่งปันความรู้ ความคิดและเทคนิคในสิ่งต่างๆ

ย้อนกลับมาถามอีกข้อ เพื่อนๆ คิดว่าถ้าเกิดสงครามระหว่างเมืองที่ 1 กับเมืองที่ 2 เมืองไหนจะชนะ

หนทางในการแบ่งปันความรู้มีหลายวิธี เช่น

1. การสร้างวัฒนธรรมในองค์กรใหม่ ให้รู้จักการแบ่งปันความรู้ หรือพูดง่ายๆ คือ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

2. การนำหลักการของ การจัดการองค์ความรู้มาใช้ในองค์กร หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า Knowledge management

3. การถ่ายทอดความรู้ หรือประสบการณ์ส่วนตัวด้วยเว็บไซต์ หรือบล็อก จริงๆ ก็คล้ายๆ กับสิ่งที่ผมทำอยู่นะ อิอิ

4. หัดรับฟังความคิดเห็นของคนในองค์กร เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการคิดให้กับทุกๆ คน

5. ในแง่การศึกษาก็เช่นเดียวกัน ครู อาจารย์ควรรับฟังแง่คิดของเด็กๆ นักเรียน นักศึกษาบ้าง บ่อยให้เด็กๆ คิดอะไรก็ได้ ไม่ใช่ว่าจำกัดกรอบความคิดเพียงแค่ในตำราเรียน

เอาเป็นว่าอ่านแล้วก็เอามาคิดกันนะครับ และขอย้ำขั้นสุดท้ายว่าหากเราไม่รู้จักแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่น เราก็จะไม่ได้ความรู้หรือความคิดดีๆ จากคนอื่นๆ เช่นกัน ในฐานะบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ผมขอสนับสนุนการแบ่งปัน idea

ปล. การแบ่งปันความรู้ กับ การ copy เรื่องของคนอื่นไปโพสไม่เหมือนกันนะ? บางครั้งเอาไอเดียกันไปแล้วรู้จักการอ้างอิงมันจะดีมากๆ และถือว่าเป็นการให้กำลังใจผู้คิดไอเดียด้วยครับ

เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง

ปกติเพื่อนๆ คงเคยได้ยินว่าออกกำลังกายเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง
พอมาอ่านบทความเรื่องนี้ของผม เพื่อนๆ จะได้เจอนิยามใหม่ครับ
ว่า “เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง” ครับ

use-library-often

ไม่แปลกหรอกครับ ที่จะต้องบอกว่า “เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง”
ความแข็งแรงที่ว่านี้ คือ “ปัญญา” “ความรู้” “ความฉลาด” “สมอง”

เนื่องจากถ้าเพื่อนๆ เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วเข้าไปอ่านหนังสือมากๆ
เพื่อนๆ จะได้รับความรู้ในเรื่องต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ ให้ความสนใจ เมื่อเพื่อนๆ อ่านก็จะทำให้เข้าใจในสิ่งที่อ่านมากขึ้น
บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ สงสัยมานาน พอเพื่อนๆ ได้อ่านก็จะคลายความสงสัยและได้คำตอบเหล่านี้ไป
บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ อ่านแค่ผ่านๆ แต่วันนึงอาจจะต้องนำมาใช้ก็ได้นะ

จากภาพโปสเตอร์ที่ผมนำมาให้ดูนี้
ผมว่าเป็นโปสเตอร์ที่เชิญชวนให้คนเข้าห้องสมุดได้สร้างสรรค์มากๆ เลยครับ
(ตอนแรกนึกว่า ป้ายโฆษณาโรงยิม หรือ สถานที่เพาะกาย)

เอาเป็นว่าลองเก็บไอเดียนี้ไปคิดเล่นๆ ดูนะครับ
สำหรับเจ้าของภาพ คือ Originally uploaded by marklarson