ไอเดียจากงานสัมมนา เทคโนโลยีสมัยใหม่ในพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล

ไอเดียจากงานสัมมนา เทคโนโลยีสมัยใหม่ในพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล

วันนี้มีโอกาสมาเดินเล่นหลังเลิกงานแถวๆ สยาม แบบว่าเดินไปเรื่อยๆ จนถึงหอศิลป์ ก็เลยเดินเข้ามา พบงานสัมมนาหนึ่งจะจัดในช่วงเย็น ซึ่งหัวข้อของงานสัมมนานั้นคือ “New Technologies in the 21st Century Museum” เห็นแว่บแรกก็สนใจทันที ก็เลยสอบถามคนที่รับลงทะเบียนหน้างานว่าเข้าร่วมได้หรือไม่ เขาบอกว่าแค่ลงทะเบียนแล้วเดินเข้าไปได้เลย ก็เลยเข้ามาลองฟังดูเผื่อได้ไอเดียมาใช้ในงานห้องสมุด

วิทยากรหลักในงานนี้มาจากต่างประเทศ
ดร.โจแอนน์ ฮิปโปลิต (ภัณฑารักษ์ประจำ National Museum of African American History and Culture)
คุณชวิน สระบัว ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ Google Street View ประเทศไทย

Read more

สัมมนา “ความท้าทายของวิชาชีพบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ”

สัมมนา “ความท้าทายของวิชาชีพบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ”

วันนี้ผมมีข่าวมาประชาสัมพันธ์เชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาครับ
สัมมนานี้เป็น “งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561
ของชมรมห้องสมุดเฉพาะ (ชพ.) สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

Read more

งานสัมมนามิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

ปลายเดือนนี้มีงานสัมมนางานหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจมากๆ นั่นคือ “การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29” นั่นเอง ซึ่งธีมที่จะพูดในปีนี้ คือ เรื่องมิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด มาลองอ่านระอียดของงานนี้กัน

รายละเอียดงานสัมมนาเบื้องต้น
ชื่องาน : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29
ธีมงาน : มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
วันที่จัด : วันที่ 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2556
จัดโดย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในปีที่ผ่านมา เริ่มเห็นชัดขึ้นมาก (เริ่มเห็นก็ตอนหลังน้ำท่วมใหญ่นี่แหละ) ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมีหลายลักษณะ เช่น ความร่วมมือในการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ความร่วมมือในการรวมกลุ่มกันบอกรับฐานข้อมูล ความร่วมมือในการพัฒนาโปรแกรมห้องสมุด หรือแม้แต่ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน

เอาเป็นว่าหัวข้อนี้ก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่เป็นเรื่องที่ควรนำมาพูดกันอย่างจริงจังบ้าง
คนนอกวงการจะได้รู้สักทีว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ห้องสมุดรวมกลุ่มกันมันคือเรื่องใหญ่

หัวข้อที่น่าสนใจของงานนี้

– Library Consortium Management
– การพัฒนาคลังสารสนเทศขนาดใหญ่โดยใช้ DSpace รองรับการให้บริการหลากหลาย Platform (Windows, iPad, Android)
– การใช้ระบบสืบค้น Google Search Appliance กับงานห้องสมุด
– การพัฒนาคลังสารสนเทศศิลปวัฒนธรรมและข้อมูลท้องถิ่นของห้องสมุดและข่ายความร่วมมือเพื่อรองรับประชาคมอาเชียน
– What we learn from EU, their Libraries Cooperation, and Repositories
– Virtual Newspaper in an Educational and Engaging Environment
– Powering Quality Research
– PLoT – Public Library of Thailand ระบบฐานข้อมูล และคลังสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสร้างผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม
– ห้องสมุดในฝัน
– แนวทางความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
– Britannica Online – The Complete Digital Resource
– มิติใหม่ของการบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์
– Creating a Different Future for Library Services, World Share Management Services
– The Lines of Crowdsourcing as a Way Forward for Libraries
– ความร่วมมือในการดำเนินงานประกันคุณภาพห้องสมุด
– วิวัฒนาการของสื่อกระดาษสู่ดิจิทัล
– สื่อทรัพยากรสารสนเทศกับระบบ Cloud Computing
– การใช้นวัตกรรมใหม่เพื่อการสืบค้นข้อมูลสำหรับห้องสมุดอนาคต (EBSCO Discovery Service)
– บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสถานะความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– Partnership with Taylor & Francis
– แนวโน้มในอนาคตของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

เห็นหัวข้อแล้วก็ต้องอึ้ง เพราะอัดแน่นด้วยเรื่องที่น่าสนใจทั้งสิ้น
ที่สำคัญยังมีวิทยากรจากต่างประเทศมาร่วมบรรยายเยอะพอสมควร

การสัมมนาครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงาน 2500 บาทนะครับ
และปิดรับลงทะเบียนออนไลน์ – ชำระเงินค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 8 มกราคม 2556 เท่านั้น

เอาเป็นว่าน่าสนใจขนาดนี้ก็อยากให้เพื่อนๆ มาร่วมงานกันเยอะๆ นะครับ
ส่วนใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็อ่านกันต่อได้ที่
http://coconference.library.tu.ac.th/

ประเด็นพูดคุยในงาน บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด

อย่างที่เกริ่นไว้เมื่อวันก่อนว่า ผมได้รับเชิญเป็นผู้ดำเนินรายการของงานเสวนาครั้งนี้ (งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด ณ ธรรมศาสตร์) ดังนั้นเรื่องราวต่างๆ จากการเสวนา ผมจะขอสรุปลงมาให้เพื่อนๆ อ่านเพื่อเป็นไอเดียและเล่าสู่กันฟังในเรื่องปัญหาน้ำท่วมกับห้องสมุด

หัวข้ออย่างเป็นทางการ คือ “บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด” ซึ่งถูกเล่าโดย :-
– นางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ดร.อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้ดำเนินรายการ : นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด โครงการศูนย์ความรู้กินได้ และเจ้าของบล็อก Libraryhub

แค่เห็นชื่อและตำแหน่งของผู้ถ่ายทอดเรื่องราวแล้ว ผมขอบอกเลยครับว่าการเสวนาครั้งนี้สนุกแน่ๆ
เพราะเราจะได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างห้องสมุดที่อยู่ในเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปลายปีที่แล้วกัน

การเสวนาครั้งนี้ผมได้ลองตั้งคำถามคร่าวๆ เพื่อถามห้องสมุดทั้งสาม ดังนี้
1. คำถามที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนน้ำมาถึง :
– ข่าวเรื่องน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 มีให้เห็นแทบจะทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต รวมไปถึงประกาศหรือแถลงการณ์จากรัฐบาลอยู่ตลอด สำนักหอสมุดได้รับรู้ข่าวเหล่านี้และติดตามข่าวบ้างหรือไม่ และใส่ใจกับข่าวเหล่านี้หรือไม่ อย่างไร
– เมื่อได้รับข่าวสารและรับรู้ว่าน้ำจะมาถึง ห้องสมุดมีการเตรียมตัวอย่างไร
– ในช่วงการเตรียมตัวรับน้ำท่วม ใครมีบทบาทต่อเรื่องนี้มากที่สุด ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ประชาชน

2. คำถามที่เกี่ยวกับช่วงน้ำท่วม
– เมื่อน้ำมาถึงแล้ว หอสมุดได้รับผลกระทบอะไรบ้าง เสียหายด้านไหนบ้าง แล้วแก้ไขอย่างไรในเบื้องต้น
– บุคลากรของสำนักหอสมุดทำงานกันอย่างไรในช่วงน้ำท่วม และได้รับความช่วยเหลือบ้างหรือไม่
– น้ำท่วมนานแค่ไหน ต้องหยุดให้บริการนานแค่ไหน (รวมตั้งแต่น้ำมาจนน้ำลดและเปิดให้บริการ)
– มีช่องทางอื่นในการให้บริการห้องสมุดหรือไม่


3. คำถามที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูห้องสมุดหลังน้ำท่วม

– สำรวจความเสียหายดูแล้วเป็นอย่างไรบ้าง เสียหายมากน้อยเพียงใด
– อะไรที่ต้องรีบดำเนินการหลังน้ำลด เพื่อเตรียมความพร้อมให้บริการ
– น้ำท่วมแบบนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมของห้องสมุดตลอดทั้งปีหรือไม่
– งบประมาณที่ต้องใช้ในการฟื้นฟู
– ใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะกลับมาเป็นหอสมุดเหมือนเดิม
– การเรียกขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการ


4. คำถามจุดประกายหรือไอเดียเล็กๆ ที่เกี่ยวกับน้ำท่วม

– ไอเดียการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสของ ม รังสิต เรื่องการทาสีต้นไม้ที่ตายแล้วให้ดูสดใสต้อนรับเทศกาลปีใหม่
– สำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัยช่วยเหลือสังคมหรือชุมชนอื่นๆ รอบๆ มหาวิทยาลัยอย่างไรบ้าง
– การจัดทำแผนเพื่อป้องกันภัยพิบัติด้านต่างๆ (ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพื่อถ่ายทอดสู่สังคม)

5. ทิ้งท้ายก่อนจบเสวนาด้วย “หากปีนี้น้ำมาอีก หอสมุดเอาอยู่หรือไม่”

6. คำถามจากผู้เข้าร่วมฟังเสวนา

เอาเป็นว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไรผมจะนำมาสรุปให้อ่านแน่นอนครับ
ใครที่อยากจะตั้งคำถามก็สามารถตั้งคำถามมาได้ที่ด้านล่างนี้นะครับ
ผมจะนำคำถามของท่านมาถามให้และสรุปมาให้อ่านแน่นอนครับ

งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด ณ ธรรมศาสตร์

ไม่ได้อัพเดทกิจกรรมห้องสมุดมานาน วันนี้ขอแนะนำกิจกรรมห้องสมุดที่ผมเข้าร่วมสักหน่อย
กิจกรรมนี้จะเกิดขึ้นในวันอังคารที่จะถึงนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2555) ชื่อกิจกรรม “งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด

รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด
วันที่จัดงาน : 7 กุมภาพันธ์ 2555
สถานที่จัดงาน : ห้องเรวัต พุทธินันท์ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ชั้นใต้ดิน ๒ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าใช้จ่าย : ฟรี
รับจำนวน 70 คน

กิจกรรมนี้ผมได้รับเชิญเพื่อมาเป็นผู้ดำเนินรายการ (ได้พลิกบทบาทจากวิทยากรเป็นผู้ดำเนินรายการครั้งแรก) ช่วงแรกๆ ก็ลังเลว่าจะตอบรับดีมั้ย
แต่พอได้ยินหัวข้อเท่านั้นแหละ ต้องตอบตกลงทันที เพราะผมเองก็สนใจเรื่องนี้อยู่เช่นกัน “บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 กับห้องสมุด
หลังจากจบการเสวนาครั้งนี้ผมคงได้เขียนเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวสักที

หัวข้อที่เป็น Hilight ของกิจกรรมนี้ คือ
– เล่าสู่กันฟัง: ประสบการณ์ในหน้าที่ Subject Liaison โดย Mr. Larry Ashmun
– บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด โดย ผอ.ห้องสมุดจาก ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ รังสิต


ณ วันที่ผมลงข้อมูลในบล็อก ตอนนี้ปิดรับผู้ลงทะเบียนแล้วนะครับ เนื่องจากเต็มแล้ว (70คน)
เอาเป็นว่าผมจะสรุปเรื่องราวในวันนั้นมาลงให้อ่านแล้วกันครับ

รายละเอียดของกิจกรรมครั้งนี้อ่านได้จากเว็บไซต์ http://library.tu.ac.th/announcement/km/ นะครับ

สรุปงาน BBL Mini Expo 2010

วันนี้มีโอกาสมางาน BBL Mini Expo 2010 จึงอยากนำข้อมูลมาลงให้เพื่อนๆ ได้ติดตาม
หลายๆ คนคงงงว่า BBL คืออะไร BBL ย่อมาจาก Brain based Learning
หรือภาษาไทยเรียกว่า “การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง” นั่นเอง

งานนี้เป็นงานที่เกี่ยวกับวงการศึกษาในช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา
งานนี้จัดในวันที่ 18-19 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท
ภายในงานนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนของการสัมมนาและส่วนของนิทรรศการ

ส่วนของการสัมมนา
คือ ส่วนที่มีการเชิญวิทยากรจากที่ต่างๆ มานำเสนอข้อมูลงานวิจัย รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองจากสาขาวิชาต่างๆ ที่จัดในปัจจุบัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในส่วนของสัมมนามีการแบ่งออกเป็น 2 ห้องสำหรับช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา แยกกันชัดเจนเพื่อให้ผู้เข้าฟังได้รับประโยชน์ในการเรียนรู้สูงสุด

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
ระดับปฐมวัย
– การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมองของเด็กวัย 0-3 ปี
– การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมองของเด็กวัย 3-6 ปี

ระดับประถมศึกษา
– การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาภาษาไทย
– การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาภาษาอังกฤษ
– การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาวิทยาศาสตร์

ส่วนของนิทรรศการ
คือ ส่วนที่นำความรู้มาจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการ ซึ่งโรงเรียนหลายๆ ที่นำกรณีศึกษาจากกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนมานำเสนอ ซึ่งผมว่าน่าสนใจมากๆ เนื่องจากห้องสมุดก็สามารถนำกรณีตัวอย่างแบบนี้ไปใช้ได้ด้วย เช่นเดียวกันการจัดนิทรรศการก็แบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำหรับช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา

ตัวอย่างนิทรรศการที่น่าสนใจในงานนี้

ระดับปฐมวัย
– สำเนียงเสียงสัตว์ นำเสนอโดยโรงเรียนบ้านเจ้าทุ่ง จ.ศรีสะเกษ
– กิจกรรมหลังการอ่าน นำเสนอโดยโรงเรียนศิริพงศ์วิทยา จ.สงขลา
– การรู้ค่าของตัวเลข นำเสนอโดยโรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ จ.อุบลราชธานี

ระดับประถมศึกษา
– การพัฒนาการอ่าน การเขียนคำ ของนักเรียนชั้น ป.1 ด้วยเทคนิคเคลื่อนไหวจับคู้่สู่การอ่านเขียนคำอย่างยั่งยืน นำเสนอโดยโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่
– การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระวิทยาศาสตร์ “ชุดสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม” นำเสนอโดยโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 55 จ.นนทบุรี
– มือมหัศจรรย์ปั้นดิน นำเสนอโดยโรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ จ.อุบลราชธานี

เอาเป็นว่างานนี้ก็โอเคนะได้สาระความรู้มากมายและทำให้เข้าใจหลักการพัฒนาของสมองและเข้าใจการเรียนรู้ของเด็กๆ

ปล.งานนี้ได้ของแจกมาเพียบเลย เช่น
– ถุงผ้า BBL Mini Expo 2010
– โบรชัวส์แนะนำ โครงการ BBL
– ดีวีดี วีดีโอแนะนำ “การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง”
– สมุดบันทึกสวยหรูจากงาน BBL Mini Expo
– หนังสือ “เรื่องเล่า เร้าสมอง”
– หนังสือ “สำนึกแห่งวินัยหัวใจแห่งการเรียนรู้”

ขอบคุณผู้จัดงานนี้มากๆ ครับ เป็นงานที่ดีจริงๆ

ปล. ผมขอนำบล็อกนี้มาโพสในส่วนบล็อกส่วนตัวอขงผมนะครับ เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวกับห้องสมุดมากนัก

เล่าเรื่องเก่าๆ ในงาน Thinkcamp#1

หลังจากเมื่อวันเสาร์ที่ผมไปร่วมงาน Thinkcamp#2 ก็มีคนถามมากมายว่าคืองานอะไร
แล้วงาน Thinkcamp#1 ผมได้ไปหรือปล่าว
ผมเลยขอเอาเรื่องที่ผมเคยเขียนถึง Thinkcamp#1 มาลงให้อ่านอีกสักรอบแล้วกัน

thinkcamp-logo1

ข้อมูลเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องาน THINK camp 2009
ชื่อเต็ม THai INtegrated Knowledge camp
วันที่จัดงาน วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552
เวลา 10.00 น. ? 17.15 น.
สถานที่ ห้อง 702, 703 และ 704 ชั้น 7 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานนี้เป็นงานอะไร แนวไหนอ่ะ (ผมขออนุญาตินำข้อความจากเว็บไซต์ THINK camp มาลงเลยนะครับ)

THINK camp คือ งานสัมมนาในลักษณะที่เรียกว่า Unconferenced Pecha Kucha กล่าวคือ การผสมผสานระหว่าง BarCamp กับ Pecha Kucha night โดยผู้ต้องการร่วมงานทุกคนจะมีสิทธิ์เสนอหัวข้ออะไรก็ได้เกี่ยวกับเว็บไซต์ ของคนไทยคนละหนึ่งเรื่องก่อนวันงาน ซึ่งหากต้องการใช้ Slide presentation ประกอบ ก็จะต้องส่งมาล่วงหน้า โดยมีจำนวนจำกัดไม่เกิน 10 แผ่นเท่านั้น

งานสัมมนาในครั้งนี้มีรูปแบบการนำเสนอไม่เหมือนใคร
นั่นคือ ผู้ที่จะมานำเสนอจะต้องเตรียม slide มา 1 slide
ซึ่งภายใน slide จะต้องไม่เกิน 10 หน้าเท่านั้น
และที่สำคัญกว่านั้นคือ 1 หน้าจะถูกเปลี่ยนอัตโนมัติทุกๆ 1 นาที
สรุปง่ายๆ ว่า แต่ละคนจะมีโอกาสพูดเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้นเอง

น่าสนุกใช่มั้ยครับ

ตัวอย่างหัวข้อจากเพื่อนๆ ที่ได้รับการเชิญให้เข้าร่วม
1. คุณสุกรี พัฒนภิรมย์ จากเว็บไซต์ drupal.in.th
พูดเรื่อง ?ชุมชนผู้ใช้ Drupal อย่างเป็นทางการของประเทศไทย?

2. คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ จากเว็บไซต์ projectlib.in.th
พูดเรื่อง ?ห้องสมุดไม่ได้เป็นแค่ กล่องสี่เหลี่ยม อีกต่อไป?

3. คุณวิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ จากเว็บไซต์ tag.in.th, iam.in.th
พูดเรื่อง ?Social bookmark เพื่อสังคมไทย?

4. คุณณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์ จากเว็บไซต์ pg.in.th
พูดเรื่อง ?ถ่ายรูปจากมือถือ แล้วขึ้นเว็บทันที พร้อมทั้งแสดง location บน Google Maps?

5. คุณชิตพงษ์ กิตตินราดร จากเว็บไซต์ cc.in.th
พูดเรื่อง ?โครงการเผยแพร่สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และแนวคิดเนื้อหาเสรีในประเทศไทย?

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างนักพูดที่เข้าร่วมงานวันนั้นนะครับ

สำหรับผมในวันนั้นก็พูดเช่นเดียวกันครับ

slide

หัวข้อบนสไลด์ของผมคือ ?ProjectLib กับการเปิดมุมมองใหม่ของห้องสมุด?
หัวข้อรองคือ ?เพราะเรื่องห้องสมุดไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายคนคิด?

– มุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด (ภาพลักษณ์ของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด)
(งานนี้ผมลงทุนทำแบบสำรวจด้วยตัวเองเลยนะครับ)

– ห้องสมุดที่คนส่วนใหญ่ใช้บริการ หรือรู้จัก

– Projectlib กับการลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ

– การนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์

– ไอเดียใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด (ตัวอย่างเรื่องที่ได้รับความนิยมจากบล็อก projectlib)

– สักวันนึง?ห้องสมุดเมืองไทยต้อง?

– บทสรุปแห่งความสำเร็จ projectlib

เอาเป็นว่าใครอยากเห็นสไลด์ของผมก็ลองเข้าไปดูที่

หลายคนคงจะงงกับสไลด์ชุดนี้เอาเป็นว่าผมจะอธิบายแบบคร่าวๆ เลยนะครับ

หน้าที่ 1 เป็นชื่อเรื่องของสไลด์ รวมถึงแนะนำตัว และผลงานในการเขียนบล็อก (1 นาที)
อธิบายว่าเรื่องห้องสมุดไม่ใช่มีแต่เรื่องการจัดหนังสือ หรือเก็บหนังสือครับ
แต่ห้องสมุดมีเรื่องมากมายที่น่าสนใจ ไม่แพ้กับห้างสรรพสินค้าชื่อดังเลยก็ว่าได้

หน้าที่ 2 มุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด (1 นาที)
อธิบายภาพทั่วไปที่คนในกรุงเทพฯ มองห้องสมุด
ข้อมูลต่างๆ ได้มาจากการเดินถามคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา คนทำงาน หรือคนทั่วไป

หน้าที่ 3 เคยไปหรือรู้จักห้องสมุดที่ไหนบ้าง (1 นาที)
อธิบายแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด
และที่สำคัญคนเหล่านี้รู้จักห้องสมุดอะไรบ้าง

หน้าที่ 4 ทำยังไงถึงจะลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ (1 นาที)
แนะนำวิธีลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ สไตล์ projectlib
กลยุทธ์ในการสร้างภาพห้องสมุดแบบใหม่ของ projectlib

หน้าที่ 5 นำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ (1 นาที)
บางคนอาจจะคิดว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานห้องสมุดจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูง
แต่ความเป็นจริงแล้วแทบจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย นอกจากค่าอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาเสนอล้วนแล้วแต่ใช้ที่ projectlib หมดแล้วด้วย

หน้าที่ 6 – 8 ไอเดียใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด (3 นาที)
แนะนำเรื่องเด่นๆ ที่ผมเขียนและได้รับการตอบรับที่ดี
รวมถึงไอเดียที่สร้างบรรยากาศให้น่าเข้าใช้ห้องสมุด

หน้าที่ 9 สักวันนึง?ห้องสมุดเมืองไทยคงจะเหมือนห้องสมุดเมืองนอก (1 นาที)
ความคาดหวังของผมต่อวงการห้องสมุดเมืองไทย
ผมเชื่อว่าสักวันเราต้องเปลี่ยนได้เหมือนครั้งหนึ่งที่บัตรรายการยังต้องเปลี่ยนสถานะเป็น OPAC

หน้าที่ 10 บทสรุปแห่งความสำเร็จ (1 นาที)
ผลงาน และบทสรุปของเรื่องราวต่างๆ ใน projectlib

รวม 10 นาที กับมุมมองใหม่ของห้องสมุดสไตล์ projectlib

นี่ก็คือบทสรุปของงาน thinkcamp#1 สำหรับผมเองนะครับ

เก็บตกค่ายความคิด 2 – Thinkcamp#2

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน “ค่ายความคิด 2” หรือที่เรียกว่า “Thinkcamp2”
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของการไปงาน ดังนั้นผมก็ต้องเล่าสู่กันฟังสักหน่อย

thinkcamp-logo

เริ่มจากข้อมูลทั่วไปของงานนี้
ชื่องานภาษาไทย : ค่ายความคิด 2
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Thinkcamp2
วันที่จัดงาน : 14 พฤศจิกายน 2552
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท อาคาร SM Tower ชั้น 20

ก่อนเข้าสู่การบรรยายก็ต้องมีการเปิดงานก่อน
ซึ่งผู้ที่มาพูดในช่วงเปิดงานก็ต้องทำตามกติกาของงานนี้เช่นกัน คือ 10 สไลด์ 10 นาที
ผู้พูด คือ @Aerodust ซึ่งหลักๆ ก็ได้มาแนะนำงาน Thinkcamp และConcept ของงานครั้งนี้

เอาหล่ะครับ เข้าเรื่องหลักของงานนี้เลยดีกว่า นั่นก็คือ หัวข้อของแต่ละคน
หัวข้อที่พูดในงานทั้งหมด มี 24 หัวข้อ แบ่งออกเป็น 2 ห้องๆ ละ 12 หัวข้อนะครับ

หัวข้อที่ผมได้เข้าฟังมีดังนี้
– “9 ประสบการณ์แปลก จากการเป็น เว็บมาสเตอร์ Dek-D.com” โดย @ponddekd
– “WTF Library website in Thailand” โดย @ylibraryhub
– “imyourcard นามบัตรออนไลน์ ที่จะทำให้คุณลืมนามบัตรกระดาษไปตลอดกาล” โดย @thangman22
– “เว็บไซต์บันเทิง สร้างยังไงให้บันเทิง” โดย @patsonic
– “2553:ไทย.ไทย” โดย @pensri
– จำชื่อหัวข้อไม่ได้อ่ะครับ รู้แต่ว่าพูดเกี่ยวกับพลัง social network โดย @iwhale
– “Break the rule with openhat.tv, the social network for the real artist” โดย @aircoolsa
– “ร้อยแปดบล็อก บล็อกไทยๆ สไตล์เบ็ดเตล็ด อ่านง่ายๆ สั้นๆ ไม่ถึง 1 นาที” โดย @kajeaw
– “เว็บไซต์กินข้าวกินปลา restaurants.in.th” โดย คุณภาณุ ตั้งเฉลิมกุล
– “panoramap” โดยแก๊งค์สามสี
– “ITCOOLGANG กับการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมใหม่ ITCOOLGANG NEWS CYBERWORLD ปี2” โดย @aum2u
– “ช่องว่างแห่ง เวลา และสถานที่ กับ eventpro” โดย @aircoolsa

อยากสรุปของแต่ละคนลงบล็อกนะครับ แต่ยังไม่มีเวลาเลย
เอาเป็นว่าอีกเดี๋ยวเว็บ http://www.thinkcamp.in.th
ก็จะมีวีดีโอของแต่ละคนเอามาลงให้ดูกัน เพื่อนๆ ก็สามารถตามดูได้นะครับ

อ๋อลืมบอกส่วนใน session ผม ไม่ขอเล่านะครับ
เพราะว่าพูดเรื่องไม่ดีเกี่ยวกับเว็บไซต์ห้องสมุดไปเยอะ กลัวเพื่อนๆ ในบล็อกจะรับไม่ได้ อ่า


เอาเป็นว่าเดี๋ยวถ้านึกอะไรออกแล้วจะมา update เพิ่มแล้วกันนะครับ อิอิ (update 16/11/2009)

รวมรูปภาพบรรยากาศในงานค่ายความคิด 2 (Thinkcamp#2)

[nggallery id=15]