หากเปรียบห้องสมุดเป็นร่างกายมนุษย์…

หากเปรียบห้องสมุดเป็นร่างกายมนุษย์ บรรณารักษ์แต่ละส่วนงานจะได้ทำงานในอวัยวะชิ้นไหน
เจอคำถามนี้ถึงกับอึ้งเล็กน้อย แต่มีคนเคยนำมาเขียนจริงๆ ครับ
โดยบทความชื่อว่า “How a Library Works” โดย Jeff Scott

da_vinciman

บทความนี้ได้เปรียบเทียบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายมนุษย์
กับการทำงานด้านต่างๆ ภายในห้องสมุด เช่น งานบริหาร, งานเทคนิค?.

Management : The brain
งานบริหาร ? สมอง, เป็นงานที่คอยดูแลและวางแผนในการทำงานต่างๆ รวมถึงตัดสินใจว่าสิ่งไหนควรทำ หรือสิ่งไหนไม่ควรทำ และในงานบริหารหรืองานจัดการส่วนใหญ่ต้องใช้ความคิดดังนั้น จึงเปรียบการบริหารให้เป็น ?สมอง? ของมนุษย์

Collection Development : The eyes
งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ? ตา, เป็นงานที่คอยจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมเข้าห้องสมุด ดังนั้นงานนี้จึงต้องอาศัยการหาแหล่ง การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศเป็นหลัก ถ้าคัดเลือกสื่อไม่ดีเข้าห้องสมุด ห้องสมุดก็จะมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีไม่ด้วย ดังนั้นงานนี้จึ้เปรียบได้กับ ?ตา? ของมนุษย์

Reference : The mouth
งานบริการตอบคำถามและอ้างอิง ? ปาก, เป็นงานที่ต้องพูดสื่อสารกับผู้ใช้ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ และบริการส่วนนี้มักจะมีผู้เข้าใช้บริการอยู่พอสมควรในการสอบถามปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับห้องสมุด หรือปัญหาเกี่ยวกับสารสนเทศ ดังนั้นจึงเปรียบงานตอบคำถามให้เป็น ?ปาก? ของมนุษย์

Circulation : The heart
งานบริการยืมคืน ? หัวใจ, งานบริการที่สำคัญที่สุดของห้องสมุด นั่นก็คืองานบริการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศ เพราะเป็นงานที่จะต้องพบปะกับผู้ใช้ตรงๆ รวมถึงแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงงานบริการจำเป็นจะต้องบริการด้วยใจอย่างที่ผมเคยพูดหลายๆ ครั้ง ดังนั้นหากเทียบอวัยวะที่สำคัญสุด ก็คงหนีไม่พ้น ?หัวใจ? ของมนุษย์

Technical Services : The digestion system
งานเทคนิค ? ระบบย่อยอาหาร, งานเทคนิคที่กล่าวนี้ รวมถึงงานวิเคราะห์ งานซ่อมแซมหนังสือ และอื่นๆ ด้านเทคนิคครับ ถ้าเปรียบสารสนเทศเป็นอาหาร เมื่อปากเราได้กินอาหารเข้ามาก็ต้องผ่านกระบวนการมากมายกว่าที่อาหารเหล่า นั้นจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย เช่นเดียวกัน เมื่อหนังสือเข้าาที่ห้องสมุดต้องผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น จัดหมวดหมู่ ให้หัวเรื่อง และอื่นๆ กว่าหนังสือจะขึ้นชั้นให้บริการ ดังนั้นระบบที่ซับซ้อนเช่นนี้จึงเปรียบได้กับ ?ระบบย่อยอาหาร? นั่นเอง

Programming : The muscles
งานด้านโปรแกรมห้องสมุด ? กล้ามเนื้อ, งานโปรแกรมของห้องสมุดได้แทรกอยู่ทุกงานของห้องสมุดโดยไม่แบ่งแยก และทำงานกันอย่างสอดคล้องกัน ดังนั้นจึงคล้ายการทำงานของ ?กล้ามเนื้อ? ของมนุษย์

ดังนั้นส่วนประกอบต่างๆ ของ อวัยวะมนุษย์ จะมีการทำงานอย่างสอดคล้องกัน
ซึ่งแน่นอนครับว่า ต้องเหมือนกับห้องสมุดที่ทุกฝ่ายต้องทำร่วมกัน
เพื่อให้ได้สุขภาพที่ดี ? ห้องสมุดที่สมบูรณ์
เป็นยังไงกันบ้างครับ นี่แหละร่างกายมนุษย์ กับ ห้องสมุด

ประสบการณ์ทำงานห้องสมุดเล็กใหญ่ไม่สำคัญ

คนที่ทำงานในห้องสมุดใหญ่ หรือ คนที่ทำงานในห้องสมุดเล็ก
ไม่ว่าจะที่ไหนก็คือห้องสมุดเหมือนกัน และเป็นบรรณารักษ์เหมือนกัน
ดังนั้นกรุณาอย่าแตกแยกครับ บรรณารักษ์ต้องสามัคคีกัน (มาแนวรักชาติ)

librarian-in-library

ทำไมผมต้องเขียนเรื่องนี้หรอครับ สาเหตุมาจากมีน้องคนนึงมาอ่านบล็อกผมแล้วส่งเมล์มาถาม
เกี่ยวกับเรื่องการทำงานในห้องสมุดและสมัครงานในห้องสมุดนั่นเอง

ประมาณว่าน้องเขาถามว่า
“ผมทำงานในห้องสมุดเล็กๆ แห่งหนึ่ง ทำงานทุกอย่างคนเดียวในห้องสมุด
ทีนี้ผมอยากจะออกมาสมัครงานในห้องสมุดแบบใหญ่ๆ บ้าง
ขอถามว่าผมจะเสียเปรียบบรรณารักษ์คนที่เคยทำงานในห้องสมุดใหญ่ๆ บ้างหรือปล่าว”

ประเด็นนี้ผมมานั่งคิดๆ ดูแล้ว มันก็ตอบยากนะครับ เพราะว่าในแง่ของการให้บริการในห้องสมุดมันก็คล้ายๆ กันนะครับ
คือพูดง่ายๆ ว่า บรรณารักษ์ยังไงเราก็ต้องให้บริการผู้ใช้ในห้องสมุดอยู่แล้ว

จะบอกว่าห้องสมุดใหญ่ต้องให้บริการดีกว่าห้องสมุดเล็ก มันก็คงไม่ใช่ สรุปง่ายๆ ว่างานด้านบริการผมว่าเท่าๆ กัน
แต่ในแง่ของอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกหรืองบประมาณอันนี้ผมคงต้องถามต่อไปอีกว่า

“ห้องสมุดของเรา บริการให้ผู้ใช้บริการได้เต็มที่แล้วหรือยัง”

ห้องสมุดในบางแห่งมีงบประมาณมากมาย อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาก แต่บรรณารักษ์กลับไม่สนใจในการให้บริการ
ดังนั้นการจะเปรียบเทียบห้องสมุดผมจึงไม่ขอเอาเรื่องความใหญ่โตของห้องสมุดมาเทียบนะครับ
ถ้าจะเทียบผมขอเทียบในแง่ของการให้บริการดีกว่า ถึงแม้ว่าจะวัดผลในการให้บริการยากก็ตาม

ในแง่ของผู้ใช้บริการที่ต้องเข้ามาใช้บริการในห้องสมุด
จุดประสงค์ก็คงจะไม่พ้นเพื่อค้นหาข้อมูล เพื่อหาความรู้ อ่านหนังสือ ฯลฯ
ซึ่งโดยหลักการแล้วห้องสมุดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ต้องมีบริการพื้นฐานเหล่านี้

ในเรื่องของการทำงานด้านบรรณารักษ์ในห้องสมุด อันนี้ผมคงต้องตอบว่าขึ้นอยู่กับการเรียนรู้งานของเพื่อนๆ นั่นแหละ
ซึ่งโดยปกติที่ผมเห็นคือถ้าเป็นห้องสมุดใหญ่ๆ บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะมีการแบ่งงานอย่างชัดเจน
ซึ่งแน่นอนว่าคนเดียวอาจจะไม่ต้องทำทุกงานในห้องสมุดก็ได้ ดังนั้นบรรณารักษ์ก็จะได้ความชำนาญเฉพาะด้านไปใช้

แต่ถ้าหากมองไปที่ห้องสมุดขนาดเล็กซึ่งบางแห่งมีบรรณารักษ์คนเดียว
และทำงานทุกอย่างในห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นงานบริหารไปจนถึงการจัดชั้นหนังสือ
แน่นอนครับ บรรณารักษ์ในกลุ่มนี้จะเข้าใจในกระบวนการทำงานของห้องสมุดแบบภาพรวมได้อย่างชัดเจน
รู้กระบวนการต่างๆ ในห้องสมุด ขั้นตอน แผนงาน และการดำเนินการต่างๆ อย่างเป็นระบบ

เอาเป็นว่าขอสรุปนิดนึง
ห้องสมุดใหญ่ –> บรรณารักษ์ชำนาญเฉพาะด้าน
ห้องสมุดขนาดเล็ก –> บรรณารักษ์เข้าใจภาพรวมของห้องสมุด

เวลาไปสมัครงานไม่ว่าจะมาจากห้องสมุดเล็ก หรือ ห้องสมุดใหญ่
ผมว่าต่างคนก็ต่างได้เปรียบในแต่ละเรื่องอยู่แล้ว ดังนั้นเรื่องการสมัครงานคงไม่มีผลกระทบเช่นกัน

ยังไงซะไม่ว่าจะทำงานที่ไหนก็ตาม ทุกคนก็ยังคงได้ชื่อว่าเป็นบรรณารักษ์อยู่ดี
ดังนั้นก็ขอให้เพื่อนๆ ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดนะครับ

งานบรรณารักษ์ที่เพื่อนๆ ชอบที่สุด คือ…

งานในห้องสมุดถูกแบ่งออกเป็นหลายส่วนด้วยกัน บรรณารักษ์ในแต่ละส่วนก็มีหน้าที่ไม่เหมือนกัน
วันนี้ผมเลยอยากถามเพื่อนๆ ว่า “หากเพื่อนๆ เลือกทำงานในห้องสมุดได้ เพื่อนๆ จะเลือกงานไหน”

[poll id=”11″]

การตอบแบบสอบถามนี้เป็นเพียงความคิดส่วนบุคคลของแต่ละคนนะครับ
เพราะในความเป็นจริงแล้วผมเชื่อว่าทุกคนก็คงต้องทำงานทุกอย่างที่กล่าวมาอยู่ดี
คงเลือกไม่ได้หรอกครับว่าจะอยู่งานไหน เอาเป็นว่าผมแค่ถามงานที่ชอบในความรู้สึกก็แล้วกัน

library-work

คำอธิบายงานในแต่ละส่วน

1. งานบริหารห้องสมุด
– งานวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ ในห้องสมุด ควบคุมงบประมาณและทำรายงานสถิติต่างๆ

2. งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
– งานจัดซื้อจัดหาทรัพยากรต่างๆ เข้าห้องสมุด

3. งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
– งาน catalog นี่แหละ ไม่ว่าจะ dewey หรือ LC ก็ตาม

4. งานบริการยืม-คืน
– ให้บริการหน้าเคาน์เตอร์อย่างเดียว ยิงบาร์โค้ตหนังสือยืม และหนังสือคืน

5. งานวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
– งานจัดการด้านวารสาร นิตยสารต่างๆ เช่น เย็บเล่มวารสาร ทวงวารสารที่ยังไม่ส่ง ฯลฯ

6. งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
– งานที่ให้คำปรึกษา และนั่งตอบคำถามแก่ผู้ใช้บริการ ปัจจุบันอาจจะตอบผ่าน Chat, MSN, Mail ฯลฯ

7. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
– งานดูแลระบบไอทีต่างๆ ในห้องสมุด รวมถึงระบบห้องสมุดอัตโนมัติด้วย

8. งานโสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์
– งานให้บริการสื่อมัลติมีเดียต่างๆ เช่น ซีดี วีซีดี ดีวีดี อาจจะรวมถึงห้องมัลติมีเดียด้วย (ถ้ามีในห้องสมุด)

9. อื่นๆ (โปรดระบุ)
งานอื่นๆ ที่อาจจะไม่ระบุถึง ณ ที่นี้ เช่น จัดชั้นหนังสือ ฯลฯ

นิยามของงานไหนที่ไม่ชัดเจนเพื่อนๆ อาจจะตอบ อื่นๆ มานะครับแล้วก้ระบุมาให้ผมด้วยว่างานอะไร

ถ้าเป็นไปได้นอกจากการเลือกที่แบบสอบถามแล้ว ผมขอให้เพื่อนๆ ตอบลงมาใน comment ด้วยนะครับ
โดยรูปแบบในการตอบแบบสอบถามนี้ ผมกำหนดไว้แล้ว มีดังนี้

1. ประเภทของห้องสมุดที่คุณทำงาน (ห้องสมุดโรงเรียน, ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา, ห้องสมุดเฉพาะ, ห้องสมุดองค์กรอื่นๆ)
2. งานที่คุณทำในห้องสมุด
3. งานที่คุณอยากทำในห้องสมุด พร้อมเหตุผล

——————————————

ตัวอย่างการตอบแบบสอบถาม (คำตอบของผมเอง)

ประเภท : ห้องสมุดประชาชน
งานที่ทำในห้องสมุด : งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
งานที่อยากทำในห้องสมุด : บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
เหตุผล : เพราะว่าการตอบคำถามให้ผู้ใช้บริการจะเป็นการเปิดโลกทัศน์ทำให้เรามีความกระตือรือร้น
ในการอยากรู้อยากเห็น แสวงหาคำตอบมาตอบผู้ใช้เท่ากับเป็นการเพิ่มความรู้ให้เราด้วยครับ

——————————————

อ๋อสำหรับคนอื่นที่ไม่ได้เป็นบรรณารักษ์ ขอแค่ระบุว่าอยากทำงานด้านไหนในห้องสมุดก็พอแล้วครับ

ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบครับ

กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด ณ ห้องสมุดโรงเรียนเทพวิทยา

วันนี้ผมขอแนะนำกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดของโรงเรียนเทพวิทยา (ราชบุรี)
ซึ่งบทความนี้ได้รับเกียรติจากคุณขนิดา พญาชน บรรณารักษ์ของโรงเรียนเทพวิทยามาช่วยเขียน

libraryweek

รายละเอียดทั่วไปของการจัดกิจกรรมครั้งนี้
ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด
วันที่จัดงาน : วันที่? 24-28 สิงหาคม? 2552
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุด โรงเรียนเทพวิทยา


วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้

1. เพื่อให้ครูและนักเรียนเห็นคุณค่าของการอ่านและการค้นคว้ามากขึ้น
2. เพื่อให้ทุกคนในโรงเรียนเห็นความสำคัญของห้องสมุด
3. เพื่อให้ครูและนักเรียนได้รับความรู้และความบันเทิง
4. เพื่อให้บรรณารักษ์และผู้ใช้บริการมีทัศนคติที่ดีต่อกัน

วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ผมชอบในข้อที่ 4 มากๆ เลยครับ
เพราะการจัดงานห้องสมุดในแต่ละครั้ง
จริงๆ แล้ว พวกเราชาวบรรณารักษ์ก็หวังว่าผู้ใช้บริการหองสมุดจะมีทัศนคติที่ดี
และตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุดที่มีอยู่บ้างก้เท่านั้น

ในงานนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายเลยครับ
(ลองอ่านดู เผื่อจะได้ไอเดียแจ๋วๆ เพื่อนำไปใช้กับห้องสมุดของคุณได้)

– นิทรรศการ ?หนังสือดี? 6 เรื่อง? ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน?
– การประกวดเล่านิทานประกอบท่าทาง
– การประกวดวาดภาพ? หัวข้อ? ห้องสมุดของฉัน
– การประกวดคำขวัญ? หัวข้อ? ทศวรรษแห่งการอ่าน
– การประกวดสุดยอดหนอนหนังสือ
– การประกวด? Mr. and Miss Newspaper
– การประกวดหนังสือเก่าหายาก
– กิจกรรมบิงโกหนังสือ
– กิจกรรมอ่าน ดี ดี มีรางวัล
– กิจกรรมสำนวนชวนคิด
– การจำหน่ายหนังสือดี? ราคาถูก

นี่ถ้าไม่บอกว่าห้องสมุดโรงเรียน ผมคงนึกว่าเป็นห้องสมุดระดับใหญ่เลยนะครับ
มีกิจกรรมเยอะแบบนี้ ผมคงต้องขอคารวะเลยนะครับ
กิจกรรมแต่ละกิจกรรมก็น่าสนใจไม่แพ้กัน

ok-school

โดยเฉพาะ Mr. and Miss Newspaper ตอนแรกผมก็งงๆ ว่าคืออะไร
แต่พอลองดูรูปแล้วเริ่มเข้าใจเลยครับ ว่าเป็นการนำหนังสือพิมพ์มาตกแต่งเป็นเครื่องแต่งกายนั่นเอง
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ หลายๆ คนคงได้ไอเดียจากห้องสมุดแห่งนี้ไปไม่มากก็น้อยนะครับ

สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณ คุณขนิดา พญาชน บรรณารักษ์จากโรงเรียนเทพวิทยามากๆ
ที่แนะนำกิจกรรมนี้มาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และเปิดไอเดียใหม่ๆ ให้วงการห้องสมุด

สำหรับรูปถ้าเพื่อนๆ อยากดูทั้งหมดให้เข้าไปดูได้ที่ http://www.thepvittaya.net/photo03/09sep52/Library/index.htm

สัปดาห์ห้องสมุดปีที่ 34 : บทบาทของห้องสมุดกับการพัฒนาอาชีพ

ช่วงนี้มีเพื่อนๆ เข้ามาถามเรื่องการจัดกิจกรรมสำหรับงานสัปดาห์ห้องสมุดแห่งประเทศไทยเยอะมาก
ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ตอบผ่านบล็อกของผมเพื่อเป็นแนวให้ทุกๆ คนเลยนะครับ

library-week

ปีนี้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้ประกาศให้มีการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดปีที่ 34 ในเดือนสิงหาคม
โดยใช้หัวข้อในการจัดงานของปีนี้ คือ “บทบาทของห้องสมุดกับการพัฒนาอาชีพ”
สถานที่ในการจัดงาน คือ ห้องสมุดทุกประเภท ทั่วประเทศ (ทุกห้องสมุดรับนโยบาย)

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยได้เสนอแนวคิดในการจัดกิจกรรม ดังนี้
1. จัดนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชประวัติ? และพระราชกรณียกิจ และพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
2. จัดแสดงสินค้าที่ประชาชนในท้องถิ่น / ชุมชน จัดทำขึ้น? ขอความร่วมมือให้ผู้ผลิตนำมาจำหน่ายในงานสัปดาห์ห้องสมุด
3. จัดการบรรยาย / อภิปราย / เสวนา / เรื่องอาชีพต่างๆ ที่ บุคคล / ครอบครัว จะจัดทำ และจำหน่ายเป็นรายได้
4. จัดนำชมห้องสมุด

หลังจากที่ดูจากกิจกรรมของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยแล้ว
ผมก็ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนิดนึงนะครับ

1. เรื่องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติอันนี้แน่นอนครับเดือนสิงหาคม
วันแม่แห่งชาติ เพื่อนๆ ควรจะต้องจัดกิจกรรมสัปดาห์วันแม่แห่งชาติอยู่แล้ว

2. การนำสินค้าในท้องถิ่นมาจำหน่ายในงานสัปดาห์ห้องสมุด
อันนี้อาจจะพบเห็นได้น้อยที่นะครับ แต่เพื่อให้เข้ากับธีมของงานก็อาจจะทำได้เช่นกัน

3. การบรรยายเรื่องอาชีพในห้องสมุดอันนี้ก็โอเคนะครับ
จะให้ดีห้องสมุดควรลองประสานงานกับวิสาหกิจชุมชนดูสิครับ แล้วจะได้วิทยากรมาบรรยาย

4. นำชมห้องสมุด อันนี้แม้ว่าจะไม่ใช่สัปดาห์ห้องสมุดก็ต้องจัดอยู่แล้วครับ

และในฐานะที่ผมเป็นบล็อกเกอร์ของชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์
ผมก็ขอร่วมจัดกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดกับเขาด้วยเหมือนกัน
เพียงแต่ของผมจะจัดกิจกรรมบนบล็อกและเวทีสาธารณะด้านนอกแล้วกันนะครับ

กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดที่จะจัดโดย Libraryhub (ในเดือนสิงหาคม)
– จัดงาน Libcamp#2 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2552 โดยใช้ธีมเกี่ยวกับ บรรณารักษ์บล็อกเกอร์กับการพัฒนางานห้องสมุด
-เชิญผู้ที่ประกอบอาชีพในวงการต่างๆ มาสัมภาษณ์ถึงความสำเร็จ และประสบการณ์ในการใช้ห้องสมุด (4 คน : 4 วัน)
– พาทัวร์ห้องสมุดชุมชนที่มีส่วนต่อการพัฒนาอาชีพ และพาทัวร์ห้องสมุดขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ
– กิจกรรมคลิ๊กนี้เพื่อแม่ (ในช่วงวันแม่) จะให้ช่วยกันคลิกถวายพระพร
– สำรวจหนังสือเล่มโปรดของเพื่อนๆ

เอาเป็นว่าเกริ่นไว้แค่นี้ก่อนดีกว่า แต่ผมรับรองว่าในเดือนสิงหาคม
Libraryhub ในธีมของงานสัปดาห์ห้องสมุด
จะต้องทำให้เพื่อนๆ ได้ไอเดียในการจัดกิจกรรมอีกเยอะเลยทีเดียว

รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ประจำปี 2552 โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ดาวน์โหลดได้ที่ – เอกสารจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ประจำปี 2552

สำหรับวันนี้ผมก็ขอให้เพื่อนๆ มีแรงบันดาลใจในการคิดกิจกรรมดีๆ แล้วกันนะครับ
หากต้องการคำปรึกษาก็อีเมล์มาถามได้ หรือ MSN ถ้าสะดวกผมจะตอบทันที
เตรียมนับถอยหลังงานสัปดาห์ห้องสมุดได้แล้วนะครับ บ๊ายบาย