รวมเอกสารการฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น (ThaiLIS)

วันนี้ผมขอนำเอกสารการฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น โดย คุณจิรวัฒน์ พรหมพร มาแจกนะครับ
ซึ่งฐานข้อมูลที่ปรากฎในเอกสารด้านล่างนี้ เป็นฐานข้อมูลที่ ThaiLIS บอกรับในปี 2553 นั่นเอง

online-database

เอกสารข้อมูลและวิธีใช้ฐานข้อมูลนี้ ครอบคลุมฐานข้อมูลทั้งหมด 6 ฐาน ดังต่อไปนี้

ฐานข้อมูล ABI / Inform
ฐานข้อมูล ABI / Inform

1. ABI/Inform – ฐานข้อมูลด้านธุรกิจและการบริหารจัดการ
(สไลด์วิธีการใช้) (สไลด์ภาพรวมของฐานข้อมูล)

ACM Digital Library
ACM Digital Library

2. ACM Digital Library – ฐานข้อมูลด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
(สไลด์วิธีการใช้) (สไลด์ภาพรวมของฐานข้อมูล)

ฐานข้อมูล Dissertation and theses
ฐานข้อมูล Dissertation and theses

3. Dissertation & Theses – ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
(สไลด์วิธีการใช้) (สไลด์ภาพรวมของฐานข้อมูล)

ฐานข้อมูล H.W. Wilson
ฐานข้อมูล H.W. Wilson

4. H.W. Wilson – ฐานข้อมูลหลากหลายสาขา
(สไลด์วิธีการใช้) (สไลด์ภาพรวมของฐานข้อมูล)

ฐานข้อมูล IEEE และ IET
ฐานข้อมูล IEEE และ IET

5. IEEE / IEL – ฐานข้อมูลหลากหลายสาขา
(สไลด์วิธีการใช้) (สไลด์ภาพรวมของฐานข้อมูล)

ฐานข้อมูล Web of Science
ฐานข้อมูล Web of Science

6. Web of Science – ฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์
(สไลด์วิธีการใช้) (สไลด์ภาพรวมของฐานข้อมูล)

ลองเข้าไปอ่านวิธีใช้งานและข้อมูลภาพรวมดูนะครับ
ผมว่าอย่างน้อยก็ทำให้เราเข้าใจรายละเอียดของเนื้อหาในฐานข้อมูลนั้นๆ ได้ครับ
แถมข้อดีอีกอย่างคือเราก็ไม่ต้องสร้างคู่มือการใช้ฐานข้อมูลให้ผู้ใหญ่ด้วย
เนื่องจากเราสามารถดึงข้อมูลต่างๆ ในนี้ไปจัดทำคู่มือการใช้ฐานข้อมูลประจำห้องสมุดได้ครับ

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอลาไปก่อนนะครับ

ปล. เอกสารต่างๆ ที่นำมาเผยแพร่นี้ ผมได้ขออนุญาต คุณจิรวัฒน์ พรหมพร แล้วนะครับ
ดังนั้นหากห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ต้องการนำไปเผยแพร่ต่อขอความกรุณาช่วยแจ้ง คุณจิรวัฒน์ พรหมพร ด้วยนะครับ
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ คุณจิรวัฒน์ พรหมพร ที่ได้จัดทำเอกสารดีๆ ให้เราได้เรียนรู้ฐานข้อมูลต่างๆ ครับ

แนะนำ Journallink เพื่อใช้ค้นหาบทความวิชาการ

วันนี้ผมขอออกแนววิชาการบ้างนะครับ หลังจากเขียนเรื่องสบายๆ มาหลายวัน
โดยวันนี้ผมจะขอนำเสนอเกี่ยวกับ ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)

journallink

ทำไมผมถึงต้องเขียนเรื่องนี้นะหรอครับ เอาเป็นว่าสาเหตุมาจาก
มีเพื่อนบรรณารักษ์คนนึงใน Hi5 กลุ่ม Librarian in Thailand มาตั้งคำถามว่า

?ผู้ใช้ ต้องการวารสารเล่มนี้อ่ะคับ ทีไหนมี รบกวนบอกด้วยนะคับ รบกวน จิงๆ นะคับ American Journal of Enology and Viticulture?

ผมจึงขอนำเสนอวิธีการค้นหาวารสาร และบทความวารสารเล่มนี้มาฝากนะครับ
เผื่อว่าถ้าเพื่อนๆ บรรณารักษ์ เจอคำถามประมาณนี้จะตอบผู้ใช้ห้องสมุดได้อย่างถูกต้อง

journal-link

ทางออกของการค้นหาวารสารสักเล่มว่าอยู่ที่ห้องสมุดไหน
โดยทั่วไปผมจะใช้ ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย หรือ Journallink
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.journallink.or.th/

———————————————————————————

ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย จะเป็นฐานข้อมูลเพื่อค้นหาว่าวารสารเล่มที่เราค้น อยู่ที่ห้องสมุดไหนบ้าง
ที่มาของฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)
เกิดจากการร่วมมือกันของห้องสมุดภายในประเทศจำนวน 211 แห่ง

ในการใช้งานแบ่งออกเป็น 2 สถานะ คือ :-
1. ห้องสมุดที่ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิก
2. ผู้ใช้ทั่วไป (อันนี้แหละครับที่ผมจะแนะนำให้ค้น)

แต่การค้นแบบผู้ใช้ทั่วไป เพื่อนๆ จะต้องกรอกข้อมูลลงทะเบียนดังนี้
– ที่พัก (เลือกจังหวัดที่เราอยู่)
– อาชีพ (เลือกอาชีพของเรา)
– สังกัด (รัฐ / เอกชน / สถานศึกษา)

พอลงทะเบียนเสร็จก็จะเข้าสู่เมนูการสืบค้น เพื่อนๆ สามารถเลือกสืบค้นข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น
– ตามลำดับอักษร คือ เรียงชื่อวารสารตามลำดับอักษร A ? Z และ ก ? ฮ
– ชื่อวารสาร
– ISSN คือ หมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number)
– องค์กรหรือสถาบัน/Institution
– หัวเรื่อง/keyword

———————————————————————————

นี่ก็เป็นการแนะนำแบบคร่าวๆ นะครับ สำหรับฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)
คราวนี้เรามาดูโจทย์ของเราดีกว่า (อันนี้ยกกรณีของคำถามมาแสดงให้ดู)
ผมต้องการหาว่า ?American Journal of Enology and Viticulture? อยู่ที่ห้องสมุดไหนบ้าง

ขั้นตอนในการค้นหา

1. ผมก็เลือกการค้นแบบ ชื่อวารสาร จากนั้นผมก็กรอกรายชื่อวารสารในช่องสืบค้น

example-search1

2. ผลลัพธ์จากการสืบค้น คือ ผมพบวารสารเล่มนี้

result-search1

3. เข้าไปดูรายละเอียด ของวารสารที่สืบค้น

result-search2

เป็นอันจบกระบวนการสืบค้นวารสารนะครับ

สรุปจากการสืบค้นวารสาร ชื่อ American Journal of Enology and Viticulture
ผมพบว่าที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีวารสารเล่มนี้อยู่ที่ ห้องสมุดกลาง (Main Library)
ผมก็จะทำการติดต่อไป เพื่อขอทำสำเนาบทความ หรือสืบค้นชื่อบทความในวารสารเล่มนั้นต่อได้

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับการใช้งาน และตอบคำถามของผม
ไม่รู้ว่าเจ้าของคำถามจะงงอีกหรือปล่าว หรือว่าผมตอบผิดประเด็นหรือปล่าว
ยังไงถ้าได้อ่านก็แสดงความคิดเห็นมาได้นะครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ Journallink มากกว่านี้ สามารถดูได้ที่

http://www.car.chula.ac.th/gotoweb/guides_journal2.pdf

http://tanee.oas.psu.ac.th/images/tutorial/new/db-jour.pdf

แนะนำแหล่งสารสนเทศออนไลน์

แหล่งสารสนเทศออนไลน์ที่ให้บริการสารสนเทศฟรีมีมากมาย
วันนี้ผมจะนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
เพื่อว่า เพื่อนๆ จะสามารถนำไปใช้ในเรื่องบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าได้

onlineinformation

แหล่งสารสนเทศออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ เช่น
– สารานุกรมออนไลน์
– ฐานข้อมูลออนไลน์
– เว็บไซต์บริการตอบคำถาม (FAQ)
– วารสารวิชาการออนไลน์
– สารสนเทศชี้แหล่ง
– เว็บไซต์สารสนเทศเฉพาะด้านออนไลน์
– เว็บไซต์องค์กรวิชาชีพ

และอื่นๆ อีกมากมายแล้วแต่องค์ความรู้

ลองไปดูกันนะครับ ว่าผมแนะนำเว็บไหนบ้าง

1 Encyclopedia Britannica – http://www.britannica.com

2 Encarta – http://www.encarta.msn.com

3 First Monday – http://firstmonday.org

4 IBM Technical Journals – http://www.almaden.ibm.com/journal

5 Chicago Journal of Theoretical Computer Science – http://www.cs.uchicago.edu/research/publications/cjtcs

6 FreePatentsOnline.com – http://www.freepatentsonline.com

7 HighWire — Free Online Full-text Articles – http://highwire.stanford.edu/lists/freeart.dtl

8 BUBL Information Service – http://bubl.ac.uk

9 ERIC – Education Resources Information Center – http://www.eric.ed.gov

10 W3Schools – http://www.w3schools.com

11 NECTEC Courseware – http://www.nectec.or.th/courseware

12 LearnSquare Thailand Opensource e-Learning Management System – http://www.learnsquare.com/index.php?mod=Message&op=aboutus

13 IEEE / IEE Electronic Library (IEL) – http://ieeexplore.ieee.org/Xplore/guesthome.jsp

14 Blackwell – http://www.blackwell-synergy.com/servlet/useragent?func=showHome

15 Institute of Physics – http://www.iop.org

16 Aardvark – http://www.aardvarknet.info/user/aardvarkwelcome

17 Agricola – http://www.nal.usda.gov

18 Arxiv.org E-Print Archive – http://arxiv.org

19 DOAJ= Directory of Open Access Journals – http://www.doaj.org

20 Issues in science & Technology Librarianship – http://www.library.ucsb.edu/istl/?

21 iToc – http://dbonline.igroupnet.com/itoc

22 Librarian’s Index – http://lii.org/search

23 National Human Genome Research Institute – http://www.genome.gov

24 National Science Foundation – http://www.nsf.gov

25 scirus – http://www.scirus.com/srsapp

26 Thai Patents – http://www.ipic.moc.go.th

27 Computers in Libraries – http://www.infotoday.com/cilmag/default.shtml

28 D-Lib Magazine – http://www.dlib.org

29 ฐานข้อมูล NetLibrary – http://www.netlibrary.com

30 Cambridge Journals Online (CJO) – http://journals.cambridge.org/action/login

31 Energy Citations Database (ECD) – http://www.osti.gov/energycitations

32 FreeFullText.com – http://www.freefulltext.com

33 HIV/AIDS Information – http://sis.nlm.nih.gov/hiv.html

34 POPLINE – http://db.jhuccp.org/ics-wpd/popweb

35 J-STAGE? – http://www.jstage.jst.go.jp/browse

36 NASA Astrophysics Data System (ADS) – http://adswww.harvard.edu

37 Scitation – http://scitation.aip.org

38 Windows Live Academic – http://academic.live.com

39 Answers.com – http://www.answers.com

40 Infoplease – http://www.infoplease.com

41 Database Dev Zone – http://www.devx.com/dbzone

42 Religion Online – http://www.religion-online.org

43 UNESCO Documentation Resources – http://unesdoc.unesco.org/ulis/index.html

44 Free online periodicals in social and human sciences – Full text specialized articles? – http://www.unesco.org/shs/shsdc/journals/shsjournals.html

45 EContentMag.com – http://www.ecmag.net

46 International Monetary Fund (IMF) Publications – http://www.imf.org/external/pubind.htm

47 Documents & Reports – All Documents? World Bank – http://www-wds.worldbank.org

48 world bank e-Library – http://www.worldbank.catchword.org

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรายชื่อเว็บไซต์ทั้ง 48 รายชื่อ
ผมก็หวังว่าเพื่อนๆ จะนำเว็บไซต์เหล่านี้ไปใช้ในการทำงานได้นะครับ

ถ้ามีเว็บไหนที่น่าสนใจเพิ่มเติมผมจะนำมาเพิ่มให้วันหลังนะครับ
และถ้าเพื่อนๆ อยากจะแนะนำก็สามารถโพสลงในคอมเม้นต์ด้านล่างนี้ได้นะครับ