บทสรุป เรื่อง ICT กับงานห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

เมื่อวานผมเกริ่นไปแล้วว่าผมไปบรรยายในงานประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน (รุ่นที่4) แล้วก็ทิ้งท้ายว่าผมจะสรุปการบรรยายของผมให้อ่าน วันนี้เลยขอทำหน้าที่ในส่วนนี้ต่อ เรื่องที่ผมบรรยายในงานนี้ คือ “ICT กับงานห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

เอกสารประกอบการบรรยายเพื่อนๆ สามารถชมได้จาก

หรือเปิดได้จาก http://www.slideshare.net/projectlib/ict-for-living-library-at-school

ดูสไลด์แล้วอาจจะงงๆ หน่อย งั้นอ่านคำอธิบายและบทสรุปของเรื่องนี้ต่อเลยครับ

บทสรุป ICT กับงานห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

เริ่มต้นจากการบรรยายถึงความหมายและบทบาทของบรรณารักษ์ยุคใหม่ หรือที่ผมชอบเรียกว่า cybrarian ซึ่งหลักๆ ต้องมีความรู้ด้านบรรณารักษ์และความรู้ที่เกี่ยวกับไอที

จากนั้นผมจึงเปรียบเทียบว่าทำไมบรรณารักษ์ต้องรู้ไอที ซึ่งหลายๆ คนชอบมองว่าเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ผมจึงขอย้ำอีกครั้งว่า บรรณารักษ์ ไม่ใช่ โปรแกรมเมอร์ เราไม่ต้องรู้ว่าเขียนโปรแกรมอย่างไรหรอก แต่เราต้องรู้จัก เข้าใจ และนำโปรแกรมไปใช้ให้ถูกต้อง

ทักษะด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ (สำหรับห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน) ผมขอแยกเรื่องหลักๆ ออกเป็น 7 กลุ่ม คือ
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0


เมื่อเห็นทักษะไอทีที่ผมนำเสนอไปแล้ว เพื่อนๆ อาจจะบอกว่าง่ายจะตาย ไม่ต้องทำงานซับซ้อนด้วย
แต่เชื่อหรือไม่ว่า เรื่องง่ายๆ ของบรรณารักษ์ บางครั้งมันก็ส่งผลอันใหญ่หลวงอีกเช่นกัน

จากนั้นผมก็ให้ชมวีดีโอเรื่อง social revolution (คลิปนี้ถูกลบไปจาก youtube แล้ว โชคดีที่ผมยังเก็บต้นฉบับไว้)

จากนั้นผมก็ได้พูดถึง social media tool ว่ามีมากมายที่ห้องสมุดสามารถนำมาใช้ได้
เช่น Blog email msn facebook twitter youtube slideshare Flickr

ซึ่งผมขอเน้น 3 ตัวหลักๆ คือ blog, facebook, twitter โดยเอาตัวอย่างของจริงๆ มาให้ดู
Blog – Libraryhub.in.th
Facebook – Facebook.com/kindaiproject / Facebook.com/Thlibrary
twitter – twitter.com/kindaiproject

จากนั้นผมก็ฝากข้อคิดดีๆ เกี่ยวกับเรื่องการดูแล้วสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ห้องสมุด 6 ข้อ ดังนี้
1. อัพเดทอย่างสม่ำเสมอ
2. สามารถให้บริการผ่านสื่อออนไลน์
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการ
4. ไม่นำเรื่องแย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
5. พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการ
6. จัดกิจกรรมทุกครั้งควรนำมาลงให้ผู้ใช้บริการเข้ามาชม

ก่อนจบผมได้แนะนำให้เพื่อนๆ ตามอ่านเรื่องราวห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือจากบล็อกต่างๆ ด้วย
ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากไหนให้เข้าไปที่ http://blogsearch.google.co.th
แล้วค้นคำว่า ห้องสมุด บรรณารักษ์ หนังสือ จะทำให้เจอเรื่องที่น่าอ่านมากมาย

เอาเป็นว่าสไลด์นี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้ครับ ไว้วันหลังผมจะถยอยนำสไลด์มาขึ้นเรื่อยๆ นะครับ
จริงๆ ไปบรรยายมาเยอะแต่เพิ่งจะได้เริ่มเขียนเรื่องเล่าเล็กๆ น้อยๆ ให้เพื่อนๆ อ่าน

วันนี้ก็ขอลาไปก่อนครับ


รวมภาพงานประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

วันนี้ได้รับเกียรติจากห้องสมุด TKpark อีกครั้งที่เชิญมาบรรยายในงานประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน (รุ่นที่ 4) (จริงๆ แล้วรุ่นที่ 3 ผมก็มาบรรยายเช่นเดียวกันแต่ยังไม่ได้เอาสไลด์มาลงในชมเลย) จึงขอเล่าบรรยากาศในงานให้ผู้ที่ไม่ได้มาร่วมงานนี้ได้อ่านและชมภาพกัน

รายละเอียดเกี่ยวกับงานนี้แบบย่อๆ
ชื่องาน : การประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน (รุ่นที่4)
จัดโดย : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้และสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
วันที่จัด : วันอังคารที่ 3 – วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม  2554
สถานที่จัดงาน : โรงแรมเอส ดี อเวนิว

ผมจำได้ว่าครั้งที่แล้ว (รุ่นที่แล้วก็จัดที่นี่เช่นเดียวกัน แต่จัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์)
ในรุ่นนี้ผมว่าคนมาร่วมงานนี้คึกคักมากกว่าครั้งที่แล้วเยอะเลย แถมดูกระตือรือร้นในงานมากๆ
ครั้งก่อนผมบรรยายช่วงเย็นๆ มาครั้งนี้ได้อยู่รอบเช้าเลย (อาจจะทำให้เห็นคนเยอะก็ได้)

เรื่องหลักๆ ที่ผมบรรยายเดี๋ยวผมจะขออนุญาตเขียนเป็นอีกเรื่องในบล็อกแล้วกัน
วันนี้ขอเม้าส์เรื่องบรรยากาศในงานและการจัดงานโดยภาพรวมก่อน

รูปแบบของการจัดงานใน 4 วัน มีหลายรูปแบบมาก
เช่น
– ชมนิทรรศการของห้องสมุดมีชีวิตที่เคยอบรมในรุ่นก่อนๆ
– การบรรยายจากวิทยากรเพื่อเติมเต็มความรู้
– การทำ workshop ระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
– การศึกษาดูงานห้องสมุดโรงเรียนในกทม.และอุทยานการเรียนรู้ (TK park)

นับว่าเป็นการเติมเต็มความรู้ของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ครูบรรณารักษ์ ศึกษานิเทศก์ รวมถึงผู้บริหารได้ดีทีเดียว

ห้องประชุมเดิมที่เคยจัดงานดูเล็กไปมากเลยแทบจะไม่มีที่นั่งเหลือเลยครับ
ขนาดผมไปแต่เช้ายังไม่มีเก้าอี้นั่งเลย จึงต้องยืนฟังบ้าง แอบออกมาเตรียมตัวข้างนอกบ้าง

รอบๆ ห้องประชุมวันนี้มีการแสดงผลงานของการจัดห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียนของรุ่นที่เคยอบรมจากงานนี้ไป
(แสดงให้เห็นว่า หลังจากการอบรมแล้วมีการนำไปใช้งานจริงและได้ผลลัพธ์ออกมาจริง)

ผมเองก็ได้เดินชมอยู่หลายๆ บูธเช่นกัน แต่ละห้องสมุดทำได้ดีทีเดียวเลยครับ (พี่เลี้ยงดีมากๆ)

ด้านนอกของห้องประชุมก็มีร้านหนังสือนานมีมาออกบูธด้วย
มีหนังสือเด็กที่น่าสนใจเพียบเลย และมีการแนะนำกิจกรรมการรักการอ่านสำหรับเด็กแถมเป็นความรู้กลับไป

เอาเป็นว่างานนี้ผมยกนิ้วให้เลยว่าจัดงานได้ดีทีเดียว
สำหรับใครที่พลาดงานนี้ผมว่าทางหน่วยงานที่จัดคงมีแผนในการจัดต่อในรุ่นต่อๆ ไปอีกนะครับ
เอาเป็นว่าก็ต้องคอยติดตามข่าวสารกันไปเรื่อยๆ นะครับ
สำหรับวันนี้ก็ชมภาพบรรยากาศในงานก่อนแล้วกันครับ

ภาพบรรยากาศงานประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

[nggallery id=38]

บทสรุปการพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด

วันนี้ได้มาบรรยายที่อุทยานการเรียนรู้ (ห้องสมุดทีเคพาร์ค – TK park) อีกครั้งนับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง
เลยขอนำเอกสารการบรรยายในครั้งนี้มาให้เพื่อนๆ ได้ดูและได้อ่านกัน

งานในวันนี้เป็นงานอบรมบรรณารักษ์และผู้ดูแลห้องสมุดไทยคิด ซึ่งจัดโดยอุทยานการเรียนรู้ (ห้องสมุดทีเคพาร์ค – TK park)
การบรรยายของผมในวันนี้หัวข้อ “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Blog/Facebook/Twitter) ในการสร้างเครือข่าย”
ซึ่งผมจึงได้จัดทำสไลด์เพื่อการบรรยายในครั้งนี้ โดยผมตั้งชื่อว่า “การพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด”

เราไปชมสไลด์กันก่อนดีกว่า “การพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด”

บทสรุปของสไลด์ “การพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด”

ทำไมผมถึงต้องเล่นคำว่า “เครือข่าย” กับ “ชุมชน” ประเด็นหลักอยู่ที่หลายๆ คนชอบเข้าใจว่าเครือข่ายห้องสมุดก็คือความร่วมมือกันระหว่างห้องสมุดด้วยกันเอง ดังนั้นผมจึงขอใช้คำว่า “ชุมชน” เพราะคำว่า “ชุมชน” มีความหมายที่กว้างกว่า “เครือข่าย” ซึ่ง “ชุมชน” ผมจะรวมถึง “ห้องสมุด คนทำงานห้องสมุด ผู้ใช้บริการห้องสมุด และผู้ใช้บริการห้องสมุดบนโลกออนไลน์”

หลังจากชี้แจงเรื่องนี้เสร็จก็เข้าถูกหัวข้อหลักๆ ของการบรรยาย คือ เครือข่ายห้องสมุดไทย, ชุมชนห้องสมุดไทยคิด

เครือข่ายห้องสมุดไทยคิด – เครือข่ายของกลุ่มคนทำงานในห้องสมุดไทยคิด ซึ่งได้แก่ บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด อาสาสมัคร ที่ทำงานภายในห้องสมุดไทยคิด

ชุมชนห้องสมุดไทยคิด – นอกจากเครือข่ายกลุ่มคนที่ทำงานในห้องสมุดไทยคิดแล้ว ชุมชนห้องสมุดไทยคิดยังรวมไปถึงผู้ใช้บริการห้องสมุดไทยคิด ผู้ใช้บริการจากสื่อออนไลน์ คนในพื้นที่ ……….

ผมจุดประเด็นต่อด้วยเรื่องชุมชนห้องสมุดไทยคิดว่ามีความสำคัญเพียงใด ประเด็นอยู่ที่ผู้ใช้บริการ ว่าเรารู้จักผู้ใช้บริการของเราแค่ไหน

ตัวอย่างง่ายๆ เช่น “รู้หรือปล่าวว่า วัฒนธรรมในการอ่านของเด็กหญิงกับเด็กชายต่างกัน ?”

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วจะทำให้เรารู้ว่าผู้ใช้บริการของเรามีความหลากหลายมาก ดังนั้นห้องสมุดก็ต้องมีกิจกรรมที่หลากหลายด้วย เช่น
– บริการหนังสือสำหรับเด็ก
– บริการคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยการเรียนรู้
– กิจกรรมการเล่านิทาน
– กิจกรรมการวาดภาพระบายสี
– อุปกรณ์จำพวกเครื่องเล่น-ของเล่นสำหรับเด็ก

นอกจากห้องสมุดไทยคิดจะเป็นสถานที่ที่ใช้อ่านหนังสือสำหรับเด็กหรือจัดกิจกรรมแล้ว
เรายังสามารถใช้เป็นพื้นที่ในการแสดงความสามารถและจินตนาการ
เช่น “นำภาพวาด หรือ ภาพระบายสีของเด็กๆ มาตกแต่งฝนังรอบๆ ห้องสมุดไทยคิด”

นอกจากนี้ผู้ใช้บริการในห้องสมุดไทยคิดไม่ใช่แค่เด็กเพียงอย่างเดียว
แต่เราหมายรวมถึงครอบครัว ผู้ปกครองของเด็กๆ ด้วย
เพราะครอบครัวสามารถสร้างนิสัยการรักการอ่านให้เด็กได้

กรณีตัวอย่าง “ครอบครัวของหนูน้อยยอดนักเล่านิทาน” ซึ่งใช้เวลาว่างกับห้องสมุดไทยคิด

นอกจากนี้การปล่อยให้เด็กๆ มาจัดกิจกรรมกันเองในห้องสมุดก็จะทำให้เราเห็นความสามารถและความต้องการของเด็กๆ เหล่านั้นได้ด้วย

การพัฒนาเครือข่ายและชุมชนห้องสมุด หัวใจของการพัฒนาอยู่ที่ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยอาศัยความมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการต่างๆ

การที่เราจะเข้าใจผู้ใช้บริการได้เราจะต้องดูผู้ใช้บริการที่อยู่ในห้องสมุดและฟังคำแนะนำจากผู้ใช้ออนไลน์บ้าง

เครื่องมือออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้พัฒนาชุมชนห้องสมุดไทยคิดได้มีหลายเครื่องมือ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องมือที่ฟรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย เช่น อีเมล์ MSN blog Facebook twitter youtube flickr และ slideshare

หลังจากนั้นผมก็ยกกรณีตัวอย่างการใช้เครื่องมือออนไลน์แบบหลักๆ 3 เครื่องมือ คือ Blog Facebook Twitter

ก็ที่จะจบด้วยเรื่องสุดท้ายคือคำแนะนำในการใช้เครื่องมือสื่อออนไลน์ ซึ่งผมได้ให้ไว้ 6 ข้อ ดังนี้
1. อัพเดทอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้บล็อกร้าง facebook ร้าง Twitter ร้าง
2. การให้บริการผ่านสื่อออนไลน์ทำได้รวดเร็ว
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการ
4. ไม่นำเรื่องแย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
5. พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการ
6. จัดกิจกรรมทุกครั้งควรนำมาลงให้ผู้ใช้บริการเข้ามาชม

เอาเป็นว่าผมก็จบการบรรยายแต่เพียงเท่านี้นะครับ สำหรับคนที่อ่านบล็อกอย่างเดียวไม่ได้มาในงานนี้
หากสงสัยเรื่องไหนก็ถามเข้ามาได้นะครับ ทิ้งคำถามไว้ด้านล่างช่องคอมเม้นต์ได้เลย

ครบรอบ 6 ปี อุทยานการเรียนรู้ (ห้องสมุด TKpark)

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (วันที่ 21 ม.ค. 54) ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานพิธีฉลองครบรอบ 6 ปี ของอุทยานการเรียนรู้ หรือ “ห้องสมุด TKpark” งานฉลองจัด 3 วัน ในระหว่างวันที่ 21 – 23 ม.ค. 54 วันนี้ผมจึงขอนำข้อมูลจากบอร์ดนิทรรศการครบรอบ 6 ปี ของอุทยานการเรียนรู้มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

TK park เปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 24 มกราคม2548

TK park = ห้องสมุดมีชีวิตที่ไม่ใช่แค่ที่รวบรวมหนังสืออย่างเดียว แต่ยังถือเป็นแหล่งเชื่อมโยงความรู้รอบด้าน ทั้งหนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดนตรี และกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้อย่างไม่มีขีดจำกัดของผู้ใช้บริการ


พื้นที่การเรียนรู้ใน TK park ประกอบด้วย
– ห้องสมุดมีชีวิต
– ห้องสมุดไอที
– ห้องเงียบ
– ศูนย์อบรมไอที
– ห้องฉายภาพยนตร์
– มายด์รูม
– ห้องสมุดดนตรี
– ห้องเด็ก
– มุมกาแฟ
– ศูนย์การเรียนรู้เอนกประสงค์
– ลานสานฝัน
– ซาวด์รูม


กิจกรรมที่ผ่านมาของ TK park แบ่งออกเป็นกิจกรรม ดังนี้
– กิจกรรมส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้
– กิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
– กิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิต (กล้าคิด กล้าทำ กล้างแสดงออก)
– กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
– แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ ร่วมสร้างเครือข่าย


6 ปี TK park กับ 4 โครงการเด่นในการก้าวสู่ปีที่ 7
1. อุทยานการเรียนรู้ระดับจังหวัด ในปี 2554 จะเปิด 3 แห่ง คือ อุทยานการเรียนรู้ปราจีนบุรี, อุทยานการเรียนรู้สมุทรสาคร และอุทยานการเรียนรู้ตราด
2. โครงการแหล่งเรียนรู้ใกล้บ้าน
3. โครงการ TK แจ้งเกิด
4. Thailand Conference on Reading 2011

ความประทับใจของผมกับห้องสมุด TK park ในช่วงวันฉลองครบรอบ 6 ปี คือ
“การสมัครสมาชิก หรือ ต่ออายุสมาชิก ฟรี” กิจกรรมนี้เรียกเอาสมาชิกหน้าเก่าและใหม่มาร่วมแจมเพียบเลย
ที่สำคัญผมเองก็ไม่พลาดเช่นเดียวกัน พาเพื่อนๆ พี่น้อง มาสมัครรวมถึงผมเองก็ถือโอกาสต่ออายุไปเลย

เอาเป็นว่าวันนี้ลงข้อมูลเท่านี้ดีกว่า หลักๆ ก็ยินดีด้วยครับกับความสำเร็จใน 6 ปีที่ผ่านมา

สุดท้ายนี้ผมก็ขออวยพรให้ห้องสมุด TKpark พัฒนาและเจริญแบบนี้ต่อไป
เพื่อกระตุ้นและเป็นแนวทางในการพัฒนาวงห้องสมุดในเมืองไทยต่อไปด้วย

และผมขอเป็นตัวแทนเพื่อนๆ ขอบคุณทีมงานห้องสมุด TKpark ที่ทำงานกันอย่างเข้มแข็งและบริการประทับใจ

ภาพถ่ายในงานพิธีฉลองครบรอบ 6 ปี อุทยานการเรียนรู้

[nggallery id=36]

ห้องสมุด TK park ต่ออายุบัตรสมาชิกให้ฟรี! 6 เดือน

ข่าวนี้ผมนำมาจากเมล์ที่ได้รับจากอุทยานการเรียนรู้ หรือ TK park ที่เรารู้จักกันนั่นแหละครับ
เกี่ยวกับเรื่องการต่ออายุสมาชิกให้ฟรีๆ 6 เดือน

banner742x200

หลังจากที่ไม่สามารถเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 จนวันนี้เข้าสู่เดือนที่ 3 แล้วนะครับ
สมาชิกหลายๆ คนคงคิดถึงห้องสมุดแห่งนี้มากๆ หลายๆ คนยังไม่ได้คืนหนังสือ และหลายๆ คนหมดอายุสมาชิก

วันนี้ทาง TK park จึงใจดีมีข่าวดีๆ มาประกาศให้รับทราบ
นั้นคือ ข่าวการต่ออายุสมาชิก 6 เดือนแบบฟรีๆ ให้สมาชิกที่มีกำหนดหมดอายุ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 เป็นต้นไป

ผมว่าเป็นแนวทางที่ดีเหมือนกันนะครับ
เพราะหลายๆ คนที่เข้าใช้บริการประจำจะได้ไม่เสียสิทธิในการเข้าใช้ 3 เดือนที่ต้องเสียไปด้วย
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ที่บัตรสมาชิกหมดหลังวันที่ 1 เมษายนคงสบายใจขึ้นนะครับ

นอกจากนี้ทาง TK park ยังมีข่าวมาประชาสัมพันธ์อีกนิด คือ
สำหรับคนที่คิดถึง TK park ทาง TK park ก็ได้จัดให้บริการ Mini TK park ให้
โดยจัด Mini TK park ที่ ชั้น G อาคาร The Offices at Centralworld

ยังไงก็ลองไปใช้บริการกันดูนะครับ

หากมีข้อสงสัยประการใดสามารถโทรไปที่ 02-2645963-65
และอย่าลืมอัพเดทข่าวสาร TK park ได้ที่ www.tkpark.or.th นะครับ

ภาพความทรงจำดีๆ ณ ห้องสมุด TK park

หลังจากที่เมื่อวานผมได้อัพเดท ข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ของห้องสมุด TK park ให้เพื่อนรู้กันแล้ว
วันนี้ผมขอนำภาพถ่ายความประทับใจและความทรงจำดีๆ ในห้องสมุด TK park มาลงให้เพื่อนๆ ดูนะครับ

memorial-in-tkpark

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
ชื่อห้องสมุด : อุทยานการเรียนรู้ หรือ TK park
ชื่อภาษาอังกฤษ : Thailand Knowledge Park
ที่อยู่ : ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์ ชั้น 8 Dazzle Zone
เว็บไซต์ : http://www.tkpark.or.th

ประวัติความเป็นมาของอุทยานการเรียนรู้ผมคงไม่เล่านะครับ เนื่องจากเพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่
http://www.tkpark.or.th/tk/index.php?option=com_content&view=article&id=81&Itemid=165&lang=th

แต่ผมขอเราเรื่องราวที่ผมเข้าใช้บริการแทนแล้วกันนะครับ

ก่อนหน้าที่จะมี TK park ผมก็เพิ่งพาห้องสมุดอื่นๆ เช่น หอสมุดแห่งชาติ หรือ ไม่ก็ห้องสมุดประชาชน นั่นแหละครับ
ซึ่งพอมี TK park เข้ามาทำให้ผมค่อนข้างตื่นเต้นกับการมีห้องสมุดใหม่ๆ ในบ้านเรามากๆ เลยครับ

บรรยากาศที่ดี หนังสือที่ดี เทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ผมเริ่มติดใจในห้องสมุดแห่งนี้มากขึ้น
ผมสมัครสมาชิกเพื่อยืมหนังสือไปอ่านที่บ้านบ้าง เอาโน้ตบุ๊คมาเล่นที่นี่บ้าง

ผมเคยพาเพื่อนจากต่างประเทศมาเที่ยวห้องสมุดที่นี่ด้วย
ซึ่งเขาก็ประทับใจมากๆ เลยถึงขั้นว่ายอมสมัครสมาชิกเลยด้วยซ้ำ

แม้ในช่วงหลังที่ผมทำงานหนักมากขึ้น ไม่ค่อยได้ใช้เวลาในห้องสมุดแห่งนี้นาน
แต่ผมก็จะมายืมหนังสือจากที่นี่แล้วก็นำกลับไปอ่านที่บ้านตลอด

Text book ด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์ดีๆ ก็มีให้เลือกอ่านสมควรเลย
ตัวอย่างเช่น 2 เล่มด้านล่างนี้นะครับ มีทั้งเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์ และการควบคุมคุณภาพในงานห้องสมุด

book

เอาเป็นว่าเรื่องราวดีๆ เกิดขึ้นที่นี่มากมาย สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้ห้องสมุดแห่งนี้ด้วยนะครับ

ไปชมภาพบรรยากาศดีๆ ในห้องสมุดแห่งนี้กันนะครับ

[nggallery id=24]

ปล. ภาพที่นำมาให้ชมเป็นภาพที่ถ่ายเมื่อปีที่แล้วนะครับ

Update สถานการณ์ล่าสุดของห้องสมุด TK park

ผ่านเหตุการณ์ที่สะเทือนจิตใจคนไทยมาได้ไม่นาน ในช่วงนั้นหลายคนคงได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์
ซึ่งทำให้หลายคนเป็นห่วงห้องสมุดแห่งหนึ่งที่อยู่ที่นั่น ถูกต้องครับ ผมหมายถึง อุทยานการเรียนรู้ หรือ TK Park

ctw

ช่วงที่มีข่าวเรื่องการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มีกระแสข่าวที่ไม่ดีของวงการห้องสมุด
นั่นคือ เราอาจจะต้องสูญเสียห้องสมุดที่ดีๆ แห่งนั้นไปแล้ว

แต่หลังจากนั้นไม่นานเมื่อไฟสงบลงก็มีการรายงานความเสียหายของห้างออกมา
และทำให้ทุกคนโล่งใจขึ้นเนื่องจาก “TK Park ไม่ถูกไฟไหม้” นั่นเอง

news

กว่าจะได้ห้องสมุดดีๆ สักแห่งต้องผ่านกระบวนการคิด และสร้างนานมาก
ถ้าต้องเสียหายเพราะเรื่องความขัดแย้งแบบนี้คงไม่ดีแน่

เมื่อไม่โดนไฟไหม้ทุกคนก็คิดว่าห้องสมุด TK Park? ของเราคงจะกลับมาให้บริการได้เร็วๆ นี้

แต่….ทางทีมงาน TK Park? ได้เพิ่งเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ได้วันนี้ และได้เก็บภาพถ่ายมา
ผมจึงขออนุญาตเอาภาพต่างๆ มาลงให้เพื่อนๆ ได้เห็นกัน

ห้องสมุดไม่ถูกไฟไหม้ก็จริง แต่ความเสียหายก็ปรากฎให้พวกเราได้เห็น
จากที่ได้ฟังทีมงานที่เข้าไปได้รู้ว่า สปริงเกอร์น้ำได้ฉีดน้ำลงมาโดนหนังสือจำนวนมาก
และด้วยความร้อนจากไฟไหม้บริเวณห้างก็ทำให้เกิดความชื้นในห้องสมุด
หนังสือต้องเสียหายมากมาย ซึ่งทางทีมงานต้องเร่งเข้าไปคัดเลือกหนังสือที่อยู่ในสภาพดีออกมา

เอาเป็นว่าเราลองดูภาพสักนิดดีกว่านะครับ

after_tk_12_450x300

after_tk_04_450x300

after_tk_06_450x300

after_tk_02_450x300

เป็นยังไงบ้างครับ ถ้าอยากติดตามภาพแบบเต็มๆ เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.tkpark.or.th/tk/index.php?option=com_content&view=article&id=1447&Itemid=153&lang=th

สุดท้ายนี้ผมก็ขออวยพรและเป็นกำลังใจให้ TK Park กลับมาให้บริการได้อย่างดีเหมือนเดิมนะครับ

อ๋อ นิดนึงนะครับ ขอประชาสัมพันธ์สำหรับคนที่คิดถึงห้องสมุด TK Park เพื่อนๆ ก็สามารถใช้บริการ TK Mobile Library ได้ ตามจุดต่างๆ ดังนี้
– วันเสาร์ที่ 12 และวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 12.00-18.00 น. ณ สวนจตุจักร (บริเวณสนามเด็กเล่น)
– วันเสาร์ที่ 19 และวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 12.00-18.00 น. ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)
– วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 9.00-15.00 น. พบกันที่ เสถียรธรรมสถาน

Website ของ TK Park = http://www.tkpark.or.th
Facebook ของ TK Park = http://www.facebook.com/tkparkclub
Twitter ของ TK Park = http://twitter.com/TKpark_TH

ขอเชิญเพื่อนๆ ร่วมลงชื่อให้กำลังใจ TK Prak ได้ด้านล่างนี้เลยครับ