นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 3

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 3
ออกในเดือนมิถุนายน 2553

libmagv3n3

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับที่ 3 ของปีนี้ออกแล้วครับ
วันนี้ผมเลยเอามาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้ชมอีกเช่นเคย

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ยังคงมีสาระที่น่าสนใจมากมาย
เช่น หากโลกนี้ไม่มีห้องสมุดจะเกิดอะไรขึ้น, โครงการส่งเสริมการอ่าน ฯลฯ
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ไปดูกันเลยดีกว่าว่าฉบับนี้มีเรื่องอะไรบ้าง

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก : หากโลกนี้ไม่มีห้องสมุด : คำรำพึงของผู้สูญเสีย

พาเที่ยว : ท่องเที่ยวห้องสมุดในเมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ (ตอนจบ)

บทความ/สาระน่ารู้ : โครงการส่งเสริมการอ่านเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

บทความ/สาระน่ารู้ : ?วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ?

บทความ/สาระน่ารู้ : Promoting Online Databases Information Literacy Education

บทความ/สาระน่ารู้ : เสียง

บทความ/สาระน่ารู้ : อกร่อง ร่อง..สวน สายน้ำ ดำเนิน เพลิน IT

เป็นยังไงกันบ้างครับ ลองเข้าไปอ่านกันดูนะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่ม 3 : http://www.librarianmagazine.com/VOL3/NO3/

Librarian GaGa มิวสิควีดีโอที่บล็อกห้องสมุดต้องพูดถึง

ช่วงนี้บล็อกบรรณารักษ์และบล็อกห้องสมุดหลายๆ แห่งกำลังพูดถึงคลิปวีดีโอนึงอยู่
เอาเป็นว่าผมขอตามกระแสสักนิดแล้วกัน บังเอิญว่าเห็นแล้วถูกใจอ่ะ

librarian-do-gaga

เพื่อนๆ รู้จัก Lady Gaga มั้ย
ถ้าไม่รู้จักผมว่าเพื่อนๆ ก็คงเฉยๆ กับคลิปวีดีโอนี้แหละ
แต่ถ้ารู้จัก เพื่อนๆ คงต้องเคยฟังเพลงนี้ แน่ๆ “Poker Face”

เอาเป็นว่ามีนักศึกษาคณะหนึ่งเขานำเพลงนี้มาแปลงให้เข้ากับห้องสมุด
นอกจากเนื้อร้องแล้ว ยังแถมด้วยมิวสิควีดีโอด้วยนะครับ

เอาเป็นว่าไปดูกันเลย

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=a_uzUh1VT98[/youtube]

เป็นไงบ้างครับ ชอบกันหรือปล่าว
ผมว่ามันก็เจ๋งดีนะ ทำเอาอึ้งไปเลยอ่า…

เอาเป็นว่าไปดูเนื้อเพลงนี้กันนะครับ

เนื้อเพลง Librarian Do Gaga

You got a question that is causing you some pain
Typin? keywords into the search engine again.
Look your na?ve searching just ain?t gonna get it done
Cause when it comes to search if it?s not tough it isn?t fun (fun)

Oh, oh, oh, oh, ohhhh, ohh-oh-e-ohh-oh-oh
I?ll blow your mind, show you how to find.
Oh, oh, oh, oh, ohhhh, ohh-oh-e-ohh-oh-oh
I?ll blow your mind, show you how to find.

Can use my
Can use my
Yeah you can use my catalog
(Don?t forget the databases)
Can use my
Can use my
Yeah you can use my catalog
(Don?t forget the databases)

Ca-ca-ca-catalog ca-ca-catalog
(Mum mum mum mah)
Ca-ca-ca-catalog ca-ca-catalog
(Mum mum mum mah)

This keyword search it gives you way too many hits
Boolean limits pare things down to just what fits
Use the thesaurus to find subject terms that work
Then in just one minute you?ll be through like Captain Kirk (Kirk)

[Chorus]

We love the Big 6, baby!

Step one define your problem
Pick your sources.
Then go huntin?. We?re not puntin?
On the research. We?re engaging and extracting somethin?
Then you can put it back together
Tell your friends about your awesomeness
It?s synthesis synthesis
Evaluate cause we?re into this.

เอาไปหัดร้องกันดูนะครับ อิอิ

เพื่อนๆ คิดยังไงกับมิวสิควีดีโอนี้กันบ้างครับ อย่าลืมแสดงความคิดเห็นกันด้วยนะครับ

เรื่องไหนที่ทำให้คุณหงุดหงิดบ้างครับ…คุณบรรณารักษ์

เมื่อวานผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงหงุดหงิดเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย
ทำให้ผมนึกได้ว่า เราน่าจะสำรวจบรรณารักษ์กันบ้างนะครับว่า หงุดหงิดเรื่องอะไรบ้างหรือปล่าว

library-stress

คำถามง่ายๆ แต่อาจจะตอบยากนิดนึง คือ
“เรื่องในห้องสมุดเรื่องไหนที่เห็นแล้วทำให้หงุดหงิดที่สุด”

[poll id=”17″]

เอาเป็นว่าขอเก็บข้อมูลดูหน่อยแล้วกันนะครับ
เผื่อว่าผมจะหาวิธีมาช่วยให้คุณไม่หงุดหงิดกับเรื่องต่างๆ เหล่านั้นได้
และเหนือสิ่งอื่นใดข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เพื่อนๆ ในวงการรู้จุดที่ต้องปรับปรุงตัวเองด้วย

เอาเป็นว่าก็ตอบกันเยอะๆ นะ สำหรับผมขอประเดิมให้คนแรกเลย (ผมเองก็มีเรื่องบางอย่างที่หงุดหงิดเช่นกัน)

“หงุดหงิดกับสถานะของหนังสือที่ avilable แต่บนชั้นหนังสือกลับไม่มีตัวตน”

แบบว่าระบบค้นหาดี แต่พฤติกรรมการจัดเก็บทั้งผู้ใช้และบรรณารักษ์อาจจะมีปัญหาอ่ะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดยังไงก็ลองโหวตมากันดูแล้วกันนะครับ อันไหนผลโหวตมากๆ
ผมจะมาเขียนบล็อกหาทางช่วยแก้ไขครับ

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 2

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 2
ออกในเดือนเมษายน 2553

librarianmagazine-vol3-no2

แนะนำนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ ผมมาล่าช้าไปหน่อย
ต้องขออภัยด้วยนะครับ แต่ไม่ได้ลืมนิตยสารเล่มนี้เลยจริงๆ

หลังจากที่ยุ่งๆ มาตลอดเกือบเดือนวันนี้พอมีเวลานิดหน่อยเลยขอเข้าไปอ่านบ้าง
ฉบับนี้มีเรื่องที่น่าสนใจเช่นเคย โดยเฉพาะการบริการแบบ one stop service
เอาเป็นว่าเข้าไปดูกันเลยดีกว่าว่าเล่มนี้มีอะไรน่าอ่านบ้าง

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก : The Information Commons เป็นศูนย์บริการการเรียนรู้แบบรวมศูนย์ (one stop service)

งานวิจัย : การรู้สารสนเทศของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

พาเที่ยว : ห้องสมุด…Never Died

พาเที่ยว : ท่องเที่ยวห้องสมุดในเมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ (1)

พาเที่ยว : ห้องสมุดอนาคตในอาบู ดาบี

พาเที่ยว : เยือนเมืองลาว

บทความ/สาระน่ารู้ : Hot a lot : ประเทสไทยมีกี่ฤดู

บทความ/สาระน่ารู้ : ดิจิสุ้ก – ดิจิสุข

เรื่องแปล : ทักษะการอ่านของเด็กได้มาจากไหน

เป็นยังไงกันบ้างครับ ลองเข้าไปอ่านกันดูนะครับ
อย่างน้อยช่วงนี้ในบล็อกผมก็ไม่ค่อยมีเรื่องให้อ่าน
เอาเป็นว่าเข้าไปอ่านนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์แทนก่อนแล้วกัน

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่ม 2 : http://www.librarianmagazine.com/VOL3/NO2/

เก็บตกหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับห้องสมุดและบรรณารักษ์จากงาน CIL2010

งาน Computers in libraries 2010 หรือ CIL2010 เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา
ซึ่งภายในงานนี้มีหัวข้อการบรรยายที่น่าสนใจมากมาย เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะมาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ

cil2010

อย่างที่เคยบอกแหละครับว่า งานนี้เป็น “งานประชุมวิชาการครั้งใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุด”
แน่นอนครับหัวข้อที่บรรยายในงานนี้จะเกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุดทุกอย่างครับ
รวมถึงจากงานประชุมวิชาการนี้จะทำให้เราได้เห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในวงการห้องสมุดด้วยครับ

หัวข้อบรรยายในงานนี้ก็ยังคงแบ่งออกเป็น 5 ห้องเช่นเดิม (5 Track)
ซึ่งในแต่ละห้องก็จะมีหัวข้อย่อยๆ อีก ดังนี้

TRACK A
– INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– DIGITAL PRACTICES
– CONTENT MANAGEMENT

TRACK B
– WEB PRESENCE & EXPERIENCE
– NEXT-GEN CATALOGS
– MOBILE TRENDS, STRATEGIES & PRACTICES

TRACK C
– MANAGING 2.0
– PLANNING & FOCUSING ON THE FUTURE
– COOL TOOLS

TRACK D
– COLLABORATION STRATEGIES & TOOLS
– ENTERPRISE TRENDS & PRACTICES
– CULTIVATING INNOVATION & CHANGE

TRACK E
– LITERACIES & FLUENCIES
– TEACHING : TECHNOLOGIES & APPROACHES
– LEARNING : EXPANDING OUR KNOWLEDGE

————————————————————————————-

นอกจากนี้ในแต่ละหัวข้อของ Track ต่างๆ ก็จะมีผู้บรรยายมาพูดในหัวข้อที่เกี่ยวกับ Track ดังนี้

สำหรับหัวข้อใน Track A

INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– Super Searcher Shares : Search Tips Spectacular!
– Trends in Search & Search Engines
– New & Hot : The Best of Resource Shelf
– Innovative Applications of Federated Search Technology
– Discovery Tools : Case Study

DIGITAL PRACTICES
– Crafting Online Personas
– Library Engagement Through Open Data
– Usability & Libraries
– Using Technology, Creativity & Partnerships
– Reference for a Digital World

CONTENT MANAGEMENT
– Content Containers : Tranforming Publishing & Purchasing
– Licensing Content & Creative Common (CC)
– Digitization Practices
– Ebooks : Landscape & Implications
– Ebooks : Experience & Learnings

———————————————

สำหรับหัวข้อใน Track B

WEB PRESENCE & EXPERIENCE
– Experience Design Makeover
– Improving Visual Web Experience
– Website Redesign : Two case studies
– Analyzing, Evaluating & Communicating the Value of Web Presence
– Well-Organized Sites & Portals

NEXT-GEN CATALOGS
– From OPAC to SOPAC : Steps to a Social Library
– SOPAC 2.1 : Digital Strategy for the New Library
– Open Source Models : Hybrid ILS & Multiple Sites
– Fluency in OS Systems : Pilots in Different Size Libraries
– Global Library Landscape

MOBILE TRENDS, STRATEGIES & PRACTICES
– Mobile Literacy : Competencies for Mobile Tech
– Developing & Designing for Mobile
– Mobile Tips & Practices
– What?s Happening With Mobile in Libraries
– Practices & Search: What?s Hot!

———————————————

สำหรับหัวข้อใน Track C

MANAGING 2.0
– Tips for Fast Tech Project Implementation
– Achieving Org 2.0
– Decision Making & Decisions in a Digital Age
– Gen X Librarians: Leading From the Middle
– Digital Managers Sound Off

PLANNING & FOCUSING ON THE FUTURE
– Strategic Planning & Encouraging Change
– Critical Thinking : Getting to the Right Decision
– Bridging Community, Research, Skill Building, & Entertainment With World of Warcraft & Libraries
– Planning & Partnerships : Strategic Initiatives
– Feedback & Proving Worth With Library Scorecards

COOL TOOLS
– New & Open Source Tools
– Productivity Tools
– What?s Hot in RSS
– Cloud Computing & Digital Video
– Best Free Web Services for Broke Libraries

———————————————

สำหรับ หัวข้อใน Track D

COLLABORATION STRATEGIES & TOOLS
– Digital Commons: Building Digital Communities Using Digital Collections
– Real-Time Collaboration Tools
– What Administrators Need to Know About Technology
– Google Wave
– Twitter Tools: Applications & Success Stories

ENTERPRISE TRENDS & PRACTICES

– Web 2.0 Tools: Innovation, Awareness, & Knowledge-Sharing
– Info Pros & SharePoint: Good Fit
– Drupal Applications & Practices
– Search Enhancements for the Enterprise
– Building Communities & Engaging Clients

CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– The 24th Thing: What?s Next?
– Persuasion, Influence, & Innovative Ideas
– Google Gambol
– Information Discovery With Surfaces
– Engaging Communities

———————————————

สำหรับ หัวข้อใน Track E

LITERACIES & FLUENCIES
– Information Fluency Strategies & Practices
– Libraries & Transliteracy
– Developing Specific Fluencies: Case Studies
– Information Literacy : Life Cycle & Economic Benefits
– LibGuides: Web Tools to Enhance Information Fluency?

TEACHING : TECHNOLOGIES & APPROACHES
– LMS: What?s Out There & How to Decide!
– Reaching Reluctant Learners
– Training in the Cloud or Mobile Labs!
– Virtual Learning & Training : From Classrooms to Communities
– Instructional Technology: It?s a Team Thing

LEARNING : EXPANDING OUR KNOWLEDGE
– Staff Development: Soft Skills, Firm Results
– Peer Training for Digital Literacy
– From Podcasts to Blogs and Beyond!
– Ref Desk Adventure : Simulation Game for Training
– 23 Things for an International Audience

———————————————

เป็นยังไงกันบ้างครับกับงานประชุมวิชาการของวงการบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
ในเมืองไทยผมก็จะพยายามจัดให้ได้ถ้ามีโอกาสนะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมของหัวข้อต่างๆ ก็สามารถดูได้ที่
http://conferences.infotoday.com/documents/84/CIL2010-FinalProgram.pdf

และหากต้องการทราบความเคลื่อนไหวของการประชุม CIL ให้เข้าไปที่
http://www.infotoday.com/cil2010/twitter.asp

การฝึกอบรมเรื่อง “บทบาทนักสารสนเทศในวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์งานฝึกอบรมนึงที่น่าสนใจมากๆ สำหรับนักสารสนเทศในยุคนี้
โดยงานนี้ใช้ชื่อว่า “บทบาทนักสารสนเทศในวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

ภาพจาก http://www.gcecs2009.com/tag/global-creative-economy-convergence-summit/
ภาพจาก http://www.gcecs2009.com

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่อการฝึกอบรมภาษาไทย : “บทบาทนักสารสนเทศในวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์”
ชื่อการฝึกอบรมภาษาอังกฤษ : The Roles of Information Professional in the Creative Economy
วันและเวลาที่อบรม : วันที่ 28 เมษายน 2553 เวลา 08.30-16.00 น.
สถานที่อบรม : ห้องประชุม 4 อาคาร 1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บางเขน)
จัดโดย : ศูนย์ความรู้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ในช่วงนี้เพื่อนๆ คงได้ยินคำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หรือ “Creative Economy” บ่อยๆ
ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ในสังคมไทย และกำลังจะมีบทบาทมากมายต่อวงการธุรกิจ

ความหมายของ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หรือ “Creative Economy” เพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก
http://www.creativethailand.org/th/

ในแนวทางดังกล่าวก็ทำให้วงการของห้องสมุดและสารสนเทศมีบทบาทขึ้นเป็นอย่างมาก
ดังนั้นการอบรมในเรื่องนี้ ผมจึงขอแนะนำให้เพื่อนๆ เข้าร่วมกันมากๆ ก็จะดี

วัตถุประสงค์ของการจัดการอบรมในครั้งนี้ผมว่าน่าสนใจมาก
– เสริมสร้างความรู้ของนักวิชาชีพสารสนเทศเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ใน ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้และบทบาทในการให้บริการสารสนเทศ
– กำหนดบทบาทของนักวิชาชีพสารสนเทศตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์
– แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น และประสบการณ์ในหมู่นักวิชาชีพสารสนเทศ

ซึ่งวิทยากรที่จะมาให้ความรู้ในครั้งนี้ ประกอบด้วย
รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน และ ผศ.ดร.มงคลชัย วิริยะพานิช

แต่ต้องขอบอกก่อนนะครับว่าการอบรมในครั้งนี้ไม่ได้ฟรี
ซึ่งค่าลงทะเบียนในการอบรมราคา 1200 บาทนะครับ
รับจำนวนจำกัด เพียงแค่ 50 คนเท่านั้น (ดังนั้นต้องรีบตัดสินใจกันหน่อยนะครับ)

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ดาวน์โหลดใบลงทะเบียนได้ที่
http://klc.tistr.or.th/include/download/KLCseminar_creative-econ.pdf
หรือลงทะเบียนทางโทรศัพท์ ติดต่อคุณเพ็ญศรี โทร.025791121-30 ต่อ 1229

สำหรับผมติดภาระกิจพอดีเลยในช่วงเวลาดังกล่าว
ดังนั้นใครที่ไปอบรมก็อย่าลืมมาเล่าให้ผมฟังด้วยนะครับ

ถ้าห้องสมุดเป็นเหมือนคลิปวีดีโอนี้ ผมจะเข้าห้องสมุดทุกวัน

แบบว่าวันนี้เพื่อนผมมันส่งคลิปวีดีโอเพลงนี้มาให้ดู แล้วมันก็บอกผมว่า
“ถ้าห้องสมุดมีบรรยากาศเหมือนในคลิปวีดีโอนี้ มันจะยอมเข้าห้องสมุดทุกวัน”

clipvideo

ผมเลยไม่รอช้าเปิดดูคลิปวีดีโอที่ว่า บอกได้คำเดียวเลยว่า อึ้ง ทึ้ง เสียว จริงๆ
คลิปวีดีโอนี้เป็นการนำเพลงของ Christina Aguilera ชื่อเพลงว่า Candyman
มาทำใหม่ในเวอร์ชั่นของบรรณารักษ์ในห้องสมุด (ทำเล่นๆ กันเองนะครับ)

ไปชมคลิปวีดีโอนี้กันเลย

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=V9CKXrhBffA[/youtube]

เอาเป็นว่าคลิปวีดีโอนี้ผมอยากให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน แก้เครียดนะครับ
เพราะถ้าเอาไปใช้กับห้องสมุดจริงๆ ผมเกรงว่าจะไม่เหมาะสมอ่ะครับ

เอาเป็นว่าขอแถมด้วยมิวสิควีดีโอของเพลงนี้จริงๆ เลย ดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=9UMU30wHuTE[/youtube]

ปล.ชื่อที่ปรากฎใน youtube คือ??? Orianthi – According To You
ผมลองเข้าไปดูเพลงนี้จริงๆ แล้วไม่ใช่นะครับ น่าจะพิมพ์ผิดอ่ะครับ

บรรณารักษ์ต้องไม่พลาดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2553

Hilight ของเดือนมีนาคมใกล้จะมาถึงแล้วนะครับ เพื่อนๆ บรรณารักษ์รู้หรือปล่าวว่าคืออะไร
ถูกกกกกก..ต้องงงงงงคร้าบบบบบ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาตินั่นเอง
วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนเพื่อนๆ นิดนึงนะครับ…

thailandbookexpo

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2553
ชื่องานภาษาไทย : งานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 8 และงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 38
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Bangkok International Book Fair 2010 and National Book Fair 2010
วันที่ในการจัดงาน : 27 มีนาคม – 6 เมษายน 2553 เวลา 10.00-21.00 น.
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ผู้จัดงาน : สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

เตรียมพร้อมกันหรือยังครับเหล่าบรรณารักษ์ เหลือเวลาไม่ถึงอาทิตย์เท่านั้นเองนะครับ
งานสัปดาห์หนังสือครั้งใหญ่แบบนี้ผมเองก็อยากให้บรรณารักษ์มาเข้าร่วมกันมากๆ นะครับ

ทำไมบรรณารักษ์อย่างพวกเราต้องมางานนี้
– มาคัดเลือกหนังสือและพูดคุยกับตัวแทนจำหน่ายหนังสือถึงหนังสือที่น่าสนใจ
– มาจัดซื้อจัดหาหนังสือและสื่อสารสนเทศราคาถูกเข้าห้องสมุด
– มาดูกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านในห้องสมุด
– เข้าร่วมฟังสัมมนาและเข้าร่วมอบรมในหัวข้อที่น่าสนใจ

กิจกรรมและนิทรรศการที่น่าสนใจในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เช่น
– นิทรรศการจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
– ห้องสมุด กทม. ……เปิดห้องเรียนรู้สู่โลกกว้าง
– กิจกรรมและนิทรรศการที่สร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว
– นิทรรศการห้องสมุดหนังสือใหม่
– นิทรรศการหนังสือภาพถ่าย
– นิทรรศการหนังสือดีเด่นประจำปี 2553
– กิจกรรม All for Book : Book for All
– บูธรับบริจาคหนังสือจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

จริงๆ แล้วกิจกรรมยังมีอีกเยอะเลยนะครับ แต่ผมขอนำมาเล่าเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ครับ
แต่หากเพื่อนๆ ต้องการรายละเอียดกิจกรรมทั้งหมดก็ให้เข้าไปดูที่หน้าของกิจกรรมและนิทรรศการนะครับ
http://thailandbookfair.pubat.or.th/bangkokibf/index.php?option=com_content&view=article&id=14&Itemid=21

นอกจากนี้ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติรอบนี้ก็มีการเปิดตัวหนังสือที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น
– “ทุกข์มาโปรด ความสุขโปรยปราย” โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)
– หนังสือดีที่ต้องมีทุกบ้าน “คู่ฟ้า สองพระบารมี”
– “คุณธรรมนำความรู้” โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
– วรรณกรรมสุดยอดแห่งทศวรรษ “The Left Hand of God” ที่เยาวชนไทยต้องอ่าน
– “คนไทยทึ้งแผ่นดินภาค 3” โดย ท่านว.วชิรเมธี

เอาเป็นว่าขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อนแล้วกัน แบบว่ามีเปิดตัวหนังสือเยอะมากอ่ะ
และที่สำคัญหนังสือที่เปิดตัวล้วนแล้วแต่น่าสนใจมากๆ ทั้งสิ้น

สรุปส่งท้ายเลยดีกว่า คงไม่ต้องบรรยายมากนะครับ
เพราะเพื่อนๆ คงรู้ว่ามันน่าสนใจมากแค่ไหน เอาเป็นว่าเจอกันในงานนะครับ

Reading make a full man = การอ่านทำให้เป็นคนโดยสมบูรณ์
กล่าวโดย Francis Bacon

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของงานสัปดาห์หนังสือ 2553 = http://thailandbookfair.pubat.or.th/bangkokibf/

หนึ่งวันกับงานบรรณารักษ์ด้านไอที

เพื่อนอยากรู้มั้ยว่าบรรณารักษ์ไอทีวันๆ นึงต้องทำงานอะไรบ้าง
วันนี้ผมขอนำ Job Description ของงานในตำแหน่งนี้มาให้เพื่อนๆ ดูครับ

it-librarian

ปล. ที่นำมาให้ดูนี้เป็นงานที่ผมทำสมัยตอนเป็นบรรณารักษ์ไอทีอยู่ที่ห้องสมุดแห่งนึงนะครับ
และงานบรรณารักษ์ไอทีแต่ละห้องสมุดอาจจะมีหน้าที่ๆ แตกต่างกว่านี้ก็ยังมีเช่นกัน
ดังนั้น
กรุณาอย่ายึดติดว่าบรรณารักษ์ไอทีทุกห้องสมุดจะเหมือนกัน

บรรณารักษ์ไอทีมีภาระกิจ ดังนี้

1. ดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำหรับโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

2. จัดทำ Homepage และ Website ห้องสมุดโดยกำหนด Website ต่างๆ ในการให้บริการ

3. ประสานงานการจัดทำ Website กับเจ้าหน้าที่ของสถาบันการศึกษา

4. จัดอบรมเจ้าหน้าที่ห้องสมุดในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office / โปรแกรมตกแต่งภาพ / การสแกนภาพและตัวอักษร / การจัดทำ link ข้อมูลในส่วนต่างๆ / โปรแกรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์กับสำนักหอสมุด

5. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของสำนักหอสมุด

6. จัดทำข่าวประชาสัมพันธ์งานบริการห้องสมุดและให้บริการ Internet

7. รับผิดชอบการจัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อให้บริการผ่านเครือข่าย Internet
7.1 E-book
7.2 E- journal
7.3 E-Document

8. Update ข่าวสารและสารนิเทศใหม่บน Website

9. บริการสืบค้นสารนิเทศผ่านระบบเครือข่าย Internet

10. จัดการแปลงไฟล์ / คัดลอกไฟล์ต่างๆ เพื่อออกให้บริการกับผู้ใช้

11. จัดหารวบรวมสื่อโสตทัศนวัสดุ

12. ดูแลรักษาเครือข่ายระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

13. ดูแลห้องประชุมกลุ่มเมื่อมีการติดต่อของใช้งาน

เป็นยังไงกันบ้างครับ ภาระหน้าที่เยอะเกินไปหรือปล่าว จริงๆ แล้วนอกจากภาระงานด้านบนนี้แล้ว
งานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการให้บริการ บรรณารักษ์ไอทีก็ต้องทำด้วยเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการยืมคืน การตอบคำถาม และอื่นๆ

เอาเป็นว่าใครอยากเป็นบรรณารักษ์ด้านไอทีก็ลองเอามาศึกษา แล้วลองคิดดูดีๆ นะครับ
ว่า “ถ้าเจองานแบบนี้เพื่อนๆ จะยังอยากเป็นบรรณารักษ์ไอที” อยู่หรือปล่าว

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 1

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 1
ออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2553

librarian-magazine

ฉบับแรกของปี 2010 ต้อนรับด้วยเทศกาลวันแห่งความรัก
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้จึงมีธีมหลักเป็นเรื่องของความรัก
โดยเน้นไปในเรื่องของรักในการทำงาน รักในการอ่าน รัก….ตามสไตล์บรรณารักษ์นั่นเอง

เอาเป็นว่าเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปดูในเล่มกันดีกว่าว่ามีเรื่องอะไรที่น่าสนใจบ้าง

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก : เพราะรักจึงสมัครใจ

พาเที่ยว : Rarebook @mycafe thelibrary

พาเที่ยว : อะไรคือ TCDC

พาเที่ยว : แนะนำห้องสมุดมหาวิทยาลัยอุสมาเนีย

พาเที่ยว : Auckland museum และห้องสมุดในพิพิธภัณฑ์

บทความและเรื่องแปล : การใช้ Facebook ในห้องสมุดแพทย์

บทความและเรื่องแปล : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกับการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน ตชด.

บทความและเรื่องแปล : TDC : ThaiLIS Digital Collection

เรื่องสั้นและเรื่องเล่า : หนัง / หนังสือ / เพลง / ความรัก

เรื่องสั้นและเรื่องเล่า : อิ่มบุญที่สิบสองปันนา

เรื่องสั้นและเรื่องเล่า : ความสุ้ก ความสุข

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเนื้อหาฉบับนี้
ห้องสมุด บรรณารักษ์ และความรัก ผมว่ามันเป็นอะไรที่ลงตัวมากๆ ครับ
งั้นผมขอตัวไปอ่านก่อนนะครับ สุขสันต์วันวาเลนไทน์ครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่ม 1 : http://www.librarianmagazine.com/VOL3/NO1/