เรื่องที่ควรและเรื่องที่ไม่ควรพูดกับเจ้านายของคุณ

วันนี้ไปคุยงานกับเพื่อนๆ ในวงการบรรณารักษ์หลายคนมา แต่ละคนก็พูดถึงงานตัวเองมากมาย
และที่สำคัญคือเรื่องของผู้บริหารห้องสมุดหรือเจ้านายของทุกๆ คน ซึ่งทำให้ได้ข้อคิดต่างๆ มากมาย

tell-to-library-boss

ผมเลยขอเอาเรื่องเก่ามาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอีกสักครั้งนะครับ นั่นคือ “เรื่องที่ควรและเรื่องที่ไม่ควรพูดกับเจ้านายของคุณ”
ซึ่งบทความนี้ผมได้แปลมาจากบทความสองเรื่องใน computerworld.com คือ

Five things you should never tell your boss
Five things you should always tell your boss

เนื้อเรื่องในวันนี้เพื่อนๆ อาจจะบอกว่าดูเผินๆ ก็ไม่น่าจะเกี่ยวกับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์เลย
แต่ผมอยากจะบอกว่าเรื่องที่นำมาลงในวันนี้จริงๆ แล้วใช้ได้ทุกอาชีพนั่นแหละครับ
รวมถึงบรรณารักษ์ด้วยนะครับ ทำไมนะหรอ ก็เพราะว่า “บรรณารักษ์ก็สามารถนำไปปฏิบัติต่อผู้บริหารห้องสมุดได้เช่นกัน”

เรื่องแบบไหนที่ไม่ควรพูดกับเจ้านาย Five things you should never tell your boss

1. All about the technology ? and nothing about the business.
เรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ แต่เทคโนโลยีเหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวกับธุรกิจขององค์กร – เรื่องเทคโนโลยีที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน ถ้าเราพูดไปมากๆ มันก็ไม่เกิดประโยชน์เกี่ยวกับการทำงานหรอก เช่น บรรณารักษ์พูดเรื่องเทคโนโลยีทางอวกาศในห้องสมุด

2. There?s only one solution.

มีวิธีแก้ปัญหาเพียงทางเดียว ไม่มีตัวเลือก ? ถ้าเรามีแนวทางการแก้ปัญหาเพียงแค่ข้อเดียว นั่นก็หมายความว่าคุณไม่มีทางเลือกให้เจ้านาย ซึ่งก็ดูเหมือนว่าเรามัดมือชกเจ้านาย

3. Bad opinions about your colleagues
ความคิดเห็นแย่ๆ เกี่ยวกับเพื่อนร่วมงาน ? ความคิดเหล่านี้จะทำให้เห็นว่าเราทำงานกับคนอื่นไม่ได้

4. There?s no way
“มันไม่มีทางทำได้หรอก” ? คำตอบแบบนี้ห้ามตอบเด็ดขาดนะครับ เมื่อเจ้านายสั่งงานคุณแล้ว และถามความเห็นว่าควรทำหรือไม่ ห้ามคุณตอบแบบนี้ เพราะว่าคุณเองก็ยังไม่ได้ลองทำมันเลย จะมาตัดสินว่า “มันทำไม่ได้” ไม่ได้นะครับ ทางที่ดีลองก่อนแล้วถ้าทำไม่ได้จริงๆ ก็ค่อยบอกครับและหาแนวทางการแก้ปัญหาครับ

5. A surprise
น่าประหลาดใจ ? อันนี้พอๆ กับข้อเมื่อกี้ แต่คำนี้จะแสดงถึงความไม่เชื่อมั่นในตัวเจ้านายของคุณ ดังนั้นประโยคนี้ก็ห้ามเด็ดขาดเช่นกัน

เอาหล่ะครับ 5 ข้อที่ผ่านมาเพื่อนๆ ต้องจำเอาไว้เลยนะครับว่าไม่ควรพูดให้เจ้านายหรือผู้บริหารฟัง

5 ข้อที่ควรพูดกับเจ้านายบ้างว่ามีอะไร Five things you should always tell your boss

1. The real story
พูดเรื่องจริง และเรื่องที่เป็นไปได้ ? เวลาเกิดปัญหาอะไรในการทำงาน เมื่อเจ้านายถามคุณควรจะบอกเรื่องจริง ไม่ใช่คำแก้ตัว หรือคำใส่ร้ายคนอื่น

2. Your ideas
ควรเสนอไอเดียของคุณเพื่อพัฒนาธุรกิจหรือองค์กรของคุณบ้าง

3. What you want
บอกถึงความต้องการของคุณอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นความต้องการในหน้าที่ หรือความต้องการในการวัดผลงานของตัวเอง

4. No.
ไม่ ? คำว่า ?ไม่? คำนี้แตกต่างจากคำว่า ?มันไม่มีทางทำได้หรอก? นะครับ เพราะว่า ?ไม่? คำนี้หมายถึง หากโครงการหรือแผนงานที่หัวหน้าคุณสั่งมาแล้วคุณไม่เข้าใจจริงๆ ให้ถาม ด้วยคำว่า ?ไม่ใช่อย่างนี้หรือครับ? เพื่อให้เจ้านายได้ชี้แจงให้เราเข้าใจในงานยิ่งขึ้น

5. Your successes
ความสำเร็จของคุณ ? วันๆ ผู้บริหารก็ได้รับข่าวสารขององค์กรมามากอยู่แล้ว เพื่อนๆ ลองคิดสิครับว่าทั้งวันมีแต่ข่าวร้าย ข่าวล้มเหลวถ้าผู้บริหารฟังมากๆ จะรู้สึกเช่นไร ถ้าเรามองในทางทที่กลับกันว่า ถ้าทั้งวันมีแต่ข่าวดี ข่าวประสบความสำเร็จผมว่าผู้บริหารคงอยากจะฟังมากกว่านะครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ ผมก็หวังว่าเพื่อนๆ คงจะนำไปใช้ในที่ทำงานของเพื่อนๆ นะครับ

ปลุกใจบรรณารักษ์ให้ฮึกเฮิมในการทำงาน

รูปที่ท่านกำลังจะได้ชมต่อจากนี้ เป็นภาพของหุ่นบรรณารักษ์ที่ยืนเรียงกันเป็นแถว
โดยหุ่นบรรณารักษ์เหล่านี้ผมขอเปรียบเทียบให้เหมือนการตั้งแถวของทหารก็แล้วกัน

librarian-army

ซึ่งจากภาพเราคงจะเห็นการแสดงความยิ่งใหญ่ของเหล่ากองทัพบรรณารักษ์แล้วนะครับ
“เอาพวกเราเข้าแถว เตรียมตัวออกไปให้บริการกัน พร้อมแล้วใช่มั้ย เอ๊าบุกกกกก!!!!!!…..”

ยิ่งดูก็ยิ่งหึกเหิมในการให้บริการใช่มั้ยหล่ะครับ
ถ้ายังไม่หึกเหิมแนะนำว่าให้ลองไปสูดกลิ่นไอของความเป็นห้องสมุดได้ที่ชั้นหนังสือเดี๋ยวนี้

สังเกตุดูนะครับว่าบรรณารักษ์อย่างพวกเราไม่ใช้ความรุนแรงเหมือนใคร
อาวุธที่พวกเรามี คือ หนังสือ (อาวุธทางปัญญา)

ใครก็ตามที่เข้ามาที่ห้องสมุดพวกเราสัญญาครับว่าจะให้อาวุธทางปัญญากับคนๆ นั้น อิอิ สู้ๆ ครับ

อ้างอิงรูปจาก http://www.flickr.com/photos/laurak/104736630/

ขอแทรกเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ก่อนจบนะครับ

คำว่า “bibliotecaria” ที่อยู่ที่ฐานของหุ่นบรรณารักษ์ แปลว่าอะไร

คำว่า? “bibliotecaria” เป็นคำ Noun เอกพจน์เพศหญิง “bibliotecaria” ถ้าพหูพจน์ ใช้ “bibliotecarias”
“bibliotecaria” หมายถึง A female professional librarian. ถ้าเป็นเพศชายจะใช้ “bibliotecario”
ข้อมูลจาก http://en.wiktionary.org/wiki/bibliotecaria

Happy Birthday กลุ่มบรรณารักษ์ในเมืองไทย (hi5)

เนื่องในวันนี้เป็นวันเกิดของกลุ่มบรรณารักษ์ในเมืองไทย (Librarian in Thailand) ใน Hi5.com
ผมในฐานะของเจ้าของกลุ่มก็ขออวยพรให้เพื่อนๆ ทุกคนพบแต่ความสุขและโชคดีในการทำงาน

librarian-in-thailand

หลังจากที่ผมเปิดกลุ่มนี้ใน hi5 (วันที่ 27 มกราคม 2551)
เพื่อนๆ หลายคนก็รู้จักผม (Libraryhub & Projectlib) จากกลุ่มๆ นี้
ทำให้บล็อกของผมมีสมาชิกเข้ามาเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ตลอดสองปีที่ผ่านมาในกลุ่ม Librarian in Thailand มีอะไรบ้าง
– สมาชิกจำนวน 654 คน
– กระทู้ที่ตั้งโดยกลุ่มบรรณารักษ์จำนวน 222 กระทู้

นับว่าป็นตัวเลขทางสถิติที่ดีมากๆ เลยครับ

ในกระทู้ของกลุ่มบรรณารักษ์ในเมืองไทย ผมได้ลองทำการสำรวจข้อมูลที่เพื่อนๆ เข้ามาถาม ก็พบว่า
– เข้ามาโพสข่าวรับสมัครงานบรรณารักษ์มากมาย
– เข้ามาประกาศหางานและติดตามการรับสมัครงาน
– เข้ามาหาเพื่อนๆ ที่ทำงานในวิชาชีพเดียวกัน
– ถามตอบปัญหาสำหรับคนที่อยากเรียนต่อด้านนี้

เอาเป็นว่าไม่ว่าเพื่อนๆ จะเข้ามาเพื่อจุดประสงค์ใด
ผมก็ขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ทำให้กลุ่มนี้มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา

หลังจากนี้ผมจะพยายามเติมความเข้มข้นด้านเนื้อหาวิชาชีพลงในกลุ่ม hi5.com ด้วยนะครับ
เพื่อให้เพื่อนๆ ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพในตัวเอง

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ติดตามกลุ่มเครือข่ายบรรณารักษ์เมืองไทยมาโดยตลอดครับ

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญต่อคนในสังคมอยู่หรือปล่าว บทความนี้จะเป็นคนบอกคุณเอง
โดยบทความนี้ผมแปลมาจากเรื่อง “33 Reasons Why Libraries and Librarians are Still Extremely Important

library-and-librarian

บทความนี้นับว่าเป็นบทความที่น่าสนใจมากๆ เลยครับ ผมเลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟังบ้าง

เนื้อหาหลักในบทความนี้สะท้อนถึงสาเหตุที่อินเทอร์เน็ต ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ห้องสมุดได้
รวมถึงเครื่องมือสืบค้นอย่าง search engine ก็ไม่สามารถแทนที่บรรณารักษ์ได้เช่นกัน

แม้ว่าแนวโน้มในอนาคต คือ สื่อดิจิทัลจะมาแทนสื่อสิ่งพิมพ์ก็จริง
แล้วทำไมบทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ยังคงอยู่จะเป็นอย่างไร ไปติดตามได้เลยครับ

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

1. Not everything is available on the internet
อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีทุกอย่าง ? แม้ว่าข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะมีมหาศาลเพียงใด แต่ในบางเรื่องเราก็ไม่สามารถค้นบนอินเทอร์เน็ตได้ เช่น เอกสารทางด้านปะวัติศาสตร์ หรือหนังสือเก่าๆ บางเล่มที่เราอยากอ่าน แต่ก็ไม่สามารถค้นได้ในอินเทอร์เน็ต

2. Digital libraries are not the internet
ห้องสมุดดิจิทัลไม่ใช่อินเทอร์เน็ต ? อันนี้เกิดจากความเข้าใจผิดของคนบางกลุ่มที่บอกว่า อินเทอร์เน็ตคือห้องสมุดดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเด็นนี้เค้าเปรียบเทียบว่าบนอินเทอร์เน็ตมีการจัดเก็บ Web Sources แต่ห้องสมุดดิจิทัลมีการจัดเก็บแบบ Online Collections

3. The internet isn?t free
หนังสือบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ฟรีอย่างที่คิด ? ในบางครั้งที่เราเข้าไปดูคลังหนังสือออนไลน์ที่บอกว่าฟรี ไม่เสียค่าบริการ ความเป็นจริงแล้วเว็บเหล่านี้ฟรีเฉพาะเอาหนังสือมาฝากไว้บนเว็บให้คนอื่น โหลด แต่คนที่โหลดหนังสือเหล่านี้นั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบกับเรื่องความใช้จ่าย ในการดาวน์โหลด ยกตัวอย่างเช่น Project Gutenberg ที่รวบรวมหนังสือมากมายไว้ แต่พอจะดาวน์โหลดก็ต้องเสียเงินอยู่ดี

4. The internet complements libraries, but it doesn?t replace them
อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของห้องสมุดที่ควรจะมี แต่ก็ไม่สามารถแทนที่ได้ สาเหตุคล้ายๆ ข้อ 2 เพราะว่าสารสนเทศที่จัดเก็บเป็นคนละรูปแบบ เช่น ความจริง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ

5. School Libraries and Librarians Improve Student Test Scores
ห้องสมุดทางการศึกษาและบรรณารักษ์ที่ทำงานในห้องสมุด ทางการศึกษามีส่วนช่วยให้เด็กเรียนดีขึ้น ? อันนี้ได้มาจากการศึกษากรณีตัวอย่างเรื่องการใช้ห้องสมุดเพื่อพัฒนาการศึกษา ของ Illinois School Libraries

6. Digitization Doesn?t Mean Destruction
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ได้หมายความว่าจะต้องลด ภาระงาน ? มีกรณีศึกษาเกี่ยวกับ Google Book Search ที่ทาง google เองในช่วงแรกพัฒนาเองแต่ก็เกิดความผิดพลาดหลายส่วน จนต้องดึงห้องสมุดหลายๆ ที่เพื่อเข้ามาปรับปรุงและเป็นที่ปรึกษาเรื่องการสืบค้นสารสนเทศ เนื่องจาก google มีความชำนาญเรื่องการใช้โปรแกรมในการค้นหาเว็บ แต่ในกรณีหนังสือ Google Book Search นั่นเอง

7. In fact, digitization means survival
ความเป็นจริงแล้วการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลจะเน้นไปใน ความหมายของการรักษาสารสนเทศให้อยู่ได้นาน ? มีกรณีศึกษาจากเรื่อง libraries destroyed by Hurricane Katrina เนื่องจากห้องสมุดแห่งนี้ถูกทำลายโดยภัยธรรมชาติซึ่งแน่นอนว่าห้ามกันไม่ได้ ดังนั้นจากข้อ 6 ความหมายที่แท้จริงของการทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลจึงหมายถึงการช่วย ชีวิตสารสนเทศไว้นั่นเอง เพราะถ้าข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเกิดภัยอะไรก็ตามข้อมูลก็จะดำรงคงอยู่ไม่ถูกทำลายง่ายๆ แน่นอน

8. Digitization is going to take a while. A long while.
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลใช้เวลาปรับนิดเดียวแต่ยาว นาน ? เหมือนขัดๆ กันอยู่ใช่มั้ยครับ จริงๆ แล้วอยากที่รู้ว่าการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ยากครับก็คือการสแกนตัว หนังสือลงไปในคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เวลานิดเดียว แต่จำนวนของหนังสือที่มีมากมายมหาศาล ดังนั้นการปรับข้อมูลทุกอย่างให้เป็นดิจิทัลคงต้องใช้เวลาหลายสิบปีเลยครับ

9. Libraries aren?t just books
ห้องสมุดไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสืออย่างเดียว ? ในห้องสมุดไม่ได้มีสารสนเทศประเภทหนังสือเพียงอย่างเดียวนะครับ ความรู้ในการประกอบวิชาชีพ ทักษะในการทำงาน บริการตอบคำถาม เหล่านี้ถือว่าเป็นสารสนเทศที่มีคุณค่าอีกลักษณะหนึ่ง ลองนกภาพตามนะครับว่า ความรู้จากตำรา กับความรู้จากทักษะอย่างไหนน่าจะช่วยเพื่อนๆ ในการทำงานมากกว่ากัน เอาตัวอย่างใกล้ตัวดีกว่า เช่นหนังสือตำราเรียนวิชาบรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น กับบล็อกนี้แล้วกัน อิอิ

10. Mobile devices aren?t the end of books, or libraries
อุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ได้เป็นจุดที่สิ้นสุดของหนังสือ และห้องสมุด ? เนื่องจากอุปกรณ์พวกนี้ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน เช่น มีคือ kindle ของ amazon สามารถดู E-book ได้ก็จริง แต่อุปกรณ์เหล่านี้มีข้อจำกัด เช่น ราคา, เวลาในการใช้งาน, หนังสือที่ต้องโหลดเข้ามา, และอื่นๆ อีกมากมาย เห็นมั้ยหล่ะครับ อุปกรณ์พวกนี้ไม่สามารถแทนห้องสมุดได้ยังไง

11. The hype might really just be hype
การผสมผสานมันก็แค่ผสมผสาน ? มีการพูดถึงความเป็น paper book กับ E-book ว่าโลกนี้จะไม่มี paper book คงไม่ได้เพราะว่าคนยังเคยชินกับความรู้สึกในการใช้กระดาษมากกว่าการใช้ อุปกรณ์ตัวเล็กไว้สำหรับอ่าน ดังนั้นหากทั้งสองสามารถรวมกันได้ ก็ควรจะรวมกัน ไม่ใช่ว่าพอ E-book มาก็ยกเลิก paper book ทิ้ง มันก็อาจจะทำให้ดูไม่ดีก็ได

12. Library attendance isn?t falling ? it?s just more virtual now
การเข้าใช้ห้องสมุดไม่ได้มียอดที่ลดลง แต่มีการเข้าใช้ทางเว็บไซต์ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันการศึกษา

13. Like businesses, digital libraries still need human staffing
เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ ห้องสมุดดิจิทัลก็ยังคงต้องใช้คนในการจัดการและดำเนินงานอยู่ดี

14. We just can?t count on physical libraries disappearing
เราไม่สามารถนับจำนวนการสูญเสียของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดทางกายภาพได้ ? เพราะเนื่องจากการปรับเปลี่ยนจากสิ่งพิมพ์ทางกายภาพเป็นสานสนเทศดิจิทัลมมี ค่าเท่ากัน ดังนั้นการที่ห้องสมุดสูญเสียหนังสือที่เป็นเล่ม แต่ได้มาซึ่งสารสนเทศดิจิตอลจึงเป็นสิ่งที่แทนกันได้ และไม่ได้เรียกว่าสูญเสีย

15. Google Book Search ?don?t work?
แค่หัวข้อคงไม่ต้องบรรยายแล้วหล่ะครับ ตรงไปตรงมาดี เพราะว่า Google Book Search ทำงานไม่ดีพอ

16. Physical libraries can adapt to cultural change
ห้องสมุดที่เป็นกายภาพสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้

17. Physical libraries are adapting to cultural change
จากข้อ 16 เมื่อสามารถทำได้ ดังนั้นห้องสมุดทางกายภาพจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการตลอดเวลา เพื่อ ปรับตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรม

18. Eliminating libraries would cut short an important process of cultural evolution
การที่เรากำจัดห้องสมุดถือว่าเป็นการตัดกระบวนการทางสังคมออก ? ห้องสมุดถือว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมในการศึกษาและ วัฒนธรรมแห่งความรู้ ดังนั้นการตัดความสำคัญของห้องสมุดก็เท่ากับว่าเราตัดความสำคัญทางการศึกษา ออกด้วย

19. The internet isn?t DIY
อินเทอร์เน็ตไม่ใช่คุณเองก็ทำได้ ? ต้องยอมรับอย่างนึงว่าอินเทอร์เน็ตเกิดเพราะคุณ แต่เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเราไม่สามารถกำหนดหรือสั่งการมันได้ เช่น search engine ที่มันทำงานได้เพราะว่าโปรแกรมในบางครั้งการค้นหาที่มีความหมายแบบขั้นลึก โปรแกรมก็ไม่สามารถค้นหาให้ได้เหมือนกัน เอาตรงๆ ก็คือ เวลาค้นกับ search engine มันจะได้คำตอบตรงๆ และตายตัว อยากรู้อย่างอื่นเพิ่มเติมก็ต้องค้นใหม่ แต่ถ้าเป็นบรรณารักษ์ในการตอบคำถาม คำตอบที่ได้มาจะเน้นไปในแนวทางความรู้สึกซึ่งผู้ใช้สามารถค้นได้ง่ายกว่า

20. Wisdom of crowds is untrustworthy, because of the tipping point
ความรอบรู้ของอินเทอร์เน็ตยังไว้ใจไม่ได้ เนื่องจากการแพร่กระจายอาจจะนำมาซึ่งภาวะของข่าวลือ

21. Librarians are the irreplaceable counterparts to web moderators
บรรณารักษ์ไม่สามารถเปลี่ยนจากคนนั่ง counter เป็น web moderators ? ถึงแม้ว่าห้องสมุดจะกลายเป็นห้องสมุดดิจิทัลแต่ก็ต้องมีบรรณารักษ์คอยจัดการ content เนื้อหาอยู่ดี

22. Unlike moderators, librarians must straddle the line between libraries and the internet
บรรณารักษ์เป็นคนช่วยประสานช่องหว่างระหว่างห้องสมุดกับอินเทอร์เน็ต
ครับ

23. The internet is a mess
อินเทอร์เน็ตคือความยุ่งเหยิง ? ครับแน่นอนว่าอินเทอร์เน็ตคงไม่มานั่งจัดหมวดหมู่ หรือ หัวเรื่องเหมือนห้องสมุดหรอกครับ อิอิ

24. The internet is subject to manipulation
อินเทอร์เน็ตมีหัวเรื่องที่เกิดจากการผสมผสานหลากหลาย วิธีนึงใน web 2.0 ก็คือ การใช้ Tag clould เข้ามากำหนดความนิยมของหัวเรื่อง ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการ spam tag กันมากขึ้นจึงทำให้เนื้อหาที่ได้มาบางครั้งไม่ตรงกับจุดประสงค์ของเรา

25. Libraries? collections employ a well-formulated system of citation
ห้องสมุดมีระบบการจัดการที่เป็นระบบมากกว่าบนอินเทอร์เน็ต จาก 2 ข้อด้านบน คงพิสูจน์แล้ว

26. It can be hard to isolate concise information on the internet
มันยากที่จะแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกจากกันในอินเทอร์เน็ต สังเกตได้จากแต่ละเว็บไซต์จะมีการเชื่อมโยงจนบางครั้งข้อมูลในหลากหลายมาก เกินไป จนเราไม่สามารถที่จะพิจารณาว่าจะเชื่อข้อมูลจากที่ไหน

27. Libraries can preserve the book experience
ห้องสมุดสามารถอนุรักษ์หนังสือได้อย่างมีประสบการณ์ช่ำชอง อันนี้คงไม่มีใครเถียงนะครับ แต่อย่างที่เคยเขียนไปคือห้องสมุดอาจจะเปลี่ยนบทบาทเป็นพิพิธภัณฑ์หนังสือก็ ได้

28. Libraries are stable while the web is transient
ห้องสมุดเป็นอะไรที่เก็บข้อมูลได้มั่นคง แต่อินเทอร์เน็ตเก็บอะไรชั่วคราว ? เห็นด้วยนะครับเพราะว่าบางครั้งพอเราค้นอะไรในอินเทอร์เน็ตวันนี้อาจจะเจอ แต่พอวันรุ่งขึ้นผลการค้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง

29. Libraries can be surprisingly helpful for news collections and archives
ห้องสมุดสามารถสร้างประโยชน์ในการสร้าง collection ใหม่ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ? ความสามารถดังกล่าวมาจากห้องสมุดเฉพาะ เพราะว่าห้องสมุดเหล่านี้จะเน้น collection พิเศษที่เกี่ยวกับตัวเอง รวมถึงถ้า collection นั้นยังไม่มีห้องสมุดไหนเคยทำ องค์กรที่เกี่ยวข้องก็จะสนับสนุนในการจัดการห้องสมุดสาขาวิชานั้นๆ

30. Not everyone has access to the internet
ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น การติดต่อในอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อ, จุดกระจายสัญญาณเครือข่าย, สถานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต

31. Not everyone can afford books
ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีหนังสือ ? อธิบายง่ายๆ ว่า บางคนก็ไม่สามารถเป็นเจ้าของหนังสือได้ ดังนั้นแล้วคนเหล่านั้นจะอ่านความรู้ต่างๆ ได้อย่างไร ห้องสมุดจึงเป็นตัวช่วยให้คนสามารถเป็นเจ้าของหนงสือได้ร่วมกัน

32. Libraries are a stopgap to anti-intellectualism
ห้องสมุดช่วยหยุดช่องว่างของความไม่มีความรู้ ? พูดง่ายๆ ว่าห้องสมุดช่วยสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า

33. Old books are valuable
ในยุคที่ใกล้เข้าสู่โลกดิจิทัล เกิดไอเดียใหม่สำหรับห้องสมุด นั่นก็คือ พิพิธภัณฑ์หนังสือ(book museum) เพราะว่าหนังสือรุ่นใหม่ๆ จะอยู่ในรูปดิจิทัล ส่วนหนังสือเก่าที่ทรงคุณค่าก็เก็บไว้ใส่พิพิธภัณฑ์แทน

เป็นอย่างไรบ้างครับ จบตอนกันสักที

จุดประสงค์ที่เอามาให้อ่านไม่ใช่ว่าอาชีพอย่างเรา จะอยู่อย่างเป็นนิรันดร์นะครับ
แต่ถ้าเพื่อนๆ ได้อ่านกันจริงๆ บรรณารักษ์จะเปลี่ยนบทบาทการทำงาน
รวมถึงห้องสมุดก็เปลี่ยนบทบาทและรูปแบบในการให้บริการ
ที่เด่นๆ ก็เห็นจะเป็น จากห้องสมุดทางกายภาพจะกลายเป็นห้องสมุดเสมือน
รวมถึงสื่อต่างๆ จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแบบดิจิทัลมากขึ้นนะครับ

รับสมัครผู้ช่วยบรรณารักษ์ @ Neilson Hays Library

วันนี้ผมมีตำแหน่งงานด้านห้องสมุดมานำเสนอให้เพื่อนๆ อีกแล้ว
สำหรับคนที่กำลังหางานอยู่หรือเพิ่งจบใหม่ๆ ผมขอแนะนำงานนี้เลยนะครับ

library-job

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับตำแหน่ง
ชื่อตำแหน่ง : ผู้ช่วยบรรณารักษ์
สถานที่ทำงาน : ห้องสมุด Neilson Hays ตั้งอยู่ที่ 195 ถ.สุรวงศ์ บางรัก กทม

คุณสมบัติประจำตำแหน่งนี้
– เพศหญิง
– จบปริญญาตรีสาขาบรรณารักษศาสตร์ หรือ สารสนเทศศาสตร์
– ติดต่อสื่อสารด้วยภาษาอังกฤพอใช้
– มนุษยสัมพันธ์ดี

ห้องสมุดแห่งนี้รับบรรณารักษ์เฉพาะผู้หญิงเท่านั้นนะครับ
สาเหตุอาจจะมาจากภูมิหลังของห้องสมุดแห่งนี้ที่ในอดีตครั้งหนึ่งเคยชื่อว่า “สมาคมห้องสมุดสตรีกรุงเทพ”

ภาระงานหลักของตำแหน่งนี้ คือ
– บริการยืมคืนหนังสือที่เคาน์เตอร์
– จัดเก็บหนังสือขึ้นชั้น
– บริการถามตอบปัญหาเรื่องการใช้ห้องสมุดทั่วไป
– งานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับห้องสมุด

เอาเป็นว่าลักษณะงานก็เป็นงานทั่วไปๆ ในห้องสมุดแหละครับ แค่นั่งอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการยืมคืนทั้งวัน
และก็นำหนังสือที่ผู้ใช้นำมาคืนไปขึ้นชั้นให้เรียบร้อยก็เท่านั้น

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานนี้

กรุณาส่งเมล์มาถามที่ chompoom@hotmail.com หรือ โทร. 02-233-1731

เว็บไซต์ห้องสมุด Neilson Hays : http://www.neilsonhayslibrary.com/index.shtml

ผู้ชายก็เป็นบรรณารักษ์ได้นะ…

เพื่อนๆ หลายคนคงสงสัยและถามผมอยู่เสมอว่า “ทำไมผู้ชายถึงไม่ค่อยเรียนบรรณารักษ์”
หรือไม่บางคนก็ถามว่า “วิชาชีพบรรณารักษ์ทำไมไม่ค่อยมีผู้ชาย” วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง
เกี่ยวกับเรื่องมุมมองของคนส่วนใหญ่ต่อ อาชีพบรรณารักษ์ และ ผู้ชาย

librarian-male

เริ่มจากในสมัยที่ผมเรียนบรรณารักษืก่อนแล้วกันนะครับ
เพื่อนๆ เชื่อหรือไม่ว่า 4 ปี รวมกันมีเพศชายแค่ 10 คนเท่านั้นเอง
ซึ่งถ้าเทียบกับสาขาวิชาอื่นๆ ถือว่าน้อยมากๆ

หลังจากที่ผมเรียนจบแล้ว ได้ไปสมัครงานบรรณารักษ์หลายๆ ที่
ผมมักเจอคำถามลักษณะนี้บ่อยมากว่า ?ผู้ชายแท้หรือปล่าว ทำไมถึงเลือกเรียนและมาเป็นบรรณารักษ์?
ตอนแรกผมก็อึ้งไปนิดหน่อยเพราะไม่คิดว่าเขาจะล้อเล่นได้แรงแบบนี้
แต่พอได้คุยกับหลายๆ คน ผมก็เริ่มเข้าใจครับว่า คงเป็นเพราะมุมมองของวิชาชีพหล่ะมั้ง

ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า บรรณารักษ์เป็นอาชีพหนึ่งที่มีผู้หญิงทำงานเยอะ หรือมีค่านิยมในการทำงานนั่นเอง
อาชีพที่คนมองว่าเป็นอาชีพสำหรับผู้หญิง เช่น พยาบาล บรรณารักษ์ ฯลฯ
อาชีพที่คนมองว่าเป็นอาชีพสำหรับผู้ชาย เช่น ตำรวจ ทหาร ฯลฯ

ขอเล่าต่อนะครับ ที่ทำงานบางแห่งถามผมว่า “ผู้ชายสามารถเป็นบรรณารักษ์ได้ด้วยหรอ”
ผมก็ตอบไปว่า ?ต้องทำได้สิครับ เพราะว่าผมเรียนจบมาด้านนี้ แถมมันก็เป็นอาชีพที่ผมรักด้วย ทำไมถึงจะทำไม่ได้?
เค้าก็ตอบว่า ?ผู้หญิงน่าจะเป็นบรรณารักษ์ได้ดีกว่าผู้ชาย? ตกลงมันเป็นแบบนี้จริงหรอ

นอกจากนี้ในใบประกาศรับสมัครงานขององค์กรบางแห่ง ได้มีการระบุว่ารับสมัครบรรณารักษ์ที่เป็นเพศหญิงเท่านั้น
ผมก็แปลกใจว่าทำไมถึงต้องระบุคุณสมบัติว่า เฉพาะเพศหญิง บางทีองค์กรนี้อาจจะมีเหตุผลสักอย่าง ซึ่งผมยังไม่เข้าใจ

ที่ร้ายแรงกว่านั้นยังมีอีกกรณีหนึ่งครับ เนื่องจากผมมีเพื่อนที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลขององค์กรแห่งหนึ่ง
พอผมถามถึงเรื่องนี้ เขาก็ตอบว่า ?ก็เป็นปกติที่เวลารับบรรณารักษ์ เขาจะดูผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย?

ผมจึงถามต่อว่าทำไมหล่ะ ก็ได้คำตอบว่า
?เพราะว่าผู้หญิงทำงานละเอียดกว่าผู้ชาย และมีการบริการที่สุภาพ อ่อนโยน และดึงดูดผู้ใช้บริการได้?
เอาเป็นว่ายังไงๆ ถ้าองค์กรนี้จะรับบรรณารักษ์ องค์กรนี้จะรับบรรณารักษ์ผู้หญิงเท่านั้น

เอาเป็นว่าที่กล่าวมาก็เป็นเพียงบางองค์กรเท่านั้นนะครับ

จริงๆ แล้วผมก็ไม่อยากจะพูดเรื่องนี้หรอกนะครับ แต่เพราะว่าในสิ่งที่เพื่อนผมตอบมาให้ฟังนั้น
บางทีผมก็รู้สึกว่าไม่เห็นด้วยสักเท่าไหร่หรอก เพราะ “เพื่อนชายบางคนที่ผมรู้จักเขาก็ทำงานแบบว่าละเอียดกว่าผู้หญิง” ก็มี
เรื่องการบริการ บรรณารักษ์ทุกคนที่เรียนมักจะถูกสอนมาอยู่แล้วว่าเราต้อง service mind อยู่แล้ว
ส่วนสุดท้ายผมคงเถียงไม่ได้ เนื่องจากเพศชายยังไงๆ ก็ไม่สามารถดึงดูดใครเข้าห้องสมุดได้
และอีกอย่างการจะดึงดูดใครเข้าห้องสมุดมันไม่ใช่แค่เรื่องว่าเพศหญิงหรือเพศชาย
แต่มันขึ้นอยู่กับภาพรวมของห้องสมุดว่าสามารถบริการและตอบสนองผู้ใช้บริการมากที่สุดหรือไม่

สรุปจากเรื่องนี้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือชายก็สามารถทำงานบรรณารักษ์ได้ทั้งนั่นแหละ
และจะทำงานดีหรือไม่ดียังไง มันขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมการให้บริการของแต่ละคนไม่ใช่ขึ้นอยู่กับเพศ

หมายเหตุก่อนจบ ผมยืนยันครับว่า ผมเป็นผู้ชาย 100% ที่ทำงานบรรณารักษ์นะครับ

เมื่อบรรณารักษ์อย่างผมเจอกับผู้ใช้บริการหัวหมอ

วันนี้ขอเล่าเรื่องในอดีตนิดนึงนะครับ สมัยตอนที่ผมยังเป็นบรรณารักษ์ของห้องสมุดแห่งหนึ่งอยู่
อ๋อ ต้องบอกไว้ก่อนนะครับ ว่าเป็นห้องสมุดสถานศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ (ลองอ่านประวัติผมดูจะรู้ว่าที่ไหน)
ผมก็พบเจอกับผู้ใช้บริการห้องสมุดหลากหลายรูปแบบ (อาจารย์ นักศึกษา พนักงาน เจ้าหน้าที่) วันนี้เป็นเพียงเคสหนึ่งเท่านั้น

userlibrary

ผู้ใช้หัวหมอ คือ ผู้ใช้บริการที่ฉลาดแกมโกง มีความรู้แต่มักใช้ในทางที่ผิด
เมื่อเข้ามาใช้บริการทีไรก็มักจะหาเรื่องปวดหัวมาให้เหล่าบรรณารักษ์ประจำ

ผู้ใช้หัวหมอที่ผมมักจะพบประจำ คือ นักศึกษา ครับ

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า

เพื่อนๆ เคยได้ยินประโยคนี้หรือไม่
ผมเอาหนังสือมาคืนแล้วจริงๆ นะครับ

เรื่องมันมีอยู่ว่า…วันหนึ่งนักศึกษา ก. ก็เข้ามาที่ห้องสมุดเพื่อยืมหนังสือ
แต่ผมไม่สามารถให้ยืมได้เนื่องจากระบบมีข้อความเตือนว่า “ยังมีหนังสือค้างส่ง”
ผมจึงทวงถามถึงหนังสือเล่มดังกล่าว แต่นักศึกษาบอกว่านำมาคืนแล้ว
ผมจึงได้ให้นักศึกษาไปหาหนังสือบนชั้นหนังสือแล้วนำมาแสดงเป็นหลักฐาน

ผ่านไป 10 นาที นักศึกษากลับมาพร้อมกับหนังสือดังกล่าว แล้วพูดว่า
?ก็บอกแล้วว่าคืนแล้วก็ไม่เชื่อ ไม่ตรวจสอบให้รอบคอบเลยนะครับคุณบรรณารักษ์?

ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่ผมโดนผู้ใช้ตำหนิว่าไม่รอบคอบ
แต่ก็เอาเถอะครับผมคงไม่รอบคอบเอง เลยถูกผู้ใช้ตำหนิซะบ้าง

แต่ผมก็ยังมีเรื่องที่สงสัยหลายเรื่อง เช่น
– ระบบห้องสมุดในช่วงเดือนที่ผ่านมาก็ไม่มีอะไรที่ผิดปกติ
– หนังสือที่มาคืนทุกเล่มผมต้องเพิ่มสัญญาณในแถบแม่เหล็ก แต่เล่มนี้กลับยังไม่ได้เพิ่ม

(ผมทดลองหยิบหนังสือเล่มนี้เดินผ่านประตูจับสัญญาณ)

แต่เอาเถอะครับ บรรณารักษ์มือใหม่อย่างผมอาจจะพลาดเองก็ได้

อีกหลายสัปดาห์ต่อมา ก็เกิดเหตุการณ์เดียวกันกับคนๆ เดิมอีกแล้ว
นักศึกษาคนนี้มาขอยืมหนังสือ และระบบก็เตือนอีกแล้วว่ายังมีหนังสือค้างส่ง
ผมจึงต้องทวงถามไปตามปกตินั่นแหละครับ ซึ่งนักศึกษาก็บอกว่าคืนไปแล้ว “ระบบมั่วปล่าว
วิธีเดิมครับ ถ้าคืนแล้วก็ต้องอยู่ที่ชั้น ผมจึงบอกให้เด็กคนนี้ไปหาที่ชั้นอีกที

หลังจากที่เด็กคนนี้เดินไปสักพัก ผมก็เดินตามไปแบบเงียบๆ

สุดท้ายผมก็พบความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้
นั่นคือ “นักศึกษาคนนั้นเดินไปที่ชั้นหนังสือ สักพักก็หยิบหนังสือที่ซ่อนอยู่ในกระเป๋าออกมา

พอเขาหันหลังกลับมา ก็เห็นผมยืนอยู่ข้างหลังก็ตกใจเล็กน้อย
แล้วก็ยังหยิบหนังสือมาโชว์ผมอีกว่า “นี่ไงหาเจอแล้ว
ผมก็เลยบอกไปว่ามา “ยืนดูอยู่นานแล้ว…

เอาเป็นว่าผมคงไม่ลงโทษอะไรมากมายหรอกครับ แค่ทำเรื่องส่งไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาก็เท่านั้น

เป็นยังไงกันบ้างครับเพื่อนๆ อ่านแล้วรู้สึกยังไง มีใครเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้บ้างมั้ยครับ
เอาเป็นว่าเล่าสู่กันฟังครับ แล้วหาทางแก้ไขกันดีกว่า…

ความสัมพันธ์ระหว่างงานห้องสมุดกับงานฝ่ายบุคคล

เรื่องราวที่ผมกำลังจะเขียนต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในอดีตที่ผมทำงานเป็นบรรณารักษ์ให้องค์กรแห่งหนึ่งอยู่
และผมเชื่อว่าห้องสมุดภายในองค์กรหลายๆ แห่งมักประสบปัญหานี้เช่นกัน (องค์กรที่มีห้องสมุดให้บริการคนภายใน)

hr-library

เมื่อบุคลากรคนหนึ่งลาออกไปแล้ว แต่ฝ่ายบุคคลไม่แจ้งให้ห้องสมุดทราบ
วันดีคืนดีห้องสมุดมาตรวจสอบข้อมูลอีกที ก็พบว่าบุคลากรที่ลาออกคนนั้นมีหนังสือค้างส่ง
ซึ่งถ้าเป็นหนังสือทั่วไปค้างส่งคงไม่เท่าไหร่ แต่นี่เป็นหนังสือที่ค้างส่งที่เป็น text book ราคาแพงและหลายเล่มด้วย
และเมื่อขอข้อมูลจากผ่านบุคคลและติดต่อไปยังบุคลากรคนนั้นกลับติดต่อไม่ได้

ห้องสมุดเกิดความเสียหายเนื่องจากบุคลากรลาออกไปหลายคนแล้ว แต่ไม่มีใครคิดจะแก้ปัญหา…

ห้องสมุดพยายามทำเรื่องไปให้ฝ่ายบุคคลหลายรอบแล้ว (เรื่อง ขอตรวจสอบสถานะการยืมของบุคลากรที่มีความประสงค์จะลาออก)
แต่กลับถูกเมินเฉย และต่อว่ากลับมาว่า “เป็นหน้าที่ของห้องสมุดที่ต้องทวงถามการยืมจากบุคลากรเอง
แต่เมื่อชี้แจงว่า “ในเมื่อห้องสมุดมิอาจจะทราบได้ว่าเดือนนี้ใครจะลาออกบ้างแล้วจะให้ห้องสมุดทำอย่างไร
กลับได้รับคำตอบว่า “ห้องสมุดก็ต้องมาตรวจสอบจากฝ่ายบุคคลเอง

สรุปง่ายๆ หน้าที่ของห้องสมุดนอกเหนือจากงานที่ต้องดูแลหนังสือแล้ว
ยังต้องมาดูแลว่าบุคลากรคนไหนจะลาออกเมื่อไหร่และก็ต้องตามเช็คให้อีก
มันถูกต้องหรือไม่ อันนี้ผมคงไม่อยากให้ความเห็น
เพราะว่าผมคิดว่าเพื่อนๆ คงคิดกันได้ว่าใครควรรับผิดชอบงานอะไรกันแน่

เอาเป็นว่าถ้าไม่อยากให้เกิดปัญหาเช่นนี้ ลองอ่านสิ่งที่ผมจะเขียนด้านล่างดูนะครับ

ห้องสมุดควรจะมีการพูดคุยกับหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของตัวเอง
เช่นฝ่ายการเงิน / ฝ่ายบุคคล เพื่อพูดคุยและตกลงข้อกำหนดต่างๆ ร่วมกัน
มิใช่ผลักภาระและปัญหาให้กันอย่างที่เป็นอยู่แบบนี้

เมื่อมีบุคลากรมาขอลาออก คนๆ นั้นก็จะยื่นเรื่องขอลาออกที่ฝ่ายบุคคล
ฝ่ายบุคคลก็จะควรตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของคนๆ นั้นที่มีต่อองค์กร
โดยทั่วไปฝ่ายบุคคลก็จะติดต่อไปยังฝ่ายสวัสดิการ ฝ่ายตรวจสอบวัสดุ ฝ่ายการเงินและควรติดต่อกับห้องสมุดด้วย

ฝ่ายห้องสมุดก็จะได้ตรวจสอบหนังสือค้างส่งและค่าปรับค้างชำระของบุคลากรท่านนั้นด้วย
หากไม่ทำเช่นนี้แล้ว เมื่อบุคลากรท่านนั้นลาออกไปแล้ว ห้องสมุดจะไม่รู้เรื่องเลยและหนังสือที่มีคุณค่าก็จะกลายเป็นหนังสือสูญหาย

เอาเป็นว่าการพูดคุยทำความเข้าใจในหน้าที่ จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้
หากพูดคุยกันแล้วมีเรื่องถกเถียงกันก็ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินเรื่องนี้ก็ได้นะครับ

นี่ก็เป็นเพียงข้อเสนอของผม และเรื่องราวที่อยากเล่าสู่กันฟังก็เท่านั้นเอง

LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 8

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 8
ออกในเดือนธันวาคม 2552

librarianmagazine

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ออกมาในช่วงเทศกาลปีใหม่พอดีเลย
ดังนั้น hilight คงไม่พ้นการอวยพรและส่งความสุขให้เพื่อนๆ นะครับ แต่สาระความรู้ก็ยังคงมีให้อ่านเช่นกัน

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปอ่านกันเลยดีกว่าครับ

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก – ส่งความสุข

พาเที่ยว – จากดอยปุยถึงสะเงาะ

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – สวัสดี ดี ดี๊ ดี ปี 53

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – หยิบหนังสือใส่ตะกร้า

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – เก็บตกความสุขจากลานพระราชวังดุสิต

สาระน่ารู้ – ดนตรีของโมสาร์ท

เป็นยังไงกันบ้างครับเนื้อหาดีๆ และน่าสนใจมากมาย ยังไงก็ลองอ่านกันดูนะครับ

เนื่องในโอกาสเทสกาลแห่งความสุขนี้
ผมจึงขออวยพรให้ผู้จัดทำและผู้เขียนบทความทุกคนในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์
ให้พบแต่ความสุขและความสมหวังตลอดทั้งปี 2553 นี้นะครับ และอยู่คู่วงการบรรณารักษืไปนานๆ นะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 8 : http://librarianmagazine.com/VOL2/NO8/index.htm

บรรณารักษ์ควรฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษกันบ้างนะ

พอพูดถึงภาษาอังกฤษ หลายๆ คนอาจจะมองว่ามันเป็นอะไรที่ค่อนข้างยาก
แต่เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าเรื่องยากๆ สิ่งนี้แหละ จะช่วยให้เพื่อนๆ พัฒนางานด้านต่างๆ ในห้องสมุดได้

librarian-english

ทำไมบรรณารักษ์ต้องเรียนภาษาอังกฤษ
– เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่เป็นชาวต่างประเทศ
– เพื่อติดตามข่าวสารวงการบรรณารักษ์จากบล็อก/เว็บไซต์อื่นๆ ทั่วโลก
– เพื่อสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูลจากต่างประเทศ
– เพื่อสร้างความเป็นสากลให้กับห้องสมุดที่ทำงานอยู่
– เพื่อพัฒนาความสามารถของตัวเองและต่อยอดในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ

และอื่นๆ (ใครคิดได้อีกสามารถแจ้งได้นะ)

ดังนั้นผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษด้วย
ซึ่งผมมีวิธีการฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษมาแนะนำ (สไตล์ของผมเอง) นะครับ

วิธีการฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษสไตล์ Libraryhub

– เริ่มจากการเข้าร้านหนังสือต่างประเทศ เช่น Asia book, Kinokuniya, Bookazine และอื่นๆ อีกมากมาย
เมื่อเราเข้าไปในร้านหนังสือต่างประเทศแล้วให้เราเลือกหนังสือหมวดที่เราชอบแล้วหยิบมาอ่านดูนะครับ
มันจะทำให้เราคุ้นเคยกับการอ่านและการหยิบหนังสือต่างประเทศ

– การอ่านบทความภาษาอังกฤษที่ง่ายและเข้าใจง่ายที่สุด คือ การอ่านคอลัมน์ที่ชอบตามนิตยสารต่างประเทศ
เนื่องจากเป็นการอ่านแบบสั้นๆ ไม่ต้องอ่านยาวมาก และเนื้อหาในนิตยสารมักเป็นเรื่องสบายๆ ไม่ยุ่งยาก อ่านแล้วไม่เครียด

– เปิดเว็บไซต์ หรือ เว็บบล็อกที่เราชื่นชอบ (ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบรรณารักษ์และห้องสมุดจะดีมากๆ ครับ)
ลองตั้งเกณฑ์ดูว่าจะอ่านวันละเรื่อง แล้วลองทำให้ได้ครับ บางเรื่องไม่ต้องอ่านทั้งหมดหรอก อ่านหัวข้อเอาและลองสรุปดู

– ทดลองการใช้งานฐานข้อมูลต่างประเทศหลายๆ ฐาน แล้วลองจำลองเหตุการณ์ในการค้นสารสนเทศดู
เช่น ถ้าต้องการหาเนื้อหาเกี่ยวกับ “โปรแกรมระบบห้องสมุด” เราจะใช้ keyword อะไร
แล้วลองค้นดูด้วยหลายๆ คำ ดู เสร็จแล้วก็พยายามจดเอาว่า คำไหนที่เราใช้แล้วได้ผลการค้นที่ดี

– สมัครจดหมายข่าว E-newsletter ของต่างประเทศ ทุกๆ วันหน่วยงานเหล่านี้จะส่งจดหมายข่าวมาให้เราอ่าน
ซึ่งในจดหมายข่าวเหล่านี้จะมีการถามตอบคำถามในเรื่องที่เราสนใจด้วย
ดังนั้นถ้าเราอยากฝึกการโต้ตอบจดหมายข่าว วิธีนี้ผมขอแนะนำเลย

– หาเพื่อนและเครือข่ายของกลุ่มในเรื่องที่เราชอบ และหาโอกาสเข้าร่วม Live chat หรือ พูดคุยกับคนต่างชาติดู
การคุยภาษาอังกฤษที่ง่ายที่สุด สำหรับผมๆ ว่า MSN ทำให้เราคุยกับคนต่างชาติได้ค่อนข้างดีเลยนะครับ
แต่ถ้าอยากฝึกสำเนียงและการพูดก็ให้ใช้ skype ควบคู่ไปด้วยก็ดีครับ

– ไปสมัครเรียนคอร์สภาษาอังกฤษระยะสั้นเลยครับ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างวิธีการเรียนรู้และฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษนะครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่มีวิธีในการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษดีๆ ก็อย่าลืมนำมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันครับ
สุดท้ายนี้ผมก็ขอย้ำว่าภาษาอังกฤษเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บรรณารักษ์ควรจะเรียนรู้และหัดใช้งานครับ