TK Forum 2016 : นวัตกรรมห้องสมุดกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

TK Forum 2016 : นวัตกรรมห้องสมุดกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

วันนี้ขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่น่าสนใจแทนการเขียนบล็อกแล้วกัน
งานนี้เป็นการประชุมวิชาการที่จัดโดย TK park หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่า “TK Forum

tk forum 2016

งาน TK Forum เป็นอีกงานที่ผมติดตามมาตลอดเนื่องจากเป็นการจัดการประชุมวิชาการที่น่าสนใจมากเป็นอันดับต้นๆ ที่ว่าด้วยเรื่องห้องสมุด บรรณารักษ์ แหล่งเรียนรู้ การอ่าน …… ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการเชิญ Speaker มาจากต่างประเทศ (โอกาสน้อยมากนะครับที่จะได้ฟังวิทยากรระดับโลก) Read more

สรุปการบรรยาย สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด

เมื่อวันอาทิตย์ที่มา (วันที่ 25 มีนาคม 2555) ผมได้รับเกียรติให้ไปเป็นวิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด” ซึ่งจัดโดยห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสุมดแห่งประเทศไทยฯ ตามธรรมเนียมครับที่ผมจะต้องมาสรุปงานให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

รายละเอียดเกี่ยวกับการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/2012/02/28/workshop-facebook-for-library-service/

การบรรยาย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
– ช่วงเช้า เน้นทฤษฎี ความรู้ที่เกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และแนะนำการใช้งาน Facebook เบื้องต้น
– ช่วงบ่าย เน้นการปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การสมัครใช้งาน Facebook การปรับแต่งหน้าตา และเครื่องมือที่ไม่ควรพลาด

ปล. สื่อสังคมออนไลน์มีมากมาย แต่หลักๆ วันนั้นผมลงรายละเอียดที่ Facebook Fanpage เป็นหลัก

Slide ที่ผมใช้บรรยายมีจำนวน 3 Slide ประกอบด้วย
1. เปิดมุมมองห้องสมุดในต่างประเทศ
2. พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด “ระดับนักศึกษา” 2005-2010 (ไม่สามารถเผยแพร่ได้เนื่องจากยังไม่สมบูรณ์)
3. Facebook Fanpage สำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

ผมขอสรุปไปทีละ Slide เลยแล้วกันนะครับ เพื่อที่ว่าเพื่อนๆ จะได้เปิด  Slide และดูตามไป

1. เปิดมุมมองห้องสมุดในต่างประเทศ

Slide ชุดนี้ผมอยากให้ผู้ที่เข้าฟังการบรรยายได้รู้จักคำศัพท์และเครื่องมือต่างๆ กันสักหน่อย ซึ่งได้แก่ Blog, Wiki, IM, Tag, Widget, Library Search, RSS, Flickr, Ning, Facebook, Slideshare, Youtube, Scribd, Spokeo, Zoomii, Zotero, Yahoo Pipe, Bibme

2. พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด “ระดับนักศึกษา” 2005-2010 (ไม่สามารถเผยแพร่ได้เนื่องจากยังไม่สมบูรณ์)

3. Facebook Fanpage สำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

Slide ชุดนี้เป็นเนื้อหาหลักของการบรรยายในวันนั้นเลย (จริงๆ เป็นสไลด์ชุดเดียวกับที่ผมบรรยายที่โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก http://www.libraryhub.in.th/2012/02/16/facebook-fanpage-for-thai-junior-encyclopedia-project/) แต่ผมขอเอามาสรุปอีกครั้งก็แล้วกัน

เรื่องของความหมายของ Facebook คงไม่ต้องอธิบายกันแล้วเนื่องจากผู้ที่เข้าอบรมทุกคนใช้ Facebook กันอยู่แล้ว

รูปแบบการใช้ Facebook ในปัจจุบัน เราสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆ คือ
1. Profile
2. Group
3. Page

แต่ละแบบใช้งานและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

ในวงการห้องสมุดเมืองไทยก็มีความเข้าใจในเรื่องการใช้ Facebook กันผิดประเภทหลายแห่ง
ส่วนใหญ่มักจะสมัครใช้ Facebook ในแบบ Profile จำนวนมากเนื่องจากสมัครง่าย
แต่หลายๆ คนลืมคิดถึงข้อจำกัดด้านต่างๆ เช่น ความเป็นส่วนตัว จำนวนสมาชิก การวัดผลการใช้งาน…

ดังนั้นข้อสรุปแล้ว ผมจึงนำเสนอให้ ห้องสมุดใช้แบบ Page จะดีกว่า เพราะ
ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (แม้ว่าผู้ใช้จะไม่ได้เล่น Facebook) จำนวนสมาชิกที่ไม่จำกัด และการวัดผลที่ชัดเจน

ตัวอย่าง Facebook Fanpage ในวงการห้องสมุดที่น่าสนใจ
– Tkpark อุทยานการเรียนรู้ (http://www.facebook.com/tkparkclub)
– Thailand Creative & Design Center (TCDC) (http://www.facebook.com/tcdc.thailand)
– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์ความรู้กินได้ (http://www.facebook.com/Ubonpubliclibrary)
– เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย (http://www.facebook.com/THLibrary)
– Thammasat University Libraries (http://www.facebook.com/pages/Thammasat-University-Libraries/100107346702609)

ข้อแนะนำสำหรับการใช้ Facebook Fanpage
1. คอยอัพเดทข่าวสารและกิจกรรมของห้องสมุดใหม่ให้ผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ อยากปล่อยให้ข่าวไม่อัพเดทเกิน 1 เดือน
2. หากผู้ใช้บริการขอความช่วยเหลือผ่านเว็บไซต์ห้องสมุดหรือสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ขอต่ออายุการยืมหนังสือ ห้องสมุดไม่ควรปฏิเสธ
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการด้วย อย่าเงียบหายหรือละเลย พยายามตอบและให้บริการด้วยความเร็ว
4. ไม่นำเรื่องราวพฤติกรรมที่แย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลงในเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ของห้องสมุด
5. พยายามพูดคุยหรือถามความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการในห้องสมุดเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์บ้าง
6. การจัดกิจกรรมในห้องสมุดทุกครั้งควรนำมาลงในเว็บไซต์ห้องสมุดและสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการติดตามข่าวสารของห้องสมุด

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงบทสรุปแบบคร่าวๆ ในวันนั้นนะครับ
ก่อนปิดบล็อกวันนี้ ผมขอขอบคุณ บริษัท Mercuri Data ด้วยนะครับที่สนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้

ภาพการอบรมในวันนั้นผมลงให้แล้วใน Facebook เพื่อนๆ สามารถเข้าไปชมภาพบรรยากาศได้เลยที่
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.352474518127142.74790.196587720382490&type=1

แล้วอย่าลืมมากด Like เป็น Fanpage ของเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย ด้วยนะครับ http://www.facebook.com/THLibrary

ภาพบรรยากาศการอบรมในวันนั้นทั้งหมด

[nggallery id=54]

Facebook Fanpage สำหรับโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

วันนี้ได้รับเกียรติให้ไปบรรยายที่สำนักงานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เรื่อง “การใช้ Facebook Fanpage สำหรับโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน” เลยอยากเอามาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่าน

รายละเอียดเบื้องต้นในการบรรยาย
ชื่อการบรรยาย : Facebook Fanpage สำหรับโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
หน่วยงานที่จัด : สำนักงานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 9.00-12.00 น.

สไลด์ที่ผมใช้ในการบรรยาย

หัวข้อที่ผมในบรรยายในวันนี้ประกอบด้วย
– ทำไมต้องเป็น Facebook Fanpage
– ตัวอย่าง Facebook Fanpage วงการห้องสมุด
– เริ่มต้นสมัคร Facebook Fanpage สำหรับโครงการสารานุกรมไทย
– การใช้งาน Facebook Fanpage ให้ประสบความสำเร็จ

ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ ผมอยากให้ทุกๆ คนได้รู้จักและเข้าใจว่าทำไมเราต้องใช้ Facebook กันก่อน
เริ่มจากความหมายของ Facebook โดยส่วนตัว ผมเห็นว่า Facebook คือ เว็บไซต์ในกลุ่มเครือข่ายสังคมออนไลน์เว็บหนึ่งที่ให้บริการแบ่งปันเรื่องราว แสดงความคิดเห็น แบ่งปันรูปภาพ แบ่งปันวีดีโอ แบ่งปันข้อมูลในเรื่องที่สนใจ ให้กลับกลุ่มเพื่อนๆ ของเรา นอกจากนี้ยังใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อนที่รู้จักกัน และเพื่อนใหม่ที่เราอยากรู้จักในโลกออนไลน์ด้วย

จากนั้นผมได้นำสถิติของ Facebook ในช่วงต้นปี 2010 และ ปลายปี 2010 มาให้ดูว่า
จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นมากกว่า 200 ล้านคนภายในปีเดียวกัน นอกจากนี้ยังนำข้อมูลของประเทศที่มีการใช้ Facebook 10 อันดับ มาให้ชม และตั้งข้อสังเกตให้คิดเล่นๆ นิดหน่อย

รูปแบบการใช้ Facebook ในปัจจุบัน เราสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆ คือ
1. Profile
2. Group
3. Page

แต่ละแบบใช้งานและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

ในวงการห้องสมุดเมืองไทยก็มีความเข้าใจในเรื่องการใช้ Facebook กันผิดประเภทหลายแห่ง
ส่วนใหญ่มักจะสมัครใช้ Facebook ในแบบ Profile จำนวนมากเนื่องจากสมัครง่าย
แต่หลายๆ คนลืมคิดถึงข้อจำกัดด้านต่างๆ เช่น ความเป็นส่วนตัว จำนวนสมาชิก การวัดผลการใช้งาน…

ดังนั้นข้อสรุปแล้ว ผมจึงนำเสนอให้ ห้องสมุดใช้แบบ Page จะดีกว่า เพราะ
ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (แม้ว่าผู้ใช้จะไม่ได้เล่น Facebook) จำนวนสมาชิกที่ไม่จำกัด และการวัดผลที่ชัดเจน

ก่อนที่จะมี Facebook Fanpage ของห้องสมุด จำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
– Page Name (ชื่อของหน้า) อันนี้สำคัญมากเพราะตั้งแต่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ แนวทางในการเลือกชื่อของหน้า คือ เลือกชื่อที่ทำให้คนอื่นเข้าใจ ชื่อหน่วยงาน ชื่อโครงการ ชื่อที่ทำให้อื่นรู้ว่าเป็นเรา
– Profile Image (รูปแทนหน้าเพจ) แนวทางในการเลือกรูปภาพ คือ เลือกภาพที่ดึงดูดใจผู้ใช้บริการ ภาพที่ใช้แทนหน้าของเรา ย้ำชื่อของเราลงในภาพด้วยก็ดี
– Page Info (ข้อมูลทั่วไป) ลงข้อมูลของหน้าของเรา การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับเราต้องชัดเจน

ตัวอย่าง Facebook Fanpage ในวงการห้องสมุดที่น่าสนใจ
– Tkpark อุทยานการเรียนรู้ (http://www.facebook.com/tkparkclub)
– Thailand Creative & Design Center (TCDC) (http://www.facebook.com/tcdc.thailand)
– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์ความรู้กินได้ (http://www.facebook.com/Ubonpubliclibrary)
– เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย (http://www.facebook.com/THLibrary)
– Thammasat University Libraries (http://www.facebook.com/pages/Thammasat-University-Libraries/100107346702609)

หลังจากที่เล่าเรื่องเชิงทฤษฎีและเห็นชมตัวอย่างหน้า Facebook Fanpage เสร็จ ก็เริ่มเข้าสู่การ Workshop กันได้

Step By Step กันเลยนะครับ ผมขอแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ

1. การสมัครใช้งาน Facebook Fanpage
– เมื่อ login Facebook แล้ว ให้เข้าไปที่ http://www.facebook.com/pages/create.php
– เลือกหมวดหมู่ของหน้า Facebook Fanpage ในกรณีของโครงการสารานุกรมไทย เลือก “องค์กรไม่แสวงหากำไร”
– ใส่ชื่อของหน้า (Page Name) แล้วกดเริ่มกันเลย
– ได้หน้าเพจแล้วครับ
– ใส่รูปภาพของหน้ากันต่อเลยครับ
– เชิญชวนเพื่อนเข้ามากด Like
– ใส่รายละเอียดของหน้าให้เรียบร้อย
– จากนั้นก็ใช้ได้แล้วครับ

2. การปรับแต่ง Facebook Fanpage เบื้องต้น

– การตั้งค่าของคุณ
– จัดการสิทธิ์
– ข้อมูลเบื้องต้น
– รูปประจำตัว
– คุณสมบัติ
– เครื่องมือ
– จัดการผู้ดูแล
– แอพ
– โทรศัพท์มือถือ
– เจาะลึก
– วิธีใช้
– การเปลี่ยนชื่อ URL ให้สั้นลง


3. การใช้งานและรู้จักเครื่องมือที่ดีของ Facebook Fanpage

– การใช้งาน Page Insight (ดูสถิติการเข้าใช้งานของผู้ใช้บริการ)
– การโพสข้อความ รูปภาพ ลิ้งค์ วีดีโอ แบบสอบถาม

ข้อแนะนำสำหรับการใช้ Facebook Fanpage
1. คอยอัพเดทข่าวสารและกิจกรรมของห้องสมุดใหม่ให้ผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ อยากปล่อยให้ข่าวไม่อัพเดทเกิน 1 เดือน
2. หากผู้ใช้บริการขอความช่วยเหลือผ่านเว็บไซต์ห้องสมุดหรือสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ขอต่ออายุการยืมหนังสือ ห้องสมุดไม่ควรปฏิเสธ
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการด้วย อย่าเงียบหายหรือละเลย พยายามตอบและให้บริการด้วยความเร็ว
4. ไม่นำเรื่องราวพฤติกรรมที่แย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลงในเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ของห้องสมุด
5. พยายามพูดคุยหรือถามความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการในห้องสมุดเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์บ้าง
6. การจัดกิจกรรมในห้องสมุดทุกครั้งควรนำมาลงในเว็บไซต์ห้องสมุดและสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการติดตามข่าวสารของห้องสมุด

เอาหล่ะครับนี่ก็เป็นเพียงสาระตามสไลด์ที่ผมได้บรรยายและ workshop กับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ

จริงๆ แล้วไม่เชิงว่าเป็นการบรรยายหรอกครับ แต่เป็นการลงมือทำไปพร้อมๆ กับการบรรยายเลยมากกว่า เพราะว่าผลสำเร็จของการบรรยายในวันนี้ ก็คือ “สำนักงานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ก็มี Facebook Fanpage ไว้ใช้

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากรู้ว่า Facebook Fanpage ของโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เป็นอย่างไร
ก็ลองชมกันได้ที่ http://www.facebook.com/saranukromthai
ตั้งแต่การอบรมจนถึงตอนนี้ (ช่วงที่กำลังเขียนบล็อก 22.00) มีแฟนเพจ 53 คนคร้าบบบบ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็เข้าไปช่วยกันกด Like หน้านี้กันด้วยนะครับ
http://www.facebook.com/saranukromthai
ขอฝากไว้ให้ชมและรับความรู้กันมากๆ ครับ

เมื่อนายห้องสมุดกลายเป็นอาจารย์พิเศษให้เด็กเอกบรรณฯ จุฬา

เมื่อวันพฤหัสที่แล้ว (วันที่ 2 ธันวาคม 2553) ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายพิเศษให้เด็ก ปริญญาตรีปี 3 เอกบรรณารักษ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งบรรยายเรื่องประสบการณ์การทำงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่เคยผ่านมา รวมถึงให้แง่คิดเรื่องการทำงานในสาขาบรรณารักษ์แบบใหม่ๆ วันนี้เลยขอเล่าเรื่องนี้คร่าวๆ

รายละเอียดในการบรรยายทั่วไป
ชื่อการบรรยาย : ประสบการณ์การทำงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
วันและเวลาที่บรรยาย : วันที่ 2 ธันวาคม 2553 เวลา 9.00-12.00 น.
สถานที่บรรยาย : ห้อง 508 อยู่ชั้น 5 อาคารบรมราชกุมารี

เรื่องที่ผมเตรียมไปบรรยาย (อันนี้เอามาจากบันทึกที่อยู่ในมือผมตอนบรรยาย ตอนบรรยายจริงๆ หัวข้อบางอันข้ามไปข้ามมานะและบางหัวข้ออาจจะไม่มีในบันทึกนี้ แต่เป็นการเพิ่มเติมในเรื่องของประสบการณ์)

งานโครงการศูนย์ความรู้กินได้
– ก่อนมาทำงานที่นี่ (เล่าคร่าวๆ ประสบการณ์ทำงาน) = บทบาทใหม่ในการพัฒนาวงการห้องสมุด
– ภาพรวมของการจัดตั้งศูนย์ความรู้กินได้ (ห้องสมุดประชาชนที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกของเมืองไทย)
– นักพัฒนาระบบห้องสมุดไม่ใช่คนทำงานไอทีอย่างเดียว = การดูแลภาพรวมของห้องสมุด
– แผนผัง Flow งานงานทั้งหมดในห้องสมุด (งานจัดหา งานประเมิน งาน catalog งานเทคนิค งานบริการ งานสมาชิก)
– การกำหนดและจัดทำนโยบายงานต่างๆ ในห้องสมุด
– มุมมองใหม่ๆ สำหรับอาชีพสารสนเทศ เช่น รับทำวิจัย ที่ปรึกษาห้องสมุด outsource งานห้องสมุด ฯลฯ
– แนวโน้มด้านเทคโนโลยีห้องสมุด (แนวคิดเรื่องห้องสมุด 2.0) ไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เป็นทฤษฎี
– แนวทางในการเลือกใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
– กิจกรรมของโครงการ การอบรม (ยิ่งมีกิจกรรมเยอะยิ่งดึงดูดคน)

งานส่วนตัว Projectlib & Libraryhub
– จากบล็อกส่วนตัวเล็กๆ มาจนถึงชุมชนบรรณารักษ์แห่งใหม่
– ความก้าวหน้าของอาชีพบรรณารักษ์ที่หลายคนคิดไม่ถึง
– ความภูมิใจต่อวงการบรรณารักษ์ (อดีตที่ไม่มีใครสนใจ)
– กิจกรรมการสร้างเครือข่ายบรรณารักษ์รุ่นใหม่ Libcamp ไม่ต้องใช้เงินเยอะ
– แง่คิดที่ได้จากการทำบล็อก Projectlib และ Libraryhub
– กรณีศึกษา : ถามตอบบรรณารักษ์ (ปรึกษาการทำโครงงานห้องสมุด)

การบรรยายในครั้งนี้ผมใช้วิธีการเล่าเรื่อง สลับกับการเปิดวีดีโอที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เด็กเบื่อกับเรื่องที่เป็นวิชาการมากนัก ซึ่งวีดีโอที่ผมนำมาเปิดวันนี้ประกอบด้วย วีดีโอแนะนำโครงการศูนย์ความรู้กินได้ วีดีโอแนะนำหนังสือของห้องสมุด วีดีโอเพลงเอ็มวีของ มข เอาเป็นว่าเด็กๆ คงชอบนะครับ

จริงๆ หัวข้ออย่างที่บอกตอนต้นว่าเป็นการเล่าประสบการณ์เป็นหลักดังนั้น ในด้านของความรู้ตามตำราผมไม่ได้ลงรายละเอียดมากนักแต่เน้นการใช้งานจริงมากกว่า เช่น ก่อนจบการบรรยายได้แนะนำ การให้หัวเรื่องของ BISAC ที่เป็นการกำหนดหัวเรื่องตามร้านหนังสือ เพื่อนำมาปรับใช้กับงานด้านห้องสมุดเฉพาะทาง

ก่อนอื่นต้องขอบอกความรู้สึกในการบรรยายตามตรงนะครับ ว่าเป็นครั้งแรกที่ตื่นเต้นมากๆ เนื่องจากปกติ บรรยายให้แต่ผู้ใหญ่ฟัง ไม่เคยบรรยายให้น้องๆ หรือเด็กเอกบรรณฯ ฟังเลย แถมต้องมาบรรยายที่จุฬาด้วยยิ่งตื่นเต้นไปกันใหญ่เพราะเด็กๆ ที่นี่น่าจะมีความรู้ด้านวิชาการเต็มเพียบ แต่สุดท้ายพอบรรยายจบก็โล่งขึ้นเยอะเลย เพราะเด็กๆ ที่นี่น่ารักมาก ตั้งใจฟังเป็นอย่างดี

ในระหว่างการบรรยายของผม อาจารย์เสาวภาก็ได้ถ่ายรูปให้ผมเก็บไว้ด้วย ก็ขอขอบคุณมากๆ เลย

การบรรยายที่นี่ทำให้ผมรู้สึกว่าอย่างน้อยการถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ให้คนรุ่นหลังๆ เป็นสิ่งที่ดีและน่าสนใจมากๆ (ตอนนี้เริ่มมีความรู้สึกอยากเป็นอาจารย์บ้างแล้ว อิอิ)

เอาเป็นว่าก็ขอขอบคุณน้องๆ เอกบรรณ คณะอักษรศาสตร์ทุกคน รวมถึงอาจารย์ภาคบรรณารักษศาสตร์ทุกคนด้วยครับ ที่ร่วมกันสร้างคนรุ่นใหม่ให้เข้าสู่วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ด้วย

ก่อนจบขอนำภาพที่อาจารย์เสาวภาถ่ายมาลงไว้นะครับ (ที่มาจาก http://www.facebook.com/#!/album.php?aid=268255&id=534934030)

ชมภาพการบรรยายได้เลยครับ

[nggallery id=33]

สรุปงาน New technology and Best Practice in Library Services

วันนี้ผมได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยายเรื่อง “New technology and Best Practice in Library Services
โดยคุณ John Hickok จาก California State University เห็นว่าเนื้อหาน่าสนใจดีจึงขอเอามาเล่าให้เพื่อนๆ อ่าน

รายละเอียดงานบรรยายเบื้องต้น
ชื่อการบรรยาย : New technology and Best Practice in Library Services
ผู้บรรยาย : John Hickok
วันและเวลาที่บรรยาย : วันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 เวลา 9.00-12.00 น.
สถานที่ในการบรรยาย : ห้อง 304 ชั้น 3 อาคารมหาจักรีสิรินธร
ผู้จัดงาน : ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสถานฑูตสหรัฐฯ

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่านะครับ การบรรยายครั้งนี้มีล่ามช่วยแปลในระหว่างการบรรยายด้วย
(แต่ผมว่าฟังภาษาอังกฤษแล้วดูสไลด์ตามน่าจะเข้าใจหว่านะครับ แต่ก็เอาเถอะครับมีล่ามก็ดี)

การบรรยายเริ่มจากการแนะนำตัวของผู้บรรยาย ซึ่งคือคุณ John Hickok
(ผมขออนุญาติเรียกผู้บรรยายว่าคุณ John เพื่อความชัดเจนในการสื่อสารนะครับ)

โดยคุณ John เป็นบรรณารักษ์ธรรมดาๆ คนนึงที่ California State University (ย้ำว่าบรรณารักษ์ธรรมดา) นอกจากนี้คุณ John ก็ยังเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษให้กับคนต่างชาติด้วย โดยเฉพาะคนเอเชีย วิทยานิพนธ์ที่คุณ John คือเรื่องการเปรียบเทียบความแตกต่างทางวัฒนธรรมกับการบริการห้องสมุด ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลจาก 200 กว่าห้องสมุด จาก 14 ประเทศ ในแถบเอเชีย ตำแหน่งอันทรงเกียรติของคุณ John ตอนนี้คือ ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมาธิการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของ ALA

หลังการแนะนำตัวเองเสร็จเรื่องแรกที่คุณ John บรรยายคือ Best Practice

ตัวอย่าง Best Practice จาก California State University แบ่งออกเป็น

1 งานด้านเทคนิคของบรรณารักษ์ ซึ่งมี 6 ตัวอย่าง ดังนี้
1.1 Prompt Cat. (การซื้อรายการบรรณานุกรมจาก OCLC)
คุณ John ได้แสดงให้เราเห็นว่าตำแหน่งงานด้าน catalog ในห้องสมุดของอเมริกาถูกลดบทบาทลงมาก แต่หันไปเพิ่มความสำคัญให้กับบรรณารักษ์ด้าน e-resource เป็นหลัก เนื่องจาก catalog สามารถดึงมาจาก OCLC ทำให้ข้อมูลเป็นกลางและไม่ทำให้เกิดความหลากหลายในการ catalog ด้วย

คำอธิบาย Prompt Cat. อ่านได้ที่ http://www.oclc.org/promptcat/

1.2 Consortium buying power of databases (จับมือร่วมกับหน่วยงานห้องสมุดอื่นๆ ในการซื้อฐานข้อมูลจากต่างประเทศ)
คุณ John ได้บอกพวกเราว่าการที่ทำความร่วมมือในการบอกรับฐานข้อมูลจะทำให้เราประหยัดงบประมาณและก่อให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่าด้วย (จริงๆ แล้วในบ้านเรา uninet ก็มีนะ สกอ. บอกรับทำให้มหาลัยประหยัดด้วย)

1.3 Explosion of full-text linking in database (การเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่บอกรับให้สามารถค้นหาฐานข้อมูลแบบ fulltext ได้)
การเชื่อมโยงฐานข้อมูลต่างๆ ที่บอกรับจะมำให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์สูงสุด ยกตัวอย่างเช่น EBSCO ไม่มี full text ในเรื่องนี้แต่ในฐานข้อมูลอื่นอาจจะมีก็ได้ ดังนั้นถ้าเราเชื่อมฐานข้อมูลกันก็จะทำให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งการเชื่อมโยงฐานข้อมูลก็อาศัยโปรแกรมเสริมบางชนิด เช่น “Find it” เพียงแค่เรานำมาติดตั้งกับหน้าเว็บไซต์ก็สามารถทำงานได้แล้ว

1.4 Partnering with WorldCat for last ILL. (เข้าร่วมกับ world cat ในการแชร์ข้อมูล เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในท้องถิ่น)
การทำความร่วมมือกับ WorldCat ในเรื่องฐานข้อมูลหนังสือ การเข้าร่วม ILL (inter library loan) จะเป็นทางเลือกในการช่วยให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดยืมหนังสือที่ห้องสมุดของเราไม่มีแต่ที่อื่นมีก็ได้ และยิ่งไปกว่านั้นผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่อยู่ใกล้มือได้ (อยู่ใกล้ห้องสมุดไหนก็ไปที่นั่น)

http://www.worldcat.org/

1.5 Reference Statistics Software (เก็บข้อมูลจากบริการตอบคำถามมาแล้วประมวลผมหาความต้องการที่แท้จริงของห้องสมุด)
โปรแกรมเก็บสถิติการอ้างอิงและการตอบคำถามผู้ใช้บริการจะทำให้เราสามารถประเมินความต้องการของผู้ใช้บริการ รวมถึงการนำข้อมูลสถิติมาใช้ในงานบริหารจัดการห้องสมุดได้ เช่น ในช่วงเวลาที่คนใช้ห้องสมุดมากๆ ก็ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่เป็น 2 เท่า

1.6 Library Instruction Request form (แบบฟอร์มขอบรรณารักษ์ไปช่วยในการสอน)
แบบฟอร์มในการขอให้บรรณารักษ์ไปช่วยในการอบรมผู้ใช้บริการเฉพาะด้าน มีไว้ให้อาจารย์ในคณะส่งข้อความให้ห้องสมุดเพื่อขอใช้บริการบรรณารักษ์ไปอบรมผู้ใช้

2 งานบริการผู้ใช้ห้องสมุด ซึ่งมี 7 ตัวอย่างดังนี้

2.1 IM Chat reference (บริการตอบคำถามออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง)
เอา Chat online มาไว้ที่หน้าเว็บไซต์ได้เลย และต้องคอยดูแลและตอบคำถามผู้ใช้บริการด้วยนะ ในช่วงเวลาทำการบรรณารักษ์ห้องสมุดก็จะช่วยกันตอบ แต่ในเวลาหลังเลิกงานห้องสมุดที่นั่นก็จ้างคนมาดูแลและตอบคำถาม (จ้าง OCLC) ครับ ไม่แพงมากถ้าทำความร่วมมือกับที่อื่นๆ ด้วย จากการสำรวจผู้ใช้บริการจะเข้าใช้บริการมากสุดตอนห้าทุ่ม

2.2 Software to control all lab screens (โปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมหน้าจอคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด)
ในช่วงเวลาที่มีการอบรมเพื่อไม่ให้เกิดความวอกแวก ห้องสมุดควรจะมีโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมหน้าจอด้วย ผู้ใช้จะได้จดจ่ออยู่กับหน้าจอที่เราควบคุม โปรแกรมที่คุณ John แนะนำคือ lanschool (www.lanschool.com) เสียตังค์ครับแต่ไม่แพงมาก

www.lanschool.com

2.3 Specialized guides (แนะนำข้อมูลเพื่อช่วยในการสืบค้นเฉพาะเรื่อง)
การจัดทำข้อมูลเพื่อแนะนำการสืบค้นจำเป็นมากครับ เพราะบางครั้งบรรณารักษ์ต้องนั่งตอบคำถามผู้ใช้ซึ่งเป็นคำถามซ้ำไปซ้ำมา ยกตัวอย่าง นาย ก มาขอข้อมูลเรื่องโลกร้อน บรรณารักษ์ก็ชี้ว่าไปหาที่นี่ๆๆๆ แล้วก็จบ นาย ข เดินมาก็ขอข้อมูลโลกร้อน บรรณารักษ์ก็ต้องชี้ว่าไปหาที่นี่ๆๆๆ จบไปอีกหนึ่งคน นาย ค เดินมาก็ขอข้อมูลโลกร้อนอีก บรรณารักษ์ก็ต้องตอบแบบเดิม ดังนั้นในกรณีนี้ถ้าเราจัดทำคู่มือการหาข้อมูลโลกร้อนแล้วเอาขึ้นเว็บ ผู้ใช้ก็จะได้นำคู่มือตรงนี้ไปใช้

2.4 Specialized tutorials (เทคนิคในการสอนใช้ข้อมูลเฉพาะเรื่อง)
รูปแบบการสอนไม่ควรใช้ text ล้วนๆ เหมือนสมัยก่อน เพราะว่ามันน่าเบื่อและทำให้ผู้ใช้บริการไม่สนใจในคำแนะนำนั่นๆ แต่ถ้าเปลี่ยนใหม่มาใช้เทคโนโลยีอย่างพวก flash javascript หรือวีดีโอใน youtube มันก็อาจจะทำให้กระตุ้นในการอยากรู้ของผู้ใช้บริการก็ได้

2.5 RefWorks plug in and workshop (โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างบรรณานุกรมที่ถูกต้อง)
โปรแกรม RefWorks มีลักษณะคล้ายๆ โปรแกรม Endnotes ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถสร้างบรรณานุกรมที่ถูกต้องตามรูปแบบของ APA

2.6 Outreach to international student (แนะนำและสอนการใช้ห้องสมุดให้กับผู้ใช้บริการ)
การแนะนำและสอนการใช้ห้องสมุดให้กับผู้ใช้บริการในเมืองไทยคุณ John บอกไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเห็นว่าทำกันอยู่แล้ว โดยเน้นเด็กมัธยมที่เพิ่งเข้ามหาวิทยาลัย นอกจากนี้คุณ John ย้ำว่าต้องจัดสอนให้ผู้ใช้ทุกกลุ่ม เช่น ผู้ใช้บริการที่เป็นคนต่างชาติในห้องสมุดของเราก็ต้องสอน เพราะการใช้ห้องสมุดในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน

2.7 International partnership (สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานระดับนานาชาติ)
การทำความร่วมมือกับหน่วยงานระดับนานาชาติทั้งรูปแบบที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการจะช่วยให้เกิดการพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการดูงานเพื่อพัฒนาห้องสมุดได้

จบตัวอย่างของ Best Practice แล้วคุณ John ได้เน้นในเรื่องของ trend ห้องสมุด คือ การบริการเชิงรุก

คุณ John ได้กล่าวถึงข้อดีของการให้บริการเชิงรุกและการให้การศึกษากับกลุ่มผู้ใช้บริการ ทำให้เกิดการเปลี่ยนภาพลักษณ์บรรณารักษ์รุ่นเก่า (โบราณ เคร่งเครียด และชอบทำปากจุ๊ๆ ให้เงียบ) ไปเป็นภาพลักษณ์บรรณารักษ์แนวใหม่ (ทันสมัย เป็นมิตร และเชี่ยวชาญเรื่องการสืบค้น)

เหตุผลที่มีการเปลี่ยนแนวการให้บริการเป็นเชิงรุกในสหรัฐอเมริกา มี 3 อย่างคือ
1 บรรณารักษ์มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีมากขึ้น เช่น ทำบล็อก เล่นเฟสบุ๊ค ใช้ยูทูป
2 บรรณารักษ์มีบทบาทต่อการเรียนการสอนรายวิชาวรรณกรรมและการค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้น
3 บรรณารักษ์ในสหรัฐอเมริกาจบวุฒิโทในสาขาบรรณารักษ์ แต่จบตรีสาขาอื่นๆ ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น ซึ่งต่างจากไทยที่คนไทยเรียนตรีบรรณฯ ต่อโทก็ยังบรรณ ดังนั้นทำให้ไม่มีความเชี่ยวชาญเรื่องอื่นๆ เลย


การให้บริการเชิงรุกต้องดูอะไรบ้าง

1 สถานที่ในการให้บริการตอบคำถาม ไม่ควรอยู่ไกลหรือลึกลับเพราะผู้ใช้จะไม่กล้าใช้บริการ และที่สำคัญหนังสืออ้างอิงควรอยู่ใกล้ๆกับจุดบริการตอบคำถามด้วย สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างคือจุดบริการตอบคำถามควรมีจุดที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อให้บรรณารักษ์สามารถสืบค้นข้อมูลได้ทันที

2 การแนะนำบริการตอบคำถามให้ผู้ใช้บริการรู้จัก คุณ John ยกตัวอย่างของห้องสมุด California State University ว่า บรรณารักษ์จะเดินถือโน้ตบุ๊คเข้าหาผู้ใช้บริการที่นั่งสืบค้นข้อมูลอยู่ตามโต๊ะ เมื่อบรรณารักษ์สังเกตเห็นว่าผู้ใช้กำลังต้องการค้นข้อมูล บรรณารักษ์ก็จะเดินเข้าไปถามและช่วยทันที คุณ John บอกในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะตกใจ แต่เมื่อทำแบบนี้แล้วคนที่อยู่ใกล้ๆ จะได้ยินว่าบรรณารักษ์ให้การช่วยเหลือเรื่องการสืบค้นได้ ก็อาจจะต่อคิวเพื่อขอรับบริการต่อไป นอกจากนี้การทำป้ายเพื่อแนะนำบริการตอบคำถามก็สมควรที่จะทำในห้องสมุด

ภาพตัวอย่างป้ายบริการตอบคำถามในห้องสมุด

จากการพูดคุยกับกลุ่มนักศึกษาในเรื่องสาเหตุที่ไม่ขอรับบริการตอบคำถามจากบรรณารักษ์เนื่องจาก
– ไม่ยอมรับว่าตัวเองไม่รู้ (ไม่อยากให้คนอื่นคิดว่าโง่)
– เคยเจอประสบการณ์ที่เลวร้ายจากการใช้บริการห้องสมุด
– คิดว่าเปิด google ก็ได้คำตอบ

3 เพิ่มแหล่งบริการค้นคว้าหาข้อมูลใหม่ๆ ในห้องสมุด (แต่ต้องไม่กระทบเรื่องงบประมาณ) เน้นเว็บไซต์ด้านสารสนเทศมากๆ คุณ John แนะนำให้ลองใช้
www.ipl2.org
www.libraryspot.com
www.refdesk.com

4 เพิ่มการศึกษาให้ผู้ใช้บริการมากๆ เมื่อผู้ใช้บริการต้องการรู้มากๆ ก็จะมาที่ห้องสมุดเองนั่นแหละ วิธีการง่ายๆ ให้ทำดังนี้
– จัดปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด
– ขอความร่วมมือจากสาขาวิชาเพื่อให้เด็กๆ มาเรียนรู้เรื่องการค้นข้อมูลในห้องสมุด
– จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop)

เอาเป็นว่าการบรรยายในหัวข้อ “New technology and Best Practice in Library Services” ก็จบที่สไลด์นี้
แต่คุณ John มีเนื้อหาที่น่าสนใจมาให้พวกเราได้ดูอีก คือ ตัวอย่างห้องสมุดที่น่าสนใจ (International Best Pratices of Library Spaces)

ตัวอย่างห้องสมุดที่น่าสนใจ (International Best Pratices of Library Spaces) มี 9 หัวข้อที่ศึกษา ดังนี้

1. The Information Common
3. Social Network
4. Distance learning
5. Virtual Mgmt system
6. Technical Service
7. Marketing / Promotion
8. Reference Info Lit.
9. Library Space Planning

หลังจากจบการบรรยายก็ถึงช่วงเวลาที่ใช้ในการตอบคำถาม มีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย เช่น
1. การมีร้านกาแฟในห้องสมุด – คนจะมากินกาแฟอย่างเดียวหรือไม่ กินเสร็จก็ออกจากห้องสมุด
คุณ John ก็ตอบว่าการศึกษาเรื่องนี้จริงๆ พบว่ายิ่งการมีร้านกาแฟ จะยิ่งทำให้คนเข้าห้องสมุดและอยู่กับห้องสมุดนานขึ้น นอกจากนี้การทำงานร่วมกันระหว่างร้านกาแฟกับห้องสมุดก็จะดีมากๆ เช่น วีดีโอที่เปิดในร้านกาแฟก็อาจจะเป็นวีดีโอที่เกี่ยวกับการแนะนำห้องสมุด กิจกรรมห้องสมุด หรือสาระความรู้จากห้องสมุดก็ได้

2. การเปิดพื้นที่ Comment zone (พื้นที่ที่ให้คนสามารถพูดคุยปรึกษางานกัน) มันเสียงดังนะ มันจะไม่กวนผู้ใช้คนอื่นหรอ
คุณ John ก็ตอบว่าการที่เป็น Comment zone มันก็ต้องเสียงดังอยู่แล้วเป็นเรื่องปกติ แต่เราก็ควรจัดมุม private zone หรือ quiet zone ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้บริการที่ต้องการสมาธิใช้เช่นกัน ซึ่งบางทีเราอาจจะแบ่งพื้นที่ให้ห้องสมุดมีโซนที่เสียงดังสัก 50% ก็ดีนะ เพราะห้องสมุดปกติคือสถานที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ใช่แค่ที่นั่งอ่านเงียบๆ เหมือนสมัยก่อน

เอาเป็นว่าวันนี้ผมเขียนบล็อกยาวไปหน่อยนะครับหวังว่าคงไม่น่าเบื่อเกินไป
สำหรับคนที่ไม่ได้มาวันนี้หากสงสัยในส่วนไหนก็ฝากคำถามไว้แล้วกันครับ เดี๋ยวจะแวะมาตอบให้
สำหรับเอกสารการบรรยายไม่แน่ใจว่าผู้จัดงานลงไว้ที่ไหนเดี๋ยวจะลองเช็คดูให้นะครับ