Libcamp#2 : เครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก

วิทยากรที่ดูแลในช่วงนี้ คือ อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ จาก สวทช.
ซึ่งมาพูดในหัวข้อเกี่ยวกับเครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก นั่นเอง

libcamp-wp-elgg

อาจารย์บุญเลิศ ได้แนะนำการทำบล็อกห้องสมุดด้วยเครื่องมือต่างๆ
โดยถ้าเน้นระบบสำเร็จรูปที่รองรับมาตรฐานการใช้บล็อก และดูแลง่ายไม่ซับซ้อน ก็ให้ใช้ WordPress
แต่ถ้าต้องการความซับซ้อน และทำเว็บไซต์ให้ออกมาอยู่ในรูปแบบเครือข่ายสังคม (Social Network) ก็ให้ใช้ elgg ดีกว่า


ใช้ Blog เป็นเครื่องมือทำอะไรได้บ้าง


1. Blog สามารถสร้างเว็บห้องสมุดได้

ศักยภาพของ Blog นอกจากจะมีไว้เขียน Blog ปกติแล้วยังสามารถทำให้ Blog ให้กลายเป็นเว็บห้องสมุด
เช่น การผูก CMS มาตรฐานเข้ากับระบบ OPAC ที่ใช้งานได้ฟรี ทำให้ได้เว็บห้องสมุดที่มีคุณสมบัติมาตรฐานพร้อมใช้งาน
ซึ่งมีข้อดีคือ ใช้ง่าย ประหยัดทั้งงบประมาณ และระยะเวลาในการสร้างระบบเว็บห้องสมุด


2. Blog รองรับการสร้างรายการบรรณานุกรมออนไลน์โดยอัตโนมัติ

ระบบ CMS มาตรฐานที่แนะนำให้บรรณารักษ์เลือกใช้การสร้างระบบห้องสมุดเหล่านี้
สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ปลายทาง ที่ต้องการสร้างรายการบรรณานุกรมอ้างอิง จากข้อมูลในเว็บโดยอัตโนมัติ
โดยผู้ใช้ปลายทางต้องใช้โปรแกรมช่วยสร้างรายการบรรณานุกรมอย่าง Zotero (http://www.zotero.org/)
โดยระบบ CMS มาตรฐานดังกล่าวจะส่งข้อมูล metadata ที่ Zotero ต้องการ
ทำให้ผู้ใช้งานได้รับรายการบรรณานุกรมที่มีข้อมูลสมบูรณ์พร้อมใช้


3. Blog เป็นเครื่องมือสร้าง Community Online และการจัดการความรู้ขององค์กร

หลักของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในองค์กร
เราก็สามารถนำ Blog มาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ แลฃะสร้างชุมชนออนไลน์ในองค์กรได้

4. Blog ทำให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลในเว็บของเราเจอได้ง่ายขึ้น โดยผ่าน search engine
การทำบล็อกที่ดีจะทำให้เนื้อหาของเราถูกค้นเจอได้ง่ายขึ้นผ่าน search engine ด้วย
โดยหลักการแล้วจะเรียกว่าเป็นการทำ SEO ? Search Engine Optimization ก็ว่าได้
โดยเพื่อนๆ ก็ต้องใส่ข้อมูลให้ครบเวลาจะสร้างเนื้อหา เช่น หัวเรื่อง, ชื่อคนแต่ง, แท็ก, คำโปรย เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นเจอ


5. Blog มีระบบ CMS มาตรฐานทำให้ผู้ใช้ปลายทาง มีทางเลือกมากขึ้นในการรับข้อมูลผ่าน feed

การสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้ด้วยการดึงข้อมูลจากบล็อกของเราไปแสดง หีอที่เรียกว่า feed
เราสามารถเลือกใช้งานได้หลายรูปแบบ แบบหนึ่งคือโปรแกรมที่ติดตั้งบน Desktop ของผู้ใช้เอง
หรืออีกวิธีคือการส่ง feed ของเราไปยัง twitter โดยอัตโนมัติเมื่อมีการอัปเดตเนื้อหาในเว็บ
ซึ่งก็ถือว่าเป็นช่องทางในการเผยแพร่เนื้อหาเพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง


6. ระบบ CMS มาตรฐาน มีระบบการวัดสถิติผู้เข้าชม (Stat)

ซึ่งถือว่าเป็นข้อดี คือ ทำให้ผู้บริหารเว็บสามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ได้

นอกจากนี้ อาจารย์บุญเลิศยังได้ให้ แนวคิดในการบริหารจัดการเว็บห้องสมุด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ปลายทาง เช่น
– การกำหนดเป้าหมาย และทิศทางการทำงานขององค์กร เช่น การเป็นห้องสมุดเชิงรุกที่ใช้งบน้อยที่สุด หรือไม่ใช้เลย
– การกระตุ้นให้สมาชิกของหน่วยงานเขียนบล็อกเป็นประจำ
– การกำหนดมาตรฐานการใส่ข้อมูล เช่นการใส่คำโปรย 1-2 บรรทัดที่สรุปเนื้อหาทั้งหมดของเรื่องที่เขียน และการกรอก metadata เช่น tag ให้ครบถ้วน

นับว่าเป็นช่วงที่ได้รับความรู้ และวิธีการต่อยอดจากการทำบล็อกแบบธรรมดา
ให้กลายเป็นบล็อกที่มียอดความนิยมเลยก็ว่าได้นะครับ

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

LibCamp#2 : แอบดูบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ

ผู้บรรยายคนต่อมา คือ คุณวงศ์ต้น เบ็ญจพงษ์ บรรณารักษ์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ซึ่งมาพูดเรื่อง อัปเดทสถานการณ์บล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ

inter-library-blog

ซึ่งเริ่มจากการเกริ่นเกี่ยวกับเรื่องของบล็อกมากมาย เช่น

บล็อกไม่ได้ไร้สาระเหมือนที่หลายๆ คนกำลังคิด….
บล็อกก็ไม่ใช่ของคนรุ่นใหม่อย่างเดียว
มีบล็อกได้ง่ายๆ ฟรี… ไม่ต้องเสียเงิน
ไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม ก็มีบล็อกได้

จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่เรื่องราวว่าบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศมี 4 ลักษณะที่น่าสนใจ คือ

1. Blog เพื่อองค์กร
– ใช้บล็อกเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ทัศนคติของคนในองค์กร
และทำให้คนใช้ห้องสมุด มีทัศนคติกับห้องสมุดดีขึ้น โดยเฉพาะเยาวชนที่จะมีแนวโน้มเข้าห้องสมุดน้อยลง

ตัวอย่าง Blog เพื่อองค์กร เช่น
http://www.loc.gov/blog/
http://www.worldcat.org/blogs/
http://www.nypl.org/blog

2. Blog เพื่อข่าวสาร
– ใช้บล็อกเพื่ออับเดทสถานการณ์ และข่าวสารต่างๆ ในวงการห้องสมุด

ตัวอย่าง Blog เพื่อข่าวสาร เช่น
http://lisnews.org/
http://liswire.com

3. Blog เพื่อการสร้างเครือข่าย
– ใช้บล็อกเพื่อสร้างกลุ่มเครือข่ายเพื่อนร่วมวิชาชีพ
โดยทั่วไปจะมาจากกลุ่มเล็กๆ และขยายขึ้นจนกลายเป็นกลุ่มใหญ่ในที่สุด

ตัวอย่าง Blog เพื่อการสร้างเครือข่าย เช่น
http://www.socialnetworkinglibrarian.com/
http://litablog.org/

4. Blog เพื่อสร้างความรู้ / เผยแพร่ความรู้
– ความรู้จะได้รับการต่อยอด เพราะเกิดจากการเปิดเผยความรู้
เมื่อมี Blog ทุกอย่างจะตามมา

ตัวอย่าง Blog เพื่อสร้างความรู้ เช่น
http://lonewolflibrarian.wordpress.com/
http://tametheweb.com

ก่อนจบคุณวงศ์ต้นได้กล่าวถึงเรื่องประโยชน์ของการใช้บล็อกว่า
จากการสร้างบล็อกเล็กๆ เพียง 1 บล็อก เมื่อมีการรวมกลุ่มและจับกลุ่มกันก็จะทำให้เกิดเครือข่าย
เมื่อมีเครือข่ายก็จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันจนกลายเป็นคลังความรู้ขนาดใหญ่
ซึ่งก็จะทำให้วิชาชีพมีคลังความรู้ และสามารถพัฒนาวงการห้องสมุดต่อไปในอนาคตได้

นับว่าเป็นประโยชน์มากเลยนะครับกับเรื่องการต่อยอดความรู้
ผมเองก็ตกใจมากเลยไม่คิดว่าเพียงแค่บล็อกเล็กๆ ก็สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ขนาดใหญ่
(ก็คงเหมือน Libraryhub ใรวันนี้ที่ต้องรอเวลาจนกลายจะมีความรู้ขนาดมหาศาลหล่ะมั้ง)

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

LibCamp#2 : เสวนาชวน Blogger มาเล่าสู่กันฟัง

วิทยากรที่ร่วมเสวนาใน session นี้ ประกอบด้วย
1. คุณอภิชัย อารยะเจริญชัย บรรณารักษ์ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข (http://janghuman.wordpress.com)
2. อาจารย์สุวรรณ สัมฤทธิ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ ห้องสมุดกรมการแพทย์ (http://stks.or.th/wg/dmslib)
3. คุณแสงเดือน ผ่องพุฒ บรรณารักษ์ ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์จดหมายเหตุ วุฒิสภา (http://senatelibrary.wordpress.com)

libcamp2-blogger-team

ซึ่งประเด็นที่ได้จากการเสวนาในช่วงนี้ คือ

คุณอภิชัย อารยะเจริญชัย
จุดประสงค์ในการเขียนบล็อกจริงๆ แล้ว มองว่า Blog เป็นเสมือนโลกส่วนตัวอีกโลกหนึ่ง
ในโลกเสมือนใบนี้เราเขียนในเรื่องที่อยากเขียน และเล่าในเรื่องที่อยากเล่าได้อย่างเต็มที่
โดยการเขียนบล็อก เราจะต้องเลือกเนื้อหาหรือเลือกประเด็นที่คนอยากรู้มากๆ มาเขียน
ซึ่งคุณอภิชัยเองก็บอกว่ามีความถนัดในการหาข้อมูลและเรียบเรียงอยู่แล้ว
เพียงแต่ในการเขียนจะต้องอาศัยแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อใช้ในการอ้างอิงด้วย

อาจารย์สุวรรณ สัมฤทธิ์ ใช้บล็อกเพื่อส่งเสริมงานห้องสมุด
นอกจากนี้ยังได้นำเสนอสไลด์ เรื่อง “ห้องสมุดกรมการแพทย์บนสังคมออนไลน์” ด้วย
ซึ่งภายในสไลด์ได้กล่าวถึงบล็อกของห้องสมุดกรมการแพทย์ว่า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ให้บริการ free fulltext thai article Journals
ส่วนที่ 2 ข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์
ส่วนที่ 3 วีดิโอจากเว็บไซต์ Youtube

นอกจากนี้อาจารย์สุวรรณ ยังได้แนะนำบล็อกของห้องสมุดกรมการแพทย์ และการประเมินผลบล็อกของตัวเองด้วย
นับว่านอกจากสาระที่ได้จากเรื่องของบล็อกแล้ว ยังทำให้ผมรู้ว่าห้องสมุดควรมีเนื้อหาที่เด่นเฉพาะด้านเหมือนกัน

เทคนิคการเขียน Blog (อาจารย์สุวรรณแนะนำมา)

– เขียนแนวที่ตนเองถนัด คือวิชาการ แนวสุขภาพ
– ยึดหลักเชื่อ กับเปลี่ยนของโอบามา, การเพิ่มคุณค่าให้เอกสาร, การเข้าถึงความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
– ใช้สื่อที่หลากหลาย เช่น youtube, ภาพ และการเล่าเรื่อง
– ให้คำ search เป็นทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

คุณแสงเดือน ผ่องพุฒ ได้เล่าเกี่ยวกับเรื่องแผนส่งเสริมกลยุทธ์การใช้ห้องสมุด ด้วยการใช้บล็อก ดังนี้
– มีการประชาสัมพันธ์ ลักษณะการเล่าให้ฟัง
– เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ผู้ใช้เข้าร่วมกิจกรรมของห้องสมุด
– เป็นที่รวบรวม และเป็นกลุ่มของเนื้อหาในห้องสมุดที่เป็นดิจิทัล
– เพื่อบริการ และให้คำปรึกษาการใช้งานห้องสมุดกับผู้ใช้

ฟังวิทยากรทั้งสามได้เล่าถึงประสบการณ์ในเรื่องของบล็อกห้องสมุดแล้ว
นอกเวทีก็มีคนเสนอความคิดเห็นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น

คุณชิตพงษ์ กิตตินราดร ในฐานะอาจารย์พิเศษ อินเทอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์ ม.ธรรมศาสตร์
ได้กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันเป็นโอกาสที่ดีมากที่ห้องสมุดจะใช้ Blog ในการเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์
เพราะหกปีก่อนที่จะมี Blog การประชาสัมพันธ์จะต้องผลิตสื่อรูปแบบต่างๆ ที่ใช้เวลา และงบประมาณสูงกว่า

คุณสมปอง บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร (http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/)
ได้เล่าว่า เริ่มต้นเขียน Blog จากการทำ KM ของหน่วยงาน โดยใช้เว็บไซต์ gotoknow
แล้วจึงทำบล็อกที่เป็นหน่วยงานของตัวเอง เขียนบล็อกเอาไว้ระบาย และเล่าเรื่องราวต่างๆ
ซึ่งในการสร้าง Blog สร้างง่ายแต่เขียนยาก หน่วยงานต้องใช้เวลาเป็นปีในการสร้างคนเพื่อเขียนบล็อก

เอาเป็นว่าทั้งในและนอกเวทีต่างแชร์ประสบการณ์ร่วมกันแบบนี้
ผมว่านี่ก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยวงการห้องสมุดของเราก็เริ่มจะมีแนวโน้มที่ดีต่อการให้บริการในอนาคตแล้ว

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

คุณรู้จักบล็อก Libraryhub ของผมได้อย่างไร

เปิดบล็อกนี้มาเกือยสี่เดือนแล้วนะครับ สมาชิกที่เข้ามาดูก็เพิ่มขึ้นมาก
วันนี้ผมก็เลยขอสำรวจเพื่อนๆ ดูหน่อยว่าเพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่านบล็อกของผม
“รู้จักบล็อกนี้ได้อย่างไร ใครแนะนำมา หรือว่าบังเอิญผ่านมาเจอ”

referer

ผมขอความร่วมมือจากทุกๆ คนด้วยนะครับ ช่วยกันตอบคำถามผมหน่อย

[poll id=”10″]

การสำรวจในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการศึกษาเรื่องการประชาสัมพันธ์บล็อกด้วยนะครับ
บางครั้งคนทำบล็อกก็อยากรู้เหมือนกันว่า คนที่เข้ามาที่บล็อกของเรา
รู้จักบล็อกของเราได้จากที่ไหนบ้าง แล้วทำไมถึงเข้ามาบล็อกของเราถูก

เอาไว้ว่างๆ วันหลัง ผมจะเขียนสูตรการเรียกคนเข้าบล็อกห้องสมุด
ให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และศึกษาไว้ใช้งานสำหรับห้องสมุดของเพื่อนๆ นะครับ

เสื้อตัวเดียวในโลกโดย projectlib

หลังจากที่มีเสื้อสวยๆ ใส่เป็นเอกลักษณ์ครั้งนึงในชีวิตมาแล้ว
ผมก้เลยต้องถ่ายรูปแล้วเอามาโพสให้เพื่อนๆ อิจฉาเล่นดู อิอิ

projectlibshirt-225x300 Read more

Libraryhub สามเดือนผ่านไปไวเหมือนโกหก

สามเดือนแล้วนะครับกับบล็อกบรรณารักษ์และห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย
(จริงๆ แล้วต้องบอกว่า Projectlib ใหญ่กว่านะ แต่ไม่อัพเดทแล้ว)

stat-libraryhub Read more

เมื่อ Libraryhub ได้ Pagerank 4/10

บล็อกหรือเว็บไซต์ของเพื่อนๆ มีค่า pagerank กันเท่าไหร่บ้างครับ
วันนี้ผมขอเล่าเรื่องค่า pagerank ที่ผมได้รับจาก google แล้วกัน

google-page-rank-libraryhub

ความหมายของ pagerank (คัดลอกมาจาก http://www.makemany.com)
ค่า pagerank คือ วิธีการจัดลำดับความสำคัญเว็บเพจทั่วโลก จาก Google โดยให้ชื่อว่า Google Page Rank การวัดค่าการจัดลำดับความสำคัญนี้ Google ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ 0 ถึง 10 ยิ่งตัวเลขสูงเท่าไหร่ ค่า Page Rank หรือ PR จะยิ่งสูงเท่านั้น และเป็นเหตุให้ได้รับการจัดลำดับที่ดีกว่าจาก Google.

สำหรับ Libraryhub เปิดไปได้ยังทันจะสามเดือนแต่ก็ได้ Pagerank มา 4/10

pr

ทำให้ผมมีกำลังใจในการเขียนบล็อกขึ้นอย่างมาก (แต่กำลังใจของเพื่อนๆ มีค่ามากกว่านะ)
ค่า pagerank จะทำให้ Google เข้ามาจัดทำ Index ของบล็อกผมเพิ่มขึ้น
และยังช่วยให้คำสำคัญในบล็อกของผมค้นได้เจอเยอะขึ้น ตำแหน่งก็ดีขึ้น

ที่สำคัญก็คือ “เพื่อนๆ จะเจอผมใน Google มากขึ้นและง่ายขึ้น”
ช่วยให้ผมมีสมาชิกใหม่ๆ และร่วมกันสร้างเครือข่ายมากด้วย

เพื่อนๆ สามารถเช็คค่า pagerank ได้ที่
http://www.prchecker.info/check_page_rank.php

สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่า pagerank คืออะไร ลองอ่านได้จากเว็บไซต์ด้านล่างนี้นะครับ

Pagerank คืออะไร (เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ)
http://en.wikipedia.org/wiki/PageRank
http://www.webworkshop.net/pagerank.html

Pagerank คืออะไร (เวอร์ชั่นภาษาไทย)
http://truehits.net/faq/webmaster/seo/page_rank.php
http://seo.siamsupport.com/blog/pagerank/

ก่อนจากกันวันนี้ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ที่เขียนบล็อกทุกคนนะครับ
ขอให้ได้ pagerank เพิ่มขึ้นกันทั่วหน้าเลยนะครับ

สถิติ ความคืบหน้าของ Libraryhub

Libraryhub เปิดให้บริการมาเกือยสองเดือนแล้วนะครับ
วันนี้ผมจะมารายงานความคืบหน้าและสถิติของบล็อกให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน

libraryhubstat

สถิติที่น่าสนใจของบล็อก Libraryhub
– Visitors
May 2009 = 1430
June 2009 = 5425

– Pageviews
May 2009 = 26783
June 2009 = 68813


– Spiders

May 2009 = 3133
June 2009 = 9675


– Feeds

May 2009 = 249
June 2009 = 488

จะสังเกตุเห็นว่าสถิติของเดือนที่แล้ว และเดือนนี้ต่างกันมากเลยนะครับ
เดือนนี้มีสถิติที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 100-200% เลย
นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีมากๆ เลย กำลังใจของผมก็ยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ นะครับ

เมื่อกี้เป็นสถิติที่เกี่ยวกับผู้อ่าน และผู้ที่เข้ามาในบล็อก Libraryhub นะครับ
ในส่วนต่อไปผมจะขอนำสถิติที่เกิดจากการเขียนบล็อกของผมมากให้เพื่อนๆ ได้ดูบ้าง

จำนวนเรื่องที่ผมเขียน

May 2009 = 50 เรื่อง
June 2009 = 41 เรื่อง


เรื่องที่มีคนเข้ามาอ่านเยอะที่สุด 5 อันดับ

1. Commart X?Gen 2009 ใกล้มาถึงแล้ว
2. รับสมัครบรรณารักษ์ หอสมุด มธ.
3. ลองใช้สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่
4. รับสมัครบรรณารักษ์ มศว องครักษ์
5. บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

สถิติอีกอย่างที่ผมอยากให้เพื่อนๆ ได้เห็นคือ
ค่า PageRank ของ Google ซึ่งตอนนี้ Libraryhub ได้ 4/10 แล้ว
ส่วนอันดับของ Libraryhub ใน Alexa คือ 2,159,199 ครับ

การเติบโตของ Libraryhub ในช่วงสองเดือนแรกนับว่าโตขึ้นแบบเกินความคาดหมายของผมเลยนะครับ
ก็ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่คอยเป็นกำลังใจให้ผม และติดตามบล็อกของผมมาโดยตลอดนะครับ

1 เดือนกับ 50 เรื่องใน Libraryhub

ผ่านไปหนึ่งเดือนแล้วนะครับสำหรับบล็อกใหม่ของผม Libraryhub
(บล็อกนี้เปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม 2552)

1month

ตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ผมเขียนบล็อกแบบไม่มีวันหยุดอีกแล้วครับท่าน
อุดมการณ์เดิมเริ่มดำเนินการต่อ นั่นคือ My Library in 365 days…

บทสรุปของเดือนที่แล้ว (เดือนพฤษภาคม 2552)
มเขียนบล็อกได้ครบ 31 วัน และจำนวนเรื่องที่เขียน 50 เรื่อง

เรื่องที่นำมาเขียนบางเรื่องเพื่อนๆ อาจจะคุ้นๆ
สาเหตุมาจากผมได้นำเอาเรื่องบางส่วนของ projectlib มา rewrite ใหม่นั่นเอง
เพื่อให้ภาษาน่าอ่านมากขึ้น รวมถึงอัพเดทข้อมูลของเรื่องมากขึ้นด้วย
เอาเป็นว่ารับรองว่าไม่ได้ copy ของเก่ามาแบบเต็มๆ ก็แล้วกัน

การเขียนบล็อกในเดือนที่ผ่านมาทำให้ผมว่าเป้าหมายของการเขียนบล็อกว่า
ถ้า 1 เดือน ผมสามารถเขียนได้ 50 เรื่องแบบนี้
แสดงว่า 1 ปี ผมจะมีเรื่องในบล็อกนี้ 600 เรื่องเลยก็ว่าได้

แค่คิดนี้ก็แบบว่าน่าตื่นเต้นมากๆ ที่จะรอดูในวันครบรอบหนึ่งปีแล้ว
อุดมการณ์นี้จะน่าท้าทายมากๆ เลยเพื่อนๆ ว่ามั้ย???
เอาเป็นว่าทำได้หรือไม่ได้ ก็คงต้องรอดูกันไปนะครับ

สำหรับเดือนนี้ผมก็ดีใจมาก ที่ได้กลับมาทักทายและเขียนบล็อกให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันอีก
หวังว่าเพื่อนๆ จะตามอ่านเรื่องของผมต่อไปนะครับ

โครงการหนึ่งห้องสมุดหนึ่งบล็อก

วันนี้ขอนำเสนอข้อมูลจากการทำแบบสอบถาม เรื่อง “โครงการหนึ่งห้องสมุดหนึ่งบล็อก”
โครงการนี้เดิมทีผมได้วางแผนตอนทำ Projectlib.wordpress.com

olop-project

ข้อมูลที่จะนำเสนอวันนี้ หากเพื่อนๆ ยังเห็นว่าไม่เหมาะสมในส่วนใด
สามารถแสดงความคิดเห็นได้ต่อนะครับ
เพราะว่าผมอยากให้เพื่อนๆ ทุกคนมีส่วนร่วมในโครงการครั้งนี้ด้วย

ข้อมูลเดิมจากบล็อก Projectlib

โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก คือ ?
การผลักดันให้ห้องสมุดทุกแห่งในประเทศไทยมีบล็อก (Blog) เป็นของตัวเอง
รู้จักการใช้บล็อกในการประชาสัมพันธ์งานต่างๆ รวมถึงเรื่องราวต่างๆ ในห้องสมุด
และเป็นการสร้างเครือข่ายชมรมบล็อกเกอร์ห้องสมุดในประเทศไทย (Blogger Library Network)

โดยภายใต้โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก จะมีแผนงาน คือ
1. จัดอบรมการสร้างบล็อก การเขียนเรื่องในบล็อก และการโปรโมทเรื่องในบล็อก
2. จัดตั้งกลุ่ม และเครือข่ายผู้เขียนบล็อกห้องสมุดในประเทศไทย
3. ?(เสนอมาได้คร้าบ)

งบประมาณฟรี มีดังนี้
– วิทยากร คือ ผมเอง (ไม่รับค่าตอบแทนใดๆ)
– สถานที่ จะขอเป็นความร่วมมือกับห้องสมุดที่ใจดีต่างๆ
– บล็อกฟรี (มีให้เลือกเยอะแยะเลยครับ)

วันเวลา และสถานที่ในการจัดการอบรม
– ในช่วงวันเสาร์ หรือ อาทิตย์ 1 วันเต็มๆ
– จัดครั้งแรกในช่วงเดือนพฤศจิกายน

จำนวนการรับสมัครครั้งแรก 20 ? 30 คน
(ไม่คาดหวังมากครับ เพราะว่าหลายคนคงไม่สนใจ อิอิ)

เนื้อหาในการอบรม
– การสมัครบล็อกเพื่อใช้งานฟรี
– การเขียนบล็อกไม่ให้น่าเบื่อ
– การโปรโมทห้องสมุด และบล็อกสู่สาธารณชน
– การสร้างเครือข่ายผู้ใช้งาน และผู้เขียนบล็อกห้องสมุด

(นอกนั้นช่วยคิดกันหน่อยนะ ว่าอยากฟังเรื่องไรอีก จาได้ทำการบ้านถูก)

เอาเป็นว่าเกริ่นแค่นี้ก่อนดีกว่า

ดังนั้นจากข้อมูลที่ได้กล่าวมาผมอยากทราบความคิดเห็นดังนี้
1. โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก ควรมีอะไรเพิ่มอีก?
2. เรื่องวันควรจะเป็นวันธรรมดา เสาร์ หรือ อาทิตย์ดี
3. จำนวนที่รับสมัครน้อยไป หรือมากไป ช่วยกะให้หน่อย
4. เนื้อหาในการอบรมอยากรู้อะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับบล็อก

คำถามทั้ง 4 ข้อ เพื่อนๆ จะตอบให้ครบ 4 ข้อก็ได้
หรือเลือกตอบในประเด็นที่อยากเสนอก็ได้ รับฟังหมดครับ

ปล. ใครจะใจดีเรื่องสถานที่ หรือ ต้องการสนับสนุนงานในส่วนอื่นๆ บอกได้นะครับ อิอิ

ข้อเสนอจากเพื่อนๆ

คุณปุ๊ เสนอว่า
“ควรจัดงานในวันธรรมดา และมีการทำหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการ เพื่อให้หัวหน้าอนุมัติในการเข้าร่วมโครงการ”

คุณจันทรา เสนอว่า
“ควรจัดในวันหยุดเพื่อไม่ให้รบกวนเวลางาน และเสนอเนื้อหาในการอบรมว่าอยากเพิ่มเรื่อง user Interface ด้วย”

คุณสุวรรณ เสนอว่า
“ควรจัดเป็นรุ่นๆ โดยจำนวนคนควรจะได้สัก 20 คนต่อรุ่น เนื่องจากเป็นการอบรมที่ต้องใช้เครื่องมือเพื่อการอบรม”

คุณจิมมี่ เสนอว่า
“ควรจัดในส่วนภูมิภาคด้วยเนื่องจากมีโอกาสที่เรียนรู้เรื่องนี้น้อยกว่าคนในเมือง”