ทำไมผมถึงเขียนบล็อกเกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

เรื่องเก่าเล่าใหม่วันนี้เป็นเรื่องที่มาและที่ไปของการกำเนิดบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์แห่งนี้
ผมเขียนบล็อกเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนอยู่ที่ projectlib.wordpress.com เรื่อยมาจนถึง projectlib.in.th และ libraryhub.in.th

10-reason-i-write-blog-library

เหตุผลที่ผมเขียนไม่ได้มาจากการที่ถูกองค์กรบังคับแต่อย่างใด
เพราะจริงๆ แล้ว Projectlib และ Libraryhub ก็ไม่ได้มีสังกัดเหมือนกับบล็อกห้องสมุดที่อื่นๆ

คำถามที่ผมเจอมาบ่อย คือ ?ทำไมถึงเขียนบล็อกห้องสมุด ในเมื่อมีเรื่องที่น่าเขียนอย่างอื่นเยอะกว่า?

นั่นสิเนอะ “ทำไม” เอาเป็นว่าไปดูเหตุผลของผมเลยดีกว่า

1. อยากเห็นวงการบรรณารักษ์ และห้องสมุดในประเทศไทยพัฒนาและปรับปรุงตนเองมากกว่านี้

2. ห้องสมุดถือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของคนในสังคม ไม่ว่าจะยากดีมีจน ห้องสมุดในชุมชนก็บริการฟรีนะครับ

3. อยากให้เพื่อนๆ รู้จักการนำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพของตัวเอง ซึ่งในบางครั้งเราอาจจะคาดไม่ถึงกับเรื่องบางเรื่อง เช่น การนำ MSN มาใช้ในงานตอบคำถามออนไลน์ ฯลฯ

4. การอ่านมากๆ ทำให้สมองของเราแข็งแรง พัฒนาความรู้ และต่อยอดได้เยอะขึ้น

5. ลบภาพบรรณารักษ์ยุคเก่า และสร้างภาพบรรณารักษ์ยุคใหม่ (จำไว้นะครับบรรณารักษ์ไม่ได้มีแต่ผู้หญิง อิอิ)

6. งานด้านบรรณารักษ์ และห้องสมุดสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ด้วย

7. อยากบอกว่าข่าววงการบรรณารักษ์ทั่วโลกมีมากมาย แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครนำเสนอเลย

8. งานห้องสมุดมีมากกว่าแค่นั่งเฝ้าหนังสือก็แล้วกัน

9. ห้องสมุดก็มีเรื่องสนุกๆ มากมาย ไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายๆ คนคิดนะครับ

10. สำคัญที่สุดแล้วคือ ผมรักวิชาชีพนี้มาก และเป็นความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก(ขอบอกว่าเกิดมาเพื่อบรรณารักษ์จะมีใครว่าหรือปล่าว)

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเหตุผลดังกล่าว ชัดเจนกันมากขึ้นมั้ยครับ
คำตำหนิ หรือฉายาที่ตั้งให้ผมเรื่อง ?บรรณารักษ์แหกคอก? ผมก็ขอรับไว้ด้วยใจครับ
ไม่ว่าจะถูกด่าว่า ?โง่หรือปล่าวที่เขียนบล็อกแล้วไม่ได้อะไรตอบแทน? หรือ ?เขียนไปแล้วจะมีใครมาอ่านกัน?

เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ยังคงอยู่กับเพื่อนๆ ร่วมวงการไปแบบนี้แหละครับ
ยังไงก็ขอให้ช่วยกันติดตามบล็อกนี้กันต่อไปด้วยนะครับ

ปล. ช่วงนี้อัพเดทบล็อกไม่บ่อยต้องขออภัยด้วยนะครับ เนื่องจากภาระงานประจำเยอะไปหน่อย

รวมลิงค์ที่ผมชอบเข้าไปอ่านข่าวบรรณารักษ์

มีหลายคนส่งเมล์มาถามเกี่ยวกับเรื่องข่าวบรรณารักษ์และวงการห้องสมุดจากทั่วโลก ว่า
ผมเข้าไปอ่านจากที่ไหนบ้างเพราะเห็นว่าผมอัพเรื่องราวได้เยอะแยะเลย จึงอยากตามอ่านบ้าง

topsitelib

ตัวอย่างเมล์นึงที่ส่งมาให้ผม ดังนี้
“มีเรื่องจะรบกวนนะคะ ทราบมาว่าคุณวายจะอ่านเรื่องของห้องสมุดจากต่างประเทศ อยากจะขอ link ด้วยคนได้ไหมคะ เผื่อว่าจะอ่านบ้างค่ะ”

เอาเป็นว่าเพื่อไม่ให้ขัดศรัทธา…
ผมจึงขอแนะนำเว็บไซต์ที่ผมเข้าไปอ่านประจำและรู้สึกว่าอัพเดทได้เรื่อยๆ นะครับ

เว็บไซต์ที่ผมเข้าไปอ่านประจำ 5 เว็บไซต์ มีดังนี้

1. Librarian 1.5
http://lib1point5.wordpress.com/

2. ALA TechSource (American Library Association)
http://www.techsource.ala.org/blog/

3. Tame the web
http://tametheweb.com/

4. Librarian in black
http://librarianinblack.net/librarianinblack/

5. Librarian by day
http://librarianbyday.net/

เอาเป็นว่าผมเลือกมาให้แล้ว 5 เว็บไซต์แต่หากเพื่อนๆ ยังอยากอ่านเพิ่มอีก
ก็ลองดูทางด้านขวามือกรอบล่างๆ นะครับ เพื่อนๆ จะเห็น “Library Blog
นั่นแหละครับ เข้าไปเลือกดูได้เลย ทุกเว็บมีประโยชน์ทั้งนั้นครับ
ทำให้อัพเดทข่าวสารวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดจากทั่วโลกทันกระแสแน่นอน

สำหรับวันนี้ผมไปก่อนนะครับ ใครมีเว็บไซต์ดีๆ ก็เอามาแบ่งปันกันได้นะครับ

Top 25 บล็อกบรรณารักษ์จาก onlinedegrees.org

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาวบรรณารักษ์และห้องสมุดทุกท่าน
ผมขอแนะนำสุดยอดบล็อกบรรณารักษ์ 25 แห่งที่ได้รับความนิยมโดยการรายงานของ onlinedegrees.org

top-librarian-blog

onlinedegrees.org เป็นเว็บไซต์ทางการศึกษาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่ง
ซึ่งเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์ได้ประกาศ Top 25 Librarian Blogs
ซึ่งแต่ละบล็อกนี่มีรางวัลการันตีพอสมควร และที่สำคัญเป็นบล็อกในวงการบรรณารักษ์ด้วย

จากการสแกนดูคร่าวๆ ก็มีหลายเว็บที่ผมอ่านประจำด้วยหล่ะครับ
เอาเป็นว่า 25 บล็อกที่สุดยอดในวงการบรรณารักษ์มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

1. Never Ending Search – http://www.schoollibraryjournal.com/
2. Bright Ideas – http://slav.globalteacher.org.au/
3. Connie Crosby – http://conniecrosby.blogspot.com/
4. The Daring Librarian – http://www.thedaringlibrarian.com/
5. The Dewey Blog – http://ddc.typepad.com/
6. Annoyed Librarian – http://annoyedlibrarian.blogspot.com/
7. No Shelf Required – http://www.libraries.wright.edu/noshelfrequired/
8. Social Networking in Libraries – http://socialnetworkinglibrarian.com/
9. Peter Scott?s Library Blog – http://xrefer.blogspot.com/
10. Resource Shelf – http://www.resourceshelf.com/
11. What I Learned Today – http://www.web2learning.net/
12. The Travelin? Librarian – http://travelinlibrarian.info/
13. The Law Librarian Blog – http://lawprofessors.typepad.com/law_librarian_blog/
14. The Association for Library Service to Children Blog – http://www.alsc.ala.org/blog/
15. Library Link of the Day – http://www.tk421.net/librarylink/
16. Library Garden – http://librarygarden.net/
17. In the Library with the Leadpipe – http://www.inthelibrarywiththeleadpipe.org/
18. A Librarian?s Guide to Etiquette – http://libetiquette.blogspot.com/
19. Tame the Web – http://tametheweb.com/
20. Librarian By Day – http://librarianbyday.net/
21. TeleRead: Bring the E-Books Home – http://www.teleread.com/
22. The Blah, Blah, Blah Blog – http://neflin.blogspot.com/
23. Closed Stacks – http://closedstacks.wordpress.com/
24. Handheld Librarian – http://handheldlib.blogspot.com/
25. David Lee King – http://www.davidleeking.com/

สำหรับบล็อกบรรณารักษ์ที่ผมเข้าประจำเลยก็มี หมายเลขที่ 5, 6, 9 ,10, 12, 19 ,20, 24, 25 ครับ
เอาเป็นว่าพอเห็นแบบนี้แล้ว ผมคงต้องเข้าไปเยี่ยมชมทุกบล็อกแล้วหล่ะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็อย่าลืมแวะเข้าไปดูกันบ้างนะครับ
และที่สำคัญห้ามลืมเข้า Libraryhub เด็ดขาด (โปรโมทตัวเองบ้าง)

OMG : บล็อกบรรณารักษ์ของผมโดนลอกหรือนี่

อ่านข่าววงการบรรณารักษ์ไปเรื่อยๆ แล้วบังเอิญเจอบทความของตัวเองในบล็อกของคนอื่น
แถมอ่านไปอ่านมาก็ไม่พบข้อความอ้างอิงเลยสักนิด แบบว่าแอบเซ็งนิดนึงนะครับ

libraryhub-copy

เรื่องของเรื่องจริงๆ แล้วก็ไม่อยากจะบ่นหรอกครับ
แต่เหตุการณ์เรื่องลอกบทความแล้วไม่อ้างอิงมันเกิดขึ้นบ่อยมากๆ
แล้วที่สำคัญเป็นบล็อกของวงการห้องสมุดด้วยกันเนี้ยสิ —> ทำกันได้ลง (เสียความรู้สึกมาก)

ผมลองเข้าไปดูบล็อกห้องสมุดแห่งนี้อย่างจริงจังปรากฎว่า
1. ไม่ได้ลอกแค่บทความเดียว (มีหลายบทความ)
2. เอาเนื้อความในบล็อกของผมมาเปลี่ยนจาก “ครับ” เป็น “คะ”
3. เอารูปที่อยู่ในบล็อกของผมมาลงด้วย
4. ไม่พบข้อความที่บอกว่ามาจากบล็อกของผม

เอาเป็นว่าแค่นี้ผมก็เสียความรู้สึกมากมายแล้วครับ

ไม่ได้งกบทความตัวเองหรอกนะครับ
ไม่ได้อยากดังหรือทวงสิทธิอะไรมากมายหรอก
ไม่ได้อยากต้องการคำขอโทษอะไรเลย

แค่ขอให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าวก็เท่านั้นเอง

cc-by-nc-sa_340x340

ในบล็อกห้องสมุดแห่งนี้มีการใช้อนุสัญญา creative common ด้วย
แต่ผมไม่แน่ใจว่าเขาจะเข้าใจเรื่องนี้จริงหรือปล่าว หรือแค่ติดเพื่อตามกระแสก็ไม่รู้
เอาเป็นว่าอยากให้ลองศึกษาเรื่องสัญลักษณ์ใน Creative common ให้ดี โดยเฉพาะ “BY” นะครับ

เอาเป็นว่าผมคงไม่เจอเรื่องราวเช่นนี้อีกนะครับ ขอบคุณมากมาย

ปล. ผมไม่บอกนะครับว่าห้องสมุดไหน เอาเป็นว่าถ้ายังมีเหตุการณ์เช่นนี้อีกผมจะเอามาลงอีกแน่ๆ

LibCamp#2 : แอบดูบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ

ผู้บรรยายคนต่อมา คือ คุณวงศ์ต้น เบ็ญจพงษ์ บรรณารักษ์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ซึ่งมาพูดเรื่อง อัปเดทสถานการณ์บล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ

inter-library-blog

ซึ่งเริ่มจากการเกริ่นเกี่ยวกับเรื่องของบล็อกมากมาย เช่น

บล็อกไม่ได้ไร้สาระเหมือนที่หลายๆ คนกำลังคิด….
บล็อกก็ไม่ใช่ของคนรุ่นใหม่อย่างเดียว
มีบล็อกได้ง่ายๆ ฟรี… ไม่ต้องเสียเงิน
ไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม ก็มีบล็อกได้

จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่เรื่องราวว่าบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศมี 4 ลักษณะที่น่าสนใจ คือ

1. Blog เพื่อองค์กร
– ใช้บล็อกเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ทัศนคติของคนในองค์กร
และทำให้คนใช้ห้องสมุด มีทัศนคติกับห้องสมุดดีขึ้น โดยเฉพาะเยาวชนที่จะมีแนวโน้มเข้าห้องสมุดน้อยลง

ตัวอย่าง Blog เพื่อองค์กร เช่น
http://www.loc.gov/blog/
http://www.worldcat.org/blogs/
http://www.nypl.org/blog

2. Blog เพื่อข่าวสาร
– ใช้บล็อกเพื่ออับเดทสถานการณ์ และข่าวสารต่างๆ ในวงการห้องสมุด

ตัวอย่าง Blog เพื่อข่าวสาร เช่น
http://lisnews.org/
http://liswire.com

3. Blog เพื่อการสร้างเครือข่าย
– ใช้บล็อกเพื่อสร้างกลุ่มเครือข่ายเพื่อนร่วมวิชาชีพ
โดยทั่วไปจะมาจากกลุ่มเล็กๆ และขยายขึ้นจนกลายเป็นกลุ่มใหญ่ในที่สุด

ตัวอย่าง Blog เพื่อการสร้างเครือข่าย เช่น
http://www.socialnetworkinglibrarian.com/
http://litablog.org/

4. Blog เพื่อสร้างความรู้ / เผยแพร่ความรู้
– ความรู้จะได้รับการต่อยอด เพราะเกิดจากการเปิดเผยความรู้
เมื่อมี Blog ทุกอย่างจะตามมา

ตัวอย่าง Blog เพื่อสร้างความรู้ เช่น
http://lonewolflibrarian.wordpress.com/
http://tametheweb.com

ก่อนจบคุณวงศ์ต้นได้กล่าวถึงเรื่องประโยชน์ของการใช้บล็อกว่า
จากการสร้างบล็อกเล็กๆ เพียง 1 บล็อก เมื่อมีการรวมกลุ่มและจับกลุ่มกันก็จะทำให้เกิดเครือข่าย
เมื่อมีเครือข่ายก็จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันจนกลายเป็นคลังความรู้ขนาดใหญ่
ซึ่งก็จะทำให้วิชาชีพมีคลังความรู้ และสามารถพัฒนาวงการห้องสมุดต่อไปในอนาคตได้

นับว่าเป็นประโยชน์มากเลยนะครับกับเรื่องการต่อยอดความรู้
ผมเองก็ตกใจมากเลยไม่คิดว่าเพียงแค่บล็อกเล็กๆ ก็สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ขนาดใหญ่
(ก็คงเหมือน Libraryhub ใรวันนี้ที่ต้องรอเวลาจนกลายจะมีความรู้ขนาดมหาศาลหล่ะมั้ง)

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

LibCamp#2 : เสวนาชวน Blogger มาเล่าสู่กันฟัง

วิทยากรที่ร่วมเสวนาใน session นี้ ประกอบด้วย
1. คุณอภิชัย อารยะเจริญชัย บรรณารักษ์ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข (http://janghuman.wordpress.com)
2. อาจารย์สุวรรณ สัมฤทธิ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ ห้องสมุดกรมการแพทย์ (http://stks.or.th/wg/dmslib)
3. คุณแสงเดือน ผ่องพุฒ บรรณารักษ์ ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์จดหมายเหตุ วุฒิสภา (http://senatelibrary.wordpress.com)

libcamp2-blogger-team

ซึ่งประเด็นที่ได้จากการเสวนาในช่วงนี้ คือ

คุณอภิชัย อารยะเจริญชัย
จุดประสงค์ในการเขียนบล็อกจริงๆ แล้ว มองว่า Blog เป็นเสมือนโลกส่วนตัวอีกโลกหนึ่ง
ในโลกเสมือนใบนี้เราเขียนในเรื่องที่อยากเขียน และเล่าในเรื่องที่อยากเล่าได้อย่างเต็มที่
โดยการเขียนบล็อก เราจะต้องเลือกเนื้อหาหรือเลือกประเด็นที่คนอยากรู้มากๆ มาเขียน
ซึ่งคุณอภิชัยเองก็บอกว่ามีความถนัดในการหาข้อมูลและเรียบเรียงอยู่แล้ว
เพียงแต่ในการเขียนจะต้องอาศัยแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อใช้ในการอ้างอิงด้วย

อาจารย์สุวรรณ สัมฤทธิ์ ใช้บล็อกเพื่อส่งเสริมงานห้องสมุด
นอกจากนี้ยังได้นำเสนอสไลด์ เรื่อง “ห้องสมุดกรมการแพทย์บนสังคมออนไลน์” ด้วย
ซึ่งภายในสไลด์ได้กล่าวถึงบล็อกของห้องสมุดกรมการแพทย์ว่า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ให้บริการ free fulltext thai article Journals
ส่วนที่ 2 ข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์
ส่วนที่ 3 วีดิโอจากเว็บไซต์ Youtube

นอกจากนี้อาจารย์สุวรรณ ยังได้แนะนำบล็อกของห้องสมุดกรมการแพทย์ และการประเมินผลบล็อกของตัวเองด้วย
นับว่านอกจากสาระที่ได้จากเรื่องของบล็อกแล้ว ยังทำให้ผมรู้ว่าห้องสมุดควรมีเนื้อหาที่เด่นเฉพาะด้านเหมือนกัน

เทคนิคการเขียน Blog (อาจารย์สุวรรณแนะนำมา)

– เขียนแนวที่ตนเองถนัด คือวิชาการ แนวสุขภาพ
– ยึดหลักเชื่อ กับเปลี่ยนของโอบามา, การเพิ่มคุณค่าให้เอกสาร, การเข้าถึงความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
– ใช้สื่อที่หลากหลาย เช่น youtube, ภาพ และการเล่าเรื่อง
– ให้คำ search เป็นทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

คุณแสงเดือน ผ่องพุฒ ได้เล่าเกี่ยวกับเรื่องแผนส่งเสริมกลยุทธ์การใช้ห้องสมุด ด้วยการใช้บล็อก ดังนี้
– มีการประชาสัมพันธ์ ลักษณะการเล่าให้ฟัง
– เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ผู้ใช้เข้าร่วมกิจกรรมของห้องสมุด
– เป็นที่รวบรวม และเป็นกลุ่มของเนื้อหาในห้องสมุดที่เป็นดิจิทัล
– เพื่อบริการ และให้คำปรึกษาการใช้งานห้องสมุดกับผู้ใช้

ฟังวิทยากรทั้งสามได้เล่าถึงประสบการณ์ในเรื่องของบล็อกห้องสมุดแล้ว
นอกเวทีก็มีคนเสนอความคิดเห็นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น

คุณชิตพงษ์ กิตตินราดร ในฐานะอาจารย์พิเศษ อินเทอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์ ม.ธรรมศาสตร์
ได้กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันเป็นโอกาสที่ดีมากที่ห้องสมุดจะใช้ Blog ในการเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์
เพราะหกปีก่อนที่จะมี Blog การประชาสัมพันธ์จะต้องผลิตสื่อรูปแบบต่างๆ ที่ใช้เวลา และงบประมาณสูงกว่า

คุณสมปอง บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร (http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/)
ได้เล่าว่า เริ่มต้นเขียน Blog จากการทำ KM ของหน่วยงาน โดยใช้เว็บไซต์ gotoknow
แล้วจึงทำบล็อกที่เป็นหน่วยงานของตัวเอง เขียนบล็อกเอาไว้ระบาย และเล่าเรื่องราวต่างๆ
ซึ่งในการสร้าง Blog สร้างง่ายแต่เขียนยาก หน่วยงานต้องใช้เวลาเป็นปีในการสร้างคนเพื่อเขียนบล็อก

เอาเป็นว่าทั้งในและนอกเวทีต่างแชร์ประสบการณ์ร่วมกันแบบนี้
ผมว่านี่ก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยวงการห้องสมุดของเราก็เริ่มจะมีแนวโน้มที่ดีต่อการให้บริการในอนาคตแล้ว

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ