Session สุดท้ายของวันนี้ การบรรยาย หัวข้อ “อนาคตของสื่อการเรียนรู้”
โดยนายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ และ นางสาววิมล จรุงจรส
ดำเนินรายการโดย ดร. ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล
ร้านหนังสือ
SE-ED รับสมัครบรรณารักษ์ 2 ตำแหน่งนะครับ
วันนี้มีข่าวฝากมาประชาสัมพันธ์เรื่องรับสมัครบรรณารักษ์อีกแล้ว เจ้าเก่าที่ผมลงให้ประจำเลย อิอิ นั่นคือ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด หรือที่เรารู้จักในนามร้านหนังสือซีเอ็ด นั่นเอง แต่งานที่ลงนี้ไม่ได้ทำที่ร้านหนังสือนะ แต่เป็นที่สาขาใหญ่ต่างหาก
ายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
จำนวน : 2 ตำแหน่ง
เงินเดือน : ตามโครงสร้างบริษัท และประสบการณ์
ตำแหน่งงานที่รับนี้ทำหน้าที่อะไรบ้าง
สร้างฐานข้อมูลสินค้า ดูแลมาตรฐานที่ถูกต้องของข้อมูลสินค้าต่างๆ ที่อยู่ในระบบฐานของมูลของซีเอ็ดทั้งหมด
หากเพื่อนๆ สนใจดูคุณสมบัติกันก่อน
• เพศชายและเพศหญิง
• ปริญญาตรี สาขาบรรณารักษ์ศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์, หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
• อายุไม่เกิน 30 ปี
• สามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office และ Internet ได้เป็นอย่างดี
• มีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
• ละเอียด รอบคอบ มีไหวพริบในการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า
• มนุษยสัมพันธ์ดี มีความคิดสร้างสรรค์ กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
• ประสบการณ์ 1 ปี ขึ้นไป
สถานที่ทำงานขอย้ำอีกครั้งว่าที่
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
อาคาร TCIF (เนชั่นทาวเวอร์ เดิม) ชั้น 23
เลขที่ 1858/87-90 ถ.บางนา-ตราด (กม. 4.5)
บางนา กรุงเทพฯ 10260 เบอร์โทรศัพท์ 0-2739-8000
เพื่อนๆ ที่สนใจก็ง่ายๆ ครับ
ส่งประวัติส่วนตัวได้ที่ Email Piyakorn@SE-ED.Com Tel 02-7398937 / 02-7398602
เอาเป็นว่าขอให้ได้งานตามที่หวังกันนะครับ
Asia Books รับสมัครเจ้าหน้าที่แนะนำหนังสือจำนวนมาก
Asia Books รับสมัครงาน “เจ้าหน้าที่แนะนำหนังสือ” แบบ Walk in Interview จำนวนมาก ในวันที่ 14-15 ตุลาคม และวันที่ 21-22 ตุลาคม ที่สำนักงานใหญ่ (อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 7 ถนนพระราม 9 (MRT-พระราม 9))
รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับตำแหน่งงานนี้
ชื่อตำแหน่งงานภาษาไทย : เจ้าหน้าที่แนะนำหนังสือ
ชื่อตำแหน่งงานภาษาอังกฤษ : Product Advisor
วันที่รับสมัคร : 14-15 ตุลาคม 2554 และวันที่ 21-22 ตุลาคม 2554
สถานที่รับสมัคร : สำนักงานใหญ่ (อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 7 ถนนพระราม 9 (MRT-พระราม 9)
เงินเดือน : 9,500 ถึง 12,000 บาท
สินค้าในร้าน Asia books มีอะไรบ้าง
หนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาอื่นๆ บ้าง สินค้า Electronic เช่น Notebook, e-reader/Tablet, โทรศัพท์มือถือ e-Dictionary และสินค้าของที่ระลึก/ของขวัญ และอื่นๆ เช่น ปากกา แว่นตา ที่คั่นหนังสือ
รายละเอียดของงานในตำแหน่งนี้
– ขายและแนะนำสินค้าต่างๆ ให้แก่ลูกค้า
– จัดวางสินค้าให้น่าสนใจ
– รับชำระเงิน
– ออกรายงานการขาย
– รับ/ส่ง/ตรวจนับสินค้า
– ดูแลความเรียบภายในร้าน
ตำแหน่งนี้เหมาะสำหรับหนอนหนังสือหรือคนที่รักการอ่านหนังสือนะครับ เพราะหลักๆ เนื้องานของตำแหน่งนี้ คือ การแนะนำหนังสือให้กับผู้ใช้บริการเป็นหลัก (คล้ายๆ งานบริการในห้องสมุด แต่ต่างกันที่งานนี้ต้องแนะนำให้ผู้ใช้ซื้อหนังสือ)
อ่านจนมาถึงขั้นนี้แล้ว ผมขอแนะนำว่าผู้ที่สนใจจะสมัครในตำแหน่งนี้ ควรจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
– คนรุ่นใหม่สนใจ ebooks & ebiz
– รักการอ่านเป็นชีวิตจิตใจ อยากพัฒนาภาษาอังกฤษ
– สดใส ยิ้มเก่ง
– ทำงานเป็นกะ วันหยุด เสาร์-อาทิตย์ได้
– ปวส. ขึ้นไป
– มีค่าภาษา และค่าประสบการณ์
เป็นยังไงบ้างครับ สนใจกันบ้างหรือปล่าว ถ้าสนใจก็ไปได้ที่สำนักงานใหญ่ในวันที่กล่าวไว้ข้างต้นนะครับ งานสัมภาษณ์แบบ walk in แบบนี้ รู้ผลได้วันเดียวเลยนะครับ
หากอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ แผนกสรรหาว่าจ้าง ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
เลขที่ 65/66, 65/70 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ บิสเนสเซ็นเตอร์ ชั้น 7 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ
โทรศัพท์ : 02-715-9000 ต่อ 7111 หรืออีเมล์ : hrm@asiabooks.com
ร้านหนังสือมีสไตล์ ณ หัวหิน Rhythm & Books
ไม่ได้พาเพื่อนๆ ไปเที่ยวนานแล้ว วันนี้เลยขอพาเที่ยวแบบชิวๆ ให้เพื่อนๆ ได้ติดตามแล้วกัน
วันนี้ผมขอพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวมี่หัวหินนะครับ (ไม่ใกล้ไม่ไกลกรุงเทพฯ ด้วย)
(จริงๆ แล้วที่ไปหัวหิน จุดประสงค์หลักคือถ่ายภาพสำหรับงานแต่งงานของผม (prewedding))
สายๆ ของวันอาทิตย์ก่อนกลับ กรุงเทพฯ ผมก็ออกมาหาของกินรองท้องสักหน่อย
ซึ่งก็เลยขับรถมาหาของกินบริเวณถนนแนบเคหาสน์ และก็จอดรถลงมากินก๋วยเตี๋ยวเนื้อที่แสนอร่อย
ในระหว่างที่กำลังกินอยู่ตาก็ชำเลืองไปเห็นร้านอยู่ร้านหนึ่งชื่อ “Rhythm & Books”
ก็รู้สึกได้ถึงกลิ่นไอความเป็นร้านหนังสือ (ตามสไตล์ของคนที่ชอบหนังสือ)
ดังนั้นเมื่อกินข้าวเสร็จ ผมก็ไม่รอช้าที่จะต้องแวะเข้าไปชมสักหน่อย
แต่ก่อนจะเข้าไปในร้านก็ขอหาข้อมูลนิดนึงจากอินเทอร์เน็ต
ในที่สุดก็พบว่า “ร้านหนังสือร้านนี้เป็นของนักเขียนชื่อดังคนนึงนั่นเอง”
เจ้าของร้านหนังสือร้านนี้ คือ พี่บาฟ หรือ “คุณภาณุ มณีวัฒนกุล”
นักเขียนนักเดินทาง “คนทำสารคดี” ที่เดินทางไปเกือบทั่วโลก
พอเข้าไปก็เจอกับพี่เขาเลย พี่เขาต้อนรับดีมากๆ เข้ามาพูดคุยแบบเป็นกันเองกับผม
ได้พูดคุยกันสักพักผมก็เลยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องของวงการหนังสือ
และแง่คิดที่หนังสือมีให้ต่อผู้อ่าน เช่น การอ่านการ์ตูนก็สามารถแทรกแง่คิดให้ผู้อ่านได้ด้วย
ภายในร้าน Rhythm & Books มีขายอะไรบ้าง
– หนังสือมือสอง
– สมุดทำมือ
– ของฝากจากหัวหิน
– ภาพวาด
– เพลง
– ฯลฯ
นอกจากนี้ยังผู้ถึงความเป็นมาของร้านหนังสือร้านนี้และแรงจูงใจที่พี่บาฟมีต่อร้านนี้ด้วย
ซึ่งสิ่งๆ นั่น คือ “ความรักในหนังสือ” นั่นเอง กลับมาย้อนคิดผมเองก็คงคล้ายๆ กัน คือ “รักในห้องสมุด”
“ทำอะไรก็ได้ที่ใจรัก มันจะทำให้เรามีความสุข และไม่รู้จักเหนื่อยหน่ายกับมัน”
แม้ในวันนี้ร้านของพี่บาฟอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากแต่ ผมเชื่อครับว่าสักวันร้านของพี่บาฟจะต้องมีคนมาเยี่ยมชมมากขึ้น
พี่บาฟที่บอกผมอีกว่า จริงๆ แล้ว กำลังใจอีกอย่างที่พี่บาฟประทับใจ คือ การได้พูดคุยกับผู้ที่มาเยี่ยมชมร้านนั่นแหละ
ผมว่าถ้าบรรณารักษ์หลายๆ คนคิดแบบพี่บาฟ ผมว่าคงจะทำงานได้อย่างมีความสุขมากขึ้นนะครับ
เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอแนะนำร้านนี้ไว้เท่านี้แล้วกัน ใครที่ผ่านมาเที่ยวที่หัวหินก็อย่าลืมมาแวะที่นี่ด้วยนะครับ
สุดท้ายนี้ก็แอบประทับใจและสัญญาว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ผมมาหัวหิน ผมจะแวะมาที่ร้านหนังสือร้านนี้อีก
แล้วพบกันอีกนะครับ “Rhythm & Books” และยินดีที่ได้รู้จักอีกครั้งครับ พี่บาฟ
ที่อยู่ของ Rhythm & Books เลขที่4/56 ถนนแนบเคหาสน์ ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ 77110 หมายเลขโทรศัพท์ 0814729390
จุดสังเกตง่ายๆ คือ ร้านจะอยู่ในซอยที่เยื้องๆ กับร้านเค้ก บ้านใกล้วัง เข้าซอยมาจะเจอทาวน์เฮาส์หลังที่สาม
ชมภาพบรรยากาศภายในร้าน Rhythm & Books
[nggallery id=41]
ไอเดียจากร้านหนังสือที่ห้องสมุดน่าทำบ้าง : หนังสือละครทีวี
วันนี้ผมเข้าไปที่ร้านหนังสือบีทูเอสแห่งหนึ่งใกล้ๆ บ้าน เพื่อหาหนังสือที่น่าสนใจมาแนะนำ
แต่เดินไปเดินมาในร้านสักแป๊บก็เจอมุมนึงที่น่าสนใจมาก เลยอยากนำมาเล่าให้ชาวห้องสมุดได้อ่าน
มุมที่ผมเห็นว่าน่าสนใจก็คือ “มุมหนังสือขายดี ละครออนแอร์”
ที่ร้านนี้จะมีชั้นหนังสือที่รวบรวมหนังสือบทละครที่กำลังฉายอยู่ในโทรทัศน์ช่องต่างๆ
ดูจากรูปได้เลยครับ
สังเกตจากในรูปนะครับ จะมีหนังสือละครกำลังฉาย เช่น ดอกส้มสีทอง, เคหาสน์สีแดง, ตลาดอารมณ์ ฯลฯ
นอกจากนี้ด้านหลังของชั้นหนังสือนี้จะมีหนังสือละครที่เคยฉายไปแล้ววางแสดงไว้ด้วย
เช่น รหัสทรชน, ธาราหิมาลัย, ดวงใจอัคนี, ปฐพีเล่ห์รัก, วายุภัคมนตรา ฯลฯ
ในร้านหนังสือเองก็ยังเรียกความสนใจของลูกค้าให้เข้ามาชมหนังสือเหล่านี้ได้
ผมก็เลยคิดไปถึงห้องสมุดว่า หนังสือในห้องสมุดเองเราก็มีวรรณกรรมมากมาย
เราน่าจะหาวิธีนำเสนอหนังสือในรูปแบบนี้บ้าง เอาเป็นว่าก็ลองคิดๆ เล่นกันดูนะ
สำหรับ หนังสือในกลุ่มละคร ผมว่าผู้ใช้บริการของห้องสมุดจำนวนหนึ่งก็อยากจะอ่านเช่นกัน
เพราะว่าอยากรู้ว่าหนังสือที่อ่าน กับละครที่ดูมันเหมือนหรือต่างกันแค่ไหน
แต่จากที่เคยๆ คุยกับผู้ใช้บริการหลายๆ คน ส่วนหนึ่งก็บอกว่า “หนังสือให้รายละเอียดที่ชัดกว่าในทีวี”
ถ้าห้องสมุดมีมุมนี้บ้าง ผมว่านะ “ผู้ใช้บริการ” ก็คงประทับใจกับห้องสมุดบ้างแหละ
และถ้าจะให้ดีนะอย่ามีแค่ 1 copy ห้องสมุดอาจจะต้องหามาไว้ 2-3 copy ได้เลย
เพราะผมเชื่อว่าคนต้องยืมไปอ่านมากๆ แน่ๆ แล้วก็อย่าลืมเหลือติดไว้ที่ชั้นสักเล่มบ้างหล่ะ
เอางี้ทำแบบให้น่าสนใจเพิ่มโดยการบอกด้วยว่า
“หนังสือเล่มนี้เป็นละครจากช่องไหนเวลาที่ฉายเมื่อไหร่”
ผู้ใช้จะได้รู้รายละเอียดและติดตามชมได้ด้วย
เอาเป็นว่าไอเดียนี้ก็ขอฝากให้คิดและลองนำไปทำดูกันบ้างหล่ะ
รอบๆ ตัวเรามีไอเดียในการพัฒนางานห้องสมุดมากมาย ขอแค่สังเกต คิด วางแผน และทำมัน
ปล. สุดท้ายนี้ขอบคุณ บีทูเอส นะที่ทำให้ผมพบกับไอเดียนี้
เด็กเอกบรรณารักษ์กับการลองขายหนังสือ
วันนี้ผมขอเล่าประสบการณ์สมัยที่ผมยังเรียนปริญญาตรี เอกบรรณฯให้ฟังหน่อยแล้วกัน
เป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ ครั้งนึงเลยก็ว่าได้ นั่นคือ “การทำธุรกิจขายหนังสือในงาน มอ.วิชาการ”
ซึ่งนอกจากขายหนังสือจากสำนักพิมพ์ต่างๆ แล้ว ยังมีนิทรรศการหนังสือทำมือที่พวกเราได้ร่วมกันทำด้วย
ในการทำธุรกิจขายหนังสือครั้งนี้ พวกเรามีแรงกระตุ้นคือ เงินและคะแนนเป็นเดิมพัน
เนื่องจากการจัดกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Publishing business ซึ่งผมเรียนในปี 3 เทอม 1 นั่นเอง
ในการทำธุรกิจขายหนังสือครั้งนี้ พวกเราชาวเอกบรรณารักษ์ได้ฝึกอะไรบ้าง
– การติดต่อ และการเจรจากับสำนักพิมพ์ต่างๆ
– การทำการประชาสัมพันธ์การขายหนังสือของพวกเรา
– การดูแล และจัดการสต็อกหนังสือ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อ
– การกำหนดราคา และการตั้งเป้าหมายของธุรกิจ (กำไรเท่าไหร่ดีนะ)
– การจัดร้าน และแบ่งเวลากันในเอกเพื่อเฝ้าร้านของพวกเรา
– การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น หนังสือหมด หรือ หนังสือหาย ?
– การคัดเลือกหนังสือ และการศึกษากลุ่มผู้ซื้อ
– ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และกำไร ขาดทุน
และอีกหลายๆ อย่างที่ได้เรียนรู้ และได้ประสบการณ์จริงๆ
นอกจากส่วนที่เป็นการทำธุรกิจขายหนังสือแล้ว อีกงานหนึ่งที่น่าสนใจในงานนี้คือ
การจัดนิทรรศการหนังสือทำมือ ซึ่งหนังสือทำมือที่แสดงในงานแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ทำกันเองในภาควิชาบรรณฯ
2. ติดต่อขอตัวอย่างหนังสือจากสำนักพิมพ์ใต้ดินหลายๆ กลุ่ม
3. ขอรับจากร้านหนังสือใต้ดิน มาเพื่อจำหน่ายด้วย
กิจกรรมในครั้งนี้ ใช้เวลา 5 วัน ซึ่งนับว่าเป็นวันที่เหนื่อยเอาการเลยครับ
แต่สิ่งที่ได้กลับมาช่างคุ้มค่ามากมาย และทำให้พวกเรารู้ว่า
?อย่างน้อยจบบรรณารักษ์ก็ไม่จำเป็นต้องทำงานที่ห้องสมุดอย่างเดียว?
ตามหาห้องสมุดในฝันในร้านหนังสือ
อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับว่า “ห้องสมุด” อะไรจะไปอยู่ในร้านหนังสือ
“ห้องสมุดในฝัน” ที่ผมหมายถึง นั่นคือ ชื่อหนังสือ ของอาจารย์น้ำทิพย์ครับ
รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : ห้องสมุดในฝัน
ผู้แต่ง : น้ำทิพย์ วิภาวิน
ISBN : 9789748816395
ปีพิมพ์ : 2550
ราคา : 139 บาท
เรื่องที่ผมจะเขียนนี้คงไม่ใช่การแนะนำหนังสือหรอกนะครับ
แต่ผมจะเล่าเรื่องการหาซื้อหนังสือหมวดหมู่บรรณารักษ์ในร้านหนังสือต่างหาก
เรื่องมันมีอยู่ว่า…
วันก่อนผมไปเดินเล่นที่ร้านหนังสือมา แล้วดันอยากอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับบรรณารักษ์
แต่ไม่รู้ว่าปกติในร้านหนังสือ เขาจะเอาหมวดของบรรณารักษ์ไปไว้กับหมวดอะไร
(ปกติรู้แต่ในห้องสมุด หมวดบรรณารักษ์จะอยู่ที่ 020 หรือไม่ก็ Z)
อ๋อ ลืมบอกไปก่อนเข้าร้านหนังสือ ผมได้เข้าไปดูในเว็บของร้านหนังสือนี้แล้ว
และเห็นชื่อหนังสือ “ห้องสมุดในฝัน” ว่ามีในร้านหนังสือแห่งนี้
จนปัญญาจริงๆ ครับ ไม่รู้ว่าจะหายังไงดี สุดท้ายก็ถามที่เคาน์เตอร์ชำระเงิน
พนักงานก็บอกว่าให้ลองไปหาที่ชั้นนวนิยายดู หรือไม่ก็เรื่องสั้นก็ได้
แบบว่าผมอึ้งไปชั่วขณะ นึกว่าเขาจัดหนังสือผิด
แล้วผมก็ลองเดินไปหาตามที่เขาแนะนำ ไล่หาไปสักระยะก็ยังไม่เจอ
เดินมาถามอีกที พนักงานบอกว่า “หนังสือหมด” เออเอาเข้าไปในเว็บบอกว่ามีแต่ที่ร้านหมด
สุดท้ายก็เปลี่ยนร้านไปดูที่ร้านหนังสืออื่น ปัญหาที่ผมพบเหมือนกันทุกร้าน คือ
– ไม่รู้ว่าหนังสือหมวดบรรณารักษ์ หรือห้องสมุด วางรวมกับหมวดอะไร
– พนักงานทุกคนเข้าใจว่า “ห้องสมุดในฝัน” คือ นวนิยาย
– คนขายและพนักงานทำหน้างงใส่เหมือนกัน และคำตอบสุดท้าย คือ “หมด”
เรื่องนี้ผมคงต้องปรึกษาเจ้าของร้านหนังสือหลายๆ ร้านแล้วหล่ะครับ
ว่าจะแก้ไขยังไงดี เช่น ระบุหมวดของบรรณารักษ์ ในร้านหนังสือเลยดีมั้ย
(แต่คิดในอีกแง่นึง คือ หนังสือในหมวดบรรณารักษ์มีค่อนข้างน้อย)
เอาเป็นว่าขอแนะนำสำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการอ่านหนังสือที่อยู่ในหมวดบรรณารักษ์หรือห้องสมุด
ให้เพื่อนๆ เดินไปหาที่ศูนย์หนังสือจุฬาแล้วกันนะครับ หรือไม่ก็เปิดเว็บไซต์แล้วสั่งซื้อออนไลน์น่าจะง่ายกว่า
ปล. สุดท้ายแล้วผมก็ได้หนังสือ “ห้องสมุดในฝัน” ด้วยการสั่งซื้อออนไลน์ครับ
เนื่องจากราคาถูกกว่า และได้รับของถึงบ้านเลย อิอิ
เว็บไซต์ศูนย์หนังสือจุฬาฯ – http://www.chulabook.com/
เว็บไซต์ซีเอ็ดยูเคชั่น – http://www.se-ed.com/
บรรณารักษ์ควรฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษกันบ้างนะ
พอพูดถึงภาษาอังกฤษ หลายๆ คนอาจจะมองว่ามันเป็นอะไรที่ค่อนข้างยาก
แต่เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าเรื่องยากๆ สิ่งนี้แหละ จะช่วยให้เพื่อนๆ พัฒนางานด้านต่างๆ ในห้องสมุดได้
ทำไมบรรณารักษ์ต้องเรียนภาษาอังกฤษ
– เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่เป็นชาวต่างประเทศ
– เพื่อติดตามข่าวสารวงการบรรณารักษ์จากบล็อก/เว็บไซต์อื่นๆ ทั่วโลก
– เพื่อสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูลจากต่างประเทศ
– เพื่อสร้างความเป็นสากลให้กับห้องสมุดที่ทำงานอยู่
– เพื่อพัฒนาความสามารถของตัวเองและต่อยอดในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ
และอื่นๆ (ใครคิดได้อีกสามารถแจ้งได้นะ)
ดังนั้นผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษด้วย
ซึ่งผมมีวิธีการฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษมาแนะนำ (สไตล์ของผมเอง) นะครับ
วิธีการฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษสไตล์ Libraryhub
– เริ่มจากการเข้าร้านหนังสือต่างประเทศ เช่น Asia book, Kinokuniya, Bookazine และอื่นๆ อีกมากมาย
เมื่อเราเข้าไปในร้านหนังสือต่างประเทศแล้วให้เราเลือกหนังสือหมวดที่เราชอบแล้วหยิบมาอ่านดูนะครับ
มันจะทำให้เราคุ้นเคยกับการอ่านและการหยิบหนังสือต่างประเทศ
– การอ่านบทความภาษาอังกฤษที่ง่ายและเข้าใจง่ายที่สุด คือ การอ่านคอลัมน์ที่ชอบตามนิตยสารต่างประเทศ
เนื่องจากเป็นการอ่านแบบสั้นๆ ไม่ต้องอ่านยาวมาก และเนื้อหาในนิตยสารมักเป็นเรื่องสบายๆ ไม่ยุ่งยาก อ่านแล้วไม่เครียด
– เปิดเว็บไซต์ หรือ เว็บบล็อกที่เราชื่นชอบ (ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบรรณารักษ์และห้องสมุดจะดีมากๆ ครับ)
ลองตั้งเกณฑ์ดูว่าจะอ่านวันละเรื่อง แล้วลองทำให้ได้ครับ บางเรื่องไม่ต้องอ่านทั้งหมดหรอก อ่านหัวข้อเอาและลองสรุปดู
– ทดลองการใช้งานฐานข้อมูลต่างประเทศหลายๆ ฐาน แล้วลองจำลองเหตุการณ์ในการค้นสารสนเทศดู
เช่น ถ้าต้องการหาเนื้อหาเกี่ยวกับ “โปรแกรมระบบห้องสมุด” เราจะใช้ keyword อะไร
แล้วลองค้นดูด้วยหลายๆ คำ ดู เสร็จแล้วก็พยายามจดเอาว่า คำไหนที่เราใช้แล้วได้ผลการค้นที่ดี
– สมัครจดหมายข่าว E-newsletter ของต่างประเทศ ทุกๆ วันหน่วยงานเหล่านี้จะส่งจดหมายข่าวมาให้เราอ่าน
ซึ่งในจดหมายข่าวเหล่านี้จะมีการถามตอบคำถามในเรื่องที่เราสนใจด้วย
ดังนั้นถ้าเราอยากฝึกการโต้ตอบจดหมายข่าว วิธีนี้ผมขอแนะนำเลย
– หาเพื่อนและเครือข่ายของกลุ่มในเรื่องที่เราชอบ และหาโอกาสเข้าร่วม Live chat หรือ พูดคุยกับคนต่างชาติดู
การคุยภาษาอังกฤษที่ง่ายที่สุด สำหรับผมๆ ว่า MSN ทำให้เราคุยกับคนต่างชาติได้ค่อนข้างดีเลยนะครับ
แต่ถ้าอยากฝึกสำเนียงและการพูดก็ให้ใช้ skype ควบคู่ไปด้วยก็ดีครับ
– ไปสมัครเรียนคอร์สภาษาอังกฤษระยะสั้นเลยครับ
นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างวิธีการเรียนรู้และฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษนะครับ
สำหรับเพื่อนๆ ที่มีวิธีในการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษดีๆ ก็อย่าลืมนำมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันครับ
สุดท้ายนี้ผมก็ขอย้ำว่าภาษาอังกฤษเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บรรณารักษ์ควรจะเรียนรู้และหัดใช้งานครับ