Workshop “เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ”

กิจกรรมที่แนะนำวันนี้เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากสำหรับคนที่ติดตามทั้งวงการห้องสมุดและวงการไอที กิจกรรมนี้เป็นงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า workshop นั่นเอง ซึ่งหัวข้อหลักของงาน คือ “เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ

รายละเอียดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ
สถานที่จัดงาน : อาคาร 10 ห้อง 10303 มหาวิทยาลัยหอการค้า
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2555
จัดโดย : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ STKS

การจัดงานครั้งนี้ผมชื่นชอบมากๆ เพราะเป็นการนำเสนอเรื่องราวใหม่ๆ ให้วงการบรรณารักษ์ของเราได้ตามเทคโนโลยีให้ทันกระแส ถ้ามีโอกาสก็อยากให้เพื่อนๆ เข้าร่วมมากๆ เช่นกัน

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– Cloud Computing : สาระและสำคัญ
– องค์กรกับการก้าวสู่ยุค Cloud Computing
– การประยุกต์ใช้ Cloud Computing ในองค์กร
– โอกาสและความเป็นไปได้ในการใช้ Cloud Computing ในวิชาชีพสารสนเทศในประเทศไทย
– ปัญหาและอุปสรรคในการใช้ Cloud Computing
– การใช้ Cloud Computing ในการเรียนการสอน
– Workshop แนะนำวิธีการใช้ Cloud Computing

วิทยากรแต่ละท่านมาจากองค์กรที่สุดยอดทั้งนั้นเลย เช่น STKS, Microsoft, CRM Charity

เห็นหัวข้อแล้วผมเองก็อยากเข้าร่วมเหมือนกันนะครับ แต่เสียดายที่ติดธุระ
หัวข้อที่เน้นเรื่อง Technology Cloud ซึ่งเข้ากับโลกยุคปัจจุบันมากๆ

สัมมนาเชิงปฏิบัติการมีค่าลงทะเบียนด้วยนะครับ
ใครลงทะเบียนก่อนวันที่ 20 เมษายน 2555 ค่าลงทะเบียน 1,000 บาท
ใครลงทะเบียนหลังวันที่ 20 เมษายน 2555 ค่าลงทะเบียน 2,000 บาท

หากเพื่อนๆ สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม เข้าไปดูต่อที่ http://humanities.utcc.ac.th/iscon2012/
หรือต้องการลงทะเบียนเข้าร่วมงาน http://humanities.utcc.ac.th/iscon2012/index.php/registration.html

ในวันดังกล่าวผมติดงานบรรยายดังนั้นใครไปงานนี้เอาความรู้มาฝากผมด้วยนะ
ขอบคุณมากๆ ครับ

เมื่ออินเทอร์เน็ตมีบทบาทมากกว่าหนังสือพิมพ์

วันนี้ผมขอนำเสนอกรณีศึกษาเรื่องการใช้อินเทอรืเน็ตกับการอ่านหนังสือพิมพ์หน่อยนะครับ
บทความนี้จริงๆ มาจากเรื่อง “อินเทอร์เน็ตกำลังแย่งผู้อ่านไปจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น” จาก blognone นะครับ
ต้นฉบับเนื้อหาภาษาอังกฤษ อ่านได้ที่ “Internet use could kill off local newspapers, study finds” จาก physorg
แต่ผมขอนำมาเพิ่มในส่วนที่ผมวิเคราะห์และวิจารณ์ลงไปด้วยครับ

internet-use

————————————————————————————————–

การศึกษาในเรื่อง สื่อออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการบริโภคข่าวสารของผู้ใช้โดยทั่วไป
โดยผลการศึกษานี้สรุปเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

1. ในปีที่ผ่านมา (2007) ยอดการอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับกระดาษมียอดที่ลดลง
ทำให้สูญเสียผู้ อ่านไปนับล้านคน แต่ยอดการดูข่าวในอินเทอร์เน็ตกลับเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

2. รูปแบบของข่าวที่นำเสนอในอินเทอร์เน็ตมาจาก เว็บ Search Engine ต่างๆ
ข่าวสารในบล็อกต่างๆ / เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ที่ดังๆ รวมถึงเว็บไซต์ของสถานีโทรทัศน์ด้วย

3. Google, Yahoo, AOL และ MSN มีคนเข้าใช้ในแต่ละเดือนประมาณ 100 ล้านคน
แต่เว็บของสถานีโทรทัศน์กลับมีเพียง 7.4 ล้านคนเท่านั้นเอง
และเว็บของหนังสือพิมพ์ดังๆ ที่ติดตลาด เช่น New York Times มีผู้ใช้ประมาณ 8.5 ล้านต่อเดือน

4. หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหรือหนังสือพิมพ์เล็กๆ พยายามปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าวแล้ว
แต่ก็เป็นการยากที่จะดึงลูกค้าจากกลุ่มต่างๆ ในข้อที่ 3 มาได้
ดังนั้นผลกระทบโดยตรงนี้จึงตกอยู่กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นต่างๆ ที่ต้องรีบหาทางแก้ไข ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าว

5. ในบทความนี้แนะนำว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นควรจะปรับกลยุทธ์โดยการให้นำเสนอ
ข่าวในแนวที่กว้างขึ้นและคงความเป็นสากลของหนังสือพิมพ์จึงจะพิชิตอุปสรรค ต่างๆ ได้

————————————————————————————————–

ผลการศึกษาที่ผมยกมานี้หากเรามามองในแง่ของความเป็นบรรณารักษ์
บางคนคงเริ่มเข้าใจแล้วว่าทำไมผู้ใช้จึงมีจำนวนลดลงบ้าง

ถึงแม้ว่าในบทความนี้กล่าวถึงประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในประเทศไทยหลายคนอาจจะบอกว่า
ไม่มีทางหรอกยังไงคนไทยก็ติดความเป็นกระดาษมากกว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว

แต่ในความคิดของผมที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยม
ประเด็นหลักผมคิดว่ามาจากสื่อประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งทำให้เกิดความยากในการที่จะนำมาใช้
บางคนไม่ชอบภาษาอังกฤษพอเห็นอะไรนิดหน่อยที่เป็นภาษาอังกฤษ จึงเกิดอาการต่อต้าน

แต่ผมก็คิดในหลักง่ายๆ ว่า แล้วถ้าสื่อเหล่านี้เป็นภาษาไทยหล่ะ
จะทำให้ผู้ใช้หันไปใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์หรือไม่
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ห้องสมุดคงต้องมีการปรับปรุงครั้งใหญ่โดยทันที

ผมเอาสรุปสถิติของการเข้าชมเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นที่นิยมของคนไทยมาให้ดูกันคร่าวๆ ดีกว่า
แล้วให้พวกเราลองเปรียบเทียบในแง่ของห้องสมุดว่าห้องสมุดมีคนเข้าใช้จำนวน แค่ไหน

www.sanook.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 223,597
www.kapook.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 142,020
teenee.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 74,811
www.mthai.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 73,752

ข้อมูลจาก truehits.net

เอาเป็นว่าห้องสมุดที่ไหนบ้างในเมืองไทยที่มีการเข้าใช้จำนวนมากเหมือนเว็บไซต์
ใครรู้ช่วยบอกผมทีนะครับ

สรุปสัมมนาเรื่องสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ขอเล่าต่อจากงานสัมมนาเมื่อกี้นะครับ “การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)

stou2

ชื่อของการจัดสัมมนา
– การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น (19/2/52)

สถานที่ในการจัดงาน
– อาคารสัมมนา 2 ห้อง 233 (19/2/52)

งานสัมมนาครั้งนี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO

หัวข้องานสัมมนาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 ที่น่าสนใจ

?????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
โดย ศ.ดร.ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน

ขอบเขตของสารสนเทศท้องถิ่น
– สารสนเทศท้องถิ่นชุมชน ?> สารสนเทศตามเขตภูมิศาสตร์ ?> สารสนเทศตามอาณาเขตวัฒนธรรม

ภูมิปัญญา คือ ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถ ความชัดเจน ที่เป็นผลจากการใช้สติปัญญา

ภูมิปัญญาชาวบ้าน? -> ภูมิปัญญาไทย -> ภูมิปัญญาสากล

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา แบ่งภูมิปัญญา เป็น 9 ด้าน ดังนี้
– เกษตรกรรม
– อุตสาหกรรม
– การแพทย์แผนไทย
– การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
– กองทุนและธุรกิจชุมชน
– ศิลปวัฒนธรรม
– ภาษาและวรรณกรรม
– ปรัชญา ศาสนา และประเพณี
– โภชนาการ

ข้อมูลท้องถิ่นที่จะสามารถนำมาแปลงเป็นสารสนเทศท้องถิ่นได้ เช่น
– การบันทึกข้อมูลของท้องถิ่น
– ชีวประวัติของบุคคลสำคัญในท้องถิ่น
– การดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น
– ปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เช่น ภัยพิบัติ ฯลฯ
– สิ่งต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อท้องถิ่น

ภูมิปัญญาเป็นรากฐานของสารสนเทศท้องถิ่นทุกยุคสมัย

ปรากฎการณ์สารสนเทศท้องถิ่นท่วมท้ม มีดังนี้
– สารสนเทศท้องถิ่นคืออำนาจ
– สารสนเทศท้องถิ่นเป็นสมบัติ
– มลพิษทางสารสนเทศท้องถิ่น
– เกิดช่องว่างในการใช้สารสนเทศทองถิ่น

มุมมองของคนที่มีต่อสารสนเทศท้องถิ่น
– นักวิชาการ ต้องการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยน และพัฒนาในอนาคต
– ชาวบ้าน จะหวงแหนภูมิปัญญาของพวกเขา เพราะว่ากลัวจะเสียประโยชน์ทางธุรกิจ

หลัก 4A ของการนำสารสนเทศท้องถิ่นมาใช้ในวงการศึกษา
– Availablility (รวบรวมสารสนเทศให้พร้อมต่อการใช้งาน)
– Accessibility (สร้างการเข้าถึงให้กับสารสนเทศท้องถิ่น)
– Affordability (ให้ชุมชนเข้าถึงสารสนเทศท้องถิ่น)
– Accountability (รับผิดชอบความถูกต้องของสารสนเทศท้องถิ่น)

?????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง ประสบการณ์จากการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นด้าน ?นนทบุรีศึกษา?
โดย รศ.ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล

องค์ประกอบสำคัญของห้องสมุดดิจิทัล มีดังนี้
– Digital Collection ข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
– Standard มาตรฐานในการจัดการสารสนเทศ
– Technology เทคโนโลยีระบบห้องสมุด
– Metadata ข้อมูลที่ใช้อธิบายสารสนเทศ

สำนักบรรณสารสนเทศ มสธ กับ นนทบุรีศึกษา
– ห้องสมุดมหาวิทยาลัย = บริการ และเผยแพร่สารสนเทศ
– มสธ = มหาวิทยาลัยเปิด
– นนทบุรี = มสธ เป็น มหาวิทยาลัยรัฐในจังหวัดนนทบุรี

ขอบเขตของภูมิปัญญาในจังหวัดนนทบุรี
– องค์รวมแห่งวิถีชีวิตของคน
– พื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต ความรู้
– ลักษณะเฉพาะ เอกลักษณ์ในตนเอง
– ความรู้ ทักษะ(ความชำนาญ)

การสร้าง ยุ้งฉางภูมิปัญญา แบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่ม
– กลุ่มผู้สร้างองค์ความรู้
– กลุ่มสร้างห้องสมุดดิจิทัล
– กลุ่มเผยแพร่ และนำไปใช้ประโยชน์

มาตรฐานทางเทคนิคที่ใช้สำหรับห้องสมุดดิจิทัล ได้แก่
Metadata ?> MODS, METS, MADS

?????????????????????????

เป็นไงบ้างครับกับการสรุปหัวข้อการบรรยาย
แต่เสียดายที่ช่วงบ่ายผมไม่สามารถอยู่ฟังต่อได้
เลยไม่สามารถสรุปเนื้อหาให้เพื่อนๆ ได้ทั้งหมด

จากงานสัมมนาในครั้งนี้ ทำให้ผมจุดประกายในการเขียนบล็อกต่อได้อีกสองสามเรื่อง
แล้วเดี๋ยวผมจะค่อยๆ เขียนให้เพื่อนๆ อ่านในโอกาสต่อไปนะครับ

ตัวอย่างเรื่องที่อยากเขียน
1. หลักสูตร ICS (Information Communication Science)
2. Opensource กับการจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
3. การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสารสนเทศท้องถิ่น

นี่ก็เป็นเพียงน้ำจิ้มเล็กๆ นะครับ เอาไว้รออ่านกันได้เลยครับ

สุดท้ายนี้ขอเลาเรื่องความประทับใจนอกการสัมมนาสักนิดนะครับ
ในงานสัมมนาครั้งนี้ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์น้ำทิพย์ถึงเรื่องการพัฒนาวงการบรรณารักษ์ในประเทศไทย
ซึ่งได้ความรู้ และข้อแนะนำจากอาจารย์ ซึ่งอยากจะบอกว่าได้ข้อคิดดีๆ มากมาย
เร็วๆ นี้กิจกรรมต่างๆ ของวงการบรรณารักษ์จะมีความเข้มข้นมากขึ้นครับ ยังไงก็รอติดตามกันนะครับ

Consortium of iSchools Asia Pacific (CiSAP)

วันนี้ทางเอไอทีฝากข่าวมาให้ผมประชาสัมพันธ์
ซึ่งผมได้อ่านรายละเอียดแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจมากจึงต้องขอบอกต่อ

ait Read more

แนะนำแหล่งสารสนเทศออนไลน์

แหล่งสารสนเทศออนไลน์ที่ให้บริการสารสนเทศฟรีมีมากมาย
วันนี้ผมจะนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
เพื่อว่า เพื่อนๆ จะสามารถนำไปใช้ในเรื่องบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าได้

onlineinformation

แหล่งสารสนเทศออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ เช่น
– สารานุกรมออนไลน์
– ฐานข้อมูลออนไลน์
– เว็บไซต์บริการตอบคำถาม (FAQ)
– วารสารวิชาการออนไลน์
– สารสนเทศชี้แหล่ง
– เว็บไซต์สารสนเทศเฉพาะด้านออนไลน์
– เว็บไซต์องค์กรวิชาชีพ

และอื่นๆ อีกมากมายแล้วแต่องค์ความรู้

ลองไปดูกันนะครับ ว่าผมแนะนำเว็บไหนบ้าง

1 Encyclopedia Britannica – http://www.britannica.com

2 Encarta – http://www.encarta.msn.com

3 First Monday – http://firstmonday.org

4 IBM Technical Journals – http://www.almaden.ibm.com/journal

5 Chicago Journal of Theoretical Computer Science – http://www.cs.uchicago.edu/research/publications/cjtcs

6 FreePatentsOnline.com – http://www.freepatentsonline.com

7 HighWire — Free Online Full-text Articles – http://highwire.stanford.edu/lists/freeart.dtl

8 BUBL Information Service – http://bubl.ac.uk

9 ERIC – Education Resources Information Center – http://www.eric.ed.gov

10 W3Schools – http://www.w3schools.com

11 NECTEC Courseware – http://www.nectec.or.th/courseware

12 LearnSquare Thailand Opensource e-Learning Management System – http://www.learnsquare.com/index.php?mod=Message&op=aboutus

13 IEEE / IEE Electronic Library (IEL) – http://ieeexplore.ieee.org/Xplore/guesthome.jsp

14 Blackwell – http://www.blackwell-synergy.com/servlet/useragent?func=showHome

15 Institute of Physics – http://www.iop.org

16 Aardvark – http://www.aardvarknet.info/user/aardvarkwelcome

17 Agricola – http://www.nal.usda.gov

18 Arxiv.org E-Print Archive – http://arxiv.org

19 DOAJ= Directory of Open Access Journals – http://www.doaj.org

20 Issues in science & Technology Librarianship – http://www.library.ucsb.edu/istl/?

21 iToc – http://dbonline.igroupnet.com/itoc

22 Librarian’s Index – http://lii.org/search

23 National Human Genome Research Institute – http://www.genome.gov

24 National Science Foundation – http://www.nsf.gov

25 scirus – http://www.scirus.com/srsapp

26 Thai Patents – http://www.ipic.moc.go.th

27 Computers in Libraries – http://www.infotoday.com/cilmag/default.shtml

28 D-Lib Magazine – http://www.dlib.org

29 ฐานข้อมูล NetLibrary – http://www.netlibrary.com

30 Cambridge Journals Online (CJO) – http://journals.cambridge.org/action/login

31 Energy Citations Database (ECD) – http://www.osti.gov/energycitations

32 FreeFullText.com – http://www.freefulltext.com

33 HIV/AIDS Information – http://sis.nlm.nih.gov/hiv.html

34 POPLINE – http://db.jhuccp.org/ics-wpd/popweb

35 J-STAGE? – http://www.jstage.jst.go.jp/browse

36 NASA Astrophysics Data System (ADS) – http://adswww.harvard.edu

37 Scitation – http://scitation.aip.org

38 Windows Live Academic – http://academic.live.com

39 Answers.com – http://www.answers.com

40 Infoplease – http://www.infoplease.com

41 Database Dev Zone – http://www.devx.com/dbzone

42 Religion Online – http://www.religion-online.org

43 UNESCO Documentation Resources – http://unesdoc.unesco.org/ulis/index.html

44 Free online periodicals in social and human sciences – Full text specialized articles? – http://www.unesco.org/shs/shsdc/journals/shsjournals.html

45 EContentMag.com – http://www.ecmag.net

46 International Monetary Fund (IMF) Publications – http://www.imf.org/external/pubind.htm

47 Documents & Reports – All Documents? World Bank – http://www-wds.worldbank.org

48 world bank e-Library – http://www.worldbank.catchword.org

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรายชื่อเว็บไซต์ทั้ง 48 รายชื่อ
ผมก็หวังว่าเพื่อนๆ จะนำเว็บไซต์เหล่านี้ไปใช้ในการทำงานได้นะครับ

ถ้ามีเว็บไหนที่น่าสนใจเพิ่มเติมผมจะนำมาเพิ่มให้วันหลังนะครับ
และถ้าเพื่อนๆ อยากจะแนะนำก็สามารถโพสลงในคอมเม้นต์ด้านล่างนี้ได้นะครับ

ฝึกงาน 3 : ไม่อยากฝึกงานในห้องสมุด

สองตอนที่แล้วผมเน้นการฝึกงานในห้องสมุด และการฝึกเป็นบรรณารักษ์
ตอนนี้ผมจะแนะนำสถานที่ หรือ หน่วยงานด้านสารสนเทศที่ไม่มีคำว่า ?ห้องสมุด? บ้าง
เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับเด็กเอกบรรณฯ ที่อยากได้ประสบการณ์ใหม่ๆ …..

training-library3

ก่อนอื่นผมคงต้องเกริ่นสักนิดก่อนนะครับว่า
คนที่เรียนเอกบรรณารักษ์ พอจบมาก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานในห้องสมุดหรอกนะครับ
คนที่เรียนเอกบรรณารักษ์ ก็ไม่ได้เรียนวิชาทางห้องสมุดอย่างเดียว
คนที่เรียนเอกบรรณารักษ์ มีงานมากมายให้ทำมากกว่าการเป็นบรรณารักษ์

จากความเข้าใจที่ผิดๆ ของคนอื่นๆ ที่บอกว่า
เรียนบรรณารักษ์จบมาก็ต้องทำงานในห้องสมุด ประโยคนี้ไม่จริงเลยนะครับ

คนที่เรียนเอกบรรณารักษ์ เวลาเรียนวิชาบางส่วนก็เป็นเรื่องของห้องสมุดจริง
แต่อีกส่วนหนึ่งคือเรื่องของหลักการในการดูแลสารสนเทศ ค้นหาสารสนเทศ จัดเก็บสารสนเทศ ด้วย
ซึ่งแนวคิดด้านการจัดการสารสนเทศ การสืบค้น การจัดเก็บ
นอกจากห้องสมุดแล้ว ยังมีอีกหลายสถานที่ หลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน

ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้น ทำใหู้้รู้ว่าการฝึกงานไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องสมุดอย่างเดียว
นักศึกษาบรรณารักษ์สามารถที่จะเลือกฝึกในหน่วยงานที่มีการใช้สารสนเทศในองค์กรก็ได้เช่นกัน

ซึ่งในลักษณะการทำงานในปัจจุบันองค์กรต่างๆ ก็มีการใช้สารสนเทศที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน
องค์กรเหล่านี้ก็ต้องการคนที่รู้จักการจัดการสารสนเทศมากขึ้น (อันเป็นที่มาของหลักสูตรการจัดการสารสนเทศ)
ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งที่องค์กรเหล่านี้ต้องการ ก็คือ คนที่เรียนด้านสารสนเทศ ซึ่งก็ไม่พ้นบรรณารักษ์นั่นแหละครับ

การฝึกงานในลักษณะนี้เพื่อนๆ อาจจะไม่ต้องใช้ความรู้ทางด้านบรรณารักษ์อย่างเต็มขั้น
แต่สิ่งที่ต้องใช้แน่ๆ คือ ความรู้และทักษะการประยุกต์ใช้ในสิ่งที่เรียนมามากกว่า
การแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ ด้วยเช่นกัน
และเหนือไปกว่านั้น คือ การฝึกตนเองในเรื่องของ Service mind
เนื่องจากงานทางด้านสารสนเทศมักเกี่ยวกับงานบริการอยู่เสมอๆ ดังนั้นการรู้จักการบริการด้วยใจจะเป็นสิ่งดี

สถานที่ที่ผมแนะนำ คือ :-
1. สำนักพิมพ์ต่างๆ เช่น se-ed, amarin, ?
2. เว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูล เช่น sanook, kapook, mthai, ?
3. สื่อมวลชนแขนงต่างๆ เช่น อสมท, สำนักข่าว, ?
4. บริษัทที่ผลิตฐานข้อมูล เช่น Infoquest

การฝึกงานในลักษณะนี้จะเป็นการเปิดมุมมองให้เพื่อนๆ เอกบรรณารักษ์มากกว่าฝึกในห้องสมุด
ดังนั้นถ้าอาจารย์ที่ปรึกษาไม่จำกัดว่า จะต้องฝึกห้องสมุดด้านนอก ผมก็ขอแนะนำให้หาหน่วยงานในลักษณะนี้แทน
ซึ่งจะทำให้เพื่อนๆ มองอนาคตในการทำงานได้ด้วย ยกเว้นแต่อยากเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดแบบจริงๆ