คุณเคยไปห้องสมุดไหนบ้าง

นอกเหนือจากห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุดโรงเรียนแล้ว
ผมอยากรู้ว่าเพื่อนๆ ยังเคยใช้บริการห้องสมุดที่ไหนอีกบ้าง

librarygo

ห้องสมุดตัวเลือกที่ผมนำมาให้เพื่อนๆ เลือก ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ น่าจะรู้จักเกือบหมด
ดังนั้นเลยอยากถามเพื่อนๆ ว่านอกจากรู้จักแล้ว เพื่อนๆ เคยไปห้องสมุดเหล่านี้บ้างหรือปล่าว

อ๋อ ลืมบอกไปอีกนิดว่า ตัวเลือกวันนี้ เพื่อนๆ สามารถเลือกได้หลายๆ ตัวเลือกพร้อมกัน
และที่เคยไปผมขอว่าเป็นการไปแบบใช้บริการนะครับ ไม่ใช่ไปแค่ดูงาน

เอาเป็นว่าไปตอบแบบสอบถามกันเลยนะครับ

[poll id=”5″]

ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ร่วมกันตอบแบบสอบถามนี้นะครับ

เที่ยวท่องห้องสมุดไทย

หลายๆ คนชอบตั้งคำถามว่า “ห้องสมุดในเมืองไทยที่ไหนน่าไป”
เพื่อให้ทุกคนหายข้องใจในเรื่องนี้ ผมจึงขอแนะนำห้องสมุดที่น่าสนใจให้ฟังกัน

cover1

แต่ถ้าจะให้ผมบอกว่าที่ไหนบ้าง
ผมก็คงจะต้องใช้เวลาในการศึกษาสักนิดนะครับ
แต่ถ้าอยากได้แบบรวดเร็ว ผมก็ขอรวบรัดตัดความเลย ว่า ลองอ่านหนังสือเล่มนี้สิครับ

ชื่อหนังสือ : เที่ยวท่องห้องสมุด
ชื่อผู้แต่ง : เจริญขวัญ แพรกทอง
สำนักพิมพ์ : เวลาดี
ISBN : 9789749659014
จำนวนหน้า : 268 หน้า
ราคา : 295 บาท

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่แนะนำห้องสมุดที่น่าสนใจมากกว่า 40 แห่งให้เพื่อนๆ ได้อ่าน
รายละเอียดที่ผู้เขียนแนะนำก็คือ ความแตกต่าง ความโดดเด่น และความสวยงามของห้องสมุดทั้งหลายเหล่านั้น
ซึ่งมีทั้งภาพประกอบ สถานที่ตั้ง และเนื้อหาที่น่าติดตามมากๆ

ห้องสมุดที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้จะมีการแบ่งกลุ่มตามประเภทและลักษณะของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น
– ห้องสมุดในหอสมุดแห่งชาติ
– ห้องสมุดในพิพิธภัณฑ์
– ห้องสมุดด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม
– ห้องสมุดเอกชนและมูลนิธิ
– ห้องสมุดภายในหน่วยงานรัฐบาล
– ห้องสมุดในพระราชวังเดิม
– ห้องสมุดสถาบันการศึกษาและศาสนา
ฯลฯ

ตัวอย่างห้องสมุดที่ในหนังสือแนะนำ เช่น

หอ สมุดแห่งชาติ, หอวชิราวุธานุสรณ์ , ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร, ห้องสมุดกล้วยไม้ระพี สาคริก, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์แมลง, ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ห้องสมุดศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, หอสมุดดำรงราชานุภาพ, ห้องสมุดดนตรีเรวัต พุทธินันท์? ฯลฯ

ผมชอบที่เขาเขียนแนะนำหนังสือเล่มนี้อ่ะครับ

?คู่มือท่องเที่ยวฉบับ ห้องสมุด ที่หนอนหนังสือต้องไม่พลาด ! ท่านเชื่อหรือไม่ว่าในโลกนี้ยังมีดินแดนมหัศจรรย์อีกมากมายให้สำรวจและค้นหา ห้องสมุดคือหนึ่งในจำนวนนั้น มีความมหัศจรรย์ซ่อนอยู่ทุกหนทุกแห่ง รอคอยให้ขุดค้นขุมทรัพย์ล้ำค่าห้องสมุดทำให้บางคนบรรลุฝันอันงดงามประสบความ สำเร็จในชีวิต โรงเรียนแห่งจิตวิญญาณ สร้างหลักสูตรเฉพาะตนอย่างไม่รู้จบ ประตูแห่งดินแดนมหัศจรรย์เปิดขึ้นแล้วคุณพร้อมหรือยังสำหรับการผจญภัยครั้ง นี้?

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นการตอบโจทย์เรื่องห้องสมุดที่น่าสนใจในกรุงเทพฯ แบบคร่าวๆ แล้วนะครับ
ยังไงก็ลองไปหาซื้อได้ที่ร้านซีเอ็ด บีทูเอส นายอินทร์ หรือไม่ก็ร้านดอกหญ้าก็ได้ครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมของหนังสือ สามารถดูได้ที่
http://thaispecial.com/bookshop/newbookpreview.asp?booklist=9749659015

รู้มั้ยว่า LIBRARY ย่อมาจากอะไร

รู้หรือปล่าวว่าตัวอักษรทุกตัวของคำว่า ?Library? มีความหมาย
(ความหมายของตัวอักษรทุกตัว ผมเป็นคนนิยามให้นะครับ)

library

เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะแยกคำว่า LIBRARY ให้เพื่อนๆ ได้รู้ว่า
นอกจากคำว่า Library จะมีความหมายว่าห้องสมุดแล้ว
แต่ละตัวอักษรของคำนี้สามารถใช้แทนอะไรได้บ้าง

L-I-B-R-A-R-Y =?

L = Literature ? วรรณกรรม
I = Information ? สารสนเทศ
B = Book ? หนังสือ
R = Reference ? อ้างอิง
A = Advice ? คำแนะนำ
R = Read ? การอ่าน
Y = You / User ? คุณๆ นั่นแหละ ผู้ใช้ทุกคน

จากตัวอักษรต่างๆ ด้านบน หากเพื่อนๆ เอามารวมกัน ก็จะคำว่า

Literature + Information + Book = LIB
ตัวอักษรทั้งสามตัวนี้ แสดงถึงทรัพยากรต่างๆ ที่มีในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นบันเทิง หรือสาระความรู้

Reference + Advice + Read = RAR
ตัวอักษรทั้งสามตัวนี้ แสดงถึงงานบริการต่างๆ ที่มีในห้องสมุด
ทั้งบริการการอ่าน บริการตอบคำถามและอ้างอิง บริการแนะนำสารสนเทศ

You = USER
ตัวอักษรตัวนี้สำคัญกับพวกเรามากที่สุด นั่นคือ ผู้ใช้ทุกคน หรือว่าคุณ นั่นเอง

ดังนั้นหากแยกส่วนต่างๆ ของห้องสมุดแล้วเราจะพบว่า
ส่วนประกอบของความสมบูรณ์ของห้องสมุดมาจาก
Content + Service + User = ความสำเร็จของห้องสมุด

เอาเป็นว่าวันนี้ผมได้ให้ความหมายของทุกตัวอักษรดังนี้
แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไง เห็นด้วยกับตัวอักษรต่างนี้หรือปล่าว
หรือว่าคิดว่าควรจะแทนด้วยตัวอักษรอื่นๆ ยังไงก็ลองเสนอความคิดเห็นมานะครับ อิอิ

ฟรี ฟรี ฟรี มีที่ห้องสมุด

เพื่อนๆ ชอบของฟรีกันหรือเปล่าครับ

ถ้าเพื่อนๆ ชอบของฟรี ผมขอแนะนำของฟรีๆ แบบนี้
– ซีดี และ ดีวีดี ฟรี!!!!!
– ดูหนัง ฟรี!!!!!
– ฟังเพลง ฟรี!!!!!
– อินเทอร์เน็ต ฟรี!!!!!
– อ่านเรื่องใหม่ๆ ฟรี!!!!!

ของฟรี!!!!! แบบนี้มีที่ห้องสมุดจริงๆ นะ

ไม่เชื่อไปดูการ์ตูนสิครับ

nancy

เป็นไงหล่ะของฟรีมีที่ห้องสมุดจริงๆ ด้วย

เอาหล่ะทีนี้เรามาวิเคราะห์กันว่า
“สิ่งที่การ์ตูนนำเสนอนี้ หากนำมาเทียบกับห้องสมุดเมืองไทยจะฟรีจริงหรือเปล่า”

เริ่มจาก Free CDs & DVD
เขาบอกว่าซีดีและดีวีดีฟรี จริงๆ แล้วมันก็ฟรีจริงๆ หล่ะครับ
เพียงแต่มีระยะเวลากำหนด นั่นคือการยืมคืนสื่อมัลติมีเดียนั่นเอง
จริงๆ แล้วบางที่อาจจะให้ยืม แต่บางที่ก็ให้ใช้แค่ภายในห้องสมุดเท่านั้น
แต่สรุปว่ายังไงก็ถือว่า ฟรี แล้วกัน ไม่เชื่อดูรูปนี้เลย

cd-free

ต่อมา Watch free movies & Listen to free music
ดูหนังฟรี และเพลงฟรีในห้องสมุดจะมีมุมมัลติมีเดีย
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเลือกภาพยนตร์และเพลงที่ถูกใจ แล้วนำมาดูและฟังได้ที่จุดบริการนี้
เพียงเท่านี้ก็ถือว่าให้บริการดูหนังแบบฟรีๆ และฟังเพลงแบบฟรีๆ แล้วนะครับ

ต่อมา Get free internet
ประเด็นนี้อาจจะเป็นที่ถกเถียงของเพื่อนๆ ว่า อาจจะไม่ฟรีอย่างที่คิด
ห้องสมุดบางที่อาจจะนำแผนธุรกิจเข้ามาใช้ (Internet cafe)
บางที่ก็ให้ใช้ฟรีแต่ต้องลงทะเบียน ประเด็นผมจึงขอบอกได้แค่ว่า “ฟรีเป็นบางที่”

wifi-free

ประเด็นสุดท้าย Read the latest graphic novels free
เรื่องการอ่านหนังสือในห้องสมุด ถ้าต้องเสียเงินอันนี้ก็คงแปลกมากนะครับ
เพราะห้องสมุดเกือบทั้งหมดให้อ่านหนังสือได้ฟรีแน่นอนอยู่แล้ว
ดังนั้นฟันธงไปเลยว่า “ฟรีจริงๆ”

สำหรับเงื่อนไขของห้องสมุดที่ให้บริการแบบฟรีๆ เช่น
– ต้องเป็นสมาชิกของห้องสมุดก่อนถึงจะใช้บริการเหล่านี้ได้ (ค่าสมาชิกอาจจะไม่ฟรี)
– บางห้องสมุดให้ยืมซีดี ดีวีดี หรือหนังสือได้ แต่ต้องวางเงินมัดจำ (อันนี้เข้าข่ายว่าฟรีหรือปล่าว)
– บางครั้งจะใช้ของฟรีอาจจะต้องรอ เพราะว่าต้องมีการจองคิว

ก่อนจากกันวันนี้ขอเชิญชวนว่า “วันนี้คุณใช้บริการฟรีๆ ในห้องสมุดแล้วหรือยัง”

ภาพการ์ตูนจาก http://comics.com/nancy/2009-04-19/

พาชมห้องสมุดประชาชนเชียงใหม่

วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดประชาชนที่จังหวัดเชียงใหม่กัน
โดยห้องสมุดแห่งนี้ คือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ (อยู่ตรงข้ามกาดสวนแก้ว)

Read more