นายห้องสมุดชวนอ่าน : มาตรฐานและตัวชี้วัดสำหรับห้องสมุดมีชีวิต

เพิ่งจะผ่านพ้นการประกวดห้องสมุดมีชีวิตของ TK park มาไม่นาน วันนี้ผมจึงขอแนะนำหนังสือและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดมีชีวิตสักหน่อยนะครับ

หนังสือที่ผมจะแนะนำในวันนี้ คือ “คู่มือการใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตรูปแบบอุทยานการเรียนรู้” ซึ่งเป็นคู่มือที่ออกมาเพื่อใช้เป็นหลักในการประเมินห้องสมุดมีชีวิต

ห้องสมุดไหนอยากรู้ว่าห้องสมุดตัวเองจะเข้าข่ายการเป็นห้องสมุดมีชีวิตหรือไม่ ก็สามารถนำความรู้จากหนังสือเล่มนี้มาเทียบดูได้

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้

ชื่อเรื่องภาษาไทย : คู่มือการใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตรูปแบบอุทยานการเรียนรู้
ผู้จัดทำ : ศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.บุญศรี พรหมมาพันธุ์
จัดพิมพ์โดย : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้
ปีพิมพ์ : 2554
จำนวนหน้า : 48 หน้า

มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตในรูปแบบอุทยานการเรียนรู้ มี 5 มาตรฐาน 21 ประเด็นย่อย 100 ตัวชี้วัด ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

มาตรฐานที่ 1 ด้านกายภาพ – เน้นเรื่องสภาพทางกายภาพและบรรยากาศของห้องสมุด
มาตรฐานที่ 2 ด้านสาระและกิจกรรม – เน้นเรื่องสื่อที่มีในห้องสมุด และการจัดกิจกรรมต่างๆ
มาตรฐานที่ 3 ด้านการบริการ – เน้นเรื่องการบริการเชิงรุกและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
มาตรฐานที่ 4 ด้านบุคลากร – เน้นเรื่องของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด
มาตรฐานที่ 5 ด้านการบริหารจัดการ – เน้นข้อมูลบริหารและการจัดการห้องสมุด เช่น เครือข่ายห้องสมุด

(สำหรับประเด็นและตัวชี้วัดสามารถอ่านได้ในหนังสือครับ หรืออ่านออนไลน์ได้จาก link ด้านล่าง)

มาตรฐานและตัวชี้วัดทั้งหมดอาจจะมองว่ามีจำนวนมาก ห้องสมุดบางแห่งอาจจะมองว่าไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ซึ่งจริงๆ แล้วห้องสมุดสามารถหยิบตัวชี้วัด  หรือ มาตรฐานมาใช้ขึ้นอยู่กับบริบท หรือเรื่องที่จะเน้นก็ได้ ซึ่งแนวทางการวัดผลมีอยู่ในหนังสือคู่มือเรียบร้อยแล้ว โดยรวมค่าเฉลี่ยที่ถือว่าผ่านจะอยู่ที่คะแนน 3.50

ห้องสมุดสามารถนำมาตรฐานและตัวชี้วัดนี้ไปประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวชี้วัดต่างๆ สามารถใช้เป็นตัวตั้งต้นในการประเมินห้องสมุดของเพื่อนๆ ได้ หรืออาจจะนำมาเป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตต่อไป

เพื่อนๆ ที่อยากอ่านตัวเล่มก็สามารถมายืมได้ที่ TK park นะครับ
แต่ใครไม่สะดวกก็สามารถอ่านออนไลน์ได้ที่นี่ “มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตในรูปแบบอุทยานการเรียนรู้

เอาเป็นว่าก็ฝากไว้เท่านี้นะครับ

สรุปผลการประกวดห้องสมุดมีชีวิต ครั้งที่ 4

สวัสดีครับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ วันนี้ผมขอสรุปผลการประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ที่สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) ได้จัดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมและเพิ่งจะประกาศผลเมื่อวันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2555

อ่านข้อมูลโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ย้อนหลังได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/2012/06/28/living-library-award-2012/

ผมขอสรุปผลการประกวดเลยแล้วกันนะครับ

รางวัลชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ได้แก่……
ห้องสมุดประชาชนอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ (เยเย้ ยินดีด้วยนะครับ)

รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 1 (อันดับสอง) ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี

รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 2 (อันดับสาม) ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสงขลา

รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 3 (อันดับสี่)
ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 4 (อันดับห้า)
ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

รางวัลชมเชย ห้องสมุดมีชีวิต TK park (อันดับที่ 6 – 10) ได้แก่
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ลาดกระบัง กทม.
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
ห้องสมุดกองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้มีนบุรี กทม.
ห้องสมุดโรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา

รางวัลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย ห้องสมุดมีชีวิต TK park (อันดับที่ 11 – 20) ได้แก่
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี กทม.
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดตราด
ห้องสมุดเพชรรัตน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง จังหวัดลำปาง
ห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
ห้องสมุดโรงเรียนวัดพุทธบูชา กทม.
ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ห้องสมุดประชาชนอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี
ห้องสมุดประชาชนอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุโขทัย

ขอแสดงความยินดีกับห้องสมุดทั้ง 20 แห่งด้วยนะครับ คุณเป็นสุดยอดห้องสมุดมีชีวิตจริงๆ

สำหรับรางวัลที่ห้องสมุดมีชีวิตจะได้รับผมแนะนำว่าให้เพื่อนๆ กับไปอ่านในบล็อก
โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ดีกว่าครับ
http://www.libraryhub.in.th/2012/06/28/living-library-award-2012/

ปล. ขอบคุณข้อมูลและภาพจากกล้องพี่นุ้ย TK park ด้วยนะครับ

นิยามการอ่านแบบสั้นๆ ฉบับคนทำงานห้องสมุดและบรรณารักษ์

เมื่อสองวันก่อนเปิดประเด็นชวนคิดให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้ตอบกัน โดยคำถามมีอยู่ว่า “เพื่อนๆ คิดว่าการอ่านมีประโยชน์อย่างไรบ้าง” (ขอนิยามแบบสั้นๆ นะครับ) ซึ่งเพื่อนๆ ได้ตอบกันมาเยอะพอสมควร ผมจึงขอนำมาลงให้ทุกท่านได้อ่านกัน

ปล. บล็อกเรื่องนี้ถือว่าเพื่อนๆ ทุกคนช่วยกันเขียนนะครับ ขอบคุณเพื่อนๆ ที่มีส่วนร่วม

“เพื่อนๆ คิดว่าการอ่านมีประโยชน์อย่างไรบ้าง” (ขอนิยามแบบสั้นๆ นะครับ)

คำตอบจากกลุ่ม Librarian in Thailand ใน Facebook

1. Improvised Heart – การอ่านมีประโยชน์ ดังนี้ 1. ทำให้เกิดจินตนาการ เพราะการอ่านจะทำให้เราคิดภาพไปด้วย (แต่จินตนาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน) และ 2. ทำให้ได้รับความรู้มากขึ้น (แน่ล่ะ)
2. Cybrarian Cyberworld – Open my life,open my world ,change my life ,change my world & change one’s idea…
3. Aobfie Thiyaphun – อ่านเพื่อ.. ได้รู้ ได้คิด
4. สุดหล่อ ก่ะ เด็กซื่อ – Today a reader, tomorrow a leader
5. Sornor Toom – การอ่านคือ ขุมทรัพย์แห่งปัญญา
6. บรรณารักษ์ เจน – เปิดหูเปิดตา , เกิดปัญญา , มีเรื่องคุย
7. Aobfie Thiyaphun – อ่านเพื่อ…กด Like และ กด แชร์ ^^
8. Jakapon Patpongpun – เรียนรู้เพื่อรับปริญญาชีวิต
9. Aobfie Thiyaphun – อ่านเพื่อ.. เสริมสร้างภูมิปัญญา พัฒนาความคิด เพิ่มคุณภาพชีวิต อุทิศคืนสู่สังคม…
10. Sorravee Tungwongthavornkij – การอ่านคือ การพัฒนาชีวิต
11. Alich Jutarat Chomsuntia – การอ่านเป็นประตูบานแรกที่จะเปิดสู่โลกของการศึกษาค่ะ^^
12. Jung Bi Yoon – การอ่านคือการเรียนรู้แบบ hi speed เพราะได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์คนอื่น 😉
13. เสาวณีย์ เจ๊ะหนุ่ม – การอ่านทำให้คุยกับคนในสังคมรู้เรื่อง
14. Aobfie Thiyaphun การอ่าน “เรื่องจริง” ทำให้เข้าใจถูก…การอ่าน “เรื่องเท็จ” ทำให้เข้าใจผิด…การอ่านจึงต้องใช้ “วิจารณญาน” ประกอบด้วย ^^
15. สุนทรี เซี่ยงว่อง – การอ่านทำให้เราฉลาดขึ้น เข้าใจตัวเอง และเข้าใจคนรอบข้าง รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
16. Cabinlazz Lizzie – การอ่านคือชีวิต เพราะถ้าไม่ได้อ่านกระทั่งฉลากยา ก็คงกินยาผิดค่ะ
17. ประพาฬรัตน์ เจริญศิริรุ่งเรือง – ‎”การอ่าน” คือการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชีวิตประจำวัน ค่ะ
18. Kritsana C Thipsy – การอ่านมาจากความความ “อยาก” สิ่งที่ได้คือ ฉันรู้แล้ว
19. Thung Thailife – การอ่านคือ การที่เราทำความเข้าใจกับข่าวสารหรือเรื่องราวที่เราสนใจและนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง สังคม ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
20. Aom Khontharose – ทำให้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของนักเขียน เช่น หนังสือที่ไปเที่ยวแต่ละประเทศก่อนที่จะได้ไปสัมผัสประสบการร์จริง
21. Nantana Krodtem – การอ่านเป็นการออกกำลังสมอง ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์
22. Marootpong Aimmo – การอ่าน เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนชีวิตครับ
23. Chattayathorn Lapath – การอ่าน ทำให้ได้ฝึกคิดจินตนาการ
24. เสือทอม สุดแรงปั่น – การอ่าน คือการแสวงหาความรู้
25. Chatchaya Kuntakate – การอ่าน คือ การเรียนรู้โลกและสังคม

คำตอบจาก Fanpage เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย ใน Facebook

1. Nawapat Chanloy – เกิดจินตนาการกว้างไกล…
2. Maykin Likitboonyalit – เหงา เศร้า ซึม หนังสือช่วยแก้ได้นะ #การอ่านช่วยบำบัด
3. Pong Ping – ช่วยเปิดกระโหลก ให้ ความคิดกว้างไกล ไม่เป็นกบในกะลา
4. Somchai Tinyanont – การอ่านคือการพัฒนาตนเองที่ดีที่สุด
5. Nit Kumansit – การอ่าน คือ การรับความรู้ มาสร้างปัญญา เพื่อพัฒนาตน
6. บริการแปลล่ามอังกฤษไทย และเรียนภาษาออนไลน์ – การอ่านเป็นการเปิดประตูรับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง ที่จะนำมาใช้ให้อยู่รอดได้ทุกสถานการณ์
7. Chattayathorn Lapath – การอ่านทำให้เราเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดเวลาสถานที่^^
8. น้อยใจยา จ๋าจ๊ะ – การอ่านคือการพัฒนาชีวิตทำให้เกิดความคิดที่ก้าวไกล
9. Aom P. Chan – การอ่านทำให้คนเราเกิดการเรียนรู้และฉลาดมากยิ่งขึ้น
10. Porntip Mung – การอ่านเป็นการเปิดความคิด
11. Sophit Sukkanta – การอ่านช่วยให้เรารู้เขารู้เรา
12. Wanpen Srisupa – การอ่านคือบุญกับบาป
13. ขวัญจิตร เดชเดชะสุนันท์ – เปิดหนังสือเปลี่ยนความคิดชีวิตเปลี่ยน

เอาหล่ะครับเป็นยังไงกันบ้าง นี่แหละความมีส่วนร่วมของพี่น้องวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์แหละครับ
ถ้าเพื่อนๆ อ่านแล้วอยากเพิ่มเติมอะไรก็สามารถเข้ามา comment ต่อได้ด้านล่างนี้เลยนะครับ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

Libraryhub พาชมห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีอำเภอเมืองยะลา

ช่วงนี้ได้มีโอกาสเดินทางลงพื้นที่บ่อยมาก และการลงพื้นที่ของผมก็ยังคงเกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดอยู่ เมื่ออาทิตย์ก่อนได้มีโอกาสไปที่จังหวัดยะลา จึงอยากนำเสนอห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเมืองยะลา ให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนแห่งนี้
ชื่อห้องสมุด : ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเมืองยะลา
ที่อยู่ : สำนักงาน กศฯ. จังหวัดยะลา 1 ถนนอาคารสงเคราะห์ ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
เว็บไซต์ของห้องสมุด : http://yala.nfe.go.th/lbckyala

ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเมืองยะลาเพิ่งเปิดให้ใช้บริการเมื่อต้นปี 2555

ลักษณะอาคาร : เป็นอาคารเอกเทศ มี 2 ชั้น
ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย
– มุมหนังสือทั่วไป 000-999 , นวนิยาย
– มุมเด็กและครอบครัว
– มุมบริการอินเทอร์เน็ต
– มุมวารสาร / สิ่งพิมพ์
– ห้องนักเขียนเมืองยะลา

ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย
– ห้องใต้ร่มพระบารมี
– ห้องเอกลักษณ์ (ข้อมูลท้องถิ่น)
– ห้องอาเซียนศึกษา


ห้องสมุดแห่งนี้มีจุดเด่นในหลายเรื่องซึ่งผมจะสรุปให้อ่านดังนี้

1. หน้าจอสืบค้นหนังสือแบบ touch screen
อันนี้ผมชอบเป็นการส่วนตัว โปรแกรมที่ใช้จริงๆ ก็เป็น PLS แต่อุปกรณ์ Hardware ของที่นี่เป็นเครื่องแบบระบบสัมผัสซึ่งใช้ง่ายพอควร

2. ห้องเอกลักษณ์ (ข้อมูลท้องถิ่น)
ข้อมูลละเอียดดีและเป็นข้อมูลที่ใช้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติของเมืองยะลาได้ดีทีเดียว

3. ห้องอาเซียนศึกษา
แยกเป็นห้องเอกเทศมีข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนค่อนข้างครบ แถมด้วยการจัดห้องในลักษณะคล้ายๆ โรงภาพยนตร์ ซึ่งห้องนี้ใช้ประยุกต์ในการสอนภาษาได้ด้วย

4. พื้นที่บริเวณรอบนอกอาคาร
เป็นพื้นที่โล่งสามารถจัดกิจกรรมกลางแจ้งได้

5. นอกรั้วของห้องสมุด มีการจัดกิจกรรม “เรียนรู้ภาษาอาเซียน”
ซึ่งมีการเปลี่ยนทุกสัปดาห์สัปดาห์ละคำ (สัปดาห์ที่ผมได้เป็น “คำขอบคุณ” ของทั้ง 10 ชาติอาเซียน)

เอาเป็นว่าพี่น้องที่อยู่แถวนั้นถ้ามีเวลาผมก็ขอแนะนำว่าเป็นห้องสมุดที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง
ปล.อื่นๆ ก็คงเหมือนห้องสมุดประชาชนทั่วไปผมไม่ขอบรรยายแล้วกัน

ชมภาพบรรยากาศห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเมืองยะลาทั้งหมด

[nggallery id=59]

มาเรียนเรื่องการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบดิวอี้ออนไลน์กันดีกว่า

การจัดหมวดหมู่และการจัดเรียงหนังสือในห้องสมุดหลายๆ แห่ง (โดยเฉพาะห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน….) มักจะใช้หลักการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้กัน วันนี้ผมจึงอยากแนะนำข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่ใช้เพื่อการเรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่นี้

ปีที่แล้วผมได้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง “DDC23 กำลังจะมา ห้องสมุดของคุณเตรียมพร้อมแล้วหรือยัง

ในครั้งนั้นผมให้ข้อมูลว่า OCLC ไปพัฒนาระบบ WebDewey 2.0 เพื่อช่วยให้บรรณารักษ์ทำงานง่ายขึ้น ซึ่งการใช้งาน WebDewey 2.0 ห้องสมุดและบรรณารักษ์จะต้องเป็นสมาชิกและเสียค่าใช้จ่ายให้กับ OCLC

ซึ่งหากห้องสมุดของท่านไม่ได้เป็นสมาชิกกับ OCLC แล้วท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า DDC23 มีการเปลี่ยนแปลงในหัวข้อไหนบ้าง และการจัดหมวดหมู่ยังคงรูปแบบเหมือนที่เราเรียนมาเมื่อ 10 – 20 ปีก่อนหรือไม่

ซึ่งทำให้ OCLC ไปเปิดบริการ Dewey Teaching Site ขึ้น และจัดทำเอกสารเพื่อให้ผู้ที่สนใจ คนทำงาน นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ได้นำไปใช้เพื่อให้เข้าใจที่มาของการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้


เว็บไซต์ที่เก็บเอกสารที่ใช้สำหรับการเรียนรู้การจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

(http://www.oclc.org/dewey/resources/teachingsite/courses/default.htm)

เอกสารประกอบด้วย
– Technical Introduction to the DDC
– Choice of Number Review
– Number Building: Add Tables
– Introduction to WebDewey 2.0
– Introduction to Table 1
– Introduction to 000, 100, 200
– Introduction to 300 and Table 5
– Introduction to 400 and Tables 4 and 6
– Introduction to 500
– Introduction to 600
– Introduction to 700
– Introduction to 800 and Table 3
– Introduction to 900 and Table 2

เอกสารทั้งหมดอยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF
นอกจากเนื้อหาที่ใช้สำหรับอ่าน หรือ สอนแล้ว ยังมีในส่วนที่เป็นแบบฝึกหัดให้ทำด้วย เพื่อทบทวนการเรียนรู้ของเรา

เอาเป็นว่าใครที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เข้าไปชมกันได้ครับ

เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด

ปลายเดือนนี้ (วันที่ 24 สิงหาคม 2555) ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้จัดงานประชุมวิชาการฯ เรื่อง “เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด” เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดอ่านต่อด้านล่างเลยครับ

รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 24 สิงหาคม 2555
จัดโดย : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา

หัวข้อเรื่องของเทคโนโลยี cloud computing กำลังมาแรงไม่เพียงแต่วงการไอที หรือ วงการธุรกิจ แต่มันยังเริ่มเข้ามาสู่วงการศึกษา และวงการห้องสมุดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ตัวอย่างการใช้งาน Cloud computing เช่น การแชร์ไฟล์ข้อมูลผ่านโลกอินเทอร์เน็ตด้วย dropbox …. (เอาไว้จะเขียนให้อ่านบ้างนะครับ)

ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจ
เช่น
– Cloud Computing for Education
– การหลอกลวงในโลก Internet ในปัจจุบัน
– เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด
– เสวนาเรื่อง เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด: แนวคิดและประสบการณ์
– เรียนรู้เพื่ออยู่รอดในยุคดิจิตัล ( Staying Relevant in Digital Era)
– การให้บริการสารสนเทศกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน : อยู่รอด รู้ทันรอบรู้

เอาเป็นว่าหัวข้อแต่ละหัวข้อดูน่าสนใจดีทีเดียว
และถ้าหากเพื่อนๆ สนใจเข้าร่วมงานนี้ต้องบอกอีกนิดว่า “มีค่าใช้จ่าย” นะครับ

หากสนใจดาวน์โหลดใบสมัครและหนังสือเชิญเข้าร่วมงานได้ที่

จดหมายเชิญเข้าร่วมงานและใบสมัครเข้าร่วมงาน

คนทำงานด้านห้องสมุดจำเป็นต้องจบบรรณารักษศาสตร์หรือไม่

นานมากแล้วที่ผมไม่ได้ถามความคิดเห็นของเพื่อนๆ ผ่านทาง Library poll วันนี้ผมจึงขอตั้งคำถามแบบง่ายๆ ที่เกี่ยวกับวิชาชีพของเราให้เพื่อนๆ ช่วยกันตอบ

ซึ่งคำถามในวันนี้มาจากประโยคบอกเล่าต่างๆ เช่น
“ใครๆ ก็เป็นบรรณารักษ์ได้”
“เอาใครมาทำงานห้องสมุดก็ได้”
“งานห้องสมุดง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้”

เมื่อได้ฟังแล้วเพื่อนๆ มีความคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่ครับ

เอาเป็นว่าไปโหวตกันได้เลย

[poll id=”26″]

เอาเป็นว่าช่วยกันโหวตเยอะๆ นะครับ
แล้ววันหลังผมจะมาเขียนบทความนี้ให้อ่านครับ

Branding…การสื่อสารอัตลักษณ์ของห้องสมุดและการบริการสารสนเทศ

ในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ จะจัดงานประชุมวิชาการ ประจำปี ซึ่งในปีนี้กำหนดการและหัวข้อก็ออกมาแล้ว วันนี้ผมจึงขอประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ผู้สนใจเข้าร่วมกันสักหน่อย

รายละเอียดงานประชุมวิชาการประจำปี ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
ชื่องานภาษาไทย : Branding…การสื่อสารอัตลักษณ์ของห้องสมุดและการบริการสารสนเทศ
สถานที่จัดงาน : โรงแรมมารวยการ์เด้น
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 6 – 7 กันยายน 2555
จัดโดย : ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

จริงๆ แล้วเรื่องของการสร้างแบรนด์หรือตราสินค้าเป็นเรื่องที่หลายๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่อยู่แต่เฉพาะในแวดวงธุรกิจเท่านั้น ซึ่งต้องบอกว่าเราลองมาเปลี่ยนทัศนคติตรงนี้กันใหม่ดีกว่า เพราะเรื่องของการสร้างแบรนด์เองปัจจุบันเป็นเรื่องที่แม้แต่หน่วยงานด้านการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ หรือแม้แต่ห้องสมุดก็จำเป็นที่จะต้องรู้จักการสร้างภาพลักษณ์และแบรนด์ของหน่วยงานตนเอง

“การสร้างแบรนด์ ไม่ใช่ การประชาสัมพันธ์ แต่ การสร้างแบรนด์ เป็นส่วนหนึ่งและขั้นตอนหนึ่งของประชาสัมพันธ์”

การจัดการประชุมวิชาการในเรื่องนี้ผมจึงมองว่ามันก็น่าสนใจอยู่นะ
เพราะเป็นเรื่องที่ทุกท่านจะได้รับรู้และเปลี่ยนทัศนคติของพวกเรา
ให้เข้าใจคำว่าการสร้างแบรนด์ของห้องสมุดอย่างแท้จริง

หัวข้อที่น่าสนใจของงานนี้
– Brand Identity กับห้องสมุด
– อัตลักษณ์ของการอ่าน….มุมหนังสือเพื่ออาเซียน…
– Branding การสร้างอัตลักษณ์ท่ามกลางยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
– นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการสร้าง branding ของห้องสมุด
– Branding อย่างไร เพื่อก้าวไกลสู่อนาคต

เอาเป็นว่าแต่ละหัวข้อก็น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยหล่ะครับ
ถ้าสนใจก็ลงทะเบียนมาฟังกันก็แล้วกันนะครับ

การลงทะเบียนเข้าร่วมงานนี้มีค่าใช้จ่ายสักหน่อยนะครับ
สมัครก่อนวันที่ 17 สิงหาคม 2555 ค่าลงทะเบียน 1800 บาท
สมัครในช่วงวันที่ 18-31 สิงหาคม 2555 ค่าลงทะเบียน 2200 บาท
ปิดรับสมัครวันที่ 31 สิงหาคม 2555 นะครับ

เอาเป็นว่าถ้าสนใจก็สมัครเข้าร่วมงานกันได้นะครับ ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมและใบสมัครสามารถดูได้ที่
http://library.md.chula.ac.th/guide/slg6-7sep55.pdf
หรือ http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2012/07/slgannual.pdf

ตัวอย่างกิจกรรมห้องสมุดโรงเรียน : ครูดีเด่นกับการใช้ห้องสมุด

ขวัญและกำลังใจของผู้ใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนเล็กๆ น้อย คงจะเป็นรางวัลผู้เข้าใช้บริการดีเด่น ซึ่ง หลายๆ โรงเรียนมักจะแจกรางวัลนี้ให้กับนักเรียนเป็นหลัก “นักเรียนที่ยืมหนังสือมากที่สุด” “นักเรียนที่เข้าห้องสมุดบ่อยที่สุด” วันนี้ผมขอนำเสนอผู้ใช้บริการอีกกลุ่มที่เราควรให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ “ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ของโรงเรียน”

ตัวอย่างกิจกรรมวันนี้ผมบังเอิญเห็นใน Facebook ดังภาพ

กิจกรรมนี้มาจาก “ห้องสมุดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย”
ชื่อกิจกรรม “15 อันดับครูที่เข้าใช้ห้องสมุดโรงเรียนเป็นประจำ”

ดูไปแล้วเพื่อนๆ อาจจะรู้สึกว่ามันธรรมดา ห้องสมุดไหนๆ เขาก็แจกรางวัลประมาณนี้กัน
แต่ข้อสังเกตที่ผมขอตั้งไว้ให้คิด คือ การประกาศเกียรติคุณโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ครับ

ลองอ่านชื่อประกาศและรายละเอียดของประกาศดูนะครับ
ผมรู้สึกว่าแม้จะเป็นเพียงประกาศผ่านโลกออนไลน์แต่ในความรู้สึกของผู้ที่มีรายชื่อในนั้น
บอกตรงๆ ครับ ถ้ามีชื่อผมอยู่บนนั้น “ผมโคตรภูมิใจเลย” “มันวิเศษมากๆ เลย”

ยังไม่หมดครับสังเกตด้านขวามือนะครับ มีการ tag ไปให้ครูที่ได้รับรางวัลด้วย
ซึ่งนั้นหมายความว่าประกาศฉบับนี้ก็จะอยู่บนหน้า Facebook ของผู้ถูกประกาศอีก

นอกจากนั้นก็มีประกาศนียบัตรและพิธีรับมอบรางวัลจากผู้อำนวยการโรงเรียนด้วย (ในที่นี้คือภารดา)

นอกจากรางวัลหรือประกาศนียบัตรที่มอบให้กับนักเรียนแล้ว
ที่นี่ยังให้ความสำคัญกับบุคลากรทางการศึกษาด้วย “เยี่ยมจริงๆ ครับ”

เมื่อครูได้รับรางวัลนี้แล้ว ผมเชื่อว่าคุณครูเหล่านี้เองที่จะมีส่วนช่วยเหลือห้องสมุดในด้านต่างๆ หรือแม้กระทั่งอาจจะปลูกฝังนิสัยการรักการอ่านและการใช้ห้องสมุดให้เด็กๆ ที่คุณครูได้สอนต่อไป


เอาเป็นว่าตัวอย่างกิจกรรมดีๆ แบบนี้ผมจะหาและนำมาเล่าให้เพื่อนๆ อ่านต่อไปครับ !!!

โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4

โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 กลับมาพบกับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดกันอีกครั้งแล้วนะครับ ปีนี้นอกจากการอบรมที่เพื่อนๆ จะได้พัฒนาทักษะและแนวคิดแล้ว ยังมีรางวัลคือเงินทุนในการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต และยิ่งไปว่านั้นบรรณารักษ์ที่ติด 1 ใน 10 จะได้ไปดูงานการพัฒนาห้องสมุดที่ประเทศเกาหลีด้วย

ห้องสมุดไหนที่สนใจกรุณาอ่านกติกาด้านล่างนี้ครับ
1. ส่งใบสมัครเพื่อรับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ตามรายละเอียดโครงการที่แจ้งผ้นต้นสังกัดของห้องสมุดทั่วประเทศ ภายในวันที่ 13 กรกฎาคม 2555
2. หากได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 ห้องสมุดที่ได้เข้าร่วมโครงการ บรรณารักษ์จะต้องเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเข้มข้นระหว่างวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2555 ที่จังหวัดนครนายก
3. หลังเสร็จสิ้นการอบรม บรรณารักษ์จะต้องออกแบบโครงการตามเงื่อนไขของการอบรม เพื่อส่งให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการสร้างสรรค์ จำนวน 20 ห้องสมุด
4. ห้องสมุดที่ได้รับเลือกจำนวน 20 แห่ง จะต้องดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่ส่งประกวดในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 555 เพื่อให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิลงติดตามผลงาน
5. ห้องสมุดทั้ง 20 แห่ง จะต้องนำเสนอผลงานความสำเร็จของโครงการและการพัฒนาเปลี่ยนแปลงห้องสมุด เพื่อการตัดสินครั้งสุดท้าย และร่วมพิธีรับมอบรางวัลพร้อมทุนการพัฒนาห้องสมุดในวันที่ 28 กันยายน 2555


รางวัลที่ห้องสมุดทั้ง 20 แห่งจะได้คือ

– ทุนในการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
– ป้ายประกาศเกียรติคุณ
– ชั้นหนังสือพร้อมหนังสือคัดสรรจาก TKpark

บรรณารักษ์ของห้องสมุดที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ รวมทั้งรางวัลชมเชย จำนวน 10 ท่านจะได้ไปดูงานด้านการพัฒนาห้องสมุดที่ประเทศเกาหลีใต้ ในระหว่างวันที่ 14 – 18 ตุลาคม 2555

เอาหล่ะ อ่านกติกาแล้ว หากสนใจหรือมีคำถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อที่
ศูนย์ประสานงานโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4
โทร. 0-2575-2559 ต่อ 423 หรือ 425
08-1304-4017, 08-9899-4317

ภาพข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4

ข่าวย้อนหลัง โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต ครั้งที่ 3