บ้านหนังสือ : ห้องสมุดหลังเล็กสำหรับชุมชน

เมื่อวานผมนำรูปภาพของบ้านหนังสือลงใน facebook ส่วนตัวของผม
ทำให้หลายๆ คนสนใจและอยากรู้จัก “บ้านหนังสือ” วันนี้ผมจึงขอนำมาขยายเรื่องลงบล็อก

บ้านหนังสือ ก็คือ ห้องสมุดประเภทหนึ่งที่สังกัดกับกรุงเทพมหานคร โดยห้องสมุดในกลุ่มนี้จะจัดสร้างในชุมชนที่มีผู้อาศัยอยู่จำนวนหนึ่งหรือพื้นที่ใกล้เคียงไม่มีห้องสมุดขนาดใหญ่ของกรุงเทพตั้งอยู่ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในเรื่องการอ่าน กรุงเทพฯ จึงได้จัดทำบ้านหนังสือขึ้นมาเพื่อให้คนเข้าถึงหนังสือมากขึ้น


บริการต่างๆ ในบ้านหนังสือ
– บริการวารสาร นิตยสารและหนังสือพิมพ์
– บริการหนังสือทั่วไป
– บริการดูหนัง ฟังเพลงและอินเตอร์เน็ต
– จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

เวลาทำการของบ้านหนังสือแต่ละที่เหมือนกับห้องสมุดทั่วๆ ไปแหละครับ คือ
เปิดวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 10.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์และวันหยุดพิเศษ

ไอเดียที่ผมชอบมากๆ ของบ้านหนังสือ คือ การนำตู้คอนเทนเนอร์สองตู้มาต่อกัน
ซึ่งมองในแง่งบประมาณและการใช้งาน รวมถึงพื้นที่ในการวาง ผมว่ามันเหมาะสมมากๆ
การมีบ้านหนังสือเยอะๆ ในกรุงเทพจะช่วยให้คนเข้าถึงหนังสือได้ง่ายกว่าการมีห้องสมุดใหญ่ๆ เพียงไม่กี่ที่

ลองดูวีดีโอแนะนำ “บ้านหนังสือ” ที่จัดทำโดย กทม. นะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=OPTjGpr2w0U[/youtube]

ถ้าอยากทราบว่าบ้านหนังสือในกรุงเทพฯ มีอยู่ที่ไหนบ้างสามารถเข้าไปดูได้ที่
http://203.155.220.217/dll/house.html (ปัจจุบันมี 116? แห่งทั่วกรุงเทพฯ)

ก่อนจากกันผมขอแถมภาพถ่ายภายในจาก “บ้านหนังสือสวนป่าเฉลิมพระเกียรติ”

[nggallery id=32]

ปล. ภาพถ่ายบางส่วนผมนำมาจาก http://203.155.220.217/dll/house.html

หนึ่งตำบลหนึ่งห้องสมุด (One Tumbon One Library)

วันนี้ขอเขียนบล็อกแนวแปลกให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันสักหน่อย
ว่าแต่ว่าเพื่อนๆ เคยได้ยินคำนี้มั้ยครับ คำว่า OTOL(One Tumbon One Library)
หรือเรียกแบบง่ายๆ ว่า “หนึ่งตำบลหนึ่งห้องสมุด” นั่นแหละ

library-country

จริงๆ คำนี้ก็ไม่ได้มีอะไรมากหรอกครับ แค่ผมฟังคำว่า OTOP OTOP OTOP บ่อยมากเกินไป
เลยขอแหวกแนวมาเป็น OTOL สำหรับวงการบรรณารักษ์บ้าง

ทำไมต้องมี 1 ตำบล 1 ห้องสมุดหล่ะ
เพื่อนๆ ก็ลองคิดดูว่าถ้ามีช่องทางในการเข้าถึงความรู้ได้มากๆ คนก็จะเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่ายขึ้น

แนวความคิดที่อยากเห็นคนไทยทุกคนเข้าถึงสารสนเทศได้ง่ายขึ้น

?แล้วทำไมต้องเป็นห้องสมุดหล่ะ เดี๋ยวนี้มีอินเทอร์เน็ตแล้ว ห้องสมุดคงเป็นสิ่งที่อาจจะไม่จำเป็นแล้วก็ได้?

คำพูดนี้ผมอาจจะไม่เถียงเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เราเข้าถึงสารสนเทศได้เร็วขึ้น
แต่เพื่อนๆ เคยคิดถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศมั้ยครับที่ยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ดังนั้นผมจึงบอกว่าห้องสมุดเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้มากกว่า
โดยที่ห้องสมุดในแต่ละชุมชนไม่ต้องใหญ่โตมากหรอกครับ ขอแค่มีหนังสือที่มีประโยชน์ให้อ่านก็ดีพอแล้ว
ผมว่าก็จะช่วยเพื่อนในชนบทของเราได้แล้ว

โครงการห้องสมุดที่ผมเห็นมากมาย เช่น ห้องสมุดเคลื่อนที่, ชมรมอาสาที่ไปสร้างห้องสมุด
สิ่งเหล่านี้ผมอยากให้เมืองไทยมีมากๆ เพราะว่าการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนในชาติเหมือนกัน
ถ้าคนในชาติมีคุณภาพ ประเทศชาติก็จะเจริญตามไปด้วย

อย่าเพิ่งเครียดกันนะครับ
ผมเพียงแค่อยากให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุดก็เท่านั้น
ช่วยๆ กันทำให้เกิดขึ้นนะครับ 1 ตำบล 1 ห้องสมุด

ปล. รูปที่ให้ดูเป็นห้องสมุดของวัดแห่งหนึ่งที่ผมกับเพื่อนๆ ไปช่วยจัด หนังสือไม่เยอะแต่คุณค่าทางใจมีค่ามากที่สุด

พาชมห้องสมุดสวนหนังสือเจริญกรุง

ห้องสมุดแห่งหนึ่งที่ผมอยากแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จัก คือ “สวนหนังสือเจริญกรุง”
จุดประสงค์การก่อตั้ง และการบริการในห้องสมุดแห่งนี้ ดึงดูดให้ผมต้องไปเยี่ยมชม

bookgarden1

ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดแห่งนี้
สถานที่ : สวนหนังสือเจริญกรุง
ที่อยู่ : 2074/17-18 ถ.เจริญกรุง แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กทม 10120
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2688-2883
เว็บไซต์ : http://www.thaibookgarden.org

สวนหนังสือเจริญกรุง เป็นห้องสมุดที่ให้บริการแก่คนในชุมชน
ก่อตั้งขึ้นเนื่องในโอกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีชาตกาลของท่านพุทธทาส
ด้วยความคิดริเริ่มของ คุณพิชัย ตั้งสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท พริสแอนด์พีช จำกัด
ซึ่งได้ระดมบุคคล และองค์กรที่เห็นความสำคัญของห้องสมุด มาร่วมกันก่อตั้งห้องสมุดเพื่อชุมชน

รายชื่อคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุด สวนหนังสือเจริญกรุง ประจำปี 2551
1.? พระมหาหนึ่งฤทัย นิพพโย? วัดราชสิงขร
2.? คุณพิชัย ตั้งสิน?????????????? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
3.? คุณปริศนา ตั้งสิน??????????? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
4.? คุณลัดดา วิวัฒน์สุระเวช??? สถาบันสันติประชาธรรม
5.? คุณยาซิน มันตะพงศ์??????? สนง.คุมประพฤติฯ พระนครใต้
6.? จ.ส.ต.นวพล งามคงคา???? สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร
7.? คุณอุดมลักษณ์ จันทร์มา?? ชุมชนสวนหลวง
8.? คุณกิตติ ลิมปกาญจน์เวช? ชุมชนศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง
9.? คุณอรสา มัศยมาส????????? ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เขตบางคอแหลม
10. คุณอนุสรณ์ องอาจ??????? โรงเรียนศาสนศึกษาบางอุทิศ
11. คุณไพศาล สมานพงษ์???? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
12. คุณกุลวรางขค์ ฤทธิเดช? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด

ความร่วมมือของบุคคลต่างๆ เช่น
อาคารสถานที่ ได้รับการสนับสนุนจาก คุณพิชัย ตั้งสิน
ค่าใช้จ่ายบุคคลากรในการดำเนินงาน ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท พริส แอนด์ พีช จำกัด
ค่าหนังสือ และวัสดุอุปกรณ์ ได้รับการสนับสนุนจาก ผู้อุปถัมภ์ระดับต่างๆ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็ได้รับการบริจาค จากบุคคลต่างๆ ในชุมชน

ความร่วมมือกันก่อนตั้งห้องสมุดของคนในชุมชน นำมาซึ่งการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชนด้วย

ห้องสมุดแห่งนี้มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะงานเสวนาซึ่งมีจัดทุกเดือน เช่น
– การดำเนินชีวิต…เข็มทิศสุขภาพ
– หนังสือเดซี อ่านด้วยตาให้ด้วยใจ
– เรื่องของเด็ก…ไม่เล็กอย่างที่คิด
– อ่านเอาเรื่อง…เขียนเอาความ เคล็ดไม่ลับในการอ่านหนังสือ
– ย้อนอดีตภาพยนต์ไทย..กับหอภาพยนต์แห่งชาติ

งานกิจกรรมที่ผมยกมาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ

ห้องสมุดแห่งนี้การบริการต่างๆ ก็มีเหมือนกับห้องสมุดทั่วๆ ไปนะครับ
อาจจะขาดเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีไปบ้าง แต่หนังสือที่นี่มีให้เลือกอ่านพอสมควรเลย

bookgarden3 bookgarden4

การสมัครสมาชิกของที่นี่ ผมชอบมากเลยครับ เพราะว่าไม่ต้องเสียเงินสมัครสมาชิกหรอกนะครับ
เพียงแค่เพื่อนๆ มาใช้บริการที่นี่แล้วเซ็นต์ชื่อไว้
เมื่อครบ 6 ครั้งเพื่อนๆ ก็จะสามารถทำบัตรและยืมหนังสือได้ตามปกติ

บรรยากาศภายในห้องสมุดก็ตกแต่งด้วยสีสันที่สะดุดตา น่าใช้บริการ
ในอาคารแบ่งออกเป็นสองชั้น เลือกนั่งได้ตามสบายเลยครับ

bookgarden7 bookgarden6

ห้องสมุดที่ผมนำมาแนะนำวันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งให้สังคมได้คิด
แม้ว่าบริษัทเอกชนทุกที่จะต้องการผลกำไร แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาไม่ละเลยคือการให้สิ่งดีๆ กับสังคม

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้ดีกว่า ถ้าอยากรู้ว่าห้องสมุดนี้เป็นยังไง
ผมว่าเพื่อนๆ ลองมาสักครั้งนะครับ แล้วจะเข้าใจมากกว่านี้

สำหรับใครที่อยากมาที่นี่ก็ไม่ยากครับ ทำได้ดังนี้
รถไฟฟ้า : ลงที่สถานีสะพานตากสิน แล้วต่อด้วยรถประจำทาง
รถประจำทาง : สายรถประจำทางที่ผ่านคือ 1, 15, 75, 163, 544, ปอ.22, ปอ.504, ปอ.547
เรือด่วนเจ้าพระยา : ขึ้นเรือที่ท่าวัดราชสิงขร, ท่าเรือวัดจรรยาวาส

ภาพด้านบนเป็นภาพจากในเว็บไซต์ของสวนหนังสือเจริญกรุงนะครับ ด้านล่างนี้เป็นรูปที่ผมถ่าย

รวมภาพบรรยากาศในสวนหนังสือเจริญกรุง

[nggallery id=7]