หลายคนคงเคยได้ยินแต่คำว่า Internet of Things หรือ IOT หรือ อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งมาแล้ว วันนี้หากท่านอ่านบทความนี้อยู่ ที่ผมเขียนว่า Library of Things ผมไม่ได้เขียนผิดนะครับ มันมีคำๆ นี้จริงๆ และเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก สังเกตุได้จากการสืบค้นคำนี้ใน google (มีการสืบค้นคำนี้ตั้งแต่ปี 2004)
Library of Things มีมานานแล้ว แต่ที่ถูกพูดถึงบ่อยในช่วงนี้ เพราะมันคือรูปแบบของการให้บริการที่เปลี่ยนแปลงไป รูปแบบการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ที่แค่การอ่านอย่างเดียว มันรวมถึงการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วย
วันนี้มาเปิดหูเปิดตาและอัพเดทความรู้ในแบบงานประชุมนานาชาติ (International Conference) ของวงการห้องสมุดในระดับนานาชาติอีกงานหนึ่งที่จัดในประเทศไทย งานนี้ชื่อเต็มๆ คือ “2018 OCLC Asia Pacific Regional Council Conference” ธีมของงานนี้ก็คือ “Change the game” เอาเป็นว่าในวันนี้มีอะไรมาอ่านได้เลยครับ
จุดแรกของการได้มาซึ่งข้อมูล คือ WORLDSHARE และ WORLDCAT ซึ่งปัจจุบันทั้งสองระบบทำงานบน CLOUD BASE SYSTEM
ทำความรู้จักกับระบบ Worldshare ในแง่มุมต่างๆ – Power of cooperative cataloging – WORLDCAT knowledge based – Freely available and open access content – Shared license template – Shared vendor information center
ในฐานะของการ shared content หรือ practical content หน่วยงาน OCLC มี Community center ที่ active ตลอด และมากไปกว่านั้นยังมี Developer network ที่พัฒนาการเชื่อมต่อระบบกับข้อมูลด้านอื่นๆ ที่สำคัญอีกด้วย
ตัวอย่างที่วิทยากรนำมาพูดมันเยอะมากๆ ขอยกเป็นตัวอย่างนะครับ เช่น – The met การไปชมพิพิธภัณฑ์ในแบบที้ไม่เหมือนเดิม – Ikea สอนทำอาหารอย่างง่าย – Tabi kaeru เกมส์กบจากญี่ปุ่น – พิพิธภัณฑ์ louvre นำชมตามลองมิวสิควีดีโอของ beyonce – man city and fantom นาฬิกาที่บอกตารางการแข่งขันฟุตบอลของทีม MAN city – game minecraft ที่สอนให้เด็กรักการอ่าน – instanovel ของ nypl – wechat mini program – Intime mall ที่มีบริการ magic mirror ในห้องน้ำหญิง ฯลฯ
อนาคตของห้องสมุดจะเป็นอย่างไร อะไรที่เป็นเรื่องใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด ในฐานะคนทำงานห้องสมุดเราต้องรู้อะไร แล้วเราต้องติดตามเรื่องไหนเป็นพิเศษ
วันนี้ผมขอแนะนำให้เราเข้าไปอ่าน “Library of the future” โดย ALA
“Library of the Future” ประกอบด้วยข้อมูล – โครงการ “Center for the Future of Libraries” – รายชื่อ Advisory Group – Blog หรือ รวม feed บทความจาก ALA ที่น่าสนใจ – Engage – Trend