บรรณารักษ์มือใหม่ควร follow ใครใน twitter

กระแส twitter เริ่มจะแรงขึ้นเรื่อยๆ นะครับ ห้องสมุดหลายๆ ที่ใช้ twitter
แต่คำถามหนึ่งที่ผมได้รับมา คือ “แล้วจะ follow ใครดีหล่ะใน twitter”
วันนี้ผมจึงต้องมาตอบคำถามข้อนี้ให้ชาวห้องสมุดได้เข้าใจกันสักหน่อย

twitter

แต่ก่อนอื่นหากเพื่อนๆ คนไหนที่ยังไม่รู้จัก twitter
ผมขอแนะนำว่าลองกลับไปอ่านบทความเก่าๆ ของผมก่อน

“Twitter + Librarian = Twitterian”

คุณควรจะ follow ใครบ้างใน twitter
(ขอแนะนำใช้สำหรับบรรณารักษ์ที่ใช้ twitter มือใหม่นะครับ)

1. ผู้ใช้บริการทั่วไปของห้องสมุด หรือ สมาชิกของห้องสมุด
2. หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ คุณ หรือจังหวัดเดียวกัน
3. ห้องสมุดอื่นๆ
4. บรรณารักษ์คนอื่นๆ
5. ผู้แต่งหนังสือ, สำนักพิมพ์, หนังสือพิมพ์
6. @Ylibraryhub (อันนี้แนะนำแบบพิเศษ)

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว
ผมแนะนำว่าคุณอาจจะ follow กลุ่มเป้าหมายของห้องสมุดของคุณก็ได้

เช่น หากเพื่อนๆ เป็นบรรณารักษ์ในห้องสมุดเฉพาะก็ลองหาคนที่สนใจในเรื่องเฉพาะที่ตรงกับห้องสมุดของคุณก็ได้ ตัวอย่างง่ายๆ เช่น
– ห้องสมุดมารวย อาจจะ follow คนที่ชอบเล่นหุ้นหรือสนใจเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนก็ได้
– ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์ อาจจะ follow นักวิทยาศาสตร์ หรือนักศึกษาที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ก็ได้
– ห้องสมุดการออกแบบ อาจจะ follow นักออกแบบ สถาปนิก หรือผู้รับเหมาก่อสร้างก็ได้

แต่ไม่ว่าคุณจะ follow ใครก็ตาม
ผมก็อยากให้คุณทำความรู้จักกับ social network tool เหล่านี้ และขอให้ใช้ในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมนะครับ

เพราะหากเพื่อนๆ ใช้ในทางที่ผิด “ห้องสมุดของท่านก็อาจจะมีชื่อเสียมากกว่าชื่อเสียงนะครับ”
ยังไงก็ลองหาคน follow ดูนะครับพี่น้องชาวห้องสมุด

5 คำแนะนำเพื่อการเป็นห้องสมุด 2.0

วันนี้ผมมีเวลาเล่าเรื่องน้อยกว่าทุกวันนะครับ เนื่องจากงานเยอะมากๆ
แต่บังเอิญไปเจอบทความดีๆ มา เลยต้องรีบแนะนำก่อน บทความนี้เกี่ยวกับเรื่อง ห้องสมุด 2.0

gotolibrary20

หลังๆ มาผมได้เข้ากลุ่ม library2.0 network ในเมืองนอกบ่อยขึ้น
เว็บนี้ทุกคนได้เข้ามาแชร์กันในเรื่องของการสร้างแนวคิดเรื่องการจัดการห้องสมุด 2.0 เยอะมากๆ

บทความนึงที่ในชุมชนกล่าวถึง คือ 5 คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนห้องสมุดของคุณให้กลายเป็นห้องสมุด 2.0
5 Suggestions for Upgrading to Library 2.0 (or Some Easy Steps to Get Started?Really)
ซึ่งบทความนี้เขียนโดย อาจารย์ Michael Stephens

เอาเป็นว่าผมขอแปลแบบคร่าวๆ ให้เพื่อนๆ อ่านดีกว่า
สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากอ่านต้นฉบับก็เข้าไปดูได้ที่ ชื่อเรื่องด้านบนเลยนะครับ

สำหรับคำแนะนำ หรือขั้นตอนง่ายๆ ในการพัฒนาห้องสมุดของคุณให้เป็น ห้องสมุด 2.0
เริ่มจาก ?..

1. Start a library blog (เริ่มจากการมีบล็อกห้องสมุดเสียก่อน)

เพราะว่าการทำบล็อกถือเป็นการแชร์ความรู้ แชร์ความคิด
นอกจากนี้ยังสามารถสร้างชุมชนหย่อมๆ ได้อีกด้วย
แถมขั้นตอนในการสร้าง หรือสมัครบล็อกทำได้ง่ายกว่าวิธีอื่น


2. Create an Emerging Technology Committee

ตั้งกลุ่มคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีในห้องสมุด
เพื่อที่จะได้มีกลุ่มคนที่เชียวชาญด้านเทคโนโลยีคอยแนะนำในการทำงานด้านต่างๆ
โดยทั่วไปก็อาจจะดึงงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นคณะกรรมการก็ได้
เช่น ส่วนงานไอที ส่วนงานพัฒนาระบบห้องสมุด ส่วนงานโสตฯ ฯลฯ


3. Train staff to use an RSS aggregator

จัดฝึกอบรม และให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการใช้ RSS

4. Experiment and use 2.0 Tools

รู้จักเครื่องมือ และหัดใช้งานเว็บไซต์ 2.0 ทั้งหลาย
เช่น wikipedia, youtube, slideshare,?..
เมื่อเราเกิดความเคยชินแล้วการนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ในห้องสมุดก็จะเป็นการง่าย

5. Implement IM reference
การนำระบบ IM (Instant Messenger) มาใช้ในห้องสมุด

เป็นยังไงกันบ้างครับ เรื่องง่ายๆ เท่านี้ก็ทำให้ห้องสมุดของเพื่อนๆ กลายเป็นห้องสมุด 2.0 ได้แล้วนะครับ
เอาเป็นว่าลองดูก่อนนะ ถ้าสนใจเรื่องไหนอย่างเป็นพิเศษ ลองแนะนำมาดู เดี๋ยวผมจะเขียนเน้นให้อีกที

โปรโมทห้องสมุดใน Facebook ดีกว่า

ช่วงนี้กระแสการใช้งาน facebook กำลังมาแรงครับ
เท่าที่ผมสังเกตมีคนใช้งานfacebook ในเมืองไทยมากขึ้น
ดังนั้นห้องสมุดของพวกเราก็อย่าน้อยหน้ากันนะครับ เอาห้องสมุดของคุณไปอยู่ใน facebook กันเถอะ

library-facebook

การสร้าง account facebook มันไม่ยากหรอกครับ
แต่ประเด็นที่น่าคิดก็คือ…เราจะเอาข้อมูลห้องสมุดอะไรไปใส่ใน facebook บ้างหล่ะ???

วันนี้ผมไปอ่านเรื่องนึงมา เห็นว่าเกี่ยวกับประเด็นนี้พอดี เลยเอามาให้อ่านกันครับ ชื่อเรื่องว่า
10 Great Things to Include on Your Library?s Facebook Fan Page

ในบทความนี้ได้กล่าวถึงข้อมูล 10 อย่างที่ควรจะอยู่ในหน้า Facebook
เราลองไปอ่านกันเลยดีกว่าครับว่ามีอะไรกันบ้าง

ข้อมูล 10 อย่างที่เราควรเอาลงใน Facebook มีดังนี้

1. photos of your library.
รูปของห้องสมุดคุณ (อันนี้คงไม่ยากครับ ถ่ายมุมสวยๆ สัก 10 รูปกำลังดี)

photo-fb

2. a library video tour or other promotional videos.
วีดีโอแนะนำห้องสมุดของคุณ (อันนี้อาจจะยากสักนิดในการถ่ายวีดีโอ แต่ถ้ามีผมว่าน่าสนใจครับ)

3. a calendar of library events.
ปฏิทินกิจกรรมของห้องสมุดคุณ (พยายามอัพเดทตลอดนะครับ คนเข้ามาจะได้รู้ว่าเรา ตั้งใจทำ)

4. a rss feed of your library blog.
feed ข้อมูลของเนื้อหาบนเว็บของคุณมาที่นี่ด้วยก็จะดีมากเลย

5. information about how to contact your library.
อันนี้ลืมไม่ได้เลยนะครับ ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล์ เว็บไซต์? ฯลฯ

6. library hours
วันเวลาที่ให้บริการของห้องสมุด ข้อมูลนี้จำเป็นจริงๆ นะครับ เพราะว่าเผื่อผู้ใช้อยากจะมาห้องสมุดจะได้เช็คเวลาก่อนว่าปิด หรือ เปิด

7. lib guides widget
เครื่องมือแนะนำการใช้งานห้องสมุด (อันนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักห้องสมุดมากขึ้นนะครับ)

8. a survey for your patrons to answer about your library.
แบบสำรวจการใช้งาน หรือแบบสำรวจอื่นๆ ที่ห้องสมุดต้องการทำสำรวจ (แนะนำว่าไม่ต้องสำรวจเยอะนะ)

9. information about new book arrivals

แนะนำหนังสือมาใหม่ อันนี้จะทำให้ผู้ใช้อัพเดทและรู้ว่าห้องสมุดมีหนังสือใหม่เล่มไหนบ้าง

10. links to popular library databases.

เว็บแนะนำ ถ้าได้เว็บด้านฐานข้อมูลจะยิ่งดีมากๆ เลยนะครับ

เอาเป็นว่าข้อมูล ทั้ง 10 อย่างที่ได้กล่าวมา ผมเห็นด้วยหมดเลยนะครับ
เพราะจะช่วยให้ผู้ใช้ที่ออนไลน์สามารถเข้าถึงห้องสมุดได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
ทั้งในเรื่องของกิจกรรม แบบสำรวจ แนะนำหนังสือใหม่ และเว็บไซต์แนะนำ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ว่างๆ ก็เข้าไปสมัคร account ของ facebook กันได้นะครับที่
http://www.facebook.com/

ภาพประกอบจาก http://www.facebook.com/pages/Chelan-Friends-of-the-Library/92545314975#/pages/Chelan-Friends-of-the-Library/92545314975?v=wall

แนะนำหนังสือเกี่ยวกับ Library 2.0

ช่วงนี้เพื่อนๆ คงได้ยินคำว่า Library2.0 หรือ ห้องสมุด 2.0 บ่อยขึ้นนะครับ
แล้วเพื่อนๆ อยากหาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้อ่านบ้างมั้ย วันนี้ผมมีเล่มนึงมาแนะนำครับ

librarybook Read more

ห้องสมุดในอนาคตขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ในปัจจุบัน

ช่วงนี้บล็อกของผมเริ่มเป็นที่รู้จักของหลายๆ คน ดังนั้นจึงมีคำถามมากมายส่งมาให้ผมตอบ
หนึ่งในนั้นก็มีคำถามเกี่ยวกับทิศทางและแนวโน้มของห้องสมุด

seattle_library_philipperuault_oma_270307

จริงๆ แล้วก็อยากจะนำมาเล่าให้ฟังหลายครั้งแล้วหล่ะครับ
เกี่ยวกับคำถามข้อนี้ โจทย์ที่ตั้งมาคือ ?คิดว่าห้องสมุดในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

ก็อื่นต้องขอแจ้งไว้ล่วงหน้าว่า ผมอาจจะไม่ได้เก่งอย่างที่หลายๆ คนคาดหวังไว้
แต่คำตอบนี้ถือว่าเป็นความคิดส่วนตัว ดังนั้นอาจจะมองไม่เหมือนกับหลายๆ คนก็ได้

คำถาม : ?คิดว่าห้องสมุดในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

คำตอบ : ห้องสมุดในอนาคต สำหรับผมตอนนี้คิดว่า ขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ในปัจจุบันนี้นั่นแหละ
ว่าจะสร้างภาพลักษณ์ หรือลักษณะงานบริการในห้องสมุดอย่างไร ทางเลือกมี 2 ทาง คือ

– หากบรรณารักษ์ประยุกต์งานบริการต่างๆ จัดกิจกรรม นำเทคโนโลยี และใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ
มาพัฒนาห้องสมุดแล้ว ในอนาคตห้องสมุดก็จะเปลี่ยนบทบาทเป็น ศูนย์ที่ชี้นำ หรือ ชี้แหล่งสารสนเทศ
ให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ ฐานข้อมูล ฯลฯ
ห้องสมุดจะถูกแทนด้วย ศูนย์สารสนเทศ หรือ ศูนย์การเรียนรู้ ได้อย่างสมบูรณ์


– หากบรรณารักษ์ยังคงดำเนินงานในรูปแบบเดิมๆ เหมือนที่เป็นอยู่ ไม่ยอมรับเทคโนโลยี
ไม่สนใจผู้ใช้บริการ และคิดเพียงแค่ว่าทำงานแบบนี้ยังไงห้องสมุดก็ไม่ถูกปิดหรอก
ครับ แน่นอนว่าไม่ถูกปิด แต่ภาพห้องสมุดในอนาคตของห้องสมุดลักษณะนี้
คงไม่ต่างอะไรไปจากหอจดหมายเหตุ หรือ พิพิธภัณฑ์ที่เก็บหนังสือมากมายแทน

ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะบอกบรรณารักษ์หลายๆ คนก็คือ
ห้องสมุด และ บรรณารักษ์ในปัจจุบัน เราต้องปรับตัวเองให้เข้ากับผู้ใช้ห้องสมุดให้ได้มากที่สุด
เข้าถึงผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด และต้องเข้าถึงหัวใจหรือรับรู้ความรู้สึกของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุดด้วย
แล้วเราจะรู้ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร

ถึงตอนนั้นผมเชื่อ และหวังว่าจะเห็นห้องสมุดที่มีแต่คนบอกว่า
?วันนี้ไปหาอะไรทำที่ห้องสมุดดีกว่า? หรือ ?ไปห้างสรรพสินค้าทำไม ไปห้องสมุดแหละมีอะไรให้ทำตั้งเยอะ?