ห้องสมุดที่สามารถรักษาสมดุลของทุกสิ่ง (GST Model) – ห้องสมุดรักษ์โลก

ห้องสมุดที่สามารถรักษาสมดุลของทุกสิ่ง (GST Model) – ห้องสมุดรักษ์โลก

เมื่อวันก่อนผมได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการ เรื่อง “ทักษะวิชาชีพบรรณารักษ์ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก” (Professional Librarian Development and Disruptive Technologies) ในฐานะวิทยากรตัวแทนจากตลาดหลักทรัพย์ ก่อน session ของผม ดร.กฤษฎา (รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ) ได้กล่าวเปิดงานและบรรยายเรื่อง Future Thai Citizens and Learning Revolution ซึ่งผมได้ไอเดียจากสไลด์หน้าหนึ่งของท่าน

ในหน้าดังกล่าวอาจารย์กฤษฎาได้มาจากสไลด์ของอาจารย์สุวิทย์ เมษินทรีย์ ซึ่งกล่าวถึงความสมดุลในทุกสิ่ง

Read more
แนวคิดเพื่อห้องสมุดสีเขียว : ปั่นเพื่อชาร์จแบต

แนวคิดเพื่อห้องสมุดสีเขียว : ปั่นเพื่อชาร์จแบต

แนวโน้มเรื่องการก้าวเข้าสู่ ห้องสมุดสีเขียว กำลังได้รับการยอมรับในหลายประเทศ (ในประเทศไทยก็เช่นกัน)
วันนี้ผมจึงขอเริ่มเขียนบล็อกนำเสนอไอเดียต่างๆ (ที่เคยเห็น) เพื่อให้เพื่อนๆ นำไปต่อยอดกับห้องสมุดตัวเอง

Essex Libraries installed Kinetic bikes in their libraries.

เริ่มจาก “ปั่นเพื่อชาร์จแบต” ซึ่งผมได้ไอเดียจากห้องสมุดสองแห่งคือ Essex Libraries (ประเทศอังกฤษ) และ Warwick University (ประเทศอังกฤษ) ซึ่งทั้งคู่ได้ใช้แนวคิดนี้สร้างพลังงานสะอาด Read more

ห้องสมุดลอยน้ำ ทางเลือกใหม่ในการป้องกันน้ำท่วมในอนาคต

ช่วงนี้กระแสน้ำท่วมกำลังมาแรง ห้องสมุดหลายแห่งคงประสบปัญหาน้ำท่วมเช่นกัน
ตัวอย่างห้องสมุดที่ประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วม เช่น ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์

แนวคิดเรื่องของการออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่กำลังมาแรง คือ บ้านลอยน้ำ (Floating House)
ลองอ่านเรื่อง “แบบบ้านลอยน้ำ แบบแปลนแนวคิดจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

เอาหล่ะครับ แนวคิดแบบนี้ผมก็ขอเอามาต่อยอดกับเรื่องของห้องสมุดบ้างดีกว่า
นอกจาก trend ในเรื่องของห้องสมุดสีเขียว (Green library) หรือห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกำลังมาแล้ว

หากนำความคิดของสิ่งปลูกสร้างลอยน้ำมารวมกับห้องสมุดสีเขียว (Floating House + Green Library)
มันจะได้ห้องสมุดลอยน้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Floating Library)

หน้าตาแบบคร่าวๆ จะเป็นอย่างไร

(ภาพนี้ที่มาจาก http://the-queen-of-spades.deviantart.com/art/Floating-Library-163839594 แต่ผมไม่ทราบว่าที่นี่คือที่ไหนนะครับ ใครรู้ช่วยบอกด้วยครับ)

ภายในห้องสมุดลอยน้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควรจะมีลักษณะอย่างไร

การลอยน้ำ
– มีจุดศูนย์ถ่วงดีเมื่อลอยน้ำแล้วต้องไม่เอียงไปทางใดทางหนึ่ง (ในภาพด้านบนคงไม่ได้มั้ง)
– มีจุดยึดไม่ให้อาคารลอยไปไหนได้แม้มีกระแสน้ำไหลรุนแรง (ปกติจะต้องมีเสาหลักยึดไว้เพื่อไม่ให้บ้านโคลงเคลง)
– สามารถรองรับจำนวนหนังสือที่เก็บได้จำนวนหนึ่ง (หนังสือหนักมากคงไม่สามารถจุดได้ถึงหมื่นเล่มหรอก)

การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
– การติดตั้งแผงกระจกในทิศทางที่เหมาะสมเพื่อใช้แสงอาทิตย์ในการให้ความสว่างในอาคารอย่างทั่วถึง
– การติดตั้งหน้าต่างเมื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก และเพียงพอต่อสถานที่
– การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคารห้องสมุด เพื่อให้ผู้เข้าใจรู้สึกผ่อนคลายไปกับธรรมชาติ
– การประหยัดพลังงานโดยอาศัยพลังงานบริสุทธิ์ต่างๆ เช่น แสงอาทิตย์ ลม ฯลฯ

เพิ่มเติมนิดนึง งบประมาณเรื่องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์
การติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 400 W. (ราคา 144,450 บาท) อุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้คือ
– หลอด 4 หลอด การทำงาน 4 ชั่วโมง/วัน
– เครื่องเล่น VCD ขนาด 25W 1 ชุด การทำงาน 6 ชั่วโมง/วัน
-โทรทัศน์ 21 inch ขนาด 70W 1 ชุด การทำงาน 6 ชั่วโมง/วัน
– วิทยุ ขนาด 3W 1 ชุด การทำงาน 6 ชั่วโมง/วัน
– พัดลม ขนาด40W 1 ชุด การทำงาน 4 ชั่วโมง/วัน
– ปั๊มน้ำ ขนาด 80W 1 ชุด การทำงาน 1 ชั่วโมง/วัน

ที่มาจาก http://www.tarad.in.th/index.php/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3-A/flypage.tpl.html

ความเป็นไปได้ของห้องสมุดลอยน้ำคงต้องได้รับการพัฒนาอีกมากนะครับ เนื่องจากความเป็นจริงแล้วถ้าเป็นบ้านลอยน้ำผมเชื่อว่าคงมีปัจจัยเรื่องน้ำหนักของสิ่งของภายในสิ่งปลูกสร้างเป็นตัวกำหนดด้วยเช่นกัน ห้องสมุดเองจัดเก็บหนังสือมากๆ ก็คงไม่ได้เนื่องจากจะทำให้มีน้ำหนักมากเกินกว่าจะลอยน้ำได้ ยังไงก็คงต้องหาวิธีจัดการกันอีกที

ปล. หลักการดังกล่าวนี้คงเหมาะสำหรับห้องสมุดที่มีสถานที่เป็นเอกเทศ ไม่ได้อยู่ติดกับอาคารใดๆ

ถึงที่สุดแล้วถ้าไม่สามารถสร้างตึกหรืออาคารลอยน้ำได้ ก็จัดห้องสมุดบนเรือซะเลยก็ได้นะครับ (วิธีนี้ก็โอเค) แต่อาจจะได้ห้องสมุดขนาดย่อมๆ หน่อย

เอาหล่ะครับ สิ่งที่อยากจะบอกจริงๆ จากเรื่องนี้ คือ หากหน่วยงานหรือใครอยากจะสร้างห้องสมุดใหม่ในอนาคต ผมอยากให้คำนึงถึงเรื่องภัยพิบัติต่างๆ ไว้ด้วย ไม่ต้องออกแบบมากมายหรอกครับแค่อย่างน้อยขอให้มีแผนสำหรับรับมือกับภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ติดไว้ในห้องสมุดสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานก็จะดีมากๆ ครับ

หมายเหตุ ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงความคิดส่วนตัวของผมนะครับ

ห้องสมุดสีเขียว(Green Library) คือ…

แนวโน้มของการพัฒนาห้องสมุดนอกเหนือจากเรื่องเทคโนโลยีแล้ว
จริงๆ ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ เรื่องของการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ศัพท์ในวงการห้องสมุดจึงมีการนิยามของคำว่า Green Library ด้วย

green-library

ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library) เป็นยังไง

Green Library ในภาษาไทยมีคนให้ความหมายที่หลากหลายมากๆ
เช่น ?ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม? ?ห้องสมุดสีเขียว?

นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจกันในหลายรูปแบบด้วย เช่น
– ห้องสมุดที่มีต้นไม้เยอะๆ จะได้รู้สึกว่าเป็นสีเขียว
– ห้องสมุดที่มีการอนุรักษ์พลังงานในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ?.
– ห้องสมุดที่ใส่ใจกับการอนุรักษ์พลังงาน เช่น ประหยัดไฟฟ้า?.
– ห้องสมุดที่เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ต่างคนต่างก็มีนิยาม และการจัดการของห้องสมุดสีเขียวที่ไม่เหมือนกัน
แต่โดยทั่วไป ผมว่า มันก็เข้ากับคำว่า Green library ทั้งหมด นั่นแหละ

green-library1

แต่ก็อย่างที่บอกหล่ะครับ ว่า มีหลายที่ให้คำจำกัดความกับการจัดรูปแบบที่หลากหลาย
ผมจะไม่บอกว่าที่ไหนถูก หรือ ผิด หรอกนะครับ เพราะที่กล่าวมาทั้งหมดก็ถูกหมดนั่นแหละ

ในต่างประเทศ คำว่า green library มีแนวคิด และหลักปฏิบัติมาตั้งแต่เมื่อ 5-6 ปีที่แล้วด้วยซ้ำ

การก่อสร้างห้องสมุดโดยอาศัยปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมช่วย เช่น
– การติดตั้งแผงกระจกในทิศทางที่เหมาะสมเพื่อใช้แสงอาทิตย์ในการให้ความสว่างในอาคารอย่างทั่วถึง
– การติดตั้งหน้าต่างเมื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก และเพียงพอต่อสถานที่
– การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคารห้องสมุด เพื่อให้ผู้เข้าใจรู้สึกผ่อนคลายไปกับธรรมชาติ
– การประหยัดพลังงานโดยอาศัยพลังงานบริสุทธิ์ต่างๆ เช่น แสงอาทิตย์ ลม ฯลฯ

เป็นยังไงกันบ้างครับที่กล่าวมา พอเป็นแนวความคิดในการปรับปรุงห้องสมุดบ้างขึ้นหรือปล่าว
เอางี้งั้นขอนำข่าวมาเล่าให้ฟังอีกสักเรื่องดีกว่า
เกี่ยวกับ ?ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library)?

emerald-city-300x195

ในอเมริกาตอนนี้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง
ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library) มาก
ถึงขนาดว่า องค์กรที่ชื่อว่า Sustainable Living Library
ลงทุนไปสร้างศูนย์การเรียนรู้เรื่องนี้ใน Second Life
โดยศูนย์นี้จะเป็นแหล่งข้อมูลแก่อาจารย์ นักศึกษา ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับห้องสมุด และผู้ที่สนใจ
ให้ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library)

หากเพื่อนๆ สนใจเรื่องนี้ ผมก็ขอแนะนำให้อ่านรายละเอียดต่อได้ที่

http://www.schoollibraryjournal.com/article/CA6624892.html?nid=3269 (ภาษาอังกฤษ)

http://rezlibris.com/librarianship/16-librarianship/184-satori (ภาษาอังกฤษ)

http://forums.thaisecondlife.net/index.php/topic,633.msg5618.html#msg5618 (ภาษาไทย)

โลกร้อน อากาศเปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาของอาชีพใดอาชีพหนึ่ง
หากแต่เพียงทุกๆ คนต้องช่วยกัน รักษาสิ่งแวดล้อม พยายามปรับสมดุลย์ของโลกให้กลับมา
เท่านี้ผมว่าโลกก็คงน่าอยู่กว่าปัจจุบันนี้อย่างแน่นอนครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับแนวความคิดเรื่อง ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library)
เอาเป็นว่าในประเทศไทยเราคงต้องค่อยๆ เริ่มกันไป แล้วสักวันห้องสมุดของเราจะช่วยโลกได้บ้าง