รีวิวหนังสือ “ห้องสมุดเฉพาะในฐานะศูนย์จัดการความรู้ในองค์กร”

รีวิวหนังสือ “ห้องสมุดเฉพาะในฐานะศูนย์จัดการความรู้ในองค์กร”

ห่างหายไปหลายวัน วันนี้พอจะมีเวลามาเขียนบล็อกให้อ่านเลยขอเลือกสิ่งที่ยังค้างคา คือ การรีวิวหนังสือในวงการห้องสมุด (วันก่อนที่ผมเปิดโหวตเล่มนี้มาเป็นอันดับสอง)

eBook เล่มนี้ “Special Libraries as Knowledge Management Centres” หรือแปลเป็นไทยว่า “ห้องสมุดเฉพาะในฐานะศูนย์จัดการความรู้ในองค์กร” เป็นอีกเล่มที่ผมอ่านแล้วก็ทำให้ได้แง่คิดดีๆ หลายเรื่อง และที่สำคัญ คือ ใกล้ตัวผมมากๆ (ในฐานะของคนที่ทำงานในห้องสมุดเฉพาะเหมือนกัน) สาระสำคัญมีอะไรบ้างไปอ่านกันเลยครับ

Read more
ห้องสมุดดีเด่นของประเทศไทย ประจำปี 2558

ห้องสมุดดีเด่นของประเทศไทย ประจำปี 2558

แนะนำห้องสมุดในต่างประเทศก็เยอะแล้วนะครับ วันนี้ขอนำผลการประกวดห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2558 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยมานำเสนอบ้างเพื่อเป็นเกียรติและเป็นกำลังใจแก่ห้องสมุดที่ประสบความสำเร็จในปีที่ผ่านมานี้

best libraries 2015 by tla Read more

บรรณารักษ์พาชมห้องสมุด โสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี ณ หอภาพยนตร์

นานๆ ทีจะพาเที่ยวห้องสมุดสักที วันนี้ขอเลือกห้องสมุดแถวๆ บ้านแล้วกัน (พุทธมณฑลสาย 5) ห้องสมุดนี้เป็นของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) นั่นเองครับ ความพิเศษของที่นี่เป็นอย่างไรตามอ่านได้เลยครับ

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

ความเป็นมาของห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี
ที่เลือกใช้ชื่อ “เชิด ทรงศรี” เพราะต้องการระลึกถึง เชิด ทรงศรี ในฐานะของผู้ที่เป็นที่รักของวงการหนังสือ ละคร ศิลปะ ทีวี และภาพยนตร์ครับ แถมหนังสือในห้องสมุดนี้ส่วนหนึ่งเป็นของคุณเชิด ทรงศรีด้วย ลูกสาวคุณเชิด ทรงศรี หรือคุณแสงแดดได้บริจาคให้หอภาพยนตร์

IMG_2835

ห้องสมุดแห่งนี้มีหนังสือที่เกี่ยวข้องกับวงการภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศมากที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้

IMG_2842 IMG_2838

ห้องสมุดแห่งนี้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคม 2552 ครับ
การเปิดให้บริการห้องสมุดแห่งนี้ คือ เปิดวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่ 9.00 – 17.00 น. นะครับ

เว็บไซต์ที่ใช้ในการสืบค้นหนังสือของห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี
สามารถดูได้ที่ http://164.115.22.43/library/mylib/login.php

Library_opac

สำหรับคนที่อยากเดินทางไปชมห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี
สามารถนั่งรถเมล์ที่อนุสาวรีย์ฯ ได้ครับ สาย 515 หรือ 547 ก็ได้

สำหรับวันนี้ผมต้องขอตัวไปอ่านหนังสือและเที่ยวชมห้องสมุดที่อื่นๆ ก่อนนะครับ
ไว้คราวหน้าผมจะพาไปเที่ยวที่ไหนจะกลับมาเล่าให้อ่านอีกทีครับ

ชมภาพห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรีทั้งหมดได้ที่

[nggallery id=64]

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการเข้าถึงห้องสมุดเฉพาะ

วันนี้ในขณะที่ผมส่งเมล์ให้เพื่อนๆ อยู่ ก็มีอีเมล์ฉบับนึงเด้งขึ้นมาหาผม
ชื่อเมล์ว่า “ช่วยทำแบบสอบถามการวิจัยให้หน่อย (สำคัญมาก) เป็นของอาจารย์ สวนดุสิต สำรวจ GIS?”
ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ช่วยกระจายข่าวและตอบแบบสอบถามเลยแล้วกัน

เนื้อความในอีเมล์นะครับ

mail-latter

ก่อนอื่นเราก็ต้องเข้าไปดูเว็บไซต์ที่เขาบอกมาซะก่อน

http://dusithost.dusit.ac.th/~bunpod_pij/index01

gis-library

มีเว็บแบบว่าเป็นเรื่องเป็นราวมากๆ ครับ

อ่านวัตถุประสงค์คร่าวๆ แล้ว ก็เข้าใจว่าเป็นการหาตำแหน่งของห้องสมุดเฉพาะโดยแสดงผลด้วยแผนที่
จริงๆ ก็คล้ายๆ กับการทำ Directories ของห้องสมุดเฉพาะแหละครับ
แต่พิเศษตรงที่ว่านอกจากจะแสดงผลเป็นที่อยู่แล้วยังจะสามารถดูแผนที่ของห้องสมุดนั้นๆ ได้ด้วย

งั้นผมของลองเล่นนิดนึงนะครับ

map-library

เอาเป็นว่าเล่นแล้วนะครับ งั้นผมขอตอบแบบสอบถามเลยแล้วกััน

แบบสอบถามมีทั้งหมด 3 ตอนนะครับ
เอาเป็นว่าผมประเมินให้แล้ว (ไม่ขอนำผลที่ผมประเมินมาให้ดูนะ)

ยังไงผมก็ขอเชิญเพื่อนๆ ไปร่วมกันทำแบบสอบถามนี้กันนะครับ
http://dusithost.dusit.ac.th/~bunpod_pij/questionare.html

ตามหาภาพถ่ายงานสัมมนาวิชาการชมรมห้องสมุดเฉพาะ

เรื่องบังเอิญเกิดขึ้นในชีวิตเราหลายๆ ครั้ง
ซึ่งหากเป็นเรื่องบังเอิญที่ดีผมว่าก็ควรจะเล่าให้เพื่อนๆ ฟังนะครับ

03899-300x225

เรื่องมันก็มีอยู่ว่า…
ในขณะที่ผมกำลังค้นหาข้อมูลเพื่ออ่านเล่นๆ อยู่ ก็ปรากฎว่าผมไปเจอภาพถ่ายของผมโดยบังเอิญ
เท่าที่จำได้ภาพนี้เป็นภาพตอนที่ผมไปบรรยายที่งานสัมมนาครั้งนึง และถ้าระลึกได้ไม่ผิด
งานสัมมนานั้น คือ งานสัมมนาวิชาการชมรมห้องสมุดเฉพาะ ประจำปี 2551 นั่นเอง

วันนั้นผมร่วมวงเสวนา “การสร้าง การค้น การอ่าน การแลกเปลี่ยน”
ในวันที่ 29 สิงหาคม 2551 ร่วมกับ อ.รุจเรขา, รศ.ดร.น้ำทิพย์, อ.ประดิษฐา

จริงๆ แล้วผมก็ลืมเรื่องงานเสวนาครั้งนั้นไปแล้วจริงๆ นะครับ
พอเห็นภาพก็นึกขึ้นไปว่า งานในวันนั้นผมไม่ได้นำกล้องถ่ายรูปไปด้วย
จึงไม่มีภาพถ่ายที่ระลึกของงานเสวนาในครั้งนั้นมาฝากเพื่อนๆ

วันนี้ผมก็เลยขอนำเรื่องนี้มาประกาศให้เพื่อนๆ ที่ได้ไปงานวันนั้น
ใครได้ถ่ายรูปงานบรรยายในครั้งนั้นบ้าง ผมอยากได้เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก
ใครมี หรือใครเห็นภาพของผม อยากรบกวนให้ส่งไฟล์เข้ามาในอีเมล์ผมหน่อย
จะขอบคุณอย่างมากๆๆๆๆๆๆ เลยครับ

อีเมล์ผมก็ dcy_4430323@hotmal.com

ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งนะครับ

ที่มาของรูปที่ผมไปเจอนี้ คือ http://gotoknow.org/blog/meetingforlibrarian/231849
ขอฝากไว้นิดนึงหากใครรู้จัก หรือเป็นเจ้าของบล็อกนี้ขอความกรุณาติดต่อผมกลับมาด้วยนะครับ
ผมอยากได้รูปภาพขนาดเต็มๆ เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกอ่ะครับ

งานเสวนาและวิพากษ์ (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552

งานนี้ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมวงเสวนาด้วย เลยขอเอามาประชาสัมพันธ์สักหน่อยดีกว่า
งานนี้หลักๆ ก็คือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552

speciallibrarystandard

ข้อมูลทั่วไปของงานนี้
ชื่องาน : โครงการ “การเสวนาและวิพากษ์ (ร่าง) มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ. 2552”
วันและเวลาที่จัดงาน : วันศุกร์ที่? 31 กรกฎาคม? พ.ศ. 2552 เวลา 8.30 – 17.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมหอสมุดและจดหมายเหตุ? ธนาคารแห่งประเทศไทย
จัดโดย : ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

งานนี้ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์? สารสนเทศศาสตร์? และวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 70 คน
มาเพื่อ พิจารณา (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ. 2552 ก่อนที่จะนำไปประกาศและเผยแพร่ต่อไป

กำหนดการของงานเสวนาในครั้งนี้ มีดังนี้
ช่วงเช้า – การเสวนาและวิพากษ์? เรื่อง? บทบาทมาตรฐานห้องสมุดเฉพาะของประเทศไทย
โดย ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต, รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ, รองศาสตราจารย์ดร.เอื้อน? ปิ่นเงิน
และมีผู้ดำเนินรายการ คือ ผศ. วรางคณา อินทรพิณทุวัฒน์

ช่วงบ่าย – ประชุมกลุ่มย่อย? พิจารณาและวิพากษ์ (ร่าง) มาตรฐานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
และสรุปผลการประชุมกลุ่มย่อย ก่อนจบรายการในวันนั้น

เอาเป็นว่าผลของการเสวนาในวันนั้น ผมจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังก็แล้วกันนะครับว่า
“ผลสุดท้ายแล้วหน้าตาของมาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552 จะออกมาเป็นอย่างไร”
แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ผมขอเกริ่นคร่าวๆ เกี่ยวกับ (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ.2552 สักหน่อยดีกว่า

สรุป (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552 ซึ่งประกอบด้วย 9 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและยุทธศาสตร์
หมวดที่ 2 การบริหาร
หมวดที่ 3 งบประมาณ
หมวดที่ 4 บุคลากร
หมวดที่ 5 ทรัพยากรสารสนเทศ
หมวดที่ 6 อาคารสถานที่ และครุภัณฑ์
หมวดที่ 7 การบริการ
หมวดที่ 8 เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
หมวดที่ 9 การประเมินคุณภาพห้องสมุด

เป็นยังไงกันบ้างครับ ลักษณะหน้าตาของหมวดต่างๆ จะคล้ายๆ กับมาตรฐานของห้องสมุดประชาน 2550 เลยนะครับ
แต่ต่างกันตรงที่ข้อสุดท้ายนั่นเอง คือ เรื่องของ “การประเมินคุณภาพห้องสมุด” ประเด็นนี้สิครับน่าสนใจ

เอาไว้ว่างๆ ผมจะขอเอาประเด็นนี้มาเล่าต่อแล้วกันนะครับ
สำหรับคนที่ได้ไปงานนี้ก็เจอกันในงานนะครับ

ฝึกงาน 2 : ฝึกงานห้องสมุดเฉพาะ

จากเมื่อวานที่ผมแนะนำให้ไปฝึกงานห้องสมุดทั่วไป
วันนี้ผมขอแนะนำการฝึกงานในห้องสมุดอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ ห้องสมุดเฉพาะ

training-library2

กล่าวคือ นอกจากน้องๆ จะได้ฝึกในวิชาทางด้านบรรณารักษ์แล้ว
น้องๆ จะได้รู้จักการใช้ศาสตร์ความรู้เฉพาะทางในห้องสมุดนั้นๆ ด้วย

จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม การฝึกงานในห้องสมุดแบบปกติ
จะทำให้ผมเข้าใจการทำงานในลักษณะของห้องสมุดทั่วไป
แต่ผมเริ่มรู้สึกว่าอยากได้อะไรที่มากกว่าการฝึกงานในห้องสมุดทั่วไปอีก

คำแนะนำของอาจารย์หลายๆ คนจึงบอกกับผมว่า
ลองไปดูพวกห้องสมุดเฉพาะทางดีมั้ย เผื่อว่าจะได้พบกับประสบการณ์ใหม่ๆ อีกรูปแบบนึง

นั่นจึงเป็นที่มาของการแนะนำการฝึกงานในสถานที่แบบนี้

สถานที่สำหรับฝึกงานที่ผมจะแนะนำ
คือ :-
1. ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น
2. ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ
3. ห้องสมุดมารวย
4. ห้องสมุดเพื่อการออกแบบ (TCDC)
5. ห้องสมุดแฟชั่น


ความรู้ทางด้านห้องสมุด + ความรู้เฉพาะทาง
เช่น
ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น = ความรู้ด้านห้องสมุด + ความรู้ด้านภาษาญี่ปุ่น
ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ = ความรู้ด้านห้องสมุด + ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
ห้องสมุดมารวย = ความรู้ด้านห้องสมุด + ความรู้ด้านการเงิน และการลงทุน

การฝึกงานในรูปแบบนี้ เหมาะสำคัญคนที่ชอบงานห้องสมุดในรูปแบบของการประยุกต์ใช้
เพราะการทำงานห้องสมุดเฉพาะเราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในความรู้เฉพาะด้านด้วย
และก็ต้องให้บริการผู้ใช้ในรูปแบบของผู้เชียวชาญองค์ความรู้ด้านนั้นๆ ด้วย

เอาเป็นว่าการฝึกงานในรูปแบบนี้ผมก็แนะนำให้ไปฝึกงานเช่นกัน