[Infographic] 100 อันดับ ห้องสมุดขนาดใหญ่ในอเมริกา

[Infographic] 100 อันดับ ห้องสมุดขนาดใหญ่ในอเมริกา

มีการจัดอันดับห้องสมุดสุดใหญ่โตและอลังการในประเทศสหรัฐอเมริกา เกณฑ์ในการตัดสินครั้งนี้ คือ วัดจากจำนวนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ใครมีมากกว่าก็จะแปลว่าใหญ่กว่า “ตรงไปตรงมากครับ เพราะถ้ามีพื้นที่ในการเก็บเยอะนั้นก็หมายความว่าต้องมีพื้นที่และขนาดที่เยอะไปด้วย”

สถิติจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ได้มาจากการสำรวจของ สมาคมห้องสมุดสหรัฐอเมริกา (ALA)
ตัวเลขผมเองก็ไม่ค่อยแปลกใจสักเท่าไหร่หรอกครับ
แต่ที่ผมสนใจ คือ การนำข้อมูลนี้มาจัดทำเป็นภาพ infographic ต่างหาก

ไปชมกันได้เลยครับ

Read more

มุมมองของนักศึกษาชาวอเมริกันต่อเว็บไซต์ห้องสมุด 2005 – 2010

สวัสดีครับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูลทัศนคติและมุมมองของกลุ่มผู้ใช้ห้องสมุดที่เป็นนักศึกษา (ช่วงอายุ 18-24 ปี) ที่มีต่อเว็บไซต์ห้องสมุดและสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ

perception of libraries 2010

ข้อมูลที่ผมนำมาทำสไลด์และนำเสนอนี้มาจาก
Perception of Libraries, 2010 by OCLC

เอกสารสไลด์ชุดนี้

[slideshare id=16951436&doc=perceptionoflibrariesbyoclc-130305103911-phpapp02]

สรุปข้อมูลจากเอกสาร
1. บรรณารักษ์มีคุณค่าต่อผู้ใช้บริการมากขึ้น

2. อัตราการใช้สื่อหรือข้อมูลของห้องสมุด
2.1 เว็บไซต์ห้องสมุด ในปี 2005 จำนวน 53% ในปี 2010 จำนวน 58% — เพิ่มขึ้น
2.2 ฐานข้อมูลออนไลน์ ในปี 2005 และ 2010 มีจำนวนเท่ากัน 30% — เท่าเดิม
2.3 วารสารออนไลน์ ในปี 2005 จำนวน 41% — ลดลง

3. การค้นหาข้อมูลออนไลน์ ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการจะเลือกใช้เครื่องมืออย่าง Search Engine, Wikipedia, Online bookstores มีส่วนน้อยที่ใช้เว็บไซต์ห้องสมุด นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ และฐานข้อมูลออนไลน์

4. สิ่งแรกที่ผู้ใช้จะไปเวลาต้องการค้นหาข้อมูล คือ Search Engine, Wikipedia, เครือข่ายสังคมออนไลน์ และอีเมล์….. อะไรที่เกี่ยวกับห้องสมุดผู้ใช้บริการไม่นึกถึง

5. ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ยังคงยอมรับว่าข้อมูลจากห้องสมุดยังคงมีความน่าเชื่อถือ

6. ความพึงพอใจใน Search Engine ลดลงมาก ในขณะที่ความพึงพอใจในบรรณารักษ์เริ่มมีการเพิ่มขึ้น

7. ถ้าเว็บไซต์ห้องสมุดมีการปรับปรุงหรือพัฒนา…โดยการเติมเนื้อหา ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ลงในเว็บไซต์ โอกาสที่ผู้ใช้บริการจะกลับมานิยมและใช้เว็บไซต์ห้องสมุด

8. บริการในห้องสมุดที่มีอัตราการใช้ลดลง ได้แก่
– บริการหนังสืออ้างอิงและสารสนเทศเฉพาะด้าน
– สถานที่ที่ช่วยทำการบ้าน
– คัดลอกบทความวารสาร
– ผู้ช่วยการวิจัย / การค้นหาเฉพาะด้าน
– การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์
– การยืมคืนหนังสือ
– การอ่านเพื่อความบันเทิง

9. ผู้ใช้บริการมาห้องสมุด เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต ใช้คอมพิวเตอร์ และเชื่อมต่อโลกออนไลน์ ณ ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น

เอาเป็นว่าข้อมูลนี้ก็เป็นข้อมูลแบบย่อๆ เท่านั้นถ้าต้องการอ่านฉบับเต็ม สามารถอ่านได้ที่
http://www.oclc.org/reports/2010perceptions/2010perceptions_all.pdf

BiblioTech ห้องสมุดแห่งแรกที่ไม่มีหนังสือเลยสักเล่ม

มีคนเคยถามผมว่า “ในอนาคตอันใกล้นี้ห้องสมุดอาจจะไม่ต้องมีหนังสือสักเล่มในห้องสมุดก็ได้จริงหรือเปล่า” ซึ่งผมเองก็ตอบไปว่า “มันก็อาจจะเป็นไปได้แต่คงต้องใช้เวลานานหน่อย บางทีอาจไม่ทันในรุ่นของผมก็ได้ห้องสมุดดิจิตอลในหลายๆ ประเทศบางทีก็ยังคงต้องให้บริการหนังสือตัวเล่มอยู่บ้างเนื่องจากเรื่องลิขสิทธิ์ของหนังสือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน

มาวันนี้ได้อ่านข่าว “The First Bookless Public Library: Texas to Have BiblioTech” ของสำนักข่าว ABC News

ภาพการออกแบบแนวคิด (Conceptual Design) ของ Bibliotech

ทำเอาผมอึ้งไปชั่วครู่เลยก็ว่าได้ “มันเกิดขึ้นจริงๆ หรือนี่” “มันเป็นไปแล้วนะ” “มันกำลังจะเป็นจริง” คำอุทานของผม มันพูดออกมามากมายในสมองของผม

ห้องสมุดประชาชนแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่จะไม่มีหนังสือเลยสักเล่ม ชื่อว่า “BiblioTech” ซึ่งตั้งอยู่ที่ Bexar County รัฐ Texas และที่สำคัญห้องสมุดแห่งแรกนี้จะเปิดในปี 2013 ด้วย

แรงบันดาลใจและแนวความคิดของการมีห้องสมุดแห่งนี้มาจากการอ่านหนังสือชีวประวัติของ Steve Jobs” ของท่านผู้พิพากษา Nelson Wolff

ภาพอาคารที่จะใช้ก่อสร้าง “BiblioTech”

แผนที่ตั้งของห้องสมุด

พื้นที่ทั้งหมดของห้องสมุดแห่งนี้ ประมาณ 4,989 ตารางฟุต เป็นห้องสมุดที่เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ในการเข้าถึงสื่อดิจิตอลต่างๆ เช่น เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-reader) คอมพิวเตอร์ หนังสือที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 10,000 ชื่อเรื่อง

การให้บริการยืมคืนหนังสือผ่านอุปกรณ์ E-reader ของผู้ใช้บริการก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน

เอาเป็นว่านี่แหละครับ ห้องสมุดแห่งปัจจุบันที่มีกลิ่นไอความเป็นอนาคต
เมืองไทยเองผมว่าถ้าอยากทำแบบนี้ต้องเริ่มศึกษาจากกรณีตัวอย่างให้มากกว่านี้
และนอกจากศึกษาแล้วต้องลองจัดทำต้นแบบกันดูบ้าง ไม่งั้นงานนี้เมืองไทยคงต้องบอกว่า “อีกนาน”

ข้อมูลอ้างอิงและภาพประกอบจาก
– http://abcnews.go.com/Technology/bookless-public-library-texas-home-bibliotech/story?id=18213091
– http://www.mysanantonio.com/news/local_news/article/Bexar-set-to-turn-the-page-on-idea-of-books-in-4184940.php#photo-4012897
– http://news.cnet.com/8301-1023_3-57563800-93/first-all-digital-library-in-the-u.s-will-look-like-an-apple-store/
– http://sourcefednews.com/the-first-library-without-any-books/

“การลงทุน” “ผลตอบแทน” ของการมีห้องสมุดประชาชนในอเมริกา

บทความที่ผมกำลังจะนำมาให้เพื่อนๆ อ่าน เป็นบทความที่ผมเคยเขียนไว้ในบล็อกของที่ทำงานผม
เกี่ยวกับเรื่อง “การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนของการมีห้องสมุดประชาชน
เรื่องนี้ผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อการคิดเรื่องการประเมินห้องสมุดประชาชนอ่ะครับ

“ลงทุน 1 เหรียญได้คืนกว่า 4 เหรียญ” คือ บทสรุปอันมีชื่อเสียงของเกลน ฮอลท์ (Glen Holt) ผู้อำนวยการห้องสมุดประชาชนเซนหลุยส์ ที่คำนวณออกมาให้เห็นว่า ทุกๆ หนึ่งเหรียญที่ได้รับการสนับสนุนจากภาษีประจำปี ห้องสมุดได้บริหารและก่อให้เกิดประโยชน์ทางตรงต่อผู้ใช้บริการเป็นมูลค่ามากกว่า 4 เหรียญ

จากคำกล่าวด้านบนทำให้เห็นว่า ในประเทศที่เจริญแล้วมักเห็นความสำคัญของการมีห้องสมุด ซึ่งนำมาอธิบายในเรื่องการลงทุนสำหรับการพัฒนาห้องสมุด โดยจะเห็นว่า เงินทุกเหรียญที่ผู้ใช้บริการจ่ายภาษีและเป็นงบประมาณในการพัฒนาห้องสมุด ห้องสมุดจะตอบแทนกลับคืนเป็น 4 เท่า

ผลตอบแทนที่ว่านี้อาจจะไม่ได้ตอบแทนเป็นเงินกลับสู่กระเป๋าผู้ใช้บริการหรอกนะครับ
แต่เป็นการตอบแทนในเรื่องของการพัฒนาสื่อต่างๆ และพัฒนาการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการมากกว่า เช่น

– ไม่ต้องซื้อหนังสืออ่านเอง เพราะมาอ่านและยืมได้ที่ห้องสมุด
– ไม่ต้องซื้อนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์เอง เพราะมาอ่านได้ที่ห้องสมุด
– ไม่ต้องซื้อสื่อมัลติมีเดียเอง เพราะมาดู มาชม มาฟังได้ที่ห้องสมุด
– มานั่งเล่นคอมพิวเตอร์ มาค้นข้อมูลได้ที่ห้องสมุด

ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการวัดผล ประเมินความคุ้มค่า และผลตอบแทนของห้องสมุดออกมาเป็นตัวเลขที่เห็นชัดเจน ดูได้จากตารางด้านล่างนี้

จะสังเกตได้ว่าบางแห่งให้ผลตอบแทนมากถึง 6 เหรียญเลยทีเดียว เช่น ห้องสมุดประชาชนในรัฐฟลอริด้า บทความเรื่องผลตอบแทนของการมีห้องสมุดมีหลายบทความที่น่าอ่าน เช่น

http://ila.org/advocacy/pdf/Ohio.pdf

http://www.clpgh.org/about/economicimpact/

http://www.lrs.org/public/roi/

เอาเป็นว่าก็ลองเข้าไปอ่านกันดูได้นะครับ

หลายคนคงสงสัยว่าตัวเลขในการคำนวณความคุ้มค่าเขาวัดจากไหน ผมจึงขอยกตัวอย่างสักเรื่องนะครับ “ในปี 2553 ห้องสมุดแห่งหนึ่งมีผู้ใช้บริการจำนวน 3.5 ล้านคน และมีจำนวนการยืมสื่อในห้องสมุดจำนวน 6.4 ล้านรายการ หากตรวจสอบข้อมูลดูแล้วจะพบว่าหากผู้ใช้บริการเหล่านี้จ่ายเงินเพื่อซื้อสื่อเหล่านี้ พวกเขาจะต้องจ่ายเงินมากถึง 378 เหรียญต่อคนเลย”

นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมในการคำนวณผลตอบแทนของห้องสมุดด้วย ซึ่งห้องสมุดต่างๆ ก็เพียงแค่กรอกข้อมูลลงในตามฟอร์มต่างๆ แล้วให้โปรแกรมคำนวณออกมาก็จะรู้แล้วครับว่า ห้องสมุดตอบแทนผู้ใช้บริการคืนกลับมาเท่าไหร่ เราไปดูหน้าตาของโปรแกรมตัวนี้กัน

เมื่อกรอกข้อมูลการใช้บริการในส่วนต่างๆ ตามที่โปรแกรมกำหนดแล้ว โปรแกรมจะคำนวณค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนในการลงทุน และวัดความคุ้มค่าของการใช้บริการห้องสมุดออกมาเป็นตัวเลขต่างๆ ดังภาพ

เป็นยังไงกันบ้างครับโปรแกรมแบบนี้น่าสนใจใช่มั้ยหล่ะครับ ผมเองก็อยากให้เกิดในเมืองไทยเช่นกัน
ยังไงก็ฝากไปถึงผู้ใหญ่หลายๆ คนที่อำนาจในการตัดสินใจด้วยแล้วกันครับ

ต้นฉบับที่ผมเขียนสามารถดูได้จาก http://kindaiproject.net/kmshare-blog/cost-benefit-analysis-for-libraries.html#

10 ห้องสมุดในอเมริกาที่ชีวิตนี้ผมต้องไปให้ได้

ห้องสมุดในอเมริกาหลายๆ แห่งมีความน่าสนใจในหลายๆ เรื่องมาก
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถาปัตยกรรม เรื่องการบริหารจัดการ เรื่องเทคโนโลยีในห้องสมุด

ถ้ามีโอกาสสักครั้งในชีวิต ผมก็อยากไปชมห้องสมุดในต่างประเทศบ้าง
ในระหว่างนี้ผมคงยังไม่ได้ไปหรอก เพราะงั้นวันนี้ผมขอเขียน list ทิ้งไว้ก่อนแล้วกัน

ก่อนอื่นผมก็คงต้องค้นหาห้องสมุดดีๆ ก่อนสินะ ว่าแล้วก็เปิดเว็บไซต์ค้นข้อมูลทั้งที
และแล้วผมก็เจอบทความนึง “10 great places to take a library tour
ซึ่งอยู่ในเว็บไซต์ USATODAY คอลัมน์ Travel เอาเป็นว่าต้องขอจดไว้ใน list นี้เลย

ห้องสมุด 10 แห่งที่น่าสนใจสำหรับการไปเที่ยวชม มีดังนี้

1. New York Public Library

ห้องสมุดประชาชนแห่งนี้ผมไม่พลาดแน่ๆ เพราะห้องสมุดแห่งนี้ได้ชื่อเรื่องของการจัดกิจกรรมแบบใหม่ๆ และการใช้สื่อสังคมออนไลน์มากมาย แถมเป็นห้องสมุดที่มีสถาปัตยกรรมงดงามมากมาย สัญลักษณ์ของห้องสมุดแห่งนี้คือ “สิงโต” นั่นเอง

2. Fayetteville Public Library

ห้องสมุดประชาชนแห่งนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นห้องสมุดที่ได้รับการออกแบบให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากๆ Green Library

3. Seattle Central Library

ไปอเมริกาทั้งทีต้องไปที่นี่ให้ได้ เพราะห้องสมุดที่มีการออกแบบอาคารสุดทันสมัยแถมสอดคล้องกับการทำงานของบรรณารักษ์ ห้องสมุดแห่งนี้ผมเขียนถึงหลายครั้งแล้วก็เลยอยากไปเป็นพิเศษ

4. Geisel Library, University of California-San Diego

ห้องสมุดแห่งนี้ผมก็เคยเขียนลงบล็อกแล้วเช่นกัน ห้องสมุดแห่งนี้รูปลักษณ์อาคารดูแปลกๆ แต่ภายในสามารถตอบสนองผู้ใช้บริการได้แบบสุดยอดมาก

5. Thomas Jefferson Building, Library of Congress

ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดของโลกไม่ไปคงเสียดายแย่เลยเนอะ แถมไปดูต้นฉบับการจัดหมวดหมู่แบบ LC ด้วย

6. Weippe Public Library

ห้องสมุดแห่งนี้ผมไม่เคยได้ยินชื่ออ่ะ แต่ก็ลองไปค้นข้อมูลดูแล้ว พบว่ารูปลักษณ์อาคารก็ไม่ได้ดูเด่นอะไร แต่ห้องสมุดแห่งนี้เด่นเรื่องการสร้างชุมชน แถมด้วยการให้บริการ WIFI & CELL PHONE HOTSPOT

7. Harold Washington Library Center, Chicago Public Library

ห้องสมุดแห่งนี้ดูรูปแล้วตอนแรกนึกว่าเป็นห้องสมุดในเมืองจีน ยิ่งได้รู้ว่าห้องสมุดแห่งนี้เด่นเรื่องการจัดนิทรรศการยิ่งน่าไปดูมากๆ

8. Boston Athenaeum

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดที่ยังคงเน้นการจัดตกแต่งภายในด้วยศิลปะ รูปปูนปั้น และภาพเขียนโบราณมากมาย เข้าไปแล้วจะได้ความรู้สึกของห้องสมุดแบบเก่าๆ ได้ดีมาก

9. Deadwood Public Library

ห้องสมุดแห่งนี้คล้ายๆ กับห้องสมุดที่ 8 คือเน้นบรรยากาศภายในห้องสมุดดูเก่าๆ และมีมนต์ขลังดี

10. Central Denver Public Library

ห้องสมุดแห่งนี้เห็นรูปแล้วชอบมากเพราะมีศิลปะอยู่รายรอบห้องสมุด โดยเฉพาะการตกแต่งอาคาร และการออกแบบสถาปัตยกรรม เอาเป็นว่าก็สวยไปอีกแบบ

เป็นไงกันบ้างครับห้องสมุดทั้ง 10 แห่ง บางแห่งผมก็เคยได้ยินมาเยอะ
แต่ก็มีห้องสมุดบางแห่งที่ยังไม่ค่อยรู้จักเลย เอาเป็นว่าสักวันคงต้องไปเยือนจริงๆ สักที