สรุปการอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2555 สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TKpark) ได้มีการจัดการอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK ให้ตัวแทนจากศูนย์ไอซีทีชุมชน และตัวแทนจากโรงเรียนในเครือ สพฐ. จำนวน 150 คน

กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการเรียนรู้ สนุกเล่น หยั่งลึกสัมผัสไทย” ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมศิลปากร และอุทยานการเรียนรู้

หัวข้อในการอบรม
– แนะนำโครงการเรียนรู้ สนุกเล่น หยั่งลึกสัมผัสไทย
– แนะนำสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK
– เรียนรู้การใช้ E-Book หนังสือหายาก ชุด ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน
– เรียนรู้การใช้ E-Book หนังสือชุด วัตถุเล่าเรื่อง
– เรียนรู้การใช้ Audio book
– เรียนรู้การใช้เกมสร้างสรรค์
– ล้วงลึกทุกมิติการเรียนรู้
– มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์


ทีมวิทยากรที่บรรยายในวันนี้เป็นทีมงานจากสำนักงานอุทยานการเรียนรู้กันทั้งทีมเลย ซึ่งมาจากหลายๆ ฝ่าย เช่น ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายห้องสมุดมีชีวิต ฝ่ายกิจกรรม ฝ่ายไอที และฝ่ายพัฒนาเครือข่าย

สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK ที่กล่าวมาข้างต้นประกอบด้วย
– E-Book หนังสือหายาก ชุด ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน
– E-Book หนังสือชุด วัตถุเล่าเรื่อง ประกอบด้วยหนังสือ 3 เล่ม
– Audio Book 101 เล่ม
– เกมสร้างสรรค์ 6 เกมส์

การอบรมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมการอบรมนอกจากจะได้ฟังการบรรยายแล้ว ยังมีคอมพิวเตอร์ (2 คนต่อ 1 เครื่อง) ที่บรรจุสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK ไว้ให้ได้ลองเล่นไปพร้อมๆ กับการสอนการใช้งาน ซึ่งสื่อการเรียนรู้เกือบทุกสื่อเป็นที่เรียกความสนใจของผู้เข้าร่วมอบรมมากๆ โดยเฉพาะเกมสร้างสรรค์อย่างเกมกุ๊กๆ กู๋ คนสู้ผี ผู้เข้าร่วมอบรมได้เล่นกันอย่างสนุกสนานมากๆ หรือแม้แต่ E-Book ที่มีสื่อประสมที่น่าสนใจมากมาย

ซึ่งเมื่อผู้เข้าอบรมได้อบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK เรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK กลับไปใช้ที่ต้นสังกัด

การอบรมก็ผ่านไปด้วยดีครับ ยังไงผมก็ขอขอบคุณทุกส่วนที่ทำให้งานนี้สำเร็จนะครับ ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดงาน ผู้เข้าร่วมงาน ผู้สนับสนุนให้เกิดงาน …..

ประมวลภาพการอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK

[nggallery id=56]

สรุปการบรรยาย : มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (วันที่ 30 มิถุนายน 2555) ผมได้มีโอกาสมาบรรยายในงาน “การอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK” เรื่อง “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์” วันนี้จึงขอแชร์เรื่องดังกล่าวให้เพื่อนๆ อ่าน

ก่อนอื่นมาดูสไลด์ที่ผมใช้ประกอบการบรรยายนี้กันก่อน

สรุปเนื้อหาจากการบรรยาย “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์”

เรื่องของสื่อดิจิทัล กับ สื่อออนไลน์ มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนมากๆ เพราะเมื่อข่าวสาร ข้อมูล และความรู้อยู่บนโลกออนไลน์แล้ว จริงๆ มันก็คือสื่อดิจิทัลนั่นแหละ ซึ่งสื่อออนไลน์มันก็มีหลายประเภท เช่น
– เว็บไซต์
– ฐานข้อมูล
– เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
– ไฟล์เสียง
-ไฟล์วีดีโอ

และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเทคโนโลยีมันเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ เราก็จะพบว่า สื่อดิจิทัลมากมายเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะและการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วย

ตัวอย่างสื่อดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เช่น  E-Book ในอดีตเป็นเอกสารที่พิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ .txt .doc วันเวลาผ่านไปจากไฟล์เอกสารธรรมดาก็ถูกแปลงสภาพเป็นไฟล์ PDF จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นไฟล์ Flash และนอกจากจะอ่านได้เพียงอย่างเดียวก็เปลี่ยนเป็นการนำสื่อวีดีโอและเสียงมาประกอบกับหนังสือด้วย ซึ่งนับเวลาการเปลี่ยนแปลงได้ไม่กี่ปีเท่านั้น

ในสไลด์ที่ผมจะแนะนำนี้เป็นเพียงตัวอย่างเว็บไซต์ในโลกของ 2.0 ที่เราสามารถนำมาใช้ในวงการศึกษาเท่านั้น (ตัวอย่างแค่เล็กน้อยเท่านั้น) ได้แก่

http://www.flipsnack.com = สร้าง E-book ง่ายๆ ด้วย Flipsnack เพียงแค่อัพโหลดไฟล์ PDF ที่ต้องการจะทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ขึ้นไปบนเว็บไซต์นี้ คุณก็จะได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบ Flip Book ที่สวยงามแบบง่ายๆ ได้เลยทีเดียว

http://issuu.com = สร้างและค้นหา E-book แบบง่ายๆ ด้วย ISSUU นอกจากจะสร้าง E-book ได้แล้วเรายังสามารถหา E-book ที่น่าสนใจอ่านได้อีก ตัวอย่างที่ผมแนะนำคือ หนังสือแบบเรียนมานะมานีที่เราเคยเรียนกันในอดีตก็อยู่บนเว็บไซต์นี้เช่นกัน

http://paper.li/ = หนังสือพิมพ์ข่าวสารในแบบฉบับของเรา Paper.li หนังสือพิมพ์ที่รวบรวมข่าวสารที่เราสนใจ และแบ่งปันให้คนอื่นได้อ่าน….

http://youtubemp3.tv/ = แปลงวีดีโอบน Youtube ให้กลายเป็น MP3 คลิบวีดีโอไหนที่มีสาระน่ารู้และน่าสนใจ แล้วเราอยากเก็บไว้มาฟังคนเดียว ก็สามารถแปลงออกมาให้เป็นไฟล์ MP3 ได้

http://www.oxytube.com/ = เก็บวีดีโอบน Youtube มาไว้ในเครื่องของเราดีกว่า

http://www.uppsite.com/ = เปลี่ยนบล็อกของคุณให้กลายเป็น APP บนมือถือ

http://www.makebeliefscomix.com/Comix/ = สร้างการ์ตูนง่ายๆ ด้วย Makebeliefscomix (อันนี้ผมย้ำเยอะหน่อยเพราะว่าน่าสนใจมากๆ เหมาะแก่การนำไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หรือแม้กระทั่งจัดเป็นคอร์สอบรมแก่หน่วยงานอื่นๆ ได้ด้วย)

และก่อนจะจบการบรรยายผมก็ย้ำถึงความสำคัญของโลกออนไลน์อีกครั้งว่า โลกแห่งสื่อสังคมออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักที่จะเรียนรู้เราก็จะเจอหนทางและแนวทางที่จะนำมาใช้งานได้อีก

นี่ก็เป็นเพียงบทสรุปของการบรรยายของผมครับ

Workshop : การผลิตสื่อวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

วันนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกกิจกรรมมาฝาก นั่นคือ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง  “การผลิตสื่อทางวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)” ที่จัดโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รายละเอียดการอบรมเชิงปฏิบัติการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : การผลิตสื่อวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
สถานที่จัดงาน : ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 อาคาร 2 สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 30 – 31 กรกฎาคม 2555
จัดโดย : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กิจกรรมนี้น่าสนใจมากๆ โดยฌแพาะห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา หรือแม้แต่ห้องสมุดในโรงเรียนเองก็น่าสนใจนะครับ เพราะการอบรมครั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ เราสามารถนำมาสอนอาจารย์หรือครูที่สนใจอยากผลิต E-book ที่ห้องสมุดของเราได้อีก

หัวข้อที่น่าสนใจ
– มาตรฐานสื่อดิจิทัล
– การใช้งาน e-Book
– แนะนำการสร้าง e-Book ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปแบบ Open source
– การติดตั้งโปรแกรมในการสร้าง e-Book
– การใช้งานโปรแกรมสําหรับสร้าง e-Book


เมื่อจบจากการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้แล้ว ทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตร ซึ่งเพื่อนๆ สามารถนำไปใช้เป็นใบเบิกทาง และแสดงถึงความสามารถในการใช้งานโปรแกรมการสร้าง E-book ได้


ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการอบรมครั้งนี้

สมัครภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 คนละ 1,600 บาท
หลังจาก วันที่ 20 กรกฎาคม 2555 คนละ 1,800 บาท

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูและสมัครที่ http://www.library.kku.ac.th/conference2012/

ขอฝากประโยคนี้ไว้ทิ้งท้ายข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมนี้แล้วกัน
หากย้อนเวลากลับไปเมื่อสองถึงสามปีที่แล้วสิ่งที่ทำให้บรรณารักษ์หวั่นๆ คงหนีไม่พ้น “Google” บัดนี้ความหวั่นๆ ของบรรณารักษ์เปลี่ยนไปเมื่อโลกกำลังพูดถึง E-book การจะขจัดความหวาดหวั่นนี้ได้คงต้องเริ่มจากการที่ห้องสมุดสร้าง Content และสร้าง E-Book ขึ้นมาเองให้ได้ และลองนำมาประยุกต์กับงานให้บริการดู สิ่งที่คงจะเป็นเพียงการจุดประกายเรื่องทิศทางของห้องสมุดในอนาคต

อบรมการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้

000 100 200 300 …. เมื่อเห็นตัวเลขเหล่านี้ บวกกับชื่อเรื่อง
หวังว่าเพื่อนๆ คงเดาได้ว่าผมจะเกริ่นเกี่ยวกับเรื่องอะไรนะครับ

dewey

ถูกต้องครับ…เรื่องที่ผมจะเกริ่นวันนี้ก็ คือ การอบรมหลักการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey)

รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับการอบรมครั้งนี้
ชื่อการอบรม : การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้
วันที่จัด : 12 – 17 ตุลาคม 2552
สถานที่จัด : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ชั้น 4
จัดโดย : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

การอบรมในครั้งนี้จะเน้นการอบรมในเรืองของการให้เลขหมู่แบบดิวอี้เป็นหลัก
ซึ่งในการให้เลขหมู่แบบดิวอี้ เพื่อนๆ จำเป็นต้องรู้จักตารางเลขประกอบด้วย
รวมถึงวิธีการให้หัวเรื่องที่ถูกต้องและชัดเจนเพื่อประโยชน์ต่อการสืบค้น

จริงๆ อยากจะบอกว่าหลักสูตรนี้ สำหรับเพื่อนๆ ที่เรียนวิชาเอกบรรณฯมาตอนปริญญาตรี
การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ต้องใช้เวลาเรียนกันเป็นเทอมเลยก็ว่าได้
แต่หลักสูตรนี้จะช่วยเร่งลัดให้เพื่อนๆ ได้เพียง 5 วันเท่านั้นก็จะเข้าใจได้ทั้งหมด

หัวข้อที่เพื่อนๆ ต้องเจอตอนอบรมมีดังนี้
– หลักการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้
– การใช้ตารางประกอบ
– การแบ่งหมู่แยกตามหมวดต่างๆ
– การกำหนดหัวเรื่อง
– การทำรายการ

วิทยากรสำหรับการอบรมครั้งนี้ คือ รองศาสตราจารย์ พวา พันธุ์เมฆา
ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดหมวดหมู่และการให้หัวเรื่องภาษาไทยครับ

การอบรมครั้งนี้ต้องเสียเงินนะครับ โดยถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายราคา 4,000 บาท
แต่ถ้าไม่ใช่สมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายในราคา 4,300 บาทครับ
ราคานี้รวมค่าเอกสาร อาหารว่าง 2 มื้อ และอาหารกลางวัน? 1 มื้อ / วันนะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่
http://www.tla.or.th

เตรียมตัวเป็นบรรณารักษ์ยุค 2.0 กัน

เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนกลายเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่
ผมจึงเริ่มวางหลักสูตรบรรณารักษ์ยุคใหม่เพื่อพัฒนาเพื่อนๆ

libraryhub-talk

Read more

โครงการหนึ่งห้องสมุดหนึ่งบล็อก

วันนี้ขอนำเสนอข้อมูลจากการทำแบบสอบถาม เรื่อง “โครงการหนึ่งห้องสมุดหนึ่งบล็อก”
โครงการนี้เดิมทีผมได้วางแผนตอนทำ Projectlib.wordpress.com

olop-project

ข้อมูลที่จะนำเสนอวันนี้ หากเพื่อนๆ ยังเห็นว่าไม่เหมาะสมในส่วนใด
สามารถแสดงความคิดเห็นได้ต่อนะครับ
เพราะว่าผมอยากให้เพื่อนๆ ทุกคนมีส่วนร่วมในโครงการครั้งนี้ด้วย

ข้อมูลเดิมจากบล็อก Projectlib

โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก คือ ?
การผลักดันให้ห้องสมุดทุกแห่งในประเทศไทยมีบล็อก (Blog) เป็นของตัวเอง
รู้จักการใช้บล็อกในการประชาสัมพันธ์งานต่างๆ รวมถึงเรื่องราวต่างๆ ในห้องสมุด
และเป็นการสร้างเครือข่ายชมรมบล็อกเกอร์ห้องสมุดในประเทศไทย (Blogger Library Network)

โดยภายใต้โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก จะมีแผนงาน คือ
1. จัดอบรมการสร้างบล็อก การเขียนเรื่องในบล็อก และการโปรโมทเรื่องในบล็อก
2. จัดตั้งกลุ่ม และเครือข่ายผู้เขียนบล็อกห้องสมุดในประเทศไทย
3. ?(เสนอมาได้คร้าบ)

งบประมาณฟรี มีดังนี้
– วิทยากร คือ ผมเอง (ไม่รับค่าตอบแทนใดๆ)
– สถานที่ จะขอเป็นความร่วมมือกับห้องสมุดที่ใจดีต่างๆ
– บล็อกฟรี (มีให้เลือกเยอะแยะเลยครับ)

วันเวลา และสถานที่ในการจัดการอบรม
– ในช่วงวันเสาร์ หรือ อาทิตย์ 1 วันเต็มๆ
– จัดครั้งแรกในช่วงเดือนพฤศจิกายน

จำนวนการรับสมัครครั้งแรก 20 ? 30 คน
(ไม่คาดหวังมากครับ เพราะว่าหลายคนคงไม่สนใจ อิอิ)

เนื้อหาในการอบรม
– การสมัครบล็อกเพื่อใช้งานฟรี
– การเขียนบล็อกไม่ให้น่าเบื่อ
– การโปรโมทห้องสมุด และบล็อกสู่สาธารณชน
– การสร้างเครือข่ายผู้ใช้งาน และผู้เขียนบล็อกห้องสมุด

(นอกนั้นช่วยคิดกันหน่อยนะ ว่าอยากฟังเรื่องไรอีก จาได้ทำการบ้านถูก)

เอาเป็นว่าเกริ่นแค่นี้ก่อนดีกว่า

ดังนั้นจากข้อมูลที่ได้กล่าวมาผมอยากทราบความคิดเห็นดังนี้
1. โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก ควรมีอะไรเพิ่มอีก?
2. เรื่องวันควรจะเป็นวันธรรมดา เสาร์ หรือ อาทิตย์ดี
3. จำนวนที่รับสมัครน้อยไป หรือมากไป ช่วยกะให้หน่อย
4. เนื้อหาในการอบรมอยากรู้อะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับบล็อก

คำถามทั้ง 4 ข้อ เพื่อนๆ จะตอบให้ครบ 4 ข้อก็ได้
หรือเลือกตอบในประเด็นที่อยากเสนอก็ได้ รับฟังหมดครับ

ปล. ใครจะใจดีเรื่องสถานที่ หรือ ต้องการสนับสนุนงานในส่วนอื่นๆ บอกได้นะครับ อิอิ

ข้อเสนอจากเพื่อนๆ

คุณปุ๊ เสนอว่า
“ควรจัดงานในวันธรรมดา และมีการทำหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการ เพื่อให้หัวหน้าอนุมัติในการเข้าร่วมโครงการ”

คุณจันทรา เสนอว่า
“ควรจัดในวันหยุดเพื่อไม่ให้รบกวนเวลางาน และเสนอเนื้อหาในการอบรมว่าอยากเพิ่มเรื่อง user Interface ด้วย”

คุณสุวรรณ เสนอว่า
“ควรจัดเป็นรุ่นๆ โดยจำนวนคนควรจะได้สัก 20 คนต่อรุ่น เนื่องจากเป็นการอบรมที่ต้องใช้เครื่องมือเพื่อการอบรม”

คุณจิมมี่ เสนอว่า
“ควรจัดในส่วนภูมิภาคด้วยเนื่องจากมีโอกาสที่เรียนรู้เรื่องนี้น้อยกว่าคนในเมือง”